‘พงศ์พรหม ยามะรัต’ ห่วงอนาคตการศึกษาไทยใกล้ถึงจุดพัง เหตุสภาพแวดล้อมทางการศึกษาไม่เอื้อเด็กใฝ่เรียน แถมเด็กรุ่นใหม่ส่วนใหญ่รักสบาย อยากได้แต่สินค้าแบรนด์เนม

นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์เฟซบุ๊ก Pongprom Yamarat ระบุว่า..

คุยกับหลายๆคนเรื่องเด็กไทยจำนวนไม่น้อยอยากไปเรียนต่างประเทศ

หลายคนสอบชิงทุนกันไปได้ หลายคนเร่งพัฒนาทักษะภาษาจีน อังกฤษ เยอรมันเองจนไปเรียนต่อได้ดี

นอกจากเหตุเรื่องระบบการศึกษาไทยถอยหลังลงคลองมา 20 ปีแล้ว

มันมีอีก “ปัญหาซ้อนปัญหา” ครับ

ผมจะสรุปเป็นข้อๆเพื่อให้กระชับ

1. เด็กรุ่นนี้ ก็เหมือนเด็กรุ่นก่อนๆ หรือรุ่นผม คือมีเด็กชอบเรียนรู้ผสมกับเด็กรักสบาย อันนี้เป็น basic เด็กทั่วโลก

2. ปัญหาแรกที่เจอ คือ “ความอึดอัด” ในเด็กรุ่นเดียวกันครับ

3. ผมมีหลานจบ Ivy League อยากพัฒนาประเทศไทย เลยกลับมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยดัง สิ่งที่พบคือเด็กไทยสนแต่การพูดคุยเรื่องกระเป๋าแบรนด์เนม ที่เที่ยวสวยๆ ชีวิตสบายๆ ไม่ได้เรียนด้วย passion อะไร กะให้สอบๆเพื่อได้ใบปริญญา หลานผมสอนได้ปีเดียวก็กลับอเมริกา เพราะบอกว่าเด็กรุ่นเขาในไทย มันต่างจากเด็กรุ่นเขาในอเมริกามาก เด็กไทยในไทยรักสบาย และเปราะบางเหลือเกิน

4. ผมเจอเด็กอีกหลายเคสที่กระตือรือร้นไปต่างประเทศ เพราะเบื่อคนรุ่นเดียวกัน เด็กๆเหล่านี้มีความเห็นตรงกัน 3 อย่าง

4.1 การศึกษาไทยในโรงเรียนดีๆเช่นสาธิต ไม่แย่ 

4.2 แต่สิ่งแวดล้อมในกรุงเทพ ไม่มีแหล่งเรียนรู้ เช่นมิวเซียม หอศิลป์ ศูนย์นวัตกรรมเพียงพอ เพราะมีแต่ห้าง และพื้นที่จัดคอนเสิร์ต

4.3 เด็กรุ่นเดียวกันสนใจแต่บันเทิง แฟชั่น แบบตามกระแส สนการกิน การใช้ชีวิตตามโซเชียล แต่ไม่มีใครสนใจที่จะเข้าใจที่มา เช่นแห่ซื้อกระเป๋าดัง แต่ไม่รู้หรอกว่ามันดัง มันดี เพราะอะไร เหตุเพราะไม่ศึกษา ไม่มีวัฒนาการชอบเรียนรู้ แต่เอาเวลาไปถ่ายรูปกันหมด5. ลูกของคนรู้จักกำลังเรียน Ivy League แห่งนึง แล้วกลับมาฝึกงานในไทย สิ่งที่เจอคือคุยกับเพื่อนๆฝึกงานจาก มหาลัยในไทยไม่รู้เรื่อง เพราะขณะที่ฝึกงาน เรียนรู้งานอย่างแข็งขัน เด็กเรียนไทยคุยกันแต่เรื่องที่เที่ยว เปิด IG นัดกันทำ workshop ก็มาสาย แต่พอจะปาร์ตี้ ก็ปาร์ตี้ไม่สุด สรุปคือ work ก็ไม่ hard พอจะ play ก็ไม่ hard อีก กลายเป็นว่าน้อง ๆ Ivy League เหล่านี้ต้องมาคุยกับคนรุ่นผมแทน เพราะเด็กไทยในไทย “ไม่มีพลังพอ”

ผมจะ list ปัญหาให้เร็วๆ

1. การศึกษาไทยถึงจุดที่พังแล้ว 

2. หากโชคดี มีเงิน เรียนสาธิต ยันอินเตอร์ ก็ยังเจออุปสรรคถัดมา คือ toxic environment ได้แก่วัฒนธรรมเปราะบาง รักสบาย ไร้พลังของเด็กรุ่นเดียวกัน

3. และในมุมกว้าง เด็กเหล่านี้เจอเมืองที่ขาดแหล่งเรียนรู้ดีๆ เมื่อเทียบกับจีน มาเล สิงคโปร์ อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น 

4. คอนเท้นต์ในสื่อไทย “เป็นขยะ” ซะมาก มีแต่ดราม่า ตบตี ฉาบฉวย ด่าทอ หรือเวอร์เกินจริง กลายเป็นยิ่งดูยิ่งโง่

หมดนี่คือ “ปัญหาซ้อนปัญหา” ที่กำลังบีบ “เด็กรักดี” และ “รักชาติ” รุ่นใหม่ครับ

ที่มา : https://www.facebook.com/pongprom.yamarat/posts/pfbid0CV6NjKCvbNvxVxUFtXQqeQNke2ChqXeUUzwhcgdJoSvMoY6jaQCoPp1aY6Mqo88kl