Friday, 17 May 2024
ยาสูบ

‘ฟิลิปปินส์ - อังกฤษ’ ย้ำจุดยืน!! ‘ไม่แบนบุหรี่ไฟฟ้า’ เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้าแนะไทย ดูเป็นแบบอย่าง

เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า เผยความเคลื่อนไหวจากการประชุมยาสูบโลก ชี้รัฐบาลฟิลิปปินส์ลุกขึ้นแถลงจุดยืนกลางที่ประชุมฯ ว่าจะเน้นนโยบายควบคุมยาสูบแบบสมดุล ทั้งทางด้านกฎระเบียบและการเก็บภาษี และจะไม่แบนบุหรีไฟฟ้า เพื่อป้องกันผลเชิงลบ ขณะที่อังกฤษระบุอัตราผู้สูบบุหรี่ลดต่ำสุด เป็นผลมาจากมาตรการที่ครอบคลุมรวมถึงการสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า แนะประเทศไทยเดินตามรอยสองประเทศ เพื่อประโยชน์ประเทศและผู้สูบบุหรี่

นายอาสา ศาลิคุปต เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มลาขาดควันยาสูบ และเพจ "บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร" เผยความเคลื่อนไหวจากการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ขององค์การอนามัยโลก ครั้งที่ 9 หรือ FCTC COP 9 ระบุว่า “กระทรวงต่างประเทศของฟิลิปปินส์เป็นตัวแทนของประเทศลุกขึ้นเรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกพิจารณาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทดแทนการสูบบุหรี่ เพื่อทำให้มาตรการควบคุมการสูบบุหรี่กลับมามีประสิทธิภาพอีกครั้ง ฟิลิปปินส์ยอมรับว่าการเก็บภาษีบุหรี่ทำให้รัฐบาลมีรายได้จำนวนมาก เพื่อใช้บริหารประเทศและทำกิจกรรมรณรงค์เลิกบุหรี่ แต่ฟิลิปปินส์รู้ว่าการเก็บภาษีอย่างสุดโต่งไม่ทำให้การเลิกบุหรี่สำเร็จได้ จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมยาสูบแบบสมดุลทั้งทางด้านกฎระเบียบและการเก็บภาษี และย้ำอย่างชัดเจนว่าจะไม่มีการแบนบุหรี่ไฟฟ้าแน่นอน”

นายเทอโดโร ลอคสิน จูเนียร์ รมว.ต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมระหว่างการเปิดประชุม FCTC COP 9 ว่าการแบนบุหรี่ไฟฟ้ายิ่งทำให้เกิดตลาดใต้ดินและการลักลอบนำเข้าในประเทศมากขึ้น ซึ่งฟิลิปปินส์เสนอว่าการแก้ปัญหาบุหรี่และตลาดใต้ดินบุหรี่ไฟฟ้าจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และการปรึกษาหารืออย่างครอบคลุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

ขณะที่ตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุขประเทศอังกฤษกล่าวว่า อัตราการสูบบุหรี่ในประเทศอังกฤษลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอด 20 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบอย่างครอบคลุม ซึ่งรวมถึงการขึ้นภาษีบุหรี่ การห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ และการสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่ได้รับการควบคุม

นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายลาขาดควันยาสูบ อีกรายกล่าวเสริมว่า “ฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญกับงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งสรุปตรงกันว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ จึงเพิ่งผ่านร่างกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเป็นกรอบควบคุมยาสูบรูปแบบใหม่ที่จะช่วยให้ดอันตรายให้กับผู้สูบบุหรี่ได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันการขายผลิตภัณฑ์ให้กับเด็กอายุต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนอังกฤษก็เป็นประเทศต้นแบบที่สนับสนุนเรื่องการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อการเลิกบุหรี่ สองประเทศนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการพิจารณาอย่างรอบคอบและรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย มาตรการที่ออกมาจึงมีการศึกษาข้อดีและผลกระทบอย่างรอบคอบแล้ว”

 

‘ส.ส. ก้าวไกล’ ซัด!! ‘สสส.’ ขาดความโปร่งใสในการใช้งบ 4 พันล้าน ชี้!! สสส. ทำงานเหมือนแดนสนธยา

2 ส.ส. พรรคก้าวไกลชำแหละรายงานประจำปีกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ชี้เหมือนแดนสนธยา ใช้งบประมาณเก่ง แต่จัดการปัญหายาสูบไม่ประสบผลสำเร็จ ยกตัวอย่างการแบนบุหรี่ไฟฟ้าที่สวนทางนานาชาติ ซัดพูดความจริงไม่หมดและขาดความโปร่งใสในเรื่องบทบาททับซ้อน

นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นอภิปรายรายงานประจำปีของ สสส. ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 15 ระบุว่า “สังคมไทยเริ่มมีการแสดงความคิดเห็นเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า แต่ในรายงานของ สสส. ยังคงยืนกระต่ายขาเดียวต่อต้านเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย และนำเสนอแต่ข้อมูลที่ผิด ๆ ที่พูดถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าและการเกิดนักสูบหน้าใหม่ ซึ่งตนเห็นว่า สสส. พูดความจริงไม่หมด เพราะมีงานวิจัยในต่างประเทศอีกจำนวนมากที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ สสส. รายงาน เช่น ประเทศอังกฤษ ที่กำลังศึกษาเพื่อใช้บุหรี่ไฟฟ้าทางการแพทย์เพื่อช่วยให้ผู้ติดบุหรี่เลิกบุหรี่ได้ นอกจากนี้ ผมยังได้ยินประสบการณ์ตรงจากคนรอบข้างที่เคยสูบบุหรี่มาตั้งแต่เป็นวัยรุ่นที่บอกว่าเมื่อเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าแล้ว ทำให้ไม่สามารถกลับไปสูบบุหรี่ได้อีก”

นายปกรณ์วุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อโลกมีทางเลือกใหม่ ประเทศไทยก็จำเป็นต้องศึกษาอย่างรอบด้าน นำผลวิจัยมาถกเถียงกันอย่างมีเหตุผล และหาวิธีป้องกันเยาวชน เช่น การห้ามการแต่งกลิ่นน้ำยานิโคติน ศึกษาวิจัยสารปนเปื้อน และทำให้เป็นวิทยาศาสตร์ แทนที่จะยกงานวิจัยของฝ่ายเดียวมาพูด แล้วอ้างตรรกะผิด ๆ ว่างานวิจัยของฝ่ายตรงข้ามได้รับทุนวิจัยจากบริษัทบุหรี่ ปัจจุบันมี 35 ประเทศที่ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า แต่อีก 73 ประเทศก็อนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าภายใต้การควบคุมได้ และไม่มีใครเรียกร้องให้เปิดเสรีบุหรีไฟฟ้า มีแต่เรียกร้องให้ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าและเก็บภาษีและมีมาตรการควบคุมที่เหมาะสมเช่นเดียวกับบุหรี่มวน เช่นการควบคุมอายุขั้นต่ำ การควบคุมปริมาณ สารนิโคติน ความปลอดภัย และการจัดประเภทให้ถูกต้อง”

“อยากตั้งคำถามถึงความโปร่งใสของ สสส. ที่ให้ทุนงานวิจัยที่เป็นลบหรือศึกษาความอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าเท่านั้น บางงานวิจัยที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นกลางว่ามี harm reduction หรือไม่กลับไม่ได้รับทุน จึงอยากขอให้เปิดเผยโครงการงานวิจัยที่ได้รับทุนและที่มาขอทุน และตั้งคำถามว่าอีก 70 กว่าประเทศที่เขาอนุญาตบุหรี่ไฟฟ้าขายได้ตามกฎหมายนั้นได้รับทุนข้ามชาติหรือถูกล๊อบบี้จากบริษัทเหล่านี้หรือไม่ และยังต้องตั้งคำถามว่า สสส. ที่ต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าขณะนี้ถูกล๊อบบี้จากใคร”

ด้าน “หมอเอก” นายแพทย์เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส. เชียงราย ระบุว่า “ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่ผมได้อภิปรายรายงานของ  สสส. เกี่ยวกับความโปร่งใสในการทำงานของ สสส. เพราะที่ผ่านมา 20 ปีทำงานโดยไม่มีความโปร่งใสเลย  สสส. ทำตัวเหมือนแดนสนธยา ใช้งบประมาณ 4 พันล้านบาทเทียบเท่า 1 กระทรวง ใช้เงินโดยไม่ผ่านสภาและไม่มีคนนอกมากำกับดูแล และไม่สามารถหาข้อมูลว่า สสส. ให้งบประมาณกับใคร หน่วยงานไหนไปแล้วบ้าง ก็ไม่สามารถหาข้อมูลได้ ผมจึงตั้งใจมาช่วยล้างบางมาเฟียใน สสส.

 

เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า ชี้! นายกนิวซีแลนด์ หนุนมาตรการ ให้ทางเลือกผู้สูบบุหรี่ ยันไม่ปิดกั้นเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้า

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ” หรือ ECST และแอดมินเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน เผยหลังมีข่าวรัฐบาลนิวซีแลนด์เคาะมาตรการเด็ดขาดเพื่อหยุดการสูบบุหรี่ในคนรุ่นใหม่ โดยห้ามเด็กเกิดหลังปี 2551 ซื้อบุหรี่หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบไปจนตลอดชีวิตว่า “วัตถุประสงค์ของการทำให้นิวซีแลนด์เป็นประเทศปลอดควันมี 2 ส่วนสำคัญคือ 

1.) การควบคุมผลิตภัณฑ์ไร้ควันและสร้างความแตกต่างจากบุหรี่แบบเผาไหม้เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่เลิกบุหรี่หรือเปลี่ยนไปใช้ทางเลือกที่เป็นอันตรายน้อยกว่า

และ 2.) การเข้มงวดกับบุหรี่ซิกาแรตที่มีการเผาไหม้เพื่อค่อย ๆ ให้หมดไป เพราะนิวซีแลนด์ตั้งเป้าหมาย 'Smokefree 2025' เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ในประเทศให้เหลือต่ำกว่า 5% ภายใน ค.ศ. 2025 ซึ่งมาตรการทั้งหมดมาจากการยอมรับแนวทางการลดอันตรายจากยาสูบ (tobacco harm reduction) และชัดเจนว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้จำกัดการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งนิวซีแลนด์มองว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเลิกบุหรี่”

นายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดิน กล่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “เรากำลังเห็นการใช้ผลิตภัณฑ์ไร้ควัน (การเวป) เป็นเครื่องมือในการเลิกสูบบุหรี่ของคนจำนวนมาก และนี่ทำให้เราสามารถผลักดันมาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อลดการสูบบุหรี่เพราะมีทางเลือกที่ผู้สูบบุหรี่สามารถใช้เลิกสูบบุหรี่ได้อย่างประสบความสำเร็จ เรารู้ว่าการเวปได้สร้างความแตกต่างให้กับคนเหล่านั้นเพื่อเลิกสูบบุหรี่และเป็นเครื่องมือที่สำคัญ”

คณะกรรมาธิการฯ เผยผลการศึกษา ตลาดบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายเติบโตก้าวกระโดด เยาวชนเข้าถึงง่ายเกินกว่าจะควบคุม

คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพและการบังคับใช้กฏหมายด้านสาธารณสุข ได้มีการ พิจารณาปัญหาการควบคุมยาสูบที่ไม่สามารถลดอัตราผู้สูบบุหรี่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ของแผนควบคุมการ บริโภคยาสูบ มีการเติบโตขึ้นของตลาดบุหรี่ลักลอบนำเข้า และตลาดบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งมีการพิจารณาข้อมูลวิชาการทั้งจากของไทยและข้อมูลวิชาการจากต่างประเทศ พิจารณาปัญหาการบัง คับใช้กฏหมาย ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ พิจารณาข้อร้องเรียนจากเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ ข้อร้องเรียนเพื่อคุ้มครองสิทธิของทั้งผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบ บุหรี่ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการคุกคามสื่อ เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคคลบางกลุ่ม

ในวันนี้ถือเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของอนุกรรมาธิการในเรื่องปัญหาการควบคุมยาสูบ ก่อนที่จะสรุปเป็นเล่ม รายงานส่งถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

การประชุมวันนี้จะเป็นเรื่องพิจารณาข้อร้องเรียนจากสื่อมวลชนที่ถูกคุกคามเสรีภาพการเสนอข่าวเกี่ยวกับบุหรี่ ด้วยการตีความกฏหมาย พรบ.ควบคุมยาสูบ ในเรื่องการโฆษณาที่กว้างเกินกว่าที่ตัวบทกฏหมายกำหนด ด้วย การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เรียกสื่อมวลชนเข้าพบ หรือบางกรณีก็ถึงขั้นส่งดำเนินคดีก็มี และ อีกเรื่องที่สำคัญ คือ การจับกุมผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ตามที่เป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมาหลายครั้ง ซึ่งทางอนุกรรมาธิการได้เคยมีการประชุมวาระประเด็นนี้โดยเชิญผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทน จากสำนักงานอัยการสูงสุดมาพิจารณาข้อกฏหมายร่วมกัน ได้ข้อสรุปจากการประชุมว่า บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นของต้องห้ามตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ และมีประกาศคณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องการห้ามจำหน่าย จ่าย แจก ให้บริการ แต่สำหรับผู้ครอบครองนั้น ตาม พรบ.ศุลกากร ฉบับเดิม มีมาตรา 27ทวิ เขียนถึงความผิดเกี่ยวกับการครอบ ครอง การรับไว้ การเอาไปเสีย ซึ่งของต้องห้าม แต่ใน พรบ.ศุลกากร 2560 ได้ตัดมาตราเดิมนั้นออก และในส่วนของการลักลอบสินค้าที่ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร นั้น ตามาตรา 242, 246 ไม่ได้กล่าวถึง ของต้องห้าม โดยใจความเป็นการเอาผิดกับของที่้ลักลอบหนีภาษีไม่ ผ่านพิธีการศุลกากร

สรุปคือ เจ้าพนักงานตำรวจจะตั้งข้อกล่าวหาผิด พรบ.ศุลกากร กับผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ จะถือว่าเป็นการ ตั้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีโดยมิชอบ

ในส่วนของผลการศึกษาของอนุกรรมาธิการ เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า การดำเนินการด้านการควบคุมยาสูบควร ต้องมีการทบทวนทั้งในส่วนของการดำรงตำแหน่งของกรรมการควบคุมยาสูบแห่งชาติโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ทรง คุณวุฒิ ซึ่งทางอนุกรรมาธิการได้ส่งเรื่องกรณีคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง และ กรณีการขัดกันแห่งผล ประโยชน์ให้กรรมาธิการ ปปช. สอบหาข้อเท็จจริงต่อไปแล้ว

‘สหรัฐฯ’ ชี้ เยาวชนในประเทศ 2.8 ล้านคน ใช้ ‘ยาสูบ’ เกลื่อน พบ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ หนักสุด เตรียมใช้มาตรการควบคุมมากขึ้น

เมื่อวานนี้ (4 พ.ย.66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ รายงานจำนวนนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายในประเทศที่ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบรวมอยู่ที่ราว 2.8 ล้านคนในปี 2023 โดยบุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในหมู่เยาวชนอเมริกัน

รายงานระบุว่า ร้อยละ 25.2 ของนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายในสหรัฐฯ ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันสูบบุหรี่ไฟฟ้าทุกวัน และร้อยละ 89.4 สูบบุหรี่ไฟฟ้าแบบปรุงแต่งรสชาติ โดยศูนย์ฯ เตือนว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบในรูปแบบต่างๆ ของเยาวชนนั้นไม่ปลอดภัย

ศูนย์ฯ ระบุว่า การเฝ้าติดตามทางสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับดำเนินยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแบบอ้างอิงหลักฐาน เช่น การเข้าช่วยเหลือเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ การรณรงค์ผ่านสื่อมวลชน ระเบียบข้อบังคับของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ และนโยบายป้องกันยาสูบที่ผ่านการพิสูจน์แล้วอื่นๆ อาจลดการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบของเยาวชนได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top