Monday, 20 May 2024
LITE

เปิดข้อมูลน่ารู้ การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจครั้งล่าสุด

โหมโรง! ศึกใหญ่พรุ่งนี้ ไม่ใช่แมทซ์ฟุตยอล หรือเกมกีฬาที่ไหน แต่เป็น ‘ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ’ กำลังจะเปิดฉากขึ้นอีกครั้ง และเป็นที่จับตาว่า การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจครั้งนี้ มีประเด็นที่ร้อนแรงอยู่หลายเรื่อง งานนี้ถึงขั้นวิปรัฐบาลต้องจัดติวซ้อมเข้มอภิปราย หรือเรียกว่า ‘เก็งข้อสอบฝ่ายค้าน’ กันอย่างแข็งขัน

เอาเป็นว่า ก่อนที่พรุ่งนี้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ จะเปิดฉากขึ้น เรารวบรวมข้อมูลน่ารู้ เกี่ยวกับศึกรัฐบาล vs ฝ่ายค้าน หนล่าสุดนี้ มาให้ทราบกันเสียก่อน วอร์มเครื่องก่อนฉะ เอ้ย! เปิดศึกดวลประเด็นกันในวันพรุ่งนี้!

15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ครบรอบ 67 ปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จเปิด ‘ตึกวชริราลงกรณธาราบำบัด’ ร.พ.พระมงกุฏเกล้า อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้ป่วย และต่อสู้กับสภาวะโรคโปลิโอระบาดในขณะนั้น

แม้ในวันนี้เรากำลังต่อสู้กับสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 แต่เมื่อย้อนไปในอดีตแล้ว ประเทศไทยเคยผ่านสถานการณ์การระบาดของโรคภัยต่าง ๆ มาไม่น้อย เหมือนเมื่อครั้งหนึ่ง ที่ประสบกับภาวะโรคโปลิโอระบาด แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญเหล่าของพสกนิกร จึงมีพระราชดำริให้จัดการแก้ไข และขจัดโรคนี้ให้หมดไป

เรื่องราวของโรคโปลิโอระบาดในเมืองไทย เกิดขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2495 ขณะนั้นเมืองไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอ หรือโรคไขสันหลังอักเสบ เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ในการรักษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้จัดซื้อเครื่องช่วยหายใจจากต่างประเทศ จำนวน 3 เครื่องให้กับผู้ป่วย รวมถึงพระราชทานเงินจัดตั้ง ‘กองทุนโปลิโอสงเคราะห์’ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคนี้ให้หายเป็นปกติ

ต่อมาทรงมีโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปที่ตึกรังสี รพ.พระมงกุฏเกล้า และได้ทอดพระเนตรกิจการของกองรังสีกรรมและแผนกกายภาพบำบัด ซึ่งรวมถึงงาน ‘ธาราบำบัด’ ที่เป็นหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโปลิโอ โดยเป็นการใช้น้ำช่วยพยุงร่างกายระหว่างการบริหารและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

หลังจากนั้นจึงทรงพระราชทานทรัพย์จำนวน 250,000 บาท จากกองทุนโปลิโอสงเคราะห์ เพื่อเป็นค่าเครื่องเวชภัณฑ์ และโปรดให้ก่อสร้าง ‘ตึกวชิราลงกรณธาราบำบัด’ โดยพระราชทานพระนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระยศในณะนั้น) เป็นชื่ออาคาร ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยโรคนี้

อาคารวชิราลงกรณธาราบำบัด สร้างแล้วเสร็จในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระยศในขณะนั้น) และพระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (พระยศในขณะนั้น) ได้เสด็จฯ ทรงเปิด ตึกวชิราลงกรณธาราบำบัด ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อย่างเป็นทางการ

เวลาผ่านพ้นไปจนถึงวันนี้ ปัจจุบันแทบไม่มีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโออีกแล้ว โดยเมื่อปี พ.ศ. 2557 องค์การอนามัยโลกประกาศว่าโรคโปลิโอถูกกำจัดหมดไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ไม่พบผู้ป่วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยและใส่พระทัยในการขจัดปัญหาการระบาดในครั้งนั้น

‘เพลงรัก’ เพลงไหน? ที่เหมาะกับผู้นำ นักการเมือง และนักการม็อบกันบ้าง?

สวัสดีวันแห่งความรัก ว่าแต่วาเลนไทน์ปีนี้ อาจจะต้องแสดงความรักต่อกันแบบ ‘รักษาระยะห่าง’ นิสนึง เนื่องจากพี่โควิดยังวนเวียนรอบตัวเราอยู่เลย ดังนั้น จะกอด จะหอม จะแสดงความเลิฟต่อกันแบบไหน พึงใส่ใจเรื่องความปลอดภัยกันด้วยนะจ๊ะ เอาเป็นว่า เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศวันเลิฟ ๆ แบบนี้ The States Times ขอมอบเพลงรักให้ ว่าแต่ให้ใคร? อันนี้ลองไปดู!

เริ่มต้นที่ คุณเอ๋ - ปารีณา ไกรคุปต์ มีข่าวกำลังจะถูกถอดถอนจากการเป็นสส. เนื่องจากมีประเด็นความผิดเรื่องบุกรุกที่ดิน งานนี้เลยขอบมอบเพลง ‘ผิดไปแล้ว’ ของศิลปิน มาช่า วัฒนพานิช ให้คุณเอ๋ไปฟัง ความว่า ‘ผิดไปแล้ว ผิดไปแล้ว แต่ก็ยังยืนยัน ว่าฉันตั้งใจ เอ้ย! ไม่ได้ตั้งใจ โอ๊เย...’

.

.

มาต่อกันที่ ท่านอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกฯ และ รมต.สาธารณสุข โต้โผสำคัญเรื่องปลดล็อกกัญชา ล่าสุดมีข่าวจะให้ปลูกได้บ้านละ 6 ต้น เอ้า! งั้นขอมอบเพลงนี้ให้คุณหมอหนูไปเลย ‘ฉันจะพาเธอลอย ล่องไปในอวกาศ มีแต่เธอ มีแต่เธอ..’ ล่องลอยยยย The Toys ก็มาจ้า!

.

.

อีก 2 คนที่อยากมอบเพลงรักให้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เพนกวิน-พริษฐ์ และ ทนายอานนท์ ล่าสุดถูกจับกุมในคดี ม.112 งานนี้พลพรรคสายสามนิ้วออกมาฮึ่มๆ เดี๋ยวมีปะทะ! โชคดีได้รับการปล่อยตัวไปเรียบร้อย เอาเป็นว่า โปรดใจเย็นๆ มอบเพลงรักเก่าๆ เพลงนี้ให้ไปฟังกันก่อน ‘กักขังฉันเถิด กักขังไป ขังตัว อย่าขังหัวใจดีกว่า...’ มอบเพลงจำเลยรักให้สองจำเลยเลิฟไปเรยยย์

.

.

คู่นี้ก็มีกรณี ‘รถไฟฟ้าแพงนะจ๊ะเธอ’ ท่านอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. กับ ท่านศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมต.คมนาคม ล่าสุดประกาศชะลอการขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าไปเรียบร้อย แต่ผลสรุปที่เป็นสุดท้ายจริง ๆ ยังต้องรอหารือ ว่าจะเอายังไง จะถูกลงได้ไหมจ๊ะ หรือจะแพงนะจ๊ะต่อไป ‘ได้อย่าง ก็ต้องเสียอย่าง เลือกเดินบนรางสักราง เอ้ย! เลือกเดินบนทางสักทางได้ม๊ายยย’

.

.

มาถึงท่านนี้ ช่วงนี้มีประเด็นเดือดตลอด ๆ คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ไลฟ์สดเรื่องวัคซีนไปร่วม ๆ 30 นาที แต่ผลกระทบจัดว่าหนัก หน่วง และนานแน่นอนนะจ๊ะ งานนี้วัคซีนเป็นเหตุ ทางเราเลยขอจัดเพลงนี้ ‘ฉีดยาให้ฉันตายไปเถอะหมอ นี่คือคำขอร้องของคนไข้...’ มอบให้คุณเอก ณ วัคซีนไลฟ์สดไปเลยจ้า!

.

.

มาถึงคนนี้ที่มีแควน ๆ เอ้ย! แฟน ๆ บ่นคิดถึง ตามประสาคนไกลบ้าน เผลอแผลบเดียว ไกลบ้านมาร่วม ๆ สิบปีแล้ว สำหรับ ทักษิณ ชินวัตร วาไลนเทน์นี้ทางเราก็ไม่มีอะไรจะมอบให้ นอกจากเพลงซึ้ง ๆ ช้า ๆ เพลงนี้เคยดังในยุค 90 คุณทักษิณคุ้นหูแน่นอน ‘ฉันมาไกล มาไกลเหลือเกิน ฉันเดินทางมาไกลแสนไกล...’ เดินทางไกลต่อไปนะครับทั่น!

.

.

ปิดท้ายที่ลุงตู่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ช่วงนี้คงเหนื่อยไม่เบา เพราะปัญหานู่นนี่นั่น ตบเท้ามาให้ท่านนายกฯ ได้แก้ไขแบบนันสต็อปกันเลยทีเดียว มอบเพลงนี้เป็นกำลังใจในวาเลนไทน์นี้ ‘รักเธอประเทศไทย เสียใครไม่เท่าเสียเธอ จะยอมให้ใครมาทำร้ายเธอเป็นไปได้ไง แม้ตายก็ต้องยอม...’

.

.

อ่านถึงตรงนี้ (ถ้าคุณยังตามมาอ่านจนจบนะจ๊ะ) รักชอบเพลงไหน อยากฟังกันยาว ๆ คลิ๊กไปฟังกันได้เลย ฟังเพลินๆ ในวันวาเลนไทน์ มันก็โอเคไปอีกแบบนะจ๊ะ แถมจะอินมาก ๆ ด้วย ถ้าฟังไป แล้วนึกถึงใบหน้าพวกทั่น ๆ ไป แฮ่!!

‘วันแห่งความรัก’ อีกหนึ่งวันสำคัญที่คู่รักทุกคู่ เพื่อนฝูง พี่น้อง หรือคนในครอบครัว จะมอบความรัก ความปรารถนาดีให้แก่กัน โดยวันนี้มีที่มาตั้งแต่ ค.ศ. 496 หรือเมื่อ 1,525 ปีมาแล้ว

ประวัติศาสตร์ของ ‘วันวาเลนไทน์’ เริ่มมาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิโรมัน โดยมีเรื่องเล่ากันว่า เคยมีนักบุญนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส เป็นนักบุญที่คอยจัดพิธีแต่งงานให้กับคู่รักมากมาย แต่กลับกลายเป็นความผิดรุนแรง เนื่องจากในยุคนั้นทางการมีคำสั่งห้ามบุรุษเพศแต่งงาน เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไม่ยอมออกไปร่วมรบกับกองทัพ

จากความผิดนี้เอง ทำให้วาเลนไทน์ต้องถูกจองจำ แต่แล้วเขาก็เกิดไปตกหลุมรัก จูเลีย ลูกสาวของผู้คุมขังเข้า ความรักของทั้งคู่งอกงามผ่านลูกกรงขัง แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป จากความผิดของวาเลนไทน์ ทำให้เขาได้รับโทษถึงขั้นประหารชีวิต คืนก่อนหน้านั้นเอง เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย ลงท้ายว่า ‘From Valentine’ เป็นสัญลักษณ์ของความรักอันชั่วนิรันดร์ ซึ่งภายหลังการเสียชีวิต ศพของเขาได้ถูกนำไปเก็บเอาไว้ในโบสถ์ ณ กรุงโรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270

ด้วยความรัก ความเมตตา และความกล้าหาญ เวลาผ่านมานับร้อยปี เรื่องเล่าของนักบุญคนนี้ ทำให้มีคนยกให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของความรัก โดยตั้งชื่อวันนี้ว่า วันวาเลนไทน์

แม้จะเป็นวันสากลที่ผู้คนทั่วโลกต่างรู้จัก แต่กิจกรรมในวันวาเลนไทน์ของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไปในเชิงสัญลักษณ์ บางที่มอบดอกไม้แสดงความรัก บางแห่งมอบช็อคโกแลตบอกความในใจ และอีกมากมาย แต่โดยรวมแล้ว วันนี้ถือเป็นวันที่ทุกคนมอบความรัก ความปรารถนาดีให้แก่กัน ไม่เฉพาะแค่คู่รัก แต่ยังหมายรวมถึงคนโสด พี่น้อง พ่อแม่ และสมาชิกในครอบครัวด้วยนั่นเอง


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C

วันนี้เป็นวันสำคัญที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ เมื่อ ‘ประเทศสยาม’ (ชื่อเดิมประเทศไทย) ต้องเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ให้กับประเทศฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ทั้งนี้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินเมืองจันทบุรี และต้องการให้ทหารฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากพื้นที่

วันนี้เป็นวันสำคัญที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ เมื่อ ‘ประเทศสยาม’ (ชื่อเดิมประเทศไทย) ต้องเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ให้กับประเทศฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ทั้งนี้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินเมืองจันทบุรี และต้องการให้ทหารฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากพื้นดังกล่าว

โดยหากสืบย้อนกลับไป ตามหน้าบันทึกทางประวัติศาสตร์ การถูกคุกคามของนักล่าอาณานิคมจากตะวันตกนั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มีทวีความรุนแรงมากขึ้น ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในเวลานั้น เป็นทั้งประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่แผ่อิทธิพลเข้ามา

การเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศสเริ่มต้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2430 เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองดินแดนสิบสองจุไทย จากนั้นใน ปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสก็รุกคืบมาทางเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง จนเป็นที่มาของการปะทะกันของเรือรบไทยกับฝรั่งเศส นำไปสู่ความเสียหายและการถูกปิดอ่าว ทางการไทยไม่อยากให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย จึงจำยอมต้องเสียดินแดนในส่วนดังกล่าวกว่า 140,000 ตารางกิโลเมตรไป พร้อมทำสนธิสัญญาต่อกัน

กระทั่งเวลาผ่านไป ฝรั่งเศสกลับไปยอมคืนพื้นที่เมืองจันทบุรี ที่ยึดเอาไว้เป็นประกันตามที่ตกลงกันในสัญญา โดยทำการยึดเอาไว้นานกว่า 10 ปี จนเมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. 2446 ฝรั่งเศสประกาศจะยอมถอนทหารออกไปจากจันทบุรี หากไทยยอมยกพื้นที่ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และทางใต้ตรงข้ามเมืองปากเซ ให้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน

และแล้วในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ไทยก็ยอมยกพื้นที่ดังกล่าวให้กับฝรั่งเศส เพื่อรักษาเมืองจันทบุรี และยุติปัญหาสัญญากับทางฝรั่งเศสลง

แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศสยามจะถูกคุกคามจากนักล่าอาณานิคมตะวันตกอย่างหนัก แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย ตลอดจนขุนนาง ข้าราชการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอีกมากมาย ก็ทำให้การสูญเสียในครั้งนั้น เป็นไปโดยน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อยังคงรักษาอธิปไตยแห่งความเป็น ‘สยามประเทศ’ เอาไว้อย่างดีที่สุด


ที่มา: http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=4&chap=9&page=t4-9-infodetail03.html

วันสำคัญของผู้คนที่มีเชื้อสายจีนเวียนมาอีกครั้ง กับเทศกาลตรุษจีน วันคล้ายวันขึ้นปีใหม่ ที่มีประวัติศาสตร์ ที่มา ประเพณี และรวมถึงพิธีกรรม อันเป็นเอกลักษณ์มายาวนาน

วันตรุษจีนนั้นมีมานานกว่า 100 ปี หรือกว่าศตวรรษมาแล้ว สืบค้นที่มากันว่า แรกเริ่มของวันตรุษจีนนั้น เกิดขึ้นเพื่อตั้งใจที่จะฉลองฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีน ประเทศจีนปกคลุมไปด้วยหิมะ ไม่สามารถทำการเกษตรได้ เมื่อเข้าถึงฤดูใบไม้ผลิ ชาวจีนจึงได้กำหนดให้วันแรกของฤดูใบไม้ผลิในแต่ละปี เป็นวันสำคัญที่เรียกว่า วันตรุษจีน

เอกลักษณ์สำคัญในวันตรุษจีนนั้นมีหลายประการ อาทิ การทำความสะอาดบ้านเรือน เพื่อขจัดเอาโชคร้ายออกไป ประตูหน้าต่างประดับประดาด้วยกระดาษและคำอวยพรที่มีความหมายของการอยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืน

นอกจากนี้ยังมีการไหว้เจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล และมีมื้ออาหารที่สะท้อนถึงความดีงามกับชีวิตต่อไป เช่น กินกุ้ง เพื่อให้ชีวิตรุ่งเรือง กินเป๋าฮื๊อ หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตที่ดี กินสาหร่ายจะนำความร่ำรวยมาให้ ฯลฯ

วันตรุษจีนยังถูกจัดแบ่งออกเป็น 3 วัน คือ วันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว และอีกหนึ่งกิจกรรมที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น นั่นคือ การแจกอั่งเปา โดยมีธรรมเนียมว่า ผู้ใหญ่ที่ผ่านการแต่งงานและทำงานมีรายได้แล้ว จะมอบซองสีแดง (ที่มีเงินจำนวนหนึ่งข้างใน) ให้กับเด็ก ๆ ที่มีอายุต่ำกว่า หรือยังไม่ได้ทำงาน พร้อมกล่าวสวัสดีปีใหม่

ซึ่งสีแดงของอั่งเปานั้นมีความหมายถึงโชคดี และเงินที่ใส่ในซองอั่งเปานั้น ส่วนใหญ่มักนิยมให้ลูกหลานเก็บสะสมไว้ใช้ในภายภาคหน้า เหมือนเป็นกลวิธีสอนให้เด็ก ๆ รู้จักเก็บออมเพื่อความมั่นคงในอนาคตของตัวเอง

ถึงตรงนี้ The States Times ก็ขอกล่าวคำว่า ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ คิดสิ่งใดขอให้ทุกท่าน สมปรารถนา...

‘ตรุษจีน’ ขอให้เฮงๆ กันทุกคน แต่ก่อนจะเฮง มาดูเหล่าบรรดา ‘ข้อห้าม’ ที่ไม่ควรทำในช่วงวันตรุษจีนนี้เสียก่อน ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ อ่านไว้ไม่เสียหลาย เลี่ยงได้ก็เลี่ยง นะจ๊ะ เพื่อความสบายใจ รับวันตรุษจีน

ข้อแรก ห้ามทำความสะอาดบ้าน: ข้อนี้น่าจะเคยได้ยินกันมาบ่อยๆ ชาวจีนมีความเชื่อว่า การทำความสะอาดบ้าน และการทิ้งขยะ ในวันตรุษจีน ถือเป็นการกวาดเอาโชคลาภ เงินทอง ออกไปจากบ้าน ส่วนใหญ่มักจะทำความสะอาดกันก่อนตรุษจีนหนึ่งวัน เพื่อใช้บ้านต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนเสียมากกว่า

ข้อสอง ห้ามสระผมหรือตัดผม: อันนี้มีสาเหตุคือ คำว่า ผม เป็นคำพ้องเสียงและพ้องรูปในภาษาจีน ที่แปลว่า มั่งคั่ง ดังนั้น หากสระผม หรือตัดผมในวันตรุษจีน ก็เหมือนเอาความมั่งคั่งออกไป

ข้อสาม ห้ามซักผ้า : ชาวจีนเชื่อว่า เทพเจ้าแห่งน้ำเกิดในวันตรุษจีน ดังนั้น การซักผ้าในวันตรุษจีน ก็เปรียบเหมือนการลบหลู่ท่าน

ข้อสี่ ห้ามสวมชุดขาว-ดำ: แน่นอนว่า สีดำหรือขาว เป็นสัญลักษณ์ความตาย การสวมเสื้อสีดำหรือขาวในวันนี้ จึงเสมือนลางร้าย ห้ามสวมทีเดียวเชียว ควรใส่สีแดง เพราะเป็นสีที่นำความโชคดีมาให้

ข้อห้า ห้ามพูดคำหยาบหรือทะเลาะเบาะแว้งกัน: เพราะเชื่อกันว่า การพูดสิ่งที่ไม่ดีในวันนี้ จะนำความโชคร้ายมาให้ตลอดทั้งปี นอกจากคำหยาบ ยังรวมเรื่องการพูดถึงความตาย เรื่องผี หรือเลข 4 ก็ห้ามพูด เพราะ 4 ในภาษาจีน ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ตาย

ข้อหก ห้ามกินโจ๊ก: ข้อนี้น่าสนใจ เพราะเชื่อกันว่า คนจนคือคนที่กินโจ๊กในตอนเช้า ดังนั้น วันนี้ขอเว้นสักวัน เพราะการกินโจ๊กในตอนเช้าเหมือนกับการไปขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวย เข้าใจตามนั้นนะ

ข้อเจ็ด ห้ามทำของแตก: การทำแก้วแตก จานแตก กระจกแตก หมายถึงลางร้าย ที่บอกว่าครอบครัวจะแตกแยก ควรระวังเป็นพิเศษไม่ให้ของในบ้านชำรุดในวันตรุษจีน

ข้อแปด ห้ามใช้ของมีคม: ทั้งมีด กรรไกร และทุกสิ่งอย่างที่สามารถตัดได้ เพราะเชื่อกันว่า การใช้ของมีคมตัดของ หมายถึงการตัดความโชคดีออกไปด้วย

ข้อเก้า ห้ามซื้อรองเท้าใหม่: ซื้ออะไรซื้อได้ แต่ห้ามซื้อรองเท้าใหม่ เนื่องจากคำว่ารองเท้า ในภาษาจีนออกเสียงว่า Hai ซึ่งมีเสียงคล้ายกับการถอนหายใจ เชื่อกันว่า เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นปีที่ไม่ดี

ข้อสิบ ห้ามให้ยืมเงิน: นอกเหนือจากเงิน ยังหมายถึงไม่ให้ยืมสิ่งของอื่นๆ ด้วย เพราะมีความเชื่อกันว่า การให้ยืมเงินในวันนี้ จะทำให้มีคนเข้ามาขอยืมเงินตลอด แล้วใครที่ติดเงินใคร ก็ควรไปจ่ายหนี้ก่อนตรุษจีน เพราะเชื่อกันว่า หากติดเงินใครในวันตรุษจีน จะเป็นหนี้ตลอดปีตลอดชาติ

ข้อสิบเอ็ด ห้ามเข้าไปในห้องนอนคนอื่น: ชาวจีนหลายครอบครัวมีความเชื่อกันว่า วันตรุษจีนไม่ควรเข้าไปหาใครในห้องนอน เพราะถือเป็นโชคร้าย หากว่าเจ้าของบ้านป่วย มีแขกมาเยี่ยม ก็ควรแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก อย่าให้แขกเข้าไปเยี่ยมในห้องนอน เพราะถือเป็นโชคร้าย

ข้อสิบสอง ห้ามร้องไห้: เพราะการร้องไห้ในวันขึ้นปีใหม่ จะทำให้พบกับเรื่องไม่ดี และจะเสียใจตลอดทั้งปี ว่ากันว่า วันนี้เด็กๆ จะไม่ถูกตี ไม่ว่าจะดื้อแค่ไหน เพราะขืนตีไป เกิดร้องไห้ขึ้นมา จะโชคร้ายไปทั้งปี

แต่ละข้อไม่ใช่เรื่องยาก เลี่ยงได้ก็เลี่ยงกันไป เพื่อความสบายใจกับทุกฝ่าย (โดยเฉพาะคนในครอบครัว) ขอให้ตรุษจีนปีนี้ เป็นปีที่ดีๆ ของทุกคน...นะจ๊ะ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้

‘อิสรภาพ’ เป็นความชอบธรรมของมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ ซึ่งหากย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ 31 ปีก่อน ผู้ชายที่ชื่อ เนลสัน แมนเดลา ได้รับการปล่อยตัวจากการถูกคุมขังมายาวนานกว่า 27 ปี และต่อมา เขาก็ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในที่สุด

กล่าวถึง เนลสัน แมนเดลา เขาเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ในฐานะนักเคลื่อนไหวเพื่อการต่อต้านการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมการต่อต้านในทุก ๆ วิธี ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นผู้นำกองกำลังติดอาวุธของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา ทำให้ในเวลาต่อมา ต้องถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี

กระทั่งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 เนลสัน แมนเดลา ก็ได้รับอิสรภาพ ในเวลาคาบเกี่ยวกันนั้น การถูกคุมขังของเขาก็ถูกให้เป็นกรณีตัวอย่างของความอยุติธรรมของนโยบายถือผิว ที่ทั่วโลกต้องหันกลับมาไตร่ตรอง เมื่อเวลาผ่านไป เนลสัน แมนเดลา ก็ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง ก่อนที่เขาจะก้าวสู่การเป็นประธานาธิบดีประเทศแอฟริกาใต้ในช่วงปี ค.ศ. 1994 - 1999 โดยเป็นประธานาธิบดีคนแรกของแอฟิกาใต้ที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง

แมนเดลา ถือเป็นผู้นำที่ประชาชนแอฟิกาใต้ให้ความเคารพนับถือ เขาเคยได้รับรางวัลโนเบลเมื่อ ปี ค.ศ.1993 และภายหลังที่ลงจากตำแหน่ง ยังถูกยกย่องให้เป็น รัฐบุรุษอาวุโสของประเทศ แมนเดลาเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ยังความสูญเสียมาสู่ประชาชนขาวแอฟริกาใต้ รวมถึงผู้คนบนโลกนี้ ที่ต้องสูญเสียบุรุษที่มีความสามารถ และเป็นสัญลักษณ์ของความเท่าเทียมกันของผู้คนทั้งโลก


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99_%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B2

นอกจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่คอยดูแลความปลอดภัยให้กับผู้คนในประเทศแล้ว ยังมีอีกหนึ่งบุคลากรที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั่นคือ ‘อาสารักษาดินแดน’ ซึ่งวันนี้ ครบรอบ 67 ปี ของการก่อตั้งกองอาสารักษาดินแดน และถูกยกให้เป็น ‘วันอาสารักษาดินแดน’ อีกด้วย

หลายคนอาจคุ้นเคยกับภาพเหล่าบุคลากรที่แต่งตัวเครื่องแบบคล้ายทหาร และเรียกกันจนติดปากว่า อส. ซึ่งที่มาของอาสารักษาดินแดนนี้ ต้องย้อนกลับไปเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้เป็นกองพลอาสาสมัครเพื่ออบรมข้าราชการและประชาชนให้รู้จักรักชาติ รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติ

ต่อมา ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออก พรบ.กำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ. 2481 และ พรบ.ให้อำนาจในการเตรียมการป้องกันประเทศ พ.ศ. 2484 ทั้งนี้เพื่อฝึกอบรมคนไทยให้รู้จักหน้าที่ในการป้องกันประเทศในเวลาสงคราม ด้วยกฎต่างๆ เหล่านี้เอง จึงทำให้มีบุคลากรเข้ามารับการฝึกอบรม จนค่อยๆ พัฒนากลายเป็นกำลังสำรองที่มีความพรั่งพร้อมในการป้องกันประเทศ ตลอดจนช่วยเหลือทุกข์สุขของประชาชนไปอีกทาง

เวลาผ่านมาอีกราว 13 ปี ก็ได้มีการประกาศใช้ พรบ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ขึ้น ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 พร้อมทั้งกำหนดให้วันดังกล่าว เป็นวันอาสารักษาดินแดน ไปด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันมีการเปิดรับสมัครบุคคลทั้งชายและหญิง เพื่อเข้ารับการอบรมเป็นอาสารักษาดินแดน โดยในวันนี้มีเจ้าหน้าที่ อส.อยู่กว่า 26,531 คน ประจำอยู่ 971 กองร้อยทั่วประเทศ คอยทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ถือเป็นกำลังสำรองที่มีความสำคัญและสร้างคุณประโยชน์กับประเทศชาติมาโดยตลอด


ที่มา: https://th.wikipedia.org/, https://hilight.kapook.com/view/97447, https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2568141

9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1895 126 ปี กำเนิด ‘วอลเล่ย์บอล’ หนึ่งในกีฬายอดฮิตของผู้คนทั่วโลก

หากจะไล่เรียง ‘กีฬามหาชน’ ที่คนไทยชื่นชอบ หนึ่งในนั้นต้องมี ‘กีฬาวอลเล่ย์บอล’ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะทีมวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่สร้างผลงานจนเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งครองใจแฟนๆ กีฬาชาวไทยมานับ 10 ปี ซึ่งวันนี้มีความสำคัญกับกีฬาชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวันกำเนิด ‘กีฬาวอลเล่ย์บอล’ ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก

ย้อนเวลากลับไปกว่า 126 ปี กีฬาวอลเล่ย์บอลเกิดขึ้นโดยนายวิลเลี่ยม จี. มอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A (Young Men’s Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีความประสงค์อยากให้มีกีฬาในร่มไว้เล่นกันในช่วงฤดูหนาว

นายวิลเลี่ยมได้นำตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาใช้เป็นส่วนประกอบในกีฬาชนิดใหม่ที่เขาคิดค้นขึ้น และประดิษฐ์ลูกบอลแบบใหม่ ให้มีขนาด 25 - 27 นิ้ว รวมทั้งกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8 - 12 ออนซ์ พร้อมตั้งกติกาให้มีผู้เล่นข้างละ 6 คน สามารถตีลูกบอลได้ข้างละ 3 ครั้ง เพื่อให้ข้ามไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทีแรกเขาตั้งชื่อให้มันว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

กระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1896 จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วอลเล่ย์บอล และกลายเป็นกีฬายอดฮิตในอเมริกาในช่วงเวลาไม่นานนัก ผ่านมาถึงปี ค.ศ. 1964 กีฬาวอลเล่ย์บอลก็ได้ถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อน ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งครั้งนั้น ทีมวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น และทีมวอลเล่ย์บอลชายแห่งสหภาพโซเวียต (ชื่อเดิมของรัสเซีย) ก็ได้ครองเหรียญทองโอลิมปิคเป็นหนแรก

ส่วนในประเทศไทยนั้น มีการตั้งสมาคมวอลเล่ย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น ในปี พ.ศ.2500 ก่อนที่จะกีฬาชนิดนี้ จะได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ และกลายเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจทุกครั้งที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะทีมวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่นอกจากจะสร้างผลงานจนเป็นทีมในระดับหัวแถวของโลกแล้ว ครั้งหนึ่งยังเคยสร้างเหตุการณ์ ‘วอลเล่ย์บอลไทยฟีเวอร์’ มีผู้คนต่อแถวซื้อตั๋วเข้าชมการแข่งขันของพวกเธอยาวเป็นกิโลเมตรมาแล้ว

‘คนตกงาน’ เข้ามาตรการเราชนะ ส่วน ‘คนยังมีงาน’ สามารถเข้ามาตรการ ม.33 เรารักกัน แต่สำหรับ ‘คนเพิ่งตกงาน’ จะเข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือในมาตรการใดของรัฐกันดี?

ช่วงนี้มาตรการต่าง ๆ ของรัฐทยอยออกมาช่วยเหลือประชาชนมากมาย แต่ด้วยวัตถุประสงค์ที่อยากช่วยเหลือ ‘คนทุกกลุ่ม’ จึงเป็นธรรมดาที่จะมีความทับซ้อน หรือเกิดความสับสนขึ้นได้

ยกตัวอย่างมาตรการสุดฮอต 2 โครงการนี้ ‘เราชนะ’ และ ‘ม.33 เราช่วยกัน’ ก็มีส่วนที่ทับซ้อนกัน

โดยโครงการเราชนะ มุ่งช่วยเหลือผู้ที่ตกงาน ไม่มีงานทำ เพราะผลกระทบโควิด - 19 ส่วน ม.33 เรารักกัน มุ่งช่วยเหลือผู้ที่ยังมีงานประจำทำ แต่ก็ได้รับผลกระทบจากกโควิด - 19 เช่นเดียวกัน ทีนี้ยังมีเคสกรณีของ ‘คนที่เพิ่งตกงาน’ ซึ่งก็เป็นที่น่าสนใจว่า แล้วคนกลุ่มนี้ ต้องเข้ามาตรการใดในการช่วยเหลือของรัฐ?

ล่าสุดทางสำนักงานประกันสังคม ได้ชี้แจงเงื่อนไขต่างๆ ของกรณีทำนองนี้ออกมาแล้ว The States Times รวบรวมรายละเอียดมาให้ทราบกันดังนี้..

เที่ยวคลองฝั่งธนบุรี จังหวัดที่หายไปของประเทศไทย I กบร่อน EP.9

วันนี้ 'กบร่อน' พา 'น้องเตย' ร่อนลงเรือที่คลองฝั่งธนบุรี ชวนชมบรรยากาศริมคลอง เต็มอิ่มกับวิวทิวทัศน์ และประวัติศาสตร์ของคลองฝั่งธนบุรี พร้อมกิจกรรมสนุกๆ 'กบร่อน' จะพาไปทำอะไรบ้าง ไปดูกันเล้ยย . ติดต่อล่องเรือชมคลองฝั่งธนบุรี ได้ที่ : ผู้ใหญ่กั้ม 081-300-1980


"กบร่อน" รายการที่ "กบ" จะพาคุณไป ร่อน ตามที่ต่างๆ พร้อม Guest สนุกๆ ให้เราได้รู้จักกันมากขึ้น ในสไตล์กบร่อนน 

ติดตามพิธีกรและแขกรับเชิญ กบ IG : @kobjr007 เตย IG: @Panita.toey

.

'Twenty Twenty Fox' คาเฟ่สุดชิคย่านสัตหีบ ! | Aon On Air EP.7

Aon On Airr ในวันนี้อ้อนจะพาทุก ๆ คนไปเที่ยวสถานที่ คาเฟ่สุดชิคอย่าง 'Twenty Twenty Fox' ที่ไม่ได้มีดีแค่เครื่องดื่ม ของหวาน ยังมีมุมถ่ายรูปสวย ๆ และที่สำคัญยังมีทุ่งลานดอกคัตเตอร์อีกด้วย จะสวยงามขนาดไหน ไปชมกันเลยค่า


???????????????????????? ???????????????????????? ???????????? ???? ???? ⏰ เปิดทุกวัน 10:00-20:00 น. ???? https://maps.app.goo.gl/fQCjyLL8VebrYrUr5

.

.

 

 

 

5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 กำเนิด ‘ถนนเจริญกรุง’ ถนนสายหลักที่สร้างให้ชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงสู่วิถีอันทันสมัย

ถ้าเป็นสายฮิปสเตอร์ ชื่อ ‘ถนนเจริญกรุง’ ในวันนี้ คือถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้า คาเฟ่ บูติกโฮเทลเก๋ๆ ที่ผุดขึ้นมาเรียงรายสองฝั่งถนน แต่หากสืบย้อนกลับไป ถนนที่มีความยาวกว่า 8,575 เมตร สายนี้ ได้ชื่อว่า เป็นถนนสายหลักแห่งแรกของประเทศไทย

ถนนเจริญกรุง ถูกดำริให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยเหตุที่มีชาวต่างชาติ ได้เข้ามาทำธุรกิจห้างร้าน รวมถึงที่ทำการกงสุลต่างๆ ก็ถูกก่อสร้างขึ้นในย่านนี้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้ขอให้สร้างถนนสายสำหรับขี่ม้า หรือนั่งรถม้า พระองค์จึงทรงดำริให้มีการสร้างถนนที่มีมาตรฐานขึ้น แล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ. 2407

แรกเริ่มเดิมที ผู้คนเรียกถนนสายนี้ว่า ถนนใหม่ ส่วนฝรั่งเรียกว่า นิวโรด (New Road) และชาวจีนเรียกว่า ซินพะโล้ว แปลว่า ถนนตัดใหม่ เช่นกัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า ‘ถนนเจริญกรุง’ ซึ่งมีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง

ถนนเจริญกรุงในยุคก่อน ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่ใหญ่และยาวที่สุด โดยแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ถนนเจริญกรุงตอนใน ตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็ก) และถนนเจริญกรุงตอนใต้ ตั้งแต่สะพานเหล็กออกไปนอกกำแพงพระนคร ต่อเนื่องไปถึงตลาดน้อย บางรัก จรดดาวคะนอง (ในปัจจุบัน)

เมื่อมีถนนหลักใหม่และงดงาม จึงนำมาซึ่งวิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างอาคาร ห้างร้าน บ้านเรือน ไปตลอดแนวถนน ต่อมามีการติดไฟฟ้านำทางส่องสว่าง และด้วยความสวยงามของท้องถนน ผู้คนจึงรู้จักที่จะออกมาใช้ชีวิตในยามค่ำคืนกันมากขึ้น จนเป็นที่มาของถนนที่ได้ชื่อว่า เป็นถนนที่ไม่มีวันหลับใหล ตราบจนทุกวันนี้ ‘เจริญกรุง’ ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน แม้สองข้างทางจะเก่าแก่ไปตามกาลเวลา แต่จิตวิญญาณของถนนที่ได้ชื่อว่า เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย ก็ยังคงปรากฎอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


ที่มา: https://sites.google.com/site/ibkkgroup3/home/yan-ceriykrung

‘ชื่อหวานๆ ต้องโครงการลุงตู่’ รวมรายชื่อโครงการเยียวยา ช่วยเหลือประชาชน ของรัฐบาลลุงตู่นับตั้งแต่ปี 2560-2564 ตีความง่าย ประชาชนเข้าใจได้เลย

ถามว่า อะไรเอ่ย ‘ชื่อเยอะ โครงการแยะ’ อันนี้ก็ต้องยกให้ ‘โครงการของรัฐบาลลุงตู่’ นิเอง ลองย้อนๆ เช็กดู ตั้งแต่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีมา 2 สมัย 7 ปี ทำเป็นเล่นไป มีโครงการช่วยเหลือประชาชนออกมามากมาย ไม่ต้องนับย้อนไปไกลมากถึง 7 ปีหรอก เอาแค่ 3-4 ปีให้หลังมานี้ ลุงตู่แอนด์เดอะแก๊งค์ ผุดสารพัดโครงการ ไม่ว่าจะเป็นแนวแก้ปัญหา เยียวยา หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทยอยมาเป็นชู๊ดดๆ

ช่วง 2 - 3 วันที่ผ่านมา ก็เพิ่งปล่อย ‘ม.33 เรารักกัน’ ลำพังแค่ได้ยินชื่อ ก็แอบหวานเห็นรอยยิ้มลุงตู่นำมากันเลยทีเดียว เราจึงลองสืบย้อนกลับไปดูบรรดารายชื่อโครงการมากมาย ก็พบว่า มีจุดเด่นคือ อ่านง่าย เข้าใจได้เลย และเป็นประโยคหวานๆซอฟท์ๆ อาทิ โครงการกำลังใจ, เราไปเที่ยวด้วยกัน (แนะนำว่า เวลาอ่านแต่ละชื่อ ขอให้นึกใบหน้าลุงตู่แย้มยิ้มไปด้วยนะจ๊ะ)

ข้อดีอีกประการที่หากสังเกตจะทำให้รู้ว่า บรรดาโครงการเหล่านี้ มีวิธีให้ผู้คนทุกระดับต้องเอาตัวเข้าไปสู่ ‘โลกดิจิตัล’ หรือพูดง่ายๆ คือ ต้องหัดลงทะเบียน เบิกจ่าย สั่งจอง ผ่านโลกออนไลน์ทั้งสิ้น แรก ๆ มีเสียงคัดค้านว่ายากต่อการเข้าถึง แต่ถึงวันนี้ คุณลุง คุณป้า คุณย่า คุณยาย มีสารพัดแอปฯ ของรัฐกันเรียบร้อย มันอาจจะยุ่งวุ่นวายกันบ้างในช่วงแรก แต่นี่คือกุศโลบายในการเดินหน้าเข้าสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ไปโดยไม่รู้ตัว

เล่ามาถึงตรงนี้ The States Times เลยไปรวบรวมบรรดาชื่อโครงการอ่านง่าย เข้าใจได้เลย ของรัฐบาลลุงตู่ มาให้ได้ดูกัน งานนี้ขออนุญาตย้อนถามคุณสักหน่อยว่า ชอบชื่อไหนกันบ้าง วานบอก...


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top