Sunday, 6 July 2025
ECONBIZ NEWS

กรมการค้าภายใน ถกแพลตฟอร์ม ‘เดลิเวอรี่’ ทั้งส่งอาหารและขายสินค้าออนไลน์ ห้ามขึ้นค่าบริการ หวั่นซ้ำเติมเพิ่มภาระให้ประชาชนช่วงไวรัสโควิดระบาด

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้หารือร่วมกับผู้ให้บริการส่งอาหารและแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ ทั้ง 11 แพลตฟอร์ม ได้แก่ Lineman, GRAB, Foodpanda, Robinhood, Gojek, Lazada, Shopee, JJmall, ไปรษณีย์ไทย, Ohlala Shopping และ Lalamove เพื่อร่วมกันพิจารณาและขอความร่วมมือดูแลประชาชนในช่วงที่เกิดไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก โดยจากหารือผู้ให้บริการยืนยันว่า ไม่มีการปรับขึ้นราคาค่าบริการขนส่งเดลิเวอรี่อย่างแน่นอน และหลายแพลตฟอร์มมีการจัดโปรโมชั่น เพื่อช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว

ส่วนการเก็บค่าค่าคอมมิชชั่น บางรายให้ร้านค้าเลือกที่จะจ่ายค่าค่าคอมมิชชั่นหรือไม่ ขณะที่บางรายก็ไม่มีการเก็บค่าค่าคอมมิชชั่น หรือเก็บแค่เฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ตามได้ขอให้แพลตฟอร์มที่มีการเก็บค่าค่าคอมมิชชั่น กรมฯ ได้ขอให้พิจารณาปรับลดค่าค่าคอมมิชชั่น เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารที่ไม่สามารถให้บริการนั่งทานในร้านได้ในช่วงนี้

นายวัฒนศักย์ กล่าวว่า ได้เน้นย้ำให้แพลตฟอร์มพยายามรักษามาตรฐานสุขอนามัยของพนักงานส่งสินค้า เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน รวมทั้งให้แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ดูแลร้านค้าที่จำหน่ายหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ห้ามขายเกินราคาที่กำหนด และต้องแสดงราคาให้ชัดเจนอีกด้วย

พาณิชย์ คุมเดลิเวอรี่ สั่งห้ามขึ้นค่าบริการช่วงโควิด 

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้หารือร่วมกับผู้ให้บริการส่งอาหารและแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ ทั้ง 11 แพลตฟอร์ม ได้แก่ Lineman, GRAB, Foodpanda, Robinhood, Gojek, Lazada, Shopee, JJmall, ไปรษณีย์ไทย, Ohlala Shopping และ Lalamove เพื่อร่วมกันพิจารณาและขอความร่วมมือดูแลประชาชนในช่วงที่เกิดไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก โดยจากหารือผู้ให้บริการยืนยันว่า ไม่มีการปรับขึ้นราคาค่าบริการขนส่งเดลิเวอรี่อย่างแน่นอน และหลายแพลตฟอร์มมีการจัดโปรโมชั่น เพื่อช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว 

ส่วนการเก็บค่าค่าคอมมิชชั่น บางรายให้ร้านค้าเลือกที่จะจ่ายค่าค่าคอมมิชชั่นหรือไม่ ขณะที่บางรายก็ไม่มีการเก็บค่าค่าคอมมิชชั่น หรือเก็บค่าเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ตามได้ขอให้แพลตฟอร์มที่มีการเก็บค่าค่าคอมมิชชั่น กรมฯได้ขอให้พิจารณาปรับลดค่าค่าคอมมิชชั่น เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารที่ไม่สามารถให้บริการนั่งทานในร้านได้ในช่วงนี้

นายวัฒนศักย์ กล่าวว่า ได้เน้นย้ำให้แพลตฟอร์มพยายามรักษามาตรฐานสุขอนามัยของพนักงานส่งสินค้า เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน รวมทั้งให้แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ดูแลร้านค้าที่จำหน่ายหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ห้ามขายเกินราคาที่กำหนด และต้องแสดงราคาให้ชัดเจนอีกด้วย

ผู้บริหาร ธุรกิจอาหาร ฟู้ดแพชชั่น เจ้าของแบนด์ บาร์บีคิว พลาซ่า โอด ระบาดระลอก 3 แสนสาหัส ฝากถึงผู้รับผิดชอบ หลังพบยอดขายในหนึ่งวันของร้านอาหารในเครือ ตกต่ำสุด ๆ ปิดยอด 0 บาท เชื่อร้านอื่น ๆ ก็เจอวิกฤติเหมือนกัน

นางสาวบุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการสร้างโอกาสทางการตลาดกลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของแบรนด์ร้านอาหารบาร์บีคิว พลาซ่า, จุ่มแซ่บฮัท, ฌานา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เปิดเผยถึงยอดสั่งซื้ออาหารในเครือ 0 บาท และยังฝากถึงผู้มีส่วนรับผิดชอบในประเทศไทย ว่า...

หลายวันที่ผ่านมา ถูกชวนคุยเรื่องสถานการณ์ร้านอาหารเยอะไปหมด บางเรื่องก็ตอบได้ บางเรื่องก็ตอบไม่ได้

Covid 3 ครั้งนี้ ไม่ต่างกับซูนามิ!! กระหน่ำซ้ำในที่เดิมแบบที่ผู้คนรู้ทั้งรู้ว่า...ซูนามิมา แต่ไม่รู้จะหนีตายไปทางไหน...

Food passion เองก็โดนซูนามิครั้งนี้ไม่ต่างกับพี่น้องร้านอาหารอื่น ๆ เมื่อวาน 1 ในสาขา 1 ในแบรนด์ในเครือ 0 บาทคะ!!

แต่บอกตรง ๆ เราที่เจอแบบนี้ อาจเป็นแค่ 1 ในตัวอย่างของร้านอาหารที่เจอแบบนี้ ยังมีร้านเล็ก ๆ ร้านกลาง ๆ หรือร้านใหญ่ ๆ ก็คงไม่ต่างกัน

ขอฝากโพสนี้ไปถึงผู้มีส่วนรับผิดชอบในประเทศไทย หากยังดำเนินแบบนี้ธุรกิจรายย่อย ๆ ที่ไม่มีสายป่าน ไม่มี connection เขาจะอยู่อย่างไร...ไม่ใช่แค่ธุรกิจร้านอาหาร แต่ยังมีอีกหลายธุรกิจที่กำลังนับถอยหลังระเบิดเวลา...กับถังออกซิเจนถังสุดท้าย

มาถึงบรรทัดนี้ ไม่ใช่แค่คิดให้บริษัทตัวเองรอด ยังคิดเผื่อผู้คนที่เดือดร้อน ผ่านทั้งตัวเองและผ่านไปยังบริษัท

แม้ไม่ได้อยู่ในบทบาทนั้น แต่คิดว่าในฐานะคนไทยคนนึงที่ยังมีสมอง สองมือ ใจที่แข็งแกร่ง ก็คงยังเป็นสิ่งที่ควรทำต่อไป...

บอร์ด ธอส. เคาะ 2 มาตรการพักหนี้รายย่อย 3 เดือน

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ธอส. เห็นชอบให้ จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยจะออก 2 มาตรการใหม่ พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และ พักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.90% ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่สถานะ NPL และลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ เปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่านแอปพลิเคชั่น GHB ALL ระหว่างวันที่ 11-29 พ.ค. 2564 

สำหรับมาตรการพักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน (1 พ.ค. – 31 ก.ค. 2564) สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (ไม่เป็น NPL ไม่อยู่ขั้นตอนของกฎหมาย และไม่อยู่ระหว่างทำข้อตกลงประนอมหนี้) ครอบคลุมทั้งลูกค้าที่ไม่เคย หรือเคยใช้ หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการความช่วยเหลือเดิมของธนาคาร และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากโควิด-19 รวมถึงยังไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามสัญญาเงินกู้ 

ส่วนมาตรการพักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.90% ต่อปี ระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน (1 พ.ค. – 31 ก.ค. 2564) สำหรับลูกหนี้ที่สถานะ NPL และลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะพ้นสิทธิการปรับโครงสร้างหนี้ที่ใช้อยู่หากใช้มาตรการที่ 14 และต้องเป็น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจากโควิด-19 และไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้หรือข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้หรือตามคำพิพากษา

รัฐเตรียมเก็บค่าเหยียบแผ่นดินต่างชาติ 1 ม.ค.นี้ 

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) วันที่ 7 พฤษภาคมนี้ ว่า จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเริ่มการจัดเก็บและการบริหารจัดการค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวที่เรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คนละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 300 บาท ในวันที่ 1 ม.ค.65 เป็นต้นไป เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยว 

รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อประกันภัยให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในระหว่างท่องเที่ยวภายในประเทศ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุต่างๆ และสามารถนำมาเยียวยาผู้ที่เดือดร้อนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ในช่วงเกิดวิกฤตเหมือนที่เกิดไวรัสโควิดระบาดในตอนนี้

สำหรับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมครั้งนี้ ถือว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยนำมาสมทบในกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยว รวมถึงการซื้อประกันภัยแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติระหว่างท่องเที่ยวภายในประเทศไทย 

พร้อมกันนี้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ยังจะหารือถึงการเพิ่มพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มอีก 4 พื้นที่ คือ กรุงเทพฯ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และบุรีรัมย์ ซึ่งเพิ่มเข้ามาล่าสุด เพื่อรองรับการจัดโมโตจีพีช่วงประมาณเดือนต.ค.นี้ โดยทุกพื้นที่จะเปิดให้ดำเนินการได้ใน 1 ต.ค.นี้ แบบไม่มีการกักตัวนักท่องเที่ยว เพื่อให้ทั้งปีสามารถรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ 3-4 ล้านคน ตามเป้าหมาย

'ชุมชนเข้มแข็ง' ได้ เมื่อเราผสานพลัง มิติแห่งการสร้างสรรค์ จากพีทีที โกลบอล เคมิคอล ที่หลอมรวมแนวคิด สร้างชุมชนพึ่งพาตัวเอง ครบทั้ง มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม 

ภูมิปัญญาชาวบ้านและอัตลักษณ์ท้องถิ่น คือ สิ่งพิเศษที่มีเฉพาะตัวตน หรือ เฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อได้เรียนรู้แล้วก็จะพบว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ยิ่งหากนำความเฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆ มาพัฒนาต่อยอดผสานกับนวัตกรรม วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ ก็ยิ่งสร้างพลังให้เกิดความเข้มแข็งได้อย่างดีเยี่ยม 

และนั่นคือสิ่งที่ GC หรือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มองเห็น และเกิดเป็นแนวคิด “ชุมชนเข้มแข็ง” ที่ต้องการเดินหน้าทำให้ชุมชนนั้นสามารถพึ่งพาตัวเองได้ สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน และขยายผลให้ชุมชนในภาพรวมได้ประโยชน์สูงที่สุดอย่างยั่งยืน โดยเราสามารถเชื่อมโยงมิติการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ดังนี้ 
.
มิติเศรษฐกิจ ด้านการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างของการสนับสนุนการพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรอินทรีย์กลุ่มหอมมะหาด ผู้ปลูกพืชสมุนไพรพื้นถิ่นระยอง ให้นำผลผลิตมาพัฒนาต่อยอดด้วยการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรโดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา ชุมชนหนองแฟบ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ความงามจากธรรมชาติ เพื่อสุขอนามัยและสุขภาพผิวที่ดี LUFFALA สู่มาตรฐานระดับสากล ผ่าน “โครงการ Rayong Organic Living” และการพัฒนาปรับปรุง “ศูนย์การเรียนรู้อาหารถิ่นระยอง ร้านใบชะมวง ภายใต้โครงการเชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง (ฮิ)” เพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการทำธุรกิจร้านอาหารให้กับนักศึกษาแผนกอาหารและโภชนาการ คณะคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคระยอง 

ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถไปเป็นผู้ประกอบการเองได้ เป็นการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและกระจายรายได้สู่ชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบของดีในจังหวัดระยอง ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หรือชาวประมง ทั้งยังเป็นการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เพื่อรองรับนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวและการแปรรูปอาหาร    

มิติสังคม ด้านการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร ฉายภาพไปที่ชุมชนวัดชากลูกหญ้า ซึ่งมีการบริหารจัดการขยะที่ดีภายในชุมชน และ GC เห็นโอกาสที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการขยะได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย มีการนำระบบ YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นระบบจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจร ตั้งแต่การรวบรวม การคัดแยกขยะ การขนส่งขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบกระบวนการรีไซเคิล และกระบวนการแปรรูปจนได้กลับมาเป็นสินค้าอัพไซคลิง เข้ามาช่วยพัฒนาการบริหารจัดการขยะของชุมชน GC ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งเรื่องการคัดแยก การบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี จนทำให้วันนี้มีการตั้งเป็น “ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า” ซึ่งกลายเป็นต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรแห่งแรกของจังหวัดระยองที่ชาวชุมชนวัดชากลูกหญ้าภูมิใจ 

และสุดท้าย มิติสิ่งแวดล้อม ด้านการดูแลรักษาระบบนิเวศและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการเข้าไปช่วยร่วมพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ GC และเทศบาลเมืองมาบตาพุด จึงได้ร่วมมือกับศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGeo) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำระบบเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ทำให้การปลูกมะม่วงพื้นทรายของเกษตรกรที่ทำมากว่า 50 ปี สามารถคงคุณภาพความอร่อยของผลผลิตตลอดฤดูกาล การันตีด้วยรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทมะม่วงผลดิบ “เขียวเสวย” จากการประกวดผลไม้งานเกษตรแห่งชาติ (เกษตรแฟร์) ประจำปี 2563 

รวมถึงการพัฒนาช่องทางการขาย Online โดยสร้าง Line Official: “Map Ta Phut Mango” พร้อมเสริมทักษะการขายให้กับเกษตรกร เพื่อให้สวนมะม่วงสามารถจำหน่ายผลผลิตให้ลูกค้าแบบ Pre-Order ได้ รวมถึงช่วยวางระบบบริหารการขนส่ง เพื่อให้สวนสามารถขายผลผลิตได้ทั่วประเทศ (แอบกระซิบว่ามะม่วงอร่อย ๆ มีอีกไม่มากแล้ว รีบจองกันก่อนจะหมดฤดูกาลในเร็วๆ นี้)  

GC และพันธมิตรภูมิใจทีได้เป็นพลังเสริมให้ทุกชุมชนพัฒนาไปสู่การเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” ที่สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนและสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

ออมสินเปิดให้เริ่มพักหนี้ได้ทุกประเภทรับโควิด

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารฯ เตรียมเปิดให้ลูกหนี้สินเชื่อทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อรายย่อย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อธุรกิจ ที่มีอยู่ประมาณ 1 ล้านราย เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้แบบสมัครใจ ด้วยการพักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยไปถึง 31 ธ.ค. 64 ตามมติของครม. ที่ได้เห็นชอบไปในครั้งล่าสุด

ทั้งนี้หากลูกหนี้รายใดมีความจำเป็นต้องรับความช่วยเหลือเพิ่มเติม ธนาคารพร้อมพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณี  โดยสามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้ามาตรการพักชำระเงินต้น และเลือกแผนการชำระหนี้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน MyMo  ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค.- 30 มิ.ย. 64 ส่วนลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินกู้เกิน 10 ล้านบาท สามารถติดต่อดำเนินการที่สาขาของธนาคาร   

นายวิทัย กล่าวว่า ในช่วงกลางเดือนพ.ค.นี้ ธนาคารจะเปิดให้ลูกค้าของออมสินที่มีแอปพลิเคชั่น MyMo และมีความต้องการสินเชื่อขอยื่นสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ได้ ซึ่งวงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท โดยกู้ได้สูงสุด 1 หมื่นบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% เป็นระยะเวลา 3 ปี ปลอดการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือน

ระยะแรกจะเปิดให้ลูกค้าของออมสินที่มีแอปฯ MyMo จำนวน 9.2 ล้านคน เข้ามาขอสินเชื่อได้ก่อน จากนั้นจะให้ประชาชนอยู่ในพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม และค่อยขยายเปิดให้ประชาชนทั่วประเทศที่ไม่มีแอพ MyMo เข้ามาลงทะเบียนได้เป็นกลุ่มสุดท้าย โดยคาดว่าจะช่วยเหลือประชาชนได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน  

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำที่สุดรอบ 22 ปี

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนเม.ย. 2564 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการ โดยอยู่ที่ 46.0 ลดลงจากเดือนมี.ค.64 ถือว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 22 ปี 7 เดือน นับตั้งแต่ทำการสำรวจในเดือนต.ค.2541 เนื่องจากผู้บริโภคกังวลสถานการณ์แพร่ระบาดของไทยระลอกใหม่ ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพน้อยลง และการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนล่าช้า 

ทั้งนี้ด้วยเหตุผลดังกล่าว ส่งผลให้ผู้บริโภครู้สึกว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก และขาดแรงกระตุ้นในการฟื้นตัว แม้ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการเราชนะ และโครงการต่างๆ จะมีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม และต่อไปนี้คงต้องดูต่อว่า จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย รวมทั้งทำให้ผู้บริโภคจะระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยในช่วงนี้ รวมถึงปัญหาการจ้างงานในอนาคตด้วย

นอกจากนี้ยังได้สำรวจดัชนีความสุขในการดำรงชีวิตในช่วงเดือนเม.ย. พบว่า ค่าดัชนีอยู่ที่ 30.6 ต่ำสุดในประวัติการณ์ในรอบ 16 ปี ตั้งแต่เริ่มสำรวจเดือนพ.ค.49 มาเช่นกัน เนื่องจากรู้สึกไม่ปลอดภัยจากผลกระทบโควิด-19 ขณะที่ความคาดหวังความสุขในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ดัชนีอยู่ที่ 37.3 ห่างไกลจากค่าดัชนีมาตรฐานระดับ 100 อย่างมาก และเป็นค่าที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน 

ครม. เคาะแล้วมาตรการเยียวยารอบใหม่ มาเป็นแพ็ค คนละครึ่ง เฟส 3 แจกคนละ 3,000 บาท 31 ล้านคน ใช้งบ 9.3 หมื่นล้าน ฟื้น ศก. ไตรมาส 3-4 เพิ่มสิทธิใช้ร้านทำผม ร้านนวด พร้อมขยายสิทธิเราชนะ-ม33เรารักกัน

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาถึงความคืบหน้าของมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในส่วนของมาตรการด้านการเงินผ่านการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 และการออกพ.ร.ก. ด้านการเงินต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ รวมถึงมาตรการด้านภาษี ทั้งการลดภาษีและการขยายกำหนดเวลาต่าง ๆ อีกทั้งมาตรการด้านการคลังผ่านโครงการเยียวยา และมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว เช่นโครงการคนละครึ่งระยะที่ 1-2 โครงการเพิ่มกำลังซื้อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ เช่น โครงการเราชนะ

นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำในที่ประชุมเรื่องความจำเป็นที่ต้องพิจารณามาตรการที่จะออกมาใหม่ในรอบนี้ด้วยความรวดเร็วและด้วยความรอบคอบ

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการโครงการ "คนละครึ่งเฟส 3" เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งเพื่อระงับยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระลอก 3 คนละ 3,000 บาท จำนวน 31 ล้านคน คิดเป็นวงเงินงบประมาณ 93,000 ล้านบาท ระยะเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 โดยเป็นโครงการที่ช่วยประคองกำลังซื้อในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้

สำหรับรูปแบบการใช้จ่าย จะใกล้เคียงกับโครงการคนละครึ่งเฟสแรก และเฟส 2 แต่มีการเสนอรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมขยายสิทธิให้ร้านค้าภาคบริการอย่าง ร้านทำผม ร้านนวด เข้าร่วมด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียงร้านขายสินค้าและอาหารเท่านั้น ทั้งนี้ จะต้องรอการชี้แจงรายละเอียดอีกครั้ง

นอกจากนี้ ให้สิทธิเพิ่ม โครงการเราชนะ อีก คนละ 2,000 บาท แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ 33 ล้านคนใช่จ่ายถึง 30 มิ.ย.64

และขยายสิทธิโครงการ ม33เรารักกัน สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 คนละ 2,000 บาท จำนวน 9.27 ล้านสิทธิ์ ใช้จ่ายถึง 30 มิ.ย.64

ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เผยตัวเลข ดัชนีเชื่อมั่นค้าปลีกลด 43% หลังแพร่ระบาดโควิด-19 ระบุ ผู้ประกอบการห่วงยอดขายหด40% หลังเห็นความไม่ชัดเจนฉีดวัคซีนของภาครัฐ

5 พฤษภาคม พ.ศ.2564 นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า การสำรวจความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกไทยเดือนเมษายนเป็นการสำรวจทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 16-24 เมษายน พ.ศ.2564 มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามประกอบด้วยร้านค้าปลีกสินค้าทั่วประเทศซึ่งมีช่องทางจำหน่ายรวมกันกว่า 23,000 แห่งและร้านค้าปลีกบริการภัตตาคารร้านอาหารที่มีช่องทางบริการกว่า 6,000 แห่งนั้น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกปรับลดลงกว่า 43% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมโดยดัชนีปรับลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 อย่างชัดเจน ใกล้เคียงกับดัชนีความเชื่อมั่นเดือนเมษายน 2563 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ลดลง หลังจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสามในเดือนเมษายน กระจายเป็นวงกว้างกว่าที่ผ่านมา ประกอบกับกำลังซื้อที่ฟื้นตัวช้าเป็นปัจจัยที่เพิ่มความกังวลให้แก่ผู้ประกอบการ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า เปรียบเทียบระหว่างดัชนีในเดือนมกราคม 2564 และดัชนีในเดือนเมษายน 2564 จะพบว่าเดือนเมษายนลดต่ำกว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าในเดือนมกราคม 2564 สะท้อนถึงความไม่มั่นใจถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้วยข้อกังวลถึงความรุนแรงของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ค่อนข้างสูง และความวิตกกังวลถึงความไม่ชัดเจนของแนวทางการฉีดวัคซีนที่ภาครัฐนำเสนอ

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อการเติบโตยอดขายสาขาเดิมเดือนเมษายน  เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม มีทิศทางที่ลดลงกว่า 40% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม สะท้อนให้เห็นว่ายอดขายสาขาเดิมเดือนเมษายนลดลงจากเดือนมีนาคมเกือบครึ่ง ซึ่งเป็นการลดลงทั้งยอดซื้อต่อบิลและความถี่ในการจับจ่าย

ทั้งนี้ จากประเด็นคำถามพิเศษประจำเดือนให้ผู้ประกอบการประเมินผลกระทบต่อยอดขายและกำลังซื้อและผลกระทบต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ผลการสำรวจผู้ประกอบการที่บริหารร้านค้าปลีกกว่า 29,000 แห่ง พบว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคมีสัญญาณปรับตัวแย่กว่าเดือนมีนาคมมากกว่า 25% ผลจากผลการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่เดือนเมษายน และประเมินว่ายอดขายจะได้ผลกระทบมากกว่า 15-40% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม

นายฉัตรชัย กล่าวว่า ผู้ประกอบการยังมีความกังวลถึงการจ้างงานที่จะลดลงจากยอดขายที่หดหายไป มีข้อเสนอให้ภาครัฐควรมีมาตรการเยียวยาช่วยจ่ายค่าแรงพนักงาน 50% รวมถึงควรหาแหล่ง Soft Loan ที่เข้าถึงง่ายให้กับผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ โดยโควิดระลอกใหม่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างหนัก โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาคการค้าปลีก ค้าส่ง ศูนย์การค้า ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว โควิดระลอกใหม่ เพียงแค่เขตการควบคุมพิเศษและเข้มงวดสีแดงเข้ม 6 จังหวัดจะกระทบถึง 22% ต่อ GPP รวมของประเทศ ซึ่งมีการจ้างงานภาคการค้าปลีก ค้าส่ง ศูนย์การค้า ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว กว่า 3.12 ล้านคน 

อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ ใคร่ขอตอกย้ำและกระตุ้นภาครัฐ ให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกศูนย์การค้าและร้านอาหาร ดังนี้  

(1.) สนับสนุนค่าจ้างพนักงาน ลดภาระค่าใช้จ่ายด้วยมาตรการภาษี เพื่อไม่ให้มีการลดพนักงานหรือเลิกจ้าง

(2.) สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) แก่ผู้ประกอบการอย่างจริงจังและรวดเร็ว เพราะด้วยสภาพคล่องที่เหลืออยู่ของผู้ประกอบการค้าปลีกจะสามารถดำเนินธุรกิจได้เพียง 3-6 เดือน

(3.) ประกาศการจ้างงานแบบรายชั่วโมง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริการต่อผู้บริโภคที่มาเป็นช่วงเวลา โดยให้ใช้กับธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหารเป็นการเฉพาะก่อน

(4.) เร่งรัดการฉีดวัคซีนให้รวดเร็ว ครอบคลุมและทั่วถึง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top