เปิดแฟ้ม 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ทุกวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย นั่นก็คือ วันรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นวันที่ระลึกคล้ายวันที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

.

ส่งผลให้เกิดการยกเลิก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร

.

อย่างไรก็ตามจากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญมาตามกาลสมัย โดยหากนับถึงปัจจุบันแล้ว ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญมาแล้วรวม 20 ฉบับ

.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

1.) พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน – 10 ธันวาคม พ.ศ.2475)

2.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม พ.ศ.2475 – 9 พฤษภาคม พ.ศ.2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย

3.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม พ.ศ.2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

4.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 – 23 มีนาคม พ.ศ.2492)

5.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม พ.ศ.2492 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

6.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม พ.ศ.2495 – 20 ตุลาคม พ.ศ.2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

7.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม พ.ศ.2502 – 20 มิถุนายน พ.ศ.2511)

8.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน พ.ศ.2511 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

9.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม พ.ศ.2515 – 7 ตุลาคม พ.ศ.2517)

10.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม พ.ศ.2517 – 6 ตุลาคม พ.ศ.2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

11.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม พ.ศ.2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ.2520)

12.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน พ.ศ.2520 – 22 ธันวาคม พ.ศ.2521)

13.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม พ.ศ.2521 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.

14.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม – 9 ตุลาคม พ.ศ.2534)

15.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม พ.ศ.2534 – 11 ตุลาคม พ.ศ.2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

16.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม พ.ศ.2540 – 19 กันยายน พ.ศ.2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.

17.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม พ.ศ.2549 – 24 สิงหาคม พ.ศ.2550)

18.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม พ.ศ.2550 – 22 กรกฎาคม พ.ศ.2557)

19.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม พ.ศ.2557 – 6 เมษายน พ.ศ.2560)

20.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน พ.ศ.2560 – ปัจจุบัน)

.

รู้หรือไม่?

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถูกร่างขึ้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในระหว่าง พ.ศ. 2557 - 2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ