Sunday, 6 July 2025
POLITICS NEWS

ดร.นิว ซัด ‘ลัทธิสามนิ้ว’ อ้างปชต.พร่ำเพรื่อ ที่ไหนได้ กลายเป็นด้อยค่าประชาธิปไตยเสียเอง!

(7 พ.ย. 65) - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ 'ดร.นิว' นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan โดยมีเนื้อหาดังนี้

การแอบอ้างคำว่าประชาธิปไตยอย่างพร่ำเพรื่อและฟุ่มเฟือยของลัทธิสามนิ้ว กลับกลายเป็นการด้อยค่าประชาธิปไตยเสียเองด้วยความมักง่าย คำว่าประชาธิปไตยจึงถูกลดทอนกลายเป็นเพียงแค่คำพูดดาษดื่นแบบกลวง ๆ ตามแฟชั่น

บ้างก็หลงผิดว่าการใช้สิทธิเสรีภาพตามอำเภอใจแบบอนาธิปไตยเป็นประชาธิปไตย ทั้ง ๆ ที่การใช้สิทธิเสรีภาพตามแบบประชาธิปไตยที่แท้จริง ต้องรับผิดชอบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เคารพต่อกฎหมายและประโยชน์สุขของสังคม

'ชัยวุฒิ' เตรียมปั้น 'เด็กติดเกม' สู่ 'นักกีฬาอีสปอร์ต' ชี้!! คนสนใจเยอะ แถมสร้าง 'เงิน-อาชีพ' ได้ด้วย

'รมว.ชัยวุฒิ' ปั้นเด็กติดเกมเป็น 'นักกีฬาอีสปอร์ต' นำร่องโรงเรียนต้นแบบยกระดับโครงการอีสปอร์ต จ.ตาก 

วันนี้ (6 พ.ย. 65) เวลา 10.20 น. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย ได้เข้าสักการะพระบรมธาตุ และหลวงพ่อทันใจ ณ วัดพระบรมธาตุ (หลวงพ่อทันใจ) ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดตากเคารพบูชา 

โดยทันทีที่นายชัยวุฒิมาถึง ได้รับการต้อนรับจากประธานนายกเทศบาลบ้านตาก, กรมการปกครองท้องถิ่น อ.บ้านตาก, ข้าราชการท้องถิ่นพร้อมทั้งประชาชน จากนั้นได้เข้าไปยังวิหารหลวงพ่อทันใจ ถวายเครื่องสักการะหลวงพ่อทันใจ และหลวงพ่อทองอยู่ พร้อมจุดเทียนสะเดาะเคราะห์ล้านนา ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านของภาคเหนือ จึงลงมาเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ แล้วถวายสังฆทานกราบนมัสการพระครูพิทักษ์บรมธาตุ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ พร้อมรับพรจากท่านเจ้าอาวาส 

หลังถวายสังฆทานเรียบร้อยแล้ว ก่อนเดินทางต่อในภารกิจต่อไปก็ได้มีตัวแทนจากต.เกาะตะเภา และชาวบ้านประมาณ 50 คน ยื่นหนังสือรายงานเรื่องโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ก่อมลพิษทางกลิ่น สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน รมว.ชัยวุฒิหลังได้รับหนังสือร้องเรียนได้กล่าวกับชาวบ้านว่า จะช่วยเร่งแก้ไขปัญหาและดำเนินการอย่างเต็มที่ 

จากนั้นจึงรุดไปยังโรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร อ.เมือง จ.ตาก เพื่อฟังบรรยายสรุปโครงการ เมืองตาก e-sport ของโรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร โดยมีรำกองยาวจากนักเรียนให้การต้อนรับพร้อมคณะครูประมาณ 50 คนตั้งแถวรอต้อนรับและเข้าห้องประชุมเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อตรวจสอบความพร้อมโครงการเมืองตาก e-sport 

รมว.ชัยวุฒิกล่าวว่า ดีใจที่ได้มาเยี่ยมโรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร โดยเห็นหลักสูตรแล้วรู้สึกดีใจ ที่โรงเรียนแห่งนี้ทันสมัย มีหลักสูตรดี ๆ ให้กับนักเรียนได้ศึกษา กีฬา e-sport เป็นกีฬาถูกที่ต้องตามกฎหมาย เป็นรายการแข่งขันที่มีคนรับชมเยอะที่สุดมากกว่ากีฬาอื่น ๆ เป็นกีฬาที่สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเด็กไทยได้

'รมว.เฮ้ง' พบปะลูกจ้างสหภาพเด็นโซ่ โชว์แผนวางรากฐาน-พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวปาฐกถาในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 44/2565 สหภาพแรงงานเด็นโซ่ ประเทศไทย โดยมี นายกิตติศักดิ์ อธิสกุลทรัพย์ ประธานสหภาพแรงงาน เด็นโซ่ ประเทศไทย พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี และผู้นำแรงงาน ให้การต้อนรับ ณ อาคารศาลาประชาคม เทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 

นายสุชาติ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องผู้ใช้แรงงานเพราะทุกท่านมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ทุกท่านถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนและผนึกกำลังกันเพื่อก้าวข้ามจนมาถึงวันนี้ 

ซึ่งในห้วงดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือนายจ้างและพี่น้องแรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น ในปี 2564 เปิดจุดตรวจโควิดแบบประจำจุดและตรวจเชิงรุกในโรงงาน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกจ้างเพื่อให้ภาคเอกชนยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป ผลตรวจโควิด 409,972 คน แรงงานไม่ได้รับการฉีดวัคซีน จึงขอรับการสนับสนุนวัคซีนให้แก่ผู้ใช้แรงงานกว่า 11 ล้านคน และได้ฉีดวัคซีนให้แรงงานแล้ว 3,962,206 โดส โรงงานปิดตัวลงจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน กระทรวงแรงงานจัดโครงการแฟคทอรี่ แซนบ๊อก บนฐานแนวคิดเศรษฐศาสตร์และสาธารณสุข มุ่งเป้าภาคการผลิตส่งออกสำคัญ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในพื้นที่ 12 จังหวัด 730 โรงงาน แรงงานเข้าร่วม 407,770 คน ตรวจ RT- PCR พบผู้ติดเชื้อ 11,298 คน โดยทั้งหมดได้เข้าสู่กระบวนการรักษา และได้ฉีดวัคซีนให้ทุกคน 

ผลสัมฤทธิ์จากโครงการทำให้โรงงานไม่มีการปิดตัวลง ภาคการผลิตส่งออกสูงสุดในรอบ 30 ปี  จัดหาโรงพยาบาล Hospitel ในเครือข่ายประกันสังคม รองรับผู้ป่วย 61,046 คน ลดเงินสมทบให้นายจ้างและผู้ประกันตนรวมกว่า 6 ครั้ง เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 146,448 ล้านบาท 

โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ในพื้นที่ 29 จังหวัด นายจ้าง จำนวน 192,951 ราย ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 3.75 ล้านราย รวมเป็นเงิน 32,542.27 ล้านบาท 

โครงการเยียวยาผู้ประกันตน ม.39 และ ม. 40 ม.39 จำนวน 1.37 ล้านราย ม. 40 จำนวน 7.21 ล้านราย รวมเป็นเงิน 71,214.63 ล้านบาท 

โครงการเยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงฯ ม.33 ม.39 และ ม.40 จำนวน 147,720 ราย รวมเป็นเงิน 738.60 ล้านบาท 

การให้ความช่วยเหลือ SMEs เพื่อรักษาการจ้างงานให้ยังคงอยู่ โดยรัฐบาลอุดหนุนจำนวน 235,933 แห่ง ส่งเสริมการจ้างงานใหม่ของนายจ้าง 66,201 แห่ง ลูกจ้างได้รับการจ้างงาน มากกว่า 3.2 ล้านคน รวมเงินอุดหนุน มากกว่า 27 ล้านบาท ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคสูงขึ้น ให้พี่น้องแรงงานสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยการอนุญาตให้ทำงานกว่า 174,179 คน 

นายสุชาติ ยังกล่าวถึงภารกิจที่กระทรวงแรงงานจะดำเนินการในอนาคตว่าผมยังได้วางรากฐานเพื่อความมั่นคงให้แก่พี่น้องแรงงานในอนาคต ดังนี้ 

เร่งผลักดันแก้ไขกฎหมายประกันสังคม 3 ขอ 'ขอเลือก ขอคืน ขอกู้' ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างกฎหมายแล้ว และอยู่ระหว่างตรวจพิจารณาในวาระ 2 

'ชนินทร์' จวก 'รบ.ประยุทธ' ไร้น้ำยาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ชี้!! จนมุมถึงขั้นขายที่ดินของชาติแลกการลงทุนไม่กี่ล้าน

เมื่อวันที่ 6 พ.ย. นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) และผู้ซึ่งประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้แม้จะมีกระแสสังคมต้านทานถึงการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติ ที่มีมติการประชุม ครม.ออกมาเมื่อช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ก็ไม่มีทีท่าว่าจะล้มเลิกความตั้งใจในการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ 

ส่วนตัวมองว่าเวลานี้พล.อ.ประยุทธ์ต้องเลิกห่วงเสียหน้าหันมาห่วงเสียแผ่นดินบ้าง เพราะแนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเอาที่ดินของชาติไปแลก ได้รับฉันทามติคัดค้านต่อต้านจากพี่น้องประชาชนคนไทยแล้ว แม้กระทั่งจากกลุ่มที่เคยเป็นผู้นิยมตัวพล.อ.ประยุทธ์เองก็ไม่เห็นด้วย

นายชนินทร์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ รัฐบาลที่นำโดยไทยรักไทย พลังประชาชน และเพื่อไทย มีแนวทางปฏิบัติหลากหลายรูปแบบ แต่ยังไม่เคยเห็นรัฐบาลใดสิ้นไร้ไม้ตอก ขนาดต้องผ่อนปรนกฎหมายขายที่ดินกับต่างชาติ แลกกับการลงทุนในรูปแบบของการให้กู้เงินความเสี่ยงต่ำระยะสั้นแค่ 3 ปี เปิดช่องให้ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาจับจองถือกรรมสิทธิ์ถาวรที่ดินในประเทศไทย ในระหว่างที่คนไทยในเมืองจำนวนมากยังถูกละเลยให้ไร้กรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ไม่มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้ ส่วนประชาชนในต่างจังหวัดจำนวนมากก็ยังเข้าไม่ถึงสิทธิในที่ดินทำกิน จึงอยากเสนอว่าสิ่งที่รัฐบาลควรมุ่งทำมากกว่าในเวลานี้ คือ

1.) จัดสรรที่ดินรกร้างว่างเปล่าของรัฐในเมือง เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาประหยัดเป็นสวัสดิการให้แก่ประชาชน ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเมือง

2.) จัดสรรกรรมสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์บนที่ดินของรัฐ ให้แก่ประชาชน ที่ยังเข้าไม่ถึงที่ดินทำกินได้เข้าไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ สร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ

นายชนินทร์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลคงยังไม่เข้าใจว่าการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติที่มั่นคงและส่งผลบวกระยะยาว ต้องแก้ปัญหาที่ข้อจำกัดของกฎหมายที่วุ่นวายยุ่งยาก และการขาดข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่จะช่วยขยายขนาดของตลาดผู้ซื้อจากการผลิตในประเทศไทย ให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการส่งออกของภูมิภาคที่แท้จริง แต่การกระตุ้นในแบบที่พล.อ.ประยุทธ์อยากทำ เป็นการเอาทรัพย์สินถาวรของชาติไปแลกเงินกู้เงินลงทุนระยะสั้น ไม่ก่อให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงในระยะยาว

'พิธา' นำทีม 'ก้าวไกล' พบปะปชช.เสนอสวัสดิการก้าวหน้า กร้าว!! ขอสร้าง ปท.ที่ 'เป็นธรรม - ปลอดภัย - เท่าเทียม'

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย ธนเดช เพ็งสุข ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกลเขตลาดพร้าว พบปะประชาชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนรอบวัดลาดพร้าว เพื่อสำรวจความเดือดร้อนและสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายสวัสดิการก้าวหน้าที่พรรคเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2565

ประชาชนให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเห็นด้วยกับข้อเสนอของพรรคก้าวไกล โดยเฉพาะในส่วนของสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ในขณะนี้ถือว่ามีจำนวนมากในชุมชน และครอบครัวเห็นว่าการดูแลจากภาครัฐในปัจจุบันนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละเดือน ทั้งยังจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนวัยทำงานในการแบ่งเบาภาระต้องเลี้ยงดูพ่อแม่อีกด้วย

สำหรับชุดนโยบายสวัสดิการไทยก้าวหน้าที่พรรคก้าวไกลเสนอเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน แบ่งตาม 5 ช่วงวัย และมีทั้งหมด 19 นโยบาย ได้แก่...

วัยเกิด ประกอบด้วย...
(1) ของขวัญแรกเกิด 3,000 บาท ให้พ่อ-แม่ซื้อสิ่งของจำเป็นในการเลี้ยงลูก
(2) เงินเด็กเล็กเดือนละ 1,200 บาท
(3) สิทธิลาคลอด 180 วัน พ่อแม่แบ่งกันได้
(4) ศูนย์ดูแลเด็กใกล้บ้านและที่ทำงาน

วัยเติบโต ประกอบด้วย...
(5) เรียนฟรี อาหารฟรี มีรถรับส่ง
(6) คูปองเปิดโลก ให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
(7) ยกเลิกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผ้าอนามัยและนำร่องแจกผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียน

'ทิพานัน' ตอก 'เพื่อไทย' หยุดบูลลี่ 22 ล้านคน เป็นคนจน ชี้!! เป็นกลุ่มที่รัฐต้องการช่วยดูแลลดความเหลื่อมล้ำ

'ทิพานัน' ซัด เพื่อไทย หยุดบูลลี่ 22 ล้านคน เป็นคนจน ยก สถิติปี 60-65 เป้าหมายลดลงกว่า 7 แสนราย ยัน แก้ปัญหากลุ่มเปราะบางให้ดีขึ้น แนะ หากพบข้อมูลบัตรสวัสดิการฯ ไม่สมบูรณ์ ให้แก้ไขภายใน 17 พ.ย นี้

(6 พ.ย. 65) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง ปิดรับการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 แล้ว โดยจำนวนประชาชน ที่ลงทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.-31 ต.ค.ที่ผ่านมา 22,293,473 ราย โดยผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว และผ่านขั้นตอนตรวจสอบสถานะแล้ว พบว่า สถานะการลงทะเบียนสมบูรณ์ ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ให้รอการประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติในช่วงเดือนม.ค. 2566  ซึ่งการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติ ที่เข้าเงื่อนไข เพื่อให้การใช้งบประมาณในการให้ความช่วยเหลือได้อย่างประสิทธิภาพ แก้ปัญหาตรงจุดและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ส่วนผู้ที่สถานะการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์ สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต หากพบข้อมูลไม่ถูกต้อง ต้องติดต่อขอแก้ไขข้อมูล ที่หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ตนเองยื่นเอกสารเท่านั้น ส่วนผู้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ สามารถติดต่อขอแก้ไขข้อมูลที่หน่วยงานรับลงทะเบียนใดก็ได้ ซึ่งต้องดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในวันพฤหัสบดีที่ 17 พ.ย. นี้เท่านั้น

“ขอย้ำว่า จำนวนลงทะเบียนหรือผู้ที่ได้รับบัตรสวัสดิการฯ ไม่ใช่จำนวนคนจนในประเทศไทย แต่เป็นกลุ่มที่รัฐบาลต้องการเข้าไปช่วยดูแลลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบางให้ดีขึ้น เป็นหนึ่งในนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่เป็นวาระสำคัญของชาติ  ที่ไม่ใช่คนจนทั้งหมด เพราะทุกรัฐบาลมีเส้นเกณฑ์วัดความจน จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่มีการวิเคราะห์หลายมิติ ซึ่งในปี 2564  ระบุว่าประเทศไทยมีคนจนอยู่ที่ 4,404,616 ล้านคน คิดเป็น 6.32 % ของประชากรทั้งประเทศ โดยเกณฑ์ตัดสินว่าบุคคลนั้นเข้าข่ายจนหรือไม่จนในปี 2564 คือรายได้ต่อเดือนที่ต้องได้ต่ำกว่า 2,802 บาทต่อคนต่อเดือน และหากพิจารณาข้อมูลย้อนไป 10 ปีจากสถิติ ยังพบว่า ในปี 2555 ยังมีคนจนอยู่ถึง 8,441,462 คน  

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ในระหว่างปี 2560-2565 รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมุ่งมั่นแก้ปัญหาคนจนโดยใช้  Big data และระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบชี้เป้า โดยอ้างอิงฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) ที่แตกต่างจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่นำข้อมูลคนที่ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรวจสอบและลงพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่เพื่อสำรวจสอบถามถึงความรุนแรงของปัญหาตามเกณฑ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของกระทรวงมหาดไทย เช่น ในปี 2560 พบมีคนจน 1,702,499 คน จากการสำรวจ 35,999,061 คน และล่าสุดคนจนเป้าหมายวันที่ 25 ม.ค. 65ในประเทศไทย ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนเหลือเพียง 1,025,782 คน  จากการสำรวจ 36,103,806 คน และเมื่อแบ่งมิติปัญหาที่ต้องช่วยเร่งด่วนพบว่า 1. ด้านสุขภาพ 218,757 คน 2. ด้านความเป็นอยู่ 220,037 คน 3. ด้านการศึกษา 272,518 คน 4. ด้านรายได้ 506,647 คน 5. ด้านเข้าถึงบริการภาครัฐ 3,335 คน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะสถิติจากตัวชี้วัดใดทั้ง สำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ TPMAP จำนวนคนจนได้ลดลงต่อเนื่อง ยิ่งในช่วงการแก้ปัญหาความยากจนภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเห็นว่าจำนวนลดลงไปหลายล้านคน

'รัฐบาล' เร่งเดินหน้าโครงการริมคลองเปรมประชากร ตั้งเป้า 38 ชุมชน 2 พันครัวเรือน ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

'รัฐบาล' เร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร ตั้งเป้า 38 ชุมชน กว่า 2 พันครัวเรือน มีที่อยู่-คุณภาพชีวิตดีขึ้น

(6 พ.ย.65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร ว่า สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันดำเนินการในการแก้ปัญหาสิ่งรุกล้ำลำคลอง ทำให้การระบายน้ำในคลองมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันน้ำท่วม และพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคงในระยะยาว สร้างความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคม สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัยให้ประชาชน

นายอนุชา กล่าวว่า ความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร ใช้รูปแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวทางโครงการบ้านมั่นคง มีกลุ่มเป้าหมายการดำเนินการ 38 ชุมชน 4 พื้นที่ ได้แก่ ดอนเมือง, หลักสี่, จตุจักร 32 ชุมชน และพื้นที่เทศบาลตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 6 หมู่บ้าน 6,386 ครัวเรือน ความยาวคลองประมาณ 17 กิโลเมตร จากความยาวทั้งหมด 50.8 กิโลเมตร ทั้งนี้ การรับรองสิทธิ์ รวม 6,340 ครัวเรือน จตุจักร 5 ชุมชน 621 ครัวเรือน หลักสี่ 13 ชุมชน 2,248 ครัวเรือน ดอนเมือง 14 ชุมชน 2,542 ครัวเรือน และ ต.หลักหก จ.ปทุมธานี 6 หมู่บ้าน 929 ครัวเรือน ยังรับรองสิทธิไม่ครบทุกชุมชน ขณะนี้มีพื้นที่ที่สามารถดำเนินการได้จำนวน 10 ชุมชน 8 โครงการ 1,007 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 15.77 ของครัวเรือนทั้งหมด แบ่งเป็น สร้างเสร็จ 634 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 9.93 ของครัวเรือนทั้งหมด จตุจักร 356 ครัวเรือน หลักสี่ 88 ครัวเรือน และ ต.หลักหก จ.ปทุมธานี 190 ครัวเรือน ส่วนกำลังก่อสร้าง 352 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 5.51 ของครัวเรือนทั้งหมด จตุจักร 133 ครัวเรือน หลักสี่ 71 ครัวเรือน ดอนเมือง 120 ครัวเรือน และ ต.หลักหก จ.ปทุมธานี 28 ครัวเรือน

และพื้นที่พร้อมก่อสร้าง 21 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.33 ของครัวเรือนทั้งหมด หลักสี่ 7 ครัวเรือน และดอนเมือง 14 ครัวเรือน

โดย พอช. มีแผนดำเนินงานต่อเนื่องไปจนถึงปี 2566 รวม 17 ชุมชน หากดำเนินการได้ตามแผนงานจะสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับชุมชนริมคลองเปรมประชากรได้ไม่น้อยกว่า 2,500 ครัวเรือน

นายอนุชา กล่าวว่า การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลอง และการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 เม.ย.มีกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน 4 ด้าน คือ...

ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมของเมือง อาทิ การสร้างเขื่อนริมคลองและระบบรวบรวมน้ำเสีย / ด้านการพัฒนาชุมชนริมคลอง ซึ่งมีเป้าหมายที่การพัฒนาที่อยู่อาศัยของทุกครัวเรือนที่อยู่ริมคลอง / ด้านการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน และด้านกฎหมายและการขับเคลื่อนงาน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top