Monday, 1 July 2024
WORLD

เลือกบทไหน? 'ผู้สนับสนุน' หรือ 'ผู้ต่อต้านการก่อการร้าย' บทบาทไทยต่อเมียนมาที่ต้องเลือกชั่งน้ำหนักให้ดี

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2547 ในตอนนั้นมีข่าวดังข่าวหนึ่งระบุว่า หน่วยงานความมั่นคงของไทยโชว์หลักฐานเด็ด ซึ่งเป็นวีซีดีการประชุม 'พรรคปาส' จากฝ่ายค้านมาเลย์ โจมตีว่าไทยอยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่กรือเซะ-ตากใบ อีกทั้งในแผ่นซีดีดังกล่าว ยังมีหลักฐานชัดเจนว่า พรรคปาสเป็นผู้สนับสนุนโจรใต้ให้ทำการแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยอีกด้วย  

เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้รัฐบาลมาเลย์ถึงกับต้องรีบออกมาปฏิเสธเป็นพัลวันว่าไม่เคยสนับสนุนกองกำลังแบ่งแยกดินแดนในประเทศไทย

ตัดภาพกลับมาที่ปัจจุบัน ล่าสุดเมื่อวานนี้ (9 ก.ย.) มีข่าวจากสำนักข่าว Chindwin News Agency ของเมียนมาลงว่า กองกำลังต่อต้านทหารเมียนมาได้รับอาวุธสนับสนุนอาวุธมาจากไทย  

โดยอาวุธดังกล่าวทางกองกำลังต่อต้านทหารเมียนมา จะนำมาเพิ่มศักยภาพในการสู้รบกับกองทัพเมียนมา ซึ่งเอย่ามองว่า จากข่าวนี้หากชาวโลกมองไทยว่าเป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้าย อย่างที่เคยเกิดเหตุกับไทย-มาเลย์มาก่อนในอดีต ก็คงไม่จะผิดนัก

ดังนั้น จากข่าวนี้ คงต้องขอฝากให้ฝ่ายความมั่นคงของไทยทำงานให้หนักแล้ว เพราะถึงแม้การข่าวจากฝ่ายความมั่นคงที่ไปตรวจสอบเรื่องการรับสมัครทหารของกลุ่ม Burma Ranger Force และพบว่าเรื่องทั้งหมดไม่ได้เป็นเรื่องจริง รวมถึงกรณีการประกาศรับสมัครกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งได้ตรวจสอบจากเพจของกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมา ก็ไม่พบว่ามีการเผยแพร่เกี่ยวกับประกาศดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่ชัดเจนว่ากลุ่ม FBR (Free Burma Rangers) เป็นผู้จัดทำด้วยหรือไม่

แต่ขณะเดียวกันทางสำนักข่าว Chiangmai News ก็ลงพื้นที่ไปยังบ้านดังกล่าวแล้วพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นอาคารพาณิชย์เป็นที่ทำการของ 'มูลนิธิฟรี เดอะ โอเพรซท' (Free the Oppressed Foundation) หรือ FTO ซึ่งสนับสนุนงานของ FBR และทางมูลนิธิฟรี เดอะ โอเพรซท อ้างว่า FBR เป็นขบวนการเพื่อมนุษยธรรมจากหลายเชื้อชาติ ที่ทำงานเพื่อให้ความช่วยเหลือ ความหวัง และความรักแก่ผู้คนในเขตความขัดแย้งของพม่า อิรัก และซูดาน รวมไปถึงยังทำงานร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่สนับสนุนประชาธิปไตยในท้องถิ่น และประสานงานกับทีมบรรเทาทุกข์เอนกประสงค์ที่เคลื่อนที่ การรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่สำคัญ ที่พักพิง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และเอกสารด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ 

>> หากแต่ก็มีภาพที่เป็นกองกำลังของ Free Burma Ranger ซึ่งมีสัญลักษณ์ที่แขนถืออาวุธปรากฏลงในภาพข่าวที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2014 ใน The Daily Beast ด้วย

ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า Free Burma Ranger คือ กองกำลังติดอาวุธที่ได้รับการช่วยเหลือจากเงินทุนของอเมริกาและเงินจากกลุ่มคริสต์จักรในไทย โดยอ้างว่าเงินดังกล่าวนำมาใช้เพื่อสันติภาพ แต่ความเป็นจริงมีการดำเนินกิจกรรมการฝึกกองทัพต่อต้านรับบาลมานานแล้วนั่นเอง

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงเสด็จสวรรคตอย่างสงบ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ แห่งราชวงศ์อังกฤษ เสด็จสวรรคตอย่างสงบที่ปราสาทบัลมอรัลในสก๊อตแลนด์ เมื่อตอนบ่ายของวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ พระชนม์พรรษา ๙๖ ปี ทรงครองราชย์สมบัตินานที่สุดของราชวงศ์อังกฤษ

บีบีซีได้ประกาศข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ ตามเวลาในประเทศไทยเมื่อ หนึ่งนาฬิกา ๑๘ นาที ในคำแถลงของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ ที่ตรัสว่า...

"การสวรรคตของสมเด็จพระมารดาอันเป็นที่รักยิ่งของข้าพเจ้าเป็นเวลาที่เศร้าโศกที่สุดสำหรับข้าพเจ้าและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ เราไว้อาลัยกับการจากไปของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เทิดทูนและพระมารดาอันเป็นที่รักยิ่ง ข้าพเจ้ารู้ดีว่าการสวรรคตของพระองค์คงเป็นความรู้สึกของคนทั้งประเทศ ตลอดจนประเทศในเครือจักรภพและคนทั่วโลก"

ในคำแถลงของสำนักพระราชวังบัคกิ้งแฮมกล่าวว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๓ และพระราชินีจะประทับที่ปราสาทบัลมอรัลในตอนเย็นวันที่ ๘ กันยายนและจะเสด็จกลับกรุงลอนดอนในวันรุ่งขึ้น

ก่อนที่จะมีการแถลงข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ ๒ นั้น ได้มีรายงานข่าวของบีบีซีภาคภาษาอังกฤษออกมาตามเวลาในอังกฤษประมาณบ่าย ห้าโมงเย็นของวันที่ ๘ กันยายน โดยคำแถลงของสำนักพระราชวังบัคกิ่งแฮมได้อ้างถึงความกังวลของคณะแพทย์ในพระพลานามัยของสมเด็จพระราชินีหลังจากการประเมินผลการตรวจในตอนเช้า จึงขอพระราชทานให้อยู่ภายใต้การดูแลของคณะแพทย์

อย่างไรก็ดีในคำแถลงของสำนักพระราชวังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า The Queen is “confortable”. หรือสมเด็จพระราชินีทรงสบายดี

แม้ว่าในคำแถลงเพิ่มเติมอาจจะทำให้เห็นว่าสมเด็จพระราชินีไม่ได้ประชวรหนัก แต่ปรากฏการที่พระโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์เสด็จไปเฝ้าที่ปราสาทบัลมอรัลในสก๊อตแลนด์เมื่อเย็นวานนี้ก็ทำให้เกิดความห่วงใยในพระพลานามัยของประมุขของประเทศอังกฤษเช่นกัน

เจ้าชายชาร์ลส์และพระชายาและเจ้าหญิงแอนน์ได้ประทับอยู่ที่บัลมอรัลอยู่แล้ว แต่การเสด็จของเจ้าชายแอนดรูและเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดพระราชโอรสอีกสองพระองค์รวมทั้งพระนัดดาอีกสองพระองค์คือเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮรี่ ทำให้เห็นว่าการที่คณะแพทย์ขอให้สมเด็จพระราชินีอยู่ภายใต้การถวายการรักษานั้นอาจหมายถึงการเฝ้าระวังพระพลานามัยอย่างใกล้ชิด

รายงานข่าวของบีบีซีได้ตั้งข้อสังเกตในคำแถลงของสำนักพระราชวังบัคกิ้งแฮมครั้งนี้ว่า ค่อนข้างจะผิดแผกแตกต่างกับที่ผ่านมาเพราะมักจะเลี่ยงการพูดถึงพระสุขภาพของสมเด็จพระราชินีด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นเรื่องส่วนพระองค์ 

7 ทศวรรษ ฤาสงครามกะเหรี่ยงอันยาวนาน จะจบในยุคของ 'นายพลเนอดา'

ฤาสงครามกองทัพกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมาที่รบกันมาอย่างยาวนาน จะจบลง!!

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่าในอดีต (เมียนมา) กับบรรดาชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เมื่อสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (เมียนมา) ได้รับเอกราชจากอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร แต่โครงสร้างของรัฐบาลในพม่าขณะนั้นเองยังคงอ่อนแอ 

กระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ชาวกะเหรี่ยงจำนวนกว่า 400,000 คน ได้ประท้วงโดยสงบเพื่อแสดงความสามัคคี ในการจัดตั้งรัฐกะเหรี่ยง 

สามเดือนหลังจากได้รับเอกราช พรรคคอมมิวนิสต์พม่า เริ่มก่อการกบฏจับอาวุธขึ้นต่อสู้ และกลุ่มกะเหรี่ยงที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนได้เริ่มการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช 

การเกิดขึ้นขององค์กรป้องกัน แห่งชาติกะเหรี่ยง เช่น กองทัพสหภาพกะเหรี่ยง (Karen National Union : KNU) ทำให้ความร่วมมือของชาวกะเหรี่ยงต่อรัฐบาลลดลง และความตึงเครียดเก่าๆ ระหว่างชาวกะเหรี่ยงและรัฐบาลเกิดขึ้นอีก 

การสู้รบระหว่างทหารกะเหรี่ยงและพม่าเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2491 รัฐบาลสันนิบาตเสรีภาพฯ พยายามเจรจากับกลุ่มกบฏ คอมมิวนิสต์ และเปิดทางให้กลุ่มคอมมิวนิสต์ เข้าร่วมในการเมืองระดับชาติ 

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2491 ได้มีการประชุมเพื่อหาทางแก้ไข ปัญหาที่กองทัพกะเหรี่ยงเติบโตขึ้น และหยุดการก่อกบฏของฝ่าย คอมมิวนิสต์ 

ในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ระหว่างกะเหรี่ยงและพม่า เพราะทั้งสองฝ่ายต่างต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นมากในพม่า แต่ละกลุ่มต่างมีกำลังทหารเป็นของตนเอง และพยายามเพิ่มพื้นที่ปกครองโดยใช้ความรุนแรง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ...

กลุ่มฝ่ายขวาและนิยมตะวันตก ได้แก่ กองทัพกะเหรี่ยง องค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง กองโจรสันติภาพ กะเหรี่ยง ตำรวจ และกองกำลังสหภาพส่วนใหญ่ 

อีกกลุ่มหนึ่งเป็นฝ่ายซ้าย และต่อต้านประเทศอังกฤษ ได้แก่ รัฐบาลสันนิบาตเสรีภาพฯ ทหารพม่า บางส่วนในกองทัพ ซึ่งเป็นตำรวจที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านกองทัพกะเหรี่ยงและ ตำรวจที่นิยมฝ่ายขวา 

กระทั่งในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 เกิดความ รุนแรงขึ้นทั่วพม่า เจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษบางส่วนที่อยู่ในพม่าตะวันออก สนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศพม่า ในขณะที่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้ประกาศสงครามกับรัฐบาลทหารพม่า 

เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2492 ความขัดแย้งได้ดำเนินเรื่อยมา 

>> จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็นับ 74 ปีแล้ว 

จนกระทั่งเมื่อมีการรัฐประหารของนายพลมินอ่องหล่าย พม่าหรือเมียนมา ก็ยังใช้วิถีเช่นเดิม คือ การเจรจาหยุดยิง แม้ว่าทาง KNU จะปฏิเสธที่จะเข้าเจรจาสันติภาพตามคำเชิญของกองทัพเมียนมา และมีการสู้รบอย่างต่อเนื่องของกองทัพกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมา รวมถึงการเป็นฐานพักพิงและฝึกการต่อสู้ให้กับกลุ่ม PDF ที่เลือกจะจับอาวุธสู้กับกองทัพ

ริชชี่ สุหนาก VS เอลิซาเบธ ทรัสส์ จะทำอะไร? หลังได้นั่งแท่นนายกฯ ผู้ดี

อังกฤษกำลังมีการเลือกหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟคนใหม่ในขณะนี้ โดยที่ทางพรรคได้ส่งบัตรเลือกตั้งออกไปตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและจะปิดหีบการออกเสียงของสมาชิกพรรคลงในตอนบ่ายของวันที่ ๒ กันยายนนี้ และจะรู้ผลการเลือกตั้งในวันที่ ๕ กันยายน ซึ่งหมายความว่าอังกฤษจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันนั้นด้วย 

เพราะพรรคคอนเซอร์เวทีฟ เป็นพรรครัฐบาลอยู่ในขณะนี้ หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน ได้ลาออกเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ขบวนการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่จึงเริ่มขึ้น ด้วยการที่ส.ส.ของพรรคคอนเซอร์เวทีฟได้เลือกผู้แข่งขันที่จะเข้าชิงชัยตำแหน่งหัวหน้าพรรคมาได้สองคน คือ นายริชชี่ สุหนาก ซึ่งได้คะแนนจาก ส.ส. สูงที่สุด (อดีต ร.ม.ต. คลังซึ่งลาออกเพื่อประท้วงความประพฤติของนายบอริส) ตามมา คือ นางเอลิซาเบธ ทรัสส์ รมต.ต่างประเทศ

ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ผู้สมัครสองคนนี้ได้ตระเวนหาเสียงไปทั่วประเทศเพื่อแสดงนโยบายของตนว่าถ้าได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีจะบริหารประเทศอย่างไร ซึ่งถ้าเห็นชอบด้วย ก็ขอเสียงสนับสนุนจากสมาชิกพรรคคอนเซอร์เวทีฟที่มีอยู่ราว ๑๖๐,๐๐๐ คน

การตระเวนหาเสียงหรือเสนอนโยบายของผู้สมัครทั้งสองคนจะสิ้นสุดลงในวันที่ ๓๑ สิงหาคมนี้ ผู้เขียนเห็นว่าการเสนอนโยบายของผู้สมัครทั้งสองคนน่าสนใจมาก จึงอยากนำมาเล่าให้ฟังโดยอาศัยข้อมูลจากรายงานข่าวของบีบีซีภาคภาษาอังกฤษ

ที่ได้อ่านมารายงานของบีบีซีภาคภาษาอังกฤษทำได้ชัดเจนมากทีเดียว โดยได้สรุปนโยบายของผู้สมัครทั้งสองคนมาให้เห็นในด้านต่าง ๆ เช่น Tax & spending, Cost of living, Climate, Brexit, Health & social care, Education, Housing planning, Profile ก็คือ เรื่องภาษีและการใช้งบประมาณ, ค่าครองชีพ, การออกจากสหภาพยุโรป, การสาธารณะสุข, การศึกษา ตลอดจนเรื่องบ้านที่อยู่อาศัย คนไหนสนใจในเรื่องใดก็คลิกเข้าไปอ่านได้หรืออยากจะรู้ประวัติความเป็นมาของแต่ละคนก็หาอ่านได้เช่นกัน ซึ่งก็ละเอียดดี 

อยากจะบอกว่ารายงานข่าวแบบนี้ทำให้ผู้อ่านได้รู้ว่า ผู้สมัครคนไหนจะทำอะไรเมื่อเข้ามาบริหารบ้านเมืองและรู้ว่าเขาพูดอะไรไว้บ้าง นับว่าเป็นสื่อสารมวลชนที่ส่งสาส์นได้ดีทีเดียว

นโยบายที่บีบีซีรวบรวมมาได้นี้ ก็จากการประกาศของผู้สมัครทั้งสองเอง รวมทั้งการตอบข้อซักถามจากสมาชิกพรรคหรือการสัมภาษณ์ของสื่อมวลชน ผู้เขียนจะยกประเด็นสำคัญ ๆ มาให้ท่านได้ทราบบางส่วน

เรามาดูกันว่านาง เอลิซาเบธ ทรัสส์ หรือจะเรียกเธอสั้น ๆ ว่า ลิธ ทรัสส์ ซึ่งมีข่าวว่าขณะนี้เธอกลับมีเสียงนำนายริชชี่ สุหนากอยู่ เธอมีนโยบายสำคัญอะไรบ้าง

เธอประกาศว่าจะกลับไปใช้อัตราการเรียกเก็บภาษีที่เรียกว่า National Insurance ในอัตราเดิม หลังจากที่รัฐบาลประกาศขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา, สัญญาว่าจะยกเลิกแผนการที่จะขึ้นภาษีนิติบุคคลจาก ๑๙% เป็น ๒๕% ในปีหน้า, สัญญาว่าจะเปลี่ยนระบบภาษีให้ง่ายขึ้นเพื่อที่จะช่วยคนที่ต้องอยู่บ้านเพื่อเลี้ยงลูกและญาติที่ชรา, เธอต้องการที่จะสร้างระบบที่เรียกว่า ภาษีต่ำและเขตควบคุมที่ไม่เข้มงวดทั่วประเทศเพื่อที่จะให้เป็นศูนย์กลางของบริษัทใหม่ ๆ หรือแนวคิดใหม่ ๆ, เธอบอกว่าจะไม่ตัดงบใช้จ่ายสาธารณะ เว้นไว้เสียแต่ว่าถ้าการต้องทำเช่นนั้นจะไม่นำไปสู่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต, นอกจากนี้เธอจะยับยั้งสิ่งที่เรียกว่า “green levy” คือเงินส่วนหนึ่งที่ประชาชนจ่ายค่าพลังงานและถูกนำไปเป็นค่าสนับสนุนโครงการสีเขียวและสังคม และที่สำคัญคือ เธอจะใช้งบประมาณทางด้านกลาโหมในระดับ ๒.๕% ของ GDP ไปในอีก ๔ ปีข้างหน้า และจะเพิ่มเป็น ๓% ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓

จะเห็นได้ว่านโยบายเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ที่ใกล้ตัวประชาชนคนอังกฤษทั้งสิ้น ทีนี่มาฟังทางด้านคู่แข่งของเธอคือนายริชชี่ สุหนาก ที่เคยเป็นรัฐมนตรีคลังมาก่อนว่า นายริชชี่ จะบริหารประเทศอย่างไรบ้าง

นโยบายของนายริชชี่ดูจะตรงกันข้ามกับของนางลิธ ทรัสส์ทีเดียว เพราะหัวใจที่เขายึดมั่นอย่างเหนียวแน่นคือเขาต้องการที่จะควบคุมภาวะเงินเฟ้อของประเทศให้อยู่หมัดก่อน ก่อนที่จะไปลดภาษี นายริชชี่ประกาศว่าในสภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษในขณะนี้ต้องลดและควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้ได้เสียก่อนอื่นใด เขายืนยันและต้องการที่จะขึ้นภาษีที่เรียกว่า National Insurance เพื่อนำไปใช้จ่ายในด้านสุขภาพ,เขายืนยันและต้องการที่จะขึ้นภาษีนิติบุคคลจาก ๑๙% เป็น ๒๕% ในปีหน้า (ภาษีทั้งสองอย่างนี้มีผลกระทบโดยตรงกับประชาชนคนอังกฤษ)

บ้านเทพนิยาย!! หมู่บ้าน Foroglio กลางหุบเขา Bavonatal แห่งเทือกเขาแอลป์ สถานที่สุดมหัศจรรย์ เหมือนหลุดไปยังโลกเทพนิยาย

เมื่อมีเวลาได้พักร้อน หากวี่ไม่เลือกไปต่างประเทศตั้งแต่แรก วี่ก็ไม่มีแพลนใดๆ เลย สาเหตุก็เพราะในสวิสมีสภาพอากาศค่อนข้างแปรปวนและไม่แน่นอน ถึงแม้พยากรณ์อากาศของสวิสอย่าง MeteoSwiss จะทำนายได้แม่นยำ แต่ก็แม่นยำเพียง 1-2 อาทิตย์เท่านั้น ดังนั้นหากวี่จะไปพักร้อนในประเทศวี่ก็จะจองเอาในตอนนาทีสุดท้ายเสมอ

ครั้งนี้ก็เช่นกันค่ะ วี่เห็นสภาพอากาศแล้วก็เกิดความไม่แน่ใจ เลยตัดสินใจจองห้องในวันที่ออกเดินทางซะเลย สถานีปลายทางของวี่คือ เมือง Locarno รัฐ Tessin หรือ Ticino เพราะทางตอนใต้ของเมืองนี้ติดกับชายแดนอิตาลี อีกทั้งที่นี่มีอากาศค่อนข้างร้อน ถึงแม้ว่าจะมีเมฆหรือฝนตก อากาศที่สัมผัสได้ก็จะไม่หนาวเท่าฝั่งบ้านของวี่นั่นเองค่ะ

แรกเริ่มเดิมทีวี่มีแพลนว่าจะตื่นแต่เช้าเพื่อไปล่องเรืองที่ทะเลสาป Lago Maggiore แต่ฝนเจ้ากรรมดันตกลงมาตั้งแต่เช้า จึงต้องจำใจเปลี่ยนแผนกะทันหัน (แอบเสียดายเหมือนกันนะเนี่ย) ครั้งที่แล้วที่วีมีโอกาสได้มาที่รัฐ Tessin วี่ได้เขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหุบเขา Verzascatal หรือ Verzasca Valley เอาไว้ (ตามอ่านได้ที่ : https://thestatestimes.com/post/2021061308) สำหรับทริปนี้วี่ก็มาที่หุบเขาอีกเช่นเดิม แต่ครั้งนี้หุบเขาที่วี่จะพาไปเป็นหุบเขา Bavonatal หรือ Bavona Valley ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่มหัศจรรย์อย่างมาก ไม่แพ้ที่ Verzascatal กันเลยทีเดียว

การเดินทางมาที่ Bavonatal หรือ Bavona Valley ถ้าขับรถยนต์จาก Locarno ก็จะใช้เวลา 45 นาทีโดยประมาณ แต่หากอยากเปลี่ยนบรรยากาศโดยการขึ้นรถโดยสารประจำทางก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยนั่งรถบัสสีน้ำเงินสาย 315 จากหน้าสถานีรถไฟ Locarno ไปลงที่ป้าย Bignasco จากตรงนี้เราจะต่อรถบัสสีเหลือง (Postauto) สาย 333 เพื่อไปลงที่หมู่บ้าน Foroglio แต่ขอเตือนกันไว้สักนิดว่ารถสายนี้จะวิ่งไม่กี่เที่ยวต่อวัน ต้องดูเวลากันให้เป๊ะๆ เลยนะทุกคน

พอมาถึงหมู่บ้าน Foroglio ก็ทำเอาวี่เซอร์ไพรส์หนักมาก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านที่เหมือนพาเราเข้าไปสู่โลกแห่งเทพนิยาย เป็นหมู่บ้านที่เสมือนหยุดกาลเวลาเอาไว้ เพราะบ้านของที่นี่สร้างด้วยหิน แถมยังมีฉากหลังเป็นน้ำตกที่ชื่อเดียวกับหมู่บ้านแห่งนี้ นั่นก็คือ น้ำตก Foroglio โดยน้ำตกนี้มีความสูงถึง 110 เมตร ใครที่มาเที่ยวที่นี่ก็ต่างต้องการเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกกันทั้งนั้น (สวยมากจริงๆ)

แอบส่อง!! คัดแข่งหัวหน้าพรรคทอรี่ สไตล์ผู้ดีอังกฤษ

 อังกฤษได้ชื่อว่าเป็นแม่แบบของประชาธิปไตยที่มีการปกครองด้วยระบบที่มีหลายพรรคการเมือง พรรคใหญ่และเก่าแก่ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือพรรคทอรี่หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าพรรคคอนเซอเวทีฟ อีกพรรคหนึ่งคือพรรคเลเบอร์หรือพรรคแรงงาน นอกจากสองพรรคนี้แล้ว อังกฤษก็ยังมีพรรคขนาดกลางอีกพรรคหนึ่งคือพรรคลิบเบอรัลเดโมแครต

แต่พรรคที่มีเสียงข้างมากและได้จัดตั้งรัฐบาลบ่อยครั้งกว่าก็คือพรรคคอนเซอเวทีฟที่บางครั้งก็เรียกกันว่าพรรคอนุรักษ์นิยมและขณะนี้พรรคนี้ก็เป็นรัฐบาลปกครองประเทศ 

ในระยะ ๕-๖ ปีที่ผ่านมาพรรคอนุรักษ์นิยมมีการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคมาแล้วสามคนหลังจากการลงประชามติว่าอังกฤษจะอยู่หรือออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปีค.ศ. ๒๐๑๖

เริ่มจากนายเดวิด แคมเมอรอนก่อนนายเดวิดประกาศลาออกในปี ค.ศ.๒๐๑๖ สาเหตุก็คือในการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. ๒๐๑๕นายเดวิดประกาศว่าถ้าเขาชนะการเลือกตั้งเขาจะจัดให้อังกฤษมีการลงประชามติในการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ปรากฏว่านายเดวิด ชนะการเลือกตั้งเขาจึงจัดให้มีการลงประชามติตามสัญญา นายเดวิด สนับสนุนให้อังกฤษยังคงเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป แต่ชาวอังกฤษส่วนใหญ่โหวตให้อังกฤษออก ดังนั้นเมื่อความเห็นของเขาไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากคนอังกฤษ นายเดวิดจึงอยู่ต่อไปไม่ได้

ขอแทรกข้อมูลตรงนี้สักหน่อยว่าเรื่องการออกจากสมาชิกสหภาพยุโรปนี่ในพรรคคอนเซอเวทีฟพูดกันมานาน แต่ไม่มีใครกล้าทำเรื่องประชามตินี้ เพราะมันมีผลมากมายและถ้าทำก็ต้องเสี่ยงว่าจะอยู่หรือไป ก็มีความเห็นของชาวอังกฤษที่ขัดแย้งกันและเช่นเดียวกันกับนักการเมือง บ้างก็ว่าอยู่ก็ดี บ้างก็ว่าออกจะดีกว่า

ต่อมานางเทเรซ่า เมย์ ได้รับเสียงสนับสนุนจากส.ส. ภายในพรรคอย่างท่วมท้นให้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคและได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยตำแหน่ง แต่ระหว่างเป็นนายกฯไม่ถึงสามปีเธอก็ต้องลาออกเพราะรัฐบาลของเธอไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อรองเจรจากับสหภาพยุโรปตามเงื่อนไขที่อังกฤษต้องการในการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้ มีข้อขัดแย้งหลายประการ อังกฤษถูกโดนรุมจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับตัวนางเทเรซ่าเอง เธอดูจะเสียเครดิทไปมากและจากการขัดแย้งกันเองภายในพรรควุ่นวายกันไปหมด จนเทเรซ่า เมย์แทบจะหมดสภาพ เธอยอมลาออกในปีค.ศ. ๒๐๑๙

การเมืองก็คือการเมืองไม่ว่าที่ไหนๆ ต้องมีพรรคมีพวก ส.ส.ในพรรคคอนเซอเวทีฟสนับสนุนให้นายบอริส จอนห์สันซึ่งตอนนั้นเป็นรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลของนางเทเรซ่าอยู่ ว่าน่าจะมาแทนที่นางเทเรซ่า และสามารถแก้ไขปัญหาการออกจากสมาชิกสหภาพยุโรปได้เร็วขึ้น เพราะนายบอริส คือตัวหลักคนหนึ่งในการที่สนับสนุนให้อังกฤษ ดีดตัวออกจากสหภาพยุโรปสำเร็จ เพราะฉะนั้นนายบอริส น่าจะเป็นคนที่ทำได้ตามที่อังกฤษต้องการ

และก็เป็นไปตามที่คิดกันในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ ส.ส.พรรคคอนเซอเวทีฟก็เลือกนายบอริสขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค นายบอริสขึ้นชื่อว่าเป็นปลาไหลใส่เสก็ตเก่งคนหนึ่งเขาจึงต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างง่ายๆต่อจากนางเทเรซ่า  ดังนั้นหลังจากที่เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่นานนักนายบอริสก็ประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ เกิดปรากฏการณ์ที่ฉงนๆกันอยู่คือว่าพรรคคอนเซอเวทีฟได้คะแนนเสียงข้างมากกว่าเดิมได้จัดตั้งรัฐบาลอีก

เมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งเสียงดีเช่นนี้ ด้วยความมั่นใจนายบอริสก็ดำเนินการเจรจาให้อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปได้เร็วขึ้น แต่เมื่อปีที่แล้วนายบอริสก็มาตกม้าตายจากการบริหารประเทศในการระบาดของโรคโควิด ๑๙ ที่สับสนวุ่นวายทำให้คนอังกฤษเสียชีวิตเพราะโรคระบาดไปนับแสนคน แผนการที่รัฐบาลออกมารับมือถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าไม่มีประสิทธิภาพและสร้างความโกลาหลให้กับประชาชนเพราะรัฐบาลนายบอริสเชื่องช้าและเพิกเฉยต่อการรับมือกับโรคระบาด

สงครามแย่งชิงมวลชน ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ คือภารกิจสำคัญของผู้มีอำนาจทุกยุคทุกสมัย หากต้องการให้มวลชนอยู่ภายใต้การปกครอง และตัวเองสามารถครองอำนาจไปได้ตลอด แม้กระทั่งผู้นำอย่าง ฮิตเลอร์ ก็ยังให้ความสำคัญกับการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อแย่งชิงมวลชนมาเป็นฝ่ายตัวเอง 

สมัยฮิตเลอร์ครองอำนาจ เขาได้มือขวาคู่ใจคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาคือรัฐมนตรีกระทรวงโฆษณาการ นายโยเซฟ เกิบเบิลส์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปลุกระดม การโฆษณาชวนเชื่อ และสร้างข่าวเท็จจำนวนมาก หรือที่เรียกว่า Fake News โดยนปัจจุบัน เขามีลักษณะเด่นคล้ายฮิตเลอร์ คือ เป็นนักพูดตัวยง เป็นนักแสดงบนเวที และเป็นนักเล่าเรื่องผู้ยอดเยี่ยม

ฮิตเลอร์ และมือขวาของเขาได้ร่วมกันสร้างหลักการง่ายๆ จนเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำโฆษณาชวนเชื่อแพร่หลายทั่วไปจนถึงปัจจุบัน ภายใต้หลักการง่ายๆ 7 วิธี ซึ่ง 7 วิธีนี้ ทุกวันนี้ก็ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน

'การใช้สื่อเป็นเครื่องมือ' ภายหลังพรรคนาซีได้รุ่งเรืองอำนาจในปี ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์และเกิบเบิลส์ ได้เข้าควบคุมหนังสือพิมพ์ทั้งหมดในเยอรมนี เพื่อกำหนดข่าวให้อยู่ทิศทางเดียวกัน ไม่รวมถึงวิทยุกระจายเสียงที่อยู่ภายใต้รัฐบาลอยู่แล้ว และพวกเขาได้สร้างนักพูด นักปลุกระดมมวลชนหลายพันคนที่มีฝีปากจัดจ้าน ออกตระเวนไปพูดทั่วประเทศ ส่งเนื้อหาเพื่อทำให้ประชาชนชื่นชอบฮิตเลอร์ พรรคนาซี และความชอบธรรมในการรุกรานประเทศอื่นๆ

...'โกหกจนเป็นเรื่องจริง' !!

โยเซฟ เกิบเบิลส์ เคยกล่าวว่า “ยิ่งโกหกคำโตมากเท่าไร โกหกบ่อยๆ คนจะยิ่งเชื่อมากขึ้น” และ “การหลอกประชาชนจำนวนมากด้วยการพูดโกหกเรื่องใหญ่ๆ ง่ายยิ่งกว่าการโกหกเรื่องเล็กๆ”

“การตั้งฉายา” ตั้งฉายาฝ่ายตรงกันข้ามให้ชั่วร้ายเลวทรามหรือดูแย่ เพื่อให้คนหมู่มากรู้สึกรังเกียจและสร้างความเกลียดชังให้มากขึ้น

“พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก” เป็นการย้ำข้อความเดิมๆ ไปเรื่อยๆ ซ้ำๆจนคนฟังหรือผู้รับสารค่อยๆ ซึมและเชื่อไปเองในที่สุด ไม่ต่างจากการที่ค่ายเพลง เปิดเพลงที่ตั้งใจจะให้ฮิทติดอันดับทางสถานีวิทยุ เปิดไปเรื่อยๆ จนคนฟังชินหู แล้วเริ่มรู้สึกว่าเพลงเพราะ

“ฝ่ายธรรมะ ฝ่ายอธรรม” ฮิตเลอร์พยายามสร้างภาพว่า ตัวเองเป็นสัตบุรุษ เป็นเสมือนพระเยซู ผู้ทรงคุณธรรม มีศีลธรรมอันดีงาม มาช่วยเหลือ ปกป้องชาวเยอรมันและป้ายสีว่าผู้ร้ายคนชั่วคือพวกยิว ที่เป็นพ่อค้าขูดรีด เอาเปรียบชาวอารยันมานาน และพวกคอมมิวนิสต์ที่มีความคิดชั่วร้ายในการปกครองประเทศ แม้กระทั่งก่อนการบุกประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศเชคโกสโลวาเกียหรือโปแลนด์ ก็มีการปลุกระดมให้คนเยอรมันเข้าใจผิดว่า ชนชาติเหล่านั้นเป็นคนชั่ว ข่มเหงรังแกคนเยอรมันและชนกลุ่มน้อยในประเทศนั้นๆ ทางรัฐบาลนาซีเลยต้องประกาศสงคราม

“แบ่งแยกผู้คนเป็นฝ่ายต่างๆ ชัดเจน” เมื่อทำทั้ง 6 วิธีด้านบนไปแล้วก็ถึงเวลาในการที่จะบีบให้คนต้องเลือกข้างและด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาคงไม่มีใครที่อยากจะเลือกข้างเป็นผู้ร้ายและนั่นคือความสำเร็จของโมเดลโฆษณาชวนเชื่อของฮิตเลอร์

ฤา.....เมียนมาจะล่มสลายเหมือนศรีลังกา

ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา เอยาได้ยินเสียงแว่วออกมาจากฝั่งสามนิ้วชาวเมียนมาก็ดี ชาวไทยก็ดีว่า อีกไม่นานเมียนมาจะล่มสลายแบบเดียวกับศรีลังกา เรื่องแบบนี้มันสามารถปลุกกระแสได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารของเมียนมา เอาเป็นว่าก่อนที่จะที่ทุกคนจะเชื่อหรือไม่ วันนี้เอยามาหาคำตอบให้ทุกคนได้รู้กัน

ก่อนจะพูดถึงว่าเกิดอะไรขึ้นกับตระกูลราชปักษาที่ทุกคนทราบกันดีว่าเหตุของการล่มสลายของศรีลังกาเราควรมาทราบก่อนว่าตระกูลราชปักษานั้นขึ้นมามีอำนาจได้อย่างไร ก่อนอื่นๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าในอดีตศรีลังกามีคนอาศัยอยู่ 2 ชาติพันธุ์นั่นคือ ชาวสิงหลที่เป็นชาวพื้นเมือง อีกชาติพันธุ์คือชาวทมิฬที่ย้ายถิ่นฐานมาจากอินเดียใต้ และมีปัญหาการกระทบกระทั่งระหว่างชนชาติมาตลอดตั้งแต่สมัยก่อนยุคล่าอาณานิคม จนถึงยุคล่าอาณานิคม แม้จะมีการเปลี่ยนมือกันปกครองจากโปรตุเกสเป็นฮอลันดาและอังกฤษในเวลาต่อมา โดยเฉพาะในยามที่อังกฤษปกครองเป็นช่วงเวลาที่สร้างรอยร้าวระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬมากที่สุด จนถึงวันที่ปลดปล่อยเอกราชออกจากอังกฤษ ปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬมาเป็นเวลานับศตวรรษ โดยชาวทมิฬต้องการที่จะแยกดินแดนทางภาคเหนือและตะวันออกของประเทศตั้งเป็น มาตุภูมิทมิฬ จึงได้ก่อตั้งกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม หรือ LTTE เพื่อเป็นกองกำลังในการต่อสู้กับรัฐบาล โดยใช้วิธีการก่อการร้าย ระเบิดพลีชีพ และการลอบสังหาร โดยพุ่งเป้าไปที่หน่วยทหาร ผู้นำทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่นชาวสิงหล จนกระทั่งนอร์เวย์เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยนำไปสู่การลงนามความตกลงหยุดยิงในปี 2545 ซึ่งตามมาด้วยการเจรจาสันติภาพที่มีการประชุมมาทั้งหมด 8 ครั้ง โดยการเจรจาฯ จัดขึ้นที่ไทย 3 ครั้ง (กันยายน/ตุลาคม 2545 และมกราคม 2546) การเจรจาฯ ครั้งสุดท้ายจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 - 29 ตุลาคม 2549 ที่นครเจนีวา ก็ไม่ปรากฏผลที่สำคัญใดๆ อาจกล่าวได้ว่า การเจรจาฯ ที่ผ่านไม่สามารถบรรลุผลใด ๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ตลอดจนความจริงใจที่จะยุติปัญหาทาการเมืองอย่างถาวร แม้จะได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากประเทศตะวันตกก็ตาม

จนกระทั่งการเลือกตั้งประธานาธิบดี นาย Mahinda Rajapaksa ที่ปัจจุบันได้เป็นนายกรัฐมนตรีก่อนจะถูกเปลี่ยนออกในการปรับ ครม. ก่อนจะเกิดการล่มสลายของศรีลังกา โดยนาย Mahinda ได้ชูนโยบายในการกวาดล้างกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลมจนถูกทำลายสิ้นซากในเดือนพฤษภาคม 2009 ภายใต้การนำของ Nandasena Gotabaya Rajapaksa ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เขาได้ใจชาวสิงหลในศรีลังกาและเป็นผลให้ โคฐาภยะ ราชปักษา ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ตั้งแต่ปี 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 - 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2022

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าวันนี้ศรีลังกาได้ประกาศเป็นประเทศล้มละลายแล้วโดยชนวนเหตุมาจากการกู้หนี้ยืมสินต่างประเทศมาใช้อย่างอู้ฟู่โดยรายได้ของศรีลังกา จนเมื่อประเทศต้องผจญกับวิกฤตทับซ้อนโดยเริ่มจาก วิกฤตการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้รายได้หลักของศรีลังกาขาดไป เมื่อต้องมาพบกับวิกฤตการณ์ที่ราคาอาหารและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงเมื่อ โคฐาภยะ ราชปักษา ได้ดำเนินนโยบายการลดการเก็บภาษีในกลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม ทำให้รายได้ประเทศลดลงในขณะที่รายจ่ายพุ่งสูงขึ้นจนนำมาถึงจุดที่ล้มละลายในที่สุด

WHAT...IF อะไรจะเกิดขึ้น...ถ้าสัญญาปางหลวงสำเร็จ

วันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นวันที่รำลึกถึงเหตุการณ์ที่นายพล ออง ซาน และผู้นำในการเรียกร้องเอกราชคนอื่นๆ คือรัฐมนตรี 6 คน และเจ้าหน้าที่รัฐบาล 2 คน ถูกลอบสังหารระหว่างการประชุมสภาก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษ 6 เดือน ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ก่อนวันที่นายพล เนวิน จะยึดอำนาจในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 

วันนี้เอย่ามาลองคิดดูว่า หากวันนั้นไม่เกิดรัฐประหารของนายพลเนวิน และในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ไม่มีการสังหารหมู่และการเซ็นสัญญาปางหลวงหรือปางโหลงสำเร็จในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 และมีการดำเนินไปตามสนธิสัญญากำหนดไว้อะไรจะเกิดขึ้น

ก่อนอื่นเราควรจะมาทราบที่มาที่ไปของที่มาของสนธิสัญญาปางหลวงก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนจะมีวันนี้ ในเว็บไซต์ รักเมืองไตย ได้บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของสนธิสัญญาปางหลวงไว้ โดยเหตุการณ์ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 กษัตริย์ธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าถูกกองทัพอังกฤษบุกเข้าจับกุมตัวและในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2429 กองทัพอังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของแผ่นดินพม่าไว้หมดแล้ว 

ซึ่งในเวลานั้น รัฐฉานของชาวไทยใหญ่ยังไม่ได้ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดิน จวบจนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2430 อังกฤษจึงเดินทางมายึดรัฐฉาน และประกาศให้รัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งในรัฐอารักขาของอังกฤษ ในช่วงที่รัฐฉานอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ได้มีการแบ่งแยกการปกครอง และงบประมาณของรัฐฉานกับพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน 

โดยในสมัยนั้น พม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อต้านอังกฤษมาโดยตลอด ขณะที่เจ้าฟ้าและประชาชนไทยใหญ่ ได้ให้ ความร่วมมือกับอังกฤษ รวมทั้งให้การช่วยเหลืออังกฤษในการสู้รบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ  2 เป็นอย่างดี

หลังจากที่แผ่นดินพม่าและไทยใหญ่ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ นานกว่าครึ่งศตวรรษ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2482 นายพลอองซานจึงจัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ใต้ดินขึ้น เพื่อให้พม่าหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยที่นายพลอองซาน ทำหน้าที่เลขาธิการของกลุ่ม นายพลอองซาน พยายามหาทางติดต่อกลุ่มกับคอมมิวนิสต์กลุ่มต่าง ๆ 

โดยหลังจากเดินทางกลับจากอินเดียมายังกรุงย่างกุ้ง เขาได้แอบเดินทางไปประเทศจีน แต่เนื่องจากลงเรือผิดลำจึงไปถึงเกาะ  อะมอย ( Amoy ) ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในการครอบครองของญี่ปุ่น ทางญี่ปุ่นจึงเรียกตัว นายพลอองซานไปยังเมืองโตเกียว หลังจากนายพลอองซานกลับจากญี่ปุ่น จึงได้รวบรวมสมัครพรรค พวกจำนวน 30 คนเดินทาง ไปฝึกการรบที่ญี่ปุ่น
ต่อมา วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2484 อองซานจึงจัดตั้งกองทัพอิสระภาพแห่งพม่า ( B.I.A : Burma Independence Army ) ขึ้นที่กรุงเทพฯ และในปี พ.ศ 2485 นายพลอองซานเริ่มนำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่น โจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฤษ โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาในแผ่นดินพม่าและรัฐฉาน และในเวลาเดียวกันนี้ ทางเจ้าฟ้ารัฐฉาน ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษ ไปยังอินเดียและพม่า 
.
ต่อมา ญี่ปุ่นได้ทำการ ทารุณกรรมประชาชนในรัฐฉาน เช่นเดียวกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่างๆ ในเอเชีย จวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ญี่ปุ่นจึงถอยทัพกลับไป และในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2  เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษ ได้จัดทำหนังสือข้อตกลง ที่ชื่อว่า "เตหะราน" (Teheran-Agreement) ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า "หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จะคืนเอกราชให้แก่ดินแดนอาณานิคมของ ทั้ง 2 ประเทศทั้งหมด" เมื่อสงครามสิ้นสุดลงนายพลอองซานจึง พยายามติดต่อเข้าพบผู้นำรัฐบาลอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืน


 

ในช่วงเวลาที่อังกฤษปกครองพม่าและรัฐฉานอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉาน (ที่ไม่ใช่ชาวไทยใหญ่) เดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้ง และซึมซับรับเอาแนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงเริ่มมีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน โดยนักศึกษากลุ่มนี้ ได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่ม "ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช" ของนายพลอองซาน และตกลงรับเอาภาระหน้าที่บ่อนทำลายการปกครองระบอบเจ้าฟ้าของรัฐฉาน และหันมาเข้าร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของนายพลอองซาน โดยอาศัยรัฐฉานเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ 

แต่เนื่องจากเจ้าฟ้ารัฐฉานเป็นมิตรกับอังกฤษมาโดยตลอด โดยในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่า "ขอให้รัฐฉาน อยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อนและอังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา, การเมือง, การปกครอง , การติดต่อต่างประเทศ - ในประเทศ, การเศรษฐกิจ และการคมนาคมในรัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วอังกฤษจะคืนเอกราชให้ภายหลัง"

สำหรับนายพลอองซานในช่วงแรก เป็นผู้มีบทบาทชักจูงทหารญี่ปุ่น ให้เข้ามาในพม่าและรัฐฉาน แต่ในตอนสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2488 กลับนำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น ทางพม่าจึงได้ถือเอาวันนี้ เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ทางด้านเจ้าฟ้าไทยใหญ่ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และในดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 สองเดือนถัดมา เจ้าหญิงเมืองป๋อน ได้ทรงสิ้นพระชนม์ บรรดาเจ้าฟ้าจากเมืองต่างๆ จึงเดินทางมาร่วมงานพระศพ ทำให้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกันว่า "น่าจะจัดให้มีการประชุมของเจ้าฟ้าทั้งหมด เพื่อปรึกษาหารือ เกี่ยวกับอนาคตของรัฐฉาน" และต่อมาวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 จึงได้มีการประชุมของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ขึ้นที่ เมืองกึ๋ง 

โดยที่ประชุม มีมติจัดตั้ง "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" ขึ้น เพื่อให้มีสถาบันที่จะปกครองรัฐฉาน  ในแนวทางระบอบประชาธิปไตย และเพื่อทำให้รัฐฉาน ซึ่งมีดินแดนอยู่ระหว่างจีนแดงและพม่า สามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป 

นอกจากนี้ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ยังมีแนวความคิดที่จะร่วมสร้างบ้านสร้างเมืองกับรัฐคะฉิ่นและรัฐชินซึ่งเป็นรัฐใกล้เคียง ดังนั้นจึงตกลงเห็นควรเชิญรัฐคะฉิ่นและรัฐชิน มาเข้าร่วมเป็นสหพันธรัฐ โดยในเวลาต่อมาเมื่อวันที่  20 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่, รัฐคะฉิ่น และรัฐชิน ได้จัดประชุมร่วมกันขึ้นที่เมืองปางหลวง หรือ ปางโหลง โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะทำการจัดตั้ง "สหพันธรัฐเทือกเขา และสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา(Supreme Council of the United Hill People : S.C.O.U.H.)" ขึ้น และกำหนดให้ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภา รัฐละ 6 คน รวม 18 คน โดยเริ่มจัดตั้งภายในปี พ.ศ. 2490 และให้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งที่เมืองปางหลวง การประชุมในครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการอยู่ร่วมกัน แบบสหพันธรัฐในดินแดนแห่งนี้

แต่เนื่องจากนักศึกษาที่เป็นแนวร่วมของพม่า ได้ทำการแจ้งข่าวการประชุมร่วม 3 รัฐ ครั้งนี้ ให้ทางพม่าทราบ   ทางการพม่าซึ่งนำโดย นายอูนุและนายอูจ่อ จึงเดินทางมาเข้าร่วมประชุมด้วย แม้ว่าการประชุมครั้งนี้ตัวแทนจากพม่าจะเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ในที่ประชุม ก็ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ เนื่องจากเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้พูดในที่ประชุมอย่างชัดเจนว่า  "ต้องการจัดตั้งสหพันธรัฐที่ไม่มีพม่ารวมอยู่ด้วย"  ดังนั้น ตัวแทนชาวพม่าที่เข้าร่วมประชุม จึงเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ ไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นหรือลงมติใดๆ ทั้งสิ้น

ต่อมา วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้ร่วมกันจัดตั้ง  "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน" (EX-ective Committee of the Council of Shan State Saophas) ขึ้น ตามมติที่ตกลงกันไว้ในการประชุมที่เมืองกึ๋ง ขณะที่ทางฝ่ายพม่า ต้องการให้ไทยใหญ่ร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ไม่เห็นด้วย พม่าจึงทำการยุยงให้นักศึกษาในรัฐฉานบางกลุ่ม ซึ่งเป็นแนวร่วมของพวกเขา ทำการจัดตั้งกลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน" ขึ้นเมื่อวันที่  20 กันยายน พ.ศ. 2489 โดยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดที่จะเรียกร้องเอกราชร่วมกับพม่า และล้มล้างการปกครองระบอบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน "คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ" ได้พยายามเรียกร้องว่า "หากมีการให้เอกราชแก่รัฐฉาน ก็ไม่เห็นด้วยที่จะเข้าร่วมกับพม่า" โดยได้ทำหนังสือแสดงจุดยืนดังกล่าวต่อข้าหลวงอังกฤษมาโดยตลอด 

ซึ่งในขณะเดียวกันนายพลอองซานก็ได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษ และกลับมาชักชวนให้รัฐคะยาเข้าร่วมกับพม่าด้วย ในระหว่างการเดินทางไปรัฐคะยา นายพลอองซานได้แวะกล่าวปราศรัยต่อประชาชนชาวไทยใหญ่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ในสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง ในเมืองตองจี ผู้ที่เข้าฟังการปราศรัย ส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและคนหนุ่มสาว โดยนายพลอองซานพยายามเรียกร้องให้ชาวไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับชาวพม่า 

และในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2489 นายพลอองซานได้ติดต่อขอเข้าพบกลุ่มเจ้าฟ้า ที่ปกครองทางภาคใต้ของรัฐฉาน โดยพยายามพูดจาหว่านล้อมให้เจ้าฟ้าเหล่านั้น เห็นด้วยกับการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษร่วมกับพม่า แต่การเจรจาไม่เป็นผล วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2489 นายพลอองซานจึงเดินทางกลับไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปพบปะพูดคุย กับนายแอตลี (Attlee) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่ลอนดอนเกี่ยวกับเรื่องเอกราชของพม่า   

ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2489 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้จัดประชุมขึ้นที่แสนหวี และจัดส่งโทรเลขจากเมืองล่าเสี้ยวถึง นายแอตลี มีใจความว่า "นายพลอองซานไม่ใช่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ เรื่องของทางไทยใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการเจ้าฟ้าฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง" โดยนายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2490 

จากนั้นในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2490 อองซานเดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เข้าพบกับนายแอตลี ตั้งแต่วันที่ 16 - 26 มกราคม พ.ศ. 2490 เพื่อเจรจาให้อังกฤษมอบเอกราชคืนให้แก่พม่าและรัฐฉานร่วมกัน แต่นายแอตลีได้ตอบปฏิเสธ เนื่องจากได้รับโทรเลขแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทยใหญ่ จากคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอกราชร่วมกับพม่า

เมื่อนายอูนุทราบว่า ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้ส่งโทรเลขถึงนายแอตลี มีใจความไม่เห็นด้วยกับพม่า ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2490 นายอูนุจึงสั่งให้คนของเขา ไปทำการยุยงให้นักศึกษากลุ่ม "เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน" ส่งโทรเลขสนับสนุนให้อองซาน เป็นตัวแทนของชาวไทยใหญ่ถึงนายแอตลีบ้าง โดยนายแอตลีได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2490 ต่อมาในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2490 จึงได้มีการทำหนังสือข้อตกลง อองซาน-แอตลี (Aungsan Attlee Agreement) ขึ้น ซึ่งในหนังสือข้อตกลงฉบับนี้ ในวรรคที่ 8 ได้กล่าวเกี่ยวกับรัฐฉานไว้ว่า "ให้นายพลอองซานทำการเจรจากับผู้นำของชาวไทยใหญ่ ที่กำลังจะจัดประชุมกันขึ้นที่ปางหลวง ในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้" และนายแอตลีได้ส่งโทรเลขถึงคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ, ตัวแทนรัฐคะฉิ่น, ตัวแทนรัฐชิน ให้ได้รับทราบ เพื่อที่จะได้คิดแนวทางที่จะพูดคุยกับนายพลอองซานในการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขา ที่กำลังจะจัดขึ้นที่เมืองปางหลวง

การประชุมที่เมืองปางหลวง เป็นมติที่ตกลงจากการประชุมครั้งก่อน เมื่อปี 2489 โดยที่ประชุมได้ตกลงให้จัดการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาอีกครั้งในปีต่อมา คือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ จึงได้จัดประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นที่ เมืองปางหลวงอีกครั้งหนึ่ง โดยงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ เป็นผู้ออกเองทั้งหมด  

หลังการประชุมครั้งนี้ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 หรือสี่วันต่อมาทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ และประชาชนชาวไทยใหญ่ได้มีมติจัดตั้ง "สภาแห่งรัฐฉาน" (Shan State Council) ประกอบด้วยตัวแทนเจ้าฟ้า 7 คน และตัวแทนจากประชาชนจำนวน 7 คน และให้ "สภาแห่งรัฐฉาน" เป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยใหญ่ทั้งปวง พร้อมทั้งมีมติประกาศใช้ "ธง" ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง, เขียว, แดง และมีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง  เป็นธงชาติของรัฐฉานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 

ซึ่งสีเหลืองหมายถึงการเป็นชนชาติผิวเหลืองและพุทธศาสนา สีเขียวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติซึ่งประเมินค่าไม่ได้ของแผ่นดินรัฐฉาน และยังหมายถึงความเป็นชนชาติที่รักความสงบร่มเย็นไม่รุกรานใคร สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวของชนชาติรัฐฉาน และวงกลมสีขาว หมายถึงความมีสัจจะ ซื่อสัตย์ และมีจิตใจที่บริสุทธิ์ดั่งเช่นดวงพระจันทร์ของชนชาติรัฐฉาน 

และในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 18.00 น. นายพลอองซานได้เดินทางมาถึงเมืองปางหลวงโดยไม่มีการเตรียมตัวเพื่อที่จะมาเข้าร่วมประชุมเลย โดยนายพลอองซานมาในครั้งนี้ เหมือนเป็นการเสี่ยงดวงว่าทางไทยใหญ่จะให้ความร่วมมือในการเรียกร้องเอกราชหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น ที่มีการพูดว่า “นายพลอองซานเป็นผู้จัดการประชุมสัญญาปางหลวงนั้น จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด 

ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 10.00 น. ตัวแทนไทยใหญ่, ชิน และคะฉิ่น ได้จัดตั้ง "สภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา" (S.C.O.U.H.P)  ขึ้นตามมติการประชุมร่วมกันเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2489 โดยมีสมาชิกสภาซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากรัฐฉาน (ไทยใหญ่), รัฐชิน และรัฐคะฉิ่น รัฐละ 6 คนรวมเป็น 18 คน และให้เป็นสภาปกครองสูงสุดของ สหพันธ์รัฐเทือกเขา ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 11.30 น. นายพลอองซาน ได้กล่าวในที่ประชุม เรียกร้องให้ไทยใหญ่ร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ได้คัดค้านอย่างหนักแน่นเช่นเดิม และในขณะที่กำลังดำเนินการประชุมอยู่นั้น ได้เกิดการกระทบกระทั่งชกต่อยกันขึ้นระหว่างทหารชุดรักษาความปลอดภัยของนายพลอองซาน กับทหารชุดรักษาความปลอดภัยของเจ้าฟ้าส่วยแต๊ก แห่งเมืองหยองห้วย ซึ่งเป็นผู้นำของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ทั้งหลาย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดยิ่งขึ้น บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ ได้กล่าวในที่ประชุม ครั้งนี้ว่า "ถ้าไม่มีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ก็จะไม่ร่วมมือกับพม่าอย่างเด็ดขาด" ส่วนตัวแทนของรัฐคะฉิ่น ก็ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดดินแดนของรัฐคะฉิ่นให้ชัดเจน ซึ่งในอดีตดินแดนของรัฐคะฉิ่น เป็นดินแดนของรัฐฉาน  แต่ต่อมาอังกฤษได้แยกเมืองกอง, เมืองยาง ออกไปเป็นรัฐคะฉิ่น เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง เป็นการชั่วคราวเท่านั้น  ซึ่งทางนายพลอองซานได้แสดงอาการโกรธ และจะไม่อยู่ร่วมประชุมต่อ แต่ทางฝ่ายนักศึกษาของกลุ่ม “เพื่อเอกราชรัฐฉาน” ซึ่งเป็นแนวร่วมกับทางนายพลอองซานได้ขอร้องให้อยู่ร่วมประชุมต่อ 

ต่อมาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ที่ประชุมได้มีมติตกลงที่จะร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่จะร่วมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชเท่านั้น  หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระในการตัดสินใจทุกอย่าง ดังนั้นเป้าหมายที่ต้องร่วมกันครั้งนี้ จึงเพื่อให้เกิดพลังในการเจรจาต่อรองขอเอกราชจากอังกฤษเท่านั้น จากนั้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ และตัวแทนจากรัฐต่างๆ จึงได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (Panglong Agreement) ซึ่งนายพลอองซานเป็นผู้ร่างขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 มีเนื้อหาสาระทั้งหมด 9 ข้อ แต่ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระ บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่จึงได้ท้วงถาม ซึ่งอองซานได้ตอบว่า "เรื่องสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระนั้น น่าจะนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของสหภาพจะมีผลดีมากกว่าเขียนไว้ในหนังสือสัญญาปางหลวง" ด้วย 

เหตุนี้สิทธิการแยกตัวของรัฐต่างๆ ที่ร่วมลงนามจึงไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญาปางโหลง แต่มีปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศพม่า โดยสาระสำคัญของสนธิสัญญาปางหลวงในเว็บไซต์ รักเมืองไตย มีดังต่อไปนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top