Monday, 19 May 2025
พีระพันธุ์สาลีรัฐวิภาค

‘ดร.หิมาลัย’ โต้คนบงการเขียนบทความโจมตี ‘พีระพันธุ์’ ซัด!! ไร้ความเข้าใจนโยบาย แนะลาออกไปรับเงินเดือน บ.น้ำมัน

‘ดร.หิมาลัย’ ร่ายยาวสวนกลับบทความคนในกระทรวงพลังงานโจมตี ‘พีระพันธุ์’ ย้ำชัด หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ มุ่งทำเพื่อประชาชน ชี้ การสำรองน้ำมัน 90 วัน มีความจำเป็นด้านความมั่นคง ซัดคนเขียนบทความเพ้อเจ้อ ไม่รู้ข้อเท็จจริง ซัด ความคิดอคติแบบนี้ ลาออกไปรับเงินเดือนเอกชนเลยดีกว่า

(7 ม.ค. 68) ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ผู้อำนวยการพรรครวมไทยสร้างชาติ และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ” กรณีมีบทความโจมตีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานข่าว THE ROOM44 และทางเฟซบุ๊กพลังงานจังหวัดลำปางได้นำไปโพสต์ต่อ ก่อนจะถูกลบทิ้งในเวลาต่อมา 

โดย ดร.หิมาลัย ได้ระบุว่า รู้กฎหมาย และสำนึกในบุญคุณของประชาชนและประเทศชาติ

ตามที่เป็นข่าวฮือฮา ในเรื่องของการลงบทความ โจมตี พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ในหัวข้อ “ รู้กฎหมาย ไม่รู้เรื่อง พลังงาน” โดยผู้เขียนบทความ ผ่านเพจพลังงานจังหวัดลำปางนั้น เป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ เมื่อคุณ สายธาร ประสงค์ความดี พลังงานจังหวัดลำปาง ได้เปิดเผยว่า โพสต์ดังกล่าว มาจากทีมงานประชาสัมพันธ์จากส่วนกลาง ยิ่งน่ากังวลเป็นอย่างมาก

ผู้เขียนบทความ อ้างว่าเป็นคนในกระทรวงพลังงานที่อึดอัดกับการทำงานของ ท่านรัฐมนตรีพลังงานเป็นอย่างมาก ใช้คำพูดค่อนข้างรุนแรง ว่านโยบายของท่าน เป็นคำพูดสวยหรู ดันทุรัง เป็นการสร้างภาพ แสดงว่าผู้เขียนบทความ ไม่ได้ทำความเข้าใจอย่างแท้จริง กับนโยบาย ของนายพีรพันธุ์ฯ ที่ทำเพื่อประชาชน

ผมเคยเขียน บทความ และพูด ให้กลุ่มคนเล็กๆที่สนใจในเรื่องนี้ฟังหลายครั้ง ซึ่งหลังจากอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ก็สามารถสร้างความเข้าใจได้ แต่อาจจะยากสำหรับท่านผู้เขียนบทความท่านนี้ ท่านน่าจะมีการศึกษาที่สูงส่ง จนไม่เข้าใจ คำอธิบายง่ายๆ ของท่านรัฐมนตรีพลังงาน ผมใคร่ขอชี้แจง อีกสักครั้ง

การสำรองน้ำมัน 90 วันนั้น เป็นไปเพื่อความมั่นคงของประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ท่านอย่าคิดว่า สถานการณ์ที่จำเป็นจะไม่เกิดขึ้น ให้ย้อนไปดูสถานการณ์ของโลก ในปัจจุบันนี้ ที่มีความขัดแย้งอยู่ทั่วไปในภูมิภาค หากเกิดความขัดแย้งในภูมิภาคแถวนี้ และการขนส่งน้ำมันไม่สามารถจะทำได้ นั่นหมายความว่าธุรกิจภายในประเทศจะต้องหยุดชะงักหลังจากพ้น 30 วันไปแล้ว

การที่ประเทศมหาอำนาจ และประเทศที่ต้องการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กำหนดให้ระยะเวลา 90 วันนั้น ได้มีการคำนวนตามหลักวิชาการและประสบการณ์ อย่างถี่ถ้วนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นขบวนการขนส่ง การเจรจาคู่ขัดแย้ง การเปิดน่านน้ำ การบริโภคภายในประเทศ ตัวเลข 90 วัน จึงเป็นตัวเลขที่เหมาะสมที่สุด ที่สำคัญ ภาระในการสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง ไม่ใช่ของประชาชน เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องแบกรับ แต่หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง เขาก็สามารถ มีน้ำมันที่จะขาย สร้างรายได้ให้บริษัทฯ ในช่วงนั้นอยู่แล้ว ทีนี้เรามาตั้งคำถามต่อไปว่า ผู้เขียนบทความอ้างว่าหากใช้ระบบนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น อาจจะถึงขั้นแบกรับไม่ไหวต้องถอนตัวออกจากธุรกิจไป ก็ต้องถามต่อไปว่า แล้วที่เขาไปทำธุรกิจน้ำมัน กับหลายประเทศ ที่กำหนดไว้ 90 วัน ทำไมเขาถึงทำได้ ก็เห็นข่าวว่ามีแหล่งน้ำมันที่ไหน บริษัทที่ท่านเป็นห่วงก็ไปแย่งประมูลทุกที่ไป อย่าไปกังวลแทนเขาเลยครับ

ผู้เขียนบทความ ยังเหวี่ยงแหระหว่างการสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง ที่บริษัทผู้ค้า ต้องเป็นผู้สำรองเพื่อเป็นหลักประกันว่าท่านจะมีน้ำมันขายให้กับประชาชนในประเทศนี้ไม่ต่ำกว่า 90 วัน ไปพูดขยายความว่า รัฐจะต้องนำเงินจากภาษีประชาชนมาซื้อน้ำมันส่วนนี้ หากกระทรวงพลังงานมีข้าราชการแบบนี้อยู่ น่าเป็นห่วงนะครับ เพราะท่านนี้หากเป็นนักเรียนก็เป็นประเภทไม่สนใจเรียน เวลาครูสอนก็ไม่ฟัง ผลสอบมาก็ตก แล้วยังหน้าด้านไปติวเพื่อนอีก ถ้าไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านซ้ำๆหลายทีนะครับ ส่วนที่ท่านพูดถึงว่าอาจจะต้องใช้เงินภาษีประชาชนซื้อ น่าจะเป็น น้ำมันเพื่อความมั่นคงตามยุทธศาสตร์ชาติ ท่านพีรพันธุ์ ท่านก็มาคิดว่าเมื่อสำรองน้ำมันให้ประชาชนใช้ 90 วันแล้ว หากมีสถานการณ์เกิดขึ้น รัฐจะเอาน้ำมันที่ไหนมาบริหารด้านความมั่นคง เช่น ให้ทหารใช้เพื่อการป้องกันประเทศ ให้ตำรวจใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ให้หน่วยราชการต่าง ๆ ใช้ เพื่อให้บริการประชาชน ทำอย่างไรไม่ให้การใช้น้ำมันของภาครัฐไปเบียดบังประชาชนในสถานการณ์วิกฤต ท่านจึงคิดระบบสำรองน้ำมันเพื่อยุทธศาสตร์ชาติ และเชื่อไหมครับว่า ระบบของท่าน ไม่ต้องใช้เงินแม้แต่บาทเดียว ทำอย่างไรหรอครับ ท่านก็ใช้วิธีเก็บกองทุนน้ำมันเป็นน้ำมันครับ น้ำมันส่วนนี้แหละครับ ที่ที่รัฐจะใช้ เพื่อความมั่นคงของประเทศ และยังใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพ ราคาน้ำมันด้วย ทำได้อย่างไรหรอครับ ผมจะอธิบายให้ฟัง

เรามาดูที่มาของกองทุนน้ำมันก่อนครับ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ในช่วง วันที่ 5 ม.ย. 2510 - 10 มิ.ย. 2510 ได้เกิดสงคราม 6 วัน ระหว่าง อิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ จอร์แดน ซีเรีย และอียิปต์ ผลของสงครามทำให้เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคนน้ำมันในตลาดโลกทำให้ราคาน้ำมันขึ้นสูงมาก ประเทศต่างๆจึงได้คิดระบบกองทุนน้ำมันเพื่อรักษาเสถียรภาพ ของราคาน้ำมันในประเทศตัวเองขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆในยุโรปใช้วิธีตั้งกองทุนน้ำมันเป็นน้ำมัน คือเก็บน้ำมันเข้าคลังสำรองน้ำมันของประเทศ หากราคาน้ำมันขึ้นราคา ก็ใช้วิธีนำน้ำมันจากกองทุนน้ำมัน ออกสู่ท้องตลาด ทำให้มีน้ำมันเพียงพอต่อความต้องการ ราคาน้ำมันก็จะลดระดับลง ท่านพีรพันธุ์ก็นำความคิดนี้แหละครับ มาใช้ในประเทศเรา ระบบนี้มีข้อดีอย่างไรผมขอชี้แจงอย่างนี้นะครับ

ในปัจจุบัน กองทุนน้ำมันที่ตั้งขึ้นมาที่ประเทศอื่นเขาเก็บเป็นน้ำมัน แต่เราเก็บเป็นเงิน สภาพกองทุน ติดลบตลอดเวลา เพราะอะไรรู้มั้ยครับ เพราะมันผิดธรรมชาติครับ เจตนาการตั้งกองทุน เพื่อแบ่งกำไรจากผู้ประกอบการมาเข้ากองทุนในช่วงที่ราคาน้ำมันของตลาดโลกลดราคาลงและนำเงินส่วนที่เก็บไว้นี้จ่ายคืนให้ผู้ประกอบการในช่วงที่ราคาน้ำมันของตลาดโลกขึ้นราคา เพื่อเป็นการชดเชยให้ผู้ประกอบการสามารถขายน้ำมันในราคาที่ถูกลงได้ แต่มันผิดธรรมชาติอย่างไรรู้มั้ยครับ กองทุนน้ำมันที่เราตั้งใจเก็บจากกำไรของผู้ประกอบการกลับถูกนำไปบวก เพิ่มในราคาน้ำมันของเรา แสดงว่ากองทุนนี้โดนผลักภาระมาเป็นของประชาชน เท่านั้นยังไม่พอนะครับ สมมุติว่า วันนี้ ต้นทุนน้ำมันอยู่ที่ 20 บาท รัฐให้มีค่าใช้จ่ายต่างๆได้ 10 บาท ราคาขายจะเป็น 30 บาท รัฐแจ้งว่า ต้องการให้ลดราคาน้ำมันเหลือ 25 บาท นั่นหมายความว่ารัฐต้องชดเชยต้นทุนน้ำมันลิตรละ 5 บาทเพื่อให้ราคาลงมาที่ 25 บาท ประเด็นอยู่ตรงนี้นะครับ ที่ผ่านมารัฐไม่เคยทราบต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริงเลย เมื่อรัฐ แจ้งให้ขายในราคา 25 บาท แล้วผู้ประกอบการแจ้งว่า ต้นทุนราคาน้ำมันของตัวเองอยู่ที่ 30 บาท ราคาขายจะต้องเป็น 40 บาท เมื่อรัฐต้องการให้ขาย ที่ 25 บาท นั่นหมายความว่า รัฐต้องจ่ายให้ผู้ประกอบการ 15 บาท ท่านเห็นอะไรไหมครับ เป็นเรื่องตลกสิ้นดี ถ้าเราไม่รู้ต้นทุนราคาน้ำมัน ผู้ประกอบการได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง ครั้งแรก กองทุนน้ำมันผู้ประกอบการก็ไม่ได้ควักกระเป๋า มาบวกเอากับผู้บริโภคเอาดื้อๆ เท่านั้นยังไม่พอเมื่อรับแจ้งควบคุมราคาน้ำมันก็มาเอาเงินของประชาชนกลับเข้ากระเป๋าของตัวเองอย่างหน้าตาเฉย ทีนี้เรามาดูนะครับ น้ำปลา มาม่า เนื้อหมู เนื้อไก่ ผู้ประกอบการยังต้องแจ้งต้นทุน จะขึ้นราคายังต้องขออนุญาต ที่ผ่านมาผู้ประกอบการน้ำมันขึ้นราคาได้ตามอำเภอใจ โดยอ้างว่าต้นทุนมีราคาสูงแล้วเมื่อรัฐขอดูก็ไม่ให้ นี่คือเหตุผลที่ท่านพีรพันธุ์ ต้องออกกฎหมายให้แจ้งต้นทุนราคาน้ำมัน เพื่อใช้คำนวณและหาค่าเฉลี่ยนำไปสู่การควบคุมราคาน้ำมันให้ขึ้นลงได้เดือนละ 1 ครั้ง สิ่งนี้มีผลในทางธุรกิจสูงมากนะครับ เพราะต้นทุนราคาน้ำมันนั้น เป็นต้นทุนสำคัญของภาคการผลิต อย่างน้อยราคาน้ำมันปรับเดือนละครั้ง ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ก็จะสามารถทราบต้นทุนการผลิตของตนเองในส่วนนี้ได้ ในขณะเดียวกันเมื่อรัฐแจ้งนโยบายราคาน้ำมัน รัฐก็จะรู้ต้นทุนที่แท้จริง ว่าจะต้องเอากองทุนอุดหนุนกลับไปให้กับผู้ค้าน้ำมันเป็นเงินเท่าไหร่ จึงจะเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

ทีนี้มาดูต่อครับ ถ้าเราเก็บกองทุนน้ำมันเป็นน้ำมัน เวลารัฐจะอุดหนุน ก็จะอุดหนุนกลับไปเป็นน้ำมันใช่ไหมครับ ทีนี้ลองมาดูนะครับ ถ้ารับสั่งให้คงราคาน้ำมันที่ 25 บาท บริษัท A แจ้งว่า ต้นทุนเขาอยู่ที่ 20 + ค่าประกอบการตามที่รัฐให้อีก 10 บาท ราคาขายของเขา ก็จะเป็น 30 บาท รัฐต้องชดเชยให้เขา 5 บาทสมมุติเค้าขายไป 100 ลิตร รัฐต้องชดเชยเขา 500 บาท ราคาน้ำมันของเขา 30 บาท เขาจะได้น้ำมันกลับไปเท่าไร ก็เอา 500 หาร 30 บริษัท A ก็จะได้ นำมันกลับไป 16.667 ลิตร 

ที่นี้มาดู บริษัท B เจ้าเล่ห์หน่อย แจ้งต้นทุน 30+ ค่าประกอบการตามที่รัฐให้อีก 10 บาท ค้าขายของเขา ก็จะเป็น 40 บาท เมื่อรัฐสั่ง ให้ราคานโยบาย อยู่ที่ 25 บาท ถ้ารับเป็นเงินแบบเดิม และไม่มีการพิสูจน์ต้นทุนราคาน้ำมันเหมือนที่ผ่านมา บริษัท B ก็จะได้รับชดเชย 15 บาท ถ้าขายไป 100 ลิตร เขาจะได้รับชดเชยเป็นเงิน ถึง 1500 บาท แต่ถ้ากองทุนน้ำมันเป็นน้ำมัน ก็เอา 1500 หารด้วยราคาน้ำมัน 40 บาท ตามที่เขาแจ้ง เขาจะได้น้ำมันกลับไป 37.5 ลิตร 

เห็นหรือยังครับว่า การแจ้งต้นทุนราคาน้ำมัน สำคัญอย่างไร เพราะหาก บริษัท B แจ้งต้นทุนราคาน้ำมัน มาสูงกว่าราคากลางที่รัฐกำหนด บริษัท B จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ต้นทุนราคาน้ำมันของตัวเองนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร หากชี้แจงไม่ได้ก็ต้องใช้ราคากลางที่รัฐกำหนด ซึ่งถ้าผู้ประกอบการทำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา ก็ไม่มีอะไรน่ากังวล

ท่านผู้เขียนบทความที่อ้างว่าเป็นคนในกระทรวงพลังงาน ยังพยายามที่จะใส่ร้ายท่านพีรพันธุ์ต่อไปอีกว่า ระบบ Cost Plus จะทำให้ประชาชนต้องมาแบกรับความเสี่ยง ผมว่าท่านน่ะเพ้อเจ้อ ท่านเขียนบทความนี้รู้สึกละอายบ้างไหมครับ วันนี้ประชาชนไม่ได้โง่นะครับ ทุกวันนี้น้ำมันที่ขายในประเทศถามจริงๆนะครับ เรือน้ำมันเข้ามาส่งที่ไหนครับ ที่แหลมฉบัง เกาะสีชังกับท่าเรือต่างๆในประเทศใช่ไหมครับ แล้วการไปอิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ มีการเอาค่าขนส่งจากสิงคโปร์มาไทยบวกเข้าไปในต้นทุนราคาน้ำมัน ในฐานะที่ท่านเป็นข้าราชการกินเงินเดือนภาษีจากประชาชนท่านปล่อยให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ได้อย่างไรครับ ไม่ว่าจะเป็นการเอาเงินกองทุนน้ำมันไปบวกในโครงสร้างราคาน้ำมัน เอาค่าขนส่งไปบวกในโครงสร้างราคาน้ำมัน ทำไมท่านไม่ค้านเขาครับ แล้วไปห่วงเรื่องค่าการตลาดของเขาอีก ค่าการตลาดก็ไปบวกในโครงสร้างราคาน้ำมันอีก การตลาดของธุรกิจที่ไหนก็ตามก็ต้องเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการทั้งนั้นแหละครับ แล้วค่าการตลาดของบริษัทน้ำมัน มันมีอยู่จริงหรอครับ มันต้องโฆษณาต้องจัดอีเวนท์ ต้องสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ทำปั๊มน้ำมันหรอครับ ที่ผมสงสัยเนี่ยประชาชนหลายคนก็สงสัยท่านช่วยตอบผมด้วยนะครับ

และการที่ท่านพีรพันธุ์ มีแนวคิดให้ผู้ประกอบการเฉพาะด้านเฉพาะกลุ่ม สามารถรวมตัวกันจัดซื้อน้ำมันได้เอง ก็เพื่อลดภาระของประชาชน เช่นกลุ่มขนส่ง กลุ่มเกษตรกร กลุ่มประมง เมื่อเค้าซื้อน้ำมันได้ถูก ต้นทุนสินค้าจากกลุ่มพวกนี้ก็จะถูกลงไปด้วย เรื่องแบบนี้ท่านคิดไม่ออกจริง ๆ หรอครับ

ท่านรู้มั้ยครับ ว่าพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ทำงานหนักเพื่อประชาชนขนาดไหน ตีสองตีสามท่านยังส่งข้อความสั่งงานผมอยู่เลยครับ พอตอนเช้า ก่อน 8 โมงเช้าท่านถึงกระทรวงหรือทำเนียบแล้วครับ ท่านบอกผมว่าท่านต้องเร่งทำงานทุกวันเพราะไม่รู้ว่าจะอยู่ทำงานได้ถึงวันไหนท่านต้องการให้ทุก ๆ วันท่านได้ตอบแทนประชาชน ไม่ใช่คำพูดสวยหรูครับ พรรครวมไทยสร้างชาติไม่ใช่พรรคที่มีทุนหนา แต่อยู่ได้ด้วยศรัทธาและความรักจากประชาชน เราได้รับเงินอุดหนุนพรรคการเมืองจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง ปี 2568 เป็นอันดับ 1 เป็นจำนวนถึง 17,934,107.84 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งมาจากการบริจาคให้พรรคการเมืองของประชาชน ดังนั้น ทุกสิ่งอย่างที่พีรพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ทำนั้น เป็นเพราะรู้สำนึกในบุญคุณของประชาชนและประเทศชาติ สำหรับท่านผู้เขียนบทความ ในฐานะคนในกระทรวงพลังงานแต่ลงท้ายบทความว่า “ในฐานะผู้ผลิต” ผมขอแนะนำให้ท่านลาออกจากราชการ และไปรับเงินเดือนจากบริษัทผู้ค้าน้ำมันน่าจะถูกต้องกว่า

'พีระพันธุ์' แจงปลดล็อกโซลาร์รูฟท็อป ลดภาระประชาชน ลั่นไม่สนใจนายทุนพลังงาน เหตุไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับใคร

เมื่อวันที่ (6 ม.ค. 68) ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ตอบกระทู้ ที่ถามโดยนายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สมาชิกวุฒิสภา ที่ถามถึงเรื่องมาตรการสนับสนุนตลาดพลังงานสะอาดผ่านโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ว่าการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันปล่อยมลพิษมากที่สุด ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านไฟฟ้าไปเป็นพลังงานสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งที่ผ่านมาถูกเอื้อให้กับกลุ่มทุน ที่รัฐบาลซื้อพลังงานหมุนเวียน ที่เริ่มตั้งแต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เวลาที่รัฐบาลจะซื้อก็อ้างเรื่องความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ซี่งตนตั้งคำถามทุกครั้งว่าเป็นความมั่นคงของประเทศหรือของใครกันแน่ เพราะปัจจุบันเรามีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าความต้องการหรือหลักการสำรองไฟฟ้าอยู่แล้ว โดยเป็นการเพิ่มภาระค่าไฟให้กับประชาชนทั่วประเทศ มีโรงงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตเลย แต่ยังได้เงินจากประชาชนผ่านค่า FT ที่สำคัญคือการรับซื้อนั้น ไม่มีการประมูล ตนเห็นด้วยกับความกล้าหาญของนายพีระพันธุ์ที่ไม่เห็นด้วยกับการรับซื้อไฟฟ้าและให้ชะลอการรับออกไป แต่เรายังต้องติดตามว่าจะกลับมาดำเนินการต่อหรือไม่ 

นายนรเศรษฐ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับผู้มีบารมีนอกรัฐบาลที่ไปถ่ายรูปในสนามกอล์ฟใช่หรือไม่ ตนก็ไม่ทราบ เรื่องนี้ท่านมองเห็นถึงโครงสร้างการรับซื้อพลังงานสะอาดหรือไม่ เช่น โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop)จะมีการขยายการรับซื้อจากภาคประชาชนเหมือนกับกลุ่มทุนหรือไม่ รวมถึงข้อกฎหมายต่างๆ ที่ทำให้การขออนุญาตใช้เวลานาน ท่านจะทำอย่างไร จะมีมาตรการจูงใจภาคครัวเรือนเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น และจะมีวิธีลดภาระอย่างไร

ทั้งนี้ นายพีระพันธุ์ ได้ชี้แจงว่า ตนยืนยันว่าส่วนตัวไม่ทราบมาก่อนว่ามีการผูกขาดพลังงาน เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่ง จึงยังไม่สามารถแก้ไขเรื่องนี้ได้ในทันทีทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน แต่ยอมรับว่าตนหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้ง ยังมีข้อผูกพันทางกฎหมาย มันไม่ใช่ทันใจที่เราอยากทำ  ซึ่งนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมามีความชัดเจนอยู่แล้วว่า จะต้องลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน โดย 1 ปีที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่มีนโยบายขึ้นค่าไฟฟ้าและตรึงราคาค่าแก๊สไว้ตลอด ซึ่งแม้จะยังไม่สามารถลดราคาได้ แต่ได้พยายามไม่ให้ขึ้นไปมากกว่านี้ ที่สำคัญรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจต่อประเด็นปัญหานี้ ถ้าติดตามการทำงานของตน มันมีคำตอบอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว

“ส่วนตัวผมไม่ชอบเรื่องความไม่โปร่งใส ไม่ถูกต้อง และไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้น นโยบายเรื่องนี้ ตนขออนุญาตกราบเรียนว่าเรามีความคิด ผมกับท่าน ตรงกันอยู่แล้วที่จะดำเนินการ สำหรับประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน ผมเห็นด้วยกับท่าน ผมคิดอีกแบบ  ความมั่นคงทางพลังงานไม่ใช่เพียงแค่การทำให้มีพลังงานในปริมาณที่มากขึ้น แต่ความมั่นคงทางพลังงานที่แท้จริงต้องทำให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการมีไฟฟ้าใช้ได้ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ทั้งจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ ประเทศเราที่เหมาะสมที่สุดคือแสงอาทิตย์ ดังนั้น จึงควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีความมั่นคงทางด้านพลังงาน อย่าพูดถึงขายเลยครับ เอาแค่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟ ไม่ต้องพะวงว่าอีก 4 เดือน ค่าไฟจะปรับเท่าไหร่ ปัจจุบันที่ต้องปรับเพราะไฟฟ้าผลิตจากแก๊ส เราเจอภาวะราคาตลาดโลก ทำให้กำหนดราคาไม่ได้คงที่ ผมก็พยายามศึกษา เพราะเป็นสัญญาที่ทำข้อตกลงไว้แล้ว” นายพีระพันธุ์ กล่าว

นายพีระพันธุ์ ย้ำว่าตนไม่เข้าใจ ว่าทำไมต้องแยกส่วนการไฟฟ้าไปอยู่ในกระทรวงพลังงานและกระทรวงมหาดไทย เพราะเมื่อมีการแยกระหว่างการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ทั้ง 2 หน่วยงาน ต้องรับไฟฟ้ามาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นฝ่ายผลิตแต่ไม่ได้เป็นฝ่ายขาย ทุกขั้นตอนต้องมีกำไร หากไม่มีกำไรก็ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และประชาชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ตนอยากจะหาทางแก้ปัญหา แต่ทั้งหมดนี้ สว. และ สส. เป็นผู้บัญญัติกฎหมาย รู้หรือไม่ กฎหมายไฟฟ้าฝ่ายผลิตกำหนดตั้งแต่ปี 2511 ดังนั้น ควรมีการปรับแก้ ปัญหาพลังงาน ไม่ใช่ว่าไม่มีใครเห็น แต่ประเด็นคือใครจะเป็นคนทำ

“ท่านนายกฯ แพทองธารก็กำชับผมด้วยซ้ำไป ผมไม่อยากให้เข้าใจผิด ท่านนายกฯเศรษฐามาถึงนายกฯแพทองธารได้กำชับผมมาโดยตลอดให้ช่วยแก้ปัญหา” นายพีระพันธุ์ กล่าว

นายพีระพันธุ์ ชี้แจงรายละเอียดว่า เวลาประชาชนจะขอติดแผงโซลาร์ต้องขออนุญาตถึง 5 หน่วยงาน ซ้ำซ้อน และยุ่งยากมาก รวมถึงต้องรอเป็นปี ตนในฐานะกำกับกระทรวงอุตสาหกรรมและพลังงานก็ได้สั่งการแก้ระเบียบไปแล้ว วันนี้การแก้กฎหมายไม่ง่ายเหมือนเมื่อก่อน อีกนานกว่าจะเข้า ครม. รวมถึงเรื่องการหาเงินทุน

“ผมไม่ทราบหรอก เพราะผมไม่ใช่นายทุน  แต่วันนี้มันเกิดกับพี่น้องประชาชน ผมต้องแก้ไข แล้วถ้าหากว่าท่านติดตามข่าวสารเหมือนที่ท่านพูด ท่านจะเห็นเลยว่าอะไรที่ส่อไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ผมสั่งระงับทั้งนั้น เพราะผมไม่ได้มีส่วนได้เสียอะไรกับใคร ผมมาทำหน้าที่ตรงนี้ก็เหมือนกับท่านครับ เรามาเป็นผู้แทนมาทำงานให้กับประชาชน ครั้งหนึ่งในชีวิตทำตรงนี้ทำให้ดีที่สุด ผมทำทุกอย่างภายใต้นโยบายรัฐบาลและตามแนวทางคือเพื่อความมั่นคงทางพลังงานให้กับประชาชน” นายพีระพันธุ์ กล่าว

‘รสนา’ ฟาดกลับ 3 บก.เครือเนชั่น กล่าวหาเป็นขุนพลข้างกาย ‘นักการเมือง’ ย้ำชัด ไม่มีวันเป็นขุนพลข้างกายใคร ชี้ ‘พีระพันธุ์‘ ทำงานแนวของเขา

‘รสนา’ โต้ 3 บก. สื่อเครือเนชั่น เต้าข่าวกล่าวหา เป็นขุนพลข้างกาย ‘พีระพันธุ์’ โดยไม่มีการวิเคราะห์ใด ๆ ย้ำชัด เป็นพลทหารของประชาชน ไม่มีวันเป็นขุนพลข้างกายนักการเมืองพรรคใด 

เมื่อวันที่ (15 ม.ค. 68) นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีที่ผู้ดำเนินรายการเนชั่นสุดสัปดาห์กับ 3 บก. ซึ่งประกอบด้วยนายวีระศักดิ์ พงษ์อักษร, นายสมชาย มีเสน และนายบากบั่น บุญเลิศ จัดรายการพาดพิงตนเองว่าเป็นขุนพลข้างการนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.กระทรวงพลังงาน โดยระบุว่า รสนาเป็นพลทหารของประชาชนไม่มีวันเป็นขุนพลข้างกายนักการเมืองพรรคใด ตามที่สื่อเต้าข่าว !?!

วันนี้มีเพื่อนส่งคลิปนักข่าว 3 คนเครือเนชั่น ออกมาวิเคราะห์เรื่องนโยบายพลังงานของนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.กระทรวงพลังงาน มีการเอาภาพใครต่อใครมาแปะข้างกายนายพีระพันธุ์ และพาดหัวใต้ภาพว่า ‘ขุนพลข้างกาย “พีระพันธุ์” พานโยบายย้อนยุค?’

ในภาพดังกล่าว มีรูปดิฉันอยู่ด้วย และมีการพูดชื่อดิฉันชัดเจนในรายการ ทุนสื่อเนชั่นแกล้งเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า!? สิ่งที่นักข่าวทั้ง 3 คนพูด ไม่มีเนื้อหาสาระอะไรในเชิงวิเคราะห์ข่าวที่เต้าขึ้นมาแม้แต่น้อย แต่กล่าวหาดื้อ ๆ ว่าดิฉันเป็นขุนพล รมว.พีระพันธุ์

นักข่าว นักสื่อมวลชนจะสื่อสารอะไรกับสังคมและประชาชนที่เวลานี้มีช่องทางอิสระในการหาความจริงได้มากกว่าทุนสื่อบางกลุ่มที่ทั้งตกยุค ตกเทรนด์พลังงานโลกยุคใหม่เสียอีก สื่อจึงควรมีเนื้อหาสาระ มีข้อมูลที่เป็นความจริงน่าเชื่อถือ มิเช่นนั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นทุนสื่อของค่ายธุรกิจการเมืองบางกลุ่มที่หวาดกลัวการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์พลังงานโลกจนต้องเต้าข่าว ปั่นข่าวโคมลอย เพื่อดิสเครดิตใครก็ตามที่มุ่งสู่การปลดแอกทุนพลังงานจากบ่าประชาชน สื่อเต้าข่าวจำพวกนี้ ควรระวังที่จะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือในอนาคตอันใกล้ !!

ดิฉันก็จบคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ สิ่งที่เราได้รับการอบรมสั่งสอนคือสื่อต้องมีจริยธรรม ในการนำเสนอความจริงต่อสังคม การเต้าข่าวเลื่อนลอยถือว่าเป็นอนันตริยกรรมในวิชาชีพสื่อ ใช่หรือไม่??!!

ดิฉันไม่มีวันเป็นขุนพลข้างกายนักการเมืองของพรรคใดๆ ถ้าจะเป็น ก็จะเป็นเพียงพลทหารของประชาชน ที่จะต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนอย่างสุดฤทธิ์เท่านั้น

ดิฉันทำงานต่อสู้เรื่องพลังงานมานานมากก่อนที่นักการเมืองคนใดจะสนใจประเด็นนี้เสียอีก

‘รสนา’ โต้ 3 บก. สื่อเครือเนชั่น เต้าข่าวกล่าวหา เป็นขุนพลข้างกาย ‘พีระพันธุ์’ โดยไม่มีการวิเคราะห์ใด ๆ ย้ำชัด เป็นพลทหารของประชาชน ไม่มีวันเป็นขุนพลข้างกายนักการเมืองพรรคใด

เมื่อวันที่ (15 ม.ค. 68) นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีต สว.โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีที่ผู้ดำเนินรายการเนชั่นสุดสัปดาห์กับ 3 บก. ซึ่งประกอบด้วยนายวีระศักดิ์ พงษ์อักษร, นายสมชาย มีเสน และนายบากบั่น บุญเลิศ จัดรายการพาดพิงตนเองว่าเป็นขุนพลข้างการนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.กระทรวงพลังงาน โดยระบุว่า

รสนาเป็นพลทหารของประชาชนไม่มีวันเป็นขุนพลข้างกายนักการเมืองพรรคใด ตามที่สื่อเต้าข่าว !?!

วันนี้มีเพื่อนส่งคลิปนักข่าว 3 คนเครือเนชั่น ออกมาวิเคราะห์เรื่องนโยบายพลังงานของนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.กระทรวงพลังงาน มีการเอาภาพใครต่อใครมาแปะข้างกายนายพีระพันธุ์ และพาดหัวใต้ภาพว่า ‘ขุนพลข้างกาย 'พีระพันธุ์' พานโยบายย้อนยุค?’

ในภาพดังกล่าว มีรูปดิฉันอยู่ด้วย และมีการพูดชื่อดิฉันชัดเจนในรายการ ทุนสื่อเนชั่นแกล้งเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า!? สิ่งที่นักข่าวทั้ง 3 คนพูด ไม่มีเนื้อหาสาระอะไรในเชิงวิเคราะห์ข่าวที่เต้าขึ้นมาแม้แต่น้อย แต่กล่าวหาดื้อ ๆ ว่าดิฉันเป็นขุนพล รมว.พีระพันธุ์

นักข่าว นักสื่อมวลชนจะสื่อสารอะไรกับสังคมและประชาชนที่เวลานี้มีช่องทางอิสระในการหาความจริงได้มากกว่าทุนสื่อบางกลุ่มที่ทั้งตกยุค ตกเทรนด์พลังงานโลกยุคใหม่เสียอีก สื่อจึงควรมีเนื้อหาสาระ มีข้อมูลที่เป็นความจริงน่าเชื่อถือ มิเช่นนั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นทุนสื่อของค่ายธุรกิจการเมืองบางกลุ่มที่หวาดกลัวการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์พลังงานโลกจนต้องเต้าข่าว ปั่นข่าวโคมลอย เพื่อดิสเครดิตใครก็ตามที่มุ่งสู่การปลดแอกทุนพลังงานจากบ่าประชาชน สื่อเต้าข่าวจำพวกนี้ ควรระวังที่จะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือในอนาคตอันใกล้!!

ดิฉันก็จบคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ สิ่งที่เราได้รับการอบรมสั่งสอนคือสื่อต้องมีจริยธรรม ในการนำเสนอความจริงต่อสังคม การเต้าข่าวเลื่อนลอยถือว่าเป็นอนันตริยกรรมในวิชาชีพสื่อ ใช่หรือไม่??!!

ดิฉันไม่มีวันเป็นขุนพลข้างกายนักการเมืองของพรรคใด ๆ ถ้าจะเป็น ก็จะเป็นเพียงพลทหารของประชาชน ที่จะต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนอย่างสุดฤทธิ์เท่านั้น

ดิฉันทำงานต่อสู้เรื่องพลังงานมานานมากก่อนที่นักการเมืองคนใดจะสนใจประเด็นนี้เสียอีก

แม่ค้าย่านตลาดดินแดงยิ้มแก้มปริ หลัง ‘ปฏิทินพีระพันธุ์’ ให้โชคเต็ม ๆ 2 งวดซ้อน

(17 ม.ค. 68) มีรายงานข่าวว่า หลังผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 17 มกราคม 2568 พ่อค้าแม่ค้าย่านตลาดดินแดง ถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัว กันหลายราย ทั้งนี้ จากการสอบถามถึงที่มาของเลขเด็ด พบว่า เป็นการซื้อเลขตามปฏิทิน ที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ทำแจกช่วงปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา

โดยแม่ค้ารายหนึ่ง บอกด้วยความตื่นเต้นว่า ได้ติดตามเลขที่อยู่ในปฏิทินที่ได้รับแจกมานั้น ผลปรากฏว่า เลขที่ตีออกมานั้นตรงกับรางวัลเลขท้าย 2 ตัวทั้ง 2 งวด โดยงวดวันที่ 2 มกราคม 2568 ออก 51 และ งวด 17 มกราคม 2568 ออก 23

‘ดร.หิมาลัย’ แจงปม ‘พีระพันธุ์’ เร่งลดค่าน้ำมัน-ค่าไฟ หวังดึงนักลงทุนกลับไทย ย้ำ! ลดค่าไฟต่ำกว่า 4 บาท คิดไว้อยู่แล้ว

เร่งเดินหน้าเพื่อเศรษฐกิจไทย ‘หิมาลัย’ แจงปม ‘พีระพันธุ์’ เร่งลดค่าน้ำมัน-ค่าไฟ เหตุหวังดึงนักลงทุนกลับไทย 

เมื่อวันที่ (22 ม.ค. 68) ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ผู้อำนวยการพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้โพสต์คลิปวิดีโอ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวอธิบายถึงสาเหตุที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กำลังเร่งดำเนินนโยบาย “รื้อ ลด ปลด สร้างพลังงานไทย” โดยเฉพาะการลดราคาด้านพลังงานลงหลายประเภท ทั้งราคาน้ำมันและค่าไฟว่า ก่อนอื่นต้องบอกว่าการพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ คือ สิ่งสำคัญของประเทศไทยในทุกวันนี้ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังเดินหน้าต่อไปได้ แต่ทุกวันนี้นักลงทุนต่างชาติกลับถอนตัวการลงทุนในไทยออกไป ทั้งที่ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของไทยก็มีความเพียบพร้อมและตอบโจทย์ โดยสาเหตุสำคัญเกิดจาก 2 ประการหลัก ๆ ประกอบด้วย

ประการแรก คือ เรื่องต้นทุนการขนส่ง ที่การขนส่งมีต้นทุนหลัก ๆ คือน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันเบนซินของไทยอยู่ที่ประมาณลิตรละ 40.35 บาท แตกต่างจากเวียดนามและมาเลเซีย ที่ราคาอยู่ที่ลิตรละ 36.42 บาท และ 15.31 บาท ตามลำดับ ส่วนน้ำมันดีเซลของไทยอยู่ที่ลิตรละประมาณ 30.94 บาท ส่วนเวียดนามและมาเลเซีย ราคาอยู่ที่ลิตรละประมาณ 30.28 บาท และ 16.69 บาท ตามลำดับ เช่นนี้จะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันในไทยแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นเหตุให้นักลงทุนถอนการลงทุนในไทยแล้วย้ายไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแทน

ประการต่อมา คือ เรื่องค่าไฟ ค่าไฟในไทยช่วงปลายปี 67 ราคาหน่วยละ 4.18 บาท ส่วนช่วงระหว่างม.ค.- เม.ย. 68 ราคาหน่วยละ 4.15 บาทซึ่งแพงกว่าเวียดนามและมาเลเซียที่ค่าไฟอยู่ที่หน่วยละ 3.57 บาท และ 1.80 บาท ปัจจัยนี้ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เพราะการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก

ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้นายพีระพันธุ์ เร่งรื้อโครงสร้างราคาน้ำมันควบคู่ไปกับการลดราคาน้ำมัน และหาทางลดค่าไฟฟ้าในไทยลง โดยหวังลดค่าไฟให้เหลือต่ำกว่าหน่วยละ 4 บาท เพื่อหวังดึงนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าไทย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งตนเองก็ขอบคุณรัฐบาลที่สนับสนุนแนวคิดของนายพีระพันธุ์ ด้วย

ดร.หิมาลัย ระบุด้วยว่า นายพีระพันธุ์ เคยย้ำว่า การเข้ามาทำงานในฐานะฝ่ายบริหาร ในตำแหน่งรัฐมนตรี จะต้องทำงานทุกวินาทีให้ดีที่สุด

“นายพีระพันธุ์ เคยบอกว่า ได้เข้ามาทำงานเพื่อประเทศแล้วต้องพยายามทำงานให้เต็มที่ ทำงานทุกวินาที ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก” ดร.หิมาลัย ระบุ

‘พีระพันธุ์’ เดินหน้าตั้งกรรมการยกร่างกฎหมายส่งเสริมปาล์มน้ำมัน พร้อมเร่งรัดการทำงานเตรียมรับมือเลิกชดเชยไบโอดีเซล ปี 69

(6 ก.พ. 68) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เปิดเผยว่า วานนี้(5 กุมภาพันธ์ 2568) ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการยกร่างกฎหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเป็นครั้งแรก ตามที่ตนได้เคยกล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวขึ้น แต่เนื่องจากมีการเสนอกฎหมายในทำนองเดียวกันจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องมีการมอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องทำการศึกษากฎหมายฉบับดังกล่าวเสียก่อนว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมายที่จะยกร่างหรือไม่ จึงทำให้เวลาล่วงเลยไประยะหนึ่ง 

บทสรุปในวันนี้คือทางเราจะเร่งเดินหน้ายกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นโดยมีนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เป็นประธานคณะกรรมการในการยกร่างกฎหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ซึ่งตนได้มอบนโยบายให้เร่งดำเนินการ และเพื่อให้เกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้นในการทำงาน จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อยกร่างกฎหมายอีก 1 คณะ เพื่อให้การยกร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว 

ตนเชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยทําให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มมีหลักประกันในการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งสร้างความเป็นธรรมในด้านรายได้ และจะทําให้วงจรของการนําน้ำมันปาล์มไปผลิตเป็นสินค้า หรือว่าเพิ่มมูลค่าเป็นระบบและครบวงจร 

สำหรับรูปแบบของร่างกฎหมายฉบับนี้จะนำรูปแบบของพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่ส่งเสริมพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อยมาปรับใช้ โดยกฎหมายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มก็จะออกมาในทำนองเดียวกัน

นอกจากนี้ใน พ.ศ. 2569 ที่จะถึงนี้ เงินจากกองทุนน้ำมันที่ต้องไปสนับสนุน ตรึงราคาน้ำมันปาล์มจากการที่เอาน้ำมันปาล์มผสมกับน้ำมันดีเซลจะถูกหยุดลง เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ต้องรีบเตรียมการเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มมีตลาดเพิ่มมากขึ้น หลังจากการลดการสนับสนุนให้ผสมกับน้ำมันดีเซลของกองทุนน้ำมัน ซึ่งหากไม่มีการเตรียมการจะเกิดปัญหาต่อไป

ดังนั้นตนพร้อมทั้งกระทรวงพลังงาน รวมถึงกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งนำโดยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ก็ได้ช่วยกันเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาและรองรับกับสถานการณ์ใน พ.ศ. 2569 ตนเชื่อว่าการเตรียมการนี้จะแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นให้ลุล่วงไปด้วยดี 

‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ เคลียร์ปมร้อนถูกพาดพิงกรณี ‘แตงโม’ ตกเรือเสียชีวิต ยอมรับ ‘ปอ’ ยกหูโทรหาในคืนเกิดเหตุจริง ยันไม่เคยยุ่งเกี่ยวคดี แต่แนะนำให้แจ้งความ

จากกรณีที่ นาย สนธิ ลิ้มทองกุล สื่อมวลชนอาวุโส ไลฟ์ในรายการ 'สนธิเล่าเรื่อง' ในช่องยูทูบ 'sondhitalk' ตอนหนึ่งถึงคดีการเสียชีวิตของ น.ส.ภัทรธิดา หรือ นิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม นิดา นักแสดงชื่อดังว่า โดยมีการกล่าวตอนหนึ่งว่า คุณปอได้โทรศัพท์ไปที่คน ๆ หนึ่ง อ้างว่าคือนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน และมีการพูดคุยกันประมาณ 10 นาทีนั้น

ล่าสุด นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนเป็นคนทำงานการเมืองที่ต้องดูแลประชาชน  จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีคนโทรหาตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นคนที่มีปัญหาเดือดร้อน เมื่อมีสายโทรศัพท์เข้ามา ตนก็รับตลอด แต่ถ้ารับไม่ทัน ก็โทรกลับไปเป็นเรื่องปกติ ส่วนผู้ที่ถูกกล่าวหานั้น ตนรู้จักในฐานะที่เขาเป็นคนทำธุรกิจซื้อขายรถยนต์และเปิดอู่ซ่อม ในวันที่เกิดเหตุ เขาได้เล่าให้ฟังว่าเพื่อนของเขาประสบอุบัติเหตุตกน้ำและขอคำแนะนำว่าเขาต้องทำอะไร ตนจึงบอกให้ไปแจ้งตำรวจเป็นอันดับแรก  และหลังจากนั้นตนก็ไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องนี้อีกเลย

‘พีระพันธุ์’ แจงละเอียดยิบภารกิจดูแลพลังงานเพื่อคนไทย คืบหน้าร่าง กม.กํากับน้ำมัน-ก๊าซ วิธีลดค่าไฟฟ้าต่ำกว่า 4 บาท

‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ เผยแจงความคืบหน้าร่างกฎหมายกํากับกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ เผยวิธีลดค่าไฟฟ้าให้ต่ำกว่า 4 บาท  เตรียมเร่งผลิตระบบโซลาร์ราคาถูกวางจำหน่ายในปีนี้ 10,000 เครื่อง

เมื่อวันที่ (13 ก.พ.68) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สัมภาษณ์พิเศษโดยเปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับร่างกฎหมายกํากับการประกอบกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซว่า ภาพรวมเป็นไปด้วยดี แต่ก็มีข้อท้วงติงจากผู้เชี่ยวชาญว่าอาจมีช่องโหว่ในเรื่องของการกำหนดราคาก๊าซ เพราะกฎหมายฉบับนี้จะดูแลประชาชนไปถึงเรื่องของก๊าซด้วย นั่นคือ กรณีของก๊าซหุงต้ม LPG และก๊าซที่ใช้สำหรับรถยนต์ ตนจึงได้มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รวมทั้งผู้ชำนาญการช่วยกันทบทวนเพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายในส่วนของก๊าซ เพื่อดูแลการกำหนดราคาให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งขณะนี้ก็ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ส่วนร่างกฎหมายเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้น นายพีระพันธุ์เปิดเผยว่า ทางพรรครวมไทยสร้างชาติได้ยื่นร่างกฎหมายนี้เข้าสภาฯไปแล้วก่อนหน้านี้ ขณะที่ทางรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานก็จะเสนอร่างกฎหมายส่งเสริมการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เข้าสู่สภาฯ ในเร็ว ๆ นี้ โดยขณะนี้กำลังรอให้ทางสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบร่างฯ ของกระทรวงพลังงานแล้วเสร็จ และจะเร่งนำเข้าสู่กระบวนการทำประชาพิจารณ์โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน ก่อนนำส่งเข้าสภาฯ เพื่อพิจารณาประกอบกับร่างฯ ที่เสนอจากพรรคการเมือง

ในส่วนของการปรับลดค่าไฟนั้น นายพีระพันธุ์กล่าวว่า ตนได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อหาแนวทางปรับลดค่าไฟมาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2567 ที่ผ่านมา เพื่อหาทางปรับลดค่าไฟให้ได้ต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วย และมีแนวโน้มว่าจะทำได้ แต่ต้องปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างและหลักเกณฑ์หลายอย่าง โดยเฉพาะการปรับระบบ Pool Gas แต่เผอิญว่าต้นปี 2568 มีประเด็นเพิ่มเติมเรื่องจะให้ลดค่าไฟลงมาเหลือ 3.70 บาทต่อหน่วย และสํานักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ซึ่งกำกับดูแลเรื่องค่าไฟ ก็ออกมาบอกว่าสามารถลดได้ ซึ่งสำหรับตนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา ตนในฐานะรัฐมนตรีพลังงานต้องพยายามบริหารจัดการอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้มีการขึ้นค่าไฟทุก 4 เดือน  จนสามารถตรึงค่าไฟไว้ได้ที่ 4.18 บาทต่อหน่วยไว้ได้ตลอดปี แต่อย่างไรก็ดี ข้อเสนอล่าสุดของ กกพ. ก็มีประเด็นที่อาจทำไม่ได้

“ทุก 4 เดือน ผมต้องพยายามบริหารจัดการเพื่อไม่ให้มีการขึ้นค่าไฟ เพราะถ้าลดยังไม่ได้ ก็อย่าขึ้น เพราะฉะนั้นปี 67 ทั้งปีเราได้ที่ 4 บาท 18 สตางค์มาตลอด ส่วนงวดปัจจุบันนี้ คือตั้งแต่ มกราคม-เมษายน 68 ผมก็ดําเนินการปรับลงมาที่ 4 บาท 15 สตางค์ แต่ก็ยังมีดราม่าบอกลดอะไร 3 สตางค์ ความจริงถ้าผมไม่ดําเนินการวันนั้น เขาบอกเขาจะขึ้นไป 5 บาทกว่า หรือไม่ก็ 4 บาทปลาย ๆ แต่อีกไม่กี่เดือนก็ต้องเหนื่อยต่อแล้ว เพราะค่าไฟงวดที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 68) จะมาแล้ว ทุกทีผมต้องเป็นคนไปขอให้ลด แต่อย่างน้อยคราวนี้ ทาง กกพ. บอกว่าลดได้ ผมก็ใจชื้น แต่ประเด็นคือ เขาบอกว่าการลดนี้ให้เป็นนโยบายรัฐบาล ให้ไปเลิกสัญญา Adder กับสัญญาที่เป็นปัญหา ที่เราเรียกว่า สัญญาชั่วนิรันดร์ คือสัญญาไม่มีวันหมด ผมในฐานะรัฐมนตรีพลังงานก็ได้พยายามศึกษาแก้ปัญหาเรื่องนี้ เพราะไปเซ็นสัญญากันไว้ตั้งแต่ยุคไหนว่า สัญญานี้ต่ออายุไปเรื่อย ๆ ทุกห้าปี ไม่มีวันหมด แล้วก็ราคาก็สูงเกินปกติ เพราะฉะนั้นมันทําไม่ได้ ที่บอกให้ไปลด 17 สตางค์ได้โดยวิธีเลิกสัญญา ถ้าเลิกก็โดนฟ้องนะครับ ตอนนี้เรากําลังศึกษาว่ามีวิธีการอะไรที่จะแก้ไขสัญญาทั้งสองแบบนี้อยู่เพราะประเด็นที่เสนอโดย กกพ.นั้น มันทําไม่ได้” นายพีระพันธุ์กล่าว

อย่างไรก็ดี นายพีระพันธุ์ได้มองเห็นทางออกในอีกมุมว่า การปรับลดค่าไฟสามารถทำได้จากการบริหารจัดการเชื้อเพลิง เพราะปัจจุบัน ประเทศไทยใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟอยู่ 3 แหล่งใหญ่ ๆ คือ อ่าวไทย เมียนมา และจากต่างประเทศ โดยเฉพาะตะวันออกกลางที่นำเข้ามาเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG  ซึ่งมีราคาแพง และอิงราคาตลาดโลกที่ผันผวนตลอดเวลา  แต่ถ้าหากสามารถปรับพอร์ต Pool Gas ให้เป็นสัดส่วนชัดเจน ระหว่างการนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าและการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม ก็น่าจะทำให้ค่าไฟลดลงได้อีกถึงเกือบ 40 สตางค์ โดยตนจะเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้ทันค่าไฟงวดต่อไป

“ปัญหาเรื่องค่าไฟต่างกับปัญหาเรื่องน้ำมันเยอะมากและมีประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องเข้ามาแก้ไขเยอะมาก น้ำมันคือน้ำมัน แต่ค่าไฟ มันไม่ใช่แค่ค่าไฟ มันคือค่าแก๊ส ค่าถ่านหิน ค่าขนส่ง ค่าอะไรต่าง ๆ ที่บวกไว้ในสัญญา ค่าบริหารจัดการเงินกู้ของผู้ประกอบการ และที่สําคัญ ผมคิดว่าทํายังไงจะให้ กฟผ. กลับมาแข็งแรงแล้วก็เป็นหลักให้กับประชาชนในเรื่องของการผลิตไฟฟ้า แล้วกําหนดค่าไฟที่ถูกต้องเป็นธรรมมากขึ้น” นายพีระพันธุ์กล่าว

สำหรับกรณีที่มีกระแสว่าการทำงานของ รมว.พลังงาน จะไปขัดผลประโยชน์และสร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มทุนนั้น นายพีระพันธุ์กล่าวว่า ตนทำในสิ่งที่ต้องทำ ไม่ได้ทําเพื่อจะไปเป็นศัตรูกับใคร แต่ต้องทําในสิ่งที่ประชาชนได้ประโยชน์ ประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด


“เราไม่ได้เจตนาไปทําอะไรใคร คนเขาพูดไปเอง สื่อก็พูดไปเรื่อยนะครับ จริง ๆ ผมก็ทํางานในสิ่งที่ต้องทํา เมื่อมาเห็นอะไรต้องปรับปรุงก็ต้องทํา และที่สําคัญก็คือว่ามันไม่ใช่เราคนเดียว มันเป็นนโยบายรัฐบาล และถ้าหากจําได้นะครับ ท่านนายกรัฐมนตรีได้ไปประกาศที่ NBT เรื่องของการปรับลดค่าไฟฟ้า ค่าพลังงาน และท่านก็มอบหมายให้ผมเป็นคนทํา เพราะฉะนั้นมันก็เป็นหน้าที่ที่ผมต้องทํา ทั้งนโยบายส่วนตัว ทั้งนโยบายของพรรคของผมรวมถึงนโยบายรัฐบาลมันตรงกันในเรื่องตรงนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อเรามาทํา เราก็ต้องทํานะครับ เราไม่ได้ทําเพราะว่า มันจะกระทบใคร หรือจะเกิดอะไร แต่ต้องทําในสิ่งที่ประชาชนได้ประโยชน์ ประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด และผมพูดเสมอว่านายทุนหลักคือประชาชน” นายพีระพันธุ์กล่าว

นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าของการพัฒนาเครื่อง Inverter สำหรับติดตั้งกับระบบโซลาร์เซลล์สิทธิบัตรของคนไทย ซึ่งกระทรวงพลังงานมีแผนจะนำออกจำหน่ายในราคาถูกให้กับประชาชนในปีนี้ว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในขั้นตอนที่ 2 และ 3 หลังจากผ่านการทดสอบขั้นตอนแรกของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) โดยทางผู้ออกแบบกำลังนำอุปกรณ์ต้นแบบไปทดสอบที่ห้องแล็บในประเทศจีนภายใต้การรับรองของ สวทช. ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วและความสะดวกในการปรับปรุงอุปกรณ์ และเมื่อผ่านการทดสอบแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งทางกระทรวงพลังงานจะร่วมกับบริษัทในเครือของ กฟผ. และ ปตท. ในการผลิตและจําหน่ายให้ประชาชนในราคาถูก โดยจะเตรียมการผลิตเบื้องต้นประมาณ 10,000 เครื่อง และคาดว่าจะทำให้ประชาชนสามารถติดตั้งระบบโซลาร์ได้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดประมาณ 60% อีกทั้งยังมีการจัดหาเงินทุนสนับสนุนในเรื่องของการติดตั้งและการลดหย่อนภาษีด้วย

“ผมได้คุยกับท่านรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ท่านดูแลเอสเอ็มอีแบงค์ ก็จะให้ทางเอสเอ็มอีแบงค์มาช่วย สําหรับคนที่ไม่มีเงินทุนพอ ก็จะสามารถไปกู้ยืมเงินจากเอสเอ็มอี แล้วผมก็จะสนับสนุนอีกบางส่วนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานเพื่อช่วยเหลือเรื่องดอกเบี้ย และส่วนที่กระทรวงพลังงานเดินหน้าไปแล้วก็คือ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะให้กระทรวงการคลังช่วยหักลดหย่อนภาษีด้วย” นายพีระพันธุ์กล่าว

แฟนคลับ เป็นปลื้ม!! ‘พี่ตุ๋ย พีระพันธุ์’ เปิดงาน ‘เทศกาลแห่งความรักสีสันจังหวัดตรัง’ เดินทางด้วยเรือสปีดโบ๊ด!! เป็นพยานรัก ‘LGBTQ+’ จดทะเบียนสมรสที่ ‘เกาะกระดาน’

(15 ก.พ. 68) แฟนคลับโพสต์เกี่ยวกับท่านพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยมีใจความว่า …

สีสันวันแห่งความรัก....พี่ตุ๋ย - พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน สวมเสื้อสีชมพูตามธีมของเทศกาล ไปเป็นประธานเปิดงานเทศกาลแห่งความรักสีสันจังหวัดตรัง (เทศกาลวิวาห์ใต้สมุทร 2025) ที่จังหวัดตรัง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารภาคเอกชน และ สส.พรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมให้การต้อนรับ ก่อนเดินทางด้วยเรือสปีดโบ๊ดไปยังสถานที่จัดกิจกรรม “รักที่สุด กลางสมุทรอันดามัน” ซึ่งเป็นการจดทะเบียนสมรสที่เกาะกระดาน ชายหาดที่ดีที่สุดในโลก และในปีนี้ยังมีคู่รัก LGBTQ+ ร่วมจดทะเบียนสมรสด้วย

เทศกาลนี้ ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวตรังและของประเทศไทยซึ่งจัดต่อเนื่องมากว่า 28 ปี และเคยได้รับการบันทึกเป็นสถิติโลกใน Guinness World of Record เพราะนอกจากจะเป็นการฉลองเทศกาลแห่งความรักแล้ว กิจกรรมนี้ยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าของจังหวัดตรังและของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริม Soft Power ของไทย ที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมในภาคใต้ด้วย

สำหรับการจัดงานปีนี้ ทางจังหวัดตรังได้บูรณาการร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมรณรงค์ให้ชาวตรังใส่เสื้อสีชมพูในช่วงเทศกาล นอกจากจะมีการจัดงานวิวาห์ใต้สมุทรแล้ว ยังมีกิจกรรมเดินขบวนพาเหรด LGBTQ+ การสนับสนุนสินค้า OTOP การให้ส่วนลดค่าที่พัก และส่วนลดค่าอาหาร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในจังหวัดอีกด้วย โดยการจัดงาน จะมี 2 รูปแบบ ได้แก่ “วิวาห์ใต้สมุทร” ซึ่งเป็นการดำน้ำจดทะเบียนสมรสบริเวณหินก้อนเดียว หน้าถ้ำมรกต และ “รักที่สุด กลางสมุทรอันดามัน” ซึ่งเป็นการจดทะเบียนสมรสที่เกาะกระดาน 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top