Tuesday, 10 September 2024
WORLD

ยุทธศาสตร์ของสปป.ลาว ในการพลิกฟื้น หลีกพ้นความยากจน ใช้ลักษณะภูมิประเทศนำสู่การเป็นผู้นำของภูมิภาคด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการก่อสร้างเขื่อนจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้เพื่อนบ้าน

คอลัมน์ "เบิ่งข้ามโขง"

หม้อไฟลูกแรก ที่เขื่อนน้ำงึมขนาดใหญ่ ส่งขายให้ประเทศไทย เป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดในปี พ.ศ.2514 

หลายปีผ่านไปกับยุทธศาสตร์ของสปป.ลาว แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ท้วงติงจากการสร้างเขื่อนอาจส่งผลต่อความเสียหายทั้งสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนและสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่ ลาวร้อยเขื่อน ก็ได้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ... ให้บรรลุยุทธศาสตร์ของชาติลาว ที่จะพลิกฟื้นความเป็นอยู่ของชาวลาว ทั้งประเทศ

วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2563 เป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปีวันชาติลาว เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอีก 13 เขื่อนจะส่งกระแสไฟฟ้าในปีนี้ ตามรายงานของ ข่าวจากแผนกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SERD) ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)

ทำให้สปป.ลาว มีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ทั้งหมด 90 แห่งและจะมีกำลังการผลิตรวม 10,704 เมกะวัตต์ เวลาผ่านไป ดูเหมือนไม่นานนัก ..ลาวมีเขื่อน 90 เขื่อนแล้วหรือนี่

สปป. ลาว มีการส่งออกกระแสไฟไปแล้วเกือบ 7,000 เมกะวัตต์

โดยส่งออกไปยังประเทศไทยเกือบ 6,000 เมกะวัตต์ ตามด้วยเวียดนาม 570 เมกะวัตต์ กัมพูชา 20 เมกะวัตต์ และเมียนมาร์ 10 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะส่งออกมากขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้สปป. ลาวยังขายไฟฟ้าให้กับ ASEAN Grid (100 MW) ผ่านไทยและมาเลเซีย และคาดว่าจะส่งออกได้ 300 เมกะวัตต์ภายในปีหน้า

ปัจจุบัน 95% ของครอบครัวในประเทศลาว มีไฟฟ้าเข้าถึง 93% ของหมู่บ้านทั้งหมดมีไฟฟ้าใช้ และ 100% มีไฟฟ้าใช้ครบสำหรับเมืองใหญ่ของแต่ละแขวง

ซึ่ง ADB ร่วมกับภาคเอกชน เป็นหุ้นส่วนภาคีการพัฒนาและ รัฐบาลลาวได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคพลังงาน ภายใต้แผนปฏิบัติการภาคเอกชนของ ADB เป็นรายงาน ในจดหมายข่าว SERD ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

ในที่สุด สปป.ลาว ก็ใกล้บรรลุยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็น ยุทธศาสตร์ชาติที่สำคัญและได้ดำเนินการต่อเนื่อง จากการเข้ามาลงทุนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ไม่ว่า ประเทศไทย จีน เกาหลี ในการสร้างหม้อไฟแห่งเอเชีย

สิ่งที่สปป.ลาวคำนึง นั่นคือ ความมั่นคงทางพลังงานและไฟฟ้า

เพราะอย่างไร ทุก ๆ ประเทศล้อมข้าง ผู้คนย่อมมากขึ้น ความต้องการย่อมมากขึ้นเช่นกัน ในขณะที่ประเทศเหล่านั่น มีปัญหาการต่อต้านการสร้างพลังงานไฟฟ้า ด้วยเหตุผลสภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของผู้คน และการเมืองระหว่างประเทศ

ในที่สุด สปป.ลาว ใกล้บรรลุสู่ .. แบตเตอรี่แห่งเอเชีย

มั่นคง มั่นยืน ให้แก่ชาวลาวและเพื่อนบ้าน .. ดีใจนำเด้อ


หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชนและภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนําภาคเอกชนไทย บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า วีถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ

โควิด-19 ส่งผล ทำให้เขตพัฒนา กวมลวมไชเชดถา แห่ง สปป ลาว ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ดึงดูดนักลงทุนมากกว่า 80 บริษัท ต้องชะลอตัว ผลกระทบส่วนใหญ่ เป็นเรื่องบุคลากรและการนำเข้าวัตถุดิบต่างๆ

คอลัมน์​ "เบิ่งข้ามโขง"

โครงการนิคมอุตสาหกรรม เขตพัฒนา กวมลวมไชเชดถา นครหลวงเวียงจันทน์  ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่มากขึ้นเรื่อย ๆ

ปัจจุบันมี บริษัท จดทะเบียน 86 บริษัท และ บริษัท จาก 7 ประเทศในภูมิภาคทั่วโลก ได้แก่ บริษัทโฮย่า จากญี่ปุ่น, บริษัทปิโตรเคมีลาว - จีน ,บริษัทยาสูบลาว - จีน , บริษัทความหวังใหม่ , บริษัท โกลเด้นลาว และ บริษัทที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในภูมิภาค

การลงทุน 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ท่านหว่าง เหว่ย คุน อำนวยการบริษัทลาว - จีน ได้ให้สัมภาษณ์

โครงการนิคมอุตสาหกรรม เขตพัฒนา กวมลวมไชเชดถา  นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นโครงการที่กลุ่มบริษัทก่อสร้างและลงทุนมณฑลยูนนาน หุ้นส่วนจำกัด กับองค์กรนครหลวงเวียงจันทน์ ร่วมทุนจัดตั้ง และ เป็นโครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศ

นอกจากนี้ยังเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างประเทศแห่งเดียวของจีนในสปป. ลาว ..

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเวียงจันทน์ครอบคลุมพื้นที่ 1,149 เฮกตาร์โครงการลงทุนรวม 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

โครงการมุ่งเน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองอย่างผสมผสาน

โดยแบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่

ระยะที่ 1 -  จะเน้นการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม

ระยะที่ 2 และ 3 - ได้รับการพัฒนาในด้านการคมนาคมการค้าที่อยู่อาศัยและแหล่งท่องเที่ยวและ จะพยายาม สร้างเมืองเวียงจันทน์ใหม่

คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีพ.ศ.2573 

ปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมพื้นที่ 400 เฮกตาร์ รวมถึง ก่อสร้างในระยะแรก แล้วเสร็จ เช่น ถนน พื้นที่สีเขียว ระบบท่อน้ำรวม  สถานีไฟฟ้า 115 กิโลวัตต์

ก่อสร้างโรงงานมาตรฐาน บนพื้นที่ 80,000 ตารางเมตรเสร็จสิ้น

การก่อสร้างหอพักพนักงานเพื่อรองรับและสามารถตอบสนองความต้องการบริการขั้นพื้นฐานของสถานประกอบการในพื้นที่

กำลังดำเนินการพัฒนาโครงการในระยะที่สองและสาม ได้แก่ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง โครงการริเริ่มในตัวเมืองใหม่ ซึ่งแล้วเสร็จประมาณ 60%

มีการสร้างงานมากกว่า 1,800 ตำแหน่ง และ ภายในสิ้นปีนี้ จะมีการสร้างงานมากกว่า 5,000 ตำแหน่ง

ภายใต้ความเอาใจใส่และการสนับสนุนของสองรัฐบาลลาวและจีน ถือได้ว่า ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง

แต่จนถึงปีนี้เนื่องจากการระบาดของโรคระบาดโควิด - 19

ทำให้โครงการได้รับผลกระทบอย่างมาก ในแง่ของการดึงดูดนักลงทุนและงานก่อสร้าง จำนวนบริษัทใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาลงทุนและการทำสัญญา

และ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ผลกระทบส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องของบุคลากรและการนำเข้าวัตถุดิบต่าง ๆ

นอกจากนี้ ความคืบหน้าของการก่อสร้าง บางส่วนในพื้นที่ก็ล่าช้าออกไปด้วย


ที่มา  ປະເທດລາວ Pathedlao

หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชน​และภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนํา​ภาคเอกชนไทย​ บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า​ วีถีชีวิต​ วัฒนธรรม​ เศรษฐกิจ​ การเมืองประเทศฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง​  หรือ​ มุมมองเบิ่งข้ามโขง

 

กลางปีหน้า เขื่อนพลังงานไฟฟ้า น้ำกง 1 เริ่มผลิตกระแสไฟฟ้า แขวงอัตตะปือปี 64 โครงการคืบหน้ากว่า 80 %

โครงการเขื่อนพลังงานไฟฟ้า น้ำกง 1 ในประเทศลาว ตอนนี้คืบหน้าไปถึง 81.9 % ของงานทั้งหมดหลังจากเริ่มการก่อสร้างอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2560 เป็นต้นไป คาดว่า ภายในกลางปี พ.ศ.​​2564 ในเดือนพฤษภาคม จะทดลองดำเนินการ จากนั้นเริ่มอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564

นาย เสิน ยู สว่าน ผู้อำนวยการโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำกง 1 กล่าวรายงานในโอกาสที่ นายสินาวา สุพานุวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและการเหมืองแร่ พร้อมด้วยคณะติดตามและตรวจสอบโครงการ เมื่อเช้าวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำกง 1 เสร็จสิ้นภารกิจ โดยเฉพาะที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อรองรับในการสนับสนุนแผนการกักเก็บน้ำของโครงการได้ดำเนินการก่อสร้างตัวเขื่อนเสร็จสิ้น

ที่ปรึกษาโครงการได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการก่อสร้างและการประเมินความปลอดภัยของเขื่อนและส่วนประกอบก่อนอ่างเก็บน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้วก่อนกักเก็บน้ำ

ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบเขื่อนเสร็จสมบูรณ์ จัดตั้งทีมเทคนิคเพื่อดำเนินการกักเก็บน้ำ ได้เผยแพร่แผนการกักเก็บน้ำและแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้แก่หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนใต้เขื่อนใน 14 หมู่บ้าน และ งานสำคัญอื่น ๆ

โครงการเริ่มกักเก็บน้ำตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน พ.ศ.2563

งานที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ การสร้างสันเขื่อน , ติดตั้งประตูน้ำล้น, ติดตั้งเครื่องจักรเบอร์ 2 ,ไลน์นิ่งคอนกรีตท่อหายใจ โครงสร้างประตูน้ำท้ายเครื่องจักร , และ งานดึงสายเคเบิล 115 KV

ในโอกาสนี้นายบัวเทพ มาลัยคำ หัวหน้ากรมคุ้มครองพลังงาน กระทรวงพลังงานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า "เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำน้ำกง 1 เป็นเขื่อนหินถมด้านหน้าด้วยคอนกรีต กักเก็บน้ำได้ 650 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการตรวจสอบนี้จะเห็นว่า การก่อสร้างเขื่อนล่าช้าเล็กน้อยจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด -19"

"แต่การก่อสร้างโดยรวมมีความคืบหน้าไปด้วยดีและคาดว่าโครงการจะทดสอบโรงไฟฟ้าในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 หลังจากนั้นจะเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564"

"อย่างไรก็ตามแม้ว่าโครงการจะแล้วเสร็จ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและในพื้นที่จะติดตามการดำเนินงานของเขื่อนต่อไป เช่น การตรวจสอบชุดเขื่อนโครงสร้างเขื่อนน้ำรั่วในเขื่อน ฯลฯ เพื่อให้เขื่อนสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและมั่นใจในความปลอดภัยของเขื่อน"

โครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำกอง 1 ตั้งอยู่บนลำน้ำกง ในเขตเมืองภูวง แขวงอัตตะปือ ด้วยความสูง 90 เมตร โรงผลิตไฟฟ้าอยู่ใต้ดิน มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 160 เมกะวัตต์ (2x80 เมกะวัตต์) ผลิตไฟฟ้า 469 GWh / ปี มูลค่าการก่อสร้าง 335.8 ล้านเหรียญสหรัฐ อายุสัมปทาน 25 ปี ซึ่ง บริษัท น้ำและพลังงานไฟฟ้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CWE) ถือหุ้น 65% รัฐวิสหกิจกิจไฟฟ้าลาว EDL ถือหุ้น 20% และบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนเขื่อนไฟฟ้าจำกัดผู้เดียว (IHC) ถือหุ้น 15%. ไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้จะถูกขายให้รัฐวิสหกิจกิจไฟฟ้าลาว (EDL) เพียงผู้เดียว


CR : มดแดงตัวน้อย

Assalamualaikum ...อัสลามมุอะลัยกุม จากประเทศปากีสถาน

ตอนนี้ขอแนะนำตัวเองก่อนนะคะ

หนูอยู่ในเมือง Passu ประเทศ Pakistan เป็นเมืองทางภาคเหนือ อยู่ในเขตGB (Gilgit Baltistan) มีเขตชายแดนติดต่อประเทศจีน เส้นทางสายไหมโบราณ โดยมีถนนคาราโครัมย์ ไฮเวย์ (ถนนไฮเวย์ลอยฟ้า ที่สูงที่สุดในโลก) เป็นตัวเชื่อม 2 ประเทศ

หนูมีอาชีพทำทัวร์ปากีสถาน เป็นผู้จัดทัวร์และเป็นไกด์ผู้หญิงของเส้นทางนี้ ทำงานเส้นทางคาราโครัมนี้มาเข้าปีที่ 6 แล้วค่ะ

และปลายปีที่แล้ว ผู้เขียนได้แต่งงานกับผู้ชายพาสสุ ชื่อคุณทันเวียร์ อาหมัด เป็นเจ้าของบริษัททัวร์ hunzavalleyexperience และเจ้าของร้านอาหาร Glacier Breeze Restaurant เป็นร้านอาหารเก่าแก่ของครอบครัว และเปิดมายาวนานถึง 17 ปี มีเค้กแอปริคอทที่โด่งดังมาก ๆ ใครผ่านไป ผ่านมาก็ต้องแวะที่ร้านของเราค่ะ

และครอบครัวของเราทำทัวร์นำเที่ยวปากีสถาน

เส้นทางท่องเที่ยวสวยงามมาก มีภูเขาหิมะสูงใหญ่ มี3เทือกเขาสวยงามระดับโลก คือเทือกเขาหิมาลัย คาราโครัม และฮินดูกูซ และทะเลสาบสีฟ้ามากมาย และตามรอยเส้นทางสายไหม

คนไทยมาเยือนที่นี่พอสมควร

เดือนธันวาคม ช่วงนี้เป็นฤดูหนาวค่ะ อากาศทางเหนือหนาวมาก ๆ และมีหิมะตกหลายที่

หนูจะนำเรื่องราวและรูปภาพจากประเทศปากีสถานมาฝากเรื่อย ๆ นะคะ

หนูเป็นคนไทย คนเดียวในเมืองพาสสุ ที่นี่ต้องเป็นคนชอบธรรมชาติจริง ๆ ถึงจะอาศัยอยู่ได้ เพราะช่วงหน้าหนาว หนาวมาก-10 ถึง -25 องศา และที่นี่ไฟฟ้าไม่เสถียร บางช่วงไฟดับ 1 - 2 วัน

และช่วงหน้าหนาว น้ำปะปาของเราก็แทบไม่มีเพราะน้ำในท่อเป็นน้ำแข็ง

หลาย ๆ ท่านจากไทย เคยถามหนูว่าอยู่ที่นี่ได้อย่างไร

นั่นสิคะ ?!!

พวกเราอยู่กับธรรมชาติจริงๆ และที่เมืองนี้ไม่มีโควิดนะคะ ที่เมืองนี่ไม่เคยมีผู้ติดเชื้อโควิดเลยค่ะ

ฝากติดตามชีวิตของพวกเรา จากปากีสถานด้วยนะคะ


กุลไลล่า

ไกด์สาวชาวไทย​ สะใภ้​ปากี​สถาน จากหัวหิน​พบรักหนุ่มปากีเชื้อสายวาคี อาศัยอยู่เมืองพาสสุ​ ดินแดนเหนือสุดของประเทศปากีสถาน ปัจจุบันเปิดร้านอาหารริมถนนคาราโครัมไฮเวย์​ ถนนที่ได้รับการขนานนามว่าสูงที่สุดในโลก​ หรือเส้นทางสายแพรไหมในอดีต​

คอยต้อนรับแขกที่ผ่านทางมา​ แวะกินอาหารไทย​และชิมชา​ เบเกอรี่ชื่อดัง​ ทางเหนือของปากีสถานได้​ พร้อมให้บริการท่องเที่ยวปากีสถาน​หลังโควิด​-19 ผ่านไป

ชุดนักเรียน...กับที่มาของแต่ละประเทศ

คอลัมน์ "ข้างครัวริมแม่น้ำบริสเบน"

หลายวันมานี้ แว่วหูมากับข้อเรียกร้องของผู้ไม่จำนนต่อกฎระเบียบว่า....

“หนูจะไม่ยอมใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียนอีกแล้ว” คำถามที่ตามมา คือ แล้วหนูจะใส่ชุดอะไรไปเรียนคะ ?

ราตรีสั้น ราตรียาว บิกินี่ หรือ กิโมโนดี ? เอาเวลาคิดว่าจะใส่อะไรไปโรงเรียน ไปทำการบ้านให้เสร็จทันส่งครูดีกว่าไหม ?

ยกตัวอย่างง่าย ๆ วันนี้มีชั่วโมงพละศึกษา นักเรียนทุกคนต้องลงสนามเล่นบาสเกตบอล ทุกคนอยู่ในชุดพละศึกษา แต่ถ้าหนูจะมาในชุดราตรียาว หนูจะวิ่งไล่ลูกบาสยังไง?

ไอ้ที่ร่ายยาวมาก็แค่เกริ่นขำ ๆ เรามาดูประวัติชุดนักเรียนในแต่ละประเทศกันดีกว่า

ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎให้นักเรียนต้องสวมเครื่องแบบ บันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุในช่วงปีค.ศ.1222 สัญลักษณ์โรงเรียนและรูปแบบบางอย่างถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายที่นี่ซึ่งทำให้นักเรียนแตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในอังกฤษเครื่องแบบยังเป็นแหล่งแห่งความภาคภูมิใจ แจ็คเก็ต กางเกงขายาว เนคไท และแม้แต่ถุงเท้าไม่ควรเบี่ยงเบนไปจากประเพณีที่กำหนดไว้ นี่ไม่ใช่แค่การละเมิด แต่ยังเป็นการดูหมิ่นสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะ

ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 3 เดือนมกราคม ปีค.ศ.1996 ประธานาธิบดี บิลล์ คลินตั้น กล่าวกับสภาคองเกรสว่า "If it means that teenagers will stop killing each other over designer jackets, then our public schools should be able to require their students to wear school uniforms." จากนั้น กระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐอเมริกาก็ออกคู่มือพิเศษเกี่ยวกับชุดนักเรียนซึ่งระบุถึงประโยชน์ของเครื่องแบบ อธิบายถึงการทดลองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแนะนำแบบฟอร์มในบางโรงเรียน ซึ่งผลจากนโยบายยังทำให้การก่ออาชญากรรมในโรงเรียนน้อยลงและวินัยทางการศึกษาทั่วไปก็ดีขึ้น

ในประเทศไทยการแต่งกายด้วยชุดนักเรียนมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2428 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อทำสยามให้ทันสมัยทัดเทียมชาติตะวันตก โดยกำหนดให้เครื่องแบบนักเรียนต้องมีหมวกฟาง เสื้อราชปะแตนสีขาว กางเกงขาสั้น และรองเท้าสีดำ

ประเทศญี่ปุ่น การปลูกฝังเรื่องเครื่องแบบนักเรียนมีขึ้นในช่วงยุคปฏิวัติเมจิ (ในช่วงปี ค.ศ.1868 - 1912) ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นพยายามพัฒนาทั้งชาติด้วยการศึกษา ยุคนี้เป็นช่วงหนึ่งของยุคลัทธิจักรวรรดินิยมแบบนานาชาติ ไอเดียการใส่เครื่องแบบนั้นได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอย่างมากเนื่องจากในหลายพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่น ประชาชนยังพยายามถีบตัวเองจากสถานะความเป็นไพร่พล ด้วยเหตุนี้เองเครื่องแบบนักเรียนจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรับผิดชอบและความทันสมัยของเยาวชนในช่วงยุคเมจิ แล้วก็เพราะเหตุนี้เอง เครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกของญี่ปุ่น จึงเป็นการสะท้อนภาพความฝันและความหวังของผู้ปกครองด้วย

ชุดนักเรียน นักศึกษา คือ ความภาคภูมิใจของผู้มีการศึกษาในอังกฤษ คือการลดปัญหาความรุนแรงในอเมริกา คือการประกาศก้าวว่าเราทันสมัยทัดเทียมต่างชาติในไทย คือความหวังความฝันของผู้ปกครองในญี่ปุ่น เครื่องแบบธรรมดาที่ทุกคนสวมใส่เหมือนกัน ยังบ่งบอกถึงความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน บ่งบอกถึงวัยแห่งความฝัน ฉะนั้น เมื่อยังมีโอกาสสวมใส่มัน ก็จงสวมใส่อย่างภาคภูมิใจเสีย อย่ารอให้หน้าแก่หนังเหี่ยวแล้วคิดจะมาใส่ เพราะถึงเวลานั้นมันไม่ใช่วัย เดี๋ยวจะหาว่าป้าไม่เตือน

ในออสเตรเลียก็เช่นกัน โรงเรียนแห่งหนึ่งมีเด็กเพิ่งกลับจากเที่ยวต่างประเทศย้อมผมและตัดผมแฟชั่น โรงเรียนไม่ให้เข้าเรียนจนกว่าจะทำผมให้กลับเป็นเหมือนเดิม แม้จะมีการถกเถียงเรื่องการใส่ชุดนักเรียนและระเบียบวินัยต่างๆในโรงเรียน แต่ท้ายที่สุดแล้ว ออสเตรเลียก็ยังคงกฏระเบียบชุดนักเรียนไว้ตามเดิม เพราะนอกจากจะความเป็นระเบียบวินัยแล้ว ยังช่วยลดความรุนแรงในสังคม "เมื่อพวกเขาสวมใส่ชุดนักเรียน นั่นบ่งบอกว่าเขามีชื่อเสียงของโรงเรียนอยู่กับตัวเขา จะทำอะไรก็ต้องคิดถึงโรงเรียน รวมถึงเมื่อมีใครสักคนของเราโดนรังแก เราก็สามารถรู้ได้ทันทีและเข้าช่วยเหลือได้ทัน" เจ้าหน้าที่โรงเรียนแห่งหนึ่งได้กล่าวไว้

แหล่งข้อมูล

https://www.carondeleths.org/resources/uniforms/

https://taleb.com.au/cumberland-high-school-uniform-shop/


แพร

อดีตผู้ประกาศข่าว สำนักริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ชีวิตดิ้นรนมาเป็นเชฟในเมืองบริสเบน  รัฐควีแลนด์ประเทศออสเตรเลีย  สรรหามุมมองเรื่องเล่าจากดินแดนดาวน์อันเดอร์ มาให้อ่านกันบ่อยๆ

 

พลิกปูมตำนานชุดนักเรียนญี่ปุ่น เบื้องหลังแฟชั่นสุดคาวาอี้ ที่นักเรียนทั่วโลกใฝ่ฝัน

หากจะนึกถึงชุดนักเรียน ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ ชุดนักเรียนญี่ปุ่นต้องติดโผเป็นต้นแบบชุดนักเรียนในฝันของใครหลาย ๆ คน เนื่องจากมีความน่ารัก มุ้งมิ้ง คิขุ คาวาอี้ ที่แม้แต่คนวัยเกินเกณฑ์รั้วโรงเรียนเห็นแล้วยังอยากลองใส่ดูมั่ง ถ้าไม่เกรงใจโลก

แต่ทราบหรือไม่ว่า เบื้องหลังเรื่องราวของชุดนักเรียนญี่ปุ่น กว่าที่จะมาเป็นรูปแบบในปัจจุบันได้ ผ่านช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยในญี่ปุ่นมาแล้วมากมาย

ตั้งแต่การปฏิรูปประเทศ ปฏิวัติอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม สงครามโลก ขบถความคิดของเหล่าบุปผาชน ที่สะท้อนผ่านรูปแบบของชุดนักเรียนญี่ปุ่น จากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างน่าทึ่ง และวันนี้ เรามาพลิกปูมตำนานกว่า 150 ปี ของชุดนักเรียนญี่ปุ่นกันดีกว่า

ประวัติความเป็นมาของต้นกำเนิดชุดนักเรียนญี่ปุ่น สามารถย้อนไกลได้ถึงสมัยเมจิ (ค.ศ. 1868 - 1912)  เป็นช่วงที่คนญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกอย่างมาก จนกลายเป็นกระแสนิยม หลังจากที่ญี่ปุ่นปิดประเทศนานถึง 220 ในสมัยเอโดะ ภายใต้การปกครองในระบอบโชกุนตระกูลโทกุกาวะ

ก่อนสมัยเมจิ ญี่ปุ่นไม่เคยมีกำหนดชุดเครื่องแบบนักเรียนมาก่อน และโอกาสด้านการศึกษาก็จะจำกัดอยู่แต่ในกลุ่มราชสำนัก ขุนนางชั้นปกครอง ซามุไร ซึ่งในสมัยนั้น นักเรียนชายจะสวมชุดแบบญี่ปุ่น สวมกางเกงฮากามะ ที่เป็นเหมือนชุดจำลองของชนชั้นซามุไร ส่วนนักเรียนหญิงจะสวมกิโมโนไปโรงเรียน

แต่รูปแบบการแต่งกายของชนชั้นปกครองญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนไป ตั้งแต่การมาถึงของเรือดำ ของกองทัพเรือสหรัฐที่นำโดย พลเรือจัตวา แมทธิว แพร์รี่ ในปี ค.ศ. 1854 ที่บังคับให้ญี่ปุ่นต้องยอมเปิดประเทศเพื่อติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก และนำไปสู่การปฏิรูปเมจิ รื้อถอนระบอบโชกุน ฟื้นฟูพระราชอำนาจให้แก่สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิในปีค.ศ. 1868 ในเวลาต่อมา

.

และในยุคสมัยเมจินี่เอง ที่วัฒนธรรมของชาติตะวันตก หลั่งไหลเข้าไปในญี่ปุ่นอย่างมากมายราวทำนบแตก ที่สะท้อนผ่านเครื่องแต่งกายของข้าราชสำนัก และผู้นำชั้นปกครอง ที่เริ่มเปลี่ยนเครื่องแบบจากแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมกลายเป็นสไตล์ตะวันตก และยังส่งผลต่อแนวคิดการออกแบบชุดนักเรียนของญี่ปุ่น ที่เริ่มมีการกำหนดมาตรฐานของชุดนักเรียนเป็นครั้งแรกในสมัยนี้เช่นกัน

ซึ่งโรงเรียนนำร่องแห่งแรกที่มีข้อกำหนดให้ใช้ชุดนักเรียนแบบมาตรฐานคือ โรงเรียนกักคุชูอิน ที่เป็นโรงเรียนชั้นสูงสำหรับลูกหลานชาววัง และข้าราชการระดับสูง ในปี 1879

ชุดนักเรียนญี่ปุ่นในยุคแรก มีต้นแบบมาจากเครื่องแบบทหารตะวันตก ชุดนักเรียนชายจะเป็นเสื้อแขนยาวสีดำ ปกตั้ง ติดกระดุมหน้าทำด้วยโลหะ กางเกงขายาวสีดำ สวมหมวกแก๊บ ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า กะคุรัน  (学ラン) ที่แปลว่าชุดนักเรียนแบบตะวันตก

ซึ่งชุดกะคุรัน เป็นชุดนักเรียนที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่น และยังมีใช้ในบางโรงเรียนที่จีน และ เกาหลีใต้อีกด้วย

ส่วนนักเรียนหญิง ไม่ได้ใส่กะคุรัน แต่จะสวมเสื้อแบบกิโมโน แต่ทับด้วยกางเกงฮากามะ แบบผู้ชายแต่ปรับรูปแบบสีสันให้สวยงาม และสวมรองเท้าบูทหนัง ทั้งนี้เพราะมีการบรรจุวิชาพลศึกษา เป็นวิชาภาคบังคับทั้งชาย-หญิง และการสวมกางเกงก็ช่วยให้นักเรียนหญิงสามารถเรียนวิชาพละได้อย่างคล่องตัวกว่าชุดกิโมโนแบบเก่า

แต่ชุดนักเรียนสมัยแรกมีราคาแพงมาก ที่ครอบครัวชั้นสูง ที่มีฐานะดีเท่านั้น ถึงสามารถซื้อเครื่องแบบเหล่านี้ให้บุตรหลานได้โดยไม่เดือดร้อน

หลังจากสิ้นสุดยุคเมจิ เข้าสู่ยุคไทโช (ค.ศ.1912 - ค.ศ.1926) เป็นช่วงที่โลกเข้าสู่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 รูปแบบชุดนักเรียนญี่ปุ่นก็ยังคงได้รับอิทธิพลมาจากชุดทหารตะวันตก และเริ่มมีหลักสูตรฝึกทหารสำหรับสตรีชาวญี่ปุ่น จึงมีการปรับเครื่องแบบนักเรียนหญิงให้เข้ากับยุคสมัยโดยใช้รูปแบบของชุดของทหารเรือมาใช้ ที่เรียกว่า "เซย์ฟุคุ" (制服)

.

และโรงเรียนที่ใช้ชุดนักเรียนทรงทหารเรือเป็นที่แรกของญี่ปุ่นคือ วิทยาลัยสตรีฟุกุโอกะ ต้นกำเนิดไอเดียเป็นของอลิซเบธ ลี ครูใหญ่ของโรงเรียน ที่เห็นว่าชุดนักเรียนหญิงแบบเก่าที่สวมกางเกงฮากามะทับกิโมโน ร้อนเกินไปสำหรับช่วงหน้าร้อน จึงออกแบบชุดใหม่ให้กับนักเรียนโดยใช้เครื่องแบบทหารเรือของราชนาวีอังกฤษเป็นต้นแบบ กับกระโปรงแบบตะวันตกเข้าชุดกัน

และก็ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก เนื่องจากชุดทรงทหารเรือ มีความน่ารัก เรียบร้อย ภูมิฐาน และตัดเย็บง่าย ราคาถูกกว่าชุดแบบดั้งเดิม เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมสิ่งทอของญี่ปุ่นในยุคนี้ ที่ทำให้เครื่องแต่งกายมีราคาถูกลง ผู้คนจับต้องง่ายขึ้น

จนมาถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะสงคราม ข้าวยากหมากแพง นักเรียนจำนวนมากต้องออกจากโรงเรียนมาทำงานช่วยครอบครัว โดยเฉพาะนักเรียนหญิงที่ต้องรับหน้าที่มากขึ้น เครื่องแบบนักเรียนยุคนี้จึงต้องปรับเปลี่ยน อนุญาตให้นักเรียนหญิงสวมกางเกงขายาวแทนกระโปรงมาเรียนได้ ความน่ารักสดใสในเครื่องแบบอาจหายไป แต่ก็สะท้อนความยากเข็ญของสังคมในยุคสงครามได้เป็นอย่างดี

.

เมื่อหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านพ้นไปหลายสิบปี และเข้าสู่ยุคเสรีนิยมแบบตะวันตก ตามรูปแบบการปกครองแบบใหม่ที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาวางกรอบให้ เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวบนพื้นฐานการแข่งขันแบบทุนนิยม ที่เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น จึงเกิดการแพร่หลายของแนวคิดเสรีชน ต่อต้านกรอบสังคมแบบเก่าของกลุ่มบุปผาชนสายขบถในญี่ปุ่น ที่เรียกว่ากลุ่มสุเคบัน แยงกี้ ที่เป็นการรวมกลุ่มนักเรียนต่อต้านสังคม และแสดงออกด้วยการเอาชุดนักเรียนมาดัดแปลงตามใจฉัน สวมเสื้อสั้นเต่อ กระโปรงยาวลากพื้น หรือกางเกงทรงสุ่ม ย้อมสีผม  เป็นเชิงสัญลักษณ์ของการแหกจารีตของสังคม

.

แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาจนกลายเป็นหนึ่งในประเทศแถวหน้าของโลก และมีมาตรฐานการศึกษาที่ดีเยี่ยม เข้าถึงทุกพื้นที่ ดังนั้นการแข่งขันจึงกลายเป็นระดับโรงเรียนด้วยกัน โดยการออกแบบชุดให้มีความทันสมัย จากชุดเสื้อกะลาสี ผูกโบว์แดง หรือกะคุรันแบบเก่า ก็เริ่มเป็นชุดเสื้อเชิ้ต ผูกเนคไทด์ สวมทับด้วยสูทแบบตะวันตก หรือชุดเอี๊ยมผูกโบว์ เพื่อดึงดูดนักเรียนให้เข้ามาสมัครเรียน เพราะชอบชุดก็มีไม่น้อย

.

จึงทำให้เกิดเป็นแฟชั่นชุดนักเรียน หลากหลายรูปแบบ สดใส คาวาอี้ ที่ทำให้เด็กนักเรียนทั่วโลกชื่นชอบในวัฒนธรรมชุดนักเรียนของญี่ปุ่น และนำมาแต่งเล่นเป็นชุดคอสเพลย์กันอย่างสนุกสนาน

และนี่ก็คือความเป็นมาของชุดนักเรียนญี่ปุ่น ที่อยู่คู่กับนักเรียนญี่ปุ่นมานานกว่า 150 ปี และยังคงอยู่ตลอดไป อย่างไม่จำกัดรูปแบบ และพร้อมเปลี่ยนแปลงได้เสมอ


แหล่งข้อมูล

https://www.nippon.com/en/column/g00554/

https://learnjapanese123.com/japanese-school-uniforms/

https://seifuku.neocities.org/index_e.html

https://medium.com/@katier.jiang/development-and-evolution-of-japanese-school-uniform-12bf9c7856af

https://jpninfo.com/64959

https://medium.com/@katier.jiang/development-and-evolution-of-japanese-school-uniform-12bf9c7856af

ไต้หวันกับผลโหวตชุดนักเรียนสุด Cute!

ผลโหวตกว่า 4 แสนคน โรงเรียนพาณิชย์หย่งผิง ชนะเลิศชุดนักเรียนน่ารักที่สุด 102,221 คะแนน  โรงเรียนจากเมืองเถาหยวน กวาดตำแหน่งแชมป์ชุดนักเรียนที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 อันดับแรก

บล็อกเกอร์ชาวเมืองไถจงคนหนึ่ง เปิดเว็บไซต์จำหน่ายชุดนักเรียนมัธยมของโรงเรียน 160 แห่งทั่วเกาะไต้หวัน สร้างรายได้เดือนละ 2 - 4 หมื่นบาท เครื่องแบบนักเรียนนอกจากจำหน่ายให้กับเหล่านักเรียนในช่วงเปิดเทอมแล้ว เนื่องจากไต้หวันได้รับอิทธิพล “คอสเพลย์” ของญี่ปุ่นมาก ทำให้มีผู้ซื้อหาชุดนักเรียนไปสวมใส่ในเทศกาล เช่น วันคริสต์มาส วันวาเลนไทน์และ งานเลี้ยงของบริษัทต่าง ๆ


เครดิต เพจบูรพาไม่แพ้

รากเหง้า คือ ตัวตนของเราในวันนี้

คอลัมน์​ "เบิ่งข้ามโขง"

งานแข่งขันเป่าแคน ชิงชนะเลิศ สืบสานมรดกวัฒนธรรมโลก เสียงแคนลาว สปป.ลาว จัดงาน "แข่งขันเสียงแคนเชื้อชาติลาวกับรุ่นสืบทอด” ครั้งที่ 1 รอบชิงชนะเลิศ จัดขึ้นโดย กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เพื่อสืบต่อ เสริมขยาย ความสำเร็จที่ เสียงแคนลาว ได้รับการยกย่อง จาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลก เพื่อการปลุกระดม ปลูกฝั่ง คนรุ่นใหม่ให้รู้จักอนุรักษ์ ปกป้องรักษาวัฒนธรรมแคนลาวให้คงอยู่กับชาติลาว คนลาว

พร้อมกับ เป็นการสร้างเพื่อต้อนรับวันสำคัญของชาติที่จะมาถึง เช่น วันชาติลาวในวันที่ 2 ธันวาคม ครบรอบ 45 ปี, วันคล้าย วันเกิดของประธานประเทศ ท่านไกรสอน พรมวิหาน ครบรอบ 100 ปี ของผู้นำที่เคารพนับถือของชาวลาวและวันสำคัญอื่น ๆ เมื่อช่วงเดือนธันวาคม ปีพ.ศ.2560 องค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสียงแคนของชาวลาว ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

โดยระบุว่า แคนของลาวซึ่งเป็นเครื่องดนตรีแบบเป่า ประกอบขึ้นจากขลุ่ยหลายเลาที่ทำจากไม้ไผ่ที่มีความยาวแตกต่างกัน เพื่อให้เกิดความหลากหลายของเสียง โดยผู้เล่นต้องเป่าลมเข้าไปข้างในเพื่อให้เกิดเสียงออกมา การแข่งขันครั้งแรกนี้ เริ่มมาตั้งแต่เดือนช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 แข่งขันกันสามรอบ คัดเอาผู้มีคะแนนดีสูงสุดในแต่ละรอบ เพื่อเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศเฉพาะรอบชิงชนะเลิศมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 16 คน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ชายและหญิงอายุ 7-14 ปีและชายและหญิงอายุ 15 ถึง 18 ปี

กติการการแข่งขัน ต้องเป่าให้ครบตามลายแคน ที่ทางคณะกรรมการกำหนดต้องเป่าให้ถูกต้องตามลายแคนเดิม ลายแคนต้องชัดแจ้ง ชัดเจน ม่วน สนุกสนานและถูกจังหวะ ...ซึ่งผลการแข่งขัน

ผู้ชนะเลิศรุ่นอายุ 7-14 ปี

ฝ่ายชายได้แก่ ท้าววิสะนุ สะแหวงชน ฝ่ายหญิงได้แก่ นางสินสุดา เทบสุวัน

รุ่นอายุ 15-18 ปี

ฝ่ายชายได้แก่ ท้าวสุวัน ไชพงสีดา ฝ่ายหญิงได้แก่ นางนู่นี่ จันทะวง

ทั้งหมดจะได้รับรางวัลเป็นเงินสด 2 ล้านกีบ (6,250 บาท) และของที่ระลึกอีกจำนวนหนึ่ง

บรรยากาศการแข่งขัน คึกคัก ม่วนหลาย ๆ เด้อ ...


ข่าวจาก Lao nation radio 

หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชน​และภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนํา​ภาคเอกชนไทย​ บุกตลาดอินโดจีน

มหาวิทยาลัยในมาเลเซียไม่ธรรมดา! QS! เจ้าพ่อแห่งการจัดอันดับมหาวิทยาลัย!

คอลัมน์ "สายตรงจากเคแอล"

 

มหาวิทยาลัยในมาเลเซียไม่ธรรมดา! QS! เจ้าพ่อแห่งการจัดอันดับมหาวิทยาลัย!

รายงานจาก Quacquarelli Symonds (QS) World University Rankings: Asia 2021 เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียประจำปี 2021 จำนวน 110 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของเอเชีย (จาก 650 แห่ง)

โดยมหาวิทยาลัยในมาเลเซีย 10 แห่ง (เป็นของรัฐ 7 แห่งและเอกชนอีก 3 แห่ง) ปรากฎในรายชื่อ! ติดอันดับ 1 ใน 10 ได้แก่ มหาวิทยาลัยมาลายา (UM) อยู่ในอันดับที่ 9 ซึ่งขยับขึ้นมาจากอันดับที่ 13 เมื่อปีที่แล้ว ถือว่าเป็นปีแรกของ UM ที่ติดอันดับ Top 10 อีกด้วย

ตามมาด้วย Universiti Putra Malaysia อันดับที่ 28, Universiti Sains Malaysia อันดับที่ 34 และ Universiti Kebangsaan Malaysia อันดับที่ 35

ในขณะเดียวกัน Universiti Teknologi Malaysia ก็เข้ามาในลำดับที่ 39 , Universiti Teknologi Petronas มาที่อันดับที่ 70, Taylor’s University อยู่อันดับที่ 89, UCSI University อันดับที่ 105, Universiti Utara Malaysia อันดับที่ 107 และสุดท้าย Universiti Teknologi Mara ติดอันดับที่ 108

ด้าน National University of Singapore ยังคงรั้งตำแหน่งมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของเอเชีย ส่วนมหาวิทยาลัยของประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอยู่ในอันดับที่ 43 และมหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 44

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

News Link: https://en.syok.my/news/10-malaysian-unis-make-qs-2021-world-university-r

https://www.topuniversities.com/asia-rankings/methodology

https://www.topuniversities.com/qs-world-university-rankings

 


เรื่องโดย: "ผิงกั่ว" 

สาวเมืองชล ตั้งรกรากอยู่ชานกรุงกัวลาลัมเปอร์ ตามสามีชาวจีนมาเลย์ ชีวิตท่ามกลางคนจีน แขกมาเลย์ และแขกอินเดีย พหุวัฒนธรรม ส่องมุมมองจากประเทศเพื่อนบ้านด้านล่างแผ่นดินแม่ มาเล่าสู่กันฟัง

ถึงเวลายืนบนขาตัวเอง บางส่วนก็ยังดี

คอลัมน์ "เบิ่งข้ามโขง"

.

สิ้นเดือนนี้ (วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2563) ทางประเทศลาวได้มีการทดลองเดินเครื่องกลั่นน้ำมัน LAOPEC บริษัทปิโตรเคมี ลาว - จีน โรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของลาว เพื่อนำใช้ภายในประเทศ ลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ และทำให้ราคาน้ำมันภายในประเทศลดลง นอกจากนี้ ยังสร้างงานให้แก่ประชาชนกว่า 200 ตำแหน่ง

ซึ่งโรงกลั่นบริษัทปิโตรเคมี ลาว- จีน จำกัด จะใช้วัตถุดิบนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเมื่อน้ำมันดิบผ่านกระบวนการกลั่นสำเร็จจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ประกอบด้วย

- น้ำมันเบนซินประมาณ 2.38 แสนตัน หรือ 300 ล้านลิตร

- น้ำมันดีเซลประมาณ 3.8 แสนตัน หรือ 450 ล้านลิตร

- แก๊สหุงต้มประมาณ 15,200 ตัน

- สารเบนซินประมาณ 10,600 ตัน

ซึ่ง สปป.ลาว นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป หลายล้านตันต่อปี ในราคาที่สูงเกินไป ดังนั้น โรงกลั่นปิโตรเคมีนี้ จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันและลดราคาลงไป นาย ปานี พวงเพด รองผู้อำนวยการ บริษัท ปิโตรเคมี ลาว-จีน ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ...

"บริษัท ปิโตรเคมีลาวออยล์ จำกัด โรงกลั่นน้ำมัน ตั้งอยู่ในเขตพัฒนา กวมลวมไชเชดถา นครหลวงเวียงจันทน์ นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใจกลางนครหลวงเวียงจันทน์ ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ตั้งอยู่บนพื้นที่ 280,000 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุน 179 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้บริษัท ปิโตรเคมีลาว - ​​จีนในมณฑลยูนนาน และ กลุ่มก่อสร้างและการลงทุนยูนนาน ถือหุ้น 75% บริษัท รัฐวิสาหกิจน้ำมันเชื้อไฟลาว 20% และ บริษัทร่วมทุนลาว - ​​จีนถือหุ้น 5% 

โรงงานแห่งนี้ ยังคงมีความท้าทายมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการตลาด เพราะเมื่อผลิตออกมาแล้ว แต่ยังไม่มีที่ขาย เนื่องจากทุกบริษัท ต่างแข่งขันกันในการจัดซื้อและนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง สิ่งนี้จะทำให้เรามีความท้าทายมากเพราะเป็นงานที่ยาก ดังนั้น เราต้องศึกษาตลาดอย่างรอบคอบเพื่อดูว่าอุปสงค์ในประเทศของเรามีมากน้อยเพียงใด เพื่อให้แน่ใจว่าการผลิตของเราเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

นอกจากนี้ปัญหาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากเนื่องจากโรงงานของเราตั้งอยู่ใกล้กับตัวเมือง ซึ่งเราได้เอาใจใส่ดูแลในการดำเนินการและการจัดการเป็นอย่างดี โดยไม่ปล่อยควัน ออกมาในปริมาณมาก และใช้ระบบบำบัดที่มีความทันสมัย  เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศ ไม่ส่งผลเสียต่อประชาชนโดยรอบพื้นที่”


ที่มา  ປະເທດລາວ Pathedlao

หนุ่มโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชน​และภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนํา​ภาคเอกชนไทย​ บุกตลาดอินโดจีน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top