เลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ทางสองแพร่งแห่งการเมืองไทย

จนปัจจุบันนี้ยังมีคนก่นด่าว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 คือการถอยหลังเข้าคลองทางการเมืองไทย โดยเฉพาะบรรดาคนเสื้อแดงและเสื้อส้มทั้งหลาย จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลา 8 ปีแล้ว มาย้อนรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทยอีกครั้งว่าเกิดอะไรขึ้น และเป็นการถอยหลังเข้าคลองอย่างที่หลายคนกล่าวหาหรือไม่

ก่อนจะมาถึงวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ทางการเมือง นั่นคือการนิรโทษกรรมสุดซอยและลักหลับ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2556 อันมีจุดใหญ่ใจความคือต้องการล้างผิดให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่หนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ การต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะเธอคือหุ่นเชิดของพี่ชายเท่านั้น ความไม่พอใจนำไปสู่การชุมนุมของกปปส.เริ่มต้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 โดยมีสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนทำให้มีการมาชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงหลักล้านคน

วันที่ 1 ธันวาคม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภาฯ ตามข้อเรียกร้อง เพื่อลดแรงกดดัน เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 สิ่งที่กลุ่มกปปส.ต้องการคือการ 'ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง' กลุ่ม '40 ส.ว.' เสนอให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคในเวลานั้นประกาศไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. ทุกเขต เพื่อคว่ำบาตรการเลือกตั้ง

กลุ่มกปปส. มีความคิดว่าถ้ามีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยยึดตามตัวบทกฎหมาย และการตีความเข้าข้างตัวเองแบบที่รัฐบาลรักษาการแถลงการณ์เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองแน่นอน อีกทั้งยังสูญเสียงบประมาณ ในการจัดการเลือกตั้งอันไร้ประโยชน์ครั้งนี้ วันเลือกตั้งมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งกับกลุ่มผู้ต้องการใช้สิทธิ์หลายพื้นที่

หลังวันเลือกตั้ง วันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 6 ต่อ 3 ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรค 2 เนื่องด้วยไม่สามารถกระทำการเลือกตั้งในวันเดียวกันได้ทั้งราชอาณาจักร มี 28 เขตเลือกตั้งไม่มีการจัดและเปิดรับสมัครเลือกตั้งมาก่อนเลย ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นธรรม และ กกต. ดำเนินการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งขัดต่อหลักการลงคะแนนลับ หากมีการจัดการเลือกตั้งหลัง

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ก็ไม่สามารถกระทำได้ตามเหตุผลข้างต้นปี 256 กกต.ยื่นฟ้องบุคคล 234 คน รวมทั้งแกนนำ กปปส. ที่ขัดขวางการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จนทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ โดยเรียกค่าเสียหาย 2,400 ล้านบาท และฟ้องร้องทางแพ่งกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตาม พ.ร.บ. ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ 2539 เนื่องจากปล่อยให้มีการจัดการเลือกตั้ง ทั้งที่มีการทักท้วงกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแล้ว

วันที่ 24 กุมภาพัน ธ์ 2564 ศาลอาญาพิพากษาจำคุกแกนนำ กปปส. รวม 26 คน ซึ่ง 5 คนเป็นรัฐมนตรีและส.ส. ทำให้ ชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร ปชป..อิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ, ถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย และส.ส.สงขลา, พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พปชร. ต้องพ้นสภาพรัฐมนตรีและ ส.ส.

ศาลชั้นตันยังสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ชุมพล จุถใส, อิสสระ สมชัย และ ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นบทลงโทษจากความผิดฐานร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ใช้สิทธิได้

ส่วนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรหนีคดีไปต่างประเทศ เช่นเดียวกับพี่ชาย