Friday, 25 April 2025
TodaySpecial

วันนี้เมื่อปี 2498 วันประหารชีวิต ‘ชิต - บุศย์ - เฉลียว’ 3 ผู้ต้องหาจำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้

แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย

ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมศริน จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น 

‘ไคลด์ ทอมบอ’ ค้นพบดาวพลูโต ซึ่งเป็นอดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล 

ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 (ตั้งแต่ ค.ศ. 1801 หรือประมาณ พ.ศ. 2344) นักดาราศาสตร์สมัยนั้น เชื่อว่ามีบางสิ่งรบกวนวงโคจรของดาวยูเรนัส ดาวเคราะห์ดวงที่ 7 ในระบบสุริยะ ซึ่งในขณะนั้นเป็นดาวเคราะห์ดวงนอกสุดที่อยู่ในระบบสุริยะ จึงทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นอยู่ไกลถัดจากดาวยูเรนัสไปอีก และจากนั้นในปี ค.ศ. 1846 (พ.ศ. 2389) นักดาราศาสตร์ก็ค้นพบดาวเนปจูน ซึ่งต่อมากลายเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ในระบบสุริยะ

อย่างไรก็ดี หลังจากการค้นพบดาวเนปจูนแล้ว ก็ไม่ทำให้คลายปริศนา เนื่องจากวงโคจรของดาวเนปจูนก็ยังมีความผิดปกติที่ไม่สามารถหาคำอธิบายได้เช่นกัน ทำให้เหล่านักดาราศาสตร์เชื่อว่า จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่อยู่ไกลออกไปจากดาวเนปจูนอย่างแน่นอน ซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าว นำมาซึ่งการค้นพบดาวพลูโต...และบุคคลสำคัญผู้ค้นพบดาวพลูโตก็คือ ไคลด์ ทอมบอ (Clyde Tombaugh)

ทอมบอ ได้ส่งภาพวาดของดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี ไปให้กับทางหอดูดาวโลเวลล์ ในเมืองแฟลกสแตฟฟ์ รัฐแอริโซนา เพื่อขอคำแนะนำ แต่แล้วเขากลับได้รับข้อเสนอให้เข้าทำงาน หลังจากนั้นเขาจึงไปทำงานเป็นนักสังเกตการณ์อยู่ที่นั่น เรื่อยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929-1945 (พ.ศ. 2472-2488) โดยขณะที่ ทอมบอ ทำงานอยู่ที่หอดูดาวโลเวลล์นั้น ชื่อของเขาก็ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ในฐานะผู้ค้นพบ "ดาวพลูโต" เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) โดยการค้นพบครั้งสำคัญนี้ เขาบังเอิญค้นพบมันโดยบังเอิญขณะสำรวจท้องฟ้า ซึ่งต่อมาพลูโตก็กลายเป็น "ดาวเคราะห์" อันดับที่ 9 ของระบบสุริยะ จากนั้น ทอมบอก็ได้รับรางวัลทุนการศึกษา เข้าเรียนด้านดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคนซัส ก่อนจะจบการศึกษาอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482)

วันนี้เมื่อปี 2531 ‘ไทย - ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ!! 

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

ด้านกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งกองกำลังหลักเข้าผลักดันกองกำลังลาวที่เข้ามายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์หลายแห่ง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือด 

ทหารไทยได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ซึ่งไทยต้องเสียเครื่องบินรบแบบเอฟ-5 หนึ่งลำ และโอวี-10 อีกหนึ่งลำพร้อมกับชีวิตทหารอีกนับร้อยนายในการศึกครั้งนี้

15 ปี ผ่าตัดแฝดสยามรอด ‘คู่แรกของโลก’ ความสำเร็จครั้งใหญ่ของทีมแพทย์ไทย 

เมื่อ 15 ปีก่อน ได้เกิดข่าวใหญ่ที่นับเป็นความภาคภูมิใจคนไทยทั้งประเทศ อีกทั้งยังเป็นเสมือนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการแพทย์ไทย ที่สามารถ ‘ผ่าตัดแฝดสยาม’ ที่มีหัวใจและตับติดกับ แยกออกจากกันจนสำเร็จได้เป็นครั้งแรกของโลก!

เชื่อว่าข่าวใหญ่นี้คนไทยทั้งประเทศได้รับรู้ผ่านจอแก้ว หรือหน้าหนังสือพิมพ์ พร้อมๆ กันเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วการผ่าตัดนั้นได้เกิดขึ้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยฝีมือทีมแพทย์ไทยจากโรงพยาบาลศิริราช

ในการผ่าตัดครั้งนั้นแพทย์ศิริราช ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแยกแฝดสยามหัวใจติดกัน ซึ่งทารกสองคนนั้นคือ “ด.ญ.ปานตะวัน-ด.ญ.ปานวาด ทิเย็นใจ” วัย 8 เดือน บุตรสาวของ น.ส.อุษา ทิเย็นใจ และนายถาวร วิบุลกุล

โดยเด็กแฝดปานวาดและปานตะวัน เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ซึ่งได้ทำการผ่าคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ น้ำหนักตัวแรกคลอดรวมกันประมาณ 3,570 กรัม แต่มีลักษณะพิเศษ คือ ลำตัวด้านหน้าติดกันตั้งแต่บริเวณทรวงอกลงมาถึงผนังหน้าท้อง

ซึ่งบริเวณที่ติดกัน ขนาดกว่า 17 x 8 ซ.ม. โดยทีมแพทย์ได้ทำการตรวจเพื่อสำรวจจุดที่อวัยวะของแฝดเชื่อมต่อกัน ซึ่งพบว่า หัวใจห้องบนขวาของแฝดพี่ ปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของแฝดน้อง ปานวาด ทั้งยังมีเลือดจากปานตะวันไหลผ่านมายังปานวาดตลอดเวลา

ดังนั้นทีมแพทย์จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อมั่นใจว่าหัวใจของแฝดคู่นี้ ไม่ได้พึ่งพากันและกัน โดยแพทย์ได้ทำการสวนหัวใจด้วยสายสวนติดบัลลูนเพื่อปิดบริเวณรอยเชื่อมต่อของหัวใจ เสมือนเป็นการแยกหัวใจชั่วคราว ปรากฏว่าไม่เกิดผลเสียต่อทั้งคู่

เมื่อผลตรวจเป็นไปด้วยดี ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปคือการวางแผนการผ่าตัดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในขณะนั้นทารกอายุได้ 8 เดือน และมีน้ำหนักตัวรวมกัน 10.9 กิโลกรัม

โดยผศ.นพ.มงคล ได้กล่าวถึงความพิเศษของเคสนี้ ว่าจากการค้นรายงานทางการแพทย์ เด็กแฝดตัวติดกันจะมีโอกาสเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอดสูง แต่ก็มีโอกาสรอดชีวิตภายหลังคลอด

แต่ในกรณีแฝดที่มีหัวใจติดกัน พบว่าเคยมีการผ่าแยกแต่ ‘เสียชีวิต’ หรือ ‘รอดเพียงคนเดียว’ เท่านั้น ดังนั้นครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถผ่าแยกและรอดชีวิตทั้งคู่ 
 

155 ปี รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้าง 'นครวัด' จำลองไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้คนไทยได้เห็นความมหัศจรรย์ของปราสาทหินแบบขอม ซึ่งใช้หินล้วนๆ เป็นวัสดุก่อสร้าง จึงมีพระราชดำริที่จะให้รื้อปราสาทหินที่มีอยู่เกลื่อนในเขตไทย ย้ายเข้ามาสร้างในกรุงเทพฯ สักแห่งสองแห่ง จึงมีรับสั่งให้ พระสุพรรณพิศาล กับ ขุนชาติวิชา ออกไปสำรวจหาที่เมืองนครธม นครวัด และเมืองพุทไธสมัน ว่ามีปราสาทไหนพอจะย้ายได้บ้าง ซึ่งขณะนั้นดินแดนเหล่านี้ยังเป็นพระราชอาณาจักรสยาม 

พระสุพรรณพิศาลกับขุนชาติวิชากลับมาทูลรายงานว่า ได้ไปสำรวจมาหลายตำบลแล้ว ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นปราสาทใหญ่ๆ รื้อมาคงไม่ได้ แต่ที่เมืองเสียมราฐ มีปราสาทผไทตาพรหม อยู่ 2 หลัง สูงแค่ 6 วา เห็นว่าพอจะรื้อเข้ามาได้ จึงโปรดให้มีตราไปเกณฑ์คนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ เมืองพนมศก เป็นแรงงานให้พระพิศาลไปรื้อปราสาทผไทตาพรหมเข้ามา โดยแบ่งกำลังคนออกเป็น 4 ผลัดๆ ละ 500 คน

ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (นอง) ได้ส่งพระยาอานุภาพไตรภพ เจ้าเมืองเสียมราฐ เข้ามากราบทูลว่า ได้เกณฑ์คนให้พระสุพรรณพิศาลตามรับสั่งแล้ว แต่พอตั้งพิธีพลีกรรมบวงสรวงและลงมือรื้อปราสาทเมื่อวันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2403 ปรากฏว่ามีชาวเขมรประมาณ 300 คนออกมาจากป่า เข้ายิงฟันพวกรื้อปราสาท ฆ่าพระสุพรรณพิศาลกับพระวังและลูกชายของพระสุวรรณพิศาลตาย รวม 3 คน ทั้งยังไล่แทงฟันพระมหาดไทย พระยกกระบัตร และคนอื่นๆ บาดเจ็บอีกหลายคน แต่พวกที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาไม่ถูกทำร้าย จากนั้นก็หนีกลับเข้าป่าไป

หลังจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงทราบ จึงรับสั่งให้พระยาอภัยภูเบศร์ และพระยาอานุภาพไตรภพ รื้อปราสาทคนละหลังเข้ามาให้จงได้ พร้อมทั้งสืบหาผู้ร้ายรายนี้ให้ได้ด้วย 

51 ปี การจากไปของ ‘โกมล คีมทอง’ ‘ครูแห่งแผ่นดิน’ ผู้อุทิศตนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

โกมล คีมทอง’ เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดสุโขทัย ได้เข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนประจำอำเภอจังหวัดนั้น และมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2509 จากนั้นได้สอบเข้าศึกษาต่อในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ในปี พ.ศ. 2512

จากคำบอกเล่าของคุณแม่ของโกมลนั้น เมื่อเริ่มจากชั้นประถมและมัธยมศึกษาโกมล ก็เหมือนเด็กผู้ชายไทยธรรมดาที่เรียบร้อย ว่าง่าย และเชื่อฟังพ่อ-แม่ แต่จะมีลักษณะพิเศษอยู่บ้างตรงที่เป็นเด็กช่างคิด ช่างฝัน และค่อนข้างเงียบขรึม โกมล คีมทอง เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใฝ่หาความรู้อย่างมีแบบแผน มิได้ใช้เพียงมองดู อ่าน สำรวจ และสังเกตเท่านั้น แต่ยังช่างซักถาม ช่างคิดค้นคว้าและทดลองกระทำอีกด้วย กิจกรรมต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ทำให้สามารถสร้างสมประสบการณ์และพัฒนาความคิดได้อย่างเป็นระบบ

โกมล คีมทอง สนใจงานอาสาสมัคร งานเสียสละ เท่าๆ กับงานด้านความคิด งานด้านปรัชญา เขาไม่เพียงแต่สนใจเพราะความสนุก แต่เขาสนใจที่จะศึกษาถึงแก่นแท้ของค่ายว่าคืออะไร งานค่ายนั้นมีความสำคัญอยู่ที่ไหน เมื่อสำเร็จการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว โกมล คีมทอง ได้ก่อตั้งและเป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลที่เหมืองห้วยในเขา ตำบลบ้านส้อง กิ่งอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดการศึกษาแบบโรงเรียนชุมชน 

โดยมีความมุ่งหมายให้โรงเรียนนี้เป็นศูนย์รวมทางประสบการณ์ของชาวบ้านและเด็กๆ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ให้ชาวบ้านรู้สึกว่ามีสิทธิ์เป็นเจ้าของโรงเรียน ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ค้นหาสิ่งที่ดีงามต่างๆ ที่ชุมชนนั้นมีอยู่ เช่น มโนราห์ นิทานชาวบ้าน พยายามส่งเสริมค่านิยมทางจิตใจ และเจตคติด้านความรักท้องถิ่น นับว่าเป็นตัวอย่างของคนหนุ่มที่มีความคิดและปรับเปลี่ยนความคิดออกเป็นการกระทำ ด้วยความมานะพยายามและความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง 

‘รัชกาลที่ 5’ ทรงสถาปนา ‘โรงเรียนวัดบวรนิเวศ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนเก่าแก่ของประเทศไทย 

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง ‘วิทยาลัย’ ขึ้นในวัดบวรนิเวศ โดยพระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร ทั้งนี้ เบื้องต้นได้แบ่งเป็น 2 แผนก คือ ส่วนที่ใช้เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรม และอีกส่วนจัดตั้งเป็นโรงเรียน โดยให้เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัยแห่งนี้

จึงเป็นที่มาของ ‘โรงเรียนวัดบวรนิเวศ’ โดยในยุคแรกเริ่ม ได้เชิญ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรณาณวโรรส มาทรงเป็นผู้จัดการโรงเรียนพระองค์แรก ต่อมาการเรียนการสอนในโรงเรียน ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปตามลำดับ ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงมีพระราชประสงค์ให้ขยายการศึกษาให้แพร่หลายไปทั่วประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ในโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ไปใช้สอนตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ จึงถือได้ว่า โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นโรงเรียนสาธิตในการใช้หลักสูตร เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงเป็นประธานจัดสร้างตึกเรียน 2 ชั้น และพระราชทานนามตึกว่า ตึกมนุษยนาควิทยาทาน

24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น ‘วันศิลปินแห่งชาติ’ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านประติมากรรม และด้านดนตรี ดังนั้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เพื่อสรรหา ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา ความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ ที่นับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปี พ.ศ. 2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่างๆ มาแล้วหลายคน 

25 กุมภาพันธ์ของทุกปี ‘วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ’ วันแรกที่ประเทศไทยมีการกระจายเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก

25 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ซึ่งกิจการวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติเกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2471 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และการคมนาคมในสมัยนั้น ซึ่งได้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะ โดยใช้ชื่อว่า “สถานี 4 พีเจ (4PJ)" และต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ และทดลองที่ตำบลศาลาแดงโดยใช้ชื่อว่า “เอช เอส หนึ่ง หนึ่ง พีเจ (HS 11 PJ)” ซึ่งคำว่า PJ มาจากคำว่า “บุรฉัตรไชยากร” ซึ่งเป็นพระนามเดิมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ได้มีการเปิดการส่งวิทยุเป็นปฐมฤกษ์ โดยใช้ชื่อสถานีว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” (Radio Bangkok at Phyathai) ตั้งอยู่ที่วังพญาไท มีกำลังส่ง 2.5 กิโลวัตต์ ซึ่งพิธีการเปิดได้อัญเชิญกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เข้าไมโครโฟนถ่ายทอดไปตามสาย เข้าเครื่องส่งแล้วกระจายเสียงสู่พสกนิกร โดยมีใจความว่า “การวิทยุกระจายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษาการค้าขายและการบันเทิง แก่พ่อค้า ประชาชน เพื่อควบคุมการนี้เราได้ให้แก้ไขพระราชบัญญัติดังที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนแล้ว และบัดนี้ดั่งเครื่องกระจายเสียงอย่างดีมาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เราจึงถือโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ตั้งแต่บัดนี้ไป” นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย

การเลือกครั้งที่ 9 ของประเทศไทย ที่ได้ชื่อว่า "สกปรกที่สุด" ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 9 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งหลังจากสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดตามวาระ ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 โดยรัฐบาลแปลก พิบูลสงคราม หรือจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้มีเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตจังหวัด ซึ่งเป็นการช่วงชิงเก้าอี้ในสภาทั้งสิ้น 160 ที่นั่ง และมีพรรคการเมืองลงสนามเลือกตั้งถึง 23 พรรค เป็นการเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่า สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์

พลเอก บัญชร ชวาลศิลป์ นายทหารนักประวัติศาสตร์ กล่าวในงานเสวนาเรื่อง ‘การเมืองเบื้องหลัง เลือกตั้ง สกปรก 2500’ จัดโดยนิตยสารศิลปวัฒนธรรม โดยได้หยิบคำฟ้องของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมทย์ ที่เขียนคำฟ้องในนามนายควง อภัยวงศ์ และ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์รวม 9 คน ทั้งก่อนวันเลือกตั้งและวันเลือกตั้ง สรุปได้ดังนี้

>> ก่อนการเลือกตั้ง
1.) พลเอกตำรวจเอก เผ่า จัดเลี้ยงพวก ‘ผู้กว้างขวาง’ หรือพวกอันธพาล รวมถึงนายตำรวจผู้ใหญ่ให้ช่วยเหลือพรรคเสรีมนังคศิลาที่มีจอมพล ป. เป็นหัวหน้าพรรค ในการเลือกตั้งที่จะมาถึง
2.) มีการเพิ่มชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างผิดปกติ และติดรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งล่าช้าหรือไม่ติดเลย
3.) ตรวจจับบัตรเลือกตั้งโกงได้จำนวนมาก เรียกว่า ‘ไพ่ไฟ’ คือบัตรเลือกตั้งที่พิมพ์จากโรงพิมพ์โดยกากบาทเบอร์ผู้สมัครไว้เรียบร้อยแล้ว
4.) การใช้ ‘พลร่ม’ คือใช้กลุ่มบุคคลเวียนลงคะแนนให้พรรคเสรีมนังคศิลาหลายรอบ
5.) คูหาลงเลือกตั้งแต่ละหน่วยอยู่ห่างจากสถานที่รับบัตรมาก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top