Monday, 12 May 2025
NewsFeed

'อ.ไชยันต์' ยกธรรมะ!! นิยามความเมตตา สรุปใช้ไม่ได้กับ 'ทักษิณ' ชี้!! เมตตาเท่าเทียมกัน แต่ไม่ใช่ปฏิบัติต่อทุกคนเหมือนกัน

(12 พ.ค. 68)  ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ “ความเมตตา กับคุณทักษิณ” โดยระบุว่า …

ช่วงนี้ มีคนมากกว่าหนึ่งคนออกมาขอให้สังคมมีความเมตตาต่อคุณทักษิณ ผมเลยไปหาความรู้เกี่ยวกับความเมตตา เพราะก่อนจะเมตตา น่าจะต้องมีปัญญากำกับ เลยได้ความมาดังนี้ครับ “เมตตาเท่าเทียมกัน แต่ไม่ใช่ปฏิบัติต่อทุกคนเหมือนกัน”

“ท่านเคยเปรียบเทียบเหมือนคนเลี้ยงม้า ท่านไปสอนคนเลี้ยงม้า บอกม้าบางตัวนิสัยมันดี ว่าง่ายสอนง่าย เขาก็ให้มันกินอาหารพอดีๆ พามันออกกำลังกาย พามันฝึก บางตัวมันดื้อเขาก็ทรมานมันต่างๆ นานาเพื่อปราบพยศมัน บางตัวสอนไม่ได้ฝึกไม่ได้ พระพุทธเจ้าถามว่า ถ้าเจอม้าเกเรฝึกไม่ได้จะทำอย่างไร เขาบอกเขาก็ฆ่าทิ้ง

พระพุทธเจ้าท่านก็บอกว่าท่านก็ทำแบบเดียวกัน ตัวไหนดีท่านก็อบรมอย่างเรียบร้อย ไม่ดุเดือดอะไร พวกที่หยาบหน่อยก็สั่งสอนแบบดุเดือดหน่อย พวกสั่งสอนไม่ได้ท่านฆ่าทิ้ง ฆ่าทิ้งคือไม่สอน

ถ้าจิตใจเรากระด้างจนครูบาอาจารย์ไม่สอน รู้เลยเราเป็นม้าระดับถูกฆ่าทิ้ง ฉะนั้นถ้าครูบาอาจารย์ยังดุด่าว่ากล่าวอยู่ แสดงว่ายังเป็นม้าชนิดฝึกได้อยู่

ความเมตตา ไม่ใช่ว่าเมตตาแล้วปฏิบัติต่อทุกคนเหมือนกัน อย่าเข้าใจผิดว่าถ้ามีความเมตตาแล้ว เราปฏิบัติกับคนดีคนชั่วเสมอกัน คนหยาบคนละเอียดเสมอกันอะไรอย่างนี้ ไม่ใช่ๆ

ถึงเราเมตตาเท่าเทียมกันกับคนทุกคน แต่การปฏิบัติ ปฏิบัติให้สมควรแก่คนๆ นั้นที่เขาจะได้ประโยชน์สูงสุด เราอยู่ในบริษัท ลูกน้องเราเยอะ เราเมตตาทุกคน เรารู้ว่าแต่ละคนมีความทุกข์ทั้งนั้น เราเมตตาทุกคน คนไหนมีฝีมือนิสัยดีก็โปรโมต ให้เขาเติบโตไป ให้โอกาสเขาทำงาน

คนซึ่งแย่ลงมาคุณสมบัติบกพร่องตรงนั้นตรงนี้ ก็สั่งสอน สั่งสอนแล้ว ให้โอกาสปรับตัว ให้โอกาสทำงาน ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ให้ออก ให้ออกก็คือเหมือนเราฆ่าทิ้ง ถามว่าฆ่าทิ้งด้วยความโหดร้ายทารุณไหม ไม่ใช่ เมตตามาก่อนแล้ว สุดท้ายก็ลงที่อุเบกขา

สัตว์โลกแต่ละตัวๆ มันมีอัธยาศัยใจคอแตกต่างกัน บางตัวยังหยาบเกินไป ก็ต้องปฏิบัติกับเขาอย่างหนึ่ง

นอกจากนี้ ศ.ดร.ไชยันต์ ได้เขียนในคอมเมนต์ถึงนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยว่า 

ท่านได้รับความเมตตา อภัยลดโทษเหลือจำคุก 1 ปีมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งตอนนั้น เชื่อว่าคนไทยเราก็เตรียมใจให้อภัยและมีเมตตาให้ท่าน หากท่านสำนึกน้อมรับการจำคุก ที่จริงคนระดับท่านถูกจำคุกจริงๆ ไม่ต้องถึงปี ดีไม่ดี คนไทยขี้สงสารใจอ่อน ท่านจะออกมาใส่กำไลอีเอ็มกลับไปอยู่บ้านเลี้ยงหลาน ก็คงไม่มีใครว่า รังแต่จะมีความเมตตาเห็นใจท่าน แต่ท่านไม่เข้าใจความเมตตาของคนไทยที่พร้อมจะให้ท่าน ท่านกลับคิดถึงแต่ตัวท่านเอง และยังมีทิฐิอยู่มาก

‘วิกรม’ แนะ!! ผู้ประกอบการไทย ปรับตัวรับ ‘ภาษีทรัมป์’ กระจายตลาดส่งออกสินค้า พัฒนาศักยภาพการผลิต!! สร้างฐานการผลิตสินค้าใหม่ ป้อนตลาดทั่วโลก

(12 พ.ค. 68) นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการและรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า จากนโยบายการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐ ที่เรียกเก็บจากประเทศผู้ส่งออกทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เชื่อว่าทุกประเทศที่เป็นฐานผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน  แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลการเจรจา ซึ่งผู้ผลิตต้องปรับตัวเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว เช่นการขยายไปยังตลาดใหม่ๆ  ลดการพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯเพียงอย่างเดียว ปรับแผนการผลิตโดยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สอดรับกับทิศทางของตลาด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการกระจายสินค้าไปได้ทั่วโลก

ขณะเดียวกันมูลค่าการค้าระหว่างกลุ่มประเทศในอาเซียน มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 10% ในทุกๆปี  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการค้าในอาเซียน และจีนเป็นตลาดใหญ่ โดยเฉพาะจีน ที่มีจำนวนประชากรและอัตราการเติบโตรายได้ต่อหัวค่อนข้างสูงทำให้ยังเป็นโอกาสสำหรับสินค้าไทยที่จะส่งออกไปยังประเทศจีน โดยอาศัยความได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์ที่สามารถส่งสินค้าไปได้ ทั้งระบบขนส่งโดย รถยนต์ และระบบราง เป็นต้น  

“สิ่งที่เกิดขึ้นเราต้องปรับตัวให้ได้ เพราะผู้ประกอบการที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ไม่ได้มีเป้าหมายส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ อย่างเดียว แต่ส่งสินค้าไปยังทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นยางรถยนต์ แอร์  ทำให้เกิดกระจายตลาดไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก จากอดีตที่ตลาดส่งออกของไทยให้ความสำคัญกับ 3 กลุ่มประเทศหลักประกอบด้วย สหรัฐฯ  ยุโรป และญี่ปุ่น  ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดอย่างน้อย 20% ในแต่ละประเทศ แต่สถานการณ์ปัจจุบันจะพึ่งพิงตลาดในอาเซียน และจีนเพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วน ของ 3ประเทศหลักเดิม มีสัดส่วนลดลงมาอย่างต่อเนื่อง” นายวิกรมกล่าว

นายวิกรม กล่าวอีกว่า การปรับตัวที่จะสามารถยังคงรักษาการเติบโตต่อไปได้ ต้องนำบทเรียนของประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง แม้ว่าต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจในทุกรูปแบบมาโดยตลอด เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน รวมทั้งสิงคโปร์ ที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ  โดยเริ่มการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ จากการเปิดรับ บุคลากร ที่มีความสามารถจากประเทศอื่นๆ เข้ามาร่วมมือกับคนในประเทศ ขณะที่ประเทศไทยควรนำมาเป็นแบบอย่าง เช่น ดึงคนเก่งจากต่างประเทศมาเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพในการผลิตและบุคคลากร  รวมถึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือ โนฮาวน์ มาพัฒนาการผลิตสินค้าใหม่ๆตรงกับความต้องการของตลาด  เพื่อยกระดับสินค้าไทย 

“ปัจจุบัน ผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะของไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตเพื่อการส่งออก 80% เป็นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูง สามารถกระจายไปยังทั่วโลก และพึ่งพิงตลาดในประเทศเพียง 20%” นายวิกรมกล่าว

ด้านนายโอซามู ซูโด รักษาการประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน (AMATA) กล่าวว่า  เชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมไทยและปรับตัวเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลจากขึ้นภาษีของสหรัฐฯเนื่องจากเรามีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและให้บริการที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจระดับโลก ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในการเลือกไทยเป็นฐานการผลิตและการลงทุน รวมถึงศักยภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและเป็นศูนย์กลางทางการผลิตในภูมิภาคเอเชียทำให้เราสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติได้อย่างต่อเนื่อง 

สำหรับแผนเดินหน้าของของกลุ่มอมตะในปีนี้ ยังคงรักษาการเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากบริษัทกลุ่มอมตะ มีนิคมอุตสาหกรรมในหลายประเทศที่รองรับการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน ทั้งนิคมฯ อมตะในไทยประเทศเวียดนาม    และที่อยู่ระหว่างการพัฒนาใน สปป.ลาว   ดังนั้นการตัดสินใจของนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในนิคมฯ ต้องใช้องค์ประกอบหลายด้านในการย้ายฐานการผลิต เพราะเป็นการลงทุนระยะยาว ต้องพิจารณาถึงสิทธิประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐาน ศักยภาพแรงงาน สิ่งอำนวยความสะดวกต่อการลงทุน  ที่สำคัญผู้ประกอบได้มีการเตรียมตัว และคาดการณ์เพื่อรับผลกระทบที่เกิดขึ้นของตลาดสหรัฐฯล่วงหน้าอยู่แล้ว และส่วนใหญ่เตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์เกิดขึ้นไว้ในระดับหนึ่ง

‘ปลากะพง 3 น้ำ’ เนื้อขาว แน่นนุ่ม กลิ่นละมุน เลี้ยงธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี ได้รับการรับรองคุณภาพ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

(12 พ.ค. 68) ‘Mahasmutfoods’ เชิญชวนมาร่วมกดติดตามเพจ ‘Mahasmutfoods’

เพื่อไม่พลาดกับความอร่อยในการสั่งซื้อปลากะพง 3 น้ำ จากทะเลสาบสงขลา มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ เนื้อขาว แน่นนุ่ม กลิ่นละมุน ปลากะพง 3 น้ำ จากทะเลสาบสงขลา เป็นกลุ่มแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพ (GI) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์

สามารถกดติดตามเพจได้ที่ลิงค์ : https://www.facebook.com/share/JpBX3VBVHZwJoE1w/?mibextid=LQQJ4d

รวมสุดยอดอาหารสดจากทะเลสาบสงขลา ไว้ที่นี่แล้ว!!

‘ปลากะพง 3 น้ำ’จากทะเลสาบสงขลา เป็นกลุ่มแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพ (GI) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์ 

เลี้ยงธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี
ไม่มีกลิ่นคาว ใช้เทคนิคญี่ปุ่นแบบอิเคะจิเมะ
เนื้อแน่นฟู สีชมพู รสชาติหวานอร่อย

พร้อมเสริ์ฟที่ร้านมหาสมุทรฟู้ดทุกสาขาส่งตรงจากทะเลสาบสงขลา สดๆใหม่ๆ พร้อมเสิร์ฟความอร่อยให้ทุกคนลิ้มลองแล้วที่ 

Gourmet Market Siam Paragon ชั้น G(โซนซีฟู้ด) ตั้งเเต่เวลา 10.00-23.00น

Gourmet Market The Mall ท่าพระ ชั้น B1 (หน้าร้าน You Hunt We Cook) ตั้งเเต่เวลา 10.00-22.00.

Gourmet Market สาขา The Emquartier, ชั้น G (โซนซีฟู้ด) ตั้งแต่เวลา 10.00-23.00น.

Tops สาขาเซ็นทรัล บางนาที่ Tops ชั้น B1 โซนซีฟู้ด ตั้งแต่เวลา 09.00-22.00น.

หรือสั่งตรงได้ที่ เพจ Mahasmutfoods
https://www.facebook.com/share/192moAR946/

พิเศษสุด ... Ready to Eat by มหาสมุทรซีฟู้ด มีอาหารปรุงสุก ให้ทุกท่านได้ลิ้มลองแล้ว วันนี้

แถลงการณ์ร่วม!! การประชุมเศรษฐกิจการค้า 'จีน - สหรัฐฯ' ณ นครเจนีวา ทั้ง 2 ประเทศ ตกลงร่วมดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าทวิภาคี

(12 พ.ค. 68) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า จีน และสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการประชุมทางเศรษฐกิจและการค้าจีน-สหรัฐฯ ณ นครเจนีวา (Joint Statement on China-U.S. Economic and Trade Meeting in Geneva) ซึ่งระบุว่ารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ("จีน") และรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ("สหรัฐฯ") ตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าทวิภาคีต่อทั้งสองประเทศและเศรษฐกิจโลก และตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่ยั่งยืนในระยะยาวและเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน

ทั้งสองฝ่ายตกลงจะดำเนินการต่างๆ ภายในวันที่ 14 พ.ค. 2025 ตามการหารือครั้งล่าสุดและความเชื่อที่ว่าการหารืออย่างต่อเนื่องมีศักยภาพจัดการกับข้อวิตกกังวลของแต่ละฝ่ายในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า รวมถึงการก้าวไปข้างหน้าด้วยจิตวิญญาณแห่งการเปิดกว้างร่วมกัน การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือ และความเคารพซึ่งกันและกัน

สหรัฐฯ จะ (1) ปรับการบังคับใช้อัตราภาษีตามมูลค่า (ad valorem rate) เพิ่มเติมกับสินค้าของจีน (รวมถึงสินค้าของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและเขตบริหารพิเศษมาเก๊า) ตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งฝ่ายบริหารหมายเลข 14257 ณ วันที่ 2 เม.ย. 2025 โดยระงับอัตราภาษีดังกล่าว 24 จุด เป็นระยะเวลา 90 วัน ขณะคงอัตราภาษีตามมูลค่าที่เหลือไว้ที่ร้อยละ 10 สำหรับสินค้าเหล่านี้ตามเงื่อนไขของคำสั่งดังกล่าว และ 

(2) ยกเลิกอัตราภาษีตามมูลค่าเพิ่มเติมที่แก้ไขแล้วกับสินค้าดังกล่าว ซึ่งกำหนดโดยคำสั่งฝ่ายบริหารหมายเลข 14259 ณ วันที่ 8 เม.ย. 2025 และคำสั่งฝ่ายบริหารหมายเลข 14266 ณ วันที่ 9 เม.ย. 2025

จีนจะ (1) ปรับการบังคับใช้อัตราภาษีตามมูลค่าเพิ่มเติมกับสินค้าของสหรัฐฯ ตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะกรรมการภาษีศุลกากรแห่งคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 4 ประจำปี 2025 โดยระงับอัตราภาษีดังกล่าว 24 จุด เป็นระยะเวลา 90 วัน แต่ยังคงอัตราภาษีตามมูลค่าเพิ่มเติมที่เหลือไว้ที่ร้อยละ 10 สำหรับสินค้าดังกล่าว และยกเลิกอัตราภาษีตามมูลค่าที่แก้ไขแล้วกับสินค้าดังกล่าว ซึ่งกำหนดโดยประกาศของคณะกรรมการภาษีศุลกากรแห่งคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 5 ประจำปี 2025 และประกาศของคณะกรรมการภาษีศุลกากรแห่งคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 6 ประจำปี 2025 และ 

(2) ปรับใช้มาตรการฝ่ายบริหารที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อระงับหรือยกเลิกมาตรการตอบโต้ที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรที่ดำเนินการกับสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. 2025

หลังจากดำเนินการข้างต้นแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งกลไกการหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าต่อไป โดยคณะผู้แทนจากฝ่ายจีนสำหรับการหารือนี้ ได้แก่ เหอลี่เฟิง รองนายกรัฐมนตรีจีน และคณะผู้แทนจากฝ่ายสหรัฐฯ ได้แก่ สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ และเจมิสัน กรีเออร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ซึ่งการหารือเหล่านี้อาจจัดขึ้นสลับกันในจีนและสหรัฐฯ หรือในประเทศที่สามตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย และทั้งสองฝ่ายอาจจัดการปรึกษาหารือระดับปฏิบัติการในประเด็นเศรษฐกิจและการค้าที่เกี่ยวข้องหากจำเป็น

ผลเจรจาสหรัฐฯ – จีน 🇺🇸🇨🇳 ก็แค่พักรบสงครามภาษี มันเป็นได้แค่เกมซื้อเวลา ตราบใดที่สหรัฐฯ ยังคงหวาดระแวงการเติบใหญ่ของจีน

(12 พ.ค. 68) รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Aksornsri Phanishsarn ระบุว่า ...

ผลเจรจาสหรัฐฯ - จีน 🇺🇸🇨🇳 ก็แค่พักรบสงครามภาษี  มันเป็นได้แค่เกมซื้อเวลา  ตราบใดที่สหรัฐฯ ยังคงหวาดระแวงการเติบใหญ่ของจีน

บทวิเคราะห์พิธีสวนสนาม Victory Parade 2025 กับพลวัตด้านอาวุธของ ‘รัสเซีย’ สะท้อน!! การเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ ในการต่อสู้ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

(12 พ.ค. 68) พิธีสวนสนาม Victory Parade 2025 ที่จัดขึ้นในกรุงมอสโกเป็นเวทีที่สะท้อนภาพลักษณ์ทางการทูตและการทหารของรัสเซียหลังจากที่เผชิญกับสงครามยูเครนมาเกือบสองปี อาวุธและขีปนาวุธในขบวนของปีนี้มีจำนวนที่น้อยลงกว่าเดิม ทำให้หลายฝ่ายเริ่มตั้งคำถามว่า “รัสเซียอาวุธหมดแล้วหรือ?” ท่าทีนี้ไม่เพียงแต่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางทหารของรัสเซียแต่ยังสะท้อนยุทธศาสตร์การรับรู้ (perception management) ที่เครมลินอาจตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความกดดันจากภายนอกและภายในประเทศ

หนึ่งในสัญญาณที่เห็นได้ชัดในพิธีสวนสนาม Victory Parade 2025 คือการลดลงของการปรากฏตัวของอาวุธหนักที่เคยมีความโดดเด่นในขบวนสวนสนามปีที่ผ่านๆมา จากที่เคยเต็มไปด้วยรถถัง T-90, T-14 Armata, และขีปนาวุธ Iskander ปีนี้กลับถูกแทนที่ด้วยการเลือกไม่แสดงอาวุธหนักอย่างชัดเจน ซึ่งไม่เพียงแต่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ แต่ยังทำให้เกิดคำถามถึงสภาพจริงของอำนาจทางทหารของรัสเซียในปัจจุบัน ทรัพยากรทหารที่จำกัดได้กลายมาเป็นปัญหาหลักที่รัสเซียต้องเผชิญ สงครามในยูเครนทำให้การใช้กำลังรบที่มีอยู่ต้องถูกนำไปใช้ในแนวหน้าอย่างต่อเนื่องและไม่มีหยุดพักทำให้การนำอาวุธหนักที่อาจมีความสำคัญสูงออกมาจัดแสดงในพิธีสวนสนามไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมในช่วงเวลานี้
ในขณะเดียวกันแนวทางการสงวนพลัง (Resource Allocation) ก็เริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน รัสเซียไม่สามารถเสี่ยงส่งทรัพยากรทางทหารที่มีจำกัดออกมาให้เห็นเพียงเพื่อโชว์ในพิธีการ เมื่อการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นในยุทธศาสตร์ “การยืดเยื้อ” และการต่อสู้ระยะยาวต้องได้รับการจัดลำดับความสำคัญใหม่ การแสดงอาวุธหนักที่น้อยลงในปีนี้จึงไม่ใช่แค่การขาดแคลนอาวุธ แต่สะท้อนถึงความตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่าและการวางแผนระยะยาวที่จะไม่สูญเสียทรัพยากรไปอย่างเปล่าประโยชน์

ดังนั้นการที่รัสเซียเลือกที่จะไม่แสดงขีปนาวุธรุ่นใหม่หรืออาวุธหนักในพิธีสวนสนาม Victory Parade 2025 จึงเป็นกลยุทธ์เชิงยุทธศาสตร์ที่ซับซ้อนที่รัสเซียเลือกใช้เพื่อควบคุมการรับรู้ (perception management) ทั้งในและนอกประเทศ รัสเซียเลือกใช้วิธีนี้เป็นเครื่องมือทางการทูตและการทหารที่มีความลึกซึ้งมากกว่าที่ตาเปล่าจะมองเห็นซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการส่งสัญญาณไปยังฝ่ายตะวันตกว่ารัสเซียไม่จำเป็นต้องโอ้อวดหรือแสดงออกทางทหารในขณะที่ยังคงมีความสามารถในการต่อสู้ โดยสามารถวิเคราะห์กลยุทธ์ดังกล่าวของรัสเซียได้ดังนี้

1) การจัดการภาพลักษณ์ระหว่างประเทศ 
การที่รัสเซียเลือกที่จะไม่แสดงอาวุธหนักใน Victory Parade 2025 เป็นการจัดการภาพลักษณ์ระหว่างประเทศที่แยบยล ในสถานการณ์ที่ถูกคว่ำบาตรหนักและเผชิญกับสงครามยืดเยื้อรัสเซียต้องการส่งสัญญาณว่าสามารถดำเนินสงครามได้โดยไม่ต้องโอ้อวดพลังทหาร การไม่แสดงขีปนาวุธหรือรถถังที่มีชื่อเสียงสะท้อนถึงการควบคุมการรับรู้ของคู่แข่งโดยเฉพาะประเทศตะวันตก ซึ่งทำให้พวกเขาต้องระมัดระวังเกี่ยวกับศักยภาพทางทหารที่ซ่อนเร้นของรัสเซีย การไม่แสดงพลังทหารยังเป็นการส่งสัญญาณไม่ต้องการยั่วยุซึ่งเป็นการเพิ่มความตึงเครียดในสงคราม และยังสะท้อนถึงการรักษาความสงบภายในประเทศโดยไม่ทำให้ประชาชนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์สงคราม ขณะเดียวกันรัสเซียยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ของความสงบและความมั่นคงซึ่งช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในการควบคุมสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การไม่แสดงอาวุธหนักในพิธีสวนสนามยังอาจสะท้อนถึงการส่งสัญญาณความพร้อมในการเจรจาโดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจว่าการแก้ไขปัญหาผ่านการเจรจายังคงเป็นทางเลือกที่เปิดกว้างซึ่งช่วยลดความตึงเครียดและเพิ่มโอกาสในการหาทางออกทางการทูต

2) สัญญาณเชิงยุทธศาสตร์ต่อฝ่ายตะวันตก 
ในด้านการทูตการเลือกที่จะ “เงียบ” ในการแสดงพลังทหา อาจเป็นกลยุทธ์การส่งสัญญาณไปยังฝ่ายตะวันตกและพันธมิตรว่า รัสเซีย ไม่จำเป็นต้องแสดงขีดความสามารถทหารในที่สาธารณะ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกถึงความ “เบาบาง” หรือ “สงบ” ในสถานการณ์แม้ว่าภายในจริงๆ แล้วอาจมีการเตรียมพร้อมในรูปแบบอื่นๆ อย่างลับๆ หรือไม่แสดงออกให้เห็นโดยตรง

3) การสะท้อนอำนาจที่ไม่จำเป็นต้องถูกแสดงออก
รัสเซียอาจต้องการส่งข้อความไปยังประเทศที่ไม่เป็นมิตรว่า “เราไม่จำเป็นต้องแสดงอาวุธเพื่อแสดงพลัง” หรือแม้กระทั่งการใช้ "ความเงียบ" ในการแสดงให้เห็นว่า “เรายังคงมีกลยุทธ์และความสามารถที่แฝงตัวอยู่” การเลือกที่จะไม่แสดงออกอาจเป็นการทำให้โลกเห็นว่ารัสเซียไม่ต้องการการยั่วยุหรือไม่ต้องการให้ทุกฝ่ายเห็นความสามารถที่แท้จริงของตนในสนามรบ

4) การสร้างอารมณ์ในประเทศ
ในมุมมองภายในประเทศการที่รัสเซียไม่แสดงอาวุธหนักในพิธีสวนสนามอาจเป็นการส่งสัญญาณให้ประชาชนรับรู้ถึงความมั่นคงว่ารัสเซียไม่จำเป็นต้องแสดงอาวุธหนักเพื่อพิสูจน์ความแข็งแกร่งและการสงวนพลังนั้นเป็นการเตรียมพร้อมในระยะยาว แม้ในเวลาที่มีการท้าทายจากต่างประเทศการแสดงความมั่นใจโดยไม่ต้องแสดงพลังทหารสามารถทำให้ประชาชนรู้สึกถึงการควบคุมสถานการณ์และไม่จำเป็นต้องเกิดความวิตกกังวล

5) ความหมายของการสงวนพลังในระยะยาว
การเลือกที่จะ “เงียบ” และไม่แสดงอาวุธหนักในพิธีสวนสนามนั้นอาจสะท้อนถึงความคิดที่ว่ารัสเซียกำลังมองไปข้างหน้าในสงครามระยะยาวที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความเข้มแข็งเพียงแค่ในวันนั้น ๆ แต่ต้องมีการจัดการทรัพยากรอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปในสนามรบในอีกหลายปีข้างหน้า ดังนั้น การแสดง “ความเงียบ” จึงเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการใช้พลังอย่างมีกลยุทธ์ในอนาคต

นักวิชาการรัสเซียมองว่าการไม่แสดงอาวุธหนักในพิธีสวนสนามเป็นการดำเนินกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงกับการรักษาภาพลักษณ์ทางการทูตและการทหารในระดับโลก แม้รัสเซียจะเผชิญกับการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการทูตแต่การจัดแสดงอาวุธในระดับใหญ่จะไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงภายในและการคงสถานะของประเทศในเวทีการทูต เช่นเดียวกับการหลีกเลี่ยงการยั่วยุฝ่ายตะวันตก ในทัศนะของ ดร. เซอร์เกย์ คารากานอฟ (Sergey Karaganov) นักวิชาการด้านการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัสเซียมองว่าการที่รัสเซียไม่แสดงอาวุธหนักเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถในการควบคุมสถานการณ์และไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามมองเห็นจุดอ่อนในพลังทหารของรัสเซีย ในขณะที่อเล็กซานเดอร์ ดูกิน (Alexander Dugin) ได้อธิบายถึงการใช้ความสงบในพิธีสวนสนามเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่รัสเซียสามารถควบคุมสถานการณ์และดำเนินการสงครามได้ในลักษณะที่ไม่ต้องแสดงพลังทหารอย่างโจ่งแจ้ง การที่รัสเซียไม่แสดงขีปนาวุธหรือรถถังที่มีชื่อเสียงในพิธีสวนสนามเป็นการส่งสัญญาณให้ฝ่ายตะวันตกว่า รัสเซียไม่ต้องการเปิดเผยความสามารถทางทหารทั้งหมด การเลือกใช้การสงวนพลัง (power preservation) ถือเป็นกลยุทธ์ที่รัสเซียใช้เพื่อไม่ให้คู่แข่งสามารถคาดเดาทิศทางของรัสเซียได้

สื่อมวลชนฝั่งรัสเซียเช่น RT และ Sputnik News ได้เสนอบทวิเคราะห์ที่สนับสนุนการตัดสินใจไม่แสดงอาวุธหนักใน Victory Parade 2025 โดยให้เหตุผลว่าการแสดงออกเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการทูตที่มุ่งเน้นการลดความตึงเครียดระหว่างประเทศ และส่งสัญญาณว่าแม้รัสเซียจะเผชิญกับสงครามในยูเครน แต่รัสเซียยังคงมีอำนาจทางทหารที่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างโจ่งแจ้ง การเลือกที่จะสงวนอาวุธหนักทำให้รัสเซียสามารถรักษาภาพลักษณ์ของความสงบและความมั่นคงได้ในขณะที่ยังคงรักษาความแข็งแกร่งในด้านการทหาร ในขณะที่ Izvestia ได้รายงานเกี่ยวกับการที่รัสเซียยังคงสามารถผลิตอาวุธและใช้เทคโนโลยีทหารที่ทันสมัย เช่น โดรน และ สงครามไซเบอร์ โดยไม่ต้องแสดงอาวุธหนักในการแสดงในที่สาธารณะ ซึ่งสะท้อนถึงการใช้ "สงครามรูปแบบใหม่" ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการแสดงพลังทหารในสนามรบแบบเดิม ๆ การแสดงในพิธีสวนสนามเป็นเพียงแค่การแสดงออกทางการเมืองที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับความสามารถจริงในสนามรบ

อย่างไรก็ตามมุมมองจากฝั่งตะวันตกมองว่ารัสเซียอาจกำลังเผชิญกับการขาดแคลนอาวุธระยะยาว เช่น ขีปนาวุธที่มีระยะยิงไกลและเครื่องบินทิ้งระเบิดที่สามารถเข้าถึงเป้าหมายในระยะไกลได้ องค์กรInternational Institute for Strategic Studies (IISS) หรือ The Economist ได้ชี้ว่า รัสเซียประสบปัญหาในการผลิตกระสุนและอาวุธบางประเภทที่ใช้ในการสงคราม เช่น กระสุนหนักสำหรับปืนใหญ่และอาวุธปล่อยที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย ซึ่งมีผลมาจากการคว่ำบาตรจากตะวันตกและการขาดแคลนเทคโนโลยีที่ทันสมัย รัสเซียต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากพันธมิตรเช่น จีนและอิหร่านเพื่อเติมเต็มช่องว่างในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามปัญหานี้ยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินสงครามอย่างยั่งยืน นักวิชาการบางคนมองว่าการที่รัสเซียไม่มีอาวุธเหล่านี้ในมือเทียบเท่ากับในอดีตอาจเป็นสัญญาณของการที่ประเทศกำลังสูญเสียความสามารถในการขยายสงครามไปยังพื้นที่อื่น ๆ และมุ่งเน้นการต่อสู้ภายในยูเครนเท่านั้น นักวิเคราะห์จากฝ่ายตะวันตกยังชี้ว่าการคว่ำบาตรจากตะวันตกได้จำกัดการเข้าถึงชิ้นส่วนและวัสดุที่จำเป็นในการผลิตอาวุธขั้นสูงอาทิ ชิปเซ็ต เทคโนโลยีการผลิตมิสไซล์หรืออุปกรณ์การผลิตที่ล้ำสมัยซึ่งจำกัดความสามารถของรัสเซียในการผลิตอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

บทสรุป การเลือกที่จะไม่แสดงอาวุธหนักใน Victory Parade 2025 ไม่เพียงแค่เป็นกลยุทธ์ทางการทูตเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของรัสเซียในเวทีโลก แต่ยังเป็นการสะท้อนถึงการควบคุมการรับรู้ของฝ่ายตรงข้าม การไม่ยั่วยุ และการสร้างความมั่นคงภายในประเทศ โดยทั้งนักวิชาการและสื่อรัสเซียมองว่า การแสดงพลังทหารในที่สาธารณะอาจไม่จำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบันที่การจัดการกับวิกฤติโดยไม่แสดงพลังทางทหารให้เห็นนั้นเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top