Monday, 1 July 2024
พิธา

‘ก้าวไกล’ แจง!! พิธา’ ไม่ได้เป็นนายประกันของ ‘ตะวัน ทะลุวัง’ แล้ว หลังเจ้าตัวยื่นคำร้องขอถอนประกันตัวเอง เมื่อต้นปี 66 ที่ผ่านมา

(10 ก.พ. 67) พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความใน X ถึงกรณีที่มีการสอบถามถึงสถานะของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะนายประกันของ ‘ทานตะวัน ตัวตุลานนท์’ หรือ ‘ตะวัน ทะลุวัง’ ว่า ขอชี้แจงว่าแม้ปัจจุบัน ในแง่กฎหมาย พิธาไม่ได้เป็นนายประกันของคุณทานตะวัน เนื่องจากคุณทานตะวันยื่นคำร้องขอถอนประกันตัวเองเมื่อต้นปี 2566 แต่พรรคก้าวไกลและพิธา ในฐานะนักการเมืองและในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ที่มีความห่วงใยบ้านเมืองและอนาคตของคนรุ่นใหม่ รู้สึกไม่สบายใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

พรรคก้าวไกลทราบว่า การแสดงออกของคุณทานตะวัน อาจสร้างความไม่สบายใจต่อประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมถึงทำให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับขอบเขตของการแสดงออก และเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวิธีการต่างๆ ในการเพิ่มแนวร่วมในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องมองเรื่องนี้โดยไม่แยกขาดจากภาพใหญ่ด้วยเช่นกัน นั่นคือความขัดแย้งทางการเมือง และความจริงอันน่ากระอักกระอ่วนที่ยังคงดำเนินอยู่ ซึ่งต้องอาศัยการพิจารณาร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม ถึงต้นตอของปัญหาและการสร้างพื้นที่สำหรับทุกฝ่าย เพื่อหาทางออกอย่างมีวุฒิภาวะและคลี่คลายความขัดแย้งในปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศไทยให้เท่าทันโลก

‘โฆษก รทสช.’ อัด!! ‘พิธา’ หยุดใช้วาทกรรมคนรุ่นใหม่ ปม ‘ตะวัน’ ชี้ ป่วนขบวนเสด็จฯ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับเจนเนอเรชัน

(11 ก.พ.67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรีในฐานะโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวถึงกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการที่ น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน ก่อเหตุก่อกวนขบวนเสด็จ  ว่า ตนได้ฟังแล้วรู้สึกไม่สบายใจที่ นายพิธา พยายามใช้วาทกรรมคนรุ่นใหม่มาแบ่งแยกคนในสังคม

เพราะกรณีนี้ เป็นเรื่องของคนที่ทำผิดกฎหมาย และเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นสิ่งที่ นายพิธา ควรจะออกมาแสดงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นอดีตนายประกันให้กับ น.ส.ทานตะวัน และเคยอภิปรายสนับสนุน น.ส.ทานตะวันในสภา ควรจะออกมาแสดงความรับผิดชอบมากกว่านี้ กับการกระทำดังกล่าวที่เป็นการกระทำที่ย่ำยีหัวใจคนไทยเป็นจำนวนมาก

“ผมจึงอยากบอกกับนายพิธาว่า ขอให้เลิกใช้วาทกรรมคนรุ่นใหม่กับคนทุกรุ่นได้แล้ว เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ หรือคนรุ่นไหน แต่มันเป็นเรื่องของคนที่ทำผิดกฎหมายและเป็นเรื่องของคนที่ไม่รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ อย่าใช้วาทกรรมมาปลุกระดมคนรุ่นใหม่ เพราะคนรุ่นใหม่อีกจำนวนมากก็ไม่ได้เห็นด้วย และรังเกียจกับการกระทำของ น.ส.ทานตะวัน กับพวกในครั้งนี้” โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าว

นอกจากนี้ นายอัครเดช ยังกล่าวอีกว่า จากกรณีนี้มีแกนนำและสส.ของพรรคก้าวไกล ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมดังกล่าว แทนที่นายพิธาจะออกมาประณามการกระทำดังกล่าว กลับออกมาพูดคล้ายแบ่งแยกคนในสังคม ที่จะสร้างความแตกแยกให้กับคนในสังคมอีกหรือไม่ จึงขอให้นายพิธาได้กลับไปทบทวนสิ่งที่ตัวเองได้กระทำ ทั้งการเคยไปประกันตัว น.ส.ทานตะวัน และการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ออกมา ว่ามันเป็นการย่ำยีหัวใจคนไทย ที่รักและเทิดทูนสถาบันเป็นจำนวนมากหรือไม่

'อัษฎางค์' ตั้งคำถาม 'พิธา' ให้สัมภาษณ์ล่าสุดแก่สื่อยักษ์เมืองเบียร์ สะท้อนการเป็นแนวร่วม 'บุ้ง-พวกบ่อนทำลายสถาบันฯ' หรือไม่

(17 พ.ค.67) เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

พิธาให้สัมภาษณ์สำนักข่าว DW ของเยอรมันเรื่องการตายของบุ้งว่า...

นักเคลื่อนไหวหนุ่มสาวเรียกร้อง ‘หลักนิติธรรมแทนการใช้อำนาจตามกฎหมาย’

“It’s a tragic loss for Thailand as a nation, where a group of young activists was asking for the rule of law instead of rule by law. 

มันเป็นความสูญเสียอันน่าเศร้าของประเทศไทยในฐานะชาติที่มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวหนุ่มสาวซึ่งเรียกร้อง ‘หลักนิติธรรมแทนการใช้อำนาจตามกฎหมาย’

The rule of law กับ The rule by law.
คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร้?

Rule by Law คือ การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของเผด็จการ เอาไว้บังคับคนอื่น ไม่บังคับกับพวกตัวเอง 

Rule of Law คือ หลักนิติธรรมที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน

• หลักนิติธรรม (The Rule of Law) เน้นความยุติธรรม ความเสมอภาค และการคุ้มครองสิทธิของบุคคล โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและชอบธรรมต่อทุกคน

• การปกครองโดยกฎหมาย (Rule by Law) เน้นการใช้กฎหมายเพื่อควบคุมและรักษาอำนาจ โดยอาจทำให้ความยุติธรรมและสิทธิของบุคคลถูกละเลย เพื่อรับใช้ประโยชน์ของผู้มีอำนาจ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ที่บัญญัติไว้ชัดเจนในเรื่องความยุติธรรม ความเสมอภาค และการคุ้มครองสิทธิของบุคคล โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและชอบธรรมต่อทุกคน

พิธาอ้าง “กลุ่มนักเคลื่อนไหวหนุ่มสาวซึ่งเรียกร้องหลักนิติธรรมแทนการใช้อำนาจตามกฎหมาย” 

พวกเขาเรียกร้องให้มีปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยอ้างว่าคนเห็นต่างทางการเมืองต้องไม่ถูกคุมขัง และได้รับสิทธิ์ประกันตัวนั้น 

ทั้งที่ กลุ่มนักเคลื่อนไหวหนุ่มสาวต่างหากที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การกระทำของคนกลุ่มนี้ ไม่ได้เป็นการแสดงความเห็นต่างทางการเมือง แต่เป็นการกระทำที่ไปดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งเป็นการทำผิดกฎหมาย

ในทุกประเทศทั่วโลก ไม่มีใครสามารถอ้างสิทธิส่วนบุคคล เพื่อไปดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายและละเมิดสิทธิของผู้อื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละเมิดกฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐ

การที่พิธาเอาเรื่องนี้ไปให้สัมภาษณ์เพื่อบอกกับชาวโลกผ่านสื่อยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี เป็นการแสดงว่าพิธาและพรรคก้าวไกล เป็นแนวร่วมกับบุ้งและพวก ในการตั้งใจละเมิดกฎหมาย “ด้วยมีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง นำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด” ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของพรรคก้าวไกล หรือไม่?

อัษฎางค์ ยมนาค

อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ >> https://www.atsadang.com/?p=4309&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2VNX8wssj0A6NN5Cl3WF2bKvLxnjwdpcc8uq4cYatk1RAFycpDUKAlrjE_aem_AQ2wBFNBaNGerlexEENz0B2uKh0SEL6vGFpBuZF6uEowdxe6XCSnSbyXK7Ry2CSCIbe2DzGesxMcRuNbMokXRtdl 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top