เมื่อพระมหากษัตริย์ไทยถูกชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา | THE STATES TIMES STORY EP.92
เรื่องราว ๒ ยุค ๒ สมัย เมื่อพระมหากษัตริย์ไทยถูกชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา
.
ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย
![](http://thestatestimes.com/imgtst/read_more.png)
เรื่องราว ๒ ยุค ๒ สมัย เมื่อพระมหากษัตริย์ไทยถูกชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา
.
ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย
เรื่องราว "มัณฑะเลย์” ตำนานการสร้าง 'กรุงมัณฑะเลย์' เมืองหลวงใหม่ของราชวงศ์คองบอง
.
กับตำนานความโหดเหี้ยมสยดสยองของธรรมเนียมพม่า ที่ต้องเลือกคนมาฝังทั้งเป็น ก่อนจะลงเสาหลักและเริ่มการก่อสร้างเพื่อให้วิญญาณเหล่านั้นเป็นเทพารักษ์ประจำเมือง!!
.
เรื่องราวสุดสยดสยองแห่งตำนานนี้เป็นอย่างไร ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย
ในอดีตเรียก Fake News ว่า ‘บัตรสนเท่ห์’ หมายถึง จดหมายฟ้องหรือกล่าวโทษผู้อื่น นำมาทิ้งไว้โดยมิได้ลงชื่อจริงของผู้เขียน เมื่อใครพบเจอก็จะลือต่อๆ กันไป เป็นเครื่องมือสร้างความแตกแยก หรือหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
.
ตั้งแต่โบราณมา มีตัวอย่างเหตุการณ์สร้างข่าวปลอมที่สำคัญๆ อะไรบ้าง ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย
ครั้งหนึ่ง ‘พระแก้วมรกต’ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของไทย เคยถูกจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม นำไปซ่อนไปไว้ที่ถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ อ้างนำไปซ่อนหนีทหารญี่ปุ่น แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นความต้องการส่วนตัวที่อยากย้ายเมืองหลวงไปอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์แทนกรุงเทพมหานคร จึงขนสมบัติของชาติหลายคันรถนำไปซ่อนไว้
แม้ในประวัติศาสตร์ระดับชาติไม่มีการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน แต่ยังมีพยานสำคัญ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นั่นก็คือ ‘พระอุดมญาณโมลี’ หรือ หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ไปอัญเชิญพระแก้วมรกต กลับคืนสู่เมืองกรุง ได้ให้ข้อมูลไว้ก่อนที่ท่านจะละสังขาร
เรื่องราวความเป็นมาจะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามกันได้กับ The States Times Story ใน EP. นี้กันเลย
ขอให้ “ตกนรกอเวจีปอยเปตแสนล้านภพแสนล้านชาติ” ที่โด่งดังในโลกโซเชียลเมื่อไม่กี่วันก่อน หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ‘นรกอเวจี’ ตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธนั้น ในความจริงแล้ว ไม่ได้มีเพียง ‘อเวจี’ เท่านั้น
โลกของ ‘นรก’ หรือ ‘นรกภูมิ’ ในศาสนาพุทธนั้น เป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า ‘ไตรภพ’ หรือ ‘ไตรภูมิ’
‘นรกภูมิ’ ดินแดนหนึ่งที่เชื่อกันว่าผู้ที่ทำบาปตอนยังเป็นมนุษย์เมื่อเสียชีวิตแล้วจะต้องไปเกิดในนรก และถูกลงโทษตามคำพิพากษาของมัจจุราช โดยมี ‘มหานรก’ทั้งหมด 8 ขุมใหญ่ ที่ตั้งซ้อนทับเป็นชั้นๆ เรียงจากชั้นบนสุดลงไปยังชั้นล่างสุด ซึ่งสามารถแบ่งจากโทษเบาสุดไปจนถึงโทษหนักสุด ส่วน ‘อเวจี’ อยู่ในชั้นไหน ไปติดตามกันได้กับ The States Times Story ใน EP. นี้ กันเลย
.
.
‘สำนักฝ่ายใน’ หลายคนอาจจะไม่รู้จัก แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือว่าเป็นสถานที่เรียนรู้วิถีกุลสตรีชาววังที่สำคัญยิ่ง
ทั้งนี้ พระภรรยาเจ้าและพระภรรยา ต่างประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังบริเวณฝ่ายใน จึงเรียกว่า ‘พระราชสำนักฝ่ายใน’ ภายในฝ่ายในประกอบไปด้วยพระตำหนักและตำหนักจำนวนมาก โดยแต่ละแห่งมีความโดดเด่นเรื่อง ‘ชาววัง’ แตกต่างกัน อาจเป็นเพราะเจ้าของพระตำหนักหรือตำหนักนั้นมีความสนใจหรือมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง พระตำหนักหรือตำหนักนั้นก็จะมีชื่อเสียงพิเศษโดยเฉพาะ แต่จะไม่เรียกพระราชสำนักจะเรียกสั้น ๆ เพียง “สำนัก” ซึ่งแต่ละสำนักจะมีบรรดาข้าหลวงจากตระกูลขุนนางหรือตระกูลผู้รากมากดีมาถวายงานรับใช้ ได้เรียนรู้วิถีสตรีชาววัง ก่อนจะกราบทูลลาออกไปมีครอบครัว
ไปติดตาม เรื่องการเรียนรู้ของสตรีในรัชกาลที่ 5 ไปกับ The States Times Story ใน EP. นี้กันเลย
.
.
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด” ซึ่งเกิดจากการที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จไปเห็นเกษตรหลายพื้นที่พบว่าการทำกินยากลำบาก ถูกเอารัดเอาเปรียบการเช่าที่ดินเป็นปัญหายาวนาน พระองค์จึงได้ริเริ่มการเกษตร ตั้งแต่ปี 2518
ทั้งนี้ ที่ดินที่พระราชทานให้นั้น เป็นการให้กรรมสิทธิ์ทำกินแก่เกษตรกรชั่วลูกชั่วหลาน ตราบใดที่ยังดำรงชีพด้วยการเป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นพระบรมราโชบาย ที่ต้องการให้พสกนิกรมีอาชีพทำมาหากินอย่างมีความพอเพียง มีความสุข อาจไม่ร่ำรวย แต่ก็มีอาชีพมีรายได้เลี้ยงครอบครัว
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานที่ดินของสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในพื้นที่ 8 จังหวัด เป็นจํานวนกว่า 50,000 ไร่ ขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 พระองค์ยังคงสืบสานการมอบที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นเดียวกัน
.
.
‘นครพนม’ ศูนย์กลางอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เมืองที่เต็มไปด้วยตำนาน และพระธาตุพนมที่ศักดิ์สิทธิ์
จังหวัดนครพนม จังหวัดเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่มีทิวทัศน์งดงาม เมืองที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าอันน่าทึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ครั้งอดีตเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง เดิมตัวมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอำเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน กระทั่งได้ย้ายมาอยู่
กระทั่ง พ.ศ. 2280 พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้โยกย้ายเมืองจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาตั้งบนฝั่งขวาแม่น้ำโขง หรือฝั่งไทย เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือ เรียกเมืองใหม่ว่า ‘เมืองนคร’ จนมาถึง พ.ศ. 2333 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงพระราชทานนามใหม่ ว่า ‘นครพนม’
เนื่องจาก มีองค์ ‘พระธาตุพนม’ เป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ และเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาวนั่นเอง
นครพนม นอกจากเป็นจังหวัดที่มีทิวทัศน์งดงามแล้ว ยังมีประเพณีไหลเรือไฟที่ยิ่งใหญ่ตระการตาของขบวนไหลเรือไฟที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงออกพรรษา หากมีโอกาสควรไปชมสักครั้งในชีวิต
แชร์ลูกโซ่...ภัยทางการเงินที่ไม่เคยห่างหายจากสังคมไทย ตราบใดที่คนยังมีความโลภ อยากมีอยากได้ ยิ่งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งทำให้คนโดนหลอกได้ง่ายและขยายวงกว้างมากขึ้น
แชร์ลูกโซ่ที่หลอกลวงคนลงทุนที่เคยโด่งดังในอดีตอย่าง ‘แชร์แม่ชม้อย’ ที่โด่งดังเมื่อกว่า 30 ปีก่อน ที่ว่ากันว่ามีมูลค่าความเสียหายมหาศาลในยุคนั้น แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ความโลภก็ยังบังตามีคนตกเป็นเหยื่อขบวนการแชร์ลูกโซ่มามิได้ขาด อย่างล่าสุดกับแชร์ Forex-3D ที่มีคนตกเป็นเหยื่อนับหมื่นคน มูลค่าความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท
เราจะสังเกตและจับไต๋แชร์ลูกโซ่ได้อย่างไร ไปติดตามกับ The States Times Story ใน EP. นี้กันเลย
การสวดภาณยักษ์ เป็นพิธีที่ความเชื่อกันว่า เป็นพิธีที่สามารถขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และปกป้องคุ้มครองผู้สวดและผู้สดับให้อยู่สุขสวัสดี เนื้อความที่นำมาสวดนั้นมาจากอาฏานาฏิยสูตร ซึ่งมีเนื้อหาว่า ด้วยรักษาในอาฏานาฏานคร บรรยายถึงเหตุการณ์การณ์เข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และผู้ดูแลปกครองยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ และนาค
พิธีกรรมสวดภาณยักษ์ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยเป็นพิธีหลวง เพื่อการขับไล่ภูตผีที่ไม่ดีให้กับบ้านเมือง แต่ปัจจุบันพิธีหลวงไม่ได้จัดแล้ว แต่ยังมีบางพื้นที่ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดยังคงมีการจัดพิธีสวดภาณยักษ์อยู่
.
.