สะพัด!! ต้นเหตุโปรเจกต์รถไฟความเร็วสูงลาวข้ามอ่าวไทย เวอร์ชันไร้ไทย อาจมาจากสิงคโปร์จะซื้อไฟจากลาวโดยขอผ่านไทย แต่ไทยไม่ยอม

(26 ธ.ค. 66) จากเพจ 'สานต่อเจตนารมณ์ อาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา' ได้แชร์ข้อความจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'สันติ์เพชร ปานนุ้ย' ซึ่งได้โพสต์มูลเหตุหนึ่งที่อาจเป็นประเด็นให้ทาง รมว.ท่านหนึ่งของ สปป.ลาว ออกมาสะพัดถึงความต้องการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากลาวข้ามอ่าวไทยไปสิงคโปร์ โดยไม่ผ่านไทย ว่า...

ทำไม บริษัท ดาต้าเซ็นเตอร์ และ บริษัทคลาวด์ดิจิทัล เซ็นเตอร์ ยักษ์ใหญ่ของโลก จะเข้ามาตั้งศูนย์กลางการให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ในประเทศไทย ทั้งที่บริษัท ดาต้า และ บริษัทคลาวด์ มีเฮดออฟฟิศอยู่ที่สิงคโปร์ 

เพราะ สิงคโปร์ ไม่สามารถหาพลังงานสะอาดให้ได้ เนื่องจากสิงคโปร์มีพื้นที่จำกัด 

ในความโชคร้าย ก็มีความโชคดี ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานถ่านหินไปสู่พลังงานสะอาด มันจึงทำให้ประเทศไทยมีพลังงานเหลือสูงถึง 30% และมีราคาสูง แต่กลับเป็นความโชคดีที่เรานำหน้าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เรามีพลังงานสะอาดมากพอที่จะดึงดูดการลงทุน

เวียดนามก็พลังงานไม่พอติด ๆ ดับ ๆ สูงเกินค่ามาตรฐาน และเวียดนามใช้พลังงานถ่านหินสูงถึง 70% 

และอีกเรื่องหนึ่งที่ไทยเป็นตัวเลือกอันดับ 1 คือความเร็วและความเสถียรของอินเตอร์เน็ตที่สูงกว่าเพื่อนบ้าน

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เราจึงเห็นข่าวที่สิงคโปร์จะซื้อไฟฟ้าจากลาวโดยขอผ่านสายส่งของไทย โดยทางไทยไม่ยอม จึงทำให้ รองนายกฯ ลาวท่านหนึ่งไม่พอใจ จึงเป็นที่มาของการโพสต์ปล่อยข่าวว่า ลาวจะสร้างรถไฟความเร็วสูงจากลาวไปสิงคโปร์โดยผ่านกัมพูชาข้ามอ่าวไทยเข้ามาเลเซีย โดยไม่มีประเทศไทย 

นอกจากนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านดังกล่าว ยังทิ้งท้ายอีกว่า...หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า บริษัท อโกด้า ผู้ให้บริการสำรองห้องพัก โรงแรม ทางออนไลน์ ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงเทพ มีพนักงาน 2,000 คน เป็นคนไทย 1,000 คนและตนต่างชาติ 1,000 คน

ด้านเพจ 'สานต่อเจตนารมณ์ อาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา' ก็ได้โพสต์เสริมประเด็นดังกล่าวด้วยว่า...

ขออนุญาตผู้ติดตามเพจ...ถ้าเป็นจริงตามนี้ กลายเป็นว่าการที่ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้เหลือเฟือ ไม่มีไฟดับ ไฟตก...กลายเป็นจุดแข็งที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้ามากและต่อเนื่อง อย่างอุตสาหกรรมเก็บข้อมูลคลาวด์...ถือเป็นจุดขายที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ในย่านอาเซียน