Saturday, 27 April 2024
NEWS FEED

ผบ.ฉก.ตชด.44 คนใหม่ ตรวจเยี่ยมกำลังพล เน้นย้ำให้กำลังพลห้ามยุ่งเกี่ยวเรื่องอบายมุข - การพนัน - ยาเสพติด และห้ามสร้างเงื่อนไขในพื้นที่!!

พ.ต.ท.จาริพัฒน์ ทองแดง ผบ.ฉก.ตชด.44 เดินทางตรวจเยี่ยมกำลังพล เจ้าหน้าที่ ตชด. ชป.พิทักษ์เขื่อนบางลาง ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ พร้อมมอบนโยบายในการปฏิบัติหน้าที่ ในโอกาสที่มารับตำแหน่ง ผบ.ฉก.ตชด.44  รวมถึงรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่และปัญหาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของของกำลังพลเจ้าหน้าที่ ตชด. พร้อมเน้นย้ำกำชับกำลังพลห้ามยุ่งเกี่ยวเรื่องอบายมุข การพนัน ยาเสพติด และห้ามสร้างเงื่อนไขในพื้นที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังไม่ประมาทเข้มแข็ง สามารถตอบโต้เมื่อมีเหตุได้ทันที

จากนั้นได้เยี่ยมชมการฝึก ของข้าราชการตำรวจใหม่ ที่มาปฏิบัติหน้าที่ประจำ ชป.พิทักษ์เขื่อนบางลาง ในการบำรุงรักษาเครื่องเรือ 40 แรงม้า การบำรุงรักษาเครื่องเรือและส่วนควบเรือ 140 แรงม้า การขับขี่เรือท้องแบน การขับขี่เรือตรวจการ ซึ่งวิชาต่าง ๆ เหล่านี้ เจ้าหน้าที่ ตชด.ชป.พิทักษ์เขื่อนบางลาง ต้องใช้เป็นประจำในขณะตรวจตราทางน้ำ ในการรักษาความสงบ ความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชานที่อาศัยอยู่ติดกับลำน้ำเขื่อนบางลาง

 

“นิพนธ์” ชี้!! ท้องถิ่น คือหน่วยงานหลัก ช่วยลดสถิติอุบัติเหตุฯ เร่งสร้างความร่วมมือบูรณาการร่วมทุกภาคส่วน ปลูกจิตสำนึกวินัยจราจร ตั้งเป้าลดความสูญเสียทางถนนอย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. วันที่ 10 ตุลาคม 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมมอบนโยบาย โครงการความปลอดภัยทางถนน "สงขลาเมืองต้นแบบ" พัฒนากลไกจัดการความปลอดภัยทางถนน จากจังหวัดสู่อำเภอ และตำบล โดยมี นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายก อบจ.สงขลา นายอำเภอทั้ง 16 อำเภอ หน.สนง.ปภ.สงขลา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่นจังหวัด ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฯ ณ อาคารศรีเกียรติพัฒน์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

โดยที่จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดใหญ่ของภาคใต้และมีศักยภาพในด้านต่างๆอย่างสูง แต่ส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางถนน ยังเป็นอุปสรรคส่วนหนึ่งจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูงและได้รับผลกระทบความสูญเสียมากขึ้นในด้านชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจ ตลอดจนความมั่นคง ทางถนนให้เป็นรูปธรรมโดยความมุ่งหวังที่จะสร้างเมืองสงขลาเป็นต้นแบบของการบูรณาการดำเนินการในการลดอุบัติเหตุทางถนน ให้เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน และให้มีการขับเคลื่อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเต็มศักยภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ที่จะสร้างแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย นำไปเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนต่อไป

นายนิพนธ์ รมช.มท. กล่าวว่า  วันนี้อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น องค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้เป้าหมายด้านความปลอดภัยทางถนน เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ภายในปีพ.ศ. 2573

โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ลงร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2573 ดังนั้น การรณรงค์เรื่องความปลอดภัยทางถนน จึงเป็นวาระมีความสำคัญระดับโลก รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลก ประมาณการอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อแสนประชากรในประเทศไทยปี พ.ศ. 2559 ยังอยู่ในระดับสูงถึง 32.70 มากกว่า 22,000 คนต่อปี แม้ว่าจะมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องปัญหาอุบัติเหตุ จากการใช้รถใช้ถนน ของประเทศไทย ก็ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ ของประเทศ จากสถิติที่ผ่านมาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ความไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฏหมาย และปัญหาทางกายภาพของโครงสร้างพื้นฐานของถนน ปัญหาการเสียชีวิตที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ก็ยังเป็นโจทย์ที่สำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย"

รมช.มท.กล่าวต่ออีกว่า สำหรับปี พ.ศ. 2564 รัฐบาล โดย ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้กำหนดประเด็นเร่งด่วน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบูรณาการการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพหลักในการลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ เพื่อลดความสูญเสียและผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างแท้จริง โดยเป้าหมายหลักคือ ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในเรื่องของการดูแลความปลอดภัยบนท้องถนน โดยใช้ ,Songkhla Model  หรือสงขลาต้นแบบ ในการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานความร่วมมือกัน

เร่งเดินหน้า “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ครองแชมป์โลกยางพารา!! “อลงกรณ์” ปักหมุด 7 กลยุทธ์รุกตลาดน้ำยาง 5 หมื่นล้าน เพิ่มรายได้เกษตรกร อัพเกรด กยท.เป็นองค์กรระดับโลก!!

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางกล่าววันนี้(10ต.ค)ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินนโยบายบริหารจัดการยางพาราสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีเกษตรกรผู้ปลูกยางจำนวน 1.83 ล้านราย ครอบคลุมพื้นที่ 24.76 ล้านไร่ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้บูรณาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนนโยบายพิจารณาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการตลาดยางพารา โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ซื้อ และผู้ขาย ประกอบด้วย ตลาดกลางยางพารา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) 8 แห่ง ตลาดซื้อขายออนไลน์ และตลาดยางพาราท้องถิ่น รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางด้านรายได้ในภาวะช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดผลกระทบจากวิกฤติโควิด19ด้วยการขับเคลื่อนโครงการประกันรายได้ชาวสวนยางตลอดจนการสร้างกลไกและกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการรักษาเสถียรภาพราคา และเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

การขับเคลื่อนนโยบายตลาดเชิงรุกโดยการให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ทูตเกษตรประจำอยู่ต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (EU) ร่วมกับทูตพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ตามโมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตได้ผนึกกำลังกันส่งเสริมการตลาดยางพาราในประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ พร้อมกับติดตามและรายงานข้อมูลสถานการณ์การนำเข้าและส่งออก สินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย และสภาวะแวดล้อมด้านการค้าการแข่งขัน รวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะโอกาสทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นการปรับมิติของกลยุทธ์การตลาดยางพารา โดยขับเคลื่อนร่วมกับการยางแห่งประเทศไทยเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาตลาดยางพาราในต่างประเทศ ทั้งในตลาดเก่า และการเปิดตลาดใหม่โดยตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาด (Market Share)และขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้ ดำเนินการเร่งดำเนินการจัดตั้ง”ตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริงของยางพารา”โดยกยท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.พร้อมกันนั้นก็เร่งส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยส่งเสริมการลงทุนโรงงานผลิตถุงมือยาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ในยุคนิวนอร์มอล จากผลกระทบของโควิด-19

รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการผลิตการแปรรูปสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราโดยร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในงานด้านวิจัยและพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เน้นเทคโนโลยีเมดอินไทยแลนด์(made in Thailand)

พร้อมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมยางพารา เช่น “โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรม” และโครงการเกษตรแม่นยำ2ล้านไร่สู่ธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรยุคใหม่(Big Brothers)

รวมถึงข้อริเริ่มใหม่ ๆ เช่นโครงการ Rubber Valley ซึ่งเป็นโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (suitability and development of the rubber industry in Nakhon Si Thammarat Province) ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) ของรัฐบาลสู่การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ครอบคลุมทั้งกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราทั้งระบบ

วิกฤตโควิด-19 เป็นปัญหาและโอกาสที่ท้าทายประเทศไทยซึ่งข้อมูลและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อไปนี้คือคำตอบว่าเรามีศักยภาพมากแค่ไหนและเดิมพันก็สูงมากแต่ก็คุ้มค่าสำหรับอุตสาหกรรมยางพาราโดยเฉพาะน้ำยางข้น ยางพาราโลกปี2563 ไทยเบอร์ 1 ผลผลิตยางพาราโลกปี 2563 มีปริมาณ 12.9 ล้านตัน โดยประเทศไทยมีผลผลิตยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 4.4 ล้านตัน หรือ 38.2% รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินเดีย

เอเชียผลิตมากที่สุดในโลก ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งผลิตยางพารา 93% ของผลผลิตยางพาราทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นแหล่งผลิตใหญ่ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศกลุ่ม CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam)  

ไทย...แชมป์โลกส่งออกน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควัน

ปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางของโลก โดยเฉพาะน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควันส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก

แนวโน้มการส่งออก

การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว 5.0-8.0% ต่อปี ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมถุงมือยางและผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ต่าง ๆ  โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำยางข้นรายใหญ่ของไทย และเป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ของโลก

ขณะที่ผู้ผลิตน้ำยางข้นยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องตามทิศทางความต้องการของอุตสาหกรรมขั้นปลาย ได้แก่ ถุงมือยาง ผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ และถุงยางอนามัยในตลาดโลก ประกอบกับการผลิตน้ำยางข้นในตลาดโลกยังมีน้อยเนื่องจากกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ยังเน้นผลิตเพียงยางก้อนถ้วยและเศษยาง ทำให้ภาวะการแข่งขันในการส่งออกน้ำยางข้นไม่รุนแรงนัก

จุดแข็งและโอกาสของน้ำยางพาราไทย

1.การผลิตน้ำยางสด92%

การผลิตน้ำยางสดมีสัดส่วนถึง 92% ของผลผลิตยางพาราทั้งหมดซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลางได้ทุกประเภท ต่างจากมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ส่วนใหญ่ผลิตยางก้อนถ้วยจึงเน้นผลิตยางแท่งเป็นหลัก

2.ศักยภาพน้ำยางข้นไทยอันดับ1ของโลก

อุตสาหกรรมน้ำยางข้นของไทยมีมูลค่าตลาดประมาณ 5 หมื่นล้านบาทในปี 2563 (มูลค่ารวมส่งออกและใช้ในประเทศ) โดยส่งออกในสัดส่วน 75.9% และไทยมีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกเกือบ 70% ของปริมาณการค้าน้ำยางข้นทั่วโลก

3.ตลาดใกล้กระจุกตัวแต่มีตลาดทั่วโลกรออยู่

ตลาดส่งออกหลักของไทยอยู่ใกล้บ้านในอาเซียนและเอเซียตะวันออกคือ มาเลเซียที่มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณส่งออกน้ำยางข้นทั้งหมด รองลงมาเป็นจีน (33.5%) และเกาหลีใต้ (1.8%) แต่ในอีกแง่หนึ่งคือการมีตลาดดั้งเดิมกระจุกใน3ประเทศแสดงว่ายังมีตลาดใหม่ในอีกกว่า100ประเทศรอเราอยู่

4.Covid โอกาสในวิกฤติ

จากวิกฤติโควิด19 ทำให้ความต้องการน้ำยางข้นเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมถุงมือยางและถุงยางอนามัย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซีย The Malaysian Rubber Glove Manufacturers Association (MARGMA) คาดการณ์ความต้องการถุงมือยางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 662 พันล้านชิ้นในปี 2566 หรือเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 23.1% ต่อปีในช่วงปี 2564-2566

How to ทิ้ง "แยกขยะก่อนทิ้ง" กับ 8 ทางแยก(ขยะ)วัดใจ แยกให้ถูกถัง...เพิ่มพลังรักษ์โลก!!

หยุด!! การทิ้งขยะรวมกันในถังเดียวได้แล้ว เพราะ “การแยกขยะก่อนทิ้ง” เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยสิ่งแวดล้อม แล้วสามารถเริ่มได้จากตัวเราเอง ถ้าหากสิ่งแวดล้อมดี เราทุกคนก็จะดำเนินชีวิตได้อย่างสบายใจ และสูดลมหายใจได้อย่างเต็มปอด วันนี้ทาง THE STATES TIMES เลยขอชวนทุกคนมา “แยกขยะก่อนทิ้ง” แบบง่าย ๆ และถูกวิธีไปด้วยกันเลยยย...  

สามารถรับชมเพิ่มเติมได้ทาง >> https://youtu.be/gwJRhvCwy9k

 

ที่ปรึกษาส่วนตัว “สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซ็น” พบผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย สร้างเสริม เติมความพร้อมในเอเชียนเกมส์ที่กัมพูชา

Dr. Sok Sokrethya ที่ปรึกษาส่วนตัว สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา ผู้แทนรัฐบาลกัมพูชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และรศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา พร้อมคณะที่ปรึกษา ได้เข้าพบ ดร. ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ท่านผู้ว่าฯ อาทิ วิษณุ ไล่ชะพิษ รองผู้ว่าฝ่ายบริหารพร้อมคณะผู้บริหารการกีฬาแห่งประเทศไทย

บรรยากาศการต้อนรับอบอุ่น ได้นำเสนอ วีดีทัศน์ถึงการพัฒนาการกีฬาไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยตั้งเป้าหมายให้ได้เหรียญทองโอลิมปิกในอีกสามปี ของการเข้าร่วมการแข่งขันที่ประเทศฝรั่งเศส และเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาลกัมพูชากับตัวแทนของภาคประชาสังคมไทย ด้านกีฬาประเภทต่าง รวมทั้งการเชิญเข้าร่วมการพัฒนาผู้บริหารด้านการกีฬาทั้งระดับกลางและระดับสูงให้เจริญมั่นคงยิ่งขึ้น

Dr. Sok Sokrethya ได้กล่าวชื่นชมถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาด้านการกีฬาของไทยและปรารถนาที่จะขอความร่วมมือในการพัฒนาด้านการกีฬา โดยเฉพาะลู่จักรยานเพื่อการพัฒนากีฬาจักรยานที่ปัจจุบัน การขับขี่จักรยานเป็นที่แพร่หลายมากในประเทศกัมพูชา แต่ยังขาดเทคโนโลยีที่ถูกต้อง

“มาดามแป้ง” ต้อนรับที่ปรึกษาส่วนตัว ‘สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซ็น’ และ ‘รมช.ท่องเที่ยว กัมพูชา’ ร่วมหารือการตั้งทีมฟุตบอลหญิงของกัมพูชา

“มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทยชุดใหญ่ และรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ให้การต้อนรับ ดร.ซก กรัดทะยา (H.E. Dr. Sok Sokrethya) ที่ปรึกษาส่วนตัว สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และคณะ ซึ่งร่วมหารือและขอคำแนะนำในประเด็น การก่อตั้งทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติกัมพูชา

โดย “มาดามแป้ง” เผยถึงการหารือครั้งนี้ร่วมกับ รมช. ท่องเที่ยว กัมพูชา ว่า “ต้องขอขอบคุณที่ให้เกียรติกับแป้ง ในฐานะคนรักกีฬาเหมือนกัน จึงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับฟุตบอลในหลากหลายแง่มุม เพราะฟุตบอลเป็นกีฬามหาชน ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวภายในประเทศ อันเป็นภารกิจหลักของท่าน ดร. ซก กรัดทะยา

 

การทางพิเศษฯ ทดลองระบบ M-Flow บนทางด่วน เริ่มทดสอบ มี.ค. 65 ใช้จริง เม.ย. 65

(8 ต.ค. 64) รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งความคืบหน้าการดำเนินการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-Lane Free Flow : M-Flow) ว่า กทพ. ได้ร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) ในการบูรณาการให้เป็นไปในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน (Single Platform System)

โดยในส่วนของ กทพ. ระยะที่ 1 จะดำเนินการที่ทางพิเศษ (ด่วน) ฉลองรัช 3 ด่าน คือ ด่านจตุโชติ ด่านสุขาภิบาล 5-1 และด่านสุขาภิบาล 5-2 ซึ่งขณะนี้ กทพ. ลงนามในสัญญาจ้างงานติดตั้งอุปกรณ์ของระบบ M-Flow และพัฒนาซอฟต์แวร์และการเชื่อมต่อระบบ M-Flow กับ Single Platform System ของ ทล. ระยะที่ 1 แล้ว มีระยะเวลาดำเนินงาน 120 วัน งานคืบหน้า 13.18%

นอกจากนี้ได้ลงนามในสัญญาจ้าง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นที่ปรึกษาบริหารโครงการ (Project Management Consultant: PMC) งานระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Free-Flow) ให้เป็นรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้สามารถดำเนินการระบบ M-Flow ได้อย่างสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ โดยที่ปรึกษาฯ จะศึกษาในรายละเอียดเพื่อประเมินความเหมาะสม และปรับปรุงการออกแบบ ทั้งในส่วนงานซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และกระบวนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังเตรียมการในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเตรียมการในเรื่องการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์

'บรูไน' โหด!! พิพากษาหนุ่ม 24 ปล้นชิงทรัพย์ ส่งเข้ากรง 7 ปี พร้อมโบยหนัก 12 ไม้

ไม่นานมานี้ คนไทยผู้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศบรูไน ได้โพสต์บทลงโทษของผู้ทำผิดในบรูไนผ่านเฟซบุ๊ก Nina Nutthinee ไว้ว่า... 

ได้รับโทษโบยหนักที่สุดตั้งแต่เคยอ่านข่าวมา

วัยรุ่นชายชาวบรูไนอายุ 24 ปี 2 คน ได้ถือมีดทำครัวเข้าไปจี้พนักงานร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่งเวลาตี 3 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา 

เขาได้เงินสดไป $400 (×24บาท) โทรศัพท์ 1 เครื่อง  

ไม่กี่วันต่อมาทางตำรวจจับตัวได้ และได้ส่งตัวขึ้นศาลเมื่อวานนี้ (7 ต.ค.64)

ศาลตัดสินลงโทษจำคุก 7 ปี และ โบย 12 ไม้ (น่าจะทยอยโบย เพราะถ้าโบยติดต่อกันอาจตายได้ เพราะไม้ใหญ่เท่าไม้พายเรือ)

คนบรูไนเค้าบอกเมื่อก่อนเวลาโบย จะถ่ายทอดให้คนดูด้วย แต่ตอนหลังเลิกไป เพราะฝรั่งมันสาระแนกันเยอะ บอกว่าป่าเถื่อน!! 

‘ทิพานัน’ วอนโรงแรมอย่าฉวยโอกาสขึ้นราคา โครงการ ‘เราเที่ยวด้วยกัน เฟส3’ ได้ไม่คุ้มเสีย คาดโทษขึ้นแบล็กลิสต์ หวั่นกระทบแผนฟื้นฟูท่องเที่ยว ย้ำรัฐบาลติดตามตรวจสอบโครงการตลอด แนะช่องทางประชาชนร้องเรียนผ่านเว็บไซต์-โทรศัพท์

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตผู้สมัครส.ส.กทม. เขตจอมทอง-ธนบุรี อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า จากกรณีที่เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 ได้เปิดให้ประชาชนจองที่พักโรงแรมได้เป็นวันแรก เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชน เร่งการฟื้นตัวการท่องเที่ยวภายในประเทศ และช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าที่พัก 40% สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องหรือต่อคืนนั้น ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนลงทะเบียนกันเป็นจำนวนมาก และมีประชาชนพบว่ามีการขึ้นราคาของโรงแรมมากกว่าราคาปกติ

'พิธา' แนะ!! รับมือโลกร้อนต้องเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ปรับพฤติกรรมอย่างเดียว ไม่พอ!!

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

เศรษฐกิจสีเขียว: การรับมือสภาวะโลกร้อนต้องใช้การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเท่านั้น

ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมาที่ผมได้ทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมได้เห็นกับตาตัวเองถึงผลกระทบของความผันผวนในสภาพภูมิอากาศต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนในภาคการเกษตร และพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม 

ปี 2563 เป็นปีที่แล้งที่สุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรติดลบ 6% และ GDP ภาคเกษตรติดลบ 1.5% ในปี 2564 ที่จังหวัดชัยภูมิซึ่งผมเดินทางไปเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา เพิ่งประสบภัยน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 50 ปี เหตุการณ์น้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหาในระดับโลก เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายุโรปก็เพิ่งเผชิญกับน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 400 ปี และในเดือนกันยายนที่ผ่านมานครนิวยอร์กก็เพิ่งเผชิญกับวิกฤติน้ำท่วมฉับพลันครั้งแรกในประวัติศาสตร์

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมาในช่วงระหว่างที่ผมกำลังเดินทางลงพื้นที่ติดตามปัญหา ที่ดิน การเกษตร และน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมในหัวข้อ Green Economic Recovery หรือการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดโดยกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR - ASEAN Parliamentarians for Human Rights)

ผมได้ย้ำต่อที่ประชุมว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิดบนฐานของเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นเรื่องที่จำเป็นต่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ยกตัวอย่างกรณีของประเทศไทยในปี 2563 GDP ของเราติดลบจากโควิด 6% แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรกับภาวะโลกร้อน วิกฤติเศรษฐกิจที่จะตามมาจะเลวร้ายกว่าในปัจจุบันอีกมาก 

จากการประเมินของบริษัท Swiss Reinsurance Company บริษัทประกันภัยต่อที่ใหญ่ที่สุดในโลก การปล่อยให้โลกร้อนขึ้นบนเส้นทางของการร้อนขึ้น 3.2 องศาเซลเซียสในปี 2643 GDP ของประเทศไทยจะติดลบสะสม 48% ในปี พ.ศ. 2591 ซึ่งจะเป็นความพังพินาศทางเศรษฐกิจที่มากมายมหาศาลกว่าวิกฤติโควิดมาก แต่ถ้าโลกสามารถจำกัดภาวะโลกร้อนได้ต่ำกว่า 2 องศาตามเป้าหมายของ Paris Agreement แล้ว GDP ของไทยจะติดลบสะสมจากโลกร้อนเพียง 5% ในปี พ.ศ. 2591

แล้วในตอนนี้ประเทศไทยอยู่บนเส้นทางไหนในการรับมือภาวะโลกร้อน? จากการประเมินของ Climate Action Tracker ซึ่งเป็น Consortium ระหว่าง 3 สถาบันวิจัยระดับโลกด้านภูมิอากาศนั้น นโยบายของประเทศไทยในด้านภาวะโลกร้อนอยู่ในระดับ “ไม่เพียงพออย่างร้ายแรง” (Critically insufficient) และจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในระดับ 4 องศา 

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือวิกฤติโควิดในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออย่างยิ่งต่อการรับมือกับสภาวะโลกร้อน การล็อกดาวน์จากโควิดนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนอย่างสุดขั้วให้คนเดินทางไปไหนไม่ได้เลยแล้วก็เป็นการลดการบริโภคของประชาชนจน GDP โลกตกอย่างมหาศาล ถึงกระนั้นทั้งโลกก็ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 6% เท่านั้นจากวิกฤติโควิด

การจะทำได้ตามเป้าหมายของ Paris Agreement ที่จำกัดสภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 - 2 องศา นั้น ทั้งโลกต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่งในปี 2573 และลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากระบบเศรษฐกิจให้เหลือศูนย์ หรือเป้าหมาย “Net-Zero Emission” ให้ได้ภายในปี 2593 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top