Saturday, 27 April 2024
NEWSFEED

ถ่ายยังไงให้น่ากลัว เทคนิคถ่ายภาพผีด้วย iPhone 13 Pro ใน ‘ผี ตาม คน’ หนังสั้นจากผู้กำกับไทย ‘ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ’ 

ที่ผ่านมาแอปเปิล (Apple) จะเข้าไปทำงานร่วมกับช่างภาพ และผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังในหลากหลายประเทศ เพื่อนำเสนอผลงานทั้งภาพนิ่ง และภาพยนตร์สั้นที่ถ่ายทำด้วย iPhone แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ถูกปรับปรุงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในคราวนี้ถึงเวลาที่ผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยอย่าง ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ ผู้กำกับภาพยนตร์สยองขวัญชื่อดังอย่าง ‘ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ’ ‘แฝด’ ‘สี่แพร่ง’ และ ‘ห้าแพร่ง’ ที่เลือกนำเรื่องราวของผีตาโขน กลับมาถ่ายทอดในอีกมุมมองผ่านเลนส์ของกล้อง iPhone 13 Pro

โดยผลงานเรื่อง ‘ผีตามคน’ นับเป็นภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับผีเรื่องแรกของ Apple และถือเป็นการกลับมากำกับภาพยนตร์อีกครั้งในรอบ 4 ปี เล่าถึงเรื่องราวของ 2 โจรวัยรุ่นที่หนีตำรวจมาพบกับร้านหน้ากากผีตาโขน และนำมาเป็นบทเรียนเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม

นอกจากนี้ ภาคภูมิ ยังยกให้ความสามารถของ iPhone 13 Pro ที่สามารถเก็บรายละเอียดในที่แสงน้อย และโหมดภาพยนตร์ (Cinematic) เป็นไฮไลต์เด่นของ iPhone 13 Pro ที่ทำให้ผลงานชิ้นนี้ออกมาได้อย่างประทับใจ แฝงกลิ่นอายความหลอน และน่ากลัวได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ใครที่ใช้งาน iPhone แล้วอยากตามไปถ่ายภาพแบบหลอนๆ ลองใช้งานเทคนิค และโหมดพิเศษที่มีอยู่แล้วใน iPhone ไปลองทำตามกันได้แบบง่ายๆ โดยเฉพาะการถ่ายภาพในที่แสงน้อยที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของ iPhone 13 Pro

1.) ที่แสงน้อย ใช้มุมกว้างช่วย
ด้วยระบบการถ่ายภาพในที่แสงน้อยของ iPhone 13 Pro ซึ่งถูกออกแบบให้คำนวณสภาพแสงในเวลานั้น และปรับความเร็วชัตเตอร์ในการถ่ายภาพให้เหมาะสม ทำให้การถ่ายภาพในที่แสงน้อยยังสามารถเก็บรายละเอียดได้อยู่ รวมถึงในโหมดถ่ายภาพบุคคลด้วย

ดังนั้น ถ้าใครอยากได้ฟีลบรรยากาศมืดๆ สลัวๆ ลองหยิบ iPhone 13 Pro ขึ้นมา แล้วเลือกปรับลดชดเชยแสงลงสักเล็กน้อย มองหามุมหลอนๆ อย่างการถ่ายภาพผู้หญิงผมยาว ใส่ชุดสีขาว ต้องได้ภาพที่น่าสนใจแน่นอน

ถ้ายังไม่น่ากลัว ลองปรับมุมมองเพิ่มเติมด้วยการใช้เลนส์ Ultra Wide หรือเลนส์มุมกว้าง แล้วถ่ายเสยขึ้น ที่จะทำให้ตัวแบบมีความยิ่งใหญ่ขึ้น ช่วยเปลี่ยนฟีลของภาพให้น่ากลัวขึ้นไปอีก

2.) ถ่ายให้เกิดเงาผีด้วย Long Exposure
อีกลูกเล่นน่าสนใจที่พลาดไม่ได้คือการถ่ายภาพติดวิญญาณ หรือบรรดาภาพถ่ายติดเงาผีทั้งหลาย ที่จะเล่นกับแบบที่มีการเคลื่อนไหว พร้อมนำโหมดอย่าง Long Exposure มาใช้งาน

วิธีการถ่ายก็ง่ายมากๆ แค่ปรับการชดเชยแสงลงให้ได้บรรยากาศสลัวๆ เลือกจับโฟกัสไปในจุดที่ต้องการบันทึกภาพ หลังจากนั้นนับคิวกับแบบให้ขยับในช่วงเวลาที่กดชัตเตอร์

หลังจากนั้น เปิดเข้าไปดูภาพในอัลบั้ม แล้วเปลี่ยนจาก Live view ที่มุมซ้ายบนให้กลายเป็น Long Exposure ก็จะได้ภาพถ่ายติดวิญญาณมาให้ได้เล่นกันแล้ว แน่นอนว่าโหมดนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ถ่ายเส้นสายไฟ หรือน้ำตก เพื่อให้ภาพได้ฟีลที่มีความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมได้ด้วย

3.) Cinematic ปรับอารมณ์ให้หลอนขึ้น
ความสามารถใหม่ที่มาใน iPhone 13 Pro เกี่ยวกับการบันทึกวิดีโอ คงหนีไม่พ้นโหมด Cinematic ที่เปิดให้เราสามารถเลือกสลับโฟกัสระหว่างจุดได้อย่างง่ายดาย แม้ในเวลาถ่าย หรือหลังจากถ่ายแล้วก็สามารถปรับแต่งทีหลังได้

แน่นอนว่าเมื่อนำมาถ่ายวิดีโอผีๆ การเลือกปรับจุดโฟกัสที่แนบเนียนจะช่วยเพิ่มบรรยากาศของความหลอนเข้าไปอีก รวมถึงช่วยนำสายตาในการเล่าเรื่องให้น่าสนใจมากขึ้นด้วย ใครยังไม่ได้ลองเล่นโหมดนี้ห้ามพลาด

สืบสานกว่า 100 ปี!! ‘เครื่องแบบนักเรียน’ เมื่อแรกมีในไทย สู่ความภาคภูมิใจแห่งสถาบันศึกษา 

การแต่งเครื่องแบบมีพื้นฐานจากการแต่งตัวให้เข้ากับกาลเทศะ ความเหมาะสมของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เครื่องแบบของนักเรียนชายส่วนใหญ่ ประกอบด้วยกางเกงขาสั้นหรือกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ตสีขาว ขณะที่เครื่องแบบนักเรียนหญิงจะต่างกันในแต่ละประเทศและระบบการศึกษาของโรงเรียน อีกทั้งมีการออก พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน มาบังคับใช้ด้วย เพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย และเป็นการคุ้มครอง มิให้บุคคลอื่นใดแต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่มีสิทธิที่จะแต่ง

โรงเรียนในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นก็ทรงให้มีโรงเรียนสำหรับสามัญชนตามมา และได้มีพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน ปี 2482 ออกมาบังคับใช้

หลังจากใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน พบว่าบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงยกเลิกพระราชบัญญัติฯ ปี 2482 แล้วให้ใช้ พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 แทน โดยกำหนดให้มีเครื่องแบบนักเรียนไว้เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อประโยชน์ในการประหยัดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย

สำหรับวิวัฒนาการของเครื่องแบบนักเรียนไทย ดร.อาทร จันทวิมล อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษาหอประวัติศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการได้เคยให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ยุคแรกของการศึกษาไทย การเรียนการสอนมีขึ้นที่วัดโดยพระเป็นผู้สอนหนังสือ ต่อมาเมื่อมีโรงเรียนหลวง โรงเรียนราษฎร์ เกิดขึ้น ก็มีการบังคับใช้ เครื่องแบบนักเรียน ตามมา

ส่วนที่มาของเครื่องแบบนักเรียน พบว่าในปี ค.ศ.1846 ได้ปรากฏภาพเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดของอังกฤษ (โอรสพระราชินีวิคตอเรีย) ทรงแต่งชุดกะลาสีเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ ชุดดังกล่าวจึงกลายเป็นที่นิยมของเด็กๆ ทั่วโลก จากนั้นมีการนำชุดกะลาสีไปเป็นแบบฟอร์มชุดนักเรียนในสหรัฐอเมริกา และแพร่ขยายต่อไปยังเยอรมนี  ญี่ปุ่น และประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยเรามีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย อาทิ ในยุคหนึ่ง เครื่องแบบนักเรียนไทยในยุคหนึ่งต้องสวมหมวกด้วย โดยเกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นหมวกที่ทำด้วยวัสดุหลายรูปแบบ ฯลฯ ถือว่าเป็นยุคที่นักเรียนสวมหมวกเป็นเครื่องแบบเป็นยุคแรก 

บางโรงเรียนใช้เครื่องแบบเป็น "ชุดราชปะแตน" นอกจากนี้ยังพบว่ามีบางโรงเรียนมีเครื่องแบบนักเรียนคล้ายชุดทหาร นั่นคือ "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" เนื่องจากโรงเรียนนี้มีจุดเริ่มต้นจากโรงเรียนในพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นโรงเรียนเป็นการฝึกหัดบุคคลเข้ารับราชการทหาร เครื่องแต่งกายจึงใช้แบบทหาร

ต่อมาโรงเรียนถูกเปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน เครื่องแต่งกายของนักเรียนจึงเปลี่ยนไป โดยในยุคแรกเครื่องแบบนักเรียนใช้เป็น "เสื้อราชปะแตน นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมถุงเท้ายาวสีขาวพับขอบบน รองเท้าหนังสีดำ"

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เครื่องแบบโรงเรียนนี้ได้ปรับเปลี่ยนเป็นกางเกงตัดเป็นจีบ รูดเลยหัวเข่าคล้ายโจงกระเบน ต่อมาเปลี่ยนรูปแบบเป็นกางเกงขาสั้นแคบสีดำ เสื้อคงเดิม และสวมหมวกยาวปีกกลมคาดแถบผ้าสีเหลือง ตรงกลางหน้าหมวกมีเข็มกลัดโลหะอักษร สก. จากนั้นเครื่องแบบนักเรียนถูกเปลี่ยนอีกครั้ง กลายเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงขาสั้นสีกากี และพัฒนามาเป็นกางเกงขาสั้นสีดำ

‘ราวปันสุข ปีที่ 2’ โครงการแบ่งปันชุดนักเรียน โดย หจก.กนกวรรณบูติค นครสวรรค์ 

เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ห้วงก่อนเปิดเทอมนี้ บริเวณหน้าร้าน หจก.กนกวรรณบูติค ร้านขายชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนรายใหญ่ของนครสวรรค์คึกคัก มีผู้ปกครองจูงลูก-หลานมาเลือกซื้อชุดนักเรียนกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากต้องเลื่อนเปิดเทอมป้องกันโควิดระบาดกันทั้งประเทศ

แต่ด้วยเสื้อผ้านักเรียน-อุปกรณ์บางอย่างมีการปรับราคาขึ้นแล้วชิ้นละประมาณ 5-10 บาท เพราะด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ลดจำนวนการซื้อชุดใหม่แค่ 1-2 ชุดต่อคนเท่านั้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากยังต้องซื้อชุดพละและชุดลูกเสือด้วย

ขณะที่ทางร้านฯ ได้จัดโครงการ “ราวปันสุข ปีที่ 2” เชิญชวนพ่อแม่ผู้ปกครอง-ผู้ใจบุญนำเสื้อผ้าชุดนักเรียนที่อยู่ในสภาพดีมาร่วมบริจาค ก่อนคัดแยกตั้งราวแขวนไว้ให้พ่อแม่ผู้ปกครองมาเลือกหยิบกลับไปให้ลูกหลานใช้ในภาคเรียนใหม่ที่จะถึงนี้ เพื่อลดภาระให้แก่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยอีกทางหนึ่ง

รู้จักไหม? กระทรวงแพทยาคม กระทรวงการไสยเวทย์ของไทย !!!!

รู้กันรึเปล่า? ว่าในอดีตนั้นประเทศไทยของเรานั้นเคยมีกระทรวงเวทมนตร์นะ แต่ไม่ได้ใช้ชื่อ กระทรวงเวทมนตร์ นะ แต่ในตอนนั้นประเทศไทยเราใช้ชื่อ กระทรวงแพทยาคม หรือบางบันทึกเรียกว่า ศาลกระทรวงแพทยา ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวกับสอบสวนพิจารณาโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการกระทำทางไสยศาสตร์โดยเฉพาะ

กระทรวง แพทยาคม คืออะไร?
แพทยาคม นั้นมาจากคำว่า แพทย และ อาคม รวมกัน โดยคำว่า แพทย มีความหมายว่า หมอรักษาโรค ส่วนคำว่า อาคม มีความหมายว่า เวทมนตร์ รวมกันมีความหมายว่า หมอรักษาโรคเกี่ยวกับเวทมนตร์

กระทรวงแพทยาคม ตามประวัติศาสตร์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเกิดขึ้นสมัยใด แต่ถูกกล่าวถึงในหลายรัชสมัย เช่น พระเจ้าอู่ทอง พระเจ้าทรงธรรม แต่ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ได้ปรากฏบันทึกว่า กระทรวงแพทยาคม มีไว้เพื่อชำระคดีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคุณไสย เสน่ห์ยาแฝด ฝังรูปด้วยวิทยาคมเอาไว้ โดย วิทยาคม มาจาก วิทย และ อาคม รวมกัน โดยคำว่า วิทย มีความหมายว่า ความรู้ ส่วนคำว่า อาคม มีความหมายว่า เวทมนตร์ รวมกันจึงมีความหมายว่า ความรู้เกี่ยวกับเวทมนตร์ (ส่วน วิทยาคม ที่เห็นในชื่อโรงเรียนนั้น คำว่า อาคม มีอีกความหมาย คือ การมาถึง ดังนั้น วิทยาคม, พิทยาคม ในชื่อโรงเรียน จึงมีความหมายว่า การมาถึงของความรู้)

เด็กๆ พร้อมมั้ย!! เปิดเทอมใหม่ปี 65 เจอโควิด ไม่ต้องปิดโรงเรียน

วันที่ 3 พ.ค. 65 ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 นี้ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ปรับเปลี่ยนมาตรการการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อการเรียนรู้ที่ดีในโรงเรียนของเด็กไทยต่อไป โดยในวันนี้ได้มีการประชุมชี้แจงมาตรการเปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19 ในสถานศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ด้วยหลักการพื้นฐานก็คือ 3T 1V “ตัดความเสี่ยง เพิ่มภูมิคุ้มกัน” มาตรการ 6-6-7 เป็นสิ่งที่ยังคงเน้นย้ำ ส่วนโรงเรียนประจำ ต้องดำเนินการตาม Sandbox Safety zone in School โดยเน้นย้ำพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และศึกษาธิการจังหวัดให้ดำเนินการ เพื่อให้เด็กไทยสามารถเรียนรู้ที่โรงเรียนได้เต็มที่ ตามมาตรการต่อไปนี้คือ

1.) เร่งรัดการฉีดวัคซีน เพื่อให้นักเรียนได้รับวัคซีนตามความสมัครใจให้ครอบคลุม 
2.) สถานศึกษา ต้องเข้ารับการประเมิน Thai Stop COVID Plus โดยต้องผ่านการประเมินมากกว่าร้อยละ 95 
3.) เน้นย้ำการทำตามแผนเผชิญเหตุ เมื่อเจอผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงไม่ดำเนินการปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียน เป้าประสงค์นักเรียนควรได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ที่โรงเรียน 
4.) เน้นย้ำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ปฏิบัติตามมาตรการ โดยมอบหมายให้ศูนย์อนามัยในเขตสุขภาพเป็นพี่เลี้ยง

“ในส่วนของแผนเผชิญเหตุ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นี้ หากพบผู้ติดเชื้อในโรงเรียนประจำให้แยกกักตัวที่โรงเรียน (School Isolation) ตามมาตรการ Sandbox: Safety Zone in School (SSS) สำหรับโรงเรียนไป - กลับ ให้ปฏิบัติตามมาตรการการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข หรือพิจารณาจัดทำ School Isolation โดยคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานสาธารณสุข ผู้ปกครอง ชุมชน พิจารณาร่วมกันให้ความเห็นชอบตามความเหมาะสม จุดเน้นที่แตกต่างเมื่อพบผู้ติดเชื้อในห้องเรียน คือ ให้ทำความสะอาดห้องเรียน ตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข แล้วดำเนินการเรียนการสอนได้ตามปกติ ส่วนจุดเน้นที่แตกต่างเมื่อพบผู้สัมผัสเสี่ยงสูงคือ ถ้านักเรียนได้วัคซีนครบตามแนวทางปัจจุบัน และไม่มีอาการ ไม่แนะนำให้กักกัน พิจารณาให้เข้าเรียนได้โดยพิจารณาร่วมกันระหว่างครอบครัว สถานบริการสาธารณสุข และสถานศึกษา กรณีไม่ได้รับวัคซีน ให้แยกกักกัน (Self-quarantine) เป็นเวลา 5 วัน และติดตามเฝ้าระวังอีก 5 วัน รวมเป็น 10 วัน ทั้งนี้ หากมีอาการ ให้ตรวจคัดกรอง ATK ทันที หากไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องตรวจ ATK โดยผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แนะนำให้ตรวจ ATK ในวันที่ 5 และวันที่ 10 หลังจากสัมผัสผู้ติดเชื้อ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว

ทางด้าน ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 สิ่งที่ทุกสถานศึกษาต้องทำ คือ การประเมินตนเองในระบบ Thai Stop COVID Plus ซึ่งเป็นมาตรการของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข การประเมินนี้จะมีการประเมินอยู่ 44 ข้อ ทั้งในแง่ของการเตรียมการ และการจัดการด้านกายภาพ ส่งไปยังคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้เปิดเรียนได้ เมื่อเปิดเรียนในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ทุกสถานศึกษาต้องดำเนินงานตามมาตรการ 6-6-7 และประเมินตนเองผ่าน “ไทยเซฟไทย” 

ซึ่งสิ่งที่แตกต่างระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คือ การเว้นระยะห่างในห้องเรียน จะเหลือ 1 เมตร จาก 1.5 เมตร เพราะฉะนั้น ห้องเรียนปกติที่มีขนาด 8 X 8 เมตร สามารถจัดโต๊ะเรียนได้ 7 แถว ๆ ละ 6 ที่นั่ง รวม 42 คน ซึ่งโดยปกติ 1 ห้องเรียนจะมีนักเรียนประมาณ 40 คน ไม่มีปัญหาในเรื่องการเว้นระยะห่าง แต่อาจจะมีปัญหาในโรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งเท่านั้น ที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ บางห้องอาจจะมีขนาด 6 X 8 เมตร และสิ่งสุดท้ายที่มีความแตกต่าง คือ บางโรงเรียนเป็นการเรียนในห้องปรับอากาศ ต้องมีการเปิดระบายอากาศ ทุก 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 นาที ในช่วงพัก สำหรับโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อในโรงเรียน คือ การถอดหน้ากาก กินข้าวร่วมกัน สนทนาระหว่างกันโดยไม่สวมหน้ากาก ดังนั้น ในโรงอาหารควรมีการแยกสำรับกับข้าว แยกพื้นที่งดการพูดคุย ขณะกินอาหาร และเมื่อมีการเล่นร่วมกัน ควรสวมหน้ากากตลอดเวลา 

แต่ถ้ามีการแพร่ระบาดในโรงเรียน ขอให้ทุกสถานศึกษาดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ เช่น หากพบผู้ติดเชื้อเข้าไปเรียนให้ปิดทำความสะอาด 3 วัน แล้วเปิดเรียนตามปกติ โดยสิ่งที่น่ากังวล คือ ถ้ามีผู้ติดเชื้อมากกว่า 5 คน มีการแพร่กระจายมากกว่า 2 ห้อง ทางโรงเรียน ต้องประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อเข้ามากำกับดูแล ระงับการแพร่ระบาดต่อไป

ทางด้าน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการเปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด 19 ในสถานศึกษา รับเปิดเทอม On-Site ตามมาตรการความปลอดภัย 3T 1V ประกอบด้วย T : Thai Stop COVID Plus (TSC+) : โรงเรียนต้องประเมินตนเอง เตรียมความพร้อม ก่อนเปิดเรียน T : Thai Save Thai (TST) : นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาประเมินความเสี่ยงตนเองเป็นประจำ T : Test : เฝ้าระวังอย่างเหมาะสม ตรวจคัดกรอง เช่น ATK เมื่อมีความเสี่ยง หรือ เมื่อมีอาการ 

นวัตกรรมจาก MIT ลำโพงกระดาษ ‘เพียโซอิเล็กทริก’ แปะผนังฟังเพลงได้ทันที

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการสร้างสีสันให้กับชีวิต คือ ลำโพง (Speaker) ซึ่งใช้ในการขับเสียงอันไพเราะของเพลงให้คุณได้เพลิดเพลินตลอดทั้งวัน ซึ่งอาจถูกออกแบบให้อยู่ในรูปทรงกลม, ทรงกระบอก หรือลูกบาศก์ แต่คุณอาจจะนึกไม่ถึงว่า ณ เวลานี้มีการประดิษฐ์ลำโพงที่บางราวกับกระดาษได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย

โครงสร้างหลักในการก่อกำเนิดเสียงของลำโพง คือ แผ่นเมมเบรน เสียงในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จะถูกแปลงให้กลายเป็นแรงสั่นสะเทือน เมื่อแผ่นเมมเบรนสั่นจะเกิดแรงกระทบต่ออากาศที่อยู่โดยรอบ ทำให้เกิดคลื่นเสียงกระจายมายังหูของผู้ฟังในที่สุด 

ล่าสุด วิศวกรจากสถาบัน MIT ได้พัฒนาลำโพงที่มีความบางราวกับกระดาษ โดยเลือกใช้วัสดุที่เรียกว่า เพียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric materials) ซึ่งสามารถเกิดการสั่นสะเทือนได้เมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า และจะสามารถให้แรงสั่นสะเทือนที่แตกต่างกันไปตามกระแสไฟฟ้าที่ส่งเข้ามา

ทั้งนี้ เนื่องจากการสร้างเสียงของลำโพงเกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือน ทำให้แผ่นเมมเบรนกำเนิดเสียงต้องถูกจัดวางในตำแหน่งที่สามารถสั่นสะเทือนได้อย่างอิสระภายในลำโพง นี่จึงเป็นเหตุผลที่การออกแบบลำโพงจึงต้องมีมิติ เพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นเมมเบรนกระทบกับพื้นผิว เพราะอาจทำให้เสียงได้ยินไม่ชัดเจนหรือไม่สามารถสร้างเสียงออกมาได้

ทว่า ในกรณีของลำโพงกระดาษนี้ ทางวิศวกรเคลมว่าพวกมันสามารถนำไปติดตั้งที่พื้นผิวต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบโดยไม่ทำให้แรงสั่นสะเทือนลดลง นั่นหมายความว่าคุณสามารถสร้างห้องที่มีผนังบุด้วยลำโพงกระดาษเหล่านี้ได้ รวมถึงยังสามารถออกแบบลำโพงกระจายเสียงที่มีลักษณะเหมือนใบธงแขวนให้ลู่ลมอยู่หน้าบ้านได้ด้วย

14 ตัวสุดท้าย!! ‘โลมาอิรวดี’ แห่งทะเลสาบสงขลา นับถอยหลังสู่วันสูญพันธุ์

จากกรณีที่ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขียนในเฟซบุ๊กระบุว่า ทะเลสาบสงขลาคือสถานที่แห่งแรกในโลกที่โลมาอิรวดีในน้ำจืดจะสูญพันธุ์ โดยขณะนี้เหลืออยู่เพียง 14 ตัว จากเดิมที่เคยมีอยู่ 100 กว่าตัว โลกนี้มีโลมาอิรวดีอยู่ในน้ำจืดเพียง 5 แห่ง อินเดีย 140 ตัว อินโดนีเซีย 90 ตัว พม่า 80 ตัว กัมพูชา 90 ตัว และไทย 14 ตัว

"ทะเลสาบสงขลาคือสถานที่แห่งแรกในโลกที่โลมาอิรวดีในน้ำจืดจะสูญพันธุ์ มันไม่มีอะไรจะเถียงได้ด้วยตัวเลขที่เห็น เพื่อนธรณ์บางคนอาจบอกว่า ลาวสูญพันธุ์ไปก่อนแล้วนะ ดร.ก้องเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญสัตว์ทะเลหายากของไทย อธิบายให้ผมฟัง ประชากรโลมาในแม่น้ำโขงของลาว/กัมพูชา เป็นกลุ่มเดียวกัน ว่ายไปว่ายมา หากเราอนุรักษ์ในกัมพูชาไว้ได้ ในอนาคตยังมีหวังที่โลมาจะกลับเข้าไปในลาว ผิดจากทะเลสาบสงขลา ผิดกันที่ว่า ของเราจบแล้ว…จบเลย ไม่มีมาจากไหนอีก ปิดฉากสุดท้ายของประวัติศาสตร์ 6,000 ปี"

ผศ.ดร.ธรณ์ ระบุว่า อะไรคือ 6 พันปี นานมาแล้ว ระดับน้ำทะเลในแถบนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ จนสูงสุดเมื่อ 6 พันปีก่อน โลมาอิรวดี สัตว์เฉพาะเขตอินโดแปซิฟิก หากินตามชายฝั่งไปทั่ว โลมาฝูงหนึ่งเข้ามาอยู่ในทะเลเหนือแผ่นดินพัทลุง/สงขลา ระดับน้ำทะเลเริ่มลดต่ำลง จนทะเลกลายเป็นทะเลสาบ เหลือเพียงช่องแคบๆ ที่ยังเชื่อมต่ออยู่กับทะเลข้างนอก แต่โลมายังมีความสุขอยู่ในทะเลสาบที่นี่ไม่มีผู้ล่าลูกๆ ของพวกเธอ ยังมีปลากินเยอะแยะเลย ทะเลสาบสงขลาในสมัยก่อนที่สมบูรณ์สุดขีด โลมาออกลูกหลานจนเป็นร้อยๆ ตัว แล้วมนุษย์ก็เข้ามา สมัยก่อน ความต้องการไม่มาก โลมายังมีความสุข พวกเธอว่ายไล่เลาะเลียบเรือลำน้อยของชาวประมง เราอยู่ด้วยกันได้ ทว่า…คนมีมากขึ้น จับปลามากขึ้น

‘อุ๊ กรุงสยาม’ ยกพระเครื่องไทย อีกหนึ่ง Soft Power ต่างชาติตอบรับ สร้างมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ หรือ ‘อุ๊ กรุงสยาม’ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึง ‘พระเครื่อง’ คือ Soft Power อีกอย่างของไทย ที่คนจีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง สนใจและคนไทยจำนวนมากทั่วประเทศ มีมูลค่าการตลาดหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

การสักยันต์ ฝรั่งชอบ แม้แต่แองเจลลิน่า โจลี่ ยังสักยันต์กับอาจารย์หนู

ฮ่องกง, จีน, มาเลย์, สิงคโปร์ มีศูนย์พระเครื่องไทยมานานหลายปีแล้ว

พระเกจิไทย รวมถึงฆราวาสที่ดูทรงแบบขลังๆ ไทย เดินสายไปทำมาหากินในต่างประเทศนำเงินเข้ามาปีละไม่น้อย

คนจีน มาไลฟ์สดขายพระผ่าน โซเชี่ยล ของจีน แล้วรับออเดอร์กันสดๆ รวมถึงพิธีปลุกเสกพระใหม่ ให้คนจีนได้ชมกันสดๆ พระใหม่วันนี้ ต้องทำโบรชัวร์ภาษาจีนกันแล้ว

คนจีน มาเปิดศูนย์พระเครื่องในไทยกันบนพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วานกันเป็นปี

‘ญี่ปุ่น’ พัฒนา 'ตะเกียบเสริมเค็ม' ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพ ลดโซเดียมก็อร่อยได้

หลังจากพัฒนาจอทีวีรับรสไปแล้ว นักวิจัยชาวญี่ปุ่นคนนี้ยังได้คิดค้นตะเกียบเสริมรสเค็ม หวังช่วยคนลดโซเดียม

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ศาสตราจารย์โฮเมอิ มิยาชิตะ จากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาตะเกียบไฟฟ้าที่ช่วยเสริมรสชาติเค็ม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดการบริโภคโซเดียมแต่อาหารยังคงมีรสเค็มอยู่

ซึ่งนับว่าตอบโจทย์ชาวญี่ปุ่นที่มักบริโภคอาหารรสเค็ม โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่นบริโภคเกลือประมาณ 10 กรัมต่อวัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 2 เท่า

การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไปเป็นสาเหตุหนึ่งของความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้จึงจำเป็นต้องลดปริมาณเกลือที่เราบริโภคลง แต่การทำเช่นนั้นทำให้เราต้องทนกินอาหารที่ไม่อร่อย หรือรสชาติไม่ถูกปาก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top