Thursday, 4 July 2024
NEWS FEED

ผ่าวิธีคิด...โครงการคนละครึ่ง

ถ้าเปรียบ ‘โครงการคนละครึ่ง’ เป็นมวย ต้องบอกเลยว่า มุมน้ำเงิน นำโดยรัฐบาล ออกหมัดฮุคหนนี้ได้เข้าเป้าจะแจ้งดีเหลือเกิน เพราะกระแสตอบรับจากโครงการดังล่าว ‘เริ่ดม๊าก!’ ชาวบ้าน ร้านค้า รวมไปถึงประชาชนทุกหน่วย พร้อมใจกันร่วมโครงการ

 

งานนี้กรรมการข้างเวทีถึงกับต้องให้คะแนนหมัดนี้จากรัฐบาลที่เข้าตา หลังจากที่รัวหมัดแย็บ (จนเหนื่อย) มาพักใหญ่ เอ้า! อะไรดีก็ว่าดีเน๊อะ ของทุกอย่างต้องวัดกันที่รูปธรรมชัดเจนนี่แหละ อ้อ! อีกอานิสงค์หนึ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ก็คือ คนไทย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ปรับตัวเข้าถึงเทคโนโลยีกันมากขึ้นอีกด้วย

 

แต่หากถามว่า แล้วทำไมโครงการนี้ถึงได้กลายเป็นหมัดเด็ดของรัฐบาลได้ The States Time ประเมินให้รับทราบกัน 6 ข้อต่อไปนี้

ส.ว. คนแรก ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์

วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563  ที่รัฐสภาในการประชุมร่วมรัฐสภาที่มี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาเป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาลงมติรับหรือไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เลขาธิการรัฐสภาได้เริ่มขานชื่อสมาชิกรัฐสภาเรียงลำดับตามตัวอักษร ก่อนที่สมาชิกแต่ละคนจะขานมติว่า รับ-ไม่รับ-งดออกเสียง ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละร่าง ตั้งแต่ร่างที่ 1 - 7

ทั้งนี้เมื่อการลงมติผ่านไปได้ 200 คน สมาชิกรัฐสภา ทางฝั่งรัฐบาล และส.ว. ส่วนใหญ่ ลงมติรับหลักการ ร่างที่ 1 - 2 ตามที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล และส.ส.ฝ่ายค้านเสนอและในส่วนของร่างอื่นๆ ลงมติงดออกเสียงณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน ลงมติรับหลักการทั้ง 7 ร่างตามที่ได้แสดงจุดยืนร่วมกันไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งสำหรับทางฝั่งส.ว.นั้น พบว่า นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ส.ว. ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์

หนูพร้อม...พี่ก็พร้อม!!

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลา 15.30 น.​ เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่ห์บางส่วน​ เริ่มมีการจัดตั้งแถว​ เพื่อรอรับมือม็อบราชประสงค์เย็นนี้ ตรงบริเวณหน้าอาคารนิมิตบุตร​ สนามกีฬาแห่งชาติ

ศบค.ไฟเขียวต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 45 วัน !

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธินโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงผลประชุมศบค.ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นครั้งที่ 8 เป็นเวลา 45 วัน โดยจะขยายเวลาคร่อมช่วงเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2563 - 15 มกราคม พ.ศ.2564 โดยมีเหตุผลว่าเพื่อเป็นการควบคุมตามมาตรการทางสาธารณสุข และในช่วงเวลาดังกล่าวตะมีการแข่งขันกีฬาแบดมินตันโลก ที่จะมีผู้เดินทางเข้ามาในประเทศจำนวนมาก จึงต้องดูแลให้ครอบคลุม

บาดเจ็บ 55 ปะทะ เมื่อวาน

ศูนย์เอราวัณรายงานผู้บาดเจ็บม็อบหน้าสภา 55 คน ด้าน ประธานสภา แจงเอ่ย "ขอบคุณ" ทุกฝ่ายไม่เลือกปฏิบัติ ขอให้เชื่อสภายังเป็นพึ่งของปชช.

 

เมื่อเวลา 11.45 น. ที่รัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมนายแทนคุณ จิตต์อิสระ เลขานุการคณะทำงานประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันแถลงถึงภาพรวมการชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

 

โดย นพ.สุกิจ กล่าวว่า ประธานสภามีความห่วงใยต่อผู้ชุมนุมโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ตนและทีมงานให้ติดตามดูแลให้การช่วยเหลือต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

 

โดยรายงานผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมของศูนย์เอราวัณ มีผู้บาดเจ็บรวม 55 คน ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตา 32 คน, ถูกยิง 6 คน, มีอาหารป่วยขณะชุมนุม 4 คน และบาดเจ็บอื่น ๆ 13 คน ซึ่งได้กระจายรักษาตัวตามโรงพยาบาลต่าง ๆ

 

ซึ่งตนและทีมงานได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ผู้บาดเจ็บเข้ารักษาส่วนมากจากแก๊สน้ำตาและได้เดินทางกลับบ้านแล้ว ส่วนรายที่บาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงที่โคนขาซ้ายตอนที่ตนไปก็กำลังเข้ารับการผ่าตัดอยู่

 

ด้านนายแทนคุณ กล่าวว่า "เมื่อวานตนได้มีโอกาสตามนายชวน หลีกภัย ไปดูแลในพื้นที่โดยรอบของรัฐสภา ขอยืนยันว่านายชวนได้มีความเป็นห่วงเป็นใยทุกฝ่ายทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่สภา ตำรวจ รวมทั้งผู้ชุมนุมด้วย ได้ตั้งทีมให้ไปดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนั่นก็สะท้อนถึงความเป็นห่วงเป็นใยอย่างไม่เลือกปฏิบัติ

 

และคำว่าขอบคุณที่ท่านกล่าวนั้น ท่านกล่าวว่าขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งก็สะท้อนกลับมาที่สภาว่าจะต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีในเมื่อเจ้าหน้าที่ ประชาชนได้ทำหน้าที่ของตนเองแล้ว ไม่ได้เป็นการกล่าวขอบคุณฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือเป็นการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายเดียว และได้กำชับให้ดูแลทุกฝ่ายให้ดี"

 

นายแทนคุณ กล่าวอีกว่า "เป็นความไม่สบายใจของพวกเราที่ทำงานในสภา ที่เหตุการณ์ชุมนุมใช้อาวุธที่รุนแรงซึ่งเข้าใจว่าการชุมนุมกับการดำเนินวิถีประชาธิปไตยเป็นของคู่กัน เราเองเข้าใจในสิทธิเสรีภาพแต่ก็มีความเป็นห่วง และโชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต ครั้งนี้เป็นการชุมนุมที่มีการกระทบกระทั่งกันแต่โชคดีที่เรามีสื่อมวลชนคอยจับตา ทำให้เราเห็นภาพหลักฐานว่าใครทำอะไรอย่างไร

 

ทั้งนี้ในวันนี้จะมีการโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนอยากให้ประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้เชื่อมั่นและเคารพในกติกาในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ไขปัญหาโดยใช้รัฐสภาที่เป็นภาษีของประชาชนได้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง แตกแยกทางการเมืองโดยเฉพาะประเด็นเรื่องการจาบจ้วงสถานบัน ตนมองว่าเป็นประเด็นที่แหลมคมและนำมาซึ่งความเจ็บซ้ำน้ำใจของแต่ละฝ่าย ขอให้ระมัดระวังในท่าทีหรือถ้อยคำซึ่งเป็นสิ่งที่ประธานสภามีความห่วงใยว่าอยากให้สื่อสารว่าสภายังเป็นที่พึ่งที่หวังโดยเฉพาะนายชวนยังเป็นเสาหลักของประชาธิปไตยในขณะนี้

'จอน' เชื่อ ร่าง 'ไอลอว์' จอด

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่รัฐสภา นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผอ.โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมาย ประชาชน (ไอลอว์) กล่าวถึงภาพรวมการพิจารณาร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสภาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ว่า ตนพอใจกับการทำหน้าที่ของส.ส.ส่วนใหญ่ แต่ไม่ค่อยพอใจกับการทำหน้าที่ของส.ว.บางคน


ซึ่งมีลักษณะกล่าวหาใส่ร้ายองค์กรที่ตนภูมิใจนั้นก็คือไอลอว์ เพราะเราเป็นองค์กรที่ทำทุกอย่างถูกต้องโปร่งใส หากท่านไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคประชาชนเรายินดี เพราะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่มาใส่ร้ายกล่าวหาว่าทุจริตบ้าง ได้เงินจากแหล่งทุนบ้าง โดยไม่มีข้อพิสูจน์ใด ๆ ตนถือว่าไม่แฟร์ เมื่อถามว่าจะชี้แจงอย่างไรกรณีที่ว่าแหล่งทุนนั่นเป็นแหล่งทุนเดียวกับการให้ม็อบฮ่องกง นายจอน กล่าวว่า "ตนไม่ทราบว่าแหล่งทุนใดให้ทุนกับม็อบฮ่องกง แต่ถ้าเป็นการให้ทุนกับองค์กรที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยตนถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา"
 

เมื่อถามว่าหากวันนี้ร่างของไอลอว์ถูกตีตกจะดำเนินการอย่างไรต่อ นายจอน กล่าวว่า "คาดอยู่แล้วว่าจะตีตก ตนเชื่ออย่างนั้น ตนคิดว่าซีกหนึ่งของสภานี้ไม่ได้ติดอยู่กับความเป็นจริงของสังคมที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงคนรุ่นใหม่กำลังมาเรียกร้องประชาธิปไตย ถ้าสภาส่วนหนึ่งไม่ตื่นตัวกับเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องหน้าเศร้า เพราะจะทำให้สถานการณ์แย่ลง"

ปตท. ยังท็อปฟอร์ม โกย ‘DJSI’ 9 ปีติด โตทั้งกำไร ได้ใจทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม

กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เสียแล้วขององค์กรธุรกิจทั่วโลก ที่จะต้องคำนึงถึง ‘การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม’ โดยธุรกิจในยุคนี้จำเป็นต้องสนใจคำ 3 คำ คือ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และ บรรษัทภิบาล (Governance) หรือย่อๆ ว่า ‘ESG’

เพราะ ESG จะช่วยกรองให้ธุรกิจดำเนินไปโดยใส่ใจกับผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวเนื่องกับ 3 คำที่ว่ามา ไม่ใช่แค่ดีต่อมวลรวม แต่การให้ความสำคัญกับ ESG ขององค์กร ยังดีต่อใจของนักลงทุนที่จะตัดสินใจได้ง่ายในการเข้าไปร่วมลงทุนหรือถือหุ้นในธุรกิจนั้น ๆ

แต่ ESG ก็ไม่ใช่ว่าจะแค่ทำไปตามแต่ใจ เพราะตามเกณฑ์มาตรฐานสากลโลก ได้มีการออกดัชนี หรือตัวชี้วัดในการประเมินองค์กรที่ให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อยู่

โดยหนึ่งในนั้น คือ ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ ‘DJSI’ (Dow Jones Sustainability Indices) ที่จัดทำโดย RobecoSAM และ S&P Dow Jones Indices ดัชนีนี้มีการคัดเลือกจาก 2,521 บริษัทในตลาดทุนทั่วโลก และ 802 บริษัทในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (ข้อมูลปีพ.ศ.2561)

มีการประเมินผลการดำเนินงานในมิติเศรษฐกิจ บรรษัทภิบาล สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อคัดเลือกบริษัทที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยให้กองทุนต่าง ๆ ทั่วโลกใช้พิจารณาประกอบการลงทุน แน่นอนว่าการจะรักษาสถานะตัวเองให้อยู่ในลิสต์ DJSI ต่อไปเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก!!

หลายคนอาจจะเข้าใจว่า ESG เหล่านี้ ก็แค่ไปปลูกป่า ลดมลพิษโรงงาน และบลา ๆ ที่พร้อมจะบอกว่าองค์กรนั้น ๆ Go Green แต่นั่นแค่เรื่องผิวเผิน เพราะที่พูด ๆ กันเขาเรียกว่า CSR!!

ในความเป็นจริงแล้ว การจะก้าวเข้าไปอยู่ใน DJSI ได้ ต้องยกระดับกระบวนการทางธุรกิจ เอาแบบว่าทั้งองค์กรต้องร่วมมือกันแบบเครือทั่วถึง จะเรียกว่าเป็นจิตวิญญาณขององค์กร ต้องร่วมกันทำเพื่อให้ตอบสนองต่อทุกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบบพัฒนาใจมาได้ระดับหนึ่งตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงพนักงานตัวเล็ก ๆ

ส่วนในเชิงโครงสร้างก็ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ ESG ของตนเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงรูปแบบธุรกิจ ตรงนี้จะเป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้บรรดานักลงทุนเกิดความมั่นใจ อยากมาร่วมลงทุน โดยไม่ได้มองแค่ผลกำไรขององค์กรนั้น ๆ เป็นที่ตั้งเพียงอย่างเดียว

สรุปเลยก็คือ ธุรกิจเดินหน้ามีกำไร แถมยังต้องโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หูยย...ยากเหลือล้น

ทั้งนี้บริษัทไทยที่ผ่านการคัดเลือกเป็นสมาชิกดัชนี DJSI เป็นครั้งแรก คือ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ที่ได้ในปีพ.ศ.2547 หลังจากนั้น ก็มีบริษัทไทยทยอยคว้ารางวัลนี้กันมากขึ้น เช่น ในปีพ.ศ.2561 ที่มีบริษัทไทยถึง 20 บริษัท ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกของดัชนี เช่น KBANK, SCB, PTTEP, PTT, CPALL, THBEV, PTTGC, SCC และ CPN

ล่าสุดในปี พ.ศ.2563 บริษัท ปตท. เป็นอีกรายที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับปตท. กวาดรางวัลนี้มาแล้วต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ในกลุ่มดัชนีโลก (World Index) และดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Index) โดยปตท.ได้คะแนนสูงสุดเป็น Industry Leader ในกลุ่ม Oil & Gas Upstream & Integrated (OGX) นอกจากนี้ บริษัทในกลุ่ม ปตท. ประกอบด้วย...

.

- บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

- บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

- บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

- และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (จีซี)

.

ยังได้ผ่านการประเมินเป็นสมาชิก DJSI ต่อเนื่องครบทุกบริษัท โดย ไทยออยล์ ได้คะแนนสูงสุดเป็น Industry Leader ในกลุ่ม Oil & Gas Refining & Marketing (OGR) และ จีซี ได้คะแนนสูงสุดเป็น Industry Leader ในกลุ่ม Chemicals (CHM) อีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top