Saturday, 20 April 2024
THE STATES TIMES STORY

คนไทยเริ่มใช้ ‘นามสกุล’ ตั้งแต่สมัยไหน? | THE STATES TIMES STORY EP.95

คนไทยเริ่มใช้ ‘นามสกุล’ ตั้งแต่สมัยไหน?

.

ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

.

ชมผ่าน YouTube >> https://youtu.be/Oijd0zVeKD4

.

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

"มัณฑะเลย์” ตำนานอาถรรพณ์การสร้างเมือง | THE STATES TIMES STORY EP.91

เรื่องราว "มัณฑะเลย์” ตำนานการสร้าง 'กรุงมัณฑะเลย์' เมืองหลวงใหม่ของราชวงศ์คองบอง
.
กับตำนานความโหดเหี้ยมสยดสยองของธรรมเนียมพม่า ที่ต้องเลือกคนมาฝังทั้งเป็น ก่อนจะลงเสาหลักและเริ่มการก่อสร้างเพื่อให้วิญญาณเหล่านั้นเป็นเทพารักษ์ประจำเมือง!!
.
เรื่องราวสุดสยดสยองแห่งตำนานนี้เป็นอย่างไร ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

FAKE NEWS!! สยามโบราณถึงคณะราษฎร | THE STATES TIMES STORY EP.90

ในอดีตเรียก Fake News ว่า ‘บัตรสนเท่ห์’ หมายถึง จดหมายฟ้องหรือกล่าวโทษผู้อื่น นำมาทิ้งไว้โดยมิได้ลงชื่อจริงของผู้เขียน เมื่อใครพบเจอก็จะลือต่อๆ กันไป เป็นเครื่องมือสร้างความแตกแยก หรือหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

.

ตั้งแต่โบราณมา มีตัวอย่างเหตุการณ์สร้างข่าวปลอมที่สำคัญๆ อะไรบ้าง ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

'หลวงปู่จันทร์ศรี' พยานสำคัญ ครั้งจอมพล ป. อัญเชิญพระแก้วมรกตไปซ่อน | THE STATES TIMES STORY EP.88

ครั้งหนึ่ง ‘พระแก้วมรกต’ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของไทย เคยถูกจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม นำไปซ่อนไปไว้ที่ถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ อ้างนำไปซ่อนหนีทหารญี่ปุ่น แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นความต้องการส่วนตัวที่อยากย้ายเมืองหลวงไปอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์แทนกรุงเทพมหานคร จึงขนสมบัติของชาติหลายคันรถนำไปซ่อนไว้

แม้ในประวัติศาสตร์ระดับชาติไม่มีการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน แต่ยังมีพยานสำคัญ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นั่นก็คือ ‘พระอุดมญาณโมลี’ หรือ หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ไปอัญเชิญพระแก้วมรกต กลับคืนสู่เมืองกรุง ได้ให้ข้อมูลไว้ก่อนที่ท่านจะละสังขาร

เรื่องราวความเป็นมาจะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามกันได้กับ The States Times Story ใน EP. นี้กันเลย

รู้จัก ‘นรก’ ที่ไม่ได้อยู่ที่ปอยเปต อนุสสติเตือนใจเพื่อทำความดี | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.87

ขอให้ “ตกนรกอเวจีปอยเปตแสนล้านภพแสนล้านชาติ” ที่โด่งดังในโลกโซเชียลเมื่อไม่กี่วันก่อน หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ‘นรกอเวจี’ ตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธนั้น ในความจริงแล้ว ไม่ได้มีเพียง ‘อเวจี’ เท่านั้น 

โลกของ ‘นรก’ หรือ ‘นรกภูมิ’ ในศาสนาพุทธนั้น เป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า ‘ไตรภพ’ หรือ ‘ไตรภูมิ’

‘นรกภูมิ’ ดินแดนหนึ่งที่เชื่อกันว่าผู้ที่ทำบาปตอนยังเป็นมนุษย์เมื่อเสียชีวิตแล้วจะต้องไปเกิดในนรก และถูกลงโทษตามคำพิพากษาของมัจจุราช โดยมี ‘มหานรก’ทั้งหมด 8 ขุมใหญ่ ที่ตั้งซ้อนทับเป็นชั้นๆ เรียงจากชั้นบนสุดลงไปยังชั้นล่างสุด ซึ่งสามารถแบ่งจากโทษเบาสุดไปจนถึงโทษหนักสุด ส่วน ‘อเวจี’ อยู่ในชั้นไหน ไปติดตามกันได้กับ The States Times Story ใน EP. นี้ กันเลย

.

.

'สำนักฝ่ายใน' แหล่งเรียนรู้วิถีกุลสตรีชาววัง | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.86

‘สำนักฝ่ายใน’ หลายคนอาจจะไม่รู้จัก แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือว่าเป็นสถานที่เรียนรู้วิถีกุลสตรีชาววังที่สำคัญยิ่ง 

ทั้งนี้ พระภรรยาเจ้าและพระภรรยา ต่างประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังบริเวณฝ่ายใน จึงเรียกว่า ‘พระราชสำนักฝ่ายใน’ ภายในฝ่ายในประกอบไปด้วยพระตำหนักและตำหนักจำนวนมาก โดยแต่ละแห่งมีความโดดเด่นเรื่อง ‘ชาววัง’ แตกต่างกัน อาจเป็นเพราะเจ้าของพระตำหนักหรือตำหนักนั้นมีความสนใจหรือมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง พระตำหนักหรือตำหนักนั้นก็จะมีชื่อเสียงพิเศษโดยเฉพาะ แต่จะไม่เรียกพระราชสำนักจะเรียกสั้น ๆ เพียง “สำนัก” ซึ่งแต่ละสำนักจะมีบรรดาข้าหลวงจากตระกูลขุนนางหรือตระกูลผู้รากมากดีมาถวายงานรับใช้ ได้เรียนรู้วิถีสตรีชาววัง ก่อนจะกราบทูลลาออกไปมีครอบครัว

ไปติดตาม เรื่องการเรียนรู้ของสตรีในรัชกาลที่ 5 ไปกับ The States Times Story ใน EP. นี้กันเลย

.

.

นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด ให้ที่ดินทำกินและความรู้ ไม่ใช่เงินทอง | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.85

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด” ซึ่งเกิดจากการที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จไปเห็นเกษตรหลายพื้นที่พบว่าการทำกินยากลำบาก ถูกเอารัดเอาเปรียบการเช่าที่ดินเป็นปัญหายาวนาน พระองค์จึงได้ริเริ่มการเกษตร ตั้งแต่ปี 2518

ทั้งนี้ ที่ดินที่พระราชทานให้นั้น เป็นการให้กรรมสิทธิ์ทำกินแก่เกษตรกรชั่วลูกชั่วหลาน ตราบใดที่ยังดำรงชีพด้วยการเป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นพระบรมราโชบาย ที่ต้องการให้พสกนิกรมีอาชีพทำมาหากินอย่างมีความพอเพียง มีความสุข อาจไม่ร่ำรวย แต่ก็มีอาชีพมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานที่ดินของสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในพื้นที่ 8 จังหวัด เป็นจํานวนกว่า 50,000 ไร่ ขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 พระองค์ยังคงสืบสานการมอบที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นเดียวกัน

.

.


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top