Wednesday, 21 May 2025
NewsFeed

'ชวน' กรีด!! ส.ส.ย้ายพรรค 'เอาเปรียบ-คบไม่ได้' เตือนเพื่อน ส.ส. รู้ทัน 'พรรคเฉพาะกิจ' ไม่ยั่งยืน!!

'ลุงชวน' เชื่อประชาธิปัตย์ภาคใต้ไม่สูญพันธุ์ แฉมีการจ่าย 200 ล้านบาท ดึงตัวคนประชาธิปัตย์ หวังกวาด ส.ส.ยกจังหวัด กรีด ส.ส.ย้ายพรรคหวังเป็นรัฐมนตรี เอาเปรียบ-คบไม่ได้

รายการ 'ชั่วโมงข่าวเสาร์อาทิตย์' ทางไทยพีบีเอส ได้สัมภาษณ์พิเศษ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายชวนกล่าวยอมรับว่า "เป็นห่วงความนิยมของพรรค โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้บางจุด แต่มั่นใจว่าไม่น่าจะถึงขั้นสูญพันธุ์ เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์มีชาวบ้านเป็นฐานเสียงสำคัญ ที่ยังศรัทธาในความซื่อสัตย์สุจริตของพรรคประชาธิปัตย์"

เมื่อถามว่า ยุคนี้ถือเป็นยุคตกต่ำของประชาธิปัตย์ และมีปัญหาที่เกิดจากปัญหาภายในของพรรคมากน้อยแค่ไหน นายชวน ยอมรับว่า "ปัญหาภายในพรรคมีบ้าง เช่น มีบางคนในพรรคอยากให้มีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค บางคนมาเจรจาขอให้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค ซึ่งได้ปฏิเสธไป เนื่องจากเป็นมติพรรคที่เลือกนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นหัวหน้าพรรค ทุกคนในพรรคก็ต้องช่วยกันทำงาน อีกทั้งการเปลี่ยนม้ากลางทางอาจไม่เหมาะสม ดังนั้น ทางเดียวคือหากต้องการเปลี่ยนแปลง ต้องรอให้ครบวาระและเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่"

ทั้งนี้ นายชวน เชื่อด้วยว่าเหตุผลความไม่พอใจตัวหัวหน้าพรรค ไม่ใช่เหตุผลของการย้ายสังกัดพรรค แต่เหตุผลสำคัญ คือ การกลัวแพ้เลือกตั้ง และการเจรจาทาบทามให้มีการย้ายพรรค

เปิดตลาดวัฒนธรรม 'อินทยงยศ ถนนสายวัฒนธรรม เล่าขานตำนานร่วมสมัยร้อยปีลำพูน'

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 เวลา 19.00 น. จังหวัดลำพูน โดยสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดลำพูน จัดงาน 'ตลาดวัฒนธรรม อินทยงยศ ถนนสายวัฒนธรรม เล่าขานตำนานร่วมสมัยร้อยปีลำพูน' โดยมีนายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยนายธวัชชัย อุบลพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดลำพูน หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดลำพูน เครือข่ายชุมชนถนนอินทยงยศ ประชาชน ชาวจังหวัดลำพูน และสื่อมวลชน ร่วมพิธีเปิดงาน ณ บริเวณตึกอินทพานิช ถนนอินทยงยศ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 

นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ตามแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน ภายใต้โครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและบริการ ตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2565 'ลำพูนเมืองแห่งความสุข' ในโครงการดังกล่าวมุ่งเน้นพัฒนาให้จังหวัดลำพูนเป็นเมืองจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ชุมชนให้มีความเข้มแข็งบนพื้นฐานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน บนต้นทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดลำพูนที่เอกลักษณ์โดดเด่นหลายด้าน ลำพูนเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีประเพณีที่โดดเด่น มีอาหารและสินค้าทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและเข้มแข็ง เป็นเมืองที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวมาเยือน การจัดตลาดทางวัฒนธรรม บนถนนอินทยงยศในครั้งนี้ เป็นการบอกถึงความพร้อมของจังหวัดลำพูน ในการเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยือนและร่วมเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของดีของจังหวัดลำพูนต่อสายตานักท่องเที่ยว 

BEM แจงปม รถไฟฟ้าสายสีส้ม ไร้ทุจริต ยัน!! เข้าร่วมประมูลถูกต้องตามกฎหมาย

(26 ก.พ.66) จากกรณีมีการให้ข้อมูลปรากฏเป็นข่าวว่า การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่อว่ามีการทุจริตและเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) นั้น บริษัทขอชี้แจงว่า BEM เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจโดยสุจริต โปร่งใส ยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด

และในการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งบริษัทเป็นผู้ชนะการคัดเลือกและอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

รวมประโยคเด็ด 'ลุงตู่' และวลีทองในตำนาน "นะจ๊ะ"

เรื่องบุคลิกภาพของ 'ลุงตู่' ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภาพจำที่ประชาชนจดจำได้เป็นอย่างดี แม้จะดูเป็นคนดุ พูดประโยคสั้น กระชับ ได้ใจความ ตามสไตล์ชายชาติทหาร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า 'ลุงตู่' มักจะมีประโยคเด็ด ที่เรียกความสนใจประชาชนอยู่เสมอ ๆ

ยกตัวอย่างครั้งหนึ่ง ก่อนการปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ปี 2563 ลุงตู่ได้กล่าวประโยคที่ทำให้บรรดาสื่อมวลชนต้องคัดมาทำเป็นประโยคสำคัญ (Quote) ลุงตู่บอกไว้ว่า... 

“ผมไม่เคยยึดติดกับตำแหน่ง หลายท่านบอกผมอยากอยู่ยาว อยู่นาน ก็ต้องไปถามคนพูด สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผมจะไม่ตัดช่องน้อยแต่พอตัวเพื่อหนีปัญหา ผมจะไม่ละทิ้งหน้าที่ด้วยการลาออกในยามที่ชาติบ้านเมืองมีปัญหาเหมือนคนที่เพิ่งฟื้นไข้ และจะขับเคลื่อนประเทศให้เดินต่อไปจนกว่าจะไม่มีโอกาสได้ทำ”

หรืออีกครั้งหนึ่งเมื่อถูกถามจากนักข่าวเรื่องมีกระแสนายกฯ จะลาออก ลุงตู่ก็ตอบออกมาว่า “ก็ยังทำงานอยู่นี่ไง ทำงานอยู่นี่ ไม่มีคำท้อแท้ ผอมลงมาหน่อยเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นโรคเป็นภัยทั้งสิ้น แข็งแรงทั้งกายและใจ เพราะว่าทำเพื่อคนอื่น และอย่างไรก็ต้องทำจนกว่าจะไม่ได้ทำก็เท่านั้นเอง”

ด้วยสไตล์การตอบคำถาม ตลอดจนการพูดคุยของลุงตู่ ทำให้สื่อมวลชนมักจะได้ 'ประโยคเด็ด' นำไปเสนอข่าวอยู่เป็นประจำ รวมทั้งยังมี 'วลีทองในตำนาน' ที่กลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี นั่นคือ การลงท้ายประโยคด้วยคำว่า “นะจ๊ะ”

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ‘ไทย’ เป็นเจ้าภาพประชุมใหญ่ ‘AFECA-ICCA’ สะท้อนความน่าเชื่อถือ พร้อมดัน ‘ธุรกิจไมซ์’ ขับเคลื่อน ศก.

(27 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่น และชื่นชมในศักยภาพการจัดการประชุม ซึ่งไทยทำได้ดีมาโดยตลอด

นายอนุชา กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติ 2 รายการ ได้แก่ สมาคมการประชุมนานาชาติ (International Congress and Convention Association: ICCA) ประกาศจัดประชุมใหญ่ประจำปีที่ไทยในเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ และสมาคมสหพันธ์นิทรรศการและการประชุมแห่งเอเชีย (Asian Federation of Exhibition and Convention Associations: AFECA) ประกาศอย่างเป็นทางการ ให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสามัญประจำปี Annual General Meeting 2023 (AFECA AGM 2023) ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ภายใต้แนวคิด ‘ASIA UNITES’ โดยจะมีสมาชิก 155 องค์กรจาก 19 ประเทศเดินทางมาร่วมประชุม ซึ่งการที่ไทยได้รับเกียรตินี้ สะท้อนและยืนยันถึงศักยภาพการเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของไทย เชื่อมั่นว่าจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจำนวนมาก

'บิ๊กป้อม' เปิดใจ เหตุผล ที่ยังไม่หยุดเล่นการเมือง และทำไมต้อง ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’

(27 ก.พ. 66) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เผยแพร่ผ่านเพจ ‘พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ’ เรื่อง ทำไมต้อง ‘ก้าวข้ามความขัดแย้ง’ เนื้อหาระบุ เพราะแม้จะมีเหตุผลมากมายที่หลายคนเห็นว่าผมควรจะหยุด และกลับไปใช้ชีวิตสบาย ๆ ซี่งจะทำให้ผมมีความสุขมากกว่า เนื่องจากชีวิตไม่ได้รู้สึกขาดแคลนอะไรแล้ว

และนั่นทำให้ผมคิดแล้ว คิดอีกอยู่เหมือนกัน เพียงแต่ในที่สุดแล้ว ผมตัดสินใจที่จะทำงานต่อ แน่นอนว่าเหตุผลหนึ่งคือ ผมผูกพันกับคนที่ร่วมสร้าง ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ขึ้นมาจนประสบความสำเร็จ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศมาเกือบครบ 4 ปีเต็ม ๆ

ทุกคนล้วนมีความหวัง ความฝันที่จะทำงานการเมืองต่อไป ทุกคนต่างร่วมทำงานหนักกันมา เมื่อถึงวันที่จะต้องลงเลือกตั้งกันใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าครั้งนี้จะเป็นการแข่งขันที่เข้มข้น การต่อสู้รุนแรงมาก ใครไม่พร้อมก็ยากที่จะเดินต่อไปได้ ผมจะคิดแค่เอาตัวรอด ทิ้งเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ร่วมสร้าง ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ที่ยังมีความฝันอยู่เต็มเปี่ยมได้อย่างไร

นั่นเป็นเหตุผลแรก

แต่ลึกไปในใจ ในความรู้สึกนึกคิด ผมมีเหตุผลส่วนตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเหตุผลที่เกิดจากการทบทวนครั้งแล้ว ครั้งเล่า ถึงทางออกของชาติบ้านเมือง ว่าควรจะทำอย่างไรกันดี เป็นการทบทวนที่มองผ่านเข้าไปในประสบการณ์ชีวิตของผมทั้งหมด แล้วหาข้อสรุปว่าเกิดอะไรกับประเทศ

ผมจะค่อย ๆ เล่าให้ฟังว่า อะไรที่ผมพบเจอ รับรู้ และเกิดความคิดอย่างไรในแต่ละช่วงชีวิต จนสุดท้ายตัดสินใจทำงานการเมืองต่อ ด้วยความคิดว่าตัวเองจะทำประโยชน์ด้วยการคลี่คลายปัญหาให้ประเทศเดินหน้าไปสู่ความสดใส ผมจะเริ่มจากการเล่าให้เห็นประสบการณ์รับราชการทหารตั้งแต่ ‘นายทหารผู้น้อย’ ค่อย ๆ เติบโตมาถึง ‘ผู้บัญชาการกองทัพ’ ได้รับการหล่อหลอมให้ ‘จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์’ มาทั้งชีวิต

จนผลึกความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา เป็น ‘จิตวิญญาณที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดีของผม’ อย่างมั่นคง ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ในห้วงเวลาเกือบทั้งชีวิตในราชการทหาร ด้วยจิตสำนึกดังกล่าว ผมได้รับรู้ความห่วงใยของคนในวงการต่าง ๆ ที่มีต่อความเป็นไปทางการเมืองของประเทศ อาจจะเป็นเพราะผมเป็น ‘ผู้บังคับบัญชากองทัพ’ เสียงความห่วงใยส่วนใหญ่จึงมีเป้าหมายไปที่ ‘นักการเมือง’

คนกลุ่มหนึ่ง ซี่งมีบทบาทสูงต่อความเป็นไปของประเทศ หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายว่า ‘กลุ่มอิลิท’ ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการกำหนดความเป็นไปของประเทศ มอง ‘ความเป็นมาและพฤติกรรมของนักการเมือง ด้วยความไม่เชื่อถือ’ และความไม่เชื่อมั่นลามไปสู่ความข้องใจใน ‘ประชาธิปไตย’ และ ‘ความรู้ความสามารถของประชาชน ในการเลือกนักการเมืองเข้ามาครอบครองอำนาจบริหารประเทศ’ ความไม่เชื่อมั่นต่อนักการเมือง และการเลือกของประชาชนนั้น ทำให้ผู้มีบทบาทกำหนดความเป็นไปของประเทศเหล่านี้ เห็นดีเห็นงามกับการ ‘หยุดประชาธิปไตย’ เพื่อ ‘ปฏิรูป’ หรือ ‘ปฏิวัติ’ กันใหม่ หวังแก้ไขให้ดีขึ้น

คนในกลุ่มนี้ล้วนแล้วแต่หวังดี อยากเห็นประเทศพัฒนาไปสู่ความรุ่งเรือง เป็นผู้มีประสบการณ์ที่พิสูจน์แล้วว่ามีความรู้ความสามารถ หากสามารถชักชวนเข้ามาทำงานให้กับประเทศได้จะเป็นประโยชน์  แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่งว่า คนที่ประสบความสำเร็จในการใช้ความรู้ ความสามารถเหล่านี้ ไม่มีโอกาสเข้ามาช่วยประเทศชาติในช่วงที่ ‘ระบบการเมือง’ จัดสรรผู้เข้ามามีอำนาจบริหารตามโควต้าจำนวน ส.ส. ที่ประชาชนเลือกเข้ามา โอกาสที่จะเข้ามาช่วยประเทศชาติ มีเพียงช่วงที่ ‘รัฐบาลมาจากอำนาจพิเศษ’ หรือการปฏิวัติ รัฐประหารเท่านั้น การรับราชการทหารมาเกือบทั้งชีวิต ทำให้ผมรู้จัก เข้าใจ และแทบจะมีความคิดในทางเดียวกับคนที่หวังดีต่อประเทศชาติเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นความคิดในช่วงแรก แม้จะครอบคลุมเวลาส่วนใหญ่ของชีวิต แต่หลังจากเข้ามาทำงานร่วมกับนักการเมือง และตั้งพรรคการเมือง ทั้งในช่วงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และเป็น ‘ผู้ก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ’ จนมาเป็น ‘หัวหน้าพรรค’ ผมได้รับประสบการณ์อีกด้าน อันทำให้เข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องนำพาประเทศไปด้วย ‘ระบอบประชาธิปไตย’

เพราะในความเป็นจริงทางการเมือง ไม่ว่านักการเมืองส่วนใหญ่จะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ที่สุดแล้วอำนาจการบริหารประเทศต้องกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งผู้ที่อำนาจตัดสินว่าจะให้ใครเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ก็คือ ‘ประชาชน’ มีความจริงอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ นั่นคือ แม้ในการเลือกตั้งทุกครั้ง ‘ผู้ยึดครองอำนาจด้วยวิธีพิเศษ’ จะตั้ง ‘พรรคการเมือง’ ขึ้นมาสู้ ซึ่งแม้จะหาทางได้เปรียบในกลไกการเลือกตั้ง แต่ผลที่ออกมา ‘ฝ่ายอำนาจนิยม’ จะพ่ายแพ้ต่อ ‘ฝ่ายประชาธิปไตยเสรีนิยม’ ทุกคราว

ความรู้ ความสามารถของ ‘กลุ่มอิลิท’ ทำให้ประชาชนศรัทธาได้ไม่เท่ากับนักการเมือง ที่คลุกคลีกับชาวบ้านจนได้รับความรัก ความเชื่อถือมากกว่า นี่คือต้นตอของปัญหาที่สร้างความขัดแย้ง ขยายเป็นความแตกแยก ระหว่าง ‘ฝ่ายอำนาจนิยม’ กับ ‘ฝ่ายเสรีนิยม’ ที่หาจุดลงตัวร่วมกันไม่ได้ เพราะพยายามหาทางให้ฝ่ายตัวเอง ‘ชนะอย่างเด็ดขาด-ทำลายอีกฝ่ายให้สิ้นสูญ’ กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ กระทบต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติ

‘วัชระ’ จี้ ‘ชัชชาติ’ จัดการ ‘หนู-แมลงสาบ’ หลังพบวิ่งว่อนทั่วตลาดสนามหลวง 2

(27 ก.พ. 66) นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส. เขตหนองแขม-ทวีวัฒนา พรรคประชาธิปัตย์ ลงพื้นที่พร้อมกับว่าที่ร้อยตรีบัณฑิต ศุภพิสุทธิ์ ตัวแทนผู้ค้าสนามหลวง 2 พบปะเยี่ยมเยียนพ่อค้าแม่ค้า และประชาชนที่มาจับจ่ายซื้อของ

โดยนายวัชระ กล่าวว่า พบปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงขอเรียกร้องให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร เข้ามาดูแลแก้ปัญหาให้หลังได้รับการร้องเรียนจากพ่อค้าแม่ค้าว่า ตลาดแห่งนี้ยังมีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคจำนวนมากทั้งหนู แมลงสาบ รวมทั้งไฟส่องสว่างทางเดินที่ดวงเล็กมาก และลูกระบายอากาศที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาตลาดมีเสียงดังมาก โดยเฉพาะเวลาที่มีลมพัดแรงเกิดเสียงดังจนพ่อค้าแม่ค้าเปรียบเหมือนเสียงหมาโดนรถทับ ป้ายชื่อตลาดแตกชำรุด เป็นต้น จึงขอให้ผู้ว่าฯ กทม.สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว หรือลงมาดูพื้นที่ด้วยตนเอง

‘จตุพร’ ท้าเพื่อไทย ตอบปมดีล ‘บิ๊กป้อม’ ชี้!! ควรพูดความจริง อย่าปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง

‘อย่าปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง ดิ้นหนี’ จตุพร ท้าใจเพื่อไทย กล้าๆ หน่อย ใช้ความจริงตอบคำถามวัดกันไปเลย ย้ำจับมือ พปชร.หรือไม่ อ่านไต๋พูดแต่โวหาร ตอบไม่ตรงคำถาม ซัดออกลีลาดิ้นหนี โชว์ปลิ้นปล้อน งัด ปวศ.ตลบตะแลง ยันได้เสียงมากสุดกลับเสนอแคนดิเดตนายกฯ พรรคอื่นถึงสองคราว ยันอย่างนี้จะให้เชื่อไม่จับ ‘ประวิตร’ ตามดีลนายกฯ เอื้อประโยชน์ตัวเองได้อย่างไร

(27 ก.พ.66) นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ประเทศไทยต้องมาก่อน ตอน ‘วัดกันไปเลย’ โดยระบุให้แกนนำเพื่อไทยใช้ใจกล้ามาตอบคำถามด้วยความจริง จะจับมือ พปชร.หรือไม่ พร้อมติงที่ตอบมานั้นแค่โวหาร พูดกั๊ก ๆ แสดงลีลา ดิ้นหนีความจริง กลัวเสียงหาย หรือถูก พปชร.รุมย่ำความปลิ้นปล้อน

นายจตุพร กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยยังไม่ตอบคำถามว่า จะจับมือกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ-พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หรือไม่ แต่สิ่งที่ผู้นำของพรรคพูดมานั้นเป็นเพียงโวหาร อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาประวัติศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยแล้ว แม้ที่ผ่านมาเป็นพรรคมีเสียงอันดับหนึ่งในสภา แต่เคยเลือกบุคคลจากพรรคอื่นเป็นนายกฯ มาแล้วถึงสองครั้ง โดยครั้งแรก ธันวาคม 2551 เลือก พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก (หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน) ชิงนายกฯ กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แต่ก็แพ้ไป

ส่วนครั้งที่สอง หลังเลือกตั้งปี 2562 เลือกนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (เมื่อครั้งเป็นหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่) เป็นนายกฯ ก็แพ้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มี ส.ว.เทเสียงหนุนอย่างเป็นเอกภาพถึง 249 เสียงจากทั้งหมด 250 คน ดังนั้น ประวัติศาสตร์จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า พรรคเพื่อไทยทั้งที่ได้เสียงเลือกตั้งมากที่สุด ยังไม่เคยได้เลือกแคนดิเดตนายกฯ ของตัวเองมาเลย กลับไปลงมติเลือกแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคอื่นแทน

ดังนั้น เมื่อมาถึงการเลือกตั้งปี 2566 กรณีแกนนำเพื่อไทยบอกต้องโหวตเลือกแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคตัวเอง ถ้าเลือกคนจากพรรคอื่นจะตอบประชาชนได้อย่างไรนั้น นายจตุพร กล่าวว่า ตอบตามที่เคยตอบและก็อยู่มาได้ตามที่เคยอยู่แล้วไง แต่ปัญหาทางการเมืองนั้น ถ้าไม่จับมือกัน ไม่ดีลกันก็ต้องต้องตอบให้เด็ดขาด เหมือนพรรคก้าวไกลกับไทยสร้างไทยประกาศชัดเจนไม่จับมือกับ พปชร. และรวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) อีกทั้งพรรคภูมิใจไทยจะไม่จับมือกับก้าวไกล

นายจตุพร ย้ำว่า คำถามที่ตนถาม และชูวิทย์ (กมลวิศิษฎ์) นำไปถามต่อว่า จะจับมือกับ พล.อ.ประวิตร และ พปชร.หรือไม่ ซึ่งไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร ถ้าคนทั้งสามคนของเพื่อไทยมีความเป็นจริงในใจแล้ว ควรตอบมาง่ายๆ ว่า ไม่มีวันจับมือกับ พปชร. ก็เป็นที่ยุติแล้ว

“เพราะความตลบตะแลตั้งแต่เรื่องสุดซอย (กม.นิรโทษกรรมที่เพื่อไทยปรับเปลี่ยนไปคลุมถึงคดีทุจริต) มติพรรคเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา 3 รอบ ดังนั้น ความไม่อยู่กับร่องกับรอยในทุกเรื่อง พร้อมประวัติศาสตร์ได้อธิบายอยู่ทุกวัน โดยความเป็นจริงคุณตอบคำถามเรื่องนี้ได้ง่ายที่สุด ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน แล้วทำไมต้องตอบไม่ตรงกับคำถามด้วย”

อีกทั้งย้ำว่า ถ้าเพื่อไทยตอบตรงคำถามง่าย ๆ ว่า ไม่มีวันจับมือกับ พปชร.เด็ดขาดไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไรก็ตามก็เท่านั้น แต่ไม่ตอบจึงทำให้นึกย้อนถึงร่องรอยสายสัมพันธ์ตั้งแต่การแต่งตั้ง พล.อ.ประวิตร เป็น ผบ.ทบ. รวมถึงความสัมพันธ์ช่วงก่อน และหลังวันยึดอำนาจปี 2557 ซึ่งปิดบังตนไม่มิด เพียงแต่ยังไม่ได้อธิบายในรายละเอียดว่า ใครประสานกับใคร อย่างไร และวางคนของตัวเองไว้ตรงไหนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการดีลหลังวันยึดอำนาจด้วยการเจรจาเป็นตอนๆ ไป ทั้งในเรื่องกลับบ้าน หรือคดีอื่น ๆ พอไม่สำเร็จก็ดีลให้เดินทางออกนอกประเทศ

“ดีลยึดอำนาจยังดีลเลย นับประสาอะไรกับการดีล (จับมือประวิตร หนุนให้เป็นนายกฯ) ที่ตอบไม่เต็มปากเต็มคำ เพราะการจับมือกับประวิตรยังมีฤทธิ์เดชอยู่ แม้ไม่มีการปฏิเสธกัน แต่มีความพยายามจะเอานายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย มากลบข่มประวิตร แต่สุรเกียรติ์ก็ไม่มา”

จุตพร กล่าวว่า เพื่อไทยยังมีสิทธิ์ตอบคำถามง่ายๆ นี้ แต่กลับเล่นลีลาลากไปลากมา ออกอาการพูดปลี้นปล้อน โยนหลักการมาอธิบาย แต่ไม่ยอมใช้ภาษาง่ายๆแบบไพร่พูดให้ชัดเจนตรงไปตรงมา ไม่ต้องตีความความ หรือพูดเปิดช่องดิ้นหนีคำถาม ถึงที่สุดก็ยังไม่ได้คำตอบที่ตรงกับคำถามจนบัดนี้ ดังนั้น จึงคิดเป็นอื่นไม่ได้ เพราะต้องพึ่งพา พล.อ.ประวติร กับ องค์กรอิสระทั้ง 5 และ ส.ว. ยิ่งถ้าประกาศจับมือ พล.อ.ประวิตร เสียงก็จะหายไปทันที หรือหากประกาศเด็ดขาดไม่จับมือ พปชร. ก็จะเจอสงครามและเจอปฏิบัติการกันอีกหลากหลาย จึงจำเป็นต้องอ้ำอึ้ง แล้วพูดกั๊กกันไว้เช่นทุกวันนี้ เพราะเป็นแค่ลีลา ซึ่งไม่ใช่ความจริง

‘โนเกีย’ เปลี่ยนโลโก้ใหม่ครั้งแรกในรอบ 60 ปี สลัดภาพจำแบรนด์มือถือ ลุยธุรกิจเครือข่ายเต็มรูปแบบ

(27 ก.พ. 66) 'โนเกีย' ซึ่งเป็นบริษัทที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ในฐานะผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือยอดนิยมในอดีต ได้เปลี่ยน' โลโก้' ใหม่ของบริษัท เพื่อสลัดภาพจำที่คนทั่วไปเข้าใจว่า 'โนเกีย' ผลิตแต่โทรศัพท์มือถืออย่างเดียว

เพ็กก้า ลุนด์มาร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโนเกีย ได้เปิดตัว 'โลโก้ใหม่' ของบริษัท ที่งาน Mobile World Congress ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ซึ่งเป็นการออกแบบและเปลี่ยน 'โลโก้ใหม่' ครั้งแรกในรอบ 60 ปีของ 'โนเกีย' เพื่อสะท้อนกลยุทธ์การทำธุรกิจและทิศทางใหม่ของบริษัท ซึ่งคนทั่วไปยังคงเข้าใจว่าธุรกิจหลักของโนเกีย คือ การผลิตโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากในอดีต โนเกีย คือ ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 จนกระทั่งถึงยุคของสมาร์ตโฟน จึงทำให้สินค้าของโนเกียได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อย ๆ

‘ก้าวไกล’ มีมติคว่ำ ‘พ.ร.ก. อุ้มหาย’ หวังคุ้ม ปชช. จี้!! ส.ส. หนุนอย่าทำสภาล่ม เตะถ่วงเพื่อตู่

‘ก้าวไกล’ มีมติโหวตคว่ำ พ.ร.ก. อุ้มหาย จี้ ส.ส. รัฐบาลต้องปกป้องประชาชน อย่าทำสภาล่มหรือยื่นศาล รธน. เตะถ่วงเพื่ออุ้มประยุทธ์

(27 ก.พ. 66) นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวถึง กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรจะประชุมเพื่อพิจารณา พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ ในวันพรุ่งนี้ (28 ก.พ. 66) นั้น ตนได้แจ้งกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ว่ามีมติโหวตคว่ำ พ.ร.ก. ฉบับนี้ของรัฐบาล และไม่เห็นด้วยกับการยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการออก พ.ร.ก. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

“พ.ร.บ. อุ้มหายฯ เป็นกฎหมายที่ ส.ส. ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลผลักดันร่วมกันกับภาคประชาสังคม เพื่อคุ้มครองไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิและร่างกายของประชาชนระหว่างถูกควบคุมตัว ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เคยยืนยันต่อ กมธ. ของสภาเองว่า เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้ทันแน่นอน ดังนั้น เมื่อถึงกำหนดที่ พ.ร.บ. อุ้มหายฯ จะต้องบังคับใช้แล้ว การออก พ.ร.ก. เพื่อเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ. ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงรับฟังไม่ได้ และชัดเจนอยู่แล้วโดยไม่ต้องถามศาลรัฐธรรมนูญ ว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ออกโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะมิได้เป็นกรณีฉุกเฉิน มีความจำเป็นเร่งด่วนแต่อย่างใด”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top