Friday, 25 April 2025
TodaySpecial

32 ปี สถาปนา ‘คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ สถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ของประเทศ 

นโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมี ศ.ปรีดี พนมยงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีขณะนั้น จัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย

โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิษย์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบด้วยตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0203/126 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งอธิการบดีได้พบปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ขอดำเนินการโรงพยาบาลให้ครบ 1 ปีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ แล้วจึงจะดำเนินการเรื่องคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการสานต่อในสมัย ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2531

ในการดำเนินการได้มีการประสานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการผลิตบัณฑิตแพทย์พึงประสงค์ อันสอดคล้องกับนโยบายผู้บริหารมหาวิทยาลัย และนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในเดือนสิงหาคม 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2533
 

‘พอร์ตแลนด์’ เอย จงอย่าหยุด ‘เพี้ยน’ (Keep Portland weird)

‘พอร์ตแลนด์’ (Portland) ถือเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเรียงนามกระฉ่อนทั่วโลกมาแต่ไหนแต่ไร แถมยังขึ้นชื่อว่าเป็นอีกเมืองฮิพแห่งรัฐโอเรกอนอย่างมากด้วย 

สังเกตได้จาก เมืองนี้ เต็มเปี่ยมไปชาวเมืองที่มีแนวคิดในการดูแลสิ่งแวดล้อมและแสดงออกได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันยังเป็นเมืองต้นแบบอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาในการสร้างและจัดการระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุม

...เราจะพบเห็นทางจักรยานที่ถูกสร้างให้คนสัญจร ออกกำลังกาย รวมไปถึงปั่นไปทำงานก็ได้ 

...อีกทั้งเมืองนี้ ยังเต็มไปด้วยสวนสาธารณะที่เอื้อให้คนได้ใช้พื้นที่สีเขียวร่วมกันสำหรับพักผ่อน แถมยังมีการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างเป็นระบบด้วยนะ

...Portland ยังเป็นศูนย์รวมคนหลายกลุ่มหลากประเภท ตั้งแต่ฮิพสเตอร์แต่งกายแลดูเรียบๆ แต่แอบติดหรูแบรนด์เนม ดูเนิร์ดใส่แว่นตา แต่ก็โคตรเท่ประมาณนั้น หรือจะเป็นเด็กฮิพย้อมผมสีฉูดฉาดตัดกับผิวสีขาวซีดที่เต็มไปด้วยรอยสักประหนึ่งขนเอาสวนสัตว์เปิดเขาเขียวมาไว้บนผิวหนัง พวกฮิปปี้ซึ่งนิยมสวมเสื้อผ้าวินเทจและดูดปู๊นเป็นเนืองนิจก็มี ถ้าจะให้คูลต้องถกกันด้วยหลักปรัชญาตะวันออก

...นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มคนเฉพาะที่บ้ากาแฟขึ้นสมองก็มากองกันอยู่ที่นี่ ร้านกาแฟคลื่นที่สามที่สี่มากมายชนิดทำ Coffee Shop กันไม่หวาดไม่ไหว

...โรงผลิตเบียร์คราฟต์เบียดตัวในย่านท่องเที่ยวกินดื่มแข่งกับร้านขายกัญชา

...แพทย์แผนตะวันออกได้รับความนิยมพอๆ กับโรงพยาบาลฝรั่ง

...ช่างสักตามร้านที่เห็นได้ทั่วไปทำเงินเป็นกอบเป็นกำ บางเจ้าถึงขั้นเปิดโรงเรียนสอนการสักก็มี

...ศิลปินทุกแขนงทั้งแบบสร้างผลงานขายเป็นเรื่องเป็นราวกับศิลปินริมถนนผสมปนเปกันอยู่ในหม้อหลอมใบนี้ 

…กลุ่ม LGBTQ ก็มีพื้นที่ยืนในสังคมได้อย่างค่อนข้างเสรี 

...ร้านอาหาร ผับ บาร์ ฟู้ดทรักมากมายขายอาหารและเครื่องดื่มทุกสัญชาติบนโลกใบนี้ เรียกว่าใครอยากกินเมนูประเทศอะไรเมืองนี้ประเคนให้ได้หมด 

...แถมยังขึ้นชื่อว่ามีความหนาแน่นของสถานเริงรมย์ประเภทคลับโชว์เปลื้องผ้ามากที่สุดในอเมริกาอีกด้วย

...นอกจากนี้ ในส่วนของย่านใจกลางเมือง ก็มีพลเมืองรวมๆ กันอยู่ร่วมครึ่งล้าน แต่เมื่อรวมชานเมืองโดยรอบนับหัวก็จะได้ราว 3 ล้านคน โดยผสมผสานไปด้วยความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติเป็นเงาตามตัวด้วย แต่แน่นอนคนขาวยังคงเป็นประชากรหลัก พวกตะวันออกกลางและอาหรับก็มีบ้าง ในขณะที่เม็กซิกันและคนเชื้อสายละตินค่อนข้างมากและมักไปกระจุกกันอยู่แถว Hillsboro ซึ่งอยู่ชานเมืองด้านตะวันตก จนคนล้อกันว่าเป็น Hillburito ส่วนพวกเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม, จีน, เกาหลี, ไทย, ลาว ทั้งหลายต่างไปรวมกันอยู่แถว Happy Valley ซึ่งอยู่ค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง จึงสังเกตได้ว่าแนวถนนหมายเลข SE 82 มักเต็มไปด้วยร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติผิวเหลือง

ความหลากหลายต่างมิติทั้งสภาพแวดล้อมและเชื้อชาติดังกล่าวข้างต้น มันเลยเป็นที่มาว่าทำไม Portland ถึงดูจะกลายเป็นเมืองเพี้ยนๆ มากพอตัว 

แต่เชื่อไหมว่า ชาวเมืองบางส่วนเห็นความเพี้ยนที่ผสมปนเปเหล่านี้ ว่าเป็นจุดเด่น แถมดูจะภูมิอกภูมิใจ ถึงขั้นเขียนประโยคขึ้นผนัง Keep Portland weird หรือแปลให้เข้าง่ายก็คง “พอร์ตแลนด์เอ๋ย จงอย่าหยุดเพี้ยน” 

แต่ในมุมที่ควรยอมรับต่อการถอยห่าง Portland มันเริ่มหนักข้อขึ้น โดยเฉพาะช่วงปีหลังๆ มานี้เกิดการแตกขั้วทางความเห็นเกี่ยวกับการเมืองค่อนข้างรุนแรง ประจวบเหมาะกับโรคอุบัติใหม่เมื่อปีที่แล้ว ทำให้เศรษฐกิจเมืองระส่ำระสายไปพักใหญ่ จนกลายสถานประกอบการต้องพังลงไป

‘วันความสุขสากล’ วันแห่งการตระหนักถึงความสุขในชีวิต 

‘วันความสุขสากล’ เชื่อว่าอาจเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างและหากพูดถึงที่มาที่ไปของวันนี้ละก็ ต้องย้อนกลับไป ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่ประชุมสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็นวัน ‘ความสุขสากล’ หรือ ‘The International Day of Happiness’

แต่หากถามถึงแรงบันดาลใจ ที่ทำให้สหประชาชาติกำหนดวันแห่งความสุขขึ้นมาละก็คงไม่พ้น แนวคิดริเริ่มที่ได้มาจาก ‘ประเทศภูฏาน’ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘ประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก’ แถมยังติดอันดับที่ 1 ในการวัดความรุ่งเรืองของชาติและความสำเร็จทางสังคม หรือดัชนีมวลรวมความสุข หรือ Gross National Happiness Index (GNH) โดยที่การวัดค่าดังกล่าวไม่ได้นำการใช้เศรษฐกิจ หรือความร่ำรวยทางวัตถุมาเป็นตัวตัดสินการพัฒนา แต่กลับหันมามองแบบองค์รวมว่าจิตใจที่ดีของประชาชนและชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าวัตถุ

เมื่อเห็นถึงแนวคิดที่ไม่ได้วัดค่าจากความมั่งคั่งทางวัตถุแต่วัดจากความมั่งคั่งความสุขทางใจแบบนี้แล้ว ‘ยูเอ็น’ จึงได้มีมติกำหนด ‘วันความสุขสากล’ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ  2 ข้อ ด้วยกัน คือ เพื่อให้ทุกคนร่วมเฉลิมฉลอง และตระหนักถึงความสุขอันเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษยชนรวมถึงแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของมนุษย์ และเพื่อเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันและเข้าถึงนโยบายสาธารณะที่จะเพิ่มความสุขให้แก่ประชาชนทุกๆ
 

21 มีนาคม  วันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 68 ปี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

เชื่อว่าหากพูดถึงชื่อนี้ คงไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รู้จักเขา ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีของไทยคนปัจจุบัน แน่นอนว่าหากพูดถึงเขาคนนี้ ทุกคนต้องรู้จักเขาในบทบาทของนักการเมืองใหญ่ ทหารยศสูง วันนี้จึงจะพาทุกคนมาเปิดประวัติ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 68 ปี ของ ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ชื่อเล่น ตู่ เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน คนหนึ่งคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

โดนเขาสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเข็มเพชร มารดาซึ่งเป็นครูสอนอยู่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีลพบุรี ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในสมัยที่ศึกษาอยู่ที่นี่เขาเคยถูกนำเสนอประวัติผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ในฐานะเด็กเรียนดีอีกด้วย จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

วันนี้เมื่อ 288 ปี ก่อน ตรงกับวันพระราชสมภพ ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’

วันพระราชสมภพ ของ ‘สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี’ หรือที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักในนาม ‘พระเจ้าตาก’ เรียกได้ว่าเป็นข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งจากข้อถกเถียงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดมากมาย หนึ่งในนั้นคือแนวคิดของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ได้เสนอไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยใช้การคำนวณย้อนหลังจากวันเสด็จสวรรคตตามที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุโหรว่า เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาได้ 48 ปี 15 วัน และตามหลักฐานของชาวฝรั่งเศสบันทึกว่า ทรงถูกประหารชีวิตในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2325 และวันพระราชสมภพคือวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2277

แต่หากถือตามหลักฐานฝ่ายไทยซึ่งบันทึกว่าเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2326 วันพระราชสมภพก็คือ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277 ประเด็นนี้ก็สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อมูลแก่หมอสมิธ เพื่อเขียนประวัติศาสตร์ไทยว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พระราชสมภพในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2277

อย่างไรก็ดี แม้จะยังหาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้ แต่เรื่องราวของอดีตกษัตริย์ไทยพระองค์นี้ ยังเป็นที่สนใจของเราชาวไทยเสมอมา

โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรี เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ 

ต่อมา พ.ศ. 2310 เกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีกเจ็ดเดือนถัดมา โดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี และรวบรวมแผ่นดินซึ่งมีขุนศึกก๊กต่างๆ ปกครองให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง 

11 ปี วันสถาปนา ‘จังหวัดบึงกาฬ’ จังหวัดลำดับที่ 77 ของประเทศไทย 

หากย้อนกลับไปในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 หรือว่า 11 ปีก่อน ประเทศไทย ได้มีจังหวัดเพิ่มขึ้นมาจากเดิม 76 จังหวัด กลายเป็น 77 จังหวัด โดยจังหวัดนั้นก็คือ ‘จังหวัดบึงกาฬ’

โดยประวัติของจังหวัดบึงกาฬ เดิมเป็น อำเภอบึงกาฬ ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม โดยมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยในปี พ.ศ. 2459 ทางราชการ ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

ปี พ.ศ. 2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก “บึงกาญจน์” เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น “อำเภอบึงกาญจน์” ตั้งแต่ นั้นมา ต่อมาปี พ.ศ. 2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น “อำเภอบึงกาฬ” เพื่อความสะดวกและเข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอบึงกาฬ ตามลำดับ

วันนี้เมื่อ 72 ปีที่แล้ว ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช’ เสด็จนิวัตประเทศไทย พร้อม ‘ม.ร.ว. สิริกิติ์’ พระยศในขณะนั้น

หากย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ 72 ปีที่แล้ว ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยการมาถึงของบุคคลสำคัญในครั้งนี้ได้ตราตรึงและสร้างความปลื้มปริ่มให้กับคนไทยทั้งชาติ โดยวันนี้ตรงกับวันที่ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช’ เสด็จประเทศไทย พร้อม ‘ม.ร.ว. สิริกิติ์’ พระยศในขณะนั้น

โดยย้อนกลับไปในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2492 อธิบดีกรมโฆษณาการได้เปิดแถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จมาราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือต้นเดือนมีนาคม 2493 อย่างแน่นอน โดยจะเสด็จทางชลมารค ซึ่งมีบริษัทเดินเรือทะเลหลายบริษัทแสดงความจำนงอัญเชิญเสด็จกลับโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด แต่ทางราชการยังไม่ตกลงว่าจะใช้เรือของบริษัทใด สำหรับราชองครักษ์ประจำพระองค์ในขบวนเสด็จ ทางราชการได้จัดให้พลตรีหลวงสุรณรงค์ สมุหราชองครักษ์ เดินทางไปรับเสด็จภายใน 7 วัน และบางทีสมเด็จพระราชชนนีจะไม่เสด็จกลับมาด้วยเนื่องจากอุบัติเหตุ”

แต่แล้วในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ วิทยุจากเมืองวิลฟรังก์ ประเทศฝรั่งเศส ได้ออกข่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ได้ประทับเรือซีแลนเดีย ออกจากเมืองท่าวิลฟรังก์มาแล้ว ในโอกาสนั้น เอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศสได้ถวายช่อดอกไม้แด่ว่าที่สมเด็จพระราชินีด้วย

ข่าวนี้กระตุ้นให้ประชาชนเฝ้ารอถวายความจงรักภักดียิ่งขึ้นตามลำดับ

เรือพระที่นั่งผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เข้าคลองสุเอซมาออกมหาสมุทรอินเดีย สถานที่ทรงแวะที่ควรกล่าวถึงก็คือ ลังกา รัฐบาลได้ทูลเชิญทรงปลูกต้นจันทน์ ส่วนที่สิงคโปร์ ทางการอังกฤษได้ทูลเชิญให้ประทับแรม โดยจัดต้อนรับเสด็จอย่างมโหฬาร คนไทยในสิงคโปร์ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ที่ห้องโถงของสถานกงสุลไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาในฉลองพระองค์ลำลองพร้อมด้วย ม.ร.ว.สิริกิติ์ และ ม.ร.ว.บุษบา กิติยากร ทรงทักทายคนที่ทรงรู้จัก กงสุลไทยได้นำผู้แทนร้าน “สิงคโปร์โฟโต้” 4 คนเข้าเฝ้าฯ ถวายกล้องถ่ายภาพให้ทรงเลือก ซึ่งทรงเลือกไว้ 1 กล้อง

วันที่ 24 มีนาคม เรือซีแลนเดียได้เข้าทอดสมอเทียบท่าเกาะสีชังเมื่อเวลา 07.00 น.เศษ รัฐบาลได้ส่งเรือ ร.ล.สุราษฎร์เป็นเรือพระที่นั่งมารับเสด็จ มี ร.ล.สุโขทัย และ ร.ล.อาดัง ตามขบวน และเครื่องบินแห่งราชนาวีบินทักษิณาวัตรถวายเกียรติยศ

เมื่อเสด็จจากเรือซีแลนเดียมาประทับ ร.ล.สุราษฎร์แล้ว ขบวนเรือพระที่นั่งก็มุ่งผ่านสันดอนมาที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งรัฐบาลจัด ร.ล.ศรีอยุธยาเป็นเรือพระที่นั่งนำเสด็จสู่พระนคร และเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ร.ล.ศรีอยุธยา พร้อมด้วย ม.ร.ว.สิริกิติ์ พระคู่หมั้นแล้ว จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องยศจอมพลเรือ ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทหาร พลเรือน เฝ้าฯ รับเสด็จ 

ส่วนในท้องน้ำ บรรดาเรือของชาวสมุทรปราการที่มารับเสด็จ ต่างรายล้อมเข้ามารอบเรือพระที่นั่ง เพื่อปรารถนาจะชมสิริโฉม ม.ร.ว.สิริกิติ์ ต่างเห็นพระอิริยาบถอันละมุนละไม นิ่มนวลเป็นสง่า มีรอยยิ้มที่เปี่ยมด้วยเมตตาอยู่เป็นนิจ

เมื่อพิธีถวายเครื่องยศจอมพลเรือเสร็จเรียบร้อย ร.ล.ศรีอยุธยาจึงเคลื่อนลำนำเสด็จเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา ท่ามกลางเรือยนต์ เรือกลไฟ เรือแจว และเรือพายของราษฎรคับคั่ง ลอยลำรับเสด็จและเปล่งเสียงถวายพระพรไม่ขาดสาย ม.ร.ว.สิริกิติ์ ยืนเคียงข้างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่บนหอบังคับการเรือ ให้ราษฎรได้ยลสิริโฉม

หลังจากแวะเทียบท่าหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุดธูปเทียนสักการะพระสมุทรเจดีย์แล้ว ร.ล.ศรีอยุธยาเข้าเทียบท่าราชวรดิฐเมื่อเวลา 15.00 น.ตามหมายกำหนดการ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์ชุดจอมพลเรือ เสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง มี ม.ร.ว.สิริกิติ์ ตามเสด็จอย่างใกล้ชิด เสด็จขึ้นประทับ ณ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ร.ล.แม่กลองยิงสลุต 21 นัด เจ้าพนักงานเชิญพระแสงราชอาญาสิทธิ์น้อมเกล้าฯ ถวาย จากนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานผู้สำเร็จราชการ กราบบังคมทูลถวายพระราชกรณียกิจเพื่อทรงปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

“โดยที่บัดนี้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จมาประทับในราชอาณาจักรแล้ว ความเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของข้าพระพุทธเจ้าได้สิ้นสุดลง นับแต่นี้เป็นต้นไป”

หลังจากทรงมีปฏิสันถารกับข้าราชการผู้ใหญ่และทูตานุทูตแล้ว เสด็จไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อถวายสักการะพระพุทธปฏิมากร และรับคำถวายพระพรชัยมงคลจากบรรพชิตจีนญวน แล้วเสด็จไปถวายเครื่องราชสักการะถวายบังคมพระบรมอัฐิสมเด็จพระราชบิดา ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน แล้วเสด็จไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อทรงวางพวงมาลาและถวายบังคมพระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐา และทรงถวายนมัสการพระสัมมาสัมพุทธพรรโณภาษ แล้วเสด็จประทับรถพระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวังไปประทับพระตำหนักสวนจิตรลดา ตลอดเส้นทางมีประชาชนไปคอยเฝ้าฯ รับเสด็จแน่นขนัด

ส่วน ม.ร.ว.สิริกิติ์ พระคู่หมั้น ได้ไปพักที่วังเทเวศร์ อันเป็นที่ประทับของ ม.จ.นักขัตรมงคล

25 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ วันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาสและการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

วันที่ 25 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ ‘วันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาสและการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก’ หรือ ‘International Day of Remembrance of the Victims of Slavery and the Transatlantic Slave Trade’

โดยวันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาส และการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ริเริ่มขึ้นโดย องค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นเกียรติและรำลึกถึงกลุ่มคนจากทวีปแอฟริกาที่ต้องจากบ้านเกิดข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และได้รับความทุกข์ทรมาน ถึงขนาดต้องสังเวยชีวิต จากระบบทาสที่โหดร้าย เพื่อมาเป็นทาสในดินแดนของคนผิวขาวเป็นจำนวนมากกว่า 15 ล้านคนตลอดระยะเวลากว่า 400 ปี 

126 ปี วันสถาปนากิจการ ‘รถไฟไทย’ จากพระราชวิสัยทัศน์กว้างไกลของ ‘ในหลวงรัชกาลที่ 5’

ย้อนกลับไปประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่แต่ก่อนนั้น การคมนาคมไม่ได้สะดวกสบายอย่างเช่นทุกวันนี้ ในสมัยก่อนผู้คนยังคงนิยมสัญจรไปมาโดยใช้สัตว์ เช่น โค กระบือ ม้า ช้างและเกวียน เป็นพาหนะ กระทั่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ซึ่งทรงเป็นประมุขของประเทศได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการคมนาคมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำความรุ่งเรืองมาสู่ชาติบ้านเมือง หนึ่งในนั้นก็คือการคมนาคมทางรถไฟ

โดยย้อนกลับไปก่อนที่การรถไฟหลวงจะถือกำเนิดขึ้นนั้นปรากฏว่าในปีพุทธศักราช 2398 รัฐบาลสหราชอาณาจักรอังกฤษให้ เซอร์ จอห์น เบาริง (Ser John Bowring) ผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม พร้อมด้วย มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค (Mr. Harry Smith Parkes) กงสุลเมืองเอ้หมึง เป็นอุปทูต เดินทางโดยเรือรบหลวงอังกฤษเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางราชไมตรีฉบับที่รัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ทำไว้กับรัฐบาลไทยเมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 ซึ่งในกาลนั้น มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค ได้นำสนธิสัญญาฉบับใหม่ออกไปประทับตราแผ่นดินอังกฤษ แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนสนธิสัญญากับฝ่ายไทย 

พร้อมทั้งอัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษเข้ามาเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อาทิ รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริงประกอบด้วย รถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบขบวน เดินบนรางด้วยแรงไอน้ำทำนองเดียวกับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในเกาะอังกฤษ ราชบรรณาการในครั้งนั้นสมเด็จพระนางวิคตอเรีย ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เป็นเครื่องดลพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงคิดสถาปนากิจการรถไฟขึ้นในราชอาณาจักรไทย แต่เนื่องจากในขณะนั้นภาวะเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในฐานะไม่มั่นคง และมีจำนวนพลเมืองน้อย กิจการจึงต้องระงับไว้

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุการณ์ทางด้านการเมือง สืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณแหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น 

ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอนๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430 

111 ปี ‘พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘กรมศิลปากร'

ย้อนกลับไปเมื่อ 111 ปี ก่อน ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 นับเป็นวันที่มีความสำคัญยิ่งกับประเทศไทย เนื่องจากวันนี้ตรงกับ ‘วันสถาปนากรมศิลปากร’ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของ ‘มรดกศิลปวัฒนธรรม’ 

โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริ ให้โอนกิจการของช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ มาจัดตั้งเป็น ‘กรมศิลปากร’ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่าร้อยปี กรมศิลปากรได้ทำภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครอง  ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ  


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top