Wednesday, 2 July 2025
ECONBIZ

คลังทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้พิโกไฟแนนซ์ ช่วยรายย่อย

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ออกหนังสือขอความร่วมมือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้กับลูกหนี้ตามความเหมาะสมและตามสมควรที่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์แต่ละรายจะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ของตนเองได้

สำหรับแนวทางการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบ แบ่งเป็น

1.) ลดค่างวดหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้

2.) เปลี่ยนประเภทหนี้จากระยะสั้นเป็นระยะยาว

3.) พักชำระค่างวดหรือพักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน หรือพักเงินหรือพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย หรือวิธีการอื่นใดที่จะสามารถช่วยบรรเทาภาระหนี้กับลูกหนี้ได้ นอกจากนี้ ยังได้ขยายระยะเวลาการส่งรายงานงบการเงินสำหรับรอบปีบัญชี พ.ศ. 2563 ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2564

ทั้งนี้ หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้ของกลุ่มธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบให้กับประชาชนได้ เพราะที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เริ่มกลับมาแพร่ระบาดตั้งแต่เดือนธ.ค. 2563 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยังไม่บรรเทาเบาบางลง รวมทั้งยังได้มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ การจ้างงาน และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทยในวงกว้าง 

ประเมินตลาดที่อยู่อาศัยครึ่งหลังปีนี้ยังซม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 พบว่า กิจกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 อาจมีโอกาสขยับเพิ่มขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรก หลังจากยอดจองซื้อที่อยู่อาศัยที่หดตัวถึง 24.2% หรือมีจำนวนเหลือเพียง 2.1 หมื่นหน่วย ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี และการเปิดโครงการใหม่ของผู้ประกอบการก็มีเพียง 2 หมื่นหน่วย หดตัว 35% โดยกลุ่มที่มีกำลังซื้อและมองหาที่อยู่อาศัยน่าจะกลับมาได้บ้าง และผู้ประกอบการน่าจะกลับมาทำกิจกรรมการตลาดกระตุ้นการขายได้มากขึ้น แต่ยังนับว่าต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยภาพรวมยังไม่ฟื้น โดยเฉพาะกลุ่มระดับล่าง-กลางล่าง ที่เป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มหลัก 

“ตลาดอาจจะฟื้นตัวในระดับต่ำ จากปัจจัยหลายอย่างที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 และการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ประเมินว่า หากประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโควิดได้ในช่วงเดือนก.ค. พร้อมๆ กับการฉีดวัคซีนเป็นไปตามแผน เช่นเดียวกับการออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในประเทศได้”

ส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ทั้งปี 64 จะมีเพียง 1.76-1.82 แสนหน่วย หรือติดลบ 10.5- 7.4% ต่อเนื่องจากปี 63 ส่วนการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในช่วงครึ่งหลังของปี 64 ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยยังคงเจอโจทย์ท้าทาย เพราะนอกจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่ยังอ่อนแอแล้ว ยังมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้ง ความท้าทายในการระบายสินค้าคงเหลือ ทำให้ผู้ประกอบการต้องแข่งขันกันทำตลาดเพื่อชิงกลุ่มผู้บริโภคที่มีจำนวนจำกัดด้วย

แบงก์ชาติเปิดผลสำรวจโควิดระลอกใหม่ทำธุรกิจไทยทรุด

ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย ในเดือนพฤษภาคม 2564 พบว่า ในเดือนพฤษภาคม 2564 ระดับการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวมทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน ซึ่งถูกกดดันจากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ และผลของการแพร่ระบาดของโควิดระลอกเดือนเมษายนที่ขยายวงกว้าง ขณะที่ภาคก่อสร้างเริ่มได้รับผลจากการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในแคมป์คนงาน แต่อย่างไรก็ดีภาคการผลิตยังสามารถฟื้นตัวได้ตามคำสั่งซื้อที่ทยอยกลับมา

ทั้งนี้แต่ละธุรกิจมีมุมมองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกเดือนเมษายนแตกต่างกัน โดยภาคท่องเที่ยว คาดว่า จะถูกกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการค้า ขณะที่ภาคการผลิตได้รับผลกระทบน้อยที่สุด สอดคล้องกับการปรับตัวที่ทำได้มากกว่าธุรกิจอื่น โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในไทยที่มีแนวโน้มกลับมารุนแรงขึ้น ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่มีการใช้นโยบายสลับกันมาทำงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนธุรกิจในภาคที่ไม่ใช่การผลิตมีการใช้นโยบายอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ ลดชั่วโมงทำงาน และ หยุดงานชั่วคราวโดยไม่รับเงินเดือน รวมถึงปลดคนงานเพิ่มในบางธุรกิจ

ขณะเดียวกันจากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งจัดทำร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทย พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกปรับลดลงต่อเนื่อง ตามการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ที่รุนแรงขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังเชื่อมั่นว่าสถานการณ์จะปรับดีขึ้นในอีก 3 เดือน จากผลของการเร่งกระจายวัคซีน

สำหรับประเด็นพิเศษในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประเมินว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคแย่ลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก จากการระบาดที่รุนแรงและยืดเยื้อที่ส่งผลต่อทั้งรายได้ และความกังวลของผู้บริโภค รวมถึงมาตรการสาธารณสุขที่เข้มงวดในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ 41% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ได้ปรับลดการจ้างงานลงและมีแนวโน้มที่รายได้ลดลงตามชั่วโมงการทำงานและค่าธรรมเนียมขายลดลง และ 39% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีสภาพคล่องไม่เกิน 6 เดือน

ดีพร้อม (DIPROM) ออกนโยบายเร่งด่วนสนับสนุนผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ รับมือวิกฤติสุขภาพและแนวโน้มความต้องการในไทยที่สูงขึ้น

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เร่งขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อสอดคล้องกับแผนการพัฒนาระยะยาวของทางกระทรวงที่ต้องการยกระดับศักยภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครื่องมือและการให้บริการทางการแพทย์ให้เทียบเท่ากับระดับสากล โดยเน้นการยกระดับการแพทย์ สร้างศูนย์ทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการตรวจและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของไทยให้กับผู้ประกอบการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ในราคาที่เป็นธรรมเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ในประเทศไทยในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องมือทางการแพทย์ มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญและเร่งการสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ในการพัฒนาและผลักดันให้พร้อมรับมือวิกฤติสุขภาพได้อย่างมีสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอวที่จะช่วยประเทศไทยผ่านวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ไปให้ได้

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดีพร้อม (DIPROM) เร่งดำเนินการปรับแผนและรูปแบบการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของงบประมาณประจำปี 2564 เพื่อให้สอดรับนโยบายทางกระทรวงอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยหนึ่งในนั้นคือการเร่งสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์อย่างครอบคลุมในหลายมิติให้มีความสอดคล้องสถานการณ์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างความพร้อมในการเป็นรากฐานที่สำคัญรองรับต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันและอนาคต ด้วยการผลักดันให้เกิดความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ผ่าน 4 มาตรการเร่งด่วน ดังนี้

1.) การส่งเสริมด้านบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้มีความพร้อมและองค์ความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย การนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม รวมไปถึงสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎระเบียบและข้อบังคับของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

2.) การส่งเสริมด้านการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI และ IoT รวมถึงในกลุ่มของการบำบัดฟื้นฟู วินิจฉัย และการรักษา

โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์ร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมนั้น จะครอบคลุมทั้งในด้านของการรองรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ ชุดอุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่องสำหรับหน้ากากชนิดครอบเต็มใบหน้า (PAPR) เครื่องทวนสอบเครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Tester) ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล ระบบ AI ในการวิเคราะห์โรคปอด และเครื่องดูดละอองฝอยน้ำลาย (เครื่องมือทันตกรรม)

ทั้งนี้ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ดำเนินการโดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ภาคการศึกษา และบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงสถาบันฯ และสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.) การส่งเสริมสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ การปรับปรุง และพัฒนากระบวนการผลิตให้สามารถที่จะลดต้นทุน ลดของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต รวมถึงสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานในปัจจุบัน อีกทั้งส่งเสริมในเรื่องการวางแผนการตลาด เพิ่มมูลค่า และยอดขายอีกครั้ง

4.) การส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์ความรู้รวมถึงวิสัยทัศน์ร่วมกัน การสร้างและรวบข้อมูลเครือข่ายหน่วยทดสอบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ ให้เกิดความพร้อมทุกมิติ อีกทั้งยังร่วมกันพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

นอกจากนี้ ดีพร้อม ได้ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการวิจัยและนวัตกรรมแก่ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงหน่วยงานอื่นๆ อาทิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) อีกทั้ง ยังช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่บัญชีนวัตกรรมไทยและบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งในการสร้างความน่าเชื่อถือและสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจอีกด้วย

ทั้งนี้ ดีพร้อม ตั้งเป้าว่าภายในปี 2564 ต้องสามารถสนับสนุนผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือการแพทย์ได้กว่า 100 ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 – 2563 ดีพร้อม สามารถยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์กว่า 400 ราย อาทิ การพัฒนาชุดอุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่องสำหรับหน้ากากชนิดครอบเต็มใบหน้า บริษัท ทีเอ็มดีดี จำกัด โดยทางดีพร้อมได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านวัสดุในการผลิต ระบบในการปรับอัตราการไหลของอากาศ แบตเตอรี่ในการใช้งาน และการใช้งานร่วมกับชุดกรองเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ฯลฯ นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

THE STATES TIMES เปิดตัวไลน์แอด @THESHOPSTIMES เอาใจสาย Click...ปั้นธุรกิจ Digital Media Commerce ในคอนเซ็ปต์ โปรเด็ด ถูกคุ้ม แอดเลย แอดไลน์ @ THESHOPSTIMES ส่งดีลดีดี โปรโมชั่นเด็ด สินค้า ประเดิมเริ่มกลุ่ม ‘รถยนต์-อสังหาฯ’

สำนักข่าวออนไลน์ สำหรับคนรุ่นใหม่ THE STATES TIMES ขยายพอร์ตธุรกิจ ปั้นแนวคิดช้อปปิ้งออนไลน์คอนเทนต์ ด้วยการผสมผสานคอนเทนต์และช้อปปิ้งออนไลน์ไว้ด้วยกัน ภายใต้ชื่อ ‘THE SHOPS TIMES’

โดยตกผลึกไอเดียด้วยความเชี่ยวชาญของ THE STATES TIMES ที่มีทั้งทีมผลิตคอนเทนต์หลากสาย จนเกิดเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้า/บริการต่างๆ มาถ่ายทอดให้กระชับ เข้าใจง่าย รวมถึงการอัดไฮไลต์โดนๆ เช่น โปรโมชั่นและดีลสุดคุ้มที่มีการพูดคุยกับเจ้าของสินค้า/บริการจำนวนมาก มานำเสนอต่อผู้ติดตามทั้งในแพลตฟอร์มของ THE STATES TIMES และ สำนักข่าวการศึกษา THE STUDY TIMES

สำหรับ THE SHOPS TIMES ได้มีการพัฒนาการซื้อการขายผ่าน ไลน์แอด @THESHOPSTIMES ภายใต้ไอเดีย Click on Goods โปรเด็ด ถูกคุ้ม ซึ่งใน ไลน์แอด ดังกล่าวจะมีการคัดเลือกสินค้าและบริการคุณภาพ, จากเทรนด์สินค้ากระแสในปัจจุบัน, ความต้องการของตลาด ภายใต้ความคุ้มค่าที่ต้องจ่ายไปอย่างสมเหตุสมผลให้มากที่สุด

ทั้งนี้ในช่วงแรกนี้ THE SHOPS TIMES ได้ดีลกับกลุ่มสินค้าในฝันของใครหลายๆ คน อาทิ เช่น ‘กลุ่มรถยนต์’ กับ Autogallary ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ชั้นนำของประเทศไทย นำเสนอโปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอเมร่า

‘กลุุ่มอสังหาริมทรัพย์’ กับ True Marketing Property ที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ นำเสนอ 2 คอนโดน่าซื้อ ย่านดอนเมือง และ สุขุมวิท 34 ในราคาเริ่มต้น 3 ล้านปลายๆ

ผู้สนใจ โปรเด็ด ถูกคุ้ม อย่างสมเหตุสมผล พร้อมรีวิวจากทีมคอนเท้น จาก THE STATES TIMES ที่จะมีสินค้า/บริการมาอัปเดตอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสามารถแอดไลน์สั่งซื้อได้ทันทีที่ Line@THESHOPSTIMES


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

มาสด้าปรับทัพการบริหารองค์กรรองรับการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล ดัน ‘ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์’ กำหนดกลยุทธ์การขาย การตลาด ดีลเลอร์และลูกค้า

มาสด้าปรับทัพผู้บริหารรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลที่กำลังรุกคืบเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว โดยมอบหมายให้ นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ ขยับขึ้นดำรงตำแหน่ง รองประธานบริหารอาวุโส เพื่อเข้ามากำกับดูแลในส่วนของการกำหนดกลยุทธ์การขาย การตลาด และการพัฒนาธุรกิจของมาสด้า เนื่องจากปัจจุบันโลกของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง เกิดโอกาสใหม่ เกิดความท้าทาย และความเป็นไปได้มากมาย มาสด้าต้องยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นการปรับทัพในครั้งนี้จะทำให้องค์กรสามารถปรับตัวเข้ากับการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล และขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เร่งสร้างการเติบโตให้ยั่งยืนภายใต้การทำงานเป็นทีม หรือ One Mazda

ปัจจุบัน นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ ดำรงตำแหน่ง รองประธานบริหาร กำกับดูแลรับผิดชอบในส่วนงานการตลาดและรัฐกิจสัมพันธ์ ถูกแต่งตั้งให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รองประธานบริหารอาวุโส เพื่อกำกับดูแลในส่วนสำคัญขององค์กรระหว่างประเทศ ทั้งสายงานด้านการขาย กลยุทธ์ด้านการตลาด การกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารงานองค์กร การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ การสื่อสารการตลาด การตลาดดิจิทัล การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาธุรกิจและเครือข่ายผู้จำหน่ายทั่วประเทศ และรัฐกิจสัมพันธ์ ที่สำคัญคือการมุ่งมั่นเพื่อที่จะสร้างความพึงพอใจสูงสุดและสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป 

นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด แสดงวิสัยทัศน์ในการเข้ามาบริหารองค์กรระหว่างประเทศท่ามกลางวิกฤตที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ว่า ด้วยสปิริตและความมุ่งมั่นที่เป็นเสมือนดีเอ็นเอมาสด้ามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การปรับทัพเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกการค้าเสรียุคดิจิทัลในครั้งนี้ จะสามารถนำพาให้องค์กรก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกยุคดิจิทัลมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ทั้งในการเลือกซื้อรถและความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นมาสด้าต้องเร่งปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย โดยจะนำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาสร้างบทบาทมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่ออำนวยความสะดวกในทุกรูปแบบและตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์

“การปรับกลยุทธ์ด้วยการผนวกรวมในส่วนของการขายและการตลาด รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายผู้จำหน่ายแบบครบวงจรในครั้งนี้ มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการภายในองค์กรให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยศักยภาพของคุณธีร์ ซึ่งมีประสบการณ์การบริหารธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรภายใต้ Mazda Way และเป็นกำลังสำคัญช่วยขับเคลื่อนมาสด้ามาตลอด ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าการปรับทัพในครั้งนี้จะทำให้มาสด้าสามารถพัฒนารูปแบบและกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ ประการสำคัญคือ มาสด้า เรามุ่งเน้นการสร้างทีมบริหารโดยให้คนไทยเข้ามามีบทบาทในทุกๆ ฟังก์ชั่น ภารกิจหลักคือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้ “One Mazda” การจะประสบความสำเร็จได้นั้นอาจต้องใช้ทักษะส่วนบุคคล แต่การจะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยทีมที่แข็งแกร่ง การหลอมรวมทุกหน่วยงานเข้าสู่รูปแบบการทำงานร่วมกันอย่างมืออาชีพและไร้รอยต่อในทุกภาคส่วน จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ทั้งมาสด้า เซลส์ ประเทศไทย มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น รวมถึงผู้จำหน่าย เพื่อจะได้นำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า” นายชาญชัย กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับนายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ เริ่มต้นเข้าบริหารองค์กรกับมาสด้า ตั้งแต่ปี 2550 ในตำแหน่งผู้จัดการ กำกับดูแลด้านผลิตภัณฑ์การตลาด และขยับขึ้นเป็นผู้อำนวยการเมื่อปี 2555 ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายตลิตภัณฑ์การตลาดและนโยบายรัฐกิจ ต่อมาในปี 2558 ก้าวขึ้นมากำกับดูแลสายงานด้านการตลาด การวางแผนผลิตภัณฑ์ การสื่อสารการตลาด งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการตลาด ล่าสุดเมื่อปี 2561 ได้รับการแต่งตั้งเป็น รองประธาน กำกับดูแลสายงานการตลาด กลยุทธ์การตลาด การวางแผนผลิตภัณฑ์ การสื่อสารการตลาด งานประชาสัมพันธ์ และรัฐกิจสัมพันธ์ ภายใต้ฝ่ายการตลาดและรัฐกิจสัมพันธ์ มาจนถึงปัจจุบัน

ปตท. ผนึก ฟ็อกซ์คอนน์ พันธมิตรร่วมทุนกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์ ศึกษาการสร้างแพลตฟอร์มผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าครบวงจรในประเทศ หนุนรัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานใน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Hon Hai Precision Industry Co., Ltd.) หรือ ฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป (Foxconn Technology Group) ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) จัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย และ กรุงไทเป ไต้หวัน

โดยมี นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการ ปตท. พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อศึกษาโอกาสในการพัฒนาฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นการผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศ ให้เติบโตและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

สำหรับความร่วมมือนี้เป็นการผสานความเชี่ยวชาญของ Foxconn ที่เป็นผู้นำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก และความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงความแข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงาน ของ ปตท. ทั้งเครือข่ายพันธมิตร กลุ่มบริษัทในเครือและผู้ร่วมทุนปัจจุบัน ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการผลิต และเสริมศักยภาพระบบนิเวศ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ตลอดห่วงโซ่คุณค่ายานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้รับผลิตสินค้า (Original Equipment Manufacturers : OEMs) ในประเทศไทย ที่มีความสนใจสามารถเข้าถึงการบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำ เพื่อร่วมสร้างอนาคตแห่งการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า รูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต จะมุ่งไปด้าน GO GREEN และ GO ELECTRIC มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเดินทางของประชาชน ซึ่งในช่วงของการเปลี่ยนผ่านพลังงานดังกล่าว เราเชื่อว่าเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมจะยังเป็นพลังงานที่สำคัญ แต่ในขณะเดียวกันเราก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางพลังงานในอนาคตอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ได้เริ่มรุกเข้าสู่ EV Value Chain โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ในการพัฒนา EV Charging Platform, EV Station รวมถึงการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นความร่วมมือกับ Foxconn ในครั้งนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ เสริมสร้างทักษะและอาชีพให้กับประชาชน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตและเป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานให้กับประเทศได้ต่อไป

โดยในระยะแรก ปตท. และ Foxconn ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และส่วนประกอบหลักต่างๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้นที่ 1-2 พันล้านดอลลาร์ และจะขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจสู่เวทีโลกในอนาคต

นอกจากนี้ ยังเป็นการตอบสนองนโยบายและทิศทาง การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ที่มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

นาย ยัง ลวือ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป (Mr. Young Liu, Chairman and CEO of Foxconn) กล่าวว่า เป้าหมายของความร่วมมือในครั้งนี้ คือการเปิดโอกาสให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจทั่วโลก ได้เชื่อมต่อสังคมแห่งการเดินทางด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ความเชี่ยวชาญของ Foxconn ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมของโลก ทำให้เราผนึกความร่วมมือกับภาครัฐ และ ปตท. ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และความชำนาญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่พร้อมสำหรับอนาคต

โดยที่ผ่านมา ปตท. ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จพลังงานและแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ Foxconn จะสามารถแบ่งปันความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งขึ้น เรามุ่งหวังที่จะเห็นประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

 

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/941056


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

“บิ๊กตู่” ถก ครม.จับตาพิจารณามาตรการลดค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิดวงเงิน 1.4 แสนล้านบาท มีผู้เข้าข่าย 51 ล้านคน

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งยังคงเป็นการประชุมผ่านระบบ Video Conference จากห้องประชุมชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ส่วนรัฐมนตรีคนอื่น ยังคงใช้ห้องทำงานของกระทรวง บางส่วนใช้ห้องประชุม สลค.และบางส่วน ใช้ห้องประชุมที่อาคารรัฐสภาเนื่องจากจะต้องชี้แจง เกี่ยวกับการใช้งบประมาณของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่มีการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวันเดียวกันนี้

ส่วนวาระการประชุมที่สำคัญ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเสนอ ครม.อนุมัติมาตรการลดค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิดของ 4 มาตรการ วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท โดยมีผู้เข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการกว่า 51 ล้านคน เช่น โครงการเติมเงินให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เป็นต้น และมีรายงานว่า ครม.วันนี้ อาจจะมีการเสนอเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกรุงเทพมหานครออกไปอีก 30 ปี โดยอัตราราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 65 บาทตลอดสาย 

ครม.เตรียมเคาะมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ 1.4 แสนล้าน

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบ Video Conference วันที่ 1 มิถุนายน 2564 มีวาระน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเศรษฐกิจเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา โดยกระทรวงการคลังเสนอมาตรการเพื่อดูแลประชาชนจากผลกระทบของโควิด-19 ระยะที่ 2 รวมทั้งหมด 4 มาตรการ ภายใต้กรอบวงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท โดยจะเริ่มใช้ในเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2564 ซึ่งนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ยอมรับก่อนหน้านี้ว่า ด้วยมาตรการทั้งหมด จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยปีนี้ให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 1.5-2.5%

สำหรับมาตรการทั้ง 4 ประกอบด้วย

1.) มาตรการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 วงเงิน 9.3 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 31 ล้านคน ให้สิทธิ์ใช้จ่ายไม่เกิน 150 บาท วงเงิน 3,000 บาทต่อคน 

2.) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โดยโครงการนี้รัฐบาลคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ 4 ล้านคน (จากกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อประมาณ 6 ล้านคน) โดยภาครัฐจะสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voucher) สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยผู้เข้าโครงการจะได้รับการสนับสนุน E-Voucher จากภาครัฐในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. 2564 เพื่อไปใช้จ่ายในเดือน ส.ค.-ธ.ค.2564 โดยใช้เงินในโครงการนี้ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท 

3.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ธ.ค.2564 ครอบคลุมประชาชนประมาณ 13.6 ล้านคน โดยให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน วงเงินประมาณ 1.64 หมื่นล้านบาท 

4.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ รวมทั้งกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุด้วย จำนวน 2.5 ล้านคน เดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน วงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท 

กระทรวงอุตสาหกรรม ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ฝ่าวิกฤต COVID-19 ระลอกใหม่ ผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยการพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด ไม่เกิน 6 เดือนและไม่เกินสิ้นปี 2564 ผ่าน SME D BANK เริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2564

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนพัฒนา เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ ได้เข้ามาซ้ำเติมผลกระทบ จากสถานการณ์ในรอบแรกที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SME) ส่วนใหญ่ของประเทศ ยังไม่สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ ให้กลับสู่ภาวะปกติได้ และสร้างความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ กระทรวงอุตสาหกรรม เล็งเห็นถึงสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งและสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไปแล้ว 2 ครั้งด้วยการพักชำระหนี้ และให้บริการความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีในเรื่องการตลาด การเงิน และระบบบัญชี ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมในโครงการดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 3,300 ราย

แต่เนื่องจากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้ให้มีสภาพคล่อง และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงภาววะวิกฤต รวมทั้งยังเป็นการลดแนวโน้มการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จึงมีมติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ ที่ยังไม่ด้อยคุณภาพ (Non NPL) หรือไม่อยู่ในระหว่างที่ถูกกองทุนดำเนินคดี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้สามารถยื่นความประสงค์ขอพักชำระหนี้เงินต้นกับทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) โดยสามารถพักชำระหนี้ได้สูงสุด ไม่เกิน 6 เดือน และไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2564

“จากภาระที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทางกองทุนฯ มองเห็นความพยายามช่วยเหลือตัวเองอย่างสุดกำลังของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาโดยตลอด จึงต้องการเป็นอีกพลังช่วยสนับสนุนให้เอสเอ็มอีสามารถก้าวผ่านวิกฤตไปได้อีกครั้ง โดยออกมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 3 นี้ เป็นมาตรการต่อเนื่องจากการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้า ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเอสเอ็มอี โดยเฉพาะรายเล็กที่ประสบปัญหาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และคาดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงานได้ไปจนถึงสิ้นปีนี้” นายกอบชัยฯ กล่าว

ทั้งนี้ ลูกหนี้สินเชื่อของกองทุนฯ สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้น พร้อมขอรับการส่งเสริมพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การตลาด การผลิต การเงินและบัญชี ได้ที่ SME D BANK ทุกสาขาทั่วประเทศในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ได้ตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร 1357


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2564 มีระดับอยู่ที่ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2564 มีระดับอยู่ที่ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจของโลกมีแนวโน้มดีขึ้นจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะคู่ค้าหลักของไทย ประกอบกับมาตรการภาครัฐที่ออกมากระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความเชื่อมั่นในภาคการผลิตการบริโภค ส่งผลให้การส่งออกเดือน เม.ย. มีมูลค่าเหนือระดับ 2 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยรวม 4 เดือนแรกปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.38 และมีอัตราการใช้กำลังผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมมีสัญญาณดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสะท้อนได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยในเดือนเมษายน 2564 MPI อยู่ที่ระดับ 91.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดผลกระทบจากการระบาดรอบแรกของไวรัสโควิด-19 มากที่สุด

เหตุผลมาจากทิศทางเศรษฐกิจของโลกที่ดีขึ้นสะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวโน้มภาคการผลิตของประเทศเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่ไม่ได้ส่งผลต่อการผลิตในภาพรวมและกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างภาคการผลิตอุตสาหกรรม ยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นตามทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมาย

"ในช่วงเวลานี้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ถือได้ว่าเป็นกลจักรสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้" นายสุริยะกล่าว

ด้านนายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI ในเดือนเมษายน 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ รถยนต์ที่ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล โดยตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 4 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.38 อัตราใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 65.48 เนื่องจากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตหลายราย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19

ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 75.61 จากความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเนื่องจาก Work From Home เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เริ่มดีขึ้นจึงมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ส่วนเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 29.2 ขยายตัวเกือบทุกรายการสินค้า เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณเหล็กในตลาดโลกลดลงโดยจีน ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศให้ดีขึ้น จึงสั่งปิดโรงงานเหล็กที่ผลิตไม่ได้ตามมาตรฐานส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง ประกอบกับในช่วงนี้สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเริ่มมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของโลกปรับตัวสูงขึ้น จากทั้งสองปัจจัยหลักข้างต้นจึงทำให้การผลิตเหล็กของไทยเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาเหล็กและความต้องการที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

นายทองชัย กล่าวต่อว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 16,178.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 45.69 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2563 และขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 13.09 เป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 36 เดือน โดยกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้น 1.46 และสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เป็นต้น การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 26.82 สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งจากตัวเลขทั้งภาคการส่งออกและการนำเข้าสะท้อนให้เห็นถึงภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ได้ว่าตัวเลข MPI ในเดือนถัดไปจะมีทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน

***สรุปอุตสาหกรรมหลักที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัวในเดือนเมษายน 2564...

>> รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 288.06 จากรถปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก จากในปีก่อนมีการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตหลายราย หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดโควิด-19

>> เบียร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 515.18 เนื่องจากสงกรานต์ปีนี้ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ แม้ว่าจะมีการควบคุมในบางพื้นที่

>> เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 57.38 ผู้ผลิตมีการพัฒนาสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการและจัดรายการส่งเสริมการขายกระตุ้นการจำหน่ายในประเทศให้เพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ของประเทศคู่ค้าหลักเริ่มคลี่คลายทำให้การดำเนินการส่งออกกลับมาเป็นปกติหลังจากการปิดช่องทางขนส่ง

>> เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.23 จากเหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กเคลือบสังกะสี และเหล็กเส้นข้ออ้อยเป็นหลัก จากที่ปีก่อนลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อตามความต้องการใช้หดตัว รวมทั้งมีผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราวในปีก่อน

>> ยางรถยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.74 จากยางนอกรถยนต์นั่งยางนอกรถบรรทุกรถโดยสาร และยางนอกรถกระบะ


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผลการศึกษาผลิตภาพ การผลิตรวม ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง พบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.45 ต่อปี สะท้อนภาพความแข็งแกร่งภาคอุตสาหกรรมยังไปได้ดี

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผลการศึกษาผลิตภาพ การผลิตรวม ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง พบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.45 ต่อปี สะท้อนภาพความแข็งแกร่งภาคอุตสาหกรรมยังไปได้ดี

แนะต้องเพิ่มประสิทธิภาพ หรือคุณภาพอย่างต่อเนื่องผ่าน 5 กลไกสำคัญ ได้แก่ ทักษะแรงงาน เครื่องจักรอัตโนมัติ/กึ่งอัตโนมัติ การบริหารจัดการทั้งด้านต้นทุนและการเงิน การยกระดับการผลิตไปสู่รูปแบบการผลิตแบบ ODM และ OBM รวมถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีและวิจัยพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนและรักษาความสามารถในการผลิตให้สามารถแข่งขันได้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำหนดให้การเพิ่มผลิตภาพของประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580 ทั้งนี้ สศอ. ได้ทำการศึกษาผลิตภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity : TFP) ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นประจำทุกปี จากแบบแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการ ร.ง.9 เพื่อวิเคราะห์ความสามารถ ในการผลิตและการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยผลการศึกษาพบว่า ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2560-2563) ประสิทธิภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity : TFP) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.45 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคอุตสาหกรรมที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่า ผลิตภาพการผลิตที่มีการเติบโตที่สูงกว่านั้นมีความแข็งแกร่งและเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะปัจจัยเชิงคุณภาพที่เสมือนเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญของภาคการผลิตให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะต้องเผชิญกับสภาวะความผันผวนรุนแรงทางเศรษฐกิจและสังคม การแข่งขัน ที่สูงมากขึ้นทั้งในเรื่องการส่งออก และการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งข้อจำกัดด้านแรงงาน

นายสุริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก โรคระบาด หรือสงครามระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งในด้านประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนรักษาความสามารถในการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ โดยมี 5 กลไกสำคัญ คือ

1.) การพัฒนาทักษะแรงงาน

2.) การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ/กึ่งอัตโนมัติ

3.) การบริหารจัดการด้านต้นทุนและการเงิน

4.) การยกระดับการผลิตไปสู่รูปแบบการผลิตแบบรับจ้างออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ODM) และการออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้ แบรนด์ของผู้ประกอบการ (OBM) ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น และ

5.) การลงทุนด้านเทคโนโลยีและวิจัยพัฒนาในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การจัดการ และการสร้างนวัตกรรมในสินค้า มีการจดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตรต่างๆ ที่จะนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้นั้นถือว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงมากให้กับสินค้าและเศรษฐกิจของประเทศ

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สศอ. ให้ความสำคัญและติดตามผลิตภาพการผลิต (Productivity) อย่างต่อเนื่อง โดยการเผยแพร่สร้างการรับรู้ให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดการตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอผ่านการดำเนินงานในโครงการสำคัญต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงาน สนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและกระบวนการผลิต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยปี 2563 ได้ดำเนินงาน อาทิเช่น โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับสถานประกอบการแปรรูปอาหาร ด้าน IoT Solution System โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรมสาขาอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกระบวนการผลิตอัจฉริยะสาขาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเพื่อรองรับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และโครงการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่ความเป็นโรงงานอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามแนวทางอุตสาหกรรม 4.0 เป็นต้น

นายทองชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาและยกระดับผลิตภาพต้องใช้เวลาและความต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างจริงจัง อย่างไรก็ดีประเทศไทยยังมีจุดแข็งในหลายเรื่อง เช่น ความพร้อมด้านการเกษตร และความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานในหลายๆ อุตสาหกรรม ซึ่งต้องช่วยกันรักษาจุดแข็งเหล่านี้ท่ามกลางความท้าทายในระยะยาวที่กำลังเกิดขึ้น โดยการช่วยกันพัฒนา 5 กลไกสำคัญที่ได้กล่าวข้างต้น ซึ่งไม่เพียงจะช่วยเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจ แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาส โดยยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.2/2 ตอน เปิดทางรอด SMEs ‘สร้างเศรษฐกิจ เพื่อคนตัวเล็ก’ ในภาวะ ‘ความหวัง’ ที่ไม่ได้เกิดกับ SMEs ไทยทุกราย 

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้  EP.2/2 ตอน เปิดทางรอด SMEs ‘สร้างเศรษฐกิจ เพื่อคนตัวเล็ก’ ในภาวะ ‘ความหวัง’ ที่ไม่ได้เกิดกับ SMEs ไทยทุกราย 

รู้จัก ‘หมู-วรวุฒิ อุ่นใจ’ รองหัวหน้าพรรคกล้า ขุนพลเศรษฐกิจสาย SMEs 
ผู้กล้าทิ้งธุรกิจพันล้าน (B2S-OfficeMate) ทะยานสู่รั้วการเมือง 
กับความตั้งใจที่จะขอนำประสบการณ์ที่มี ช่วยเหลือ SMEs ไทย ให้ไปรอด!!

ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES 
.

.

ประกันสังคมลดเงินสมทบช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตน กระทบโควิด-19 นายจ้าง ผู้ประกันตนม.33 ร้อยละ 2.5 - ม.39 เหลือเดือนละ 216 เริ่ม มิ.ย.- ส.ค. 64 นี้

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ลงนามในประกาศกฎกระทรวง กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่3) พ.ศ.2564 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 โดยมีผลบังคับใช้ งวดเดือนมิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ.2564 ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้าง และผู้ประกันตน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประกาศกฎกระทรวง ได้กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบ โดยให้จัดเก็บเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33 เดิมร้อยละ 5 ลดลงเหลือร้อยละ 2.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน (ค่าจ้างสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ถูกหักเงินสมทบ 375 บาท) และผู้ประกันตนมาตรา 39 เดิมร้อยละ 9 ลดลงเหลือร้อยละ 4.5 (จากเดิมที่จ่ายเดือนละ 432 บาทเหลือ 216 บาท) สำหรับรัฐบาลยังคงส่งเงินสมทบในอัตราเดิม คือร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่าการลดเงินสมทบครั้งนี้จะช่วยลดภาระ แก่นายจ้าง 4.85 แสนราย ลดค่าใช้จ่ายลงได้ 9,487 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและรักษา การจ้างงานต่อไปได้ ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับประโยชน์จำนวน 11.1 ล้านคน ลดภาระค่าใช้จ่าย ลงได้ 9,487 ล้านบาท และผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1.8 ล้านคน ลดค่าใช้จ่ายลงได้ 1,189 ล้านบาท และเมื่อรวมผู้ประกันตนทั้ง 12.9 ล้านคนแล้ว จะลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 10,676 ล้านบาท คาดว่าจะเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 20,163 ล้านบาท จึงขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในการดำเนินงาน ของสำนักงานประกันสังคม ที่พร้อมดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แก่นายจ้าง และผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ให้มากที่สุด

สตาร์ทอัพมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสัญชาติไทย 'ETRAN' ระดมทุนระดับ Serie A ได้กว่า 100 ล้านบาท

Startup สัญชาติไทย 'อีทราน' (ETRAN) สามารถระดมทุนสู่ระดับ Series A มูลค่าราว 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 100 ล้านบาท จากนักลงทุนอิสระ และ บริษัท เอ็น.ดี.รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NDR ผู้ผลิตและจำหน่ายยางล้อรถมอเตอร์ไซค์สัญชาติไทย โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนนั้น ทางอีทรานจะนําไปลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น เช่น แบตเตอรี่ และมอเตอร์สมรรถนะสูง รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตที่คํานึงถึงการเกิดลดมลภาวะในทุกขั้นตอน

ทั้งนี้ เป้าหมายของ ETRAN ได้แก่...

1.) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้เป็นแสนต้น

2.) ทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น มีเงินเหลือ ลดต้นทุนค่าน้ำมัน เพราะพลังงานไฟฟ้าสามารถผลิตได้จาก Renewable Source ได้ จะช่วยให้คนขับวินมีค่าใช้จ่ายลดลง (ค่าน้ำมัน ค่าเช่าซื้อ) ส่งผลให้มีเงินเก็บมากขึ้น และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

3.) ต้องตอบแทนสังคมได้ ทำให้โลกดีขึ้นได้ เพราะการมีรถแบรนด์ไทยดีต่อระบบเศรษฐกิจ และทำให้มีการเรียนรู้เทคโนโลยีในภาคการศึกษา คนมีคุณภาพดีสังคมก็ดีขึ้น และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน เป็นความสมดุลทุกด้านตามที่ ETRAN เป็นสตาร์ทอัพที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

โดยในปีนี้ อีทรานจะเปิดตัว 2 รุ่นแรก ได้แก่ KRAF และ MYRA โดยสําหรับ MYRA นั้น นับเป็นมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบมาเพื่อการขนส่งโดยเฉพาะ ทำความเร็วได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางวิ่งต่อ 1 การอัดประจุ ได้ 180 กิโลเมตร รองรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่ผ่าน Battery swapping staion ที่อีทรานจะทยอยติดตั้งในบริเวณกรุงเทพมหานครกว่า 100 สถานี นอกจากนี้ ตัวรถยังติดตั้ง กล่องขนส่ง ตู้เย็น อุปกรณ์ติดตาม และระบบบริหารจัดการเครือข่ายขนส่งขนาดใหญ่ รองรับตลาดกลุ่ม Delivery ที่กําลังเติบโตเป็นอย่างมากใน 1-2 ปีที่ผ่านมา

“ตามแผนการดำเนินธุรกิจ อีทรานในปี 2565 ตั้งเป้ารายได้ประมาณ 400-500 ล้านบาท และปี 2566 คาดว่ารายได้จะเติบโตถึง 1,000 ล้านบาท” นายสรณัญช์ กล่าว

 

ที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2129432910532322&id=1233859410089681


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top