Sunday, 18 May 2025
NewsFeed

ก.แรงงาน จัดกิจกรรม 'จิตอาสาร่วมบริจาคโลหิต 1 คนให้ หลายคนรับ รู้รักสามัคคี พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน' เทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9

วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เวลา 10.00 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะนายกสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจผู้บริจาคโลหิต โดยกระทรวงแรงงานร่วมกับสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ร่วมจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต 

‘บิ๊กป้อม’ เกาะติด ‘ปราบปรามค้ามนุษย์’ สั่งเข้มมาตรการขั้นเด็ดขาด หวังขึ้นเทียร์ 1 ปี 66

พล.อ.ประวิตร  เกาะติด 'ปราบปรามค้ามนุษย์' ต่อเนื่อง สั่งเข้มมาตรการขั้นเด็ดขาด เน้น กลไก NRM  ย้ำเยียวยาเหยื่อ ตั้งเป้าเทียร์1 ปี 66 สร้างความเชื่อมั่นประเทศไทย

(9 ธ.ค. 65) เวลา 09.30 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม 2 คณะต่อเนื่องกัน เริ่มจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) ครั้งที่ 3/2565 ต่อด้วยคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) ครั้งที่ 5/2565 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การประชุม ปคม.ที่ประชุมได้รับทราบ รายงานความก้าวหน้า การจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหาย (ดอนเมือง) โดย สตช. ซึ่งประกอบด้วย การปรับปรุงอาคารศูนย์ฝึกอบรมฯ และการพัฒนาระบบศูนย์คัดแยกฯ ซึ่ง สหรัฐให้ความสนใจ และพล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และรับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Mechanism :NRM) ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ย้ำให้ทุกหน่วยงานทำความเข้าใจและดำเนินการให้เป็นไปตาม NRM อย่างเคร่งครัด รวมทั้งรับทราบ FBI ได้สนับสนุนการฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ของไทย หัวข้อ 'การสืบสวนสอบสวนกรณีการค้ามนุษย์' ห้วง 10-21ต.ค.65 ในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ไทย จำนวน 32 คน

จากนั้นที่ประชุม ได้พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย ประจำปี2565 และกรอบเวลาการจัดทำรายงาน ซึ่งมีผลการดำเนินงานคืบหน้าที่สำคัญ ทั้งด้านการดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย ด้านช่วยเหลือคุ้มครอง และด้านการป้องกัน รวมทั้งได้เห็นชอบแต่งตั้ง พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชารยะ ให้เป็นประธานอนุกรรมการร่วม ว่าด้วยการขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (ฝ่ายไทย) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมาย ตามข้อตกลงร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย

โจรปล้นร้านทอง ถูกยิงสวน อาการโคม่า เจ้าของร้านไม่ธรรมดา ดีกรีแชมป์แม่นปืน

(9 ธ.ค. 65) ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นรายงานเหตุการณ์ 4 คนร้าย ใส่เสื้อคลุมสวมหมวกอำพรางใบหน้า สวมถุงมือ ใช้จักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า เวฟ สีน้ำเงิน จำนวน 2 คัน ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนบุกเข้าไปใน ร้านทองเยาวราช ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก โดยใช้อาวุธปืนสั้นยิงกระจกร้าน เพื่อเปิดทางเพื่อเข้าไปก่อเหตุ แต่ถูกเจ้าของร้านใช้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงจนได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 คน และควบคุมตัวไว้ได้อีก 1 คน ส่วนอีก 2 คนหลบหนีไปได้

โดยชุดสืบสวนได้ล้อมจับนายเต้อ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 23 ปี ชาวจังหวัดตาก 1 ใน 4 คนร้ายก่อเหตุปล้นร้านทอง เมื่อเวลาประมาณ 13.20 น. วานนี้ (8 ธันวาคม 2565) การก่อเหตุครั้งนี้คนร้ายไม่ได้ทรัพย์สิน เนื่องจากเจ้าของร้านทอง ใช้อาวุธปืนยาวลูกซองยิงต่อสู้ เพื่อปกป้องทรัพย์สิน 

1 ในคนร้ายถูกยิง คือ นายวิชัย (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 32 ปี ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะที่ นายวิชัย เป็นผู้ต้องหาที่มีหมายจับศาลจังหวัดแม่สอด ในคดีร่วมกันปล้นร้านทองที่ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ในช่วงบ่ายของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 เช่นเดียวกับ นายเต้อ ซึ่งมีหมายจับศาลจังหวัดแม่สอด ที่ 39/2565 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ในหลายข้อหา ประกอบด้วย...

- ร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด หรือพาทรัพย์นั้นไปโดยมีอาวุธปืนและใช้อาวุธปืน

- ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

- พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว

- ยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองหมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน

ส่วนคนร้ายอีก 2 คน ที่ร่วมกันก่อเหตุปล้นวานนี้ (8 ธันวาคม 2565) ชุดสืบสวน อยู่ระหว่างขยายผลจากนายเต้อ

'บิ๊กป้อม' ตามติด กวาดล้าง 'ฉ้อโกงออนไลน์' สั่ง!! สตช. เร่งรัดคดีให้ถึงต้นตอโดยเร็ว

‘พล.อ.ประวิตร’ ประชุม ติดตามกวาดล้าง 'การฉ้อโกงออนไลน์' สั่ง สตช. เร่งรัดคดีให้ถึงต้นตอ ลดความเดือดร้อน ประชาชน โดยเร็วที่สุด

(9 ธ.ค. 65) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงประชาชน ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้มีการหารือ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหา การฉ้อโกงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดย พล.อ.ประวิตร ได้รับทราบแนวทางยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากรายงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ที่เสนอต่อนายกรัฐมนตรี แล้วประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ได้แก่ 

1. กลยุทธ์ด้านการป้องกัน 
2. กลยุทธ์ด้านการยับยั้ง 
และ 3. กลยุทธ์ด้านการปราบปราม 

‘เพื่อไทย’ ชี้!! ขึ้นค่าแรงเป็นการร่วมมือของ ‘รัฐ-เอกชน’ ยัน!! หากได้เป็นรัฐบาล มีแผนหารายได้เข้าประเทศคู่กันไป

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 65 นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวกรณีที่ผู้ประกอบการมีข้อกังวลเรื่องนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศไทยมีแนวโน้มยังไม่ฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิดว่า หากพิจารณาเพียงมุมต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้นเพียงด้านเดียว โดยรายได้ไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย ในหมวกของผู้ประกอบการเองก็คงต้องกังวลและสามารถเข้าใจได้ว่า พรรคเพื่อไทยกำลังจะหาเสียงแบบผลักภาระให้กับภาคเอกชน ในข้อเท็จจริงแล้วหากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล สิ่งที่จะดำเนินการควบคู่กันไปคือการหารายได้ให้กับประเทศ ดังนี้

1. การปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นการปรับตามค่าครองชีพ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ หากเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME มีรายได้มากขึ้น เมื่อมีรายได้มากขึ้น ผู้ประกอบการก็สามารถจ่ายค่าแรงที่เพิ่มขึ้นได้ ประกอบกับการปรับค่าแรงไม่ได้ขึ้นทีเดียว จะปรับขึ้นตามเพดานสูงสุดในปี 2570 คืออีก 5 ปีข้างหน้า ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการจึงจะมีเวลาปรับตัว

คณะวิทย์ ม.อ. เปิดประชุมวิชาการนานาชาติ The 13th IMT-GT UNINET BIOSCIENCE 2022 สร้างความร่วมมือเครือข่าย IMT-GT แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด BCG

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้เครือข่าย IMT-GT UNINET (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle University Network) เปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 13th IMT-GT UNINET BIOSCIENCE 2022 ภายใต้แนวคิด “BCG Economy towards SDGs for the Benefit of Mankind” โดยมี ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธาน รศ. ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยผู้แทนกงสุลอินโดนีเซียและกงสุลใหญ่มาเลเซีย ผู้บริหารเครือข่าย IMT-GT UNINET และนักศึกษาจากประเทศเครือข่ายเข้าร่วมงาน ณ บีพี สมิหลา บีช โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดสงขลา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม 2565

ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "BCG for SDGs" โดยคุณสุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, การบรรยายพิเศษหัวข้อ "Ocean Thermal Energy-Driven Development in Fulfilling all the 17 SDGs" โดย Dato' Ir. Dr. A. Bakar Jaafar, PEng, FIEM, FASc รองอธิการบดี Academy of Science Malaysia, Malaysia และช่วง CEO Talk ในหัวข้อ "Business Transformation Towards BCG Economy" โดย คุณภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ นายน้อย ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์

ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในการสร้างนวัตกรรมและสังคม ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นทั้งระดับชาติและนานาชาติ การที่มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมนานาชาติ IMT-GT UniNet Bioscience ครั้งที่ 13 ประจำปี 2565 ในหัวข้อ “BCG Economy to SDGs for the Benefit of Mankind” ในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเครือข่าย IMT-GT ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด Bio-Circular-Green Economy ตลอดจนตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

“การประชุมในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ผู้เข้าร่วมจะได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในสาขาที่สนใจ และยังเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างเครือข่ายทางวิชาการ และเพื่อประโยชน์ร่วมกันในอนาคตต่อไป” ผศ. ดร.เถกิง กล่าว

ไฮไลฟ์ ดีเวลลอปเม้นท์ ประชันไอเดีย นวัตกรรมการออกแบบอาคารเพื่อร่วมแก้ปัญหา มลภาวะเป็นพิษ PM2.5 ในงาน 'HYFIVE DESIGN AWARD 2022'

ไฮไลฟ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จัดงาน HYFIVE DESIGN AWARD 2022 ขึ้นระหว่างวันที่ 8-14 ธันวาคม 2565 ณ โกดังราชวงศ์ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรม CSR โครงการแรกของบริษัทฯ ที่มุ่งหวังการ มีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อปรับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงใหม่จากมลภาวะเป็นพิษ PM 2.5 ภายในงานมีพิธีมอบรางวัลผู้ชนะการออกแบบอาคารและการจัดแสดงผลงานของผู้ชนะการประกวด 'นวัตกรรมการออกแบบอาคารเพื่อร่วมแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน' ที่สะท้อนการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 รวมทั้งสิ้น 6 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 70,000 บาท

นางสาวพีรญา วงศรานุชิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท ไฮไลฟ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ “เนื่องจากบริษัทฯ ตระหนักในปัญหามลภาวะ เป็นพิษ PM2.5 ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของคนเชียงใหม่ ไฮไลฟ์ ดีเวลลอปเม้นท์ ตั้งใจให้งานนี้เป็นการเปิด โอกาสให้กับนักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจและมีความถนัดด้านการออกแบบได้ประชันฝีมือ เป็นที่มา ของงาน HYFIVE DESIGN AWARD 2022 ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ร่วมเข้าแข่งขันส่งผลงานเข้า มากว่า 37 ผลงานจากทั่วประเทศ”

ต่างชาติผู้แสนดี ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ พระยากัลยาณไมตรี ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับรัชกาลที่ 7

หากผมจะเล่าเรื่องเกี่ยว ‘รัฐธรรมนูญ’ ผมแทบไม่ได้นึกถึงเรื่องราวของวันที่ 10 ธันวาคม เลยสักนิดเดียว แต่ผมกลับไปคิดถึง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และ ‘ชาวต่างชาติผู้หนึ่ง’ ที่พิสูจน์ได้ถึงความตั้งพระราชหฤทัยในการพระราชทาน ‘รัฐธรรมนูญ’ ให้แก่ปวงชนชาวไทย โดยขณะนั้นพระองค์ทรงปรึกษาผู้รู้อย่างหลากหลาย ลึกซึ้ง เพื่อกลั่นกรอง ให้เกิด ‘ร่างรัฐธรรมนูญ’ ที่เข้าใจบริบท เข้าใจเงื่อนไขที่เหมาะสมกับสยามที่สุดในห้วงเวลานั้น แต่ทว่าร่างในครั้งนั้นกลับไม่ได้ถูกนำมาใช้ เพราะการชิงสุกก่อนห่ามของ ‘คณะราษฎร’ ผู้เห็นแก่ตน ผู้ไม่เคยคิดถึงบริบทอะไรนอกจากพวกตน อำนาจปกครอง และการล้มเจ้า...

เกริ่นมาซะยาว !!! กลับมาที่ ‘ชาวต่างชาติ’ คนนั้น ผู้ที่มีส่วนร่วมในการ ‘ร่างรัฐธรรมนูญ’ ฉบับรัชกาลที่ 7 เรามารู้จัก ‘พระยากัลยาณไมตรี’ คนที่ 2 ของสยาม Dr.Francis B.Sayre / ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ กันดีกว่า

ดร.ฟรานซิส บี.แซร์ เป็นชาวอเมริกัน เกิดที่เซาธ์เบธเลเฮม ในเพนซิลเวเนีย เรียนจบด้านกฎหมายจากฮาร์วาร์ด เริ่มงานด้านกฎหมายด้วยการเป็นผู้ช่วยอัยการแห่งนิวยอร์กเคาตี เขาได้พบรักกับ ‘เจสซี’ ลูกสาวของ วูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐฯ และแต่งงานกันที่ทำเนียบขาวในปี พ.ศ. 2456 ก่อนที่เขาจะออกไปเป็นอาจารย์สอนที่ฮาร์วาร์ดในปี พ.ศ. 2460 และจบดอกเตอร์ในปีถัดมา (ขอเล่าเป็น พ.ศ. นะครับ จะได้ไม่ต้องสลับระหว่างไทยกับเทศ) 

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2466 เขาได้รับข้อเสนอจากคณบดีโรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด ให้ไปเป็นที่ปรึกษาพระเจ้าแผ่นดินสยาม ด้วยความอยากเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ เขาจึงตอบตกลงและเข้ามารับราชการในสยาม ช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยเข้ามาอยู่ในบังคับบัญชาของ ‘พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์’ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น

เขาเล่าถึง ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ในอัตชีวประวัติของเขาว่า ..... “ข้าพเจ้ามีความสนิทสนมกับองค์พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นเป็นอย่างดีเยี่ยมทีเดียว สามารถถวายจดหมายส่วนตัวโดยตรงก็บ่อย ๆ พระองค์จะทรงอักษรตอบด้วยฝีพระหัตถ์เอง ซึ่งบางทีก็ยาวตั้ง 12 หรือ 15 หน้ากระดาษ พระองค์ทรงภาษาอังกฤษอย่างดีเลิศ เมื่อพระองค์ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์นั้น ทรงโปรดปรานวรรณกรรมเชกสเปียร์มาก เคยมีพระราชปรารถนาจะแปลบทละครเชกสเปียร์ออกเป็นภาษาไทย”

ภารกิจสำคัญของ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 คือการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่เสียเปรียบและไม่เป็นธรรมของชาติตะวันตก ในสมัยจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยเฉพาะ ‘สนธิสัญญาเบอร์นี’ ในรัชกาลที่ 3 และ ‘สนธิสัญญาเบาริ่ง’ ที่ทำในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งประเทศสยามมีข้อเสียเปรียบอยู่หลายจุด

แม้ว่าผลจากการเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาเรื่องสัญญาให้สยาม แต่ก็เป็นเพียงบางส่วน เพราะสนธิสัญญาที่ยกเลิกมีเพียงกับคู่สงครามอย่างเยอรมนีและออสเตรียเพราะพ่ายแพ้ แต่กับฝ่ายสัมพันธมิตรมีเพียงสหรัฐฯ ที่เห็นชอบกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับสยาม แต่กับชาติพันธมิตรอื่น ๆ โดยเฉพาะ ฝรั่งเศส กับ อังกฤษ การเจรจาการแก้ไขสนธิสัญญาเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากทั้งสองชาติต่างก็พยายามรักษาผลประโยชน์ของตนอย่างเต็มที่ 

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแต่งตั้งให้ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ เป็นผู้แทนประเทศสยามไปเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับชาติต่าง ๆ ในยุโรป โดยเริ่มออกเดินทางไปปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2467 ด้วยความสามารถทางการทูตและกฎหมาย เขาสามารถโน้มน้าวให้ชาติต่าง ๆ ยอมทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นการสละสิทธิพิเศษทีมีอยู่ในสนธิสัญญาเก่าอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้สำเร็จลุล่วง 

จากคุณงามความดีในครั้งนี้ ของ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ในฐานะผู้ที่ช่วยให้สยามรอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ จากสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในสมัยจักรวรรดินิยม ในหลวงรัชกาลที่ 6 จึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ‘พระยากัลยาณไมตรี’ มีตำแหน่งราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ถือศักดินา 1,000 นับเป็นคนที่ 2 ต่อจากพระยากัลยาณไมตรี (เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด) กระทั่งในปีต้นปี พ.ศ. 2468 ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ก็ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการของสยาม และเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยความสัมพันธ์อันดีต่อกัน 

ภายหลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2468  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์ให้เขากลับมาช่วยราชการอีกครั้ง ด้วยมิตรไมตรีอันดีต่อสยาม เขาจึงเดินทางกลับมาไทยในปี พ.ศ. 2469 ดังที่เขากล่าวในอัตชีวประวัติว่า…

“...ผมไม่อาจลืมสยาม ใจผมยังคงนึกถึงตะวันออกไกลอยู่เสมอ ในเดือนพฤศจิกายน 1925 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งผมเคยถวายงานรับใช้ได้เสด็จสวรรคต บัลลังก์ของพระองค์สืบทอดถึงเจ้าฟ้าประชาธิปก ผู้เป็นอนุชา...และพระเจ้าอยู่หัวประชาธิปกก็ทรงมีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะให้ผมกลับไปยังสยาม แม้ผมไม่อาจละทิ้งงานที่ฮาร์วาร์ดได้ ในช่วงวันหยุดซัมเมอร์ปี 1926 ผมก็เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อสนทนาและถวายคำปรึกษาตามพระราชประสงค์ถึงการ ‘ปฏิรูปธรรมนูญการปกครอง’ ซึ่งมีการเรียกร้องกันมาก...”

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการ ‘ร่างรัฐธรรมนูญ’ ขึ้นมาใช้ในประเทศในปี พ.ศ. 2469 โดยมี ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่วมร่างเค้าโครงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 

โดยก่อนหน้าที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 7 ได้มีพระราชหัตถเลขาเป็นคำถามถึง ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ จำนวน 9 ข้อ โดยคำถาม 4 ข้อแรกนั้น ว่าด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในข้อ 3 ความว่า…

“หากประเทศนี้จำเป็นต้องมีระบบรัฐสภาเข้าสักวันหนึ่ง การปกครองในระบบรัฐสภาแบบแองโกล - แซกซัน นั้นเหมาะสมกับชาวตะวันออกหรือไม่?” โดยพระองค์ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยเพิ่มเติมว่า “ในคำถามที่ 3 นั้นข้าพเจ้าเองยังไม่แน่ใจนัก”

และคำถามข้อ 4 ทรงตั้งคำถามว่า “ประเทศนี้พร้อมหรือยัง? ที่จะมีการปกครองในระบบผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน?” โดยทรงให้พระราชวินิจฉัยเพิ่มเติมว่า “ส่วนคำถามที่ 4 โดยความเห็นส่วนตัวข้าพเจ้าขอย้ำว่าไม่” เหตุผลที่พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยดังนี้ เพราะมีเหตุผลหลายประการ ซึ่งตรงกับที่ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ได้ถวายความเห็นกลับมา หลังจากที่ได้อ่านแล้ว ความว่า…

“...ข้าพเจ้าไม่คิดว่าการพิจารณาให้มีระบบรัฐสภาโดยสมาชิกมีที่มาจากประชาชนนั้นเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติได้ในสยาม ณ เวลานี้ ระบบรัฐสภาที่สามารถทำงานได้นั้นขึ้นอยู่กับผู้ลงคะแนนเสียงที่มีการศึกษา หากปราศจากการควบคุมอย่างชาญฉลาดโดยประชาชนแล้ว องค์กรเช่นนี้ย่อมเสื่อมทรามลงกลายเป็นองค์กรทุจริตและเผด็จอำนาจเป็นแน่ จนกว่าประชาชนทั่วไปในสยามจะได้รับการศึกษาที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ มันคงอันตรายเกินไปที่จะตั้งรัฐสภาภายใต้การควบคุมของประชาชน ด้วยเหตุนี้มันจึงเลี่ยงไม่ได้ที่อำนาจเด็ดขาดจะต้องอยู่กับสถาบันกษัตริย์ต่อไป...”

อ่านมาถึงตรงนี้คุณว่า ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ วิเคราะห์ได้ตรงไหมล่ะ? ‘คณะราษฎร’ สนใจเรื่องการศึกษาของผู้ลงคะแนนเสียงไหม? รัฐบาลหลังจากนั้นเป็นองค์กรทุจริตและเผด็จการอำนาจจริงไหม? ลองคิดตามดูนะ อันนี้แล้วแต่ความคิดของท่านผู้อ่าน ผมไม่ก้าวล่วง 

นอกจากนี้ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ยังได้แนบร่างรัฐธรรมนูญ 12 มาตรา ‘Outline of Preliminary Draft’ หรือเค้าโครงเบื้องต้นว่าด้วยโครงสร้างของรัฐบาล ซึ่งตามความเห็นของเขาถือเป็นร่างรัฐธรรมนูญการปกครองที่เหมาะกับสยามที่สุดในขณะนั้น โดยข้อแรกมีความว่า…

“...อำนาจสูงสุดในราชอาณาจักรเป็นของพระมหากษัตริย์” และข้อสอง “พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีผู้มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ในการบริหารงานของรัฐบาล และเป็นผู้ซึ่งอาจถูกถอดจากตำแหน่งได้ทุกเวลาโดยพระมหากษัตริย์…” (แปลจาก: Siam’s Political Future: Documents from the End of the Absolute Monarchy)

ร่างธรรมนูญการปกครองตามข้อเสนอของเขา จึงมีลักษณะเป็นการยืนยันรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไป ซึ่งตามความเห็นของเขาถือเป็นการปกครองที่เหมาะกับสยามที่สุดในขณะนั้น 

‘พล.ต.ท.ศานิตย์’ ลุยอุดรธานี ช่วยเหยื่อถูกหลอกไปทำงานญี่ปุ่น

พล.ต.อ.อดุลย์ ปธ.กมธ.แรงงาน ส่ง พล.ต.ท.ศานิตย์ 'น.1 บึ่งทุกที่' ลุยอุดรธานี เร่งบูรณาการช่วยเหยื่อถูกหลอกไปทำงานญี่ปุ่น พร้อมเตรียมขยายผลดำเนินคดีผู้ที่เกี่ยวข้อง

(8 ธ.ค. 65) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา มอบหมายให้ พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร 'น.1 บึ่งทุกที่' ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการจัดหางานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อประชุมหารือแก้ปัญหากรณีคนไทยถูกหลอกลวงโดยอ้างว่าสามารถพาไปทำงานที่ญี่ปุ่นได้ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามฝ่าย ฝ่ายตำรวจนำโดย พล.ต.ต.พิษณุ อุณหเสรี ผบก.ภ.อุดรธานี และ ผกก.ท้องที่เกิดเหตุ ฝ่ายกระทรวงแรงงาน นำโดย นายสันติ นันตสุวรรณ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน และมีตัวแทนผู้เสียหาย 6 คน เข้าร่วมประชุมด้วย ณ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top