Monday, 7 July 2025
ECONBIZ NEWS

อินเตอร์ลิ้งค์ นำทีมกลุ่มผู้บริหารไอทีภาครัฐ-เอกชน ร่วมสัมมนา CCTV Total Solution for Outdoor ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ Update Solution การติดตั้งงานกล้องวงจรปิด (CCTV) ใหม่

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่ม บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนา CCTV Total Solution for Outdoor ให้กับลูกค้ากลุ่มผู้บริหารไอที จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในช่วง Work From Home โดยได้รับการตอบรับอย่างดีจากทั่วประเทศกว่า 460 คน พร้อมทานอาหารออนไลน์ร่วมกันผ่านระบบ Fully Online Seminar และนำทีมวิทยากรชั้นนำมา Update Solution การติดตั้งงานกล้องวงจรปิด (CCTV) บนถนนสาธารณะ เพื่อตอบทุกโจทย์ของความต้องการ ถ่ายทอดสดจากสำนักงานใหญ่ อินเตอร์ลิ้งค์ กรุงเทพฯ

ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป เผยนำเข้าวัคซีนโควิดยี่ห้อดัง เจอบวกภาษี 2 เด้ง พร้อมถก 'องค์การเภสัชฯ' คิดค่าบริหาร 10% เพิ่ม

นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บมจ. ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 64 โดยตอบคำถามกรณีกระแสประชาชนกลัววัคซีนซิโนแวคว่า... 

ความจริงแล้ววัคซีนทุกตัวช่วยลดความรุนแรงของโรค ไม่ต้องเข้า ICU แต่ประสิทธิภาพ อาจจะ 50% 80% หรือ 90% ขึ้นอยู่คนทดลองและระยะเวลา และเชื้อไวรัสโควิด

ซิโนแวค เป็นวัคซีนที่ปลอดภัยที่สุด เพราะทำจากเชื้อตาย ถ้าเทียบกันจะเกิดอาการแพ้น้อยกว่าแอสตร้าเซนเนก้า 2 เท่า อาจจะเจ็บแขน ปวดเมื่อย ใช้เวลา 1-2 วันก็หาย แต่ที่คนไทยกลัวข่าวว่าฉีดแล้วเป็นอัมพฤกษ์นั้น จากผลเอ็กซ์ตรวจทุกอย่างยังไม่พบอะไร ดังนั้นแทบไม่ต้องพูดถึงแล้วว่า ฉีดดีกว่าไม่ฉีด

นายแพทย์บุญ วนาสิน ย้ำว่าเราไม่มีทางเลือก ในขณะที่แอสตร้าเซนเนก้ามีเหลือจากทั่วโลก แต่ถ้าเราไม่ฉีดคนป่วยจะล้นโรงพยาบาล ห้อง ICU มีไม่เพียงพอ

ส่วนกรณีวัคซีนทางเลือก จะโนวาแวกซ์และโมเดอร์นานั้น ทางสมาคมโรงพยาบาลเอกชนได้เจรจาซื้อผ่านองค์การเภสัชฯ ซึ่งโมเดอร์นาจะได้รับจดทะเบียนให้เรียบร้อยใน 2 สัปดาห์นี้ แต่ติดที่ไทม์ไลน์ส่งวัคซีน ว่าอย่างน้อย 4 เดือน 

"เรากำลังให้พรรคพวกที่สหรัฐอเมริกา ไปพูดกับประธานาธิบดีไบเดน ว่า ขอได้มั้ยเพราะของคุณมันเกินพอแล้ว ควรจะรีบส่งมาให้ประเทศเราบ้าง"

นายแพทย์บุญ วนาสิน ระบุว่า วัคซีนไฟเซอร์ผลิตในหลายประเทศ อาจจะส่งให้เราก่อนได้ 10-20 ล้านโดส

"ต้องเรียนนะครับ เราต้องเสียภาษี 2 ครั้ง 14%  และ ทางองค์การเภสัชฯ จะชาร์จค่า Management 5% ถึง 10% ตัวเลขต้นทุนอาจเลย 2 พันกว่าบาท"

อย่างกรณีโมเดอร์นา ที่นำเข้ามา ทางองค์การเภสัชฯ จะซื้อก่อน และทุกคนจะต้องไปซื้อกับองค์การเภสัชฯ หมด ซึ่งคิดค่าบริหาร 10% แต่เป็นค่าอะไรยังไม่ทราบ กำลังคุยกันอยู่

วัคซีนอันนี้ระบุเป็นวัคซีนฉุกเฉิน ติดนั่นติดนี่ ติดเรื่องนี้มา 7 เดือนแล้ว นำเข้ามาไม่ได้ เคยคุยกับอังกฤษ จีน สหรัฐฯ บอกว่า ถ้าเราหลับตาข้างหนึ่งเซ็นรับรองนำเข้า เขาให้นำเข้ามา แต่ผมได้รับตอบจดหมายจากท่านรัฐมนตรีว่า ทำไม่ได้ รัฐบาลจะมาค้ำประกันหรือเซ็นรับรองให้เอกชนไม่ได้ ก็ติดกันมา 7 เดือน แต่ตอนนี้นายกรัฐมนตรีลงมาสั่งเอง ก็โอเคแล้ว


ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/937226

ประชาชน เฮ!! ก.แรงงาน จับมือ กทม. สปสช.ขยายตรวจโควิด-19 เชิงรุก ที่สนามไทย – ญี่ปุ่น ดินแดง ต่อไปจนถึง 31 พ.ค.นี้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย ก.แรงงาน บูรณาการร่วมกับมหาดไทย กทม. สปสช. ขยายเวลาตรวจโควิด-19 เชิงรุก แก่ผู้ประกันตน แรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไป เพื่อเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ที่สนามไทย – ญี่ปุ่น ดินแดง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย ก.แรงงาน บูรณาการร่วมกับมหาดไทย กทม. สปสช. ขยายเวลาตรวจโควิด-19 เชิงรุก แก่ผู้ประกันตน แรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไป เพื่อเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ที่สนามไทย – ญี่ปุ่น ดินแดง ต่อไปจนถึงวันที่ 31 พ.ค.นี้ 

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ห่วงใยผู้ประกันตน แรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระและพี่น้องประชาชนทั่วไปถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 เนื่องจากสภาพปัญหาในปัจจุบันได้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง และมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จึงได้มีดำริกำชับให้กระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ขยายระยะเวลาของศูนย์คัดกรองหาเชื้อโควิด-19 เชิงรุก ที่อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 พ.ค.นี้ เพื่อให้สามารถตรวจคัดกรองโควิดเชิงรุกได้ครอบคลุมและเร่งคลี่คลายสถานการณ์การแพร่ระบาดโดยเร็ว ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงได้ให้กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม บูรณาการความร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด และกระทรวงสาธารณสุข โดย สปสช. ดำเนินการขยายระยะเวลาการตรวจโควิด – 19 เชิงรุก เพื่อผู้ประกันตนแรงงานนอกระบบ และพี่น้องประชาชนทั่วไปตามโครงการแรงงาน…เราสู้ด้วยกัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยในแต่ละวันตรวจได้ไม่เกิน 3,000 คน รอบเช้า 1,500 คน และรอบบ่าย 1,500 คน ให้บริการตรวจไปจนถึงวันที่ 31 พ.ค.นี้ 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ผู้ที่ต้องการตรวจสามารถลงทะเบียนจองคิวตรวจได้ที่เว็บไซต์ https://sso.icntracking.com/icntracking/self_register.php จากนั้นผู้ประกันตนกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือเลขพาสปอร์ต กรอกข้อมูลประเมินความเสี่ยงตามที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หากผู้ประกันตนรายใดลงทะเบียนแล้วไม่มาตรวจตามนัดจะต้องลงทะเบียนใหม่ และเมื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด -19 เรียบร้อยแล้วสามารถกลับบ้านได้ทันที เนื่องจากผลการตรวจจะส่งทาง SMS ให้ผู้ประกันตนทราบตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน ขอให้ผู้ที่มาตรวจนำบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย 

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถสอบถามได้ที่โทรศัพท์ 1506 กด 6 เพื่อหาสถานที่ตรวจและสถานพยาบาลเข้ารับการรักษาในกรณีติดเชื้อได้ โดยให้บริการทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 08.00 – 17.00 น. มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการทั้งสิ้น 10 คู่สาย ช่วยเหลือผู้ประกันตนและแรงงานนอกระบบที่เดือดร้อนจากการตรวจโควิด-19 ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีอีกทางหนึ่งด้วย กรณีตรวจพบเชื้อและมีอาการจะถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ส่วนผู้ที่ตรวจพบเชื้อแล้วไม่มีอาการหรืออยู่ในระดับสีเหลืองตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดจะถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ Hospitel ของประกันสังคม ซึ่งมีทีมแพทย์และพยาบาลดูแลเป็นอย่างดี

โควิดระลอกใหม่ฉุดความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิ่งรอบ 8 เดือน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 2564 อยู่ที่ระดับ 84.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.3 ก่อน ถือเป็นการปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนก.ย. 2563 หลังจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ อีกทั้งภาครัฐยังยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 ให้เข้มงวดมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั้งการค้าการลงทุน การเดินทางท่องเที่ยว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น 

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 91.8 จากระดับ 94.0 ในเดือนก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่อาจยืดเยื้อและต้องใช้ระยะเวลานาน ขณะที่การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนยังมีความล่าช้าภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศยังไม่คลี่คลาย รวมทั้งสถานการณ์การเมืองของประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของไทย

อย่างไรก็ตามภาคเอกชนมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ 4 ข้อ คือ 1. ขอให้ภาครัฐเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามให้ได้โดยเร็ว โดยใช้มาตรการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีการแพร่ระบาดสูง 2. เร่งจัดซื้อและกระจายวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน

3. ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกที่สามอย่างเร่งด่วน ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและผู้ประกอบการเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และ 4. เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก

ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม เดือนเม.ย. 64 ต่ำสุดรอบ 8 เดือน เหตุผู้ประกอบการกังวลโควิดระบาดระลอกใหม่ วอนรัฐเร่งจัดหาและฉีดวัคซีน-ออกมาตรการเยียวยา

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ระดับ 84.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.3 ในเดือนมีนาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สาม ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาครัฐยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 ให้เข้มงวดมากขึ้น

แม้ว่าภาครัฐจะไม่ได้ประกาศมาตรการล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิวส์เหมือนกับการระบาดในระลอกแรก แต่วิกฤตโควิด-19 ระลอกที่สาม ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั้งการค้าการลงทุน การเดินทางท่องเที่ยว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่มาตรการ Work From Home ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายนยังมีวันทำงานน้อยเนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำให้ภาคการผลิตส่วนใหญ่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 91.8 จากระดับ 94.0 ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกที่สาม ที่อาจยืดเยื้อและต้องใช้ระยะเวลานานในการควบคุม ขณะที่การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนยังมีความล่าช้า ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศยังไม่คลี่คลาย รวมทั้งสถานการณ์การเมืองของประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของไทย

นายสุพันธุ์ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ มี 4 ข้อเสนอด้วยกัน ประกอบด้วย

1.) ขอให้ภาครัฐเร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามให้ได้โดยเร็ว โดยใช้มาตรการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีการแพร่ระบาดสูง

2.) เร่งจัดซื้อและกระจายวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน

3.) ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกที่สามอย่างเร่งด่วน ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและผู้ประกอบการเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ

4.) เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก

สภาพัฒน์ ยันเหลือเงินกู้เยียวยา-ฟื้นเศรษฐกิจอีก 2.37 แสนล.

นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการอนุมัติและเบิกจ่ายเงินกู้ตาม พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ว่า สถานะปัจจุบันของ พ.ร.ก.กู้เงินฯ ที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติโครงการที่เสนอขอใช้จ่ายเงินกู้แล้ว 283 โครงการ รวมกรอบวงเงินกู้ 762,902 ล้านบาท คงเหลือวงเงินกู้ 237,097 ล้านบาท 

นายวันฉัตร กล่าวว่า ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ยังคงเพียงพอสำหรับการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-2019 ในระลอกเดือนเม.ย.64 ทั้งหมด 2 ระยะที่จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพ.ค.-ธ.ค.64 ทั้ง มาตรการระยะแรก เช่น มาตรการการเงิน มาตรการลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า และน้ำประปา และโครงการเราชนะ กับ ม 33 เรารักกัน และมาตรการระยะที่ 2 เช่น การเพิ่มเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเงินให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

สำหรับตามกรอบของ พ.ร.ก.กู้เงินฯ ในส่วนของแผนงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 3.55 แสนล้านบาท มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ฯ แล้ว 232 โครงการ วงเงินรวม 138,181 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 110 โครงการ วงเงินรวม 69,117 ล้านบาท คิดเป็น 49.15% โดยสาเหตุที่ทำให้มีการเบิกจ่ายต่ำนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์ และความจำเป็นที่ต้องชะลอกิจกรรมที่ต้องลงพื้นที่ และฝึกอบรม เพราะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดตั้งแต่ต้นปี 64 จนถึงปัจจุบัน 

ส่วนวงเงินภายใต้แผนงานด้านสาธารณสุข 4.5 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ผ่านการอนุมัติแล้ว 42 โครงการ วงเงิน 25,825 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 7,102 ล้านบาท หรือคิดเป็น 27.50% สาเหตุที่ทำให้มีการเบิกจ่ายค่อนข้างต่ำ เป็นผลจากหน่วยงานรับผิดชอบโครงการยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข 

‘สุริยะ’ สั่ง กนอ.ป้องกันโควิดระบาดในนิคมฯ ด้าน ‘วีริศ’ เผยจับมือ ส.อ.ท. เสนอใช้พื้นที่นิคมฯ ทั่วประเทศ เป็นศูนย์กลางฉีดวัคซีนให้ประชาชน เตรียมหารือ กกร. ฉีดวัคซีนคนในนิคมฯ ให้ได้โดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและภาคการผลิต 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลนิคมอุตสาหกรรมตลอดจนโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ให้เร่งวางมาตรการป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 โดยเพิ่มการเฝ้าระวังและกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของไทย โดยนิคมอุตสาหกรรมถือได้ว่าเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นแหล่งสร้างรายได้อันดับต้น ๆ ของประเทศ ซึ่งหากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวงกว้างจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับเศรษฐกิจของไทย และกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) สินค้าต่าง ๆ ไปทั่วโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้หลุดพ้นจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นมีบุคลากรในโรงงานและเจ้าหน้าที่ของ กนอ. ในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ประมาณ 1 ล้านคน ที่ต้องได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยในจำนวนนี้มีบุคลากรประมาณ 5 แสนคน ที่ยินดีรับภาระค่าใช้จ่ายในการฉีดรายละ 1,000 บาทเอง อย่างไรก็ดี ขณะนี้ทราบว่ารัฐบาลได้มีการนำเข้าวัคซีนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น กนอ.จะขออาสาทำหน้าที่เป็นคนกลางประสานงานเพื่อให้ได้วัคซีนจากภาครัฐมาโดยเร็ว 

ทั้งนี้ กนอ.จะร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเร่งหารือกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ในการจัดหาวัคซีนให้กับบุคลากรในทุกช่องทาง ที่สำคัญคือ ได้มีการหารือกับ ส.อ.ท.และเห็นตรงกันว่าจะร่วมกันอำนวยความสะดวกในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน โดยได้เสนอให้ใช้พื้นที่ของ กนอ. ที่มีอยู่ในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นศูนย์กลางฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งโดยศักยภาพของ กนอ. แล้วมีความพร้อมทั้งด้านพื้นที่และบุคลากร สามารถจัดสถานที่ฉีดวัคซีนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข โดยสามารถเตรียมการฉีดวัคซีนได้ทันที

“การได้รับวัคซีนสำหรับคนที่ทำงานในนิคมฯ ต่าง ๆ โดยเร็ว จะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคการผลิต ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากอยากได้วัคซีนไปฉีดให้กับแรงงาน เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) เพราะหากเกิดการแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมแล้วจะเกิดผลกระทบต่อกระบวนการผลิต จนเกิดความเสียหายต่อธุรกิจอย่างรุนแรงได้ จึงพร้อมที่จะจ่ายค่าวัคซีนเอง โดยทางผู้ประกอบการได้สอบถามเข้ามาเพราะอยากให้ภาครัฐจัดหาวัคซีนทางเลือกให้อย่างเร่งด่วน เนื่องจากบุคลากรในภาคการผลิตมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าบุคลากรในด้านอื่น ๆ ดังนั้น หากมีการร่วมมือร่วมใจให้แรงงานได้รับวัคซีนให้มากที่สุด จะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาการระบาดในประเทศและลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้” นายวีริศ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ กนอ.ติดตามสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ พบว่า มีจำนวนผู้ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระลอกเดือน เม.ย. 64 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 298 ราย หายป่วยแล้ว 12 ราย และยังเหลือผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา ทั้งสิ้น 286 ราย ซึ่งทาง กนอ. ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกำชับให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ เพื่อลดการติดเชื้อภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมให้ได้มากที่สุด โดยเป้าหมายสุดท้าย คือ ให้ตัวเลขการติดเชื้อเป็นศูนย์โดยเร็วที่สุด

จุรินทร์ นำ พาณิชย์จัดโมบายพาณิชย์ ลดราคา ! ช่วยประชาชน 730 คัน ลดสูงสุด 60% ช่วยประชาชนช่วงโควิด ตระเวนจอดขายของราคาถูก 500 ชุมชน ทั้งกรุงเทพและปริมณฑล

วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์  หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายในงาน Mobile พาณิชย์ลดราคา ! ช่วยประชาชน Lot 10 ณ บริเวณป้ายกระทรวงพาณิชย์ (ร้ัวด้านหน้าริมถนน)

นายจุรินทร์ กล่าวว่าวันนี้เป็นการเปิดตัวโครงการพาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน Lot ที่ 10 ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 9 Lot โดย Lot นี้ กระทรวงพาณิชย์จัดในรูปแบบรถ Mobile พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน ที่จะตระเวนไปจำหน่ายสินค้าราคาถูกทั่วกรุงเทพและปริมณฑล เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด เพื่อที่จะให้สามารถนำสินค้าและให้บริการสินค้าต่างๆในราคาถูกไปจำหน่ายให้พี่น้องประชาชนถึงชุมชนต่างๆ ให้พี่น้องประชาชนที่จำเป็นต้องกักตัวอยู่ในชุมชนสามารถได้รับบริการที่ทั่วถึง

โดยได้จัดรถ Mobile ทั้งหมด 730 คัน วิ่งกระจายไปทั่วกรุงเทพและปริมณฑล ส่วนนึงจะไปจอดที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ทั่วกรุงเทพมหานคร จอดประมาณครึ่งวัน แล้วจะตระเวนไปตามจุดและชุมชนต่างๆ จะเข้าไปในชุมชนประมาณ 400-500 ชุมชน
สินค้าราคาถูกประกอบด้วย 2 ส่วน 1.สินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค 6 ชนิดและ 2.สินค้าอุปโภคบริโภค 6 หมวด 

สำหรับสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวัน 6 ชนิดประกอบด้วย 1.ข้าวสารถุงเป็นข้าวหอมมะลิ กิโลกรัมละ 30 บาท 2.ไข่ไก่ เบอร์สาม 3-4 แผงละ 30 ฟอง ราคา 83 บาท ตกฟองละ 2.77 บาท 3.น้ำมันพืชขนาด 1 ลิตร ขวดละ 43 บาท 4.น้ำตาลถุงละ 1 กิโลกรัม 20 บาท 5.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซองละ 5 บาท และ 6.ปลากระป๋อง กระป๋องละ 12 บาท

สินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคอีก 6 หมวด หมวดที่หนึ่งอาหารสำเร็จรูปมี 11 รายการ ลดสูงสุด 33% หมวดที่สองซอสปรุงรส 16 รายการ ลดสูงสุด 28% หมวดที่สามของใช้ประจำวัน 16 รายการ ลดสูงสุด 50% หมวดที่สี่สินค้าสำหรับชำระร่างกาย 4 รายการ ลดสูงสุด 60% หมวดที่ห้าสินค้าสำหรับการซักล้าง 23 รายการ ลดสูงสุด 54% และหมวดที่หกยา 3 รายการ ลดสูงสุด 23% โดยภาพรวมสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค 6 หมวดนี้ ลดราคาเฉลี่ยสูงสุด 60%

โดยจะเริ่มดำเนินการออกให้บริการพี่น้องประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 400-500 ชุมชนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเป็นเวลา 30 วันถึงวันที่ 8 มิถุนายนคาดว่าจะช่วยลดภาระค่าของชีพให้กับพี่น้องประชาชนได้ไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาท ซึ่งได้รับความร่วมมือจากตลาดทั้งหมด 7 ตลาด 1.ตลาดสี่มุมเมือง 2.ตลาดไท 3.ตลาดยิ่งเจริญ 4.ตลาดมีนบุรี 5. ตลาดเวิลด์มาร์เก็ต
6.ตลาดเสรีสายห้า และ 7.ตลาดบางใหญ่

โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารคืบหน้า ล่าสุด 4 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี สระบุรีและกาญจนบุรี พร้อมร่วมโครงการ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เปิดเผย วันนี้ (7พ.ค.) ว่า การปฏิรูปภาคเกษตรแบบครบวงจรภายใต้ ‘5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย’ คืบหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร ได้รับความสนใจจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการในหลายจังหวัด ขณะนี้มีจังหวัดเสนอตัวเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นใหม่ได้แก่กาญจนบุรี เพชรบุรี สระบุรี และร้อยเอ็ด

“จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่อำเภอท่ายางและแก่งกระจาน จะพัฒนาเป็นเขตผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) จังหวัดกาญจนบุรีที่อำเภอท่าม่วงเป็นนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารและเอสเอ็มอี มุ่งตลาด 7 ประเทศรอบอ่าวเบงกอล โดยเล็งทวายเป็นท่าเรือส่งออก การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมของทั้ง 2 จังหวัด เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก (Western Economic Corridor) ส่วนสระบุรีจะพัฒนาเป็นซิลิคอนวัลเล่ย์เกษตรอาหารเน้นสตาร์ทอัพที่ spin-off จากผลงานวิจัยและพัฒนาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC ในโมเดลเดียวกับการพัฒนาซิลิคอนวัลเลย์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด”

นายอลงกรณ์ เปิดเผยด้วยว่า ล่าสุด นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2564 นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมหารือการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ณ ห้อง Smart Room ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน เข้าร่วมหารือ พร้อมได้ถ่ายทอดสัญญาการประชุมผ่านระบบ zoom meeting ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายส่งเสริมเขตอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และมติจากการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กรกอ.) เห็นชอบให้มีการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารขึ้นมาโดยจะดําเนินการในพื้นที่ 18 กลุ่มจังหวัด โดยจะมีการเชื่อมโยงการนํานวัตกรรมทางการเกษตรมาใช้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในแต่ละจังหวัด ซึ่งเป็นการพัฒนาเกษตรกรในช่วงต้นทาง เพื่อยกระดับเกษตรกร ให้สามารถป้อนวัตถุดิบ การเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในช่วงปลายทาง

โดยจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหนึ่งในจังหวัดเป้าหมายในการดำเนินการโครงการหนึ่งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร หนึ่งกลุ่มจังหวัด ของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ดังนั้น การประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการหารือถึง แนวทางการจัดทําข้อมูลรายละเอียดศักยภาพของพื้นที่ และสินค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งจัดทําแนวทางการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ต่อไป

โดยจะพิจารณาข้อเสนอของทุกจังหวัดที่เสนอตัวเข้าร่วมโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมบรรจุในวาระการประชุมของอนุกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารก่อนนำเสนอต่อ กรกอ. ในการประชุมเดือนหน้า หากจังหวัดใดสนใจจะเข้าร่วมโครงการสามารถเสนอตัวมาได้ก่อนการประชุมสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ มติที่ประชุม กรกอ. ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2564 ได้เห็นชอบโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารทั้งขนาดเล็กขนาดกลางขนาดใหญ่ให้ครบทั้ง 18 กลุ่มจังหวัด เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและตอบโจทย์การเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่ของผลผลิตการเกษตรโดยจะกระจายการลงทุน การสร้างงาน และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเป็นการสร้างความสมดุลใหม่ของการพัฒนาประเทศ (New Development Balancing) ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่

1.) ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต

2.) ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0

3.) ยุทธศาสตร์ ‘3’s’ (Safety-Security-Sustainability) เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน

4.) ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล ‘เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย’ และ

5.) ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา

‘เขตเศรษฐกิจเชียงของ’ เชื่อมต่อ ‘เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อหาน (จีน)-บ่อเต็น (ลาว)’ เพิ่มศักยภาพการค้าข้ามพรมแดนแม่โขง-ล้านช้าง เป้าหมายสร้างมูลค่าการค้า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

แม้ว่าอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่รัฐบาลยังคงเดินหน้าลงทุนในโครงการ โครงสร้างพื้นฐาน และ ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-ล้านช้าง ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการปี 2558 ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และจีน ซึ่งร่วมมือกันใน 5 สาขาสำคัญ ได้แก่ ความเชื่อมโยง การพัฒนาศักยภาพในการผลิต ความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดน ความร่วมมือทรัพยากรน้ำ การเกษตรและการลดความยากจน

โดยกระทรวงพาณิชย์ได้รับมอบให้เป็นหน่วยประสานงานหลักของไทยในสาขาความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดน รัฐบาลได้พัฒนาการอำนวยความสะดวกทางการค้าตามแนวชายแดน เช่น พิธีการศุลกากร เพื่อช่วยให้การปล่อยสินค้าคล่องตัว เพิ่มประสิทธิภาพการบริการโลจิสติกส์ ลดต้นทุนผู้ประกอบการ ซึ่งจะแล้วเสร็จสมบูรณ์สิ้นปีนี้

ขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ กำลังศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย

โดยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ มีเป้าหมาย คือ

1.) เชียงของเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross Border e-Commerce: CBEC)

2.) ส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยและอาเซียน ผ่านเส้นทาง R3A (ที่เชื่อมระหว่าง จีน ลาว และไทย ผ่านจุดพรมแดนและเมืองสำคัญ เช่น อ.เชียงของ บ้านห้วยทราย บ่อเต็น บ่อหาน และคุนหมิง) และเขตการค้าเสรีคุณหมิง และ

3.) ยกระดับการค้าสู่พื้นที่จีนตอนเหนือ และยุโรปในอนาคตต่อไป เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ

ทั้งนี้ รัฐบาลได้อนุมัติ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (ข้ามแม่น้ำโขง) แห่งที่ 4 ติดกับ ด่านพรมแดนเชียงของ เพื่อเป็นประตูการค้าที่สำคัญบนแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor)

โดยเป็นการพัฒนา สถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) รองรับกิจกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศบนเส้นทางสาย R3A ให้เป็นสถานีปรับเปลี่ยนการขนส่งระหว่างประเทศสู่ภายในประเทศ รวมถึง เพื่อเชื่อมต่อระบบการขนส่งทางถนนไปสู่ทางรถไฟ ซึ่งโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายฯ ระยะที่1 จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในปี 2565

ขณะที่ โครงการระยะที่ 2 ซึ่งครม.เพิ่งเห็นชอบเมื่อ 20 เมษายน ที่ผ่านมา เป็นการสร้างอาคารเปลี่ยนถ่ายและบรรจุสินค้า และลานกองเก็บตู้สินค้า

ที่จะรองรับเส้นทางรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย คาดจะก่อสร้างเสร็จในปี 2568

สำหรับ การค้าข้ามพรมแดนแม่โขง-ล้านช้าง จะเป็นตลาดสำคัญของไทย ที่มีเป้าหมายมูลค่ากว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยรัฐบาลตั้งเป้าเพิ่มยอดการส่งออกทั้งในกลุ่มประเทศสมาชิกและที่จะขยายไปยังจีนตอนเหนือและยุโรปในอนาคต

หากสามารถผลักดัน โครงการเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ เชื่อมต่อกับ เศรษฐกิจพิเศษบ่อหาน (จีน)-บ่อเต็น (ลาว) ได้สำเร็จ ผู้ประกอบการไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับสินค้าที่อยู่ในรายการที่จีนกำหนดให้สามารถขอรับสิทธิพิเศษสำหรับ CBEC ได้ (Positive Lists for CBEC) อาทิ ผลไม้อบแห้ง ชา กาแฟ เครื่องสำอาง ซึ่งจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละ70 ของอัตราภาษีปกติอีกด้วย

ที่มา : https://www.facebook.com/100003657944356/posts/2317383428393566/


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top