Tuesday, 21 May 2024
กภ.คณิต คล้ายแจ้ง

6 ท่า ‘บริหารสมอง’ ห่างไกลอัลไซเมอร์

“สมอง” เป็นอวัยวะสำคัญของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนนับแสนล้านเซลล์ที่มีการเชื่อมโยงต่อกันด้วยความสลับซับซ้อน สมองเป็นอวัยวะที่มีความยืดหยุ่น ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ตลอดเวลา ยิ่งเซลล์สมองได้รับการฝึกฝนก็ยิ่งทำให้มนุษย์มีความฉลาดในการแก้ปัญหามากขึ้น แต่หากสมองได้รับความเสียหายจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ได้รับสารพิษหรือมลภาวะ อาจส่งผลให้การเรียนรู้ช้าลง มีปัญหาเรื่องความจำหรือการแก้ปัญหา โดยเมื่อเกิดโรคทางสมองมักส่งผลรุนแรงต่อร่างกาย

สมองแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
สมองส่วนหน้า (Forebrain) เป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับข้อมูล รวมทั้งการประมวลผลทางประสาทสัมผัส เช่น การมองเห็น, ภาษา, การสื่อสาร, ความคิด, ความจำ, การตัดสินใจ, การวางแผน, ความมีเหตุผล

สมองส่วนกลาง (Midbrain) มีหน้าที่รับส่งกระแสประสาทระหว่างสมองส่วนหน้าและสมองส่วนท้าย ทั้งยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้การมองเห็น, การเคลื่อนไหวของลูกตา และการได้ยิน

สมองส่วนท้าย (Hindbrain) มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อขณะเคลื่อนไหว, ควบคุมการหายใจ, ช่วยประมวลการรับรู้และควบคุมการสั่งงานของสมอง

จะเห็นได้ว่าสมองมีความสำคัญกับระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นการบริหารสมองจึงมีส่วนช่วยให้การเคลื่อนไหว ความคิด ความจำ อารมณ์และการแสดงออกต่าง ๆ เป็นปกติ

เทคนิคการบริหารสมอง 6 ท่า

ท่าที่ 1 ฝึกหายใจ
ในท่านั่งผ่อนคลาย นำมือวางไว้ที่บริเวณใต้ลิ้นปี่ หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ กลั้นลมหายใจสุดท้ายค้างไว้ 3 วินาที แล้วหายใจออกทางปากช้า ๆ ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง สมองจะได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ ช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น

ท่าที่ 2 นวดขมับ
ใช้ปลายนิ้วนวดคลึงบริเวณขมับเบา ๆ 30 วินาที ท่านี้ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียดและกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวา

ท่าที่ 3 นวดไหปลาร้า
ใช้ปลายนิ้วนวดคลึงบริเวณไหปลาร้าเบา ๆ 30 วินาที ท่านี้ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่สมองดีขึ้น

เจ็บแล้วไม่จบ! ภาวะ “Long covid” อาการเรื้อรังของคนเคยติดโควิด-19 ที่ยังต้องฟื้นฟู!!

Long covid หรือโควิดเรื้อรัง คือ อาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) แม้ว่าร่างกายจะปลอดเชื้อโควิดแล้ว แต่อาการเจ็บป่วยเรื้อรังนี้จะคงอยู่ยาวนานมากกว่า 12 สัปดาห์ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) ลงสู่ปอดหรือมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

สาเหตุของ Long covid
> การติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) ลงปอด ส่งผลให้ปอดทำงานหนัก ปอดสูญเสียความยืดหยุ่น ส่งผลให้แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่เต็มที่
> ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง
> ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพราะต้องถูกกักตัวเป็นเวลานาน
> ภาวะเครียดกังวลทางจิตใจ

อาการของ Long covid
> รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
> หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม เจ็บแน่นหน้าอก
> มีปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่นและการรับรสชาติ
> ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่อต่าง ๆ 
> ท้องเสีย ปวดท้อง ความอยากอาหารลดลง
> ผื่นขึ้น ผมร่วง
> นอนไม่หลับ มีปัญหาด้านความจำ ขาดสมาธิ เครียด วิตกกังวล

ภาวะแทรกซ้อนจาก Long covid
> กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
> สมองล้า
> โรคนอนไม่หลับ
> โรคปวดเรื้อรัง
> กล้ามเนื้ออ่อนแรง

การฟื้นฟูสำหรับผู้ที่มีภาวะ Long covid
1.) การฝึกหายใจโดยใช้กระบังลม
ประโยชน์ : ช่วยให้ปอดขยายเต็มที่ เพิ่มออกซิเจนสู่ร่างกายและช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
วิธีการ
-    นั่งหลังตรงในท่าทางผ่อนคลาย
-    มือทั้ง 2 ข้างวางไว้ที่หน้าท้อง (บริเวณใต้ลิ้นปี่)
-    หายใจเข้าทางจมูกให้เต็มที่ ลึก ๆ ยาว ๆ ระหว่างทำจะรู้สึกว่าหน้าท้องป่องขึ้น
-    หายใจออกทางปากช้าๆ ยาวๆ 
-    ฝึกหายใจ 3-5 รอบต่อครั้งแล้วพัก 1 นาที ทำได้บ่อยเท่าที่ไม่รู้สึกเหนื่อย

อยู่บ้านนาน แต่ร่างห้ามพัง!! จัดท่านั่ง Work From Home อย่างไร? ไม่ให้เสียสุขภาพ

ด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หลายออฟฟิศปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน จากเดิมที่พนักงานทุกคนต้องนั่งทำงานในออฟฟิศ ก็เปลี่ยนมาเป็น Work From Home คือสามารถทำงานหรือประชุมผ่านโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์จากที่ใดก็ได้ ซึ่งภาวะเหล่านี้น่าจะส่งผลกระทบกับพวกเราทุกคนไปอีกนานจนกว่าการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะดีขึ้น

อย่างไรก็ตามการนั่งทำงานผ่านโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ รวมทั้งการจัดระเบียบร่างกายที่ไม่ถูกต้องย่อมทำให้เกิดการเมื่อยล้า และนำไปสู่อาการปวดเมื่อยได้ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ โดยอาการปวดเมื่อยดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าการทำงานที่ออฟฟิศในสถานการณ์ปกติ ดังนั้นหากมีการจัดท่าทางที่เหมาะสมขณะใช้โน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ จะมีส่วนช่วยคลายความเจ็บปวดจากการ Work From Home ได้

สำรวจตัวเองกันหน่อย
คุณกำลังนั่งท่าแบบนี้หรือเปล่า ??

ท่านั่งที่ไม่เหมาะสม : ไหล่ห่อ หลังค่อม ศีรษะยื่นไปข้างหน้า เท้าลอยจากพื้น
ระดับความสูงของที่พักแขนไม่เท่ากับความสูงของโต๊ะ ส่งผลให้เกิดภาวะเกร็งของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ 

การจัดระเบียบร่างกายที่เหมาะสมขณะนั่งทำงาน

ศีรษะ ตั้งตรง ไม่ก้มหรือเงยจนเกินไป ควรวางหน้าจอให้อยู่ในระดับสายตา ห่างออกไประมาณ 2.5 ฟุต 

คอ ตั้งตรงแล้ว ไม่เอียงคอหรือหันไปด้านใดด้านหนึ่ง

หลัง นั่งพิงพนักเก้าอี้ ไม่แอ่นหรืองอหลัง อาจมีหมอนใบเล็ก ๆ รองรับส่วนโค้งบริเวณหลังส่วนล่าง

แขนและข้อศอก แขนแนบชิดกับลำตัว วางแขนลงบนที่พักแขนให้แขนทำมุม 90 องศา ข้อศอกและข้อมือควรอยู่ในระนาบเดียวกัน 

ขา วางต้นขาแนบชิดไปกับที่นั่ง และปล่อยขาลงไปให้เท้าแนบพื้น 

เข่า งอเข่า 90 องศา  

เท้า วางเท้าบนพื้นให้เต็มฝ่าเท้า ถ้าหากเท้าไม่ถึงพื้นให้หาอะไรมารองหรือปรับระดับเก้าอี้ลง

มาดู 9 ข้อควรปฏิบัติง่าย ๆ ขณะนั่งทำงาน แล้วลองไปปรับใช้กันดูดีกว่า 

1.) นั่งทำงานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่ควรให้แสงสะท้อนจากภายนอกสะท้อนเข้าตาโดยตรง ควรใช้แสงไฟแบบเดย์ไลท์หรือไฟสีขาว

2.) ปรับสภาพแวดล้อมโต๊ะทำงานให้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กอยู่ทางด้านหน้าและปรับให้หน้าจออยู่ในระดับเดียวกับสายตา

3.) เลือกเก้าอี้ที่มีเบาะที่นั่งสามารถรองรับต้นขาได้พอดีและมีที่พักแขนอยู่ในระดับเดียวกับโต๊ะ

4.) ปรับระดับความสูงเก้าอี้ให้พอเหมาะ เมื่อนั่งแล้วเข่างอทำมุม 90 องศา เท้าวางบนพื้นได้เต็มฝ่าเท้า หากเท้าไม่ถึงพื้นสามารถหาที่พักเท้ามาวางได้

5.) ไม่วางเมาส์หรือคีย์บอร์ดไกลเกินไปเพราะทำให้ต้องเอื้อมแขนหรือก้มหลัง

6.) ขณะนั่งทำงานควรนั่งหลังชิดพนักพิงหรือพิงเอนหลังเล็กน้อย

7.) ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก 45-50 นาที 

8.) พักสายตาจากหน้าจอบ้าง การจ้องหน้าจอนาน ๆ ทำให้ตาแห้ง ลองกระพริบตาถี่ ๆ หรือมองออกไปในระยะไกล

9.) หมั่นยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า แขน ไหล่

.

เขียนโดย: กภ.คณิต คล้ายแจ้ง นักกายภาพบำบัด ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช


ข้อมูลอ้างอิง
https://www.bangkokhospital.com/content/work-from-home-and-office-syndrome
https://www.ergonomicshelp.com/blog/working-from-home-ergonomics
https://www.bbc.com/worklife/article/20200508-how-to-work-from-home-comfortably-ergonomic-tips-covid-19

‘นิ้วล็อก’ เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่ไม่สามารถ ‘งอ’ หรือ ‘เหยียด’ ได้อย่างปกติ ต้องใช้นิ้วมือด้านตรงข้ามมาแกะนิ้วที่ล็อกออกจนเกิดเสียงดัง ‘กึ้ก’

ในโลกยุคดิจิทัล เพียงใช้ปลายนิ้วสัมผัสก็สามารถเนรมิตทุกสิ่งได้ตามที่ต้องการ ผลที่ตามมาคือมีผู้ประสบปัญหา ‘นิ้วล็อก’ จำนวนมากขึ้นและที่สำคัญคือช่วงอายุที่เป็นน้อยลง เนื่องจากการใช้งานของนิ้วมือที่เปลี่ยนไป จากที่เคยใช้นิ้วกดแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ พัฒนาเป็นการแตะเลื่อนหน้าจอโทรศัพท์มือถือแทน นอกจากนี้ยังติดเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานอีกด้วย จึงส่งผลให้ชะลอการเจริญเติบโตทางโครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อในร่างกาย วัยรุ่นหลายคนมีอาการกระดูกสันหลังคด หลังค่อม เสียบุคลิกภาพ และเมื่อถึงวัยทำงานก็อาจเกิดออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

‘นิ้วล็อก’ เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่ไม่สามารถ ‘งอ’ หรือ ‘เหยียด’ ได้อย่างปกติ ต้องใช้นิ้วมือด้านตรงข้ามมาแกะนิ้วที่ล็อกออกจนเกิดเสียงดัง ‘กึ้ก’ คล้ายเสียงไกปืนลั่น อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว หากเป็นมาก นิ้วอาจค้างอยู่ในท่างอ(ท่าเหนี่ยวไกปืน) พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 3 - 4 เท่า และ พบในนิ้วมือข้างที่ถนัดมากกว่า

ใครที่เสี่ยงต่อการเป็น ‘นิ้วล็อก’ !?!

•    แม่บ้านที่ชอบหิ้วถุงพลาสติกหนักๆเวลาจ่ายตลาด หรือ ทำอาหาร
•    ชอบยกของหนัก เช่น หม้อแกง กะละมังใส่น้ำจนเต็ม
•    ทำอาชีพรับจ้างซักผ้า หรือ ต้องบิดผ้า โดยมักจะเป็นนิ้วล็อกที่นิ้วชี้
•    แม่ค้าขายข้าวแกงที่ต้องใช้ตะหลิวหรือทัพพีทำกับข้าวปริมาณเยอะ ๆ
•    นักเรียน นักศึกษา ต้องจับดินสอปากกาบ่อย ๆ หรือ อาชีพนักเขียน จิตรกร
•    เล่นเกม หรือ พิมพ์งานด้วยคอมพิวเตอร์
•    นักกีฬาประเภทที่ต้องออกแรงกำมือมากกว่าปกติ เช่น กอล์ฟ เทนนิส ปิงปอง หรือ แบดมินตัน
•    ทำอาชีพที่ต้องใช้มือทำงานหนัก ๆ ซ้ำ ๆ เช่น ช่างที่ต้องใช้ไขควง ใช้เครื่องเจาะถนน คนส่งน้ำ คนส่งแก๊ส คนสวนที่ต้องใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้, ใช้จอบเสียมขุดดิน
•    ทำอาชีพขายเนื้อสัตว์ จะมีการใช้มือซ้ำๆในการสับเนื้อสัตว์
•    ทันตแพทย์
•    ช่างงานฝีมือเย็บปักถักร้อย ช่างตัดเสื้อผ้า
•    ช่างตัดผม ช่างทำผม

ความเสี่ยงต่าง ๆ ล้วนเกิดจากการใช้งานนิ้วมือซ้ำ ๆ ทำให้เอ็นในนิ้วมือเสียดสีกับอุโมงค์หุ้มเอ็นในขณะใช้งานครั้งแล้วครั้งเล่า เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบซ้ำ ๆ เอ็นในนิ้วมือหรืออุโมงค์หุ้มเอ็นมีการปรับตัวหนาขึ้นจนเกิดเป็นพังผืด เป็นเหตุให้เอ็นในนิ้วมือสูญเสียความยืดหยุ่น ประกอบกับเมื่อช่องอุโมงค์หุ้มเอ็นหนาตัวแคบเข้า ส่งผลให้เอ็นในนิ้วมือลอดผ่านอุโมงค์ได้ยากเรียกว่า “นิ้วล็อก”

อาการของ ‘นิ้วล็อก’ 4 ระยะ

ระยะแรก มีการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ เมื่อกดแล้วเจ็บปวดมากขึ้น แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด ส่วนใหญ่ปวดมากหลังตื่นนอนตอนเช้าหรืออากาศเย็น

ระยะที่ 2 เริ่มมีอาการสะดุดของนิ้วเวลางอหรือเหยียดนิ้วมือ เวลากำมือหรือแบมือจะรู้สึกตึงๆ เหยียดนิ้วได้ไม่คล่อง อาจได้ยินเสียงดัง ‘กึ้ก’ คล้ายเสียงไกปืนลั่น เกิดจากเอ็นที่เคลื่อนผ่านอุโมงค์หุ้มเอ็น โดยมีการปวดรุนแรงมากขึ้นเมื่อทำงานหนัก

ระยะที่ 3 เกิดอาการ “นิ้วล็อก” พร้อมกับการเจ็บปวด บวม ชา ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยเหยียด นิ้วมืออาจค้างอยู่ในท่างอ(ท่าเหนี่ยวไกปืน) หรืออาจติดล็อกในท่าเหยียดนิ้วมือจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

ระยะที่ 4 มีการอักเสบบวมและเจ็บปวดมาก นิ้วมือบวมและติดอยู่ในท่างอไม่สามารถเหยียดออกได้ ถ้าใช้มืออีกข้างช่วยเหยียดจะปวดมาก สร้างความเจ็บปวดและความยากลำบากในการใช้งานมือ

การรักษา “นิ้วล็อก”

ในระยะแรกที่เริ่มปวด ควรพักการใช้งานมือจนอาการปวดทุเลาลง อาจใช้เวลาหลายวัน ในช่วงนี้อาจประคบด้วยความเย็น 15 นาทีใน 1 - 2 วันแรก หลังจากนั้นแช่น้ำอุ่น 15 นาทีในวันถัดมา ทำวันละ 3 - 4 ครั้ง อาจร่วมกับการกินยาต้านการอักเสบหรือวิตามินบีด้วย

ระยะที่ 2 ถ้ามีอาการปวดมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันสามารถกินยาระงับปวดได้ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อลดการปวดและภาวะตึงของเอ็นนิ้วมือ

ระยะที่ 3 แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์ที่อุโมงค์หุ้มเอ็น ซึ่งเป็นการรักษาแบบชั่วคราว ช่วยลดการอักเสบได้ดี อาการจะดีขึ้นใน 2 - 3 วันหลังจากฉีดยา แต่ไม่ควรฉีดมากกว่า 3 ครั้งต่อปี

ระยะที่ 4 การผ่าตัดเพื่อเปิดอุโมงค์หุ้มเอ็นให้กว้างขึ้นให้เอ็นนิ้วมือเคลื่อนผ่านได้สะดวก

อย่างไรก็ตาม ‘นิ้วล็อก’ อาจเกิดซ้ำได้อีก โดยการดูแลเพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิด ‘นิ้วล็อก’ มีดังนี้

1.) พักการใช้งานมือ เมื่อต้องใช้มือทำงานหนักเป็นเวลานาน

2.) หมั่นเคลื่อนไหวข้อมือและข้อนิ้วมือทุกข้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและป้องกันไม่ให้เกิดการคั่งค้างของของเสียบริเวณข้อต่อ

3.) ออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อแขน, ข้อมือและนิ้วมือ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายดังนี้

- ยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมืออีกข้างหนึ่งกระดกขึ้น - ลง
ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ 10 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อชุด ทำ 3 ชุดต่อวัน

- ฝึกกำ - แบมือ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือและเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อภายในมือ
หรืออาจบีบลูกบอลในฝ่ามือก็ได้

-สามารถเพิ่มกำลังกล้ามเนื้องอ-เหยียดนิ้วมือโดยการใช้หนังยางเป็นแรงต้าน
เหยียดนิ้วมืออ้าออกพร้อมออกแรงต้านกับยางยืดค้างไว้ 10 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อชุด ทำ 3 ชุดต่อวัน

4.) นวดและดูแลมือให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อพบอาการติดขัดหรือเคลื่อนไหวลำบากของนิ้วมือ โดยเฉพาะช่วงหลังตื่นนอน สามารถใช้นิ้วมืออีกข้างนวดและช่วยยืดเหยียดนิ้ว

- วางนิ้วโป้งขวาไว้ที่โคนนิ้วโป้งซ้าย จากนั้นเคลื่อนนิ้วโป้งขวากดนวดจากโคนนิ้วจนสุดข้อมือ
ทำเช่นนี้ทีละนิ้วจนครบทุกนิ้ว สลับมืออีกข้างในลักษณะเดียวกัน

- ใช้นิ้วโป้งขวานวดคลึงกล้ามเนื้อฝ่ามือซ้ายในลักษณะวงกลมเล็ก ๆ ซ้อนกัน
เริ่มจากทางด้านนิ้วก้อยไปหานิ้วโป้ง

- ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ประกบเข้ากับนิ้วที่ต้องการนวด ออกแรงนวดจากปลายนิ้วไปยังโคนนิ้ว ทั้งด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้างของทุกนิ้ว

- ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ประกบเข้ากับด้านข้างของนิ้วที่ต้องการนวด
ออกแรงดึงจากโคนนิ้วไปยังปลายนิ้ว ทำเช่นนี้ทีละนิ้วจนครบทุกนิ้ว สลับมืออีกข้างในลักษณะเดียวกัน

5.) เมื่อต้องทำงานลักษณะกำมือหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น จับตะหลิว หิ้วของ จับปากกา ควรดัดแปลงอุปกรณ์ที่ใช้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเหมาะสม เพื่อช่วยกระจายน้ำหนัก หรือ หาอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรง เช่น ใช้เสียมด้ามใหญ่ทำให้ไม่ต้องกำมือแน่นเกินไป หรือ ใช้ผ้าจับช่วยหมุนเปิดขวด เป็นต้น

6.) ระมัดระวังการใช้งานมือและไม่ใช้มือทำงานผิดประเภท เช่น ขุดดิน ปอกเปลือกมะพร้าว เป็นต้น และถ้ามีการบาดเจ็บให้รีบรักษาทันที

เขียนโดย: กภ.คณิต คล้ายแจ้ง นักกายภาพ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช


เอกสารอ้างอิง
รศ.นวลอนงค์ ชัยปิยะพร. (2556). นิ้วล็อก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
นพ.วิชัย วิจิตรพรกุล. (2548). นิ้วล็อก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป.
กนกอร บุญพิทักษ์. (2555). นิ้วล็อกกับโรคของกระดูกและเอ็น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์ feel good.
 

อยู่บ้านนาน แต่ร่างห้ามพัง!! Work from home อย่างไร ? ไม่เสียสุขภาพ

ด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หลายออฟฟิศปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน จากเดิมที่พนักงานทุกคนต้องนั่งทำงานในออฟฟิศ ก็เปลี่ยนมาเป็น Work From Home คือสามารถทำงานหรือประชุมผ่านโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์จากที่ใดก็ได้ ซึ่งภาวะเหล่านี้น่าจะส่งผลกระทบกับพวกเราทุกคนไปอีกนานจนกว่าการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะดีขึ้น

อย่างไรก็ตามการนั่งทำงานผ่านโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ รวมทั้งการจัดระเบียบร่างกายที่ไม่ถูกต้องย่อมทำให้เกิดการเมื่อยล้า และนำไปสู่อาการปวดเมื่อยได้ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ โดยอาการปวดเมื่อยดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าการทำงานที่ออฟฟิศในสถานการณ์ปกติ ดังนั้นหากมีการจัดท่าทางที่เหมาะสมขณะใช้โน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ จะมีส่วนช่วยคลายความเจ็บปวดจากการ Work From Home ได้

สำรวจตัวเองกันหน่อย

คุณกำลังนั่งท่าแบบนี้หรือเปล่า ??

ท่านั่งที่ไม่เหมาะสม : ไหล่ห่อ หลังค่อม ศีรษะยื่นไปข้างหน้า เท้าลอยจากพื้น
ระดับความสูงของที่พักแขนไม่เท่ากับความสูงของโต๊ะ ส่งผลให้เกิดภาวะเกร็งของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ 

การจัดระเบียบร่างกายที่เหมาะสมขณะนั่งทำงาน

ศีรษะ ตั้งตรง ไม่ก้มหรือเงยจนเกินไป ควรวางหน้าจอให้อยู่ในระดับสายตา ห่างออกไประมาณ 2.5 ฟุต 

คอ ตั้งตรงแล้ว ไม่เอียงคอหรือหันไปด้านใดด้านหนึ่ง

หลัง นั่งพิงพนักเก้าอี้ ไม่แอ่นหรืองอหลัง อาจมีหมอนใบเล็ก ๆ รองรับส่วนโค้งบริเวณหลังส่วนล่าง

แขนและข้อศอก แขนแนบชิดกับลำตัว วางแขนลงบนที่พักแขนให้แขนทำมุม 90 องศา ข้อศอกและข้อมือควรอยู่ในระนาบเดียวกัน 

ขา วางต้นขาแนบชิดไปกับที่นั่ง และปล่อยขาลงไปให้เท้าแนบพื้น 

เข่า งอเข่า 90 องศา  

เท้า วางเท้าบนพื้นให้เต็มฝ่าเท้า ถ้าหากเท้าไม่ถึงพื้นให้หาอะไรมารองหรือปรับระดับเก้าอี้ลง

มาดู 9 ข้อควรปฏิบัติง่าย ๆ ขณะนั่งทำงาน แล้วลองไปปรับใช้กันดูดีกว่า 

1.) นั่งทำงานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่ควรให้แสงสะท้อนจากภายนอกสะท้อนเข้าตาโดยตรง ควรใช้แสงไฟแบบเดย์ไลท์หรือไฟสีขาว
2.) ปรับสภาพแวดล้อมโต๊ะทำงานให้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กอยู่ทางด้านหน้าและปรับให้หน้าจออยู่ในระดับเดียวกับสายตา
3.) เลือกเก้าอี้ที่มีเบาะที่นั่งสามารถรองรับต้นขาได้พอดีและมีที่พักแขนอยู่ในระดับเดียวกับโต๊ะ
4.) ปรับระดับความสูงเก้าอี้ให้พอเหมาะ เมื่อนั่งแล้วเข่างอทำมุม 90 องศา เท้าวางบนพื้นได้เต็มฝ่าเท้า หากเท้าไม่ถึงพื้นสามารถหาที่พักเท้ามาวางได้
5.) ไม่วางเมาส์หรือคีย์บอร์ดไกลเกินไปเพราะทำให้ต้องเอื้อมแขนหรือก้มหลัง
6.) ขณะนั่งทำงานควรนั่งหลังชิดพนักพิงหรือพิงเอนหลังเล็กน้อย
7.) ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก 45-50 นาที 
8.) พักสายตาจากหน้าจอบ้าง การจ้องหน้าจอนาน ๆ ทำให้ตาแห้ง ลองกระพริบตาถี่ ๆ หรือมองออกไปในระยะไกล
9.) หมั่นยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า แขน ไหล่


ข้อมูลอ้างอิง
https://www.bangkokhospital.com/content/work-from-home-and-office-syndrome

https://www.ergonomicshelp.com/blog/working-from-home-ergonomics

https://www.bbc.com/worklife/article/20200508-how-to-work-from-home-comfortably-ergonomic-tips-covid-19
 

ปลดล็อก!! ‘นิ้วล็อก’

ในโลกยุคดิจิทัล เพียงใช้ปลายนิ้วสัมผัสก็สามารถเนรมิตทุกสิ่งได้ตามที่ต้องการ ผลที่ตามมาคือมีผู้ประสบปัญหา ‘นิ้วล็อก’ จำนวนมากขึ้นและที่สำคัญคือช่วงอายุที่เป็นน้อยลง เนื่องจากการใช้งานของนิ้วมือที่เปลี่ยนไป จากที่เคยใช้นิ้วกดแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ พัฒนาเป็นการแตะเลื่อนหน้าจอโทรศัพท์มือถือแทน นอกจากนี้ยังติดเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานอีกด้วย จึงส่งผลให้ชะลอการเจริญเติบโตทางโครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อในร่างกาย วัยรุ่นหลายคนมีอาการกระดูกสันหลังคด หลังค่อม เสียบุคลิกภาพ และเมื่อถึงวัยทำงานก็อาจเกิดออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

‘นิ้วล็อก’ เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่ไม่สามารถ ‘งอ’ หรือ ‘เหยียด’ ได้อย่างปกติ ต้องใช้นิ้วมือด้านตรงข้ามมาแกะนิ้วที่ล็อกออกจนเกิดเสียงดัง ‘กึ้ก’ คล้ายเสียงไกปืนลั่น อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว หากเป็นมาก นิ้วอาจค้างอยู่ในท่างอ(ท่าเหนี่ยวไกปืน) พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 3 - 4 เท่า และ พบในนิ้วมือข้างที่ถนัดมากกว่า

ใครที่เสี่ยงต่อการเป็น ‘นิ้วล็อก’ !?!

  • แม่บ้านที่ชอบหิ้วถุงพลาสติกหนักๆเวลาจ่ายตลาด หรือ ทำอาหาร
  • ชอบยกของหนัก เช่น หม้อแกง กะละมังใส่น้ำจนเต็ม
  • ทำอาชีพรับจ้างซักผ้า หรือ ต้องบิดผ้า โดยมักจะเป็นนิ้วล็อกที่นิ้วชี้
  • แม่ค้าขายข้าวแกงที่ต้องใช้ตะหลิวหรือทัพพีทำกับข้าวปริมาณเยอะ ๆ
  • นักเรียน นักศึกษา ต้องจับดินสอปากกาบ่อย ๆ หรือ อาชีพนักเขียน จิตรกร
  • เล่นเกม หรือ พิมพ์งานด้วยคอมพิวเตอร์
  • นักกีฬาประเภทที่ต้องออกแรงกำมือมากกว่าปกติ เช่น กอล์ฟ เทนนิส ปิงปอง หรือ แบดมินตัน
  • ทำอาชีพที่ต้องใช้มือทำงานหนัก ๆ ซ้ำ ๆ เช่น ช่างที่ต้องใช้ไขควง ใช้เครื่องเจาะถนน คนส่งน้ำ คนส่งแก๊ส คนสวนที่ต้องใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้, ใช้จอบเสียมขุดดิน
  • ทำอาชีพขายเนื้อสัตว์ จะมีการใช้มือซ้ำๆในการสับเนื้อสัตว์
  • ทันตแพทย์
  • ช่างงานฝีมือเย็บปักถักร้อย ช่างตัดเสื้อผ้า
  • ช่างตัดผม ช่างทำผม

ความเสี่ยงต่าง ๆ ล้วนเกิดจากการใช้งานนิ้วมือซ้ำ ๆ ทำให้เอ็นในนิ้วมือเสียดสีกับอุโมงค์หุ้มเอ็นในขณะใช้งานครั้งแล้วครั้งเล่า เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบซ้ำ ๆ เอ็นในนิ้วมือหรืออุโมงค์หุ้มเอ็นมีการปรับตัวหนาขึ้นจนเกิดเป็นพังผืด เป็นเหตุให้เอ็นในนิ้วมือสูญเสียความยืดหยุ่น ประกอบกับเมื่อช่องอุโมงค์หุ้มเอ็นหนาตัวแคบเข้า ส่งผลให้เอ็นในนิ้วมือลอดผ่านอุโมงค์ได้ยากเรียกว่า “นิ้วล็อก”

อาการของ ‘นิ้วล็อก’ 4 ระยะ

ระยะแรก มีการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ เมื่อกดแล้วเจ็บปวดมากขึ้น แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด ส่วนใหญ่ปวดมากหลังตื่นนอนตอนเช้าหรืออากาศเย็น

ระยะที่ 2 เริ่มมีอาการสะดุดของนิ้วเวลางอหรือเหยียดนิ้วมือ เวลากำมือหรือแบมือจะรู้สึกตึงๆ เหยียดนิ้วได้ไม่คล่อง อาจได้ยินเสียงดัง ‘กึ้ก’ คล้ายเสียงไกปืนลั่น เกิดจากเอ็นที่เคลื่อนผ่านอุโมงค์หุ้มเอ็น โดยมีการปวดรุนแรงมากขึ้นเมื่อทำงานหนัก

ระยะที่ 3 เกิดอาการ “นิ้วล็อก” พร้อมกับการเจ็บปวด บวม ชา ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยเหยียด นิ้วมืออาจค้างอยู่ในท่างอ(ท่าเหนี่ยวไกปืน) หรืออาจติดล็อกในท่าเหยียดนิ้วมือจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

ระยะที่ 4 มีการอักเสบบวมและเจ็บปวดมาก นิ้วมือบวมและติดอยู่ในท่างอไม่สามารถเหยียดออกได้ ถ้าใช้มืออีกข้างช่วยเหยียดจะปวดมาก สร้างความเจ็บปวดและความยากลำบากในการใช้งานมือ

การรักษา “นิ้วล็อก”

ในระยะแรกที่เริ่มปวด ควรพักการใช้งานมือจนอาการปวดทุเลาลง อาจใช้เวลาหลายวัน ในช่วงนี้อาจประคบด้วยความเย็น 15 นาทีใน 1 - 2 วันแรก หลังจากนั้นแช่น้ำอุ่น 15 นาทีในวันถัดมา ทำวันละ 3 - 4 ครั้ง อาจร่วมกับการกินยาต้านการอักเสบหรือวิตามินบีด้วย

ระยะที่ 2 ถ้ามีอาการปวดมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันสามารถกินยาระงับปวดได้ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อลดการปวดและภาวะตึงของเอ็นนิ้วมือ

ระยะที่ 3 แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์ที่อุโมงค์หุ้มเอ็น ซึ่งเป็นการรักษาแบบชั่วคราว ช่วยลดการอักเสบได้ดี อาการจะดีขึ้นใน 2 - 3 วันหลังจากฉีดยา แต่ไม่ควรฉีดมากกว่า 3 ครั้งต่อปี

ระยะที่ 4 การผ่าตัดเพื่อเปิดอุโมงค์หุ้มเอ็นให้กว้างขึ้นให้เอ็นนิ้วมือเคลื่อนผ่านได้สะดวก

อย่างไรก็ตาม ‘นิ้วล็อก’ อาจเกิดซ้ำได้อีก โดยการดูแลเพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิด ‘นิ้วล็อก’ มีดังนี้

1.) พักการใช้งานมือ เมื่อต้องใช้มือทำงานหนักเป็นเวลานาน

2.) หมั่นเคลื่อนไหวข้อมือและข้อนิ้วมือทุกข้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและป้องกันไม่ให้เกิดการคั่งค้างของของเสียบริเวณข้อต่อ

3.) ออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อแขน, ข้อมือและนิ้วมือ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายดังนี้

ยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมืออีกข้างหนึ่งกระดกขึ้น - ลง

ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ 10 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อชุด ทำ 3 ชุดต่อวัน

  

ฝึกกำ - แบมือ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือและเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อภายในมือ

หรืออาจบีบลูกบอลในฝ่ามือก็ได้

สามารถเพิ่มกำลังกล้ามเนื้องอ-เหยียดนิ้วมือโดยการใช้หนังยางเป็นแรงต้าน

เหยียดนิ้วมืออ้าออกพร้อมออกแรงต้านกับยางยืดค้างไว้ 10 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อชุด ทำ 3 ชุดต่อวัน

4.) นวดและดูแลมือให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อพบอาการติดขัดหรือเคลื่อนไหวลำบากของนิ้วมือ โดยเฉพาะช่วงหลังตื่นนอน สามารถใช้นิ้วมืออีกข้างนวดและช่วยยืดเหยียดนิ้ว

วางนิ้วโป้งขวาไว้ที่โคนนิ้วโป้งซ้าย จากนั้นเคลื่อนนิ้วโป้งขวากดนวดจากโคนนิ้วจนสุดข้อมือ

ทำเช่นนี้ทีละนิ้วจนครบทุกนิ้ว สลับมืออีกข้างในลักษณะเดียวกัน

ใช้นิ้วโป้งขวานวดคลึงกล้ามเนื้อฝ่ามือซ้ายในลักษณะวงกลมเล็ก ๆ ซ้อนกัน

เริ่มจากทางด้านนิ้วก้อยไปหานิ้วโป้ง

ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ประกบเข้ากับนิ้วที่ต้องการนวด ออกแรงนวดจากปลายนิ้วไปยังโคนนิ้ว ทั้งด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้างของทุกนิ้ว

ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ประกบเข้ากับด้านข้างของนิ้วที่ต้องการนวด

ออกแรงดึงจากโคนนิ้วไปยังปลายนิ้ว

ทำเช่นนี้ทีละนิ้วจนครบทุกนิ้ว สลับมืออีกข้างในลักษณะเดียวกัน

5.) เมื่อต้องทำงานลักษณะกำมือหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น จับตะหลิว หิ้วของ จับปากกา ควรดัดแปลงอุปกรณ์ที่ใช้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเหมาะสม เพื่อช่วยกระจายน้ำหนัก หรือ หาอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรง เช่น ใช้เสียมด้ามใหญ่ทำให้ไม่ต้องกำมือแน่นเกินไป หรือ ใช้ผ้าจับช่วยหมุนเปิดขวด เป็นต้น

6.) ระมัดระวังการใช้งานมือและไม่ใช้มือทำงานผิดประเภท เช่น ขุดดิน ปอกเปลือกมะพร้าว เป็นต้น และถ้ามีการบาดเจ็บให้รีบรักษาทันที


เอกสารอ้างอิง

รศ.นวลอนงค์ ชัยปิยะพร. (2556). นิ้วล็อก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

นพ.วิชัย วิจิตรพรกุล. (2548). นิ้วล็อก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป.

กนกอร บุญพิทักษ์. (2555). นิ้วล็อกกับโรคของกระดูกและเอ็น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์ feel good.


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top