คณะกรรมาธิการฯ เผยผลการศึกษา ตลาดบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายเติบโตก้าวกระโดด เยาวชนเข้าถึงง่ายเกินกว่าจะควบคุม

คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพและการบังคับใช้กฏหมายด้านสาธารณสุข ได้มีการ พิจารณาปัญหาการควบคุมยาสูบที่ไม่สามารถลดอัตราผู้สูบบุหรี่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ของแผนควบคุมการ บริโภคยาสูบ มีการเติบโตขึ้นของตลาดบุหรี่ลักลอบนำเข้า และตลาดบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งมีการพิจารณาข้อมูลวิชาการทั้งจากของไทยและข้อมูลวิชาการจากต่างประเทศ พิจารณาปัญหาการบัง คับใช้กฏหมาย ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ พิจารณาข้อร้องเรียนจากเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ ข้อร้องเรียนเพื่อคุ้มครองสิทธิของทั้งผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบ บุหรี่ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการคุกคามสื่อ เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคคลบางกลุ่ม

ในวันนี้ถือเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของอนุกรรมาธิการในเรื่องปัญหาการควบคุมยาสูบ ก่อนที่จะสรุปเป็นเล่ม รายงานส่งถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

การประชุมวันนี้จะเป็นเรื่องพิจารณาข้อร้องเรียนจากสื่อมวลชนที่ถูกคุกคามเสรีภาพการเสนอข่าวเกี่ยวกับบุหรี่ ด้วยการตีความกฏหมาย พรบ.ควบคุมยาสูบ ในเรื่องการโฆษณาที่กว้างเกินกว่าที่ตัวบทกฏหมายกำหนด ด้วย การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เรียกสื่อมวลชนเข้าพบ หรือบางกรณีก็ถึงขั้นส่งดำเนินคดีก็มี และ อีกเรื่องที่สำคัญ คือ การจับกุมผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ตามที่เป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมาหลายครั้ง ซึ่งทางอนุกรรมาธิการได้เคยมีการประชุมวาระประเด็นนี้โดยเชิญผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทน จากสำนักงานอัยการสูงสุดมาพิจารณาข้อกฏหมายร่วมกัน ได้ข้อสรุปจากการประชุมว่า บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นของต้องห้ามตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ และมีประกาศคณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องการห้ามจำหน่าย จ่าย แจก ให้บริการ แต่สำหรับผู้ครอบครองนั้น ตาม พรบ.ศุลกากร ฉบับเดิม มีมาตรา 27ทวิ เขียนถึงความผิดเกี่ยวกับการครอบ ครอง การรับไว้ การเอาไปเสีย ซึ่งของต้องห้าม แต่ใน พรบ.ศุลกากร 2560 ได้ตัดมาตราเดิมนั้นออก และในส่วนของการลักลอบสินค้าที่ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร นั้น ตามาตรา 242, 246 ไม่ได้กล่าวถึง ของต้องห้าม โดยใจความเป็นการเอาผิดกับของที่้ลักลอบหนีภาษีไม่ ผ่านพิธีการศุลกากร

สรุปคือ เจ้าพนักงานตำรวจจะตั้งข้อกล่าวหาผิด พรบ.ศุลกากร กับผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ จะถือว่าเป็นการ ตั้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีโดยมิชอบ

ในส่วนของผลการศึกษาของอนุกรรมาธิการ เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า การดำเนินการด้านการควบคุมยาสูบควร ต้องมีการทบทวนทั้งในส่วนของการดำรงตำแหน่งของกรรมการควบคุมยาสูบแห่งชาติโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ทรง คุณวุฒิ ซึ่งทางอนุกรรมาธิการได้ส่งเรื่องกรณีคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง และ กรณีการขัดกันแห่งผล ประโยชน์ให้กรรมาธิการ ปปช. สอบหาข้อเท็จจริงต่อไปแล้ว

ต้องมีการทบทวนเรื่องข้อมูลทางวิชาการที่นำมาใช้อ้างอิงที่ต้องเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เพราะ เมื่อพิจารณาข้อมูลทางวิชาการในต่างประเทศ พบข้อมูลทางวิชาการที่มีความน่าเชื่อถือสูง อย่างเช่น Cochrane review ได้รวบรวมทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบแล้วได้ข้อสรุปว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เลิก บุหรี่มวนได้มีประสิทธิภาพกว่าการใช้นิโคตินทดแทนแบบเดิม อย่างพวกหมากฝรั่ง แผ่นแปะ มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัวใจว่าผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจน้อยกว่าผู้สูบบุหรี่มวน ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีสารบ่งชี้เกี่ยวกับโรคหัวใจหลอดเลือด โรคมะเร็ง น้อยกว่าผู้สูบบุหรี่มวน ดังนั้นจึงควรมีทางเลือกให้กับผู้สูบบุหรี่เกือบสิบล้านคนได้มีโอกาสเลือก และมีทางใหม่ในการเลิกบุหรี่

เราจะเห็นว่า การแบนบุหรี่ไฟฟ้า ที่ทำไม่ได้จริง มีการเติบโตของตลาดอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ได้ เป็นการปกป้องเยาวชนเลย แต่กลับทำให้เยาวชนเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าแบบควบคุมไม่ได้ แถมยังทำให้ตลาดบุหรี่ผิ ดกฏหมายโตมากจนนับวันจะยิ่งจัดการยากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า การจัดการลดการสูบบุหรี่ด้วยมาตรการทางภาษีก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ปล่อยให้บุหรี่ ต่างประเทศกินตลาดบุหรี่ของการยาสูบไทย และปล่อยให้บุหรี่ลักลอบหนีภาษีกินส่วนแบ่งการตลาด จนทำให้ การยาสูบไทยที่เคยมีกำไรหลายพันล้านบาท เหลือแค่สองสามร้อยล้านบาทเพียงระยะเวลาแค่ 5-6 ปี ส่งผลไป ถึงชาวไร่ยาสูบหลายแสนครอบครัวต้องถูกลดโควต้าเพาะปลูก แถมยังจะมีความพยายามเสนอให้แบนส่วนประกอบในบุหรี่ เช่น เมนทอล ที่นักสูบไทยเกินครึ่งสูบบุหรี่ที่มี รสชาติแบบนี้ แทนที่จะทำให้เลิกบุหรี่ก็ยิ่งจะทำให้ตลาดบุหรี่ลักลอบหนีภาษี และ ตลาดของบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฏ หมายเติบโตขึ้นไปอีก

จำนวนผู้สูบบุหรี่ก็ไม่ลด แถมรัฐยังเสียรายได้หลายพันล้านให้กับธุรกิจผิดกฏหมายอีก ถึงเวลาที่เราจะต้องปรับแนวทาง วิธีคิด และบุคคลในการควบคุมยาสูบเสียใหม่ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป หากกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ จะมีการสรุปเป็นรูปเล่มเผยแพร่ให้กับสื่อมวลชนไปถ่ายทอดต่อไป