Thursday, 25 April 2024
POLITICS TIPS

'ตรีชฎา' แนะ 'โฆษกภท.' วางกัญชาในหัวใจลงก่อน หยุดโหนคำเตือนจาก 'โทนี่' และฟังเสียงรอบข้างบ้าง

เมื่อวานนี้ (29 ก.ย. 65) น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงประเด็นที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ แสดงความกังวลในคลับเฮาส์หลังปรากฏภาพนักเรียนสูบกัญชาในโรงเรียน แต่กลับถูกนายภราดร ปริศนานันทกุล โฆษกพรรคภูมิใจไทยออกมาตอบโต้ต่อว่ารัฐบาลมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขแล้วว่า ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกมานั้นมีไว้ตามโครงสร้างเท่านั้น ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริงในทางปฏิบัติในภาพรวม ทั้งในแง่ของการควบคุมการใช้และบทลงโทษ หากระเบียบที่มีอยู่บังคับใช้ได้ผลจริง เหตุใดจึงยังมีข่าวเด็กและเยาวชนเสพกัญชาในสถานศึกษา มีเหตุการเสพยาเสพติดอื่น ๆ จนทำร้ายร่างกาย เกิดเหตุอาชญากรรมเสียชีวิตมากมายเต็มเมืองแบบนี้ อยากให้นายภราดรวางกัญชาในหัวใจลงก่อน แล้วตั้งใจฟังสิ่งที่นายทักษิณสะท้อนมาจะเป็นประโยชน์อย่างมาก อย่าลืมว่ายุคที่นายทักษิณเป็นนายกฯ เป็นยุคที่มีนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด ไม่มียาเสพติดราคาถูก ไม่มีลูกหลานเข้าถึงและติดยาเสพติดมากเหมือนทุกวันนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรรับฟังโดยควรมีกฎหมายออกมาเพื่อควบคุมและมีบทลงโทษ ไม่ใช่ปล่อยเสรีแล้วมาตามควบคุมภายหลัง เพราะจะควบคุมไม่อยู่ ดังสุภาษิตคำพังเพยไทยว่ากว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ และจะไหม้เหมือนไฟไหม้ฟาง   

น.ส.ตรีชฎา กล่าวต่อว่า การที่ร่าง พ.ร.บ.กัญชาเสนอเข้าสภาวาระ 2 ถูกทักท้วง พรรคร่วมรัฐบาลเดียวกันยังไม่เอาด้วยจนถูกดึงออกไปก่อน นายภราดรควรไปจัดการไล่เบี้ยเคลียร์กันให้รู้เรื่องในพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ควรแสดงตัวโหนกระแสหาซีนจากคำเตือนของนายทักษิณแบบนี้ อยากให้นายภราดรกลับไปฟังคลิปที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พูดเองว่าพี้ในบ้านได้ แม้จะออกมาบอกภายหลังว่าไม่สนับสนุนการนันทนาการคงไม่ทันการแล้ว และการที่มีคลิปนักเรียนหญิงชายเสพกัญชาในโรงเรียน โดยโยนความผิดชอบไปที่ผอ.โรงเรียนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพียงเท่านี้ก็กระจ่างถึงวุฒิภาวะการเป็นผู้นำแล้ว ว่าการเป็นผู้บริหารที่ดีควรรู้จักการยอมรับผิดเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อผิดต้องหาทางแก้ไขและรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชน

พท.ชี้ รัฐประหาร 49 เป็น 16 ปีที่ประเทศเสื่อมถอย ลั่น รัฐประหาร ไม่ใช่ทางแก้มีแต่ซ้ำเติมปัญหา

‘ลิณธิภรณ์’ ชี้ครบรอบรัฐประหาร 49 คือ 16 ปีแห่งความหลังที่ขมขื่นเสื่อมถอย รัฐประหารต้องสูญพันธุ์ เหตุไม่ใช่คำตอบของประเทศ 

ดร.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ (ดร.หญิง : อรุณี กาสยานนท์) รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้เมื่อ 16 ปีที่แล้ว รัฐบาลภายใต้การนำของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ณ วันนี้ ผ่านมา 16 ปี ประเทศไทยเสื่อมถอยลงทุกมิติ ทั้งมิติในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมคนไทยได้เรียนรู้ร่วมกันแล้วว่า รัฐประหารไม่ใช่ข้ออ้างในการเปลี่ยนแปลงประเทศ เพราะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย เพราะการเกิดขึ้นของรัฐประหารในปี 2549 และในปี 2557 ส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้ รวม 4 ด้าน ได้แก่ 

1. วิกฤตศรัทธาต่อระบบราชการและกระบวนการยุติธรรมถดถอยตกต่ำ : หลายกรณีที่เกิดขึ้นในสังคมไทย องค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้น และระบบนิติรัฐนิติธรรม หรือระบบอุปถัมภ์เบ่งบาน อย่างกรณี ส.ต.ท.หญิง ล้วนทำให้ประชาชนเกิดคำถามและข้อสงสัยต่อทั้งระบบราชการและกระบวนการยุติธรรมไม่มากก็น้อย จนทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อระบบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 

2. การทุจริตคอร์รัปชันเพิ่มขึ้น : จากการประเมินขององค์กรโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International :TI) ซึ่งได้จัดการประเมินความเชื่อมั่นต่อการทุจริตในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยได้ชี้ให้เห็นว่าการทำรัฐประหารที่ใช้ข้ออ้างว่าเพื่อปกป้องผลประโยชน์ประชาชนจากนักการเมืองที่โกงกิน เป็นวาทกรรมเพียงเพื่อสร้างความชอบธรรมในการทำรัฐประหารเท่านั้น เพราะในปี 2564 อันดับการทุจริตในประเทศไทยอยู่อันดับที่ 104  ตกต่ำสุดในรอบ 20 ปี แต่ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลพลเรือนของ ดร.ทักษิณ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 59 เป็นอันดับที่สูงสุดในรอบ 20 ปี ตัวเลขเหล่านี้ คือเครื่องยืนยันว่ารัฐประหารและรัฐบาลที่มีที่มาจากรัฐประหาร ไม่สามารถแก้ปัญหาการทุจริตและคอร์รัปชันได้ ซ้ำร้ายปัญหายิ่งรุนแรงมากขึ้น

3. รัฐบาลกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน : รัฐบาลสืบทอดอำนาจจากผู้นำรัฐประหาร กลายเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกับประชาชนมากกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาในช่วง 10 ปี จากสถิติในปี 2565 ยอดรวมจำนวนคดีทางการเมืองมีกว่า 1,065 คดี มีผู้ถูกดำเนินคดีกว่า 1,808 คน และเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ถึง 280 ราย พวกเขาหมดอนาคต เพียงเพราะความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาล  

4. การเติบโตทางเศรษฐกิจถดถอย : รัฐบาลสืบทอดอำนาจที่ไร้ซึ่งความรู้ ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อต้องเจอกับวิกฤตโรคระบาดใหม่อย่างโควิด-19 จึงไม่สามารถบริหารประเทศภายใต้วิกฤตได้ สะท้อนได้จากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ทิ้งดิ่งติดลบหนักสุดถึงกว่า 6% โดยจากการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่มาถึง 8 ปี ทำจีดีพีประเทศคิดเป็นมูลค่าเพิ่มแค่ 2.4 ล้านล้านบาท แตกต่างจากรัฐบาล ดร.ทักษิณ แม้มีโอกาสบริหารประเทศครบวาระ และพี่น้องประชาชนเลือกเข้ามาในสมัยที่ 2 รวมการเป็นรัฐบาลเพียง 5 ปี ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ต้องเจอกับโรคระบาดใหม่ เช่น ไข้หวัดนก แต่จีดีพีไม่เคยติดลบ  ยังทำให้มูลค่าจีดีพีในประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 3 ล้านล้านบาท เช่นเดียวกับรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาบริหารประเทศเพียง 3 ปี แม้จะต้องเจอกับวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ปีแรกของการเข้ามาเป็นรัฐบาล แต่จีดีพีไม่ติดลบ ซ้ำยังทำให้มูลค่าจีดีพีในประเทศตลอดอายุของการเป็นรัฐบาล เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านล้านบาท

ปธ.ชุมชนวัดดวงแข ร้องผู้สมัครส.ก.เพื่อไทย พบผู้ป่วยโควิดในชุมชนอาการสาหัส หาเตียงไม่ได้ เชื้อเริ่มระบาดไปห้องเช่ารอบข้าง บี้ รบ.จัดหาวัคซีนให้ชุมชน

นายใจพิชญ์ สุขุมาลจันทร์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก.พรรคเพื่อไทย ลงพื้นที่มอบข้าวสารอาหารแห้งให้แก่ผู้นำชุมชนวัดดวงแข เพื่อใช้ประกอบอาหารปรุงสุกให้แก่สมาชิกในชุมชนที่กักตัวในห้องเช่า โดยชุมชนวัดดวงแขมีบ้านอยู่จำนวน 78 หลังคาเรือน แต่เนื่องจากถูกแบ่งซอยเป็นห้องเช่าขนาดเล็ก จึงทำให้มีผู้พักอาศัยอยู่รวมกันแล้วหลายร้อยคน มีทั้งคนไทยประกอบอาชีพเดินรถไฟ คนทำงานรับจ้างรายวัน และแรงงานต่างด้าวอาศัยรวมกันอยู่ที่ชุมชนแห่งนี้  ทั้งนี้ นางกาญจนศิริ คำรื่น ประธานชุมชนวัดดวงแข กล่าวว่า ชุมชนแห่งนี้เป็นตึกแถวห้องเช่าซอยย่อยขนาดเล็ก มีทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าวที่อยู่อย่างแออัด ถ้าใครติดเชื้อคนหนึ่งจะแพร่ระบาดยกห้องและลามไปห้องข้างเคียง ขณะนี้ผู้ป่วยยังอยู่ในชุมชนมีอาการน่าห่วงมาก มีอาการไข้ขึ้นสูง อาเจียน ไอ หายใจไม่สะดวก ยังหาเตียงให้ไม่ได้ แต่ที่กังวลมากกว่าคือ เริ่มพบผู้อาศัยอยู่ห้องใกล้เคียงกับผู้ป่วย เริ่มมีอาการไข้ขึ้นสูงและไอ จึงให้ผู้อาศัยห้องใกล้เคียงทั้งหมดไปตรวจหาเชื้อที่จุดตรวจเชื้อเคลื่อนที่สามย่าน ซึ่งอยู่ระหว่างการรอผลการตรวจ ซึ่งการระบาดรอบนี้ระบาดเร็วและพบในอัตราที่สูงเช่นที่ชุมชนบ้านครัว ตรวจเชื้อ 100 คน พบติดเชื้อ 35 คน และยังหาเตียงไม่ได้ จึงกังวลอย่างยิ่งว่าจะระบาดซ้ำเป็นคลัสเตอร์ใหญ่จนไม่สามารถจะควบคุมได้

นายใจพิชญ์ กล่าวต่อว่า ปัญหาผู้ป่วยล้น เตียงขาด เมื่อประสานโรงพยาบาลไปก็ไม่มีคำตอบ ขณะนี้ผู้อาศัยห้องใกล้ๆ กับผู้ติดเชื้อ เริ่มมีอาการไข้แล้ว จึงอยากให้ภาครัฐเร่งมือช่วยแก้ไขปัญหาเตียงขาด พาผู้ป่วยไปรักษาให้เร็ว และจะดีที่สุดควรรีบนำเข้าวัคซีนที่มีคุณภาพมาฉีดให้กับคนในชุมชนทุกคนอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดระบาดซ้ำ เพราะหากโควิดกลับมาระบาดซ้ำอีกรอบ อาจกลายเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ที่ควบคุมไม่ได้

ผลลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 6 ครั้งย้อนหลัง รัฐมนตรีท่านไหน ถูก ‘ไม่ไว้วางใจ’ (%) มากที่สุด!!

***อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประยุทธ์ 2 (2564)

1.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไว้วางใจ 272 ไม่ไว้วางใจ 206 งดออกเสียง 3 ผู้เข้าร่วมประชุม 481 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 42.83%

2.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 274 ไม่ไว้วางใจ 204 งดออกเสียง 4 ผู้เข้าร่วมประชุม 482 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 42.35%

3.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไว้วางใจ 275 ไม่ไว้วางใจ 201 งดออกเสียง 6 ผู้เข้าร่วมประชุม 482 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 41.70%

4.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไว้วางใจ 268 ไม่ไว้วางใจ 207 งดออกเสียง 7 ผู้เข้าร่วมประชุม 482 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 42.95%

5.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไว้วางใจ 272 ไม่ไว้วางใจ 205 งดออกเสียง 3 ผู้เข้าร่วมประชุม 482 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 42.53%

6.) ***นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไว้วางใจ 258ไม่ไว้วางใจ 215 งดออกเสียง 8 ผู้เข้าร่วมประชุม 482 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 45% (ถูกไม่ไว้วางใจมากที่สุดในการอภิปรายรอบ 6 ครั้งล่าสุด)

7.) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ไว้วางใจ 263 ไม่ไว้วางใจ 212 งดออกเสียง 5 ไม่ลงคะแนน 1 ผู้เข้าร่วมประชุม 482 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 43.98%

8.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไว้วางใจ 268 ไม่ไว้วางใจ 201 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 1 ผู้เข้าร่วมประชุม 482 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 41.70%

9.) นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ไว้วางใจ 272 ไม่ไว้วางใจ 206 งดออกเสียง 4 ผู้เข้าร่วมประชุม 482 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 42.74%

10.) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไว้วางใจ จำนวน 274 คน ไม่ไว้วางใจ จำนวน 199 คน งดออกเสียง 5 คน ไม่ลงคะแนน 1 คน ผู้เข้าประชุม 479 คน สัดส่วนไม่ไว้วางใจ =41.54%

***อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประยุทธ์ 1 (2563)

1.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไว้วางใจ 272 ไม่ไว้วางใจ 49 งดออกเสียง 2 ผู้เข้าร่วมประชุม 323 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 15.17%

2.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 277 ไม่ไว้วางใจ 50 งดออกเสียง 2 ผู้เข้าร่วมประชุม 329 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 15.20%

3.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 272 ไม่ไว้วางใจ 54 งดออกเสียง 2 ผู้เข้าร่วมประชุม 328 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 16.46%

4.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไว้วางใจ 272 ไม่ไว้วางใจ 54 งดออกเสียง 2 ผู้เข้าร่วมประชุม 328 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 16.46%

5.) นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ไว้วางใจ 272 ไม่ไว้วางใจ 55 งดออกเสียง 2 ผู้เข้าร่วมประชุม 329 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 16.72%

6.) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไว้วางใจ 269 ไม่ไว้วางใจ 55 งดออกเสียง 7 ผู้เข้าร่วมประชุม 331 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 16.62%

***อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (2555)

1.) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 308 ไม่ไว้วางใจ 159 งดออกเสียง 4 ไม่ลงคะแนน 9 ผู้เข้าร่วมประชุม 480 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 33.13%

2.) ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 287 ไม่ไว้วางใจ 157 งดออกเสียง 25 ไม่ลงคะแนน 11 ผู้เข้าร่วมประชุม 480 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 32.71%

3.) พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (รมว.คมนาคม ในขณะนั้น) ไว้วางใจ 284 ไม่ไว้วางใจ 160 งดออกเสียง 25 ไม่ลงคะแนน 11ผู้เข้าร่วมประชุม 480 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 33.33%

4.) พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รมช.คมนาคม ในขณะนั้น) ไว้วางใจ 284 ไม่ไว้วางใจ182 งดออกเสียง

5.) ไม่ลงคะแนน 10 ผู้เข้าร่วมประชุม 481 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 37.84%

***อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ (2554)

1.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกกรัฐมนตรี วางใจ 249 ไม่วางใจ 184 งดออกเสียง 11 ไม่ลงคะแนน 23 ร่วมประชุม 467 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 39.40%

2.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี วางใจ 249 ไม่วางใจ 185 งดออกเสียง 11 ไม่ลงคะแนน 22ร่วมประชุม 469 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 39.45%

3.) นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วางใจ 245 ไม่วางใจ 185 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 22 ร่วมประชุม 464 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 39.87%

4.) นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ วางใจ251ไม่วางใจ 186 งดออกเสียง 9 ไม่ลงคะแนน 23 ร่วมประชุม 469 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 39.66%

5.) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี วางใจ 246 ไม่วางใจ 182 งดออกเสียง 17 ไม่ลงคะแนน 21ร่วมประชุม 466 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 39.06%

6.) นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วางใจ 247 ไม่วางใจ 185 งดออกเสียง 16 ไม่ลงคะแนน 22 ร่วมประชุม470 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 39.36%

7.) นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วางใจ 250 ไม่วางใจ 188 งดออกเสียง 8 ไม่ลงคะแนน 23 ร่วมประชุม 469 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 40.09%

8.) นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม วางใจ 248 ไม่วางใจ 188 งดออกเสียง 11 ไม่ลงคะแนน 22 ร่วมประชุม 469 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 40.09%

9.)นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วางใจ 243 ไม่วางใจ188 งดออกเสียง 16 ไม่ลงคะแนน21 ร่วมประชุม 468 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 40.17%

10.)นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ วางใจ 247 ไม่วางใจ 188 งดออกเสียง 13 ไม่ลงคะแนน 21 ร่วมประชุม469 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 40.09%

***อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ (2553)

1.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 246 ไม่ไว้วางใจ 186 งดออกเสียง 11 ไม่ลงคะแนน 21 ผู้เข้าร่วมประชุม 464 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 40.09%

2.)นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 245 ไม่ไว้วางใจ 187 งดออกเสียง 11 ไม่ลงคะแนน 21 ผู้เข้าร่วมประชุม 464 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 40.30%

3.)นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไว้วางใจ 244 ไม่วางใจ 187 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 22 ผู้เข้าร่วมประชุม 465 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ =40.22%

4.) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ไว้วางใจ 239 ไม่วางใจ190 งดออกเสียง 15 ไม่ลงคะแนน 21 ผู้เข้าร่วมประชุม 465 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 40.86%

5.) นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไว้วางใจ 236 ไม่วางใจ 194 งดออกเสียง 14 ผู้เข้าร่วมประชุม 22 ผู้เข้าร่วมประชุม 466 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ =41.63%

6.) นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไว้วางใจ 234 ไม่วางใจ 196 งดออกเสียง 13 ไม่ลงคะแนน 22 ผู้เข้าร่วมประชุม 465 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 41.15%

***อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ (2552)

1.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไว้วางใจ 246 ไม่วางใจ 176 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 15 ผู้เข้าร่วมประชุม 449 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 39.20%

2.)นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไว้วางใจ 246 ไม่วางใจ 174 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 15 ผู้เข้าร่วมประชุม 447 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 38.93%

3.)นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไว้วางใจ237 ไม่วางใจ 184 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 13 ผู้เข้าร่วมประชุม 447 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 41.16%

4.)นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไว้วางใจ246 ไม่วางใจ 167 งดออกเสียง 20 ไม่ลงคะแนน 14 ผู้เข้าร่วมประชุม 446 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 37.44%

5.)นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ไว้วางใจ 246 ไม่วางใจ 174 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 15 ผู้เข้าร่วมประชุม 447 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 38.93%

6.) นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ไว้วางใจ 246 ไม่วางใจ 168 งดออกเสียง 18 ไม่ลงคะแนน 15 ผู้เข้าร่วมประชุม 447 สัดส่วนไม่ไว้วางใจ = 37.58%


ที่มา: Wikipedia

วิเคราะห์ ‘ข้อดี-ข้อเสีย’ 3 กลุ่ม ‘วัคซีนโควิด-19’ ที่อนุญาตให้ใช้ฉุกเฉินในมนุษย์ By ‘หมอยง’

สัญชาติญาณโดยอัตโนมัติของมนุษย์ทุกคนที่มี คือ "การเอาตัวรอด"

อารมณ์ว่าถ้าภัยมาถึงตัว ไม่ว่าจะ "ภัยเล็ก" หรือ "ภัยใหญ่" เราจะพยายามหาวิธีดิ้นรน เพื่อให้มันผ่านพ้นไปให้ได้ แม้วิธีการนั้นมันจะ "ชัวร์" หรือ "มั่วนิ่ม" ก็ไม่ติดขัดอันใด

ผลลัพธ์ของวัคซีนโควิด-19 ก็เช่นกัน ตอนนี้ เริ่มมีการนำเข้าวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ของประเทศต่างๆ จากหลายบริษัทผู้ผลิตมาใช้กันมากขึ้น

นี่คือ "ทางรอด" แต่มันก็มี "ทางร่วง" แทรกปนมา เพราะกระแสของผลข้างเคียงต่าง ๆ นานาที่เป็นข่าว จากวัคซีนของบางประเทศ เช่น ฉีดไปอีก 8 วันกลับมาติดเชื้อใหม่ หรือฉีดไป แพ้หนัก ตายเลย

มันก็เลยเป็นอะไรที่เริ่มแยกไม่ออก ระหว่าง "ความเสี่ยง" กับ "ความซวย" ว่าตกลงผลของมันดีหรือร้ายกันแน่

พอเป็นแบบนี้ มันก็เลยเกิดกระแสวิจารณ์ในวงกว้างทั้งทั่วโลก และรวมถึงในประเทศไทย ที่กังวลในผลลัพธ์ที่อาจกระทบชีวิตพอสมควร

เพราะต้องยอมรับว่าการเร่งผลิตวัคซีนในครั้งนี้มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงสูง...

สูงยังไง?

อย่าลืมนะว่าระยะเวลาการพัฒนาและทดสอบวัคซีนส่วนใหญ่โควิด-19 ในครั้งนี้ ‘สั้นมาก’ แค่ 10 เดือน ก็เริ่มเห็นนำวัคซีนเวอร์ชั่นต่างๆ ออกมาปล่อยของกันให้ว่อน

ซึ่งในความเป็นจริงนั้นกลุ่มวัคซีนของ "โรคอุบัติใหม่" ในอดีตก่อนหน้านี้ ยังต้องใช้เวลาพัฒนาและทดสอบกันร่วม 2 - 5 ปี ขึ้นไปเลย นั่นก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าวัคซีนที่ได้มานั้นใช้ได้ผล ปลอดภัย และป้องกันเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์ไปเป็นชนิดย่อยๆ ได้ครอบคลุมที่สุด

แต่กับโควิด-19 มันต่างกัน!!

เพราะนี่คือโจทย์ที่ "ทิ้งเวลา" นาน ๆ ไม่ได้ วัคซีนจากแต่ละประเทศ ถูกดันออกมาเพื่อแข่งกับเวลา

• เวลาที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

• เวลาที่จำนวนผู้เสียชีวิตไม่มีหยุดหย่อน

• และเวลาเดิมพันด้วยเศรษฐกิจของโลกใบนี้ที่หยุดชะงักไปเพราะไวรัสทำพิษ

มันจึงกลายเป็นการบีบแบบไม่มีทางเลือกนอกจากเร่งทำมันออกมาให้เร็วที่สุด

เอาเป็นว่าสุดท้าย ถ้ามันหมดทางเลือก เราก็ต้องยอมฉีด แต่จะฉีดทั้งทีก็ต้องรู้สรรพคุณ "ข้อดี - ข้อเสีย" ของแต่ละเวอร์ชั่นวัคซีนไว้บ้างก็ดี ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณยศ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงหลักการทำงาน และข้อดี ข้อเสีย ของวัคซีนโควิด-19 แต่ละชนิดไว้อย่างน่าสนใจ

โดยหมอยง ระบุว่า "วัคซีนมีหลายชนิด ขณะนี้ที่อนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ในภาวะปกติและฉุกเฉินที่ผ่านการทดลองมี 3 กลุ่ม และ 2 ใน 3 กลุ่ม ก็เป็นวัคซีนที่จะใช้จริงกับคนไทยด้วย"

1.) mRNA วัคซีน เช่น วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ / Moderna

วัคซีนชนิดนี้จะเป็น mRNA ที่ถูกห่อหุ้มด้วย lipid nanoparticle เมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ particle จะเข้าสู่ เซลล์กล้ามเนื้อ mRNA จะถูกถอดออก ใน cytoplasm หรือของเหลวในเซลล์ แล้วmRNA จะเข้าสู่ ribosome ทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนด messenger RNA

ดังนั้น RNA ที่ใส่เข้าไปจะต้องมี Cap, 5’ UTR, spike RNA, 3’UTR และ poly A tail อยากให้พวกเราสนใจวิทยาศาสตร์ จะเข้าใจง่ายขึ้น ในรูปแบบที่กล่าวถึงโรงงาน ribosome จะสร้างโปรตีนตามกำหนดและ ส่งผ่านออกทาง golgi ออกสู่นอกเซลล์

โปรตีนที่สร้างออกมาจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดี ที่เป็นภูมิต้านทานต่อโรคโควิด 19

ข้อดี >> วัคซีนชนิดนี้ทำได้ง่าย และเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพราะทำในโรงงาน กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง

ข้อเสีย >> อยู่ที่ว่า RNA สลายตัวได้ง่าย เก็บที่อุณหภูมิต่ำมากๆ และวัคซีนชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ใช้ในมนุษย์ อาการข้างเคียงหลังฉีดพบได้บ่อยกว่า วัคซีนที่ทำโดยชนิดเก่า เช่นมีไข้ ปวดเมื่อย และผลระยะยาวคงต้องรอการศึกษาต่อไป เช่นติดตามเป็นปีหรือหลายปี

2.) ไวรัสvector (ของอังกฤษ, AstraZineca และรัสเซีย Spuknic V)

วัคซีนนี้จะใช้วิธีการเอาสารพันธุกรรมของไวรัส ใส่เข้าไปในไวรัสที่จะเป็นเวกเตอร์ หรือ ตัวฝากนั่นเอง ที่ใช้อยู่เป็น adenovirus, vesicula stomatitis virus ไม่ก่อโรคในคน

การใส่เข้าไปเข้าใจว่าเป็น cDNA ของ covid 19 เพื่อให้ไวรัส vector ส่งสารพันธุกรรม ของ covid-19 เข้าไปในเซลล์มนุษย์ เมื่อเข้าไปแล้ว ไวรัสจะถอดรูปพันธุกรรมที่ส่งเข้าไป จะต้องเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ เพื่อลอกแบบ และเปลี่ยนให้เป็น mRNA ออกมาในไซโตพลาสซึม แล้วส่วนของ mRNA จะไปที่ ไรโบโซม เพื่อทำการสร้างโปรตีน ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ คือ spike โปรตีน ส่งผ่านออกมาทาง golgi ออกนอกเซลล์เช่นเดียวกับ mRNA

โปรตีนที่ส่งออกมา จะทำหน้าที่เป็นแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี ต่อเชื้อโควิค 19

ข้อดี >> วัคซีนชนิดนี้ผลิตได้จำนวนมากได้ง่าย เพราะทำจากโรงงาน เป็น DNA จะมีความคงทนกว่า จึงสามารถเก็บได้ในอุณหภูมิ 2 - 8 องศา ราคาจะถูก เพราะทำได้จำนวนมาก

ข้อเสีย >> วัคซีนนี้เป็นชนิดใหม่เช่นเดียวกัน ผลระยะยาวจึงยังไม่ทราบ และ จะต้องคำนึงอีกประการหนึ่งคือขั้นตอนที่ผ่านนิวเคลียสของเซลล์ เราไม่ทราบว่าจะมีการรวมตัว integrate กับ DNA ของมนุษย์หรือไม่ หวังว่าคงไม่ ผลระยะยาวก็คงต้องติดตามต่อไป

3.) วัคซีนเชื้อตาย (ของจีน Sinovac, Sinopharm)

วิธีการผลิตจะใช้หลักการกับวัคซีน ที่ทำมาแต่ในอดีตเช่น วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนโปลิโอ พิษสุนัขบ้าและอื่นๆอีกหลายชนิด

นักวิทยาศาสตร์จะใช้เชื้อโควิด 19 เพราะเลี้ยงบน Vero cell เซลล์ชนิดนี้ ใช้ทำวัคซีนหลายชนิดเช่นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และใช้กันมานานมาก อย่างที่เราฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

เมื่อเพาะได้จำนวนไวรัสจำนวนมาก ก็จะเอามาทำลายฤทธิ์หรือฆ่าเชื้อให้ตายแล้วนำมา formulation ใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทาน

ข้อดี >> วัคซีนชนิดนี้ โดยวิธีการทำจะเป็นวิธีที่เรารู้กันมาแต่โบราณ ในเรื่องความปลอดภัย เป็นเชื้อตายสามารถให้ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อไม่ไปเพิ่มจำนวน แต่การกระตุ้นภูมิต้านทานจะได้ระดับต่ำกว่าวัคซีนที่กล่าวมาจากข้างต้น

ข้อเสีย >> ของวัคซีนชนิดนี้คือการผลิตจำนวนมาก จะทำได้ยาก เพราะไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสก่อโรค จะต้องเพาะเลี้ยง ในห้องชีวนิรภัยระดับสูง ต้นทุนในการผลิตจะมีต้นทุนสูง ไม่สามารถลดราคาลงให้ถูกลงได้ ในทำนองเดียวกันการผลิตจำนวนมากของวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ก็จะมีขีดจำกัดด้วย

เปิดแฟ้ม 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ทุกวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย นั่นก็คือ วันรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นวันที่ระลึกคล้ายวันที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

.

ส่งผลให้เกิดการยกเลิก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร

.

อย่างไรก็ตามจากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญมาตามกาลสมัย โดยหากนับถึงปัจจุบันแล้ว ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญมาแล้วรวม 20 ฉบับ

.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

1.) พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน – 10 ธันวาคม พ.ศ.2475)

2.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม พ.ศ.2475 – 9 พฤษภาคม พ.ศ.2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย

3.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม พ.ศ.2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

4.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 – 23 มีนาคม พ.ศ.2492)

5.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม พ.ศ.2492 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

6.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม พ.ศ.2495 – 20 ตุลาคม พ.ศ.2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

7.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม พ.ศ.2502 – 20 มิถุนายน พ.ศ.2511)

8.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน พ.ศ.2511 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

9.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม พ.ศ.2515 – 7 ตุลาคม พ.ศ.2517)

10.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม พ.ศ.2517 – 6 ตุลาคม พ.ศ.2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

11.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม พ.ศ.2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ.2520)

12.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน พ.ศ.2520 – 22 ธันวาคม พ.ศ.2521)

13.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม พ.ศ.2521 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.

14.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม – 9 ตุลาคม พ.ศ.2534)

15.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม พ.ศ.2534 – 11 ตุลาคม พ.ศ.2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

16.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม พ.ศ.2540 – 19 กันยายน พ.ศ.2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.

17.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม พ.ศ.2549 – 24 สิงหาคม พ.ศ.2550)

18.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม พ.ศ.2550 – 22 กรกฎาคม พ.ศ.2557)

19.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม พ.ศ.2557 – 6 เมษายน พ.ศ.2560)

20.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน พ.ศ.2560 – ปัจจุบัน)

.

รู้หรือไม่?

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถูกร่างขึ้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในระหว่าง พ.ศ. 2557 - 2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

"RT Movement" มุกใหม่ "เยาวชนปลดแอก" ดันทุกคนเป็นแกนนำ ไร้เวที ไร้การ์ด ไร้ชนชั้น พร้อมควง "ค้อน - เคียว" สัญลักษณ์แห่งคอมมิวนิสต์ย้อนแย้งธงประชาธิปไตย

กลายเป็น Talk ชั่วข้ามคืน เมื่อบนเพจเฟซบุ๊ก เยาวชนปลดแอก ได้มีการโพสต์ภาพโลโก้พร้อมข้อความประกาศเปิดตัว "RT MOVEMENT" (ทีมข้อเดียวมูฟเมนท์) โดยระบุว่า...

"นี่คือ MOVEMENT ครั้งใหม่ที่จะไม่มีอะไรเหมือนเดิม ปลุกสำนึกทางชนชั้นของเหล่าแรงงานผู้ถูกกดขี่ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน พนักงานออฟฟิศ นอกเครื่องแบบ ชาวนา ข้าราชการ 'เราทุกคนล้วนเป็นแรงงานผู้ถูกกดขี่' "

"RT MOVEMENT นี้ ไม่มีแกนนำ ไม่ตั้งเวที ไม่มีการ์ด ไม่มีรถห้องน้ำ ไม่มีการเจรจา ไม่มีการต่อรอง! มาร่วม RESTART THAILAND เพื่อสร้างสังคมที่ 'คนเท่ากัน' โปรดรอติดตามช่องทางที่จะใช้เพื่อทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้"

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าข้อความดังกล่าวที่ชาวเน็ตต่างพุ่งเป้า คือ โลโก้ของ RT MOVEMENT ที่ดู ๆ ไปแล้วช่างละม้ายคล้ายสัญลักษณ์ 'ค้อน - เคียว' ของลัทธิคอมมิวนิสต์เหลือเกิน ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่านี่เป็นความตั้งใจหรือแค่บังเอิญกันแน่แต่

ว่าแต่สัญลักษณ์ 'ค้อน - เคียว' ที่ว่าคืออะไร ? ไหน ๆ ก็พูดถึงสัญลักษณ์ ค้อน - เคียวกันแล้ว The States Times ก็จะพาไปดูกันสักหน่อยว่าสัญลักษณ์เหล่านี้มีความหมายหรือว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับลัทธิคอมมิวนิสต์

จริง ๆ แล้วสัญลักษณ์ ค้อน-เคียว มักนำมาเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์ พรรคคอมมิวนิสต์ หรือรัฐคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ทั่วโลก

โดยความหมายของค้อน คือ ภาคอุตสาหกรรม ส่วนเคียวก็คงจะพอเดากันได้ก็ คือ ภาคเกษตรกรรมนั่นเอง!!

จะเห็นได้ว่าทั้งสองสัญลักษณ์ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นชาวนา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสังคมในระบบ 'คอมมิวนิสต์' โดยส่วนใหญ่จะนำค้อนและเคียวมาใช้ในลักษณะไขว้กัน เมื่อรวมกันแล้วจึงเปรียบเสมือนความเป็นเอกภาพของแรงงานในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ฉะนั้นสัญลักษณ์ค้อนเคียวนี้ จึงได้มาเป็นสัญลักษณ์ให้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ในหลาย ๆ ประเทศ เช่น บนธงชาติสหภาพโซเวียต, ธงพรรคคอมมิวนิสต์จีน, ธงพรรคคอมมิวนิสต์เลบานอน และในตอนนี้ก็ดูเหมือนจะกลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งในการเมืองของไทยที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้ โดย 'เยาวชนปลดแอก'

นั่นเลยกลายเป็นเหตุให้เกิดการตั้งคำถามทั้งจากกลุ่มเยาวชนปลดแอกและบุคคลนอกกลุ่มว่า ถ้าหากนำสัญลักษณ์ดังกล่าวมาเป็นมุกใหม่ของการเคลื่อนตัว จะเป็นการย้อนแย้งหรือไม่?

เพราะว่าสิ่งที่ทางเยาวชนปลดแอกและคณะราษฎรเรียกร้องมาตลอด คือ 'ประชาธิปไตย' แต่เหตุไฉนถึงเอาสัญลักษณ์ของ 'ลัทธิคอมมิวนิสต์' มาใช้ในการต่อสู้รูปแบบใหม่กันล่ะเนี่ย?

วาทะแห่งปี!!! จาก 'ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์'

วาทะแห่งปี!!

จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence และ Actuarial Science and Risk Management คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ย้อนอดีต 'นิรโทษกรรม' ใครผิด เดี๋ยวพลิกให้ 'ถูก' แบบไม่ต้องกลับตัว

'นิรโทษกรรม' หวนกลับมาให้ติดหูอีกครั้งท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองระอุในช่วงนี้ บางคนอาจจะเข้าใจความหมายกันบ้างทั้งเชิงลึกและเชิงผิว

แต่ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วจะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก่อนเลยว่า 'นิรโทษกรรม' คืออะไร?

.

- นิรโทษกรรมเป็นกฎหมายที่เขียนขึ้นเพื่อลบล้างความผิดให้กับผู้ที่กระทำผิด โดยไม่ต้องรับโทษ

- ส่งผลให้สิ่งต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นถือว่าไม่เป็นความผิด

- ไม่สามารถขุดคดีเก่าๆ มาสืบสวนได้ ถ้าหากว่าคดีเหล่านั้นได้ถูกนิรโทษกรรมไปแล้ว

- การนิรโทษกรรมจึงเป็นเหมือนกฎหมายที่สามารถทำให้ผู้กระทำผิดนั้นเป็นเหมือนผู้ไม่เคยกระทำผิดมาก่อน

.

เรียกว่าดูดีสำหรับคนมีคดีติดตัวกันเลยทีเดียว เพราะพลิกผิดเป็นถูกได้ชิลล์ ๆ มิน่าคนบางกลุ่มจึงอยากให้เกิดการนิรโทษกรรมกันนักกันหนา!! แล้วทราบหรือไม่ว่าในประเทศไทยก็มีการ 'นิรโทษกรรม' กันในช่วงอดีตมามากมายพอตัว

แล้วเกิดขึ้นมากันกี่ครั้ง?

.

การนิรโทษกรรมในบ้านเราเกิดขึ้นมาแล้วกว่า 23 ครั้ง

- แบ่งเป็นพระราชกำหนดนิรโทษกรรม 4 ฉบับ

- และพระราชบัญญัตินิโทษกรรม 19 ฉบับ

.

***ลองไล่เลียงกันไปโดยเริ่มที่พระราชกำหนดนิรโทษกรรม 4 ฉบับ***

ปี พ.ศ. 2475

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินประกาศโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จ โดยให้การกระทำของคณะราษฎรที่ละเมิดกฎหมาย ไม่ถูกนับเป็นการละเมิดบทกฎหมายใด ๆ เลย

.

ปี พ.ศ. 2488

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล ออกโดยนายควง อภัยวงศ์ มีการปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมดเป็นอิสระ โดยผู้กระทำผิดไม่ว่าจะถูกฟ้องหรือไม่ให้ นับว่าพ้นการกระทำผิดทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2524

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524 ออกโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จากเหตุการณ์พยายามรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม โดยกลุ่ม 'ยังเติร์ก' แต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้น พลเอกเปรม จึงได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมกลุ่มเหล่านี้ทั้งหมด เพื่อความสามัคคีของคนในชาติ

.

ปี พ.ศ. 2535

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ออกโดย พลเอก สุจินดา คราประยูร ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ โดยให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนั้นพ้นผิดทั้งหมด ทั้งประชาชนที่ชุมนุมและทหารที่ทำการปราบปรามประชาชน

.

***คราวนี้มาถึงพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม 19 ฉบับกันบ้าง***

ปี พ.ศ. 2476

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476 ออกโดย พระยาพหลพลลพยุหเสนา โดยคณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนาหลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476

.

ปี พ.ศ. 2489

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น ออกโดยนายปรีดี พนมยงค์ โดยยกโทษให้แก่ผู้ที่ต่อต้านญี่ปุ่นเมื่อตอนที่ญี่ปุ่นเข้ามาไทย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

.

ปี พ.ศ. 2490

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร ออกโดยนายควง อภัยวงศ์ ในขณะนั้นมีการทำการรัฐประหาร พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น ซึ่งนำการรัฐประหารโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ แต่ท้ายสุดได้ให้ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พรรคฝ่ายค้าน) ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนิรโทษกรรมกับผู้ทำการรัฐประหารในครั้งนั้นทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2475

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี พ.ศ.2475 แต่กลับมาใช้ช่วงปี พ.ศ.2494 ออกโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อการรัฐประหารของจอมพลป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นการรัฐประหารตัวเองเป็นครั้งแรก

.

ปี พ.ศ. 2499

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ออกโดยจอมพลป. พิบูลสงครามเนื่องจากพระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนมาครบ 25 ศตวรรษ จึงมีการอภัยทานความผิดฐานกบฏจลาจล จึงได้นิรโทษกรรมทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2500

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 ออกโดยนายพจน์ สารสิน เป็นการรัฐประหาร จอมพลป.พิบูลสงคราม นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จากความไม่พอใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งที่ทุจริตและสมาชิกพรรคมนังคศิลาของจอมพลป. เสนอให้จัดการเด็ดขาดกับจอมพลสฤษดิ์ ที่แถลงให้จอมพลป.ลาออกจากตำแหน่ง จอมพลสฤษดิ์จึงทำการรัฐประหารตัดหน้าและให้นายพจน์ สารสินขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง

.

ปี พ.ศ. 2501 – พ.ศ.2502

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 - พ.ศ.2502 ออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เหตุจากเนื่องจากการประกาศยึดอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยอ้างถึงความมั่นคงของประเทศ จากคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ การรัฐประหารในครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการรัฐประหารเงียบซึ่งก้คือการยึดอำนาจตัวเอง และได้ออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้ จอมพลสฤษดิ์ ใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อย่างเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด ด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 17

.

ปี พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2515

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2515 ออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย ซึ่งเป็นการยึดอำนาจตัวเอง โดยมีการนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ทำการปฏิวัติหรือร่วมทำการปฏิวัติพ้นจากความผิดทั้งสิ้น

.

ปี พ.ศ. 2516

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ออกโดยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ จากเหตุที่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนเดินขบวนเรียกร้อง ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หลังจากเหตุการณ์จึงมีการนิรโทษกรรมทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2517

พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2517 ออกโดยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นการนิรโทษกรรมบุคคล โดยให้ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ที่ให้ควบคุมตัวนายอุทัย พิมพ์ใจชน นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ

.

ปี พ.ศ. 2519

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ออกโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จากเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ และให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และมีการนิรโทษกรรมสำหรับผู้ทำการรัฐประหารในครั้งนั้น

.

ปี พ.ศ. 2520

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จากเหตุการณ์กบฏในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2520 ซึ่งเป็นความพยายามก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นำโดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง แต่กระทำไม่สำเร็จ หลังจากนั้นจึงได้มีการนิรโทษกรรมทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2520

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เนื่องมาจากการรัฐประหารนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐประหารนายธานินท์ กรัยวิเชียร ซึ่งเป็นการกระชับอำนาจตนเอง ซึ่งเป็นการรัฐประหารตัวเอง และได้นิรโทษกรรมทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2519 – พ.ศ.2521

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2521 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เนื่องจากเล็งเห็นว่าการดำเนินคดีแก่ผู้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 จะทำให้ผู้ที่ถูกดำเนินคดีต้องเสียอนาคตในทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ จึงมีการนิรโทษกรรม

.

ปี พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2531

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531 ออกโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จากเหตุพยายามรัฐประหารของนายทหารนอกราชการ เรียกเหตุการณ์นี้ว่า 'กบฏทหารนอกราชการ' หรือ 'กบฏ 9 กันยา' แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการนิรโทษกรรมเพื่อความสามัคคีของคนในชาติ

.

ปี พ.ศ. 2532

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532 ออกโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้กระทำความผิดตามกฎหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์

.

ปี พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ออกโดยนายอานันท์ ปันยารชุน จากการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่ทำการรัฐประหารพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยให้นิรโทษกรรมผู้ที่ร่วมในการรัฐประหารทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ออกโดย นายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อยกโทษให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่กระทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

.

ปี พ.ศ. 2535

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ออกโดย พลเอกสุจินดา คราประยูร เพื่อนิรโทษกรรมให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมพฤษภาทมิฬทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน ทหารที่ปราบปรามประชาชน รวมทั้งผู้ชุมนุม

.

จะเห็นได้ว่าบ้านเรานั้นได้มีการนิรโทษกรรมมาหลายครั้งหลายคราว ซึ่งการนิรโทษกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเราล้วนเกิดจากเรื่องของการบ้านการเมืองทั้งนั้น โดยหวังที่จะให้การอภัยและล้างความผิดทั้งหลายของผู้ที่เคยกระทำผิด เป็นบันไดก้าวไปสู่ความสามัคคีในชาติ ช่วยลดความบาดหมางและสร้างความปรองดองแก่กันได้

แต่นั่นหมายความว่าผู้กระทำผิดที่จะได้รับโอกาสนั้น ๆ ก็ต้องทำตัวให้ถูกต้องตามกฎหมาย และสำนึกในโอกาสจากการนิรโทษกรรมที่ได้รับมาเช่นกัน

ฉะนั้นจุดประสงค์ของการนิรโทษกรรม ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่ในทางปฏิบัตินั้น การนิรโทษกรรมควรจะใช้กับคนที่ควรได้รับแค่ไหน? นั่นคือ Fact มากกว่า...

สงครามกลางเมือง!! ประตูแห่งการเลี่ยงคุกของนักการเมืองคดีอ่วม

ต่อให้เห็นต่างกันแค่ไหน ต่อให้มีม็อบกันกี่รอบ หรือกี่ครั้งยังไง
.

แต่เชื่อว่าตอนนี้ คนไทยน่าจะไม่ต้องการเห็นสิ่งที่เรียกว่า ‘สงครามการเมือง’ ในรูปแบบของม็อบชนม็อบที่อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งแบบวันประชุมรัฐสภาที่เกียกกาย
.

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตให้ดี จะพบว่าเริ่มมีการกำหนดเป้าหมายในการเคลื่อนไหว ที่สะท้อนความพยายามแบบยั่วยุปลุกปั่นจากม็อบราษฎรออกมาสารพัดแนวมากขึ้น ซึ่งทุกๆ ครั้งก็ทวีความดุเดือดจนเริ่มทำให้ประชาชนอีกฟากที่เห็นต่างเริ่มเกิดความไม่พอใจ 
.

...และก็หวังที่จะให้เกิดความรุนแรงแบบ ‘ม็อบชนม็อบ’ 
.

พอเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ‘นักการเมืองบางกลุ่ม’ ที่มีคดีรอให้ขาก้าวเข้าตาราง ก็อาจจะหยิบยกมาเป็นข้ออ้างในการขอลี้ภัยไปต่างประเทศ เพื่อหลบหนีคดีอาญาต่างๆ ได้โดยง่าย
.

เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าขบคิด หลังจาก ทิพานัน ศิริชนะ อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ออกมากล่าว โดยอิงกรณีที่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้าออกมาระบุถึงการทำนำมาตรา 112 มาบังคับใช้เป็นการราดน้ำมันบนกองไฟของสถานการณ์ต่อจากนี้
.

ทิพานัน มองว่า “พฤติกรรมนี้มาจากกลุ่มบุคคลที่คอยฉกฉวยผลประโยชน์จากการชุมนุม โดยเฉพาะการวางแผนให้กลุ่มผู้ชุมนุม เคลื่อนไหวไปในสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์และการแสดงออกที่เข้าข่ายคุกคาม อาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันและฝ่ายตรงข้าม ซึ่งส่งผลให้กลุ่มประชาชนผู้จงรักภักดี เกิดความไม่สบายใจ และทนไม่ไหว ไม่ได้มีอะไรที่เกี่ยวกับการนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มาบังคับใช้ นายธนาธรจึงไม่ควรเบี่ยงเบนประเด็นไปใส่ร้ายว่ามาตรา 112 เป็นชนวนเหตุ เช่นเดียวกับที่นายธนาธรมักจะอ้างว่าถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง ทั้งที่นายธนาธรรู้ตนเองดีว่ากระทำผิดกฎหมายในการถือครองหุ้นสื่อ ให้เงินกู้ผิดกฎหมายกับพรรค”
.

ฉะนั้นเกมนี้ หากจะเป็นการเปิดศึก เพื่อกรุยทางให้รอดจากคดีส่อคุกที่ติดตัว มันก็มีความเป็นไปได้ทั้งหมดเหมือนกัน เพียงแต่คนที่เจ็บตัว จะรู้หรือไม่ว่า พวกเขาทำไปเพื่อใคร?
.

แน่นอนว่านาทีนี้กระแสสังคมในโลกโซเชียลไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้า เรียกว่า ‘ไม่เอาทุกม็อบ’ และพยายามเตือนให้กลุ่มประชาชนปกป้องสถาบันอยู่ในที่ตั้ง ไม่ออกมาเคลื่อนไหว เพราะเสี่ยงอาจมีผู้ไม่หวังดี สร้างสถานการณ์ 
.

ที่สำคัญคณะกรรมการสมานฉันท์ เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางทางการเมืองกำลังเริ่มเดินหน้า โดยมีการประกาศโครงสร้างของคณะกรรมการออกมาแล้ว ซึ่งมี ‘โควต้าตัวแทนของกลุ่มผู้ชุมนุม’ ด้วย 
.

ฉะนั้นหากมีกลไกที่ถูกต้องแล้ว ควรยุติความขัดแย้งด้วยกระบวนการเจรจาจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติและประชาชนมากกว่า...


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top