Wednesday, 23 April 2025
LITE

5 มิถุนายน ของทุกปี ‘องค์การสหประชาชาติ’ กำหนดเป็น ‘วันสิ่งแวดล้อมโลก’ ปลุกสังคมให้ตื่นตัวในเรื่องวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม

สำหรับจุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้น จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮล์ม ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยเรียกการประชุมนี้ว่า ‘การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์’ หรือ ‘UN Conference on the Human Environment’

โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่าง ๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP : United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้นไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือจากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก

‘ไบร์ท’ ขอโทษกลางคอนเสิร์ต ปมร้องเพลงผิดพลาด ฮึดสู้!! จะร้องเพลงต่อไป พร้อมขอกำลังใจจากทุกคน

เมื่อวานนี้ (3 มิ.ย. 67) แม้จบไปแล้วสำหรับ ‘The Kingdoms Concert’ เมื่อวันที่ 1-2 มิ.ย.ที่ผ่านมา คอนเสิร์ตที่รวมศิลปินชายแห่งยุค กับที่สุดของ 4 คิงส์ ในวงการเพลง อย่าง นนท์ - ธนนท์, ไบร์ท - วชิรวิชญ์, The Toys (ทอย - ธันวา) และ เจฟ ซาเตอร์

อย่างไรก็ตาม คอนเสิร์ตได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากแฟน ๆ ตั้งแต่วันที่เปิดขาย บัตรหมดเกลี้ยงทั้ง 2 รอบการแสดง ภายในระยะเวลาไม่กี่นาที

สุดท้ายเกิดดรามาขึ้นกับนักแสดง และนักร้องหนุ่มอย่าง ‘ไบร์ท - วชิรวิชญ์ ชีวอารี’ หลังมีคลิปวิดีโอการแสดงถูกปล่อยออกมา โดนวิพากษ์วิจารณ์ว่า ‘ร้องเพลงไม่ตรงคีย์’ อีกทั้ง ‘จำเนื้อเพลงไม่ได้’

ทั้งนี้ ประเด็นนี้ช่วงท้ายของคอนเสิร์ตที่ให้นักร้องทั้ง 4 คนออกมาเผยความรู้สึก ไบร์ท วชิรวิชญ์ เปิดใจว่า

“อยากขอบคุณหลายคน เริ่มจากขอบคุณพี่ ๆ ทีมงานที่ให้โอกาสมายืนร่วมเวทีกับพี่ ๆ ทั้ง 3 คนตรงนี้ ผมมีความสุขในทุกโมเมนต์ที่ได้ทำงานด้วยกัน ซาบซึ้งกับสิ่งนี้มาก ๆ ขอบคุณพี่ ๆ ทั้ง 3 คนที่ทำให้อะไรที่ควรจะยากให้ยากน้อยลง ขอบคุณมาก ๆ”

“อย่างที่พี่นนท์ บอกคอนเสิร์ตจะไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่มีคนดูที่มาเติมเต็มทุกโชว์ ขอบคุณทุกเสียงร้อง ทุกการโบกมือ ทุกอย่างที่ทำให้เรามีกำลังใจ และมีความสุขในการโชว์ ขอบคุณจริง ๆ ร้องผิดร้องพลาดบ้างขอโทษจริง ๆ ผมเต็มที่มากจริง ๆ ขอโทษที่ทำให้เสียความรู้สึก แต่ผมจะร้องเพลงต่อไป เป็นกำลังใจให้ผมด้วย”

4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 วันสถาปนา ‘คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ คณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของไทย ที่ถือกำเนิดจาก ‘ในหลวง ร.8’

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยสังกัดอยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8

การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจ อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา

ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

3 มิถุนายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ในช่วงเวลานั้นพระองค์ทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551 ทรงใช้ชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป

ต่อมาทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุด เป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) ทั้งยังทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์

ย้อนกลับไปในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ (ในเวลานั้นคือพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์) ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้ตามเสด็จในพิธีสังเวยพระป้ายในเทศกาลตรุษจีน ณ พระที่นั่งอัมพรสถานฯ และปรากฏตัวอีกครั้งในวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในปีเดียวกัน

ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทางกองพระราชพิธี สำนักพระราชวังได้เผยแพร่รายงานการเสด็จพระราชดำเนินที่พระองค์ได้ตามเสด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติไปทอดพระเนตรพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเพิ่มเติมเป็น วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (มีหมายกำหนดการระบุชื่อสกุลดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน)

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะที่ยังทรงเป็นสยามมกุฎราชกุมาร พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พระองค์ทรงนำทำการแสดงทางทหารประกอบดนตรี ‘ราชวัลลภ เริงระบำ’ (Hop to the Bodies Slams) ในงานวันราชวัลลภได้อย่างสง่างามและเข้มแข็ง ในฐานะผู้บังคับการกองผสม
วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560 มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจตุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ให้แก่ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา อีกทั้งได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเพิ่มเติมเป็น ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น ‘สมเด็จพระราชินีสุทิดา’ ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์

ต่อมาในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสุทิดาขึ้นเป็น ‘สมเด็จพระบรมราชินี’ ทรงพระนามว่า ‘สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี’

2 มิถุนายน ของทุกปี ‘วันส้มตำสากล’ ตอกย้ำเมนูสุดแซ่บจากแดนสยาม ที่สร้างชื่อเสียงกระฉ่อนโลก พร้อมสถานะสำคัญ ภายใต้บทเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ใน 'กรมสมเด็จพระเทพฯ'

‘ส้มตำไทย’ อร่อยไม่แพ้ชาติใดในโลกจริง ๆ อร่อยจนนานาชาติยกย่องให้เป็นอาหารสากล และให้วันที่ 2 มิถุนายน กำหนดเป็น ‘วันส้มตำสากล’ หรือ International Somtum Day อีกด้วย

ทั้งนี้ ‘ส้มตำ’ เป็นอาหารปรุงมาจากการทำตำส้ม คือการทำให้เปรี้ยว ในลาวเรียกว่า ’ตำหมากหุ่ง‘ โดยนำมะละกอดิบที่สับแล้วฝานหรือขูดเป็นเส้นมาตำในครกเป็นหลัก พร้อมด้วยวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น มะเขือเทศลูกเล็ก, มะเขือสีดา, มะเขือเปราะ, พริกสดหรือพริกแห้ง, ถั่วฝักยาว กระเทียม และปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา และมะนาว

โดยส่วนผสมและเครื่องปรุงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ส้มตำมีรสเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว โดยในภาคอีสานนิยมส้มตำรสเผ็ดเค็ม ส่วนไทยภาคกลางนิยมรสเปรี้ยวหวาน ซึ่งนิยมรับประทานกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยในบางครั้งรับประทานกับขนมจีน เส้นเล็กลวก เส้นหมี่ และแคบหมู

ซึ่งร้านส้มตำส่วนใหญ่มักขายอาหารอีสานอื่นด้วย เช่น ซุบหน่อไม้, อ่อม, ลาบ, ก้อย, แจ่ว, ปลาแดกบอง, น้ำตก, ซกเล็ก, ตับหวาน, ไก่ย่าง, คอหมูย่าง, พวงนม, กุ้งเต้น (ก้อยกุ้ง) และข้าวเหนียว

นอกจากนี้ ‘ส้มตำ’ ยังเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งเนื้อร้องและทำนองขึ้นใน ปี พ.ศ. 2513 โดยมี ‘อ.ประยงค์ ชื่นเย็น’ เป็นผู้เรียบเรียงดนตรี

ต่อมาเพลงพระราชนิพนธ์ส้มตำได้ถูกอัญเชิญมาขับร้องโดย ‘พุ่มพวง ดวงจันทร์’ ราชินีเพลงลูกทุ่งไทยในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งก็ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ก่อนที่จะถูกนำมาขับร้องบันทึกเสียงโดย ‘สุนารี ราชสีมา’ ที่เป็นอีกหนึ่งเวอร์ชันอมตะของบทเพลงพระราชนิพนธ์ส้มตำเพลงนี้ นอกจากนี้ทางวงคาราบาวก็เคยอัญเชิญเพลงส้มตำไปร้องในคอนเสิร์ตอยู่บ่อยครั้ง รวมถึง ‘ต่าย อรทัย’ ที่ก็มีการอัญเชิญเพลงนี้มาขับร้องด้วย

สำหรับบทเพลงพระราชนิพนธ์ส้มตำใน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีเนื้อร้องดังนี้

ต่อไปนี้จะเล่า            ถึงอาหารอร่อย
คือส้มตำกินบ่อย        รสชาติแซ่บจัง
วิธีการก็ง่าย            จะกล่าวได้ดังนี้
มันเป็นวิธี            วิเศษเหลือหลาย

ไปซื้อมะละกอ            ขนาดพอเหมาะเหมาะ
สับสับเฉาะเฉาะ        ไม่ต้องมากมาย
ตำพริกกับกระเทียม        ยอดเยี่ยมกลิ่นอาย
มะนาวน้ำปลาน้ำตาลทราย    น้ำตาลปีปถ้ามี

ปรุงรสให้เยี่ยมหนอ        ใส่มะละกอลงไป
อ้อ อย่าลืมใส่            กุ้งแห้งป่นของดี
มะเขือเทศเร็วเข้า        ถั่วฝักยาวเร็วรี่
เสร็จสรรพแล้วซี        ยกออกจากครัว

กินกับข้าวเหนียว        เที่ยวแจกให้ทั่ว
กลิ่นหอมยวนยั่ว        น่าน้ำลายไหล
จดตำราจำ            ส้มตำลาวเอาตำรามา
ใครหม่ำเกินอัตรา        ระวังท้องจะพัง

ขอแถมอีกนิด            แล้วจะติดใจใหญ่
ไก่ย่างด้วยเป็นไร        อร่อยแน่จริงเอย...

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
✨ประจำวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567

🟢รางวัลที่ 1 รางวัลละ 6,000,000 บาท : 530593

🔴รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1 จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท : 530592 530594
🔴รางวัลเลขหน้า 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 194 364

🔴รางวัลเลขท้าย 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 421 734

🔴รางวัลเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 2,000 บาท : 42 

🟢รางวัลที่ 2 รางวัลละ 200,000 บาท : 356805 808128 792363 938867 029712

🟢รางวัลที่ 3 รางวัลละ 80,000 บาท : 243580 160283 777744 404804 272437 448892 544359 694974 046843 443044

🟢รางวัลที่ 4 รางวัลละ 40,000 บาท:  233880 168521 183126 834354 620385 678979 944778 145262 549805 598690 470737 581373 343071 531156 065645 051598 495952

794575 277318 638080 464405 153750 205045 526970 413224 842151 849214 933126

526838 083471 294416 840200 438962 378829 703944 646271 405634 656945 459138

238892 440176 020392 550315 753505 692674 957867 211846 240317 951837 485847

🟢รางวัลที่ 5  รางวัลละ 20,000 บาท: 755016 838184 935430 768221 294987 458656 621493 868909 102535 451796 454431 195482 990634 272964 642942 888192 077829

333705 818395 093804 270730 973347 985312 460387 903209 073019 277175 585912

279395 533685 231833 800717 170522 849807 140336 013446 418120 508290 671749

698368 362061 180989 655691 622177 034704 383029 526562 965039 439694 559838

144746 817662 458119 029216 594482 156179 240678 852984 346092 700010 953286

610246 339387 046921 834256 025445 718959 851546 340639 825213 491735 290538

371771 726199 894182 195900 759065 339091 142489 842139 146567 408504 408260

514953 267883 469973 925646 307929 371628 879199 378038 902974 687899 481869

001233 673775 180819 402981 000896 502580

'อาร์ต-พศุตม์' เผย!! แง่มุมดีๆ จากประสบการณ์ชีวิต วินัยสำคัญ!! ดันคนธรรมดาให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ธรรมดา

(1 มิ.ย.67) นายพศุตม์ บานแย้ม หรือ ‘อาร์ต’ ดารานักแสดงชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับแง่มุมดีๆ ในการใช้ชีวิต โดยได้ระบุว่า ...

ฝาก ถึงพวกกระจอก ตัวเองทำไม่ได้หรือป่าว ถึงโยนความผิดให้แต่คนอื่น Ep2 

ส่วนใครที่บอกกรูปากหมา กรูก็ปากหมาใส่คนที่ปากหมาคืนก็แค่นั้น อย่าทำเป็นรับไม่ได้เวลาโดน สวนคืน 555 ใครพูดดี ผมก็พูดดีด้วย
เช่น 

เป็นดารา ไงเลยขายได้ ‘ลองสิ’ ไม่เป็นดาราจะขายได้มั้ย 

…. ถามจริง เกิดมาผมเป็นดาราเลยปะ ก็ ไม่ใช่ เกิดมาในครอบครัวที่จนด้วยซ้ำ จนขนาดที่นอนจะนอนยังจะไม่มี แต่ผม ก็พยายามทำงานเองมาตั้งแต่ อายุ 17 แล้วก็ไม่เคยโทษใครเลย

…มาว่ากันด้วย ก่อนจะเป็นดารา ผมก็คนธรรมดา ผมลองไปประกวดดู ดันเข้ารอบ …แต่ก็ต้องพยายาม ทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ ต้องมีระเบียบวินัยในการทำงานในวงการมา 17 ปี ผมเคยไปทำงาน สาย 3 วัน ย้ำ 17 ปีนะ ซึ่งเวลาไปกองผมต้องตื่น ตี 5.30 ทุกวัน เป็นเวลา 17 ปี แล้วกรูจะย้อนกลับไปเป็นคนธรรมดาทำไมในเมื่อกรูพยายามเป็นดารา รักษาชื่อเสียง รักษาวินัย มาตั้ง 17 ปี คิดสิคิด

…มาว่ากันด้วย เรื่องเค้าหล่อไง ตอนนี้กรูอายุ 42 แล้ว แต่สภาพภายนอกยังได้แบบนี้ กรูต้องเพียรพยายามดูแลตัวเองขนาดไหน ต้องขยันดูแลตัวเองขนาดไหน แต่ไอ้คนที่พูดยังเอาเวลาว่าง นั่งกินเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยว ปาร์ตี้ อยู่เลย คิดสิคิด

….มาว่ากันด้วย เค้า ล่ำ ไง ผู้หญิงก็ชอบเลยมาซื้อของผม .. กรูเกิดมามีกล้ามเลยมั้ง กรูพยายามเล่นเวทออกกำลัง มาตั้งแต่ อายุ 17 ก่อนเป็นดาราด้วยซ้ำ จนป่านนี้ เป็นเวลา มา 24 ปี มันง่ายมั้ง กับการออกกำลังดูแลตัวเองมานานขนาดนี้ คิดสิคิด

ขอไปขายของก่อน เดี๋ยว มี ep. 3

อยู่เซ็นทรัลพิษณุโลกถึง 4 มิ.ย. นะค้าบบบ

1 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ‘ในหลวง ร.5’ ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 นับเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกและทันสมัยที่สุดของสยาม

รู้หรือไม่? ประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทยประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ในสมัยรัชกาลที่ 5 

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายใหม่นี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยมีนักกฎหมายชั้นนำของไทยและของต่างประเทศ ได้เลือกร่างกฎหมายลักษณะอาญาก่อนกฎหมายฉบับอื่น โดยร่างเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงค่อยแปลเป็นภาษาไทยเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2450

จากนั้นก็ได้พิมพ์เป็น 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส เมื่อเสร็จแล้วคณะกรรมการก็นำขึ้นทูลเกล้าถวาย และได้ทรงประกาศใช้เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ทรงเรียกประมวลกฎหมายฉบับแรกนี้ว่า ‘กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127’

ซึ่งว่ากันว่าประมวลกฎหมายฉบับแรกนี้ เป็นกฎหมายที่ทันสมัยในสมัยนั้น เพราะได้นำเอาหลักกฎหมายอาญาอันเป็นที่นิยมกันในประเทศต่าง ๆ มาพิจารณาดัดแปลง ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคมไทยขณะนั้น และเพื่อเป็นการยกระดับประเทศขึ้นสู่ระดับอารยประเทศ

กฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นประมวลกฎหมายที่แท้จริงฉบับแรกของไทย มีทั้งสิ้นรวม 340 มาตรา และได้ใช้บังคับมาจนถึง พ.ศ. 2486 จึงได้มีการปรับปรุงใหม่ ฉบับใหม่เรียกว่า ‘กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. 2486’ และได้ใช้ต่อมาจนถึง พ.ศ. 2499 จึงได้มีการปรับปรุงใหม่อีกครั้ง คือประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

31 พฤษภาคม ของทุกปี ‘องค์กรอนามัยโลก’ กำหนดเป็น ‘วันงดสูบบุหรี่โลก’ สร้างสังคมตระหนักรู้ถึง 'พิษภัย-อันตราย' ที่เกิดจากการสูบบุหรี่

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531 ‘องค์กรอนามัยโลก’ ได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวัน ‘งดสูบบุหรี่โลก’ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศ ตระหนักถึงอันตราย และความสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่ โดยได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยใช้ชื่อว่า ‘World Spidemic’ หรือการสูบบุหรี่เป็นโรคระบาดยู่ทั่วโลก

ดังนั้นรัฐบาลไทย ได้ตระหนักถึงความสูญเสียในชีวิตของประชากร ที่เกิดจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ให้รับทราบถึงอันตราย โทษของการสูบบุหรี่ซึ่งก็เป็นที่รู้กัน แต่จะให้เลิกสูบเลย เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้ที่ติดบุหรี่แล้ว

จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ และกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลนำมาใช้ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุขผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูบบุหรี่ พยายามเลิกสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเลิกได้สำเร็จหรือไม่ก็ตาม ดังเช่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขประกาศบังคับใช้ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์คำเตือนโทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา

30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 วันคล้ายวันสวรรคต ‘พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว’ กษัตริย์ผู้ทรงได้รับการยกย่องเป็น 'นักประชาธิปไตย'

หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ ประพาสยุโรป เพื่อทอดพระเนตรการพัฒนาด้านต่าง ๆ และทรงรับการผ่าตัดรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ แต่เนื่องด้วยพระราชดำริที่ไม่ตรงกัน กับรัฐบาลคณะราษฎรหลายประการ และทรงพิจารณาแล้วว่า ไม่ทรงสามารถประสานกับรัฐบาล

เพื่อให้บรรลุประโยชน์แก่ปวงชนส่วนรวมได้ จึงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติ ขณะประทับพักฟื้นพระวรกายที่พระตำหนักโนล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว ยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ แต่พระองค์ทรงพระประชวรอยู่เนือง ๆ อันเนื่องมาจากพระพลานามัยของพระองค์ ทรงไม่แข็งแรงมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

กระทั่งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตด้วยอาการพระหทัยวาย ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา 6 เดือน 23 วัน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพอย่างเรียบง่าย ณ ฌาปนสถานโกลเดอร์สกรีน (Golders Green) ทางตอนเหนือของกรุงลอนดอน

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2492 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จึงทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกจากท่าเรือเมืองเซาแธมตันโดยรัฐบาลอังกฤษ ตั้งกองเกียรติยศส่งเสด็จ เรือ Willem Ruys นำเสด็จฯ สู่สิงคโปร์ และเรือภาณุรังษีของบริษัทอีสต์เอเชียติก ได้นำเสด็จฯ เข้าสู่ประเทศไทยถึงเกาะสีชัง รัฐบาลไทย ซึ่งมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรือหลวงแม่กลองไปรับเสด็จที่เกาะสีชัง มาถึงท่าราชวรดิฐ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เฝ้าฯ รับเสด็จฯ และอัญเชิญพระบรมอัฐิ โดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ เข้าสู่พระบรมมหาราชวังประดิษฐาน ร่วมกับสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง โปรดให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ทรงตรากฎหมายเพื่อควบคุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน ระบบเทศบาล ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรมนั้น พระองค์โปรดให้สร้างหอพระสมุด ทรงปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังมีการปรับปรุงการศึกษาจนยกระดับมาตรฐานถึงปริญญาตรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยสมบูรณ์ ชื่อว่า ‘พระไตรปิฎกสยามรัฐ’ เป็นต้น

นอกจากนี้ พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 เนื่องในวโรกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 ปี พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์บางส่วนว่าเป็น ‘กษัตริย์นักประชาธิปไตย’ เนื่องจากทรงยินยอมสละพระราชอำนาจของพระองค์ให้เป็นของประชาชน และลดพระราชฐานะของพระองค์ให้เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญพระองค์แรก

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่อนุชนรุ่นหลังอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สถาบันพระปกเกล้า จึงได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้มีวันสำคัญเกี่ยวกับพระองค์ว่า สมควรกำหนดให้วันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ คือ วันที่ 30 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น ‘วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยให้กำหนดวันที่ 30 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น ‘วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว’ อันเป็นวันรัฐพิธีโดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ

29 พฤษภาคม ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันสากลแห่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ’ เพื่อขอบคุณเจ้าหน้าที่ ‘ผู้อุทิศตน-กล้าหาญ’ ในการปฏิบัติภารกิจ

‘วันสากลแห่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ’ (International Day of United Nations Peacekeepers) ตรงกับวันที่ 29 พฤษภาคมของทุกปี โดยเป็นวันที่แสดงความขอบคุณต่อชายและหญิง ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่และยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ ด้วยความเป็นมืออาชีพ การอุทิศตน และความกล้าหาญในระดับสูง เพื่อสันติภาพและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง บรรเทาความทุกข์ยากของผู้อื่นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

ทั้งนี้ วันดังกล่าวกำหนดขึ้นโดยข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 57/129 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2545 และเริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 วันที่ 29 พฤษภาคม เป็นวันครบรอบการจัดตั้งองค์การตรวจตราการพักรบของสหประชาชาติ (UNTSO) ในปี พ.ศ. 2491 เพื่อดูแลการหยุดยิงหลังจากสงครามอาหรับ-อิสราเอลในปีนั้น

‘คัลแลน-พี่จอง’ ควง ‘น้องแดน-จูดี้’ บริจาคเงิน 3 ล้านบาท  สมทบทุนช่วยทารกคลอดก่อนกำหนด ผ่านมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก

(28 พ.ค.67) คัลแลน-พี่จอง นำทีม น้องแดน-จูดี้ มอบเงิน 3 ล้านบาท บริจาคมูลนิธิรพ.เด็ก โครงการ Little Miracle แฟนคลับร่วมอวยพรอย่างล้นหลาม

เรียกว่าเป็นขวัญใจคนไทยทั้งประเทศในตอนนี้ สำหรับ 2 หนุ่มยูทูบเบอร์ชาวเกาหลีใต้ ‘คัลแลน - พี่จอง’ จากช่องยูทูบ Cullen Hateberry ที่พาทุกคนเที่ยวทั่วไทย ล่าสุดมี ‘น้องแดน’ และ ‘จูดี้’ มาร่วมด้วยบางคลิป ด้วยความน่ารักเป็นธรรมชาติ จึงตกแฟน ๆ เข้าด้อมใจฟู ได้ทุกเพศ ทุกวัย สร้างปรากฏการณ์ฟีเวอร์ไปทั่วบ้านทั่วเมือง

ล่าสุดวันที่ 27 พ.ค. 67 ทางมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก ได้ลงโมเมนต์ใจฟูในโซเชียล ระบุข้อความเอาไว้ว่า “ขอบคุณ พี่คัลแลน พี่จอง น้องแดน พี่จูดี้ หอบกำลังใจดี ๆ มาให้เด็ก ๆ ใจฟู ที่ #มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก #กองทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 

พร้อมมอบเงินบริจาค จำนวน 3,000,000 บาท สมทบโครงการLittle Miracle ปาฏิหาริย์ต่อลมหายใจให้ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยมีนพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์  ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี รับมอบ”

หลายคนพอเห็นโพสต์ต่างเข้ามาคอมเมนต์อนุโมทนาบุญ และขอบคุณทีมงาน Cullen Hateberry ที่ได้มอบเงินบริจาคในครั้งนี้ เป็นโมเมนต์ที่ใจฟูมาก

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 วันคล้ายวันก่อตั้ง ‘ม.ศรีปทุม’ เดิมชื่อ ‘วิทยาลัยไทยสุริยะ’ 1 ใน 5 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย

‘วิทยาลัยไทยสุริยะ’ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 เป็น 1 ใน 5 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรก ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย โดย ดร.สุข พุคยาภรณ์

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2515 วิทยาลัยไทยสุริยะ ได้รับพระราชทานนามใหม่จาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็น ‘วิทยาลัยศรีปทุม’ (กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2515) และพระราชทานความหมายว่า ‘เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว’ พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดป้ายนาม ‘ศรีปทุม’ และพระราชทานปริญญาบัตร อนุปริญญา และประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 1,2 และ 3

ทั้งนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนประเภทเป็น ‘มหาวิทยาลัยศรีปทุม’ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530

โดย มหาวิทยาลัยฯ ได้ขยายวิทยาเขตออกไปในปีการศึกษา 2530 โดยได้จัดตั้งวิทยาเขตที่สมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2530

ในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขออนุมัติทบวงมหาวิทยาลัย (ในขณะนั้น) จัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท เปิดสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนานักบริหาร โดยเปิดสอนครั้งแรก ณ อาคารเอ็กซิม (อาคารบุญผ่องเดิม) ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท ต่อมาได้ย้ายสำนักงานมาเปิด ณ อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 17 และชั้น 20 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท เพื่อเปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับนักบริหาร (ปัจจุบันไม่มีการสอนที่วิทยาคารพญาไทแล้ว)

ในปี พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ขยายการเรียนการสอนไปยังจังหวัดขอนแก่น ภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

‘ลิซ่า’ สวมชุดอัพไซเคิลแบรนด์ไทย ‘Pipatchara’ ‘สวย-เก๋’ อวดชาวโลกในงานปาร์ตี้ของ ‘Tag Heuer’

(27 พ.ค.67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ‘ลิซ่า’ ลลิษา มโนบาล (@lalalalisa_m) หรือ ลิซ่า Blackpink นอกจากจะไปปรากฏตัวในงานแข่งรถสูตรหนึ่ง Monaco F1 Grand Prix 2024 แล้ว เธอยังเข้าร่วมงานปาร์ตี้บนเรือยอชท์ของ Tag Heuer ที่จัดขึ้นในโมนาโก ด้วยลุคปาร์ตี้สุดเก๋จากแบรนด์ Pipatchara (@pipatchara) เรียกได้ว่าสวยสะกดทุกสายตาเลยทีเดียว

เนื่องจากชุดนี้ทำมาจากขยะพลาสติกรีไซเคิลที่นำฝาน้ำที่ใช้แล้วผสมกับกล่องข้าวสีใส โดย 80% ทำจากฝาน้ำสีทอง เเละ 20% ทำจากกล่องภาชนะใส่อาหาร ทั้งหมดเป็นสีธรรมชาติ ทางแบรนด์พิถีพิถันในการไล่ระดับสีของชุดตั้งเเต่อ่อนไปเข้ม เพื่อให้ชุดกระทบแสงในงาน After Party เเละ ใช้ขยะมากกว่า 1,800 ชิ้น โดยส่วนใหญ่มาจากฝาขวดน้ำ เเละ กล่องข้าวใส 

27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 วันคล้ายวันเกิด ‘ท่านพุทธทาสภิกขุ' บุคคลสำคัญของโลก อุทิศตนเพื่อการเผยแพร่แก่นพระธรรมที่มีความร่วมสมัย

‘พระธรรมโกศาจารย์’ มีนามเดิม ‘เงื่อม พานิช’ ฉายา ‘อินทปญฺโญ’ หรือรู้จักในนาม ‘พุทธทาสภิกขุ’ เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้มาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น ‘พุทธทาส’ เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และยังมีผลงานอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังในการศึกษาศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น ‘พุทธทาส’ เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนา

และเมื่อปี 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในการประชุมสมัยสามัญขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ณ สำนักงานใหญ่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ประชุมมีมติประกาศยกย่องพระธรรมโกศาจารย์หรือ ‘พุทธทาสภิกขุ’ เป็นบุคคลสำคัญของโลก

เหตุผลที่ยูเนสโกได้ประกาศยกย่อง ‘พุทธทาสภิกขุ’ เป็นบุคคลสำคัญของโลกก็คือ การที่ท่านได้อุทิศตนเพื่อการเผยแพร่แก่นพระธรรมที่มีความร่วมสมัยและประยุกต์ใช้ได้กับระดับสังคมและปัจเจกบุคคล รวมถึงการผสานส่งเสริมความเข้าใจระหว่างศาสนา เพื่อความสันติภาพ ความเป็นธรรมของสังคมและบุคคล


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top