Thursday, 9 May 2024
เซาท์ไทม์

นราธิวาส - ผอ.ศปพร. ลงพื้นที่ อวยพรปีใหม่ - มอบถุงยังชีพ แทนใจให้แก่สมาชิกกลุ่มศิลปาชีพปักผ้า บ้านโต๊ะเด็ง และกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  พร้อมด้วย พันเอก ยุทธนา สายประเสริฐ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 151 /หัวหน้าคณะทำงานฯ ที่ 3  หัวหน้าส่วนราชการ และผู้นำท้องถิ่น  เดินทางไปยังวัดรัตนานุภาพ และวัดลอยประดิษฐ์ ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เพื่อกราบนมัสการ ถวายภัตตาหารเพล และปัจจัย แด่พระสงฆ์ ตามโครงการเสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง กิจกรรมการสนับสนุนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ในพื้นที่ล่อแหลม เสี่ยงภัย ไม่สามารถบิณฑบาตได้ รวมถึงเพื่อสอบถามพระสงฆ์ ถึงเหตุการณ์ ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดีในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนสอบถามความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ และการปฏิบัติศาสนกิจในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากนั้นได้เข้าเยี่ยมเยียน พบปะ และให้กำลังใจ อวยพรปีใหม่ ให้ แก่พี่น้องสมาชิก กองพันราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

โดย พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เน้นย้ำ แผนการรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านของตนเอง รวมทั้งความสำนึกในหน้าที่ของการเป็นราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านเสริมสร้าง วินัย ความซื่อสัตย์ สุจริต เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน รู้จักเคารพสิทธิผู้อื่น สร้างความคุ้นเคยและให้ปฏิบัติงานร่วมกันได้ซึ่งจะก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และเหนือสิ่งอื่นใด จะเป็นการแสดงออกถึงความจงรัก ภักดี และความหวงแหนในสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงออกถึงพลังในความสามัคคีของประชาชนในพื้นที่และยึดมั่น สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามพระราชเสาวนีย์แม่ของแผ่นดิน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สืบไป 

จากนั้น พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะ ได้ตรวจเยี่ยมและพบปะให้กำลังใจ พร้อมมอบถุงยังชีพ เป็นของขวัญเทศกาลปีใหม่ให้กับสมาชิกโครงการศิลปาชีพ กลุ่มปักผ้า ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยได้รับฟังบรรยายสรุปประวัติความเป็นมา สอบถามปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงาน สอบถามความต้องการในช่วงสถานการณ์โควิด ตลอดจนสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่  ซึ่งโครงการศิลปาชีพ กลุ่มศิลปาชีพปักผ้า บ้านโต๊ะเด็ง

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ดำเนินกิจการปักผ้า เพื่อนำส่งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  สำหรับวัสดุอุปกรณ์ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศิลปาชีพฯ คณะทำงานฯ ที่ 3 จัดนายทหารประสานงานอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน และประสานเรื่องต่าง ๆ ของสมาชิก ปัจจุบันกลุ่มศิลปาชีพปักผ้า บ้านโต๊ะเด็ง มีสมาชิก จำนวน 45 ราย ซึ่งเป็นพี่น้องไทยมุสลิมหญิงล้วน  การปักผ้าเป็นอาชีพเสริม หลังว่างจากการกรีดยาง โดยส่งครูผู้ช่วยของกลุ่มเข้าไปเรียนรู้ ณ ศิลปาชีพปักผ้าค่ายจุฬาภรณ์ เพื่อนำความรู้ที่ได้ มาถ่ายทอดให้แก่สมาชิกและพัฒนาต่อยอด จนสามารถสร้างเป็นรายได้เสริมให้เลี้ยงดูครอบครัวตนเองได้ และในเวลาต่อมา ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ กลุ่มเปราะบางในพื้นที่ พร้อมทั้งมอบถุงยังชีพ เป็นของขวัญปีใหม่ ให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1.นางสุรณี พันธุ์นรา อายุ 65 ปี 2.นายสุรินทร์ บุตรจีน อายุ 70  ปี และ 3. นายสุเทพ ผึ้งตำบล อายุ 80 ปี โดยได้พูดคุยสอบถามอาการ สภาพ

 

นครศรีธรรมราช - ม.อ. ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าฯ และภาคีเครือข่าย เดินหน้าส่งมอบแท็บเล็ต โครงการ “กองทุนไอทีพี่ ม.อ. ช่วยน้องเรียนออนไลน์”

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และภาคีเครือข่าย ส่งมอบแท็บเล็ตโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ จำนวน 109 เครื่อง ให้กับ 20 โรงเรียนในภาคใต้ โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี พร้อมด้วย นายแพทย์เกียรติศักดิ์ ราชบริรักษ์ นายกสมาคมศิษย์เก่าฯ ร่วมส่งมอบแก่ผู้บริหารและผู้แทนจากโรงเรียนภายใต้โครงการฯ ในพื้นที่ภาคใต้ ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 64

​สำหรับโรงเรียนเป้าหมายที่เข้ารับมอบแท็บเล็ต ภายใต้โครงการ “กองทุนไอทีพี่ ม.อ. ช่วยน้องเรียนออนไลน์” ในครั้งนี้ ประกอบด้วย โรงเรียนในจังหวัดสงขลา ได้แก่ โรงเรียนชุมชนวัดควนมีด, โรงเรียนบ้านสะพานหัก, โรงเรียนบ้านหาร, โรงเรียนวัดสลักป่าเก่ามูลนิธิ และ โรงเรียนมิฟตาฮุดดีน (บ้านพลีใต้) จังหวัดสตูล ได้แก่ โรงเรียนบ้านวังปริง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ โรงเรียนวัดสระไคร, โรงเรียนบ้านนาเส, โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 6, โรงเรียนวัดนาหมอบุญ และโรงเรียนวัดไม้เสียบ จังหวัดปัตตานี ได้แก่ โรงเรียนบ้านตันหยงลุโละ, โรงเรียนบ้านคลองช้าง, โรงเรียนบ้านระแว้ง, โรงเรียนบ้านท่าเรือ และโรงเรียนมุสลิมสันติชน จังหวัดยะลา ได้แก่ โรงเรียนบ้านปงตา และจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ โรงเรียนวัดประชุมชลธารา, โรงเรียนบ้านริแง และโรงเรียนบ้านบาตูมิตรภาพที่ 66

​โครงการ “กองทุนไอทีพี่ ม.อ. ช่วยน้องเรียนออนไลน์” เป็นความร่วมมือของสมาคมศิษย์เก่า ม.อ. และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้ง ภาคีองค์กรศิษย์เก่าทุกคณะ และชมรมศิษย์เก่าระดับจังหวัด เพื่อระดมทุนจัดหาอุปกรณ์การเรียนให้นักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล - มัธยมศึกษา ในพื้นที่ 9 จังหวัดชายแดนภาคใต้

นราธิวาส - ผู้ว่านราฯ ปรุงอาหารมื้อเย็น ลุยน้ำแจกชาวบ้าน พร้อมเหมาลูกชิ้นแจกเด็ก พร้อมช่วยบรรเทาทุกข์ชาวนราธิวาส จากภัยน้ำท่วม

นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการ จ.นราธิวาส ได้เดินทางมายังพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมตลาดมูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เพื่อปรุงอาหารมื้อเย็นเป็นผัดเผ็ดไก่กับไข่ต้ม จำนวน 1,800 กล่อง พร้อมน้ำดื่ม แจกจ่ายให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในตลาดมูโนะ พร้อมทั้งได้เดินลุยน้ำแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ไม่สามารถเดินลุยน้ำมารับอาหารในครั้งนี้ด้วย ซึ่งการเดินลุยน้ำในครั้งนี้ผู้ว่าราชการ จ.นราธิวาส ได้ถือโอกาสพูดคุยปรับทุกข์กับชาวบ้าน ถึงในบ้านพักที่ถูกน้ำท่วมขัง เพื่อเป็นการสำรวจความเสียหายไปในตัว หากสภาพน้ำท่วมกลับคลี่คลายกลับสู่สภาวะปกติ ก็จะได้เร่งตั้งงบประมาณในการช่วยเหลือได้ทันที

ซึ่งการเดินลุยน้ำแจกอาหารกล่องของผู้ว่าราชการ จ.นราธิวาสในครั้งนี้ พบว่ายังมีระดับน้ำท่วมขังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลพวงของมวลน้ำป่าที่ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชน ที่บริเวณจุดพนังกั้นน้ำพังเสียหาย แถมมีกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากกว่าในช่วงเช้าที่ผ่านมา จนเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน อ.สุไหงโก-ลก ต้องนำเชือกผูกมัดไว้กับเสาไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางเข้าออกตลาด เนื่องจากเกรงว่าอาจจะถูกกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากพัดจนได้รับอันตรายถึงชีวิต ซึ่งภาพรวมระดับน้ำท่วมขังสูงจากช่วยเช้าประมาณ 20 ซ.ม.โดยอยู่ในระดับ 80 ถึง 90 ซ.ม.

และในระหว่างที่นายสนั่น พงษ์อักษร ผวจ.นราธิวาส เดินลุยน้ำแจกอาหารกล่องและน้ำดื่มแล้วเสร็จ ได้ถือโอกาสเหมาลูกชิ้นปิ้งของประชาชน ที่ตั้งร้านค้าในน้ำเป็นเงิน 2,000 บาท เพื่อแจกจ่ายให้กับเด็กและเยาวชนที่กำลังสนุกสนานกับการเล่นน้ำ และได้มีผู้ปกครองท่านหนึ่ง พูดทีเล่นที่จริงกับท่านผู้ว่าราชการ จ.นราธิวาส ว่า ท่านสมเป็นกับผู้ว่าติดน้ำและติดดิน และมีเสียงหัวเราะตามมาสร้างความคลายเครียดในช่วงน้ำท่วมครั้งนี้

 

นราธิวาส - ฝนกระหน่ำ 5 วัน!! น้ำป่าทะลักจนแม่น้ำสุไหงโก-ลก ล้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมบ้านจนเดือดร้อน

รายงานข่าวเกี่ยวกับสภาวะฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.64 ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน จากพื้นที่ จ.นราธิวาส แจ้งว่า ล่าสุดบรรยากาศบนท้องฟ้ายังคงมีเมฆฝนมืดครึ้มปกคลุมพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ และมีฝนตกลงมาเป็นช่วง ๆ ไม่หนักเหมือนในทุกวันที่ผ่านมา แต่ส่งผลทำให้มวลน้ำป่าบนเทือกเขาสันกลาคีรี ซึ่งมีต้นกำเนิดในพื้นที่ อ.สุคิริน ได้ไหลทะลักลงสู่แม่น้ำสุไหงโก-ลก อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงคืนที่ผ่านมา จนปริมาณน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลก ซึ่งอยู่ในระดับตลิ่งสูง 8.20 เมตร มีระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยชั่วโมงละ 30 ซ.ม.

จนล่าสุดมีปริมาณน้ำล้นสูงจากระดับสูง 1.69 เมตร และได้ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชน ที่ปลูกสร้างอยู่ที่ราบลุ่มริมตลิ่ง โดยเฉพาะบ้านน้ำตก ม.5 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก ซึ่งมีปริมาณน้ำท่วมขังสูงโดยเฉลี่ย 40 ถึง 60 ซ.ม. ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ จำนวน 50 ครัวเรือน รวม 250 คน ได้รับความเดือดร้อน จนต้องใช้เรือพายและเดินลุยน้ำหากมีธุระจำเป็นต้องติดต่อกับโลกภายนอก

นอกจากนี้แล้วยังมีชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อีก 4 ชุมชน คือ ชุมชนท่าประปา ชุมชนท่าชมพู ชุมชนท่าเจ๊ะกาเซ็ง และชุมชนหัวสะพาน ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากจากปริมาณของแม่น้ำสุไหงโก-ลกล้นตลิ่ง แต่ในปีนี้กรมโยธาธิการได้สร้างกำแพงกันน้ำแล้วเสร็จร้อยละ 95 ทำให้พื้นที่ 4 ชุมชนหลุดพ้นจากปัญหาปริมาณน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลก ไหลทะลักเข้าท่วม แต่มีเพียงปริมาณน้ำฝนเท่านั้นที่ท่วมบ้านเรือนของประชาชน โดยภาพรวมสูงเฉลี่ยเพียง 20 ถึง 30 ซ.ม. ซึ่งถือว่าเป็นเพียงอุปสรรค์เล็กน้อยที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบ เนื่องจากกรมโยธาธิการได้นำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ มาติดตั้งทำการสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ 4 ชุมชน และคาดว่าในปีนี้สภาวะน้ำท่วมขัง 4 ชุมชนจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากแม่น้ำสุไหงโก-ลก ล้นตลิ่งแต่อย่างใด

ส่วนความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนนั้น นายรุ่งเรือง ธิมาบุตร นายอำเภอสุไหงโก-ลก ได้มอบหมายให้นายคมกฤต จันทร์เมือง ปลัดอำเภอสุไหงโก-ลก ร่วมกับ ร.ท.อัครวัฒน์ อยู่รอบเรือง หน.ชุดบรรเทาสาธารณภัย ร. 151 พัน 2 นำกำลังพลลุยน้ำลงพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนในการขนย้ายสิ่งของสัมภาระที่จำเป็นหนีระดับขึ้นที่สูง เนื่องจากเกรงว่าหากมีสภาวะฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในช่วง 1 ถึง 2 วันนี้ มวลน้ำป่าจากเทือกเขาสันกลาคีรีอาจจะไหลสมทบลงสู่แม่น้ำสุไหงโก-ลก อีกละลอก เพื่อระบายลงสู่ทะเลด้าน อ.ตากใบ อาจจะส่งผลกระทบให้มีระดับน้ำท่วมขังเพิ่มสูงขึ้น

 

นราธิวาส - “นิพนธ์” ร่วมคณะนายกฯ ลงยะลา - ปัตตานี ติดตามงานพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนใต้ พร้อมประสาน ก.เกษตรฯ ขยายพันธุ์ปูทะเล

นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมคณะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว. มหาดไทย , นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมคณะลงพื้นที่ติดตามงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติงานสำคัญ

ได้แก่ การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ผ่านโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” การบริหารจัดการด้านความมั่นคง และชายแดน การบริหารจัดการนำการดำเนินการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด-19 และการเตรียมการภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมเชิงพื้นที่ในพื้นที่ รวมทั้งการติดตามการปฏิบัติราชการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ในโครงการ “การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ภายใต้กรอบแนวทาง “1 ข้าราชการ ศอ.บต. 1 ครัวเรือนยากจน” พร้อมกันนี้ ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ อีกด้วย 

ช่วงบ่ายลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการโครงการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมืองปูทะเลโลก ณ กลุ่มเลี้ยงปูดำทะล อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ตามกรอบแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดย ศอ.บต. ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ ในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาและส่งเสริมการเลี้ยงปูทะเลให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ ร่วมกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนรวมทั้งมีการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่

ในการนี้ นายนิพนธ์ ได้ประสานงานให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้ทำความตกลงกับท่านอธิการบดี มอ. ในการตกลงร่วมมือกันเพิ่มพันธุ์ปูทะเล ให้มากขึ้นกว่าปัจจุบันโดยกระทรวงเกษตรฯ พร้อมสนับสนุนงบประมาณ ในการขยายพันธุ์ปูทะเล

ด้านนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวว่า สำหรับข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีความพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการของรัฐบาลทุกประการ ซึ่งผมเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถื่นและอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งทั้งสองกรม มีงบประมาณส่วนหนึ่งและบุคลากรเต็มที่ทุกตำบลทั่วประเทศสามารถสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะกรมการพัฒนาชุมชน มีตั้งแต่พัฒนาการจังหวัด พัฒนาการอำเภอ และพัฒนากรตามอัตราครบทุกตำบลในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ อำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในโครงการ 1 ข้าราชการ 1 ครัวเรือนยากจน

 

ชุมพร - จัดโครงการ “สวมหมวกนิรภัย 100 % ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร” เคารพต่อกฎหมาย- เคารพกฎจราจร ด้วยการสวมหมวก!!

วันที่ 16 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 น.นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้เกียรติมาเป็นประธานในกิจกรรมโครงการสวมหมวกนิรภัย 100 % ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ร่วมกับพลตำรวจตรี วิรุฬ สุวรรณวงศ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร / พันตำรวจเอกประสิทธิศักดิ์ ศรีสุข รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร / พันตำรวจเอกเทเวศร์ ปลื้มสุทธิ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองชุมพร / นายประมูล อุ่นเรือน ท้องถิ่นจังหวัดชุมพร / นางสาวสุนารี บุญชุบ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร / นายนักรบ ณ ถลางนายอำเภอเมืองชุมพร / นายภาสกร ชาญกสิกร เลขานุการ อบจ. และ นายศรีชัย วีรนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร

โดย พันตำรวจโทสมชาย มากอำไพ กล่าวว่า ท่านพลตำรวจโทอำพล บัวรับพร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ซึ่งเห็นความสำคัญว่าปัจจุบันอุบัติเหตุทางถนน ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ต่อทรัพย์สินและความสูญเสียต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก อุบัติเหตุทางถนนจะเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นส่วนมาก ท่านจึงดำริให้จัดทำโครงการสวมหมวกนิรภัย 100 % ขึ้นทุกสถานีตำรวจในสังกัด ตำรวจภูธรภาค 8 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารตระหนักถึงความสำคัญในการสวมหมวกนิรภัย ซึ่งจะช่วยป้องกันให้ลดการบาดเจ็บ ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนน เป็นการปลูกจิตสำนึกของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ให้เคารพต่อกฎหมาย เคารพกฎจราจร ด้วยการสวมหมวก

จากนั้น พันตำรวจเอกเทเวศร์ ปลื้มสุทธิ์ กล่าวว่า โครงการสวมหมวกนิรภัย 100 %เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร การปลูกจิตสำนึกของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ให้เคารพต่อกฎหมาย เคารพกฎจราจร ด้วยการสวมหมวก นิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ขั้นตอนการปฏิบัติ มี 3 ช่วงด้วยกัน ช่วงเริ่มต้นรณรงค์ คือตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 ถึง 31 มกราคม2565  ช่วงกวดขันเข้มข้น มีด้วยกัน 3 ระยะ สำหรับผู้กระทำผิดข้อหา "ไม่สวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์" และข้อหา "เป็นผู้ขับขี่ยินยอมให้ผู้โดยสารไม่สวม หมวกนิรภัยในขณะโดยสารรถจักรยานยนต์ จะมีอัตราเปรียบเทียบปรับต่างกัน ผู้กระทำผิดระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 จะเปรียบเทียบปรับในอัตรา 200 บาท ผู้กระทำผิดระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 จะเปรียบเทียบปรับในอัตรา 300 บาท ผู้กระทำผิดระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป จะเปรียบเทียบปรับในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมมอบหมวกนิรภัยให้แก่ผู้กระทำผิด

 

นราธิวาส - ศึกษาธิการจังหวัด นำประกาศเจตจำนงต่อต้านการทุจริต!!

เมื่อวันพุธ ที่ 15 ธันวาคม 2564 ศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาสนำทีมผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาสประกาศเจตจำนงต่อต้านการทุจริต ณ ห้องประชุมบุหงาตันหยง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส

นายชาร์รีฟ สือนิ ศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า “ในวันนี้กระทรวงศึกษาธิการได้จัดงานวันต่อต้านการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งภายในงานได้มีพิธีประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริตและมอบนโยบายNo Gift Policy ของกระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ภายใต้แนวคิด “กระทรวงศึกษาธิการโปร่งใส ไม่ทนต่อการทุจริต” (MOE TRUST & Zero Tolerance) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยได้ให้บุคลากรสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัดได้เข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดกิจกรรมดังกล่าวทาง Facebook Live

ทั้งนี้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาสได้จัดกิจกรรมต่อต้านการทุจริต โดยศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาสเป็นประธานในการประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริตของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาสซึ่งมีใจความว่า “จะปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต มีความโปร่งใส และมีคุณธรรมในการปฏิบัติงาน บริหารงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ

 

กระบี่ - ทำพิธี! “จมฝูงเรือรบหลวง” อย่างสมเกียรติ สร้างอุทยานเรียนรู้ใต้ท้องทะเลเกาะลันตา

วันที่ 15 ธ.ค.64 นายไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีจมเรือรบหลวง รวม 3 ลำ ใกล้กับเกาะหมา ท้องทะเล อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ลงสู่ใต้ทะเล เป็นอุทยานการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรทางทะเล และเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำ ระดับโลก ในพื้นที่ทะเลเกาะลันตา จ.กระบี่ โดยมีนายสมชาย หาญภักดีปฏิมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ / พลเรือตรี พัลลภ เขม้นงาน รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 / นายชวน ภูเก้าล้วน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ และประชาชน เข้าร่วม

โดยก่อนการจมเรือหลวง ทั้ง 3 ลำ คือ เรือหลวงปราบปรปักษ์ เรือ ต 15 หรือเรือหลวงสู้ไพรินทร์ และเรือ ต 16 หรือเรือหลวงหาญหักศัตรู ลงสู่ใต้ท้องทะเล ได้มีพิธีวางพวงมาลาไว้อาลัยอย่างสมเกียรติ พร้อมทำการนำน้ำเข้าเรือใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง กว่าเรือจะจมดิ่งสู่ก้นทะเลทั้งลำ ซึ่งพิธีจมเรือดังกล่าวเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำของจังหวัดกระบี่ และจังหวัดฝั่งอันดามัน ตามโครงการอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล โดยความร่วมมือระหว่างจังหวัดกระบี่ ร่วมกับกองทัพเรือ และสภาการศึกษา จ.กระบี่

นายไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการสร้างอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเลจังหวัดกระบี่ ได้รับการอนุเคราะห์จากกองทัพเรือ มอบเรือปลดประจำการ จำนวน 11 ลำ ซึ่งเป็นเรือที่ปลดประจำการ เพื่อจมใต้ท้องทะเลเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ โดยในวันนี้ ทำการจมเรือรบปลดประจำการจำนวน 3 ลำ ได้มีการทำพิธีวางเรือไปแล้ว จำนวน 3 ลำ เพื่อเป็นการจัดสร้างปะการังเทียม ตามโครงการอุทยานเรียนรู้ใต้ท้องทะเล จังหวัดกระบี่ ส่วนอีก 8 ลำ จะนำมาจมอีก ประมาณเดือนมีนาคม 65 ซึ่งจากนี้ไปเรือรบทั้ง 3 ลำ จะทำหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ตามโครงการอุทยานเรียนรู้ใต้ท้องทะเลจังหวัดกระบี่ตลอดไป

ด้านนายสมชาย หาญภักดีปฎิมา รอง ผวจ.กระบี่ กล่าวว่า เชื่อว่าในอนาคต จังหวัดกระบี่ จะเป็นศูนย์กลางการดำน้ำดูปะการังที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในท้องทะเลฝั่งอันดามัน เนื่องจากมีปะการัง ที่เป็นโครงการอุทยานเรียนรู้ และปะการังธรรมชาติ โดยก่อนหน้านี้ทางจังหวัดกระบี่ ได้นำเรือรบที่ปลดประจำการ ไปวางไว้ท้องทะเล จำนวน 2 จุด ได้แก่บริเวณเกาะยาวาซำ และเกาะพีพีเล ต.อ่าวนาง พบว่ามีปะการังเริ่มเจริญงอกงาม และกำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว

 

สตูล - ผู้ว่าฯ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกรรมการและผู้เข้าสอบแข่งขัน บรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น

วันนี้ 13 ธ.ค 2564 เมื่อวันที่ 12 ธ.ค 2564 ที่ผ่านมานายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจกรรมการ เจ้าหน้าที่และผู้เข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข) ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ ที่โรงเรียนสตูลวิทยา อ.เมืองสตูล จ.สตูล โอกาสนี้นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ กรรมการคุมสอบ และผู้เข้าสอบแข่งขัน ตามห้องสอบต่าง ๆ รวมทั้งให้กำลังใจผ่านเสียงตามสายของโรงเรียนด้วย  

สำหรับโรงเรียนสตูลวิทยา มีผู้เข้าสอบแข่งขันจำนวน 1,080 คน 36 ห้องและเป็นหนึ่งในสนามสอบของจังหวัดสตูล จากจำนวนทั้งหมด 12 แห่ง มีผู้สอบแข่งขันรวม 6,922 คน โดยผู้เข้าสอบต้องปฏิบัติตามคำสั่งจังหวัดสตูล ตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 เช่น มีใบแสดงผลการได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบโดส ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ หากไม่ครบโดสก็ให้แสดงผลตรวจ ATK หรือRT-PCR ไม่เกิน 12 ชั่วโมง

 

นราธิวาส - ศอ.บต.นำร่องโครงการ 1 ข้าราชการ 1 ครัวเรือนยากจน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครัวเรือนที่มีฐานะยากจนเพื่อช่วยเหลือ

นายธารธรรม คำแป้น นิติกร ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วย นายอับดุลเลาะ สือรี กำนัน ต.รือเสาะ นายอัสรี หะยีสือนิ ผู้ใหญ่บ้าน ม.10  ต.รือเสาะ และบัณฑิตอาสา ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ได้เดินทางไปยังบ้านของนางเจ๊ะมะ สะอิ อยู่บ้านเลขที่ 292/3 ม.10 บ้านบาซาบาตอ ต.รือเสาะ อ.รือสา จ.นราธิวาส เพื่อสำรวจข้อมูลครัวเรือนที่มีฐานะยากจน ตามโครงการ นำร่องโครงการ 1 ข้าราชการ 1 ครัวเรือนยากจนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องของ ศอ.บต.ที่บูรณาการขจัดความยากจนพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ประชุมคณะกรรมการศูนย์บูรณาการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดชายแดนภาคใต้วางแผนการดำเนินงานนำร่องให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ศอ.บต. เป็นข้าราชการนำร่องประกบครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งมีจำนวนนำร่อง 379 ครัวเรือน ใน 43 อำเภอ จากจำนวนสำรวจทั้งสิ้น 37,395 ครัวเรือน โดยพิจารณาจากเกณฑ์ความยากจนทับซ้อน 5 มิติ คือ มิติความจนด้านสุขภาพ รายได้ การศึกษา ความเป็นอยู่ และความจนด้านมิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ หวังขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่าการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จชต. โดย ศอ.บต. ในฐานะหน่วยนำการพัฒนา จะเป็นหน่วยขับเคลื่อน เสริม และเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยจะมี การนำร่องโครงการ ให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ศอ.บต. ลงพื้นที่ประกบครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายงานเรียบร้อยแล้ว และเตรียมลงพื้นที่ตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่ประกบ ช่วยเหลือประชาชนในโครงการ 1 ข้าราชการ 1 ครัวเรือนยากจนในครั้งนี้ เป็นการนำร่องเพื่อค้นหารูปแบบที่ดีที่สุด ในการช่วยเหลือประชาชนให้พ้นเกณฑ์ ความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าให้เห็นเป็นรูปธรรมในไตรมาสที่จะถึงนี้

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top