Wednesday, 2 July 2025
ECONBIZ NEWS

ศบค.ใหญ่ จ่อถก คลายล็อกธนาคาร-ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้าง จันทร์ 16 ส.ค.นี้

ที่ศบค.ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)ตอบข้อซักถามถึงกรณีที่สมาคมศูนย์การค้าไทย หรือ TSCA เสนอภาครัฐให้มีการทบทวนมาตรการ ขอผ่อนปรนให้ 4 ธุรกิจหลักที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของประชาชน สามารถเปิดให้บริการได้ในศูนย์การค้า ได้แก่ 1.ธนาคาร สถาบันการเงิน 2.ธุรกิจสื่อสาร ไอที 3.ร้านเบ็ดเตล็ด 4.ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ว่า ทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผอ.ศบค. ได้รับทราบเรื่องราวต่างๆที่มีการยื่นร้องเรียนเข้ามาทางอีโอซี กระทรวงสาธารณสุขแล้ว และจะต้องมีการพิจารณาว่ามีผลในเรื่องการป้องกันควบคุมโรค โควิด-19 อย่างไรในกลุ่มเฉพาะต่างๆที่จะขอผ่อนคลาย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า มาตรการขณะนี้เข้มที่สุดแล้วแต่ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ แต่ก็ได้รับทราบความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ในแต่ละกลุ่มในแต่ละสถานที่อยู่เสมอและจะต้องนำมามองในภาพรวม และภาพย่อย แล้วจึงตัดสินใจ ซึ่งในวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคมนี้จะมีการประชุมศบค. ชุดใหญ่ ในช่วงบ่ายดังนั้น จะได้ข้อสรุปกันในวันนั้นและหากมีผลการประชุมเป็นอย่างไร ตนจะแถลงข่าวให้ทราบ อย่างไรก็ตาม จากนี้จะมีการนำเสนอชุดข้อมูลที่น่าสนใจทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เพื่อนำเสนอและวิเคราะห์ นำไปสู่ ทิศทางการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชน

ผู้ประกันตน ม.33 เฮ!! สปส. เปิดฉีดวัคซีนเข็ม 2 ทั่วกรุง 26 จุด เริ่ม 16 ส.ค.นี้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ไปแล้วกว่า 1.3 ล้านราย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา และขณะนี้คณะทำงานบริหารจัดการและกระจายวัคซีนฯ ได้เตรียมจัดศูนย์ฉีดวัคซีนฯ เพื่อให้บริการผู้ประกันตนมาตรา 33 ในการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 โดยจะเริ่มฉีดในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป เป็นวัคซีนยี่ห้อ AstraZeneca ทั้งหมด

นายสุชาติ กล่าวต่อไปว่า วัคซีนเข็มที่ 2 นี้จะเริ่มฉีดในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป โดยแบ่งผู้ประกันตน ตามสูตรการฉีด ดังนี้ สูตรแรก (AZ+AZ) คือผู้ประกันตนที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เป็น AstraZeneca และจะครบกำหนดฉีดเข็ม 2 ภายใน 12-16 สัปดาห์ ก็จะฉีดเข็มที่ 2 เป็นวัคซีนยี่ห้อ AstraZeneca เหมือนเดิม โดยผู้ประกันตนในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ได้รับเข็ม 1 ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ถึง 21 กรกฎาคม 2564 จะได้รับเข็ม 2 ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ถึง 28 กันยายน 2564 

ส่วนกลุ่มฉีดสูตร 2 (SV+AZ) แบบฉีดสลับวัคซีน ตามมติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 คือผู้ประกันตนที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกเป็นยี่ห้อ Sinovac จะได้รับเข็ม 2 ภายใน 3 - 4 สัปดาห์ เป็นยี่ห้อ AstraZeneca ทั้งหมดเช่นกัน โดยผู้ประกันตนในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ได้รับเข็ม 1 ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม ถึง 6 สิงหาคม 2564 จะได้รับเข็ม 2 ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ถึง 27 สิงหาคม 2564 และผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกลุ่มจังหวัดภาคผลิตสำคัญ 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร และนครปฐม ที่ได้รับวัคซีนตามสูตร 2 (SV+AZ) ตั้งแต่ 22 กรกฎาคม ถึง 13 สิงหาคม 2564 จะได้รับเข็ม 2 เป็นยี่ห้อ AstraZeneca ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ถึง 27 สิงหาคม 2564 และผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกลุ่มจังหวัดภาคผลิตสำคัญ EEC และสมุทรปราการ ที่ได้รับวัคซีนตามสูตร 2 (SV+AZ) ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม – 20 สิงหาคม 2564 จะได้รับเข็ม 2 เป็นยี่ห้อ AstraZeneca ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม – 10 กันยายน 2564

โดยสำนักงานประกันสังคม ได้เตรียมพร้อมศูนย์ฉีดวัคซีนกระจายทั่วพื้นที่ กทม.ทั้ง 12 เขตความรับผิดชอบ รวม 26 จุดฉีด และทั้ง 5 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว จะส่งแจ้งนัดหมายให้ผู้ประกันตนทราบล่วงหน้าผ่าน SMS เข้าโทรศัพท์มือถือให้ผู้ประกันตนทราบตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา

นายสุชาติ กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ทุกท่าน เมื่อทราบกำหนดนัดหมายแล้ว โปรดเตรียมตัวให้พร้อม เหมือนกันกับการฉีดเข็มแรก คือ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดการออกกำลังกายหนัก สวมเสื้อที่สะดวกในการฉีด เช่น เสื้อแขนสั้น และที่สำคัญคือ เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) ติดตัวมาด้วยในวันที่ ฉีดวัคซีน และมาให้ทันตามกำหนดนัดหมาย เพื่อร่วมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ไปด้วยกัน หากท่านอยู่ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็ม 2 ตามกำหนดข้างต้น แต่ไม่ได้รับ SMS นัดหมาย สามารถตรวจสอบวันนัดหมายฉีดวัคซีน เข็มที่ 2 ได้ที่หน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th อีกช่องทางหนึ่ง หากไม่พบข้อมูล ขอให้รีบแจ้งนายจ้าง หรือ HR บริษัท ด่วน หรือหากมีข้อสงสัย ติดต่อสายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

พาณิชย์ปรับฐานข้อมูลจดทะเบียนหวั่นเจอมิจฉาชีพแอบอ้าง

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่ระหว่างการปรับปรุงฐานข้อมูลนิติบุคคลให้เป็นปัจจุบัน สร้างความน่าเชื่อถือความมั่นใจให้ภาคธุรกิจที่เข้ามาตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล รวมถึงป้องกันความเสียหายจากกลุ่มมิจฉาชีพต่าง ๆ ที่แอบอ้างความน่าเชื่อถือจากการจดทะเบียนนิติบุคคลไปหลอกลวงและแสวงหาประโยชน์โดยนิติบุคคลนั้นไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายจริง 

ล่าสุดกรมฯ ได้ออกประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เรื่อง จะขีดชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทออกจากทะเบียนจำนวน 10,810 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นนิติบุคคลที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด กรมฯ ได้ประสานสำนักงานพาณิชย์จังหวัดให้ดำเนินการตรวจสอบเช่นกันเพื่อจะได้มีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน

“การปรับปรุงฐานข้อมูลสถานะของนิติบุคคลถือเป็นภารกิจสำคัญที่กรมฯ ได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลนิติบุคคลอันจะส่งผลต่อการวิเคราะห์การเจริญเติบโตในภาคธุรกิจและตัดโอกาสการถูกหลอกลวงของประชาชน ดังนั้น ขอฝากไปยังนิติบุคคลจะต้องดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย  ซึ่งการจัดทำงบการเงินประจำปีและยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าถือเป็นหน้าที่สำคัญของนิติบุคคล รวมไปถึง กรณีที่ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องยุติลง แต่ก็ยังคงมีหน้าที่ในการจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีให้ เสร็จสิ้นเช่นกัน”

ร้านอาหารทรุดพิษโควิดเสี่ยงเสียหายยับ 2.59 แสนล้าน

น.ส.นิรัติศัย ทุมวงษา นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยกรุงไทย คอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า กรุงไทย คอมพาส ได้ประเมินผลกระทบจากการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้น และอาจลากยาวในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ต่อกลุ่มธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจวัตถุดิบอาหาร ซึ่งมาตรการที่ออกมาครั้งล่าสุดเป็นการซ้ำเติมธุรกิจร้านอาหาร และเปรียบเป็นพายุลูกใหม่ที่จะสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจร้านอาหารที่พยายามประคับประคองกิจการอย่างยากลำบากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา หลังเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยประเมินว่า หากสถานการร์ไม่ดีขึ้นจะก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายรวมประมาณสูงสุดถึง 259,600 ล้านบาท 

สำหรับการประเมินมูลค่าความเสียหายแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1.หากสิ้นสุดล็อกดาวน์ ณ 31 ส.ค. และควบคุม 29 จังหวัด จะมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 130,000 ล้านบาท 2.หากสิ้นสุดล็อกดาวน์ ณ 30 ก.ย. และควบคุม 29 จังหวัด จะมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 198,300 ล้านบาท และ 3.หากสิ้นสุดล็อกดาวน์ ณ 30 ก.ย.และขยายมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ไปสิ้นสุด ณ 31 ต.ค. ซึ่งอาจครอบคลุมทั่วประเทศ จะมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 259,600 ล้านบาท

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทางสมาคมภัตตาคารไทย ประเมินว่า จำนวนร้านอาหารโดยรวมในไทยมีอยู่ประมาณ 550,000 ราย ซึ่งคาดว่าปิดกิจการแล้ว 50,000 ราย ก่อนที่มีมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ที่เริ่มเมื่อ 28 มิ.ย. และประเมินว่าน่าจะมีอีก 50,000 ราย ที่เตรียมจะปิดกิจการแบบชั่วคราวและถาวร หากไม่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐภายในเดือน ก.ค. 2021

เกษตรกรยืนยันไข่ไก่ยังไม่ขาดตลาด แม้ราคาเพิ่มสูงหลังคนซื้อตุน

นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ยังคงเพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศอย่างแน่นอน  แม้ปัจจุบันการระบาดของไวริสโควิด-19 ในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในจังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งทำให้การขนส่งผลผลิตไข่ไก่ให้กับห้างต่าง ๆ ทำได้ไม่สะดวกนัก ซึ่งล่าสุดผลผลิตไข่ไก่ที่มีอยู่ในระบบยังมีปริมาณตามปกติ ที่  41-42 ล้านฟองต่อวัน และจากมาตรการรัฐที่ให้ยืดอายุแม่ไก่ยืนกรง จะทำให้ปริมาณไข่ไก่เพิ่มอีก 3 ล้านฟองต่อวัน รวมเป็น 44-45 ล้านฟองต่อวันในสิ้นเดือนส.ค.นี้ 

“ปริมาณไข่ไก่ตอนนี้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศอย่างแน่นอน  ที่สำคัญคือราคาขายหน้าฟาร์มเกษตรกรยังอยู่ในระดับเดิมตามที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือไว้ แต่ก็แปลกใจว่าทำไมราคาไข่ไก่ในหลายพื้นที่มีการปรับสูงขึ้น ซึ่งอยู่ที่พ่อค้าคนกลางเป็นสำคัญ ซึ่งทางสมาคมฯ ได้ย้ำให้เกษตรกรระมัดระวังไม่ขายผลผลิตไข่ให้คนแปลกหน้า แต่จะขายให้เฉพาะลูกค้าประจำ” 

ส่วนพื้นที่ภาคอีกสาน นายสุวัฒน์ แพร่งสุวรรณ์ ประธานชมรมไข่ไก่ภาคอีสาน ยอมรับว่า ราคาไข่ในขณะนี้ปรับตัวเพ่มขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้สำหรับผู้กักตัวที่โรงพยาบาลสนามต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากกทม.ที่กลับมารักษาตัวที่ภูมิลำเนาของตนเองมากขึ้น ขณะที่ภาคเหนือ นายอุ่นเรือน ต้นสัก ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด กล่าวว่า ปริมาณไข่ไก่ในพื้นที่ทางภาคเหนือมีเพียงพอกับความต้องการบริโภค ไม่มีปัญหาขาดแคลน และจำหน่ายตามราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด พร้อมขอให้ภาครัฐช่วยดูแลให้ราคาไข่ไก่มีเสถียรภาพ รวมทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกากถั่วเหลืองให้อยู่ในระดับที่เกษตรกรไม่เดือดร้อน

ดีเดย์! คุ้มครองเงินฝาก วงเงิน 1 ล้านบาท คลังยันเป็นไปตามกฎหมาย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.2564 เป็นต้นไป วงเงินคุ้มครองเงินฝากที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้ความคุ้มครองจะกลับเข้าสู่ระดับ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน ซึ่งเป็นวงเงินการคุ้มครองเงินฝากที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยวงเงินความคุ้มครองเงินฝากนี้สามารถคุ้มครองกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศกว่า% 98 จากผู้ฝากเงินทั้งหมดของระบบสถาบันการเงิน ซึ่งพบว่าสัดส่วนของจำนวนผู้ฝากเงินที่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวนตามวงเงินที่กฎหมายกำหนดของประเทศไทยมีความใกล้เคียงกันกับค่าเฉลี่ยสัดส่วนจำนวนผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวนตามกฎหมายของประเทศต่าง ๆ
 
ทั้งนี้ การกำหนดวงเงินความคุ้มครองเงินฝากของไทยเป็นไปตามหลักการสำคัญของระบบการคุ้มครองเงินฝากที่มีประสิทธิผล ซึ่งเป็นหลักการสากล โดยครอบคลุมกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศ และส่งเสริมการสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ระบบการเงินทั้งระบบ ทั้งในส่วนของผู้ฝากเงิน และในส่วนสถาบันการเงิน

สำหรับปัจจุบันสถาบันการเงินในประเทศไทย ยังคงมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ ทั้งในส่วนของระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ระดับ 20% ซึ่งสูงกว่าหลายประเทศในภูมิภาค ประกอบกับการมีสภาพคล่องที่ยังอยู่ในระดับสูง และสามารถรองรับความผันผวนของสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายเวลาวงเงินความคุ้มครองเงินฝากเดิมออกไปอีก 

กนอ. เผยภาพรวมการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม 9 เดือน ปีงบประมาณ 64 พุ่งกว่า 130,000 ล้านบาท โตก้าวกระโดด 138% อีอีซียังเนื้อหอม หลังพบทุนจีน - ญี่ปุ่นแห่ย้ายฐานการผลิตซบไทยอย่างต่อเนื่อง

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2564 (ต.ค.63-มิ.ย.64) มีการชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศชั่วคราว โดยในภาพรวมของนิคมอุตสาหกรรม มียอดขาย/เช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ประมาณ 927.09 ไร่ ประกอบด้วยยอดการขาย/เช่าในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จำนวน 747.99 ไร่ และนอกพื้นที่อีอีซี จำนวน 179.10 ไร่ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49.59 (ปี 2563 ยอดขาย/เช่า ช่วง 9 เดือน อยู่ที่ 1,838.96 ไร่) เนื่องจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงเลื่อนออกไปจากมาตรการจำกัดการเดินทาง

ขณะที่มูลค่าการลงทุนรวมช่วง 9 เดือนปี 2564 คิดเป็นมูลค่า 130,289.44 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เป็นจำนวนร้อยละ 138.27 (มูลค่าการลงทุนปี 2563 อยู่ที่ 54,681.37 ล้านบาท) จากการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นของฐานลูกค้าเดิมในนิคมอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กระบวนการผลิต สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการลงทุน ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักรและอะไหล่

โดยกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกที่นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง ร้อยละ 13.77 อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ ร้อยละ 10.83 อุตสาหกรรมยาง พลาสติก และหนังเทียม ร้อยละ 7.80 อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร และอะไหล่ ร้อยละ 7.01 และอุตสาหกรรมปุ๋ย สี และเคมีภัณฑ์ ร้อยละ 6.05 โดยนักลงทุนจากประเทศจีนให้ความสนใจมาลงทุนมากเป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 15.15 รองลงมา คือ นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 12.12 และสิงคโปร์ เกาหลี และสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 9.09

“ปัจจุบันมีนักลงทุนแสดงความสนใจที่จะซื้อ/เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้า (Warehouse) ที่มีการเติบโตอย่างโดดเด่น เนื่องจากได้รับอานิสงค์เชิงบวกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดต่อเนื่อง ผนวกกับกระแสการย้ายการลงทุนออกจากประเทศจีนของกลุ่มนักลงทุนชาวจีน ญี่ปุ่น และอเมริกามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และประเทศไทยยังมีศักยภาพและความแข็งแกร่งในการรองรับการลงทุนเพื่อเป็นฐานและศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค

รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่มีต่อการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมทุกนิคมฯ ทั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง และนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี โดยเชื่อว่าในช่วงปลายปี 2564 การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมจะดีขึ้น หลังคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะควบคุมการระบาดระลอก 3 ได้ในระดับหนึ่งจากการจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 และสร้างระดับภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวขึ้นได้” นายวีริศฯ กล่าว

สำหรับการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสะสมสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2564 มีจำนวนประมาณ 178,891 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง ประมาณ 37,724 ไร่ และเป็นนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน ประมาณ 141,167 ไร่ เป็นพื้นที่ขาย/ให้เช่า ประมาณ 118,667 ไร่ /เป็นพื้นที่ขาย/ให้เช่าแล้ว ประมาณ 90,972 ไร่ จึงยังคงมีพื้นที่คงเหลือสำหรับขาย/ให้เช่าอีกประมาณ 27,695 ไร่ มีมูลค่าการลงทุนสะสม ประมาณ 4.70 ล้านล้านบาท มีโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 4,944 โรง และมีการจ้างงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 815,942 คน

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) พบว่า ปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าตั้งแต่กลางปี 2561 จนถึงปัจจุบันมีนักลงทุนมาลงทุนในไทยแล้วกว่า 230 โครงการ เงินลงทุนรวม 1.2 แสนล้านบาท ขณะที่ยังมีกลุ่มที่ตัดสินใจขยายการลงทุนในไทย เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามด้านซัพพลายเชน ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่มีพื้นฐานของระบบซัพพลายเชนที่ดีในระดับหนึ่ง อีกทั้งมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการตั้งฐานธุรกิจในระยะยาว


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ปั๊ม 'ปตท. - บางจาก - PT' จัดโปร 'เติมน้ำมัน แจกมังคุด' ช่วยเหลือชาวสวนมังคุด หลังราคารับซื้อตกต่ำอย่างหนัก

9 ส.ค. 64 เพจติดโปร - Pro Addict ได้โพสต์ข้อความ "มังคุดล้นตลาด แค่เติมน้ำมันที่ PTT Station รับฟรี! มังคุด 1 กก."

PTT Station ช่วยเหลือชาวสวนในภาคใต้ รับซื้อมังคุดจากสวนภาคใต้ 100 ตัน แล้วนำมาจัดโปร เติมน้ำมันชนิดใดก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำ รับฟรี! มังคุด 1 กิโลกรัม งานนี้ใครอยากกินมังคุดอร่อย ๆ แบบฟรี แล้วยังได้เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือเกษตรกร หยิบกุญแจ สตาร์ทรถ ไปเติมน้ำมันด่วนเลยย

ตั้งแต่วันที่ 12 - 15 สิงหาคม 2564 หรือจนกว่าของจะหมด เฉพาะสาขาในกรุงเทพฯ และนนทบุรีเท่านั้น

นอกจาก PTT station แล้ว ยังมีปั๊มน้ำมันอื่น ๆ ที่จัดโปรนี้เช่นกัน

โดย PT Station สมาชิก PT Max Card ที่เติมน้ำมันครบ 50 บาท จะได้รับมังคุด 1 กิโลกรัม ฟรี ตั้งแต่วันที่ 9 - 15 สิงหาคม 2564 หรือจนกว่าของจะหมด เฉพาะสาขาที่ร่วมรายการ กรุงเทพฯ ปริมณฑล จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร

ขณะที่ บางจาก เติมน้ำมันทุกชนิด ไม่มีขั้นต่ำ แถมมังคุดครึ่งกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 สิงหาคม 2564 หรือจนกว่าของจะหมด เฉพาะสาขาที่ร่วมรายการในกรุงเทพฯ เท่านั้น


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เชื่อมั่นอุตสาหกรรมยังไม่ฟื้น กกร.ทำหนังสือขอพบ “บิ๊กตู่”

นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ประจำเดือนก.ค. 2564 อยู่ที่ระดับ 78.9 ลดลงจากเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าต่ำสุดในรอบ 4 เดือน โดยมีปัจจัยลบมาจาก สถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ภาครัฐออกมาตรการล็อคดาวน์ในพื้นที่ 13 จังหวัด แต่ยังไม่สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้และยังส่งผลให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ประชาชนมีรายได้ลดลง การแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งทำให้กำลังการผลิตลดลงเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน

เช่นเดียวกับแรงงานในภาคอุตสาหกรรมยังได้รับวัคซีนในสัดส่วนที่น้อย อย่างไรก็ตามก็มีปัจจัยบวกจากภาคการส่งออกที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง จากคำสั่งซื้อและยอดขายต่างประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีทิศทางที่ดีขึ้นจากสัดส่วนประชากรที่ฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นทำให้อุปสงค์ในตลาดต่างประเทศขยายตัวและการอ่อนค่าลงของเงินบาทเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออก

สำหรับการคาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งหากไม่สามารถควบคุมได้จะกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออก มาตรการล็อคดาวน์จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ สถานการณ์โควิด19 ทั่วโลกยังไม่แน่นอนจากสายพันธุ์เดลต้าในหลายประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรวมถึงการส่งออกของไทยในระยะต่อไป

ทั้งนี้ ส.อ.ท. มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ คือ การเร่งตรวจเชิงรุกในกลุ่มพื้นที่สีแดงเข้ม ขอให้ภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนให้แก่แรงงาน ม.33 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานประกอบการ เสนอให้ภาครัฐนำระบบแจ้งเตือนผู้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้เพื่อช่วยป้องกันและติดตามการแพร่ระบาด ให้ภาครัฐดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและเร่งรัดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยเร็ว ๆ นี้ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ในฐานะของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)จะทำหนังสือขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยปลดล็อคเรื่องวัคซีน และค่าใช้จ่ายในการรักษาพนักงานเพื่อให้รัฐช่วยเหลือและเยียวยาเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบในต่อไป

เปิดจีดีพีเกษตรไตรมาส 2 พลิกบวก 1.2% 

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2564 ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2564 ขยายตัว 1.2% ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันก่อน ที่หดตัวถึง 3.1% เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ละช่วงต้นปี 2564 ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้มากขึ้น 

รวมทั้งสภาพอากาศโดยทั่วไปที่เอื้ออำนวย และไม่ประสบปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง ทำให้สถานการณ์การผลิตพืชและปศุสัตว์ดีกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มปริมาณการผลิต โดยแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ทั้งปี 2564 สศก. ยังคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วง 1.7 – 2.7% ตามเดิมที่คาดการณ์ไว้

จากการวิเคราะห์ผลกระทบโควิด-19  พบว่า ภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ โดยผลกระทบที่ได้รับมีสาเหตุหลักมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรที่อ่อนตัวลง เพราะมาตรการ ที่ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น การล็อคดาวน์ และการควบคุมพื้นที่ การจำกัดเปิดร้านค้า และ ร้านอาหารต่าง ๆ โดยผลวิเคราะห์พบว่า กรณีโควิด-19 กระทบ 5 เดือน (เมษายน - สิงหาคม 2564) มูลค่าทางเศรษฐกิจการเกษตรในส่วนของการบริโภคสินค้าเกษตรในประเทศ จะลดลงรวมทั้งสิ้น 13,895 ล้านบาท           


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top