Friday, 29 March 2024
ตามรอยเลือกตั้ง

เลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ทางสองแพร่งแห่งการเมืองไทย

จนปัจจุบันนี้ยังมีคนก่นด่าว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 คือการถอยหลังเข้าคลองทางการเมืองไทย โดยเฉพาะบรรดาคนเสื้อแดงและเสื้อส้มทั้งหลาย จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลา 8 ปีแล้ว มาย้อนรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทยอีกครั้งว่าเกิดอะไรขึ้น และเป็นการถอยหลังเข้าคลองอย่างที่หลายคนกล่าวหาหรือไม่

ก่อนจะมาถึงวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ทางการเมือง นั่นคือการนิรโทษกรรมสุดซอยและลักหลับ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2556 อันมีจุดใหญ่ใจความคือต้องการล้างผิดให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่หนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ การต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะเธอคือหุ่นเชิดของพี่ชายเท่านั้น ความไม่พอใจนำไปสู่การชุมนุมของกปปส.เริ่มต้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 โดยมีสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นแกนนำ ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนทำให้มีการมาชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงหลักล้านคน

วันที่ 1 ธันวาคม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภาฯ ตามข้อเรียกร้อง เพื่อลดแรงกดดัน เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 สิ่งที่กลุ่มกปปส.ต้องการคือการ 'ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง' กลุ่ม '40 ส.ว.' เสนอให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคในเวลานั้นประกาศไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. ทุกเขต เพื่อคว่ำบาตรการเลือกตั้ง

กลุ่มกปปส. มีความคิดว่าถ้ามีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยยึดตามตัวบทกฎหมาย และการตีความเข้าข้างตัวเองแบบที่รัฐบาลรักษาการแถลงการณ์เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองแน่นอน อีกทั้งยังสูญเสียงบประมาณ ในการจัดการเลือกตั้งอันไร้ประโยชน์ครั้งนี้ วันเลือกตั้งมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งกับกลุ่มผู้ต้องการใช้สิทธิ์หลายพื้นที่

หลังวันเลือกตั้ง วันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 6 ต่อ 3 ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรค 2 เนื่องด้วยไม่สามารถกระทำการเลือกตั้งในวันเดียวกันได้ทั้งราชอาณาจักร มี 28 เขตเลือกตั้งไม่มีการจัดและเปิดรับสมัครเลือกตั้งมาก่อนเลย ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นธรรม และ กกต. ดำเนินการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งขัดต่อหลักการลงคะแนนลับ หากมีการจัดการเลือกตั้งหลัง

ปชป.รอวันฟื้น!! เชื่อ! จะกู้วิกฤตศรัทธาคืนมาได้อีกครั้ง แม้กระแสนิยม ‘หัวหน้าพรรค’ ตกต่ำสุดขีด

เมื่อพลพรรคประชาธิปัตย์สามัคคีกันลุกขึ้นสู้ “เขาจะกลับมาฟื้นตัวเสมอ”

แม้มีคนกล่าวว่า สถานการณ์เวลานี้พรรคประชาธิปัตย์ตกต่ำสุดขีดแล้ว ตายแล้ว ไปที่ไหนก็กระแสไม่ค่อยจะมี อันเป็นการสะท้อนผ่านผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ได้มาพียง 52 ที่นั่งจากที่เคยได้เกิน 100 มาแล้ว แถมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์สูญพันธุ์ ไม่มี ส.ส.เลยแม้แต่คนเดียว ภาคใต้รังของประชาธิปัตย์ก็ได้มาแค่ 21 ที่นั่ง อันเกิดจากคำพูดเพียงประโยคเดียวของ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในเวลานั้น “ไม่เอาประยุทธ์” ในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งคงคิดว่าเป็นวรรคทองที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งได้ อันอาจจะเกิดจากการประเมิน วิเคราะห์สถานการณ์ว่า คนไทยไม่เอาเผด็จการ ไม่เอาประยุทธ์แล้ว

แต่วรรคทองดังกล่าวกลับเป็นหอกกลับมาทิ่มแทงพรรคประชาธิปัตย์จนถึงทุกวันนี้ และหลังเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ก็นำทีมร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จนถึงทุกวันนี้ อภิสิทธิ์รับผิดชอบด้วยการลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลาออกจาก ส.ส. และมี 'จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์' ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคแทน

นั้นคือประเด็น และเหตุผลที่คิดกันว่า พรรคประชาธิปัตย์ตกต่ำ คนไม่เลือกแล้ว แต่ถ้าย้อนกลับไปมองในอดีตพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยเจอประสบการณ์ตกต่ำมาแล้วหลายครั้ง และเมื่อไหร่ก็ตามที่พรรคประชาธิปัตย์กลับมาสามัคคีกัน สร้างเนื้อตั้งตัวใหม่ ประชาธิปัตย์ก็จะกลับมาฟื้นเหมือนเดิน

ย้อนกลับไปเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งขึ้นโดยบุคคลคณะหนึ่ง มี 'ควง อภัยวงศ์' เป็นหัวหน้าพรรค ประกาศเจตนารมณ์ และจุดยืนชัดเจน 10 ข้อ ที่โดดเด่น เช่น ไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงสนับสนุนผลักดันให้มีการกระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารในท้องถิ่น อันถือเป็นนโยบายที่ก้าวหน้า และทันสมัยที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

พรรคประชาธิปัตย์ก้าวเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ล้มแล้วลุกตามสถานการณ์ทางการเมือง

จนถึงปี 2522 ผลการเลือกตั้งไม่น่าเป็นที่พอใจนัก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตกต่ำ ผลการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครพรรคประชาธิปัตย์ได้มาเพียง 1 คน คือ พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอร์มันตร์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ในเวลานั้นรับผิดชอบด้วยการลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอร์มันตร์ ได้รับเลือกให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค ทำหน้าที่กอบกู้พรรค พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอร์มันตร์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2522 - 2525 หลังหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งนับเป็นช่วงวิกฤตที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ ที่กระแสความนิยมตกต่ำอย่างรุนแรงและสมาชิกในพรรคเกิดความแตกแยกกัน 

พันเอกพิเศษถนัด คอร์มันตร์ เป็นนักกฎหมาย เป็นนักการทูต เป็นนักการเมืองที่ฉะฉานนักข่าวถ้าไม่แน่จริง ไม่ชัดเจนในประเด็น ไปถาม พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอร์มันตร์ จะถูกย้อนถามกลับมา ทำเอา “นักข่าวก็ไปไม่เป็น” เหมือนกัน สมัยนั้นต้องระดับ 'สุทธิชัย หยุ่น' ถึงจะเอาอยู่ แต่ก็ถูกพันเอกพิเศษถนัด คอร์มันตร์ ถามย้อนกลับเอาไม่น้อยเหมือนกัน แต่ด้วยความเขี้ยวของสุทธิ หยุ่น ก็ถือว่า 'เอาอยู่' 

พันเอก(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ต้องเข้ารับภาระในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค เพื่อประคองพรรคให้อยู่รอดต่อไปได้

กล่าวกันว่า พันเอก (พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั้น เป็นการบริหารที่ยาก เป็นการบริหารท่ามกลางความขัดแย้ง ไม่ลงรอยกับอีกขั้วการเมืองในพรรค คือขั้วของ 'พิชัย รัตตกุล' ซึ่งในขณะนั้นนายพิชัยเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ด้วย เนื่องจากมีสภาพเหมือนคู่แข่งกัน ในการทำงานระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่คนละรัฐบาล และต่างขั้วกัน โดยกล่าวกันในวงสนทนาว่า ถ้ามีผู้ใดถามถึง พิชัย กล่าวกันว่า พันเอก(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จะตอบเสมอ ๆ ว่า "ไม่รู้จักคน ๆนี้”

หมดยุคของพันเอก(พิเศษ) ในปี 2525 พิชัย รัตตกุล ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ นำพาพรรคให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ด้วยผลการเลือกตั้งที่คว้าชัยมาถึงหลัก 100 ที่นั่ง ถือว่า พรรคประชาธิปัตย์กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่พิชัยก็ก้าวพลาดจนได้ เมื่อนำพาพรรคเข้าร่วมรัฐบาล แต่กลับไม่ทำตามข้อตกลงกับกลุ่ม 'เฉลิมพันธ์-วีระ' ในการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีให้กับกลุ่ม ส.ส.ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ความขัดแย้งก่อตัวขึ้นอีกครั้งสะสมมาเรื่อย ๆ จนมาแตกหักในวันที่ 10 มกราคม 2530 อันเป็นวันเลือกตั้งหัวหน้าพรรค มีการแข่งขันกันสองขั้ว ขั้วหนึ่งมี 'ชวน หลีกภัย' เสนอตัวเป็นหัวหน้าพรรค อีกขั้ว มี 'เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์' ลงชิง ต่างฝ่ายต่างมีผู้สนับสนุน อันนำมาซึ่ง 'กบฏ 10 มกรา' แถลงข่าวไล่เตะ ไล่ถีบกันรายวัน

'อนุทิน' ลุ้น!! ฝ่ากระแส 'เพื่อไทย-ก้าวไกล' แบ่งเค้ก ส.ส.กทม. หลังดึง 'พุทธิพงษ์' นั่งแท่นว่าที่แม่ทัพเมืองหลวงของพรรค

นาทีนี้แลดู อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยจะมั่นใจมากขึ้น สำหรับความหวังในการปักธงสีน้ำเงิน ในสนามเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร หลังจากมี ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ทยอยลาออกมากรอกใบสมัครเข้าพรรคเพิ่มขึ้น

ผู้อยู่เบื้องหลังในการเจรจาดึงตัว ส.ส.เหล่านั้น คือ 'เสี่ยบี-พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์' อดีต รมว.ดีอีเอส ว่าที่แม่ทัพเมืองหลวงของพรรคสีน้ำเงิน  

ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2565 กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา และ ภาดาท์ วรกานนท์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ได้มาสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย โดยก่อนหน้านั้น ก็มี 3 ส.ส.กทม. อย่าง จักรพันธ์ พรนิมิตร, กษิดิ์เดช ชุติมันต์ และพัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ได้มาสมัครเป็นสมาชิกพรรคไปแล้ว รวมๆ แล้ว ส.ส.กทม.พรรคลุงป้อม ที่ย้ายมาพรรคเสี่ยหนู 5 คน ส่วนจากพรรคเพื่อไทย มี 1 คนคือ ส.ส.อ๊อด-ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ (เขตห้วยขวาง-ดินแดง)

จะว่าไป พรรคภูมิใจไทย ก็มี ส.ส.กทม.อยู่แล้ว 2 คนคือ ร.ต.ต.มณฑล โพธิ์คาย (เขตสวนหลวง) และโชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี (เขตจอมทอง) ทั้งคู่เป็น ส.ส.สมัยแรก สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ภายหลัง มีการยุบพรรคอนาคตใหม่ พวกเขาจึงเลือกมาอยู่พรรค ภท. ไม่ไปพรรคก้าวไกล

อย่างไรซะ ภูมิใจไทยของ 'อนุทิน' ก็มีภาพลักษณ์เป็นพรรคบ้านใหญ่ พรรคทุนท้องถิ่น ซึ่งความล้มเหลวในสนาม กทม. เมื่อการเลือกตั้งปี 2554 และปี 2562 ก็ให้คำตอบชัดว่า พรรคเสี่ยหนู ไม่ถูกจริตคนเมืองหลวง

แต่เมื่อมีขุมกำลังจากพรรค พปชร.ย้ายเข้ามาอยู่พรรค ภท. เสี่ยหนูจึงแอบหวังว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคจะได้ ส.ส.กทม. 

เพราะสมัยที่แล้ว พรรคพลังประชารัฐ ได้ ส.ส. 12 ที่นั่ง หลัง 2 ส.ส.อย่าง ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ (เขตบางซื่อ) และสิระ เจนจาคะ (เขตหลักสี่-จตุจักร) เจออุบัติเหตุการเมืองต้องพ้น ส.ส. จึงเหลืออยู่ 10 คน โดย ส.ส.ทั้งหมดนี้ จะไม่มีใครอยู่พรรค พปชร.อีกต่อไป 

อย่างตอนนี้ 5 คน ประกอบด้วย พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ (เขตปทุมวัน-บางรัก), กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา (เขตคลองเตย), ภาดาท์ วรกานนท์ (เขตพญาไท), กษิดิ์เดช ชุติมันต์ (เขตลาดพร้าว) และจักรพันธ์ พรนิมิตร (เขตบางพลัด) ที่เลือกไปพรรคภูมิใจไทย

มีข่าวว่า ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ (เขตบางกะปิ) และ ประสิทธิ์ มะหะหมัด (เขตสะพานสูง) จะไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ 

ศิริพงษ์ รัสมี (เขตหนองจอก) เตรียมย้ายไปสังกัดพรรค ปชป. และกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ (เขตพระนคร) ไปพรรคเพื่อไทย ส่วน ชาญวิทย์ วิภูศิริ (เขตมีนบุรี) มีข่าวว่าจะเว้นวรรค

รู้จัก ‘พรรคเพื่อไทย’ พรรคใหญ่อันดับ 1 ของการเมืองไทยในแง่จำนวน ส.ส. จากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา กับเป้าหมาย ‘แลนด์สไลด์ 

รู้จัก ‘พรรคเพื่อไทย’ พรรคใหญ่อันดับ 1 ของการเมืองไทยในแง่จำนวน ส.ส. จากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา กับเป้าหมาย ‘แลนด์สไลด์ 

ลุ้น!! ‘ประยุทธ์’ สลายขั้วขัดแย้งได้จริงหรือ เมื่อ ‘คู่กัด’ เมืองหอยใหญ่โคจรมาอยู่พรรคเดียวกัน

คุยกันสนั่นลั่นสภากาแฟแถวปักษ์ใต้ ตั้งแต่ชุมพร ยันสงขลาว่ามันจะเป็นไปได้เหรอที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เปิดอกแบไต๋ออกมาแล้วว่าจะทิ้งพลังประชารัฐ และไปเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีให้กับพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับการเปิดตัว ‘บิ๊กเนม’ อย่าง ‘ไตรรงค์ สุวรรณคีรี’, ‘กำนันศักดิ์-พงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว’ นายก อบจ.สุราษฏร์ธานี และ ‘ชุมพล กาญจนะ’ อดีต ส.ส.สุราษฏร์ 7 สมัย และ ‘ชัช-เตาปูน’ หรือ ‘ชัชวาลย์ คงอุดม’ จากพรรคพลังท้องถิ่นไทย

คนอื่นไม่เท่าไหร่ แต่สำหรับ ‘กำนันศักดิ์’ กับ ‘ชุมพล กาญจนะ’ ที่แม้จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกฯ อีกสมัย แต่ทั้งคู่ คือ ‘คู่กัด’ ที่โคจรมาอยู่ในพรรคเดียวกัน

หากย้อนเวลากลับไปเมื่อปลายปี 2563 กำนันศักดิ์ ผู้สร้างฐานอำนาจมาจาก สจ.มากบารมีจากฟาร์มหอยแครง กับ ชุมพล ซึ่งเป็นคู่ต่อสู้ในศึกชิงเก้าอี้นายก อบจ.สุราษฏร์ธานีนั้น จะพบว่าต่างฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์มาสู้กันทุกรูปแบบ และท้ายที่สุด กำนันศักดิ์ เอาชนะ ชุมพล กาญจนะ ไปได้ ม้วนเดียวจบ แต่มิวายก็มีการยื่นคำร้องเรียน ว่าทีมงานกำนันศักดิ์ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง จ่ายเงินทำบุญงานบวช แต่สุดท้าย กำนันศักดิ์ ก็สู้จนชนะในชั้นศาลอุทธรณ์และนั่งเป็นนายกฯ อบจ.สุราษฎร์ธานีจนถึงทุกวันนี้

เลือกตั้ง 6 ก.พ. 48 ‘ไทยรักไทย’ ชนะขาด สร้างปรากฏการณ์รัฐบาลพรรคเดียว

งวดเข้ามาทุกขณะ สำหรับการเลือกตั้งใหญ่ ที่เริ่มส่งสัญญาณออกมาเป็นระยะ เพราะไม่ว่ารัฐบาลลุงตู่ จะอยู่ครบเทอม หรือ จะเลือกยุบสภาก่อน สุดท้ายแล้วการเลือกตั้งจะมีขึ้นภายในปีนี้อย่างแน่นอน

ส่งผลให้สถานการณ์การเมืองในช่วงนี้ ต้องใช้คำว่า ‘ระอุ’ จะเริ่มเห็นส.ส. ย้ายค่าย พรรคการเมืองเปิดตัว ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กันอย่างคึกคัก

โดยเป้าหมายหลักของพรรคการเมือง ย่อมอยู่ที่การได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคใหญ่อย่าง ‘เพื่อไทย’ ที่หมายมั่นปั้นมือว่า เลือกตั้งครานี้ จะต้องเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ บนโจทย์ที่สุดท้าทายนั่นคือ จะต้องชนะการเลือกตั้ง กวาดที่นั่ง ส.ส. ในสภาได้อย่างถล่มทลาย หรือ ที่ตั้งสโลแกนคุ้นหู ‘แลนด์สไลด์เพื่อไทย’ โหมโรงออกมาเป็นระยะ

นั่นเพราะการชนะเลือกตั้งมีจำนวน ส.ส. มาเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ได้การันตีว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เพราะยังมีเงื่อนไข ส.ว. 250 เสียงโหวตนายกรัฐมนตรีได้ เป็นเงื่อนปมที่ ‘เพื่อไทย’ อกหักมาแล้วในการเลือกตั้งปี 2562 ที่ครั้งนั้นได้จำนวนส.ส.มาเป็นอับดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะรวมเสียงแล้วสู้ อีกขั้วอำนาจไม่ได้

เลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ จึงเปรียบเป็นเวทีแก้มือ ของเพื่อไทย ที่ระดมทุกสรรพกำลังที่มี ทุ่มอย่างเต็มที่ เพื่อไปถึงจุดหมาย ‘แลนด์สไลด์’ ให้ได้ดังฝัน ถึงขั้นไปเอา ‘อุ๊งอิ๊งค์ - แพทองธาร ชินวัตร’ ลูกสาวสุดรักของ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ มาโหมโรงเรียกเรตติ้งจากสาวก

จะว่าไปแล้ว ในอดีต เมื่อครั้งยังเป็น ‘พรรคไทยรักไทย’ ภายใต้การนำ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ในขณะนั้น ไทยรักไทย เคยสร้างปรากฏการณ์แลนด์สไลด์ ชนะเลือกตั้งถล่มทลาย กลายเป็นรัฐบาลพรรคเดียวมาแล้ว ในการเลือกตั้งปี 2548

โดยการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปี 2548 มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 หลังจากรัฐบาลทักษิณ อยู่ครบวาระ 4 ปี ซึ่งขณะนั้นคะแนนนิยมในตัวทักษิณ มีสูงมาก จากนโยบายประชานิยมที่โดนใจชาวบ้าน รวมถึงการรวมสมาชิกจากพรรคต่าง ๆ ได้แก่ พรรคความหวังใหม่, พรรคชาติพัฒนา, พรรคกิจสังคม, พรรคเสรีธรรม และพรรคเอกภาพ เข้ากับพรรคไทยรักไทย มาลงเลือกตั้ง ภายใต้สโลแกนหาเสียงว่า '4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง' และผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคไทยรักไทย กวาดไปได้ถึง 377 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 500 ที่นั่ง

มหากาพย์ เลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 กกต.ถูกจำคุก-จ้างพรรคเล็ก-ยุบพรรคไทยรักไทย

ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนทำให้ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภา ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกตั้งอีกครั้ง โกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป

แต่ทว่า ก่อนการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549 ฝ่ายค้านในห้วงนั้นประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน ได้ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย เรียกร้องให้ทำสัตยาบันร่วมกันว่า หลังการเลือกตั้งจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 313 เพื่อตั้ง ‘คนกลาง’ ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่พรรคไทยรักไทยประกาศไม่ลงสัตยาบันร่วมกับฝ่ายค้าน แต่เชิญหัวหน้าพรรคทุกพรรคให้มาทำสัญญาประชาคมร่วมกันว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญระหว่างการเลือกตั้ง จากนั้นค่อยมาตั้ง ‘คนกลาง’ เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฝ่ายค้านจึงประกาศคว่ำบาตรไม่ส่งผู้สมัคร

การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 จึงเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายมากมาย มีการฉีกบัตรเลือกตั้งเพื่อแสดงอารยะขัดขืน เช่น รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร, มีการกรีดเลือดมาเป็นหมึกกาบัตรเลือกตั้ง, คูหาเลือกตั้งหันหลังออก, มีผู้สมัคร ส.ส. หลายสิบเขตได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าคะแนนโนโหวต มีการใช้ตรายางประทับบัตรเลือกตั้ง และมีบัตรเสียเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความเคลือบแคลงใจในความโปร่งใสของการเลือกตั้งครั้งนั้นอย่างหนัก

ส่วนผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ มีผู้มาใช้สิทธิ 29 ล้านคนเศษ จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 44.9 ล้านคน คิดเป็น 64.77% มีบัตรเสีย 1,680,101 ใบ หรือ 5.78% มีผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน หรือ โนโหวต สูงถึง 9,051,706 คน คิดเป็นสัดส่วน 31.12%

และผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต มีผู้มาใช้สิทธิเกือบ 29 ล้านคน หรือ 64.76% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีบัตรเสีย 3,778,981 ใบ 13.03% มีผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน 9,610,874 คน 33.14%

หลังจากนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพิกถอนการเลือกตั้ง และให้มีการเลือกตั้งใหม่

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 และคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 607-608/2549 วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีการจัดคูหาที่อาจส่งผลให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยลับ และให้จัดเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

นอกจากนี้ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ศาลอาญา ได้พิพากษาให้ กกต. ที่จัดการเลือกตั้งมีความผิดเนื่องจากการจัดการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม โดยให้ลงโทษจำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี แต่ต่อมา เมื่อปี 2556 หลังจากที่ กกต. (สามคนในเวลานั้น) ผ่านการติดคุก/ต่อสู้คดีแล้ว ศาลกลับได้มีคำสั่งยกฟ้อง กกต. ทั้งสาม

หลังจากนั้นก็มีการสรรหา กกต.ใหม่ และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ แต่ยังไม่ทันได้เลือกตั้ง ก็ถูก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการปฏิวัติเสียก่อนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

แต่ผลพวงจากการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสในครั้งนั้น ยังตามหลอนพรรคไทยรักไทยไม่จบสิ้น เมื่อ ‘สุเทพ เทือกสุบรรณ’ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องร้องเรียน กกต.ว่า พรรคไทยรักไทย จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็ก อย่างพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทยลงสมัคร ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนีเกณฑ์ร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ กกต.ปลอมแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคเล็กเมื่อปี 2549


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top