Tuesday, 20 May 2025
ECONBIZ NEWS

ทรู-ดีแทค ยกระดับป้องกันภัยไซเบอร์ สร้างความมั่นใจลูกค้าใช้โครงข่าย และทุกบริการดิจิทัล

(16 ส.ค. 66) ทรู คอร์ปอเรชั่น ก้าวสู่เทเลคอม-เทคคอมปานีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย ย้ำภาพผู้นำซีเคียวริตี้ ทั้งโครงข่ายและบริการดิจิทัล เต็มรูปแบบ รวมทั้งปกป้องดูแลครอบคลุมทุกความปลอดภัยของลูกค้าและครอบครัว เปิดตัว ‘ทรู-ดีแทค ซีเคียวริตี้’ ชู 3 จุดเด่น End-to-end Protection ปกป้องภัยคุกคามทางโลกออนไลน์ครบวงจรทั้งบนเครือข่าย และแอปพลิเคชันตามมาตรฐานโลก, 24/7 Smart Monitoring ระบบป้องกันทันท่วงที ตรวจติดตามเฝ้าระวังการทำงานของระบบต่าง ๆ แบบอัจฉริยะแบบเรียลไทม์ ตลอด 24 ชั่วโมง, Best-in-class Partnership พร้อมผนึกกำลังกับพาร์ตเนอร์ชั้นนำระดับเวิลด์คลาสทั้งด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ อาทิ คลาวด์ สไตร์ท - พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ - เวคตร้า เอไอ และด้านประกันภัย อย่าง FWD ทิพยประกันภัย ส่งมอบบริการด้านความปลอดภัยแบบเหนือชั้น และประสบการณ์ที่ดีที่สุด การันตีจาก NIST (National Institute of Standards and Technology) สหรัฐอเมริกา 

ซึ่งประเมินค่า NIST Score ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เหนือกว่าค่ามาตรฐานโลก (Global Benchmark) พร้อมดูแลเพิ่มความมั่นใจสูงสุดทุกการใช้บริการดิจิทัลกลุ่มทรู ทั้งดิจิทัลมีเดีย - ทรูไอดี, ดิจิทัลโฮม - TrueX และ ดิจิทัลเฮลท์ - หมอดีด้วยระบบ e-KYC พิสูจน์ตัวตนลูกค้าและการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลขั้นสูงสุดระบบตรวจจับการบุกรุกโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 24 ชั่วโมง ตลอดจนจัดเต็มแพ็กเกจปกป้องคุ้มครอง ดูแลลูกค้ามอบประกันภัย ประกันชีวิตและอุบัติเหตุสุดคุ้ม รวมถึง ความคุ้มครองดูแลมือถือและแท็บเล็ตสุดพิเศษให้ลูกค้า ทรู-ดีแทค ใช้ชีวิตยุคดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย สบายใจยิ่งขึ้นในทุก ๆ วัน

นายฐานพล มานะวุฒิเวช หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภัยคุกคามทางดิจิทัลเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญในชีวิตผู้คน ทางทรูและดีแทคตั้งใจจริงที่จะทำให้ลูกค้าสบายใจ ในการใช้งานเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัยยิ่งกว่า ซึ่งหลังการควบรวมกิจการทำให้เรานำความเชี่ยวชาญของทั้งทรูและดีแทค มารวมพลังเพื่อดูแลลูกค้าคนสำคัญให้รอดพ้นจากภัยคุกคามที่มากับโลกยุคดิจิทัล ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในระดับองค์กร ระดับบุคคล ทรู จึงยกระดับความปลอดภัยขั้นสูงสุด เปิดตัว True I dtac SECURITY ที่จะสะท้อนการปกป้องและดูแลความปลอดภัยทุกระบบแบบครบวงจร ตอกย้ำถึงความปลอดภัยยิ่งกว่าเมื่อมีกันและกัน Safer together ลูกค้าจะมั่นใจได้ทันทีเมื่อเห็นสัญลักษณ์ True I dtac SECURITY บนสินค้าและบริการจากทรู ด้วย 3 จุดเด่นคือ 1.End-to-end Protection ป้องกันการโจมตีทางโลกไซเบอร์ครอบคลุม ครบครันทุกการใช้งานทั้งเน็ตเวิร์ก คลาวด์ และสมาร์ตดีไวซ์ รวมถึงบริการดิจิทัล 

2.24/7 Smart Monitoring ระบบป้องกันการโจมตีแบบทันท่วงที ดูแลความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมงแบบเรียลไทม์ 

3.Best-in-class Partnership ผสานความแข็งแกร่งกับพันธมิตรชั้นนำด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับโลก อาทิ บริษัท คลาวด์ สไตร์ท อินคอร์พอเรชั่น จำกัด บริษัท พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ และบริษัท เวคตร้า เอไอ รวมถึงบริษัทประกันชั้นนำอย่าง FWD และ ทิพยประกันภัย 

ทั้งนี้ นอกเหนือจากความมั่นใจระบบความปลอดภัยในโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ทรูก็ยังตอกย้ำทุกความปลอดภัยลูกค้าคนสำคัญและครอบครัวในยุคดิจิทัล ด้วยแพ็กเกจที่ครอบคลุมทั้งการปกป้องคุ้มครองจากภัยไซเบอร์ทั้งในส่วนลูกค้าองค์กร และรายบุคคล การประกันภัย และประกันชีวิตและอุบัติเหตุสุดคุ้ม รวมถึง ความคุ้มครองดูแลมือถือและแท็บเล็ตสุดพิเศษอีกด้วย

นายประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หนึ่งในพันธกิจสำคัญของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มุ่งสู่ความเป็น เทเลคอม-เทคคอมปานีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย คือการสร้างและขยายโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมให้แข็งแกร่ง และครอบคลุมทั่วประเทศรวมถึงการเพิ่มความปลอดภัยแบบสูงสุดให้กับลูกค้าผู้ใช้งานทุกบริการ ซึ่งการพัฒนา True I dtac SECURITY นี้ เป็นความตั้งใจของทีมงานทุกคนที่จะเพิ่มการป้องกันระบบโครงสร้างพื้นฐาน เครือข่าย คลาวด์ ทุกระบบแบบครบวงจร ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามในปัจจุบันแบบสูงสุด ผ่านระบบป้องกันภัยไซเบอร์อัจฉริยะ ครอบคลุม 5 ด้านทั้ง  

1.Infrastructure Security การป้องกันระบบโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์การใช้งานให้ปลอดภัยจากภัยคุกคาม อาทิ ตรวจจับความผิดปกติหากมีการทำงานที่เข้าข่ายความเสี่ยงจะถูกห้ามใช้งานทันที การตรวจสอบช่องโหว่ของระบบ และแก้ไขก่อนถูกโจมตี การยืนยันเข้าใช้งานระบบปฏิบัติการด้วยผู้ดูแลระบบ เป็นต้น

2.Network Security การป้องกันภัยคุกคาม และการโจมตีบนเครือข่ายที่ช่วยจำกัดสิทธิการเข้าถึงระบบ โดยกำหนดให้เฉพาะผู้ใช้งาน หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ป้องกันภัยคุกคามที่เข้ามาทาง เว็บ หรือแอปพลิเคชัน พร้อม Zero trust network ที่บังคับให้ทุกระบบต้องมีการขออนุญาตก่อนการเชื่อมถึงกัน

3. Cloud Security การป้องกันระบบโครงสร้างบนคลาวด์ ให้ปลอดภัยด้วยระบบช่วยตรวจสอบการตั้งค่า และช่องโหว่ต่าง ๆ ให้ถูกต้องและปลอดภัยอยู่เสมอ

4. 24/7 Smart Security Management ระบบเฝ้าระวังภัยคุกคาม ตรวจสอบและรับมือตลอด 24 ชั่วโมงด้วย Security Center Operation จากเจ้าหน้าที่ควบคู่ไปกับระบบ AI  รวบรวมข้อมูลการใช้งานจากระบบต่างๆ ในมาวิเคราะห์และหาสาเหตุเมื่อเกิดเหตุขึ้น

5. Best-in-Class Partnership ผสานความแข็งแกร่งกับพันธมิตรชั้นนำด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับโลก ยกระดับมาตรฐาน และเสริมความแข็งแกร่งในการให้บริการด้านบริหารจัดการระบบความปลอดภัยไซเบอร์

ด้านนายเอกราช ปัญจวีณิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านดิจิทัล บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในการให้บริการดิจิทัล ได้ให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องการดูแลความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ โดยการปกป้องข้อมูลแบบรอบด้านมาตรฐานระดับเวิลด์คลาส โดดเด่นด้วยการบริหารจัดการความปลอดภัยแบบบูรณาการ

(1) มีระบบตรวจจับการบุกรุกโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ไม่ประสงค์ดี ซึ่งต่างจากพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าทั่วไป

(2) มีการใช้งานสถาปัตยกรรม Zero-trust

(3) ใช้งานระบบข่าวกรองไซเบอร์ (Threat Intelligence Platform)

(4) การพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าด้วยระบบ e-KYC ที่มีการตรวจสอบตัวตน 2 ชั้นในการ log in เข้าสู่ระบบในครั้งแรก

(5) มีการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุดในการปกป้องประวัติการรักษาพยาบาลของลูกค้า

นอกจากนี้ ลูกค้าทรู-ดีแทค มั่นใจ ยังจะได้รับการปกป้อง คุ้มครองในด้านประกันชีวิตด้วย โดย
ลูกค้าแบบรายเดือน เมื่อสมัครแพกเกจ 5G Together+ และ 5G Better+ จะได้รับฟรีประกันชีวิต และอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง รวมสูงสุดกว่า 320,000 บาท รวมถึงลูกค้าแบบเติมเงิน ยิ่งอยู่ยิ่งได้ยิ่งใช้ยิ่งคุ้ม เมื่อเปิดเบอร์ใหม่ พร้อมสมัครแพกเกจ 300 บาท ได้เน็ตแรง แถมโทรฟรี พร้อมรับประกันความคุ้มครองชีวิต สะสมรวมสูงสุด 270,000 บาท 

ลูกค้าทรูออนไลน์ สมัครเน็ตบ้าน รับฟรีประกันภัยที่อยู่อาศัยจากทิพยประกันภัย และประกันชีวิต กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จาก FWD คุ้มครองนาน 24 เดือน  หรือจะเลือกปกป้องดูแลโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตเครื่องใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ของลูกค้าทุกคนได้รับการดูแลในทุกการใช้งาน ด้วย dtac Mobile Care หรือจะเป็น True Protech บริการดูแล และส่งซ่อมมือถือ ไม่ว่า ตก แตก เปียก พัง แม้แต่สูญหาย ก็อยู่ในบริการทั้ง 2 บริการนี้ เพียงเริ่มต้น 39 บาท ต่อเดือน เท่านั้น

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ค่ายรถเมืองจีนเลือก ‘ไทย’ เป็นฐานผลิตใหญ่ ประเดิมลงทุนเฟสแรก 8.8 พันล้าน เดินหน้าดันไทยสู่ฮับ EV

(16 ส.ค. 66) สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งเน้นให้ไทยเดินตามนโยบาย 30@30 คือการตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ.2030 หรือ พ.ศ. 2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub) ซึ่งขณะนี้มีบริษัทผู้ผลิตรถ EV หลายสัญชาติ ได้ตัดสินใจเข้ามาสร้างโรงงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

“คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์เป็นประธาน ได้รายงานผลสำเร็จของการเดินทางเข้าพบกับนาย Zhu Huarong ประธานกรรมการและคณะผู้บริหาร บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล จำกัด (Changan Automobile) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของจีน เมื่อเดือน มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยได้นำเสนอภาพการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทย มาตรการสนับสนุน รวมทั้งให้ความมั่นใจเรื่องความต่อเนื่องของนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย ทำให้รัฐบาลจีนเห็นชอบให้บริษัทดังกล่าวยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอแล้ว โดยมีการลงทุนในเฟสแรกมูลค่ากว่า 8,800 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาทั้งประเภท BEV, PHEV, REEV (Range Extended EV) กำลังการผลิตในระยะแรก 1 แสนคันต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียน รวมถึงออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ แอฟริกาใต้ และตลาดอื่นๆ โดยบริษัทมีแผนเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าในไทยช่วงปลายปีนี้” สำนักนายกรัฐมนตรี เผย

สำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า นอกจากจะมาตั้งฐานผลิตที่ประเทศไทยแล้ว บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิลยังมีแผนจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนสำคัญ ซึ่งจะเป็นการเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและถ่ายทอดเทคโนโลยีความรู้ให้กับคนไทยอีกด้วย ซึ่งบริษัท ฉางอัน เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและระบบขับขี่อัจฉริยะ และเป็น 1 ใน 4 ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน

“การที่ บริษัท ฉางอัน ตัดสินใจเลือกไทยเป็นฐานการผลิต สะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อมาตรการส่งเสริมการลงทุนของไทย รวมถึงศักยภาพและความพร้อมในด้านต่างๆ ที่สนับสนุนการแข่งขันอันเป็นผลงานเชิงประจักษ์ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จึงเชื่อว่าจะผลักดันให้ไทยก้าวสู่เป้าหมายการเป็นฮับ EV ได้ไม่ยาก ทั้งยังช่วยส่งเสริมลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้ พลิกโฉมประเทศไทยตามกลยุทธ์ 3 แกนขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสำหรับอนาคต” สำนักนายกรัฐมนตรี เผย

‘เอ็กโก’ โชว์กำไร Q2/66 แตะ 2.6 พันล้านบาท ชูกลยุทธ์ ‘4S’ เสริมแกร่ง-ต่อยอดธุรกิจโตอย่างยั่งยืน

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 มีรายได้รวม 15,593 ล้านบาท และกำไรจากการดำเนินงาน 2,652 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพาจู อีเอส ในเกาหลีใต้ ตอกย้ำความมั่นใจการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าหยุนหลินในไต้หวัน มีความคืบหน้าและเป็นไปตามแผน พร้อมงัดกลยุทธ์ ‘4S’ สร้างรายได้ เสริมแกร่งธุรกิจ ต่อยอดการเติบโตอย่างยั่งยืน

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า ภาพรวมการดำเนินงานในครึ่งปีแรกของปี 2566 เอ็กโก กรุ๊ป ยังคงสามารถบริหารจัดการพอร์ตโฟลิโอโรงไฟฟ้าและต้นทุนเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าทุกแห่งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้สามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งความสามารถในการบริหารจัดการโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเอเพ็กซ์ ในสหรัฐอเมริกา ที่สามารถก่อสร้างพร้อมกันได้ถึง 5 โครงการ ได้แก่ โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ลม และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Storage) ซึ่งมีจำนวนรวม 657 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าเอ็กโก โคเจนเนอเรชั่น (ส่วนขยาย) ที่มีความก้าวหน้ากว่า 78% และโครงการโรงไฟฟ้าหยุนหลิน ในไต้หวัน ที่มีความคืบหน้าในการก่อสร้างได้ตามแผนงาน ในขณะที่ธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ดังเช่นโครงการทีพีเอ็น ก็มีความพร้อมที่จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้

สำหรับผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 เอ็กโก กรุ๊ป มีรายได้รวมทั้งสิ้น 15,593 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 โดยมีกำไรจากการดำเนินงาน 2,652 ล้านบาท ลดลง 18% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 3 แห่งใน สปป.ลาว ได้แก่ น้ำเทิน 1 น้ำเทิน 2 และไซยะบุรี มีปริมาณการขายไฟฟ้าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำลดลงและมีการซ่อมบำรุง รวมทั้งโรงไฟฟ้าขนอมมีรายได้ค่าความพร้อมจ่าย (AP) ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าพาจู อีเอส ในเกาหลีใต้ ในขณะที่มีกำไรสุทธิ 1,460 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 288% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ด้านความคืบหน้าทางธุรกิจจนถึงปัจจุบัน เอ็กโก กรุ๊ป มีกำลังผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้น 115 เมกะวัตต์ จากโครงการพลังงานหมุนเวียนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างของเอเพ็กซ์ ในสหรัฐอเมริกา จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 2 โครงการ โครงการพลังงานลม 1 โครงการ และโครงการระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ 2 โครงการ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เอง 2 ใน 3 ส่วน และจำหน่ายโครงการออกไป 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ของเอ็กโก กรุ๊ป ในรูปแบบไฮบริด 

สำหรับความคืบหน้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งหยุนหลิน ในไต้หวัน มีกังหันลมที่ติดตั้งแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 20 ชุด โดยมีกำลังผลิตรวม 144 เมกะวัตต์ และสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบสะสมแล้วมากกว่า 620 กิกะวัตต์ชั่วโมง ปัจจุบันการก่อสร้างมีความคืบหน้ามากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประกอบกับโครงการอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานด้านพลังงานของภาครัฐไต้หวัน (Taiwanese Bureau of Energy) เพื่อขอเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จของโครงการตามที่ระบุไว้ในสัญญาบริหารจัดการให้สามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ทั้งหมดให้ได้ภายในปี 2567 ซึ่งการหารือมีความคืบหน้าเป็นลำดับ ทั้งนี้ โครงการอยู่ระหว่างเจรจาปรับโครงสร้างการลงทุน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนภายในปีนี้

“ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความท้าทายมากขึ้นในปัจจุบัน เอ็กโก กรุ๊ป ยังคงเดินหน้าต่อยอดธุรกิจไฟฟ้าและพลังงานอย่างยั่งยืน ด้วยการบริหารธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ ‘4S’ เพื่อสร้างรายได้ให้บริษัทอย่างรวดเร็วและเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 

1) Strengthen financial performance เสริมความแข็งแกร่งในการแข่งขันด้านการเงิน 
2) Select high quality project ให้ความสำคัญกับการลงทุนในรูปแบบ M&A ทั้งโรงไฟฟ้า Conventional และ Renewable ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อรับรู้รายได้ทันที 
3) Speed up projects under construction เร่งรัดบริหารโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผนงาน 
4) Streamline portfolio and improve operation บริหารพอร์ตโฟลิโอ โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน 36 แห่ง และธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่องให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งกลยุทธ์ ‘4S’ สอดคล้องกับหนึ่งในพันธกิจหลักของบริษัทที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน” นายเทพรัตน์ กล่าวสรุป

'มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน' ผนึกกำลัง 'ภาครัฐ-เอกชน' จัดแข่งขันพัฒนาแอปฯ มุ่งชดเชยคาร์บอนในหน่วยธุรกิจ SMEs

เมื่อวันที่ 10-11 ส.ค. 66 มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน ผนึกกำลังร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนดำเนินโครงการแข่งขันการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการชดเชยคาร์บอนในหน่วยธุรกิจขนาดเล็ก ครั้งที่ 1/2566 โดยมี ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมกล่าวเปิดโครงการฯ ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาระบบการชดเชยคาร์บอนสำหรับหน่วยธุรกิจขนาดเล็กในธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจขนส่งสาธารณะ และสถานประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับ SMEs ในการปรับตัวเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเป้าหมายประเทศไทยในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน กล่าวว่า มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชนมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero โดยเฉพาะการนำระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการการซื้อขายคาร์บอนที่กำลังเป็นกระแสของโลก ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการนี้ จะเปิดโอกาสให้น้อง ๆ นักศึกษาได้ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนากลไกเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ซึ่งต้องขอขอบคุณหน่วยภาครัฐและเอกชนทั้ง 8 หน่วยงาน ที่ให้การสนับสนุนโครงการครั้งนี้ อาทิ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เอสโคโพลิส จำกัด

คุณพรอรัญ สุวรรณพลาย กรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน กล่าวว่า โครงการแข่งขันการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการชดเชยคาร์บอนในหน่วยธุรกิจขนาดเล็ก ครั้งที่ 1/2566 มีเยาวชน นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป สมัครเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 13 ทีม และมีผู้ได้รับรางวัล ดังนี้

-รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 200,000 บาท ได้แก่ ทีม Greenie จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการเงิน 

-รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทุนการศึกษา 100,000 บาท ได้แก่ ทีม Carbonzero จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ 

-รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทุนการศึกษา 50,000 บาท ได้แก่ ทีม Chestnut จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

-รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 ทุนการศึกษา 20,000 บาท ได้แก่ ทีม CC Da Rock!!! จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาสิ่งแวดล้อม

-รางวัลชมเชย มูลค่ารางวัลละ 10,000 บาท 3 รางวัล ได้แก่ 1.ทีม Deviate จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2.ทีม Viridis จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล 

นอกจากนี้ภายในงานนี้ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชนจัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือกับ หน่วยงานเอกชน ในการส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดเล็กได้มีส่วนร่วมในการตระหนักถึงความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ร่วมกับ 3 หน่วยงาน ดังนี้

บริษัท เอสโคโพลิส จำกัด, บริษัท เคเชอร์ เพย์เมนท์ จำกัด และบริษัท เอสโคโพลิส จำกัด ในการขยายช่องทางการซื้อคาร์บอนเครดิตรองรับการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ เพื่อสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ ได้มีโอกาสส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ หรือ Green Tourism ผ่านการซื้อคาร์บอนเครดิตพร้อมกับการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ เพื่อชดเชยจำนวนคาร์บอนเครดิตจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเข้าพักในโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งบจก.เอสโคโพลิส เป็นโบรกเกอร์ซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต ในแพลตฟอร์ม FTIX โดยมีพันธกิจมุ่งเน้นให้เกิดความโปร่งใสในการซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำไปชดเชยได้ตามวัตถุประสงค์ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่ Net Zero

ปตท. ส่ง on-ion เดินหน้าขยายสถานีชาร์จ EV ผนึก SC เจาะกลุ่มที่อยู่อาศัย ตั้งเป้า 400 หัวจ่ายในปี 66

(15 ส.ค. 66) นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) พร้อมด้วย นายโทรณ หงศ์ลดารมภ์ Head of EV Charger Business บริษัท อรุณ พลัส จำกัด และนายดิเรก ตยาคี Head of Technology Solutions บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SC Asset) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาธุรกิจให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ระหว่าง บริษัท อรุณ พลัส จำกัด และ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมการใช้และให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้รถ EV เติมเต็มพลังงานสะอาดได้แบบไม่ต้องแวะรอชาร์จ

นายเชิดชัย เปิดเผยว่า บริษัท อรุณ พลัส จำกัด ภายใต้แบรนด์ ออน-ไอออน (on-ion) เร่งเดินหน้าขยายธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ในพื้นที่โครงการบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน โดยจับมือพันธมิตรผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรอย่าง SC Asset ติดตั้ง EV Charging Station ในเฟสแรก จำนวน 40 เครื่อง ภายใต้โครงการเรฟเฟอเรนซ์ (Reference) โค้บบ์ (COBE) และโครงการอื่น ๆ โดยจะเริ่มโครงการแรกที่เรฟเฟอเรนซ์ สาทร-วงเวียนใหญ่ ใกล้ใจกลางธุรกิจย่านสาทร พร้อมให้บริการช่วงต้นปี 2567 ตอบโจทย์ทุกการอยู่อาศัยที่สะดวกสบาย รองรับความต้องการของผู้ใช้ EV ในเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น

“ปตท. มุ่งมั่นเพิ่มศักยภาพความพร้อมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแห่งอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าพร้อมบริการครบวงจร ภายใต้แบรนด์ on-ion ให้ครอบคลุมครบทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ พื้นที่ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน ร้านอาหาร และพื้นที่โครงการที่อยู่อาศัยกว่า 400 หัวจ่าย ในปี 2566 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของกลุ่ม ปตท.” นายเชิดชัย กล่าว

นายดิเรก กล่าวว่า SC Asset ได้ร่วมมือกับ on-ion ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า กับทางสถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) มาตั้งแต่ปี 2563 นับว่าเป็นการเพิ่มศักยภาพในการร่วมมือให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และยังเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การพัฒนาสินค้าและบริการของ SC ตามแนวคิด Human-Centric ที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อค้นหาความต้องการ และโซลูชันต่าง ๆ ด้านที่อยู่อาศัย ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง และพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคซึ่งเทรนด์ปัจจุบันที่มีแนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ในอนาคตการมี EV Charging Station ในโครงการ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักสำคัญที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบ้าน และคอนโดฯ นอกจากจะเป็นประโยชน์ทางตรงที่ผู้บริโภคได้รับแล้ว การนำเทคโนโลยีนี้เข้ามายังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ โครงการของ SC ที่มีการติดตั้ง EV Charging Station ลูกค้าจะสามารถ สั่งชาร์จ ตรวจสอบสถานะการณ์ชาร์จ และ ชำระเงิน ผ่านทางรู้ใจแอป (RueJai App) ได้ทันที

‘ชัยวุฒิ’ เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา ย้ำ พ.ร.ก. ปราบภัยไซเบอร์ ช่วยลดเหยื่อมิจฉาชีพ

(15 ส.ค.66) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกฤษฎีกา สำนักงาน กสทช. สำนักงาน ปปง. กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทยเข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา โดยมีวาระการพิจารณาพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566

โดยนายชัยวุฒิ กล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนผู้สุจริตถูกคนร้ายใช้วิธีการทางเทคโนโลยีหลอกลวงทำให้เสียหายทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาบัญชีม้า ชิมม้า และระงับยับยั้งการโอนเงินของคนร้ายต่อเป็นทอด ๆ เพื่อให้สามารถติดตามทรัพย์สินคืนให้กับผู้เสียหายได้ทันเป็นสำคัญ

ซึ่งสาระสำคัญของพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ดังนี้
พระราชกำหนดฯ ฉบับนี้ มีทั้งหมด 14 มาตรา

มาตราที่ 1, 2 และ 3 บัญญัติเกี่ยวกับชื่อเรียก วันที่บังคับใช้ และคำนิยาม ตามลำดับ

มาตรา 4 กรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย ให้ฝ่ายธนาคาร และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มีหน้าที่ เปิดเผย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล และส่งให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์เพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

มาตรา 5 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรมสอบสวนดีพิเศษ และสำนักงาน ปปง. สั่งให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ เปิดเผยข้อมูลการลงทะเบียน หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ และมีหน้าที่ส่งให้ผู้สั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด

มาตรา 6 กรณีที่ธนาคารพบเหตุอันควรสงสัย ให้มีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรมนั้น และแจ้งธนาคารที่ รับโอนต่อทุกทอด ระงับการทำธุรกรรมที่รับโอนไว้ทันที เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ หรือ เลขาธิการ ปปง. ดำเนินการตรวจสอบ

มาตรา 7 กรณีที่ธนาคารได้รับแจ้งจากผู้เสียหายโดยตรง ให้ธนาคารระงับการทำธุรกรรมนั้นไว้ทันที และแจ้งให้ธนาคารที่รับโอนต่อทุกทอด ระงับการทำธุรกรรมที่ รับโอนไว้ด้วย พร้อมกับแจ้งผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในเวลา 72 ชั่วโมง เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์แล้ว ให้พิจารณามีคำสั่งไปยังธนาคาร ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันได้รับคำร้องทุกข์ หากไม่มีคำสั่งภายในกำหนดเวลา ให้ธนาคารยกเลิกการระงับการทำธุรกรรม

มาตรา 8 วรรคแรก การแจ้งข้อมูลหรือหลักฐาน ตามมาตรา 6 และมาตรา 7 สามารถกระทำทางโทรศัพท์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

มาตรา 8 วรรคสอง 1) การร้องทุกข์ในความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจะกระทำต่อพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจแห่งใดในราชอาณาจักร และจะร้องทุกข์ทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยให้ถือว่าเป็นการร้องทุกข์โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2) การสอบสวนหรือดำเนินการเกี่ยวกับความผิดดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนที่รับคำร้องทุกข์ไม่ว่าจะประจำอยู่ที่สังกัดใด หรือพนักงานสอบสวนที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ มีอำนาจสอบสวนหรือดำเนินเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวได้ไม่ว่าความผิดนั้นเกิดขึ้น ณ ที่ใดในราชอาณาจักร

มาตรา 9 ผู้ใดเปิดบัญชีม้า หรือใช้ซิมม้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 10 และมาตรา 11 ผู้ใดโฆษณาเกี่ยวกับบัญชีม้า ซิมม้า มีโทษจำคุก ตั้งแต่ 2-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2-5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 12 การเปิดเผย แลกเปลี่ยน เข้าถึง จัดเก็บ รวบรวม การใช้ข้อมูลบุคคลตามตามพระราชกำหนดฯ นี้ ไม่อยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

มาตรา 13 ในวาระเริ่มแรกให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา คณะหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ 1) กำหนดแนวทางในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 2) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเหตุอันควรสงสัย และ 3) ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน โดยให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่งตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งเลขานุการร่วม

มาตรา 14 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตามพระราชกำหนดฯ นี้

โดยการจัดทำพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 จะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลดภาระและอำนวยความสะดวกในการร้องทุกข์ให้แก่ประชาชน และสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัยทางอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงาน ปปง. สำนักงาน กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกันประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน รูปแบบภัยทางออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ให้ประชาชนหลงเชื่อหรือตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ และ ช่องทางการติดต่อในการแก้ปัญหาหากเกิดเหตุแล้ว ปรากฏบนสื่อต่าง ๆ ในทุกรูปแบบ

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ความร่วมมือ ‘อินโดฯ-มาเลย์-ไทย’ ปี 64 ก้าวหน้า ดัน GDP โต หนุนร่วมพัฒนาทุนมนุษย์-การท่องเที่ยว เชื่อมโยงเศรษฐกิจแบบไร้รอยต่อ

(14 ส.ค. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีต่อผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย ‘อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย’ (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT – GT) โดยกว่า 30 ปีที่ผ่านมา อนุภูมิภาคมีพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ช่วยลดช่องว่างการพัฒนาภายในประเทศและอนุภูมิภาค ส่งเสริมบทบาทของประชาชนควบคู่ไปกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 6 สาขา คือ 1.) สาขาการค้าและการลงทุน 2.) สาขาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม 3.) สาขาการท่องเที่ยว 4.) สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 5.) สาขาการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตรและสิ่งแวดล้อม และ 6.) สาขาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ยังได้ขยายพื้นที่ความร่วมมือครอบคลุม 35 รัฐ และจังหวัดของทั้ง 3 ประเทศ โดยมีมูลค่า GDP ภายในอนุภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 12,790 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2527 เป็น 405,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2564 และมีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นจากในปี พ.ศ. 2527 ที่ 97,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 618,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2564

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ด้านโครงการความเชื่อมโยงทางกายภาพตามแนวระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 6 สาขา มีกว่า 36 โครงการก็มีความก้าวหน้าอย่างมาก คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยโครงการดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนอย่างไร้รอยต่อของทั้งสินค้า บริการ และคน อาทิ โครงการรถไฟเชื่อมหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์-กัวลาลัมเปอร์, โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 (สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง), โครงการทางด่วนสุมาตรา และการฟื้นฟูการเชื่อมโยงทางอากาศ ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569) สาขาความร่วมมือต่างๆ มีความก้าวหน้าอย่างมาก อาทิ โครงการเพื่อพัฒนาเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงาน การเสริมสร้างการเชื่อมโยง และการฟื้นฟูการท่องเที่ยว ส่วนทิศทางการดำเนินงานในอนาคตนั้น มุ่งเน้นใน 6 ประเด็น เช่น การเพิ่มขีดความสามารถของทุนมนุษย์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว ภายในช่วงปีแห่งการท่องเที่ยว IMT-GT และการเร่งการลงนามกรอบความร่วมมือด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และตรวจโรคพืชและสัตว์ ระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เป็นต้น

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียินดีที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผลักดันความร่วมมืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย จนเกิดความสำเร็จที่จับต้องได้ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ กว่า 30 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง IMT-GT ตั้งแต่ปี 2536 ทั้ง 3 ประเทศได้ร่วมกันสร้างความก้าวหน้าที่สำคัญในการพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคและภูมิภาค มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน เพื่อทำให้อนุภูมิภาคนี้มีการบูรณาการ มีนวัตกรรม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และยั่งยืน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เกิดการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ

‘ดาวเทียม THEOS-2’ ฝีมือคนไทยดวงแรก เตรียมขึ้นสู่อวกาศ ก.ย.นี้ เพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี รองรับการเติบโตของธุรกิจอวกาศ

(14 ส.ค.66) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานะโครงการระบบดาวเทียมสำรวจพร้อมระบบภาคพื้นดิน และระบบแอปพลิเคชันภูมิสารสนเทศสำหรับโครงการระบบดาวเทียมเพื่อการพัฒนา ‘THEOS-2’ ประกอบและทดสอบเสร็จสิ้นแล้ว เก็บไว้ภายใต้สภาวะควบคุมสภาพแวดล้อม ณ Airbus Test Facility เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส โดยคาดว่า จะปล่อยสู่วงโคจรได้ปลายเดือนสิงหาคม ถึงกันยายน 2566 ณ ฐานปล่อยจรวดในเมืองเฟรนช์เกียนาในทวีปอเมริกาใต้

ขณะที่ดาวเทียมเล็ก THEOS-2A ประกอบและทดสอบแล้วเสร็จ เก็บไว้ภายใต้สภาวะควบคุมสภาพแวดล้อม ณ อาคารประกอบและทดสอบแห่งชาติ AIT อุทยานรังสรรค์นวัตกรรม (SKP) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี คาดว่า จะนำส่งขึ้นสู่อวกาศในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ณ ฐานปล่อยจรวดภายในศูนย์อวกาศสาธิต ธาวัน เมืองศรีหริโคตา ประเทศอินเดีย

“ดาวเทียม THEOS-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจโลกดวงแรกของไทย มีการพัฒนาออกแบบโดยฝีมือคนไทย จะขึ้นสู่ห้วงอวกาศเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งกำหนดการสามารถเลื่อนได้ตามสถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง” นางสาวรัชดา กล่าว

ทั้งนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ โดยดำเนินการเตรียมความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศหลายส่วนและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกิจการด้านอวกาศของประเทศ อาทิ สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมและการพัฒนาระบบปฏิบัติการดาวเทียมภาคพื้นดิน ระบบคลังข้อมูลจากดาวเทียมที่พร้อมใช้ ศูนย์ปฏิบัติการความเป็นเลิศและนวัตกรรมการบินและอวกาศที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานสากล

รวมถึงศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศ ตั้งอยู่ภายในอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นศูนย์ที่มีความทันสมัยได้มาตรฐานสากล เพื่อรองรับการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์ สร้าง ประกอบ และทดสอบดาวเทียม

รวมทั้ง รัฐบาลให้ความสำคัญของการพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับการเติบโตของกิจการด้านอวกาศ ภายใต้โครงการ THEOS-2 ซึ่งหลังจากที่วิศวกรดาวเทียมของไทย 22 คน ได้ไปฝึกฝน เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริงอย่างเข้มข้น ณ สหราชอาณาจักรและกลับมาต่อยอดให้กับบุคลากรในประเทศ

จากนั้นจะมีการดำเนินการต่อในเรื่อง การสร้างวิศวกรใหม่ โดยการรับวิศวกรรุ่นใหม่ หรือที่มีความสนใจในการสร้างดาวเทียมมาร่วมทีมพัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป ทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป และในอนาคตอันใกล้เรากำลังจะสร้างดาวเทียมดวงใหม่โดยฝีมือคนไทย 100% ในนาม ‘THEOS-3’

“พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อขับเคลื่อนไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น และมีแนวคิดที่ต้องการให้ไทยพัฒนาส่วนของเทคโนโลยีอนาคตเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งก็เพื่อการแข่งขันในโลกสมัยใหม่ เท่าทันวิวัฒนาการ และเพื่อความก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม นำพาประเทศและประชาชนให้คุ้นชินกับอุตสาหกรรมอนาคต พัฒนาสู่ประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” นางสาวรัชดา กล่าว

‘โครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน’ ทยอยเปิดเพิ่ม ‘เหนือ-อีสาน-ใต้’ ปีนี้ หวังรัฐบาลหน้าสานต่อ เพิ่มเส้นทางครอบคลุม 50 จังหวัด ตามแผนในปี 72

(14 ส.ค.66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ที่ได้เริ่มดำเนินการในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะทยอยเปิดให้บริการในเดือนกันยายน เป็นต้นไป และเมื่อเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ เชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์ในหลากหลายพื้นที่ ทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมทั้งยังจะเป็นการยกระดับและอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้รวดเร็ว และแก้ปัญหาการจราจรที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น

น.ส.รัชดา กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ได้แก่

1. เส้นทางสายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กิโลเมตร 
2. เส้นทางสู่ตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร 
3. เส้นทางสายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 421 กิโลเมตร (ช่วงนครปฐม-หัวหิน ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร) ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงต้นปี 2561 และคาดว่าสามารถเปิดใช้บริการได้ในปี 2566-2567 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า โดยรถไฟทางคู่ สายเหนือมีความคืบหน้า ประมาณ 80% เส้นทางสายอีสาน ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ (สระบุรี-นครราชสีมา) ได้เปิดใช้งานสถานีใหม่ 7 แห่งแล้ว และมีแผนจะเปิดเดินรถทางคู่ช่วงบันไดม้า-คลองขนานจิตร ประมาณกันยายน 2566 ในขณะที่เส้นทางสายใต้ ช่วงเขาเต่า-ประจวบคีรีขันธ์ ก็ได้เปิดใช้ทางคู่แล้วเช่นกัน โดยมีแผนเตรียมจะทยอยเปิดให้บริการช่วงบางสะพานน้อย (ประจวบฯ)-ชุมพร ภายในปลายปี 2566 นี้ 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ 2 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ซึ่งขณะนี้มีแผนก่อสร้างอยู่ระหว่างดำเนินการ 4 สัญญา

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ซึ่งหากเส้นทางรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทางแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะครอบคลุมระยะทาง 700 กิโลเมตร คาดว่าจะช่วยเพิ่มความจุของเส้นทาง รองรับขบวนรถได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าทางรางของประเทศ เพิ่มความเร็วในการเดินรถ และลดเวลาในการเดินทางลงเฉลี่ยอย่างน้อย 1 ชั่วโมงจากปัจจุบัน มากไปกว่านั้น รัฐบาลได้มีแผนการดำเนินการรถไฟทางคู่ระยะสองไว้แล้ว 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ซึ่งหากได้รับการขับเคลื่อนต่อจะขยายเส้นทางรถไฟทางคู่ครอบคลุมกว่า 50 จังหวัด มีเส้นทางรวมกันมากกว่า 3,000 กิโลเมตร ภายในปี 2572 ทำให้สามารถรองรับขบวนรถได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัว สามารถทำความเร็วในการขนส่งสินค้าได้จากเดิม 29 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็น 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และทำความเร็วในการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มจากเดิม 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็น 100-120 กิโลเมตร/ชั่วโมง

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างมาก ดังเห็นได้จากผลงานที่ผ่านมา ได้นำไปสู่การขยายเส้นทางรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ ท่าเรือ สนามบิน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ การเดินทางและการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ภาค และระหว่างประเทศ ภายใต้ต้นทุนที่ลดลง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

‘พิชัย จาวลา’ แชร์!! ‘ทฤษฎีผลประโยชน์’ ที่ทำให้คนรวยกลุ่มน้อย ยังรวยต่อไปแบบไม่หยุดยั้ง

เมื่อไม่นานมานี้ ‘คุณพิชัย จาวลา’ นักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้กล่าวถึง หลักการหลักคิดของ 'ทฤษฎีผลประโยชน์' ที่ทำให้คนรวยราว 20% ของประเทศ ยังคงรวยต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยระบุว่า…

“ความแตกต่างที่แท้จริงของ ‘คนรวย’ กับ ‘คนชั้นกลาง’ อยู่ตรงนี้ คือ คนรวยจะหาวิธีเพิ่มกําไรโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา แต่คนชั้นกลางจะคิดว่า จะเล่นเกมไฮริสไฮรีเทิร์น คิดว่าถ้าจะได้กําไรเพิ่ม ต้องเสี่ยงเพิ่ม ซึ่งคนรวยไม่ทําเพราะธุรกิจเขาใหญ่แล้ว เขาเสี่ยงไม่ได้ ผิดครั้งเดียวเขาอาจจะล้มได้ เพราะฉะนั้นสมองเขาจะอยู่ในจุดนี้ตลอดเวลาว่า“ทํายังไงฉันถึงจะเพิ่มกําไรได้ แต่ความเสี่ยงต้องไม่เพิ่ม” ซึ่งมีวิธีเยอะแยะ โดยเริ่มจากตรงนี้ พอเน้นความมั่นคงแล้วกําไรอาจจะน้อย ก็ไม่เป็นไร อาศัยปริมาณเอา ทําให้ขยายได้เร็วและกู้ได้เยอะ ก็เป็นกําไรตรงนั้นแทน สามารถรับรู้กําไรระหว่างทางได้ ยังมีเครื่องมือทางการเงิน อย่างเช่น การขยายเทอมกับแบงก์ ซึ่งจะเพิ่มทำกําไรให้เราได้อีก แล้วก็รับรู้ด้วยการเอาเข้าลีก หรือเอาเข้าตลาดหุ้นอะไรต่าง ๆ ซึ่งก็จะกลายเป็นกําไรที่มาก แต่โดยที่ไม่ได้เน้นกําไรทางตรงอาจจะได้ในระดับหนึ่ง ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารของเราด้วย ว่ากําไรทางตรงเราจะน้อยหรือมาก แต่โดยหลักคิดทั่วไปมันมักจะน้อย เหมือนกับว่าถ้าเราเน้นทําเลดีในสุขุมวิท เราจะหา 10% หาไม่ได้ ต้อง 6-7% แต่มั่นคงที่สุด โดยหลักแล้วมันมักจะน้อย แต่ว่าก็ไปเอากําไรทางอื่นแทนอย่างที่ผมบอก ซึ่งตรงนี้รายละเอียดมันเยอะ”

คุณพิชัย จาวลา ได้นําเสนอทฤษฎี ‘ระบบผลประโยชน์’ เอาไว้ โดยกล่าวว่า “เป็นธรรมชาติที่สุดของมนุษย์แล้วคือเรื่องของ ‘ผลประโยชน์’ การที่เราใช้ทฤษฎีนี้ เพราะผมคิดว่าทฤษฎีนี้ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานหรือสัญชาตญาณลึก ๆ ของเรา ที่เราอยากจะรู้ ซึ่งมนุษย์ทุกคนอยากจะได้เงินง่ายและสบาย อยากจะรู้ทิศทาง หรืออยากจะรู้วงจร ถ้าเรารู้ตรงนี้แล้ว เราจะสามารถวางกลยุทธ์ต่าง ๆ ได้ดีและถูกต้อง เพราะว่าในทฤษฎีผลประโยชน์ สิ่งที่เราต้องยึดมั่น คือทิศทางผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย โดยเราจะต้องเป็นคนส่วนน้อย”

ระบบคิดใหม่หรือทฤษฎีผลประโยชน์ให้แนวคิดไว้ว่า ในตลาดหุ้นระบบทุนนิยมคือภาคใหญ่ที่สําคัญที่สุด และระบบทุนนิยม จะไม่เปิดช่องให้คนส่วนใหญ่ทํากําไรได้พร้อม ๆ กัน เพราะว่ามันขัดแย้งกับระบบทุนนิยมในโลกของความเป็นจริง ทําให้ในตลาดหุ้นจะมีแต่คนส่วนน้อยเท่านั้น 20% ที่จะได้กําไรมาก ๆ จากคนส่วนใหญ่ 80% สิ่งที่ขับเคลื่อนเงินตราคือผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย โดยที่คนกลุ่มน้อยนั้น มีเม็ดเงินจํานวนมหาศาลมากกว่าคนส่วนใหญ่ และเงินจํานวนมหาศาลของคนกลุ่มน้อยนั้น สามารถกําหนดทิศทางของราคาหุ้นได้ชนิดที่เรียกว่า ถ้าคนกลุ่มน้อยซื้อหรือขายก็จะมีผลต่อราคาหุ้นให้ ‘ขึ้น’ หรือ ‘ลง’ ทันที ดังนั้น คําถามสําคัญในตลาดหุ้น คือ ในเวลาที่หุ้นถูกถล่มขายจนราคาดิ่งเหว ใครเป็นคนรับซื้อ? เพราะซื้อจะต้องเท่ากับขายเสมอจึงจะเกิดการจับผู้ซื้อขายได้ ซึ่ง คุณพิชัย ได้เรียกเหตุการณ์นี้ไว้ว่า ‘ระบบ’ หรือ คนส่วนน้อยเป็นคน ‘ซื้อหุ้น’ ไว้ ในขณะที่คนส่วนใหญ่เป็นคนขาย

“เราเข้าใจกลไกอย่างแท้จริง เราจะรู้เลยว่าวิกฤตเศรษฐกิจทั้งหมด ส่วนมากจะเริ่มจากภาคการเงินกับภาคอสังหาฯซึ่งมันจะมีกลไกผลประโยชน์อยู่ในนั้น พอเรารู้ก่อน เราสามารถปกป้องตัวเองจากความเสียหายได้ ซึ่งความลับจริง ๆเหมือนกับว่า 10 ปี 20 ปี 30 ปี เราได้ใช้ครั้งหนึ่งก็คุ้มแล้ว เพราะหากเราเข้าใจกลไกผลประโยชน์จริง ๆ เราจะรู้ว่าในปี 40 มันอยู่แบบนั้นไม่ได้ ถ้าดูผิวเผิน ณ ขณะนั้น เรารู้สึกเหมือนกับว่า เวลาที่มองย้อนหลัง มันรู้สึกเหมือนกับว่ามันง่าย แต่ต้องคิดดี ๆ ว่า ณ ขณะที่เกิด ทําไม? ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ แบงก์ชาติ หรือแบงก์พาณิชย์ ทําไมถึงพลาดหมด ทั้งที่เป็นคนเก่งคนฉลาดทั้งนั้น…จริง ๆ แล้วมันไม่ง่าย” คุณพิชัย กล่าว

แนวทางการใช้ทฤษฎีผลประโยชน์ คือ ถ้าคุณอยากจะตีความว่าคนส่วนน้อยซื้อหุ้นเมื่อไหร่?

ให้ดูที่ในช่วงเวลานั้น เหตุผลของการซื้อหุ้นจะต้องไม่มีเลย เช่น ตัวเลขทางเศรษฐกิจไม่ดี หนี้ครัวเรือนสูง อัตราว่างงานสูง ปัจจัยพื้นฐานไม่ดี กราฟไม่สนับสนุนเหตุการณ์ในอดีตบ่งชี้ว่าราคาต้องลงต่อ ทุก ๆ อย่างที่อยู่รอบตัวจะต้องชี้ว่าห้ามซื้อหุ้นในเวลานี้ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์แบบที่ว่ามานี้จริง ๆ ก็ให้คุณซื้อหุ้น เพราะในสถานการณ์แบบนี้คุณจะต้องทําตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่

คุณถึงจะเป็นคนส่วนน้อยในตลาด เมื่อคนส่วนน้อยเริ่มซื้อหุ้น ราคาหุ้นก็จะค่อย ๆ ขยับขึ้นจากจุดที่ทุกคนไม่คิดว่าจะเป็นจุดต่ำสุด ราคาจะค่อย ๆ ขยับขึ้น ทั้ง ๆ ที่ยังมีข่าวร้ายอยู่เต็มตลาด เมื่อขึ้นไปจนถึงจุด ๆ หนึ่งแล้ว ก็เริ่มจะมีข่าวดีขึ้นมาบ้าง หลังจากนั้นทุกคนในตลาดก็จะเริ่มกล้าซื้อหุ้นมากขึ้น แล้วก็ทยอยกันมาซื้อจนหุ้นเต็มพอร์ต และเมื่อถึงจุด ๆหนึ่ง ที่ทุกคนคิดว่าราคาจะไปต่ออีก หลังจากนั้นราคาหุ้นก็จะค่อย ๆ ลดต่ำลง เพราะมีคนอีกกลุ่มเริ่มขายหุ้นทิ้ง

“เราต้องอยู่นอกกรอบอย่างแท้จริง เพราะว่าการที่เราเป็นคนส่วนน้อยกับการที่เราจะถูกผิดตามเหตุผลมันคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง เราไม่สามารถจะเป็นคนส่วนน้อยได้ด้วย และก็คิดถูกตามตรรกะทุกอย่างได้ด้วย มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราจะเป็นคนส่วนน้อยจริง ๆ เวลานั้น คนส่วนใหญ่เวลาเทไปทางใดทางหนึ่งทางเดียวกันหมด เขาผิดไม่ได้นะ เขาต้องถูกเพราะฉะนั้นต่อจากนี้ไปถ้าเกิดว่าหุ้นจะเป็นขาขึ้นจริง ๆ ตามที่ทฤษฎีผลประโยชน์มอง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าผมคิดถูกนะ แต่เพราะผมเป็นคนเดียว”

“ในตลาดหุ้น เราสามารถเติบโตแบบโมเดลของดอกเบี้ยทบต้นได้ ซึ่งเหมือนกับที่ Warren Buffett ใช้ ซึ่งในช่วงแรกของการลงทุนของเขา จะไม่หวือหวา ไม่ตื่นเต้น แล้วไม่ได้เป็นที่รู้จักด้วย เพราะเขาเติบโตเอื่อย ๆ กว่าคนจะรู้ตัวเขาก็เติบโตแบบก้าวกระโดดแล้วตอนท้าย ซึ่งโมเดลของการเติบโตแบบทบต้น สามารถใช้ในตลาดหุ้นได้ เพียงแต่ผมไม่ได้ใช้ ผมใช้ในทฤษฎีผลประโยชน์ ซึ่งตอนนี้ถ้าเราจะบอกว่า หุ้นจะขึ้นไปเท่านู้นเท่านี้ เราไม่ได้พูดในมุมของวีไอ แต่จะพูดในมุมของทฤษฎีผลประโยชน์ เพราะวีไอตอบไม่ได้…และจะตอบได้แค่ว่ากําไรของบริษัทจะโตแน่นอนในอนาคตแต่จะขึ้นเมื่อไหร่ไม่รู้ ก็คือโฟกัสที่ภาพนี้ แต่ตรงนี้ผมใช้ทฤษฎีผลประโยชน์ ซึ่งตรงผมก็มั่นใจเหมือนเดิม มั่นใจกว่าเดิม”

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top