Friday, 19 April 2024
NEWS FEED

‘บุญชอบ’ ถือฤกษ์ เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ฯ โอกาสเข้ารับตำแหน่ง ‘ปลัดแรงงาน’ คนที่ 12

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงแรงงาน ในโอกาสรับตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงาน คนที่ 12 ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมประกาศแต่งตั้งเมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ถือฤกษ์เดินทางเข้ากระทรวงแรงงานเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วย ประกอบด้วย ศาลท้าวมหาพรหมเทวฤทธิ์ ศาลพ่อปู่ชัยมงคล พระพุทธชินราช พระพุทธสุทธิธรรมบพิตร ศาลพ่อปู่สุชินพรหมมา ณ บริเวณกระทรวงแรงงาน และพระพุทธชินราช ณ ห้องทำงานชั้น 7 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดี พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

สำหรับ นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สป.ทส.  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รองอธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อธิบดีกรมป่าไม้ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล ที่ปรึกษาประธานมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และที่ปรึกษามูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้แก่ เหรียญราชการชายแดน เหรียญกาชาดสมนาคุณ เหรียญจักรพรรดิมาลา ประถมาภรณ์ช้างเผือก และมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

พนักงานส่งของ J&T ‘ฮีโร่’ ระงับโอนเงินร้านขี้โกง เซฟลูกค้า!! หลังสั่งซื้อแท็บเล็ต แต่ได้ ‘เขียง’ แทน

เมืองไทยยังไม่สิ้นคนดี เรื่องราวดีๆ จากเพจ CocoNews ได้โพสต์เนื้อหา ว่า…

มีมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับโจรใจหยาบที่ในยุคข้าวยากหมากแพงโรคระบาดแถมมีภัยธรรมชาติ ก็ยังคงหลอกคนอื่น หากินทุจริต ซื้อขายไม่ตรงไปตรงมา แม้ของจำเป็นในการเรียนออนไลน์ของเด็กอย่าง ‘แท็บเล็ต’ จ่ายไปเกือบ 2 พัน ส่งจริงเป็นเขียงไม้ ทำหนูน้อย 6 ขวบสุดเศร้า

แต่ทางพนักงานส่งของ ได้โทรไประงับการโอนเงินให้ลูกค้า เพราะเป็นการซื้อขายเก็บเงินปลายทาง เคสนี้ จึงช่วยเอาไว้ได้ทัน ปรบมือให้ พนักงานส่งของจาก J&T รายนี้ด้วย

"อรรถวิชช์" ลงพื้นที่อยุธยา พบน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร เหตุระบายน้ำลงทุ่งรับน้ำไม่ได้ ติดถนนคันดิน - บ่อทรายเอกชน ขอเจ้าหน้าที่เร่งช่วย ประชาชนจมน้ำ ไม่มีเวลาฉลองรับตำแหน่งใหม่ 

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า พร้อมด้วยนายประวิทย์ สุวรรณสัญญา ผู้เสนอตัวสมัคร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่ให้กำลังใจ แจกสิ่งของยังชีพให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมเขต อ.ผักไห่ และ อ.บางบาล โดยนายอรรถวิชช์ กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่น้ำท่วมมาตั้งแต่นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นจุดอ่อนไหวที่สุด โดยเฉพาะคลองบางบาล , ชุมชนแม่น้ำน้อย ได้แก่ ต.หัวเวียง อ.เสนา , ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ เพราะแค่เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำเกินกว่า 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำก็ท่วมพื้นที่เหล่านี้แล้ว ซึ่งขณะนี้ระบายน้ำอยู่ประมาณ 2,775 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีแล้ว 

นายอรรถวิชช์ กล่าวว่า แม้พื้นที่นี้จะน้ำท่วมเป็นประจำ แต่ชาวบ้านบอกมาว่าครั้งนี้หนักสุดในรอบ 4 ปี ส่วนหนึ่งเพราะไม่สามารถระบายน้ำไปยังทุ่งรับน้ำที่อยู่อีกฝั่งถนนได้ เนื่องจากบริเวณทุ่งรับน้ำมีการประกอบธุรกิจบ่อทรายหลายเจ้า ชาวบ้านเลยฝากบอกมาว่า ถ้าจะไม่ระบายน้ำลงไปในทุ่ง ภาคเอกชนที่ทำบ่อทรายก็ควรช่วยเหลือประชาชนบ้าง และทราบว่าถ้าภายใน 4 วันสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ประชาชนในพื้นที่อาจเจาะคันถนนระบายน้ำออกไปในทุ่งด้วยตัวเอง 

"กรมชลประทาน ในฐานะคนทำงาน คงเข้าใจว่ามีทุ่งบางบาลคอยรับน้ำอยู่ แต่ในความเป็นจริงมีถนนคันดินและบ่อทรายเอกชน ขวางไม่ให้น้ำลงทุ่งรับน้ำ เรื่องนี้ฝ่ายปกครองของกระทรวงมหาดไทยและกรมชลประทาน ต้องลงมาดูหน้างานด้วยตัวเองแล้วรีบแก้ปัญหา" นายอรรถวิชช์ 

เปิดความคืบหน้า 6 วัคซีนโควิด ฝีมือนักวิจัยไทย ชี้ เป็นจุดเริ่มต้นความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และหน่วยงานเครือข่าย เปิดเวทีเสวนา THAILAND COVID-19 VACCINE FORUM 2021 สถานการณ์ความก้าวหน้า การพัฒนาวัคซีนไทยสู้โควิด โดยทีมประเทศไทย พร้อมอัปเดตความก้าวหน้าสถานการณ์การวิจัย พัฒนาวัคซีนของประเทศไทย รวมถึงแผนที่กำลังดำเนินงานในปัจจุบันและอนาคต

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และหน่วยงานเครือข่าย ร่วมเสวนา THAILAND COVID-19 VACCINE FORUM 2021 สถานการณ์ความก้าวหน้า การพัฒนาวัคซีนไทยสู้โควิด โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทใบยา-ไฟโตฟาร์ม จำกัด ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการไบโอเทค สวทช. ดร.ภญ.พรทิพย์ วิรัชวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด 19 HXP-GPOVac องค์การเภสัชกรรม คุณวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด และดร.ทรงพล ดีจงกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด

นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า นับตั้งแต่ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 หน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีนทั้งภาครัฐและเอกชนได้ระดมสรรพกำลังในทุกด้านร่วมกันเป็น “ทีมประเทศไทย” ร่วมดำเนินการเพื่อให้ประเทศ ได้ผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาดนี้ไปได้ ทั้งนี้ ทีมประเทศไทยได้มีการวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในหลายชนิด ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีในการเริ่มต้นเพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ

ด้าน ศ.นพ.เกียรติ ได้อัปเดตความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีน Chula-Cov 19 วัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ซึ่งเริ่มดำเนินการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1/2 ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา โดยมีการทดสอบในอาสาสมัคร 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอายุ 18-55 ปี จำนวน 36 ราย และกลุ่มอายุ 56-75 ปี จำนวน 36 ราย ฉีดวัคซีน 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์ ผลเบื้องต้นในกลุ่มอายุ 18-55 ปี พบว่าวัคซีนกระตุ้นภูมิกันได้ดี ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง โดยอาสาสมัครมีอาการข้างเคียงเล็กน้อยถึงปานกลาง อาการจะดีขึ้นภายใน 1 ถึง 2 วัน โดยอาการที่พบ ได้แก่ เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น และมักพบภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 

อย่างไรก็ตาม การทดสอบในขั้นนี้ได้ทำการทดสอบในประชากรจำนวนน้อย และยังต้องติดตามผลความปลอดภัยในประชากรที่มากขึ้น ส่วนในกลุ่มอายุ 55-75 ปี ยังอยู่ระหว่างการทดสอบ คาดว่าจะทราบผลเบื้องต้นในกลางเดือนหน้า และขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อเตรียมการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 2 ต่อไป ขณะเดียวกันก็ได้เตรียมความพร้อมขยายกำลังการผลิตวัคซีน และคาดว่าจะสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนให้กับบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรมในประเทศได้ในไตรมาสแรกของปี 2565 

พร้อมกันนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาวัคซีน Chula-Cov 19-2 ซึ่งเป็นวัคซีนรุ่นที่ 2 ที่ตอบสนองต่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์อีกด้วย ทั้งนี้ ศ.นพ.เกียรติ กล่าวเน้นย้ำว่า การที่ประเทศไทยสามารถดำเนินการพัฒนาและผลิตวัคซีนได้อย่างครบวงจรเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา ผู้ร่วมพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิด Protein subunit จากระบบการผลิต recombinant protein โดยการตัดต่อพันธุกรรมของแบคทีเรียที่ก่อโรคในพืช (Agrobacterium) ในใบยาสูบ ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาวัคซีนของบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม บริษัท startup ในเครือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า ขณะนี้วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความเป็นพิษในสัตว์ทดลองเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในระหว่างการพัฒนาได้มีการปรับสูตรวัคซีนให้สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนทำการทดสอบวัคซีนในมนุษย์ บริษัทได้ดำเนินการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรมขึ้นมา เพื่อรองรับการผลิตวัคซีนจากระบบดังกล่าว คาดว่าจะมีกำลังการผลิตจำนวน 1-5 ล้านโดสต่อเดือน 

โดยใช้ระยะเวลาในการสร้างโรงงานรวม 10 เดือน ปัจจุบันวัคซีนอยู่ในระหว่างการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 โดยได้เริ่มฉีดให้กับอาสาสมัครจำนวน 4 รายแรกตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังไม่พบข้อกังวลด้านความปลอดภัย และจะดำเนินการฉีดให้กับอาสาสมัครรุ่นแรกที่เหลืออีก 12 ราย ในวันที่ 30 กันยายน 2564 สำหรับการทดสอบในมนุษย์ของวัคซีนใบยามี ศ.นพ.เกียรติ ร่วมเป็นนักวิจัยทางคลินิกด้วย นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้พัฒนาวัคซีนรุ่นที่สอง โดยปรับปรุงสูตรด้วยการใช้ Adjuvant ชนิดใหม่ ทำให้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น และมีการพัฒนาจากเชื้อไวรัสกลายพันธุ์มากกว่า 10 รูปแบบ เพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนผสม (Cocktail vaccine) ซึ่งวัคซีนรุ่นที่สองนี้อยู่ระหว่างการทดสอบในสัตว์ทดลอง

สำหรับความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนต้นแบบของ สวทช. ดร.อนันต์ ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนชนิด Viral Vector แบบพ่นจมูกว่า สวทช. ดำเนินการวิจัยพัฒนาในสองรูปแบบ ได้แก่ การใช้ Adenovirus เป็นพาหะ (Adenovirus based) และการใช้ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นพาหะ (Influenza based) ขณะนี้ Adenovirus based อยู่ระหว่างการทดสอบในหนูทดลอง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไวต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยเป็นการเลียนแบบช่องทางการติดเชื้อในธรรมชาติ ทำให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจ และเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนชนิด Adenoviral Vector เข้ากล้ามเนื้อ 

ผลการทดลองเบื้องต้นพบว่าหนูทดลองสร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจได้ดีเทียบเท่ากันทั้งรูปแบบการให้วัคซีนทางการพ่นจมูกและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนวัคซีนชนิด Influenza based เป็นการประยุกต์ใช้ให้วัคซีนสามารถป้องกันได้ทั้งโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งวัคซีนชนิดนี้อยู่ระหว่างเตรียมการทดสอบในหนูทดลองซึ่งจะเป็นการให้วัคซีนแบบพ่นจมูก โดยการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 แบบพ่นจมูกนี้ มีทีมวิจัยจากหลายประเทศทั่วโลกใช้วิธีนี้ด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้ สำหรับแผนการขยายกำลังการผลิตวัคซีนชนิด Adenovirus based สวทช. ได้มีความร่วมมือกับบริษัท คินเจนไบโอเทค ส่วนวัคซีนชนิด Influenza based เป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. และองค์การเภสัชกรรม

ด้านความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ขององค์การเภสัชกรรมนั้น ดร.ภญ.พรทิพย์ ได้ให้ข้อมูลว่า วัคซีน HXP-GPOVac ซึ่งเป็นวัคซีนที่พัฒนามาจากไวรัสนิวคาสเซิล (NDV) ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนโปรตีนส่วนหนามของไวรัสโคโรนา (Hexapro) จากการเพาะเลี้ยงไวรัสในไข่ไก่ฟักได้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่องค์การเภสัชกรรมสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในการผลิต โดยวัคซีนชนิดนี้เกิดจากความร่วมมือของหลายหน่วยงานระหว่างประเทศ ได้แก่ สถาบัน PATH สหรัฐอเมริกา และโรงเรียนแพทย์ Mount Sinai ในนิวยอร์ก และมหาวิทยาลัยเท็กซัส และได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนชนิดนี้ให้กับหลายหน่วยงาน 

รวมถึงองค์การเภสัชกรรมด้วย ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมได้เผยแพร่ผลงานวิจัยของการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งใช้อาสาสมัครในขั้นนี้จำนวน 210 ราย ผลการทดสอบในอาสาสมัคร พบมีผลข้างเคียงอยู่ในระดับน้อยและสามารถหายได้เอง อาการทั่วไปที่พบได้แก่ ปวด บวม บริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ วัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ทั้งนี้ วัคซีน HXP-GPOVac อยู่ระหว่างการเตรียมทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 2 โดยคาดว่าจะสามารถทำการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 3 ได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 และจะสามารถขอขึ้นทะเบียนวัคซีนได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565

'ยูทูบ' สั่งบล็อกคอนเทนต์กลุ่มแอนตี้วัคซีน หวังตัดวงจรข้อมูลเท็จ หลังปล่อยเกียร์ว่างมานาน

ยูทูบเปิดเผยว่า ทางบริษัทจะบล็อกวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อต้านวัคซีนทั้งหมด ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมหลังจากที่ก่อนหน้านี้ยูทูบได้สั่งแบนข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชน

ตัวอย่างของคอนเทนต์ที่ยูทูบไม่อนุญาตให้นำขึ้นบนแพลตฟอร์ม ได้แก่ การอ้างว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก และการใช้วัคซีนชนิด MMR ซึ่งป้องกันโรคหัด โรคคางทูม และหัดเยอรมัน อาจทำให้เกิดภาวะออทิซึมได้

กทม.เตือน 11 ชุมชน ใน 7 เขตกรุงเทพฯ เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และให้ประชาชนขนของขึ้นที่สูง ซึ่งระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นช่วงวันนี้ - 5 ตุลาคม 2564 

1 ตุลาคม 2564 จากกรณีสถานการณ์ฝนตกหนักบริเวณจังหวัดที่อยู่ตอนบนของกรุงเทพฯ ทำให้มีน้ำเหนือปริมาณมากไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา โดยพื้นที่กรุงเทพฯ มีพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งมวลน้ำอาจเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในหลายพื้นที่

ด้านเฟซบุ๊กเพจ "กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์" ได้ออกประกาศเตือนโดยระบุข้อความว่า กทม. แจ้งเตือนประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่นอกแนวคันป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูง ระหว่างวันที่ 1-5 ต.ค.64 

จากการสำรวจมีบ้านเรือนประชาชนที่อยู่นอกแนวคันป้องกันน้ำท่วม 11 ชุมชน จำนวน 239 ครัวเรือน ในพื้นที่ 7 เขต ได้แก่ ดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ บางคอแหลม ยานนาวา บางกอกน้อย และคลองสาน 

ขอให้เตรียมขนย้ายสิ่งของให้อยู่ในที่สูง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนหากเกิดปัญหาระดับน้ำขึ้นสูงในช่วงเวลาดังกล่าว

อย่าชะล่าใจ!! หมอธีระวัฒน์' เตือน!! คนเคยป่วยโควิดอย่าวางใจ ติดเชื้อแล้ว มีโอกาสติดใหม่ได้ ชี้โควิดยุคนี้ คงต้องปรับเปลี่ยนตามข้อเท็จจริงและสถานการณ์อยู่ตลอด

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดังนี้...

1 - ติดโควิดไปแล้ว ติดใหม่ยังได้อยู่

ติดไปหยกๆ 3 เดือนที่แล้ว มี
อาการนิดๆ หน่อยๆ ตามกฎ ไม่ต้องตรวจก็ได้
แต่มีที่ตรวจแล้วพบไวรัสมากมาย

เลขาฯสมช.เข้าทำเนียบ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ฟิต ถก ศปก.ศบค.วันแรก หลังศบค.ผ่อนคลายมาตรการ

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)เดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล โดยเข้าสักการะท้าวมหาพรหม บนตึกไทยคู่ฟ้า จากนั้นไหว้ศาลพระภูมิ ศาลตายาย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นสิริมงคลในโอกาสรับตำแหน่งใหม่

จากนั้นเวลา09.00 น.พล.อ.สุพจน์ ร่วมประชุมศูนย์ปฎิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศปก.ศบค.)ประจำวัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยวันที่1ต.ค.นี้ ถือเป็นวันแรกของการปรับมาตรการผ่อนคลายกิจการ กิจกรรมต่างๆ

"การเดินทางของวัคซีน" จากการวางแผนสู่การปฏิบัติการกระจายวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าหนึ่งในทางออกจากวิกฤตโควิด-19 คือวัคซีน และการที่จะสร้างภูมิคุ้มกันในระดับสูง จำเป็นที่จะต้องมีการฉีดวัคซีนราวหนึ่งหมื่นล้านโดสทั่วโลกภายในสิ้นปี 2564 ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ถึงความท้าทายครั้งใหญ่ด้านลอจิสติกส์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน  สถานการณ์การแพร่ระบาดตอกย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของเครือข่ายลอจิสติกส์ระหว่างประเทศในการรองรับระบบซัพพลายเชนให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องจนถึงการจัดส่งสิ่งของจำเป็นถึงปลายทาง


วันนี้ ประเทศไทยได้รับวัคซีนไฟเซอร์ไบออนเทคแล้วรวม 3.5 ล้านโดส ซึ่งขนส่งโดยดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส โดยในจำนวนนี้เป็นวัคซีน 2 ล้านโดสที่มาถึงไทยในวันที่ 29 กันยายน จนถึงปัจจุบันดีเอชแอลได้จัดส่งวัคซีนโควิด-19 กว่า 1 พันล้านโดสไปยัง 160 ประเทศทั่วโลก นับได้ว่า ดีเอชแอลมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้มาตลอด บริษัทได้ส่งมอบบริการที่รวดเร็ว และน่าเชื่อถือสำหรับการขนส่งวัคซีนซึ่งมีข้อกำหนดที่เข้มงวดในการรักษาระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อผู้คนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ดีเอชแอลจะยังเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold chain infrastructure) ทำงานร่วมกับเครือข่ายระดับโลกที่แข็งแกร่ง เพิ่มพูนความรู้ด้านลอจิสติกส์ และประสบการณ์ของพนักงานดีเอชแอลอย่างต่อเนื่อง
โลกจะสามารถเอาชนะการแพร่ระบาดได้เร็วเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ “การกระจายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ” ดีเอชแอลดำเนินการอย่างจริงจังตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาในการสร้างและขยายเครือข่ายระดับโลกสำหรับการขนส่งด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการสินค้าเพื่อสุขภาพ (Life Sciences & Healthcare - LSH) และตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องเริ่มจริงจังกับการแก้ไขอุปสรรคด้านลอจิสติกส์ในอนาคตอันใกล้

 จากผลการศึกษาของดีเอชแอลเรื่อง Revisiting Pandemic Resilience โครงสร้างระบบลอจิสติกส์และความสามารถในการรองรับสถานการณ์แพร่ระบาดเป็นสิ่งที่ยังคงต้องรักษาระดับคุณภาพไว้ เพราะประชากรโลกยังคงต้องการวัคซีนถึง 7-9 พันล้านโดสในปีต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ และทำให้อัตราการติดเชื้อลดลง รวมถึงชะลอระยะการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ไม่รวมการผันผวนที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล 

ข้อกำหนดด้านการควบคุมอุณหภูมิที่เคร่งครัด

หนึ่งในความท้าทายสำคัญที่สุดสำหรับการกระจายวัคซีนคือ การขนส่งวัคซีนภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด โดยวัคซีนบางยี่ห้อจะต้องจัดเก็บในระดับอุณหภูมิต่ำมากที่ -80°C ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายด้านการขนส่งในระบบซัพพลายเชนทางการแพทย์ที่โดยปกติจะรองรับการจัดส่งวัคซีนที่อุณหภูมิประมาณ 2–8°C และในบางภูมิภาคไม่มีการจัดเก็บที่เอื้ออำนวยต่อการรักษาวัคซีน นอกจากนี้ ดีเอชแอลประเมินว่าจะต้องใช้พาเลทในการขนส่งมากถึง 200,000 พาเลท กล่องเก็บความเย็น 15 ล้านกล่อง และเที่ยวบินขนส่ง 15,000 เที่ยวบินไปยังจุดต่าง ๆ เพื่อรองรับการขนส่งวัคซีนหนึ่งหมื่นล้านโดสตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ 

วัคซีนเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม และจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิอย่างเข้มงวด ซึ่งนั่นหมายถึงความเสี่ยงที่สูงมาก ความผิดพลาดใด ๆ ในขั้นตอนการขนส่ง อาจหมายถึงความสูญเสียชีวิต ดังนั้นการขนส่งวัคซีนจึงต้องมีการประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และต้องอาศัยบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การกำหนดเส้นทางการขนส่งทางอากาศและทางบก การกำหนดกรอบเวลา การเลือกบริษัทขนส่ง ข้อกำหนดการขนย้ายที่เฉพาะเจาะจง และอื่น ๆ

เราใช้จุดแข็งของเราจากการมีช่องทางการขนส่งที่หลากหลาย เช่น บริการจัดส่งพัสดุ บริการขนส่งทางอากาศ และเครื่องบินเช่าเหมาลำ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านลอจิสติกส์ควบคู่กับการขนส่งด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่มีอยู่เพื่อรองรับการขนส่งวัคซีนให้เป็นไปอย่างราบรื่น ตามข้อกำหนดด้านอุณหภูมิอย่างเคร่งครัด เราได้ลงทุนในโครงสร้างการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เช่น การจัดซื้อตู้แช่แข็งสำหรับอุณหภูมิที่ต่ำมาก รวมถึงขยายการให้บริการด้าน LSH, การรับรองจาก IATA CEIV Pharma สำหรับการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ GxP (การปฏิบัติงานที่เหมาะสม) ในประเทศเยอรมัน 

การจัดส่งเวชภัณฑ์ที่สำคัญไปยังสถานที่และเวลาตามกำหนด เป็นภารกิจที่เราต้องทำให้สำเร็จลุล่วงในแต่ละวัน โดยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญดังกล่าวได้ก่อเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สถานการณ์แพร่ระบาดในปัจจุบันย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการมีระบบซัพพลายเชนที่ก้าวล้ำโดยสามารถขนส่ง จัดเก็บยาและเวชภัณฑ์อย่างปลอดภัย และน่าเชื่อถือ  

การกระจายวัคซีนจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม

โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายคลังสินค้า และความสามารถด้านการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความต่อเนื่องในการการขนส่งสินค้าเวชภัณฑ์ โซลูชั่นซัพพลายเชนแบบครบวงจร (end-to-end) และการตรวจสอบจำนวนสินค้าแบบเรียลไทม์ นั้นมีความสำคัญมากเพราะทำให้ความต้องการซื้อและความต้องการขายอยู่ในจุดที่สมดุล

เครือข่ายลอจิสติกส์ระดับโลกที่มีความแข็งแกร่ง ผ่านการรับรองตามมาตรฐานการขนส่ง และสามารถจัดเก็บผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ อย่างเช่นวัคซีน มีความจำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าเงื่อนไขต่าง ๆ และการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในทุกขั้นตอนของซัพพลายเชน ทีมงานของดีเอชแอลประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้าน LSH กว่า 9,000 คนในเครือข่ายระดับโลก รวมถึงเภสัชกรกว่า 150 คน คลังจัดเก็บสำหรับการวิจัยทางการแพทย์กว่า 20 แห่ง สถานีกระจายสินค้าที่ผ่านการรับรองกว่า 100 แห่ง คลังสินค้าที่ผ่านการรับรอง GDP กว่า 160 แห่ง ศูนย์บริการที่ผ่านการรับรอง GMP กว่า 15 แห่ง และศูนย์บริการขนส่งด่วนทางการแพทย์กว่า 135 แห่ง  ด้วยเครื่องบินที่จัดเตรียมไว้สำหรับภารกิจนี้โดยเฉพาะกว่า 280 ลำ ทั้งจากดีเอชแอล สายการบินมากมายที่เป็นพาร์ทเนอร์ และเครือข่ายเกตเวย์และศูนย์กระจายสินค้าที่ครอบคลุมกว่า 220 ประเทศทั่วโลก ดีเอชแอลจึงพร้อมในการขนส่งวัคซีนโควิด-19 ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การกระจายวัคซีนเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ไม่ใช่การแพร่ระบาดครั้งแรกที่โลกของเราต้องเผชิญ และแน่นอนว่าจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพื่อรองรับการจัดหาเวชภัณฑ์อย่างมั่นคงปลอดภัยทั้งในปัจจุบันและอนาคต รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือและมีระบบจัดการวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุข

การระบุและป้องกันวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพแต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งจำเป็นโดยต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ระบบเตือนภัยทั่วโลกที่จำต้องขยายขอบเขตเพิ่มมากขึ้น แผนป้องกันการแพร่ระบาดที่ครอบคลุม และการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) แบบเจาะจงเป้าหมาย ดีเอชแอลสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแวดวงวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอ็นจีโอ บริษัทยา ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือบริษัทลอจิสติกส์ เริ่มดำเนินการทันที 

บทความโดย คุณเฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน



 

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จัดพิธีประกาศเกียรติคุณ สำหรับกำลังพล สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่รับราชการจนเกษียณอายุราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564

ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2564 เวลา 8.30 น. พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีประกาศเกียรติคุณ สำหรับกำลังพลสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่รับราชการจนเกษียณอายุราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อเป็นการสดุดี แก่ผู้เกษียณอายุราชการ  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุตสาหะ วิริยะ ทุ่มเท กำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรม มาโดยตลอดชีวิตรับราชการ ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดพิธีสวนสนามของกองทหารเกียรติยศผสม 3 เหล่าทัพ สำหรับเทิดเกียรติ ปลัดกระทรวงกลาโหม / รองปลัดกระทรวงกลาโหม / นายทหารชั้นนายพล และกำลังพลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ ลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตึกบัญชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน)

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top