Tuesday, 7 May 2024
แอฟริกา

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก คาด!! 20 ปี เขาน้ำแข็งในแอฟริกาละลายเกลี้ยง 118 ล้านคน เจอผลกระทบหนักรอบด้าน

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ (UN) เตือนว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขณะนี้กำลังจะทำให้ภูเขาน้ำแข็ง 3 แห่งสุดท้ายในแอฟริกาละลายหายไปภายใน 20 ปีข้างหน้า

รายงานจาก WMO ชี้ว่าการหดตัวอย่างรวดเร็วของธารน้ำแข็งแห่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ในแอฟริกาตะวันออก ซึ่งคาดว่าจะละลายหายไปในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นสัญญาณของภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกที่ไม่อาจย้อนกลับได้

นอกจากนี้ยังคาดว่าภายในปี 2030 จะมีผู้คนมากถึง 118 ล้านคนต้องเผชิญกับน้ำท่วม ภัยแล้ง หรืออุณหภูมิที่ร้อนระอุมากยิ่งขึ้น และอาจทำให้เศรษฐกิจของทวีปหดตัวลงถึง 3% ตลอดจนเผชิญกับความยากไร้หากไม่มีมาตรการรับมือที่เพียงพอ

‘อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน’ โอกาสใหม่เศรษฐกิจ ‘จีน-แอฟริกา’ ช่วยกลุ่มธุรกิจเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น ลดต้นทุนรอบด้าน

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานว่า หนังสือพิมพ์ข้อมูลเศรษฐกิจรายวัน (Economic Information Daily) สังกัดสำนักข่าวซินหัวรายงานเมื่อไม่นานนี้ว่า ‘อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน’ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าที่เติบโตอย่างรวดเร็วระหว่างจีนและแอฟริกา โดยทำให้มีสินค้าจากแอฟริกาเข้าสู่ตลาดจีนเป็นจำนวนมาก

ผู้ขายกาแฟจากเอธิโอเปีย ซอสพริกจากรวันดา ชาดำจากเคนยา ช็อกโกแลตจากกานา เม็ดมะม่วงหิมพานต์จากแทนซาเนีย ฯลฯ เข้าถึงผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างง่ายดาย ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน

มีสินค้ามากกว่า 200 ชนิดจากกว่า 20 ประเทศในทวีปแอฟริกา ที่ได้รับการแนะนำสู่สายตาผู้บริโภคชาวจีนผ่านการสตรีมมิง หรือ ไลฟ์สด บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซช่วงเทศกาลชอปปิงออนไลน์ ที่จัดขึ้นโดยจีนตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.- 12 พ.ค. ปี 2022 เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าจากแอฟริกา โดยข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ชี้ว่ายอดขายชาดำของเคนยาและยอดขายกาแฟเอธิโอเปียในช่วงเทศกาลดังกล่าว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 409 และร้อยละ 143.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับยอดในปี 2021

ขณะที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของจีน เช่น คิลิมอลล์ (Kilimall) อาลีบาบา (Alibaba) คิคู (Kikuu) และ ชีอิน (Shein) ก็พยายามที่จะเจาะเข้าสู่ตลาดแอฟริกาเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น คิลิมอลล์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ก่อตั้งในเคนยาเมื่อปี 2014 และมีห่วงโซ่อุปทานส่วนใหญ่อยู่ในจีน ได้เปิดบริการธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ บริการชำระเงินผ่านมือถือ และบริการขนส่งข้ามพรมแดน แก่ผู้ใช้งานในแอฟริกากว่า 10 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเคนยา ยูกันดา และไนจีเรีย เกิดการสร้างงานมากกว่า 10,000 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น

‘พริโกซิน’ ผู้นำวากเนอร์ โพสต์วิดีโอครั้งแรกในรอบ 2 เดือน โว!! กำลังต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธ เพื่อทำให้ ‘แอฟริกา’ มีอิสระขึ้น

นายเยฟเกนี พริโกซิน ผู้นำกลุ่มทหารรับจ้างวากเนอร์ ปรากฏตัวครั้งแรกในวิดีโอที่โพสต์บนเทเลแกรม หลังจากหายไปจากโลกโซเชียล นับตั้งแต่ความพยายามก่อกบฎในรัสเซียเมื่อเดือนมิถุนายนล้มเหลว โดยพริโกซินซึ่งสวมชุดนักรบระบุว่าเขาอยู่ในแอฟริกา และวากเนอร์กำลังทำให้แอฟริกามีอิสระมากขึ้น

พริโกซินกล่าวในวิดีโอว่า วากเนอร์กำลังสำรวจแร่ และต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธอิสลามและกลุ่มอาชญากรอื่นๆ

“เรากำลังทำงานอยู่ท่ามกลางอุณหภูมิมากกว่า 50 องศา วากเนอร์กำลังปฏิบัติการลาดตระเวนและค้นหา ทำให้รัสเซียยิ่งใหญ่ขึ้นในทุกทวีป และทำให้แอฟริกาเป็นอิสระมากขึ้น” พริโกซิน กล่าว

พริโกซินกล่าวด้วยว่า ความยุติธรรมและความสุขสำหรับชาวแอฟริกัน เรากำลังทำให้ชีวิตเป็นฝันร้ายสำหรับกองกำลังรัฐอิสลาม (ไอเอส) อัลเคด้า และกลุ่มโจรผู้ร้ายอื่นๆ

พริโกซินกล่าวว่า วากเนอร์กำลังเปิดรับสมัคร และเราจะดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดไว้ต่อไป เราสัญญาว่าเราจะประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ เชื่อว่าวากเนอร์มีนักรบหลายพันคนอยู่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งวากเนอร์มีผลประโยชน์ทางธุรกิจมากมายอยู่ในภูมิภาคนี้

โดยมีรายงานว่า ทหารของพริโกซินฝังตัวอยู่ในประเทศต่างๆ ในแอฟริกา รวมถึงมาลีและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ซึ่งกลุ่มสิทธิมนุษยชนและสหประชาชาติกล่าวหาพวกเขาว่า ก่ออาชญากรรมสงคราม

นักรบวากเนอร์ยังถูกสหรัฐฯ กล่าวหาว่าได้สร้างรายได้ให้กับตัวเองด้วยการทำข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าทองคำเถื่อนในแอฟริกาอีกด้วย

กองทัพทหาร บุกยึดอำนาจ ‘อาลี บองโก ออนดิมบา’ หลังคว้าชัยเลือกตั้งใหญ่ ล้มอำนาจผู้นำ 3 สมัยแห่งกาบอง

คลื่นกระแสการรัฐประหารในทวีปแอฟริกา ยังคงร้อนแรงต่อเนื่อง ล่าสุด กองทหารระดับสูงแห่งกาบอง ได้ประกาศผ่านช่อง Gabon 24 เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 66 แถลงข่าวยึดอำนาจประธานาธิบดี ‘อาลี บองโก ออนดิมบา’ ผู้นำกาบอง 3 สมัย หลังจากเพิ่งคว้าชัยจากการเลือกตั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเสียงขาดลอยถึง 63.4%

นับเป็นการเลือกตั้งที่มีเสียงวิพากษ์ วิจารณ์อย่างรุนแรงจากพรรคฝ่ายค้าน และชาวกาบอง ถึงความไม่โปร่งใส และทุจริต

แต่ทันทีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งของกาบองได้รับรองผลการนับคะแนน และประกาศให้ ประธานาธิบดี อาลี บองโก ผู้นำคนปัจจุบัน เป็นผู้ชนะได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็มีกลุ่มกองทหารบุกยึดสถานีโทรทัศน์พร้อมออกแถลงการณ์ว่า “ได้ยึดอำนาจ ประธานาธิบดี อาลี บองโก แล้ว” โดยอ้างว่า “การเลือกตั้งที่ผ่านมาขาดความน่าเชื่อถือ จึงเป็นเหตุให้คณะทหาร ซึ่งเป็นตัวแทนของกองทัพที่หน้าที่ดูแลความมั่นคง และป้องกันประเทศ จำเป็นต้องยึดอำนาจรัฐบาล ให้ผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ และยุบสถาบันฝ่ายบริหารทั้งหมดในกาบอง”

ล่าสุด มีรายงานว่ามีการปิดพรมแดนของประเทศกาบอง และมีเสียงปืนดังขึ้นที่กลางกรุงลีเบรอวิล เมืองหลวงของกาบอง ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้

นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 8 ในระยะเวลาเพียง 3 ปี ที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในโซนภูมิภาคซาเฮล และประเทศใกล้เคียงอย่างกาบอง ที่ส่วนมากเป็นประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน

และหากรัฐประหารครั้งนี้สำเร็จ จะเป็นการสิ้นสุดการปกครองของตระกูลบองโก ที่ครองอำนาจในกาบองมานานถึง 56 ปี โดยประธานาธิบดี อาลี บองโก ผู้นำคนปัจจุบันที่ถูกรัฐประหารในวันนี้ ดำรงตำแหน่งมาแล้วถึง 14 ปี และสืบทอดอำนาจต่อจาก ‘โอมาร์ บองโก ออนดิมบา’ อดีตประธานาธิบดีคนก่อนหน้า ซึ่งเป็นพ่อของเขาเอง

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดี อาลี บองโก เคยเกือบถูกรัฐประหารมาแล้ว เมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2562 โดยกองทหารกลุ่มหนึ่งบุกยึดสถานีวิทยุแห่งชาติ ณ ใจกลางกรุงลีเบรอวิล ประกาศยึดอำนาจรัฐบาล ในขณะที่ อาลี บองโก ยังพักรักษาตัวจากอาการโรคหลอดเลือดสมองในประเทศโมร็อกโก แต่ครั้งนั้นทำการไม่สำเร็จ

แต่หากรัฐประหารในวันนี้ของกาบอง สามารถโค่นล้ม อาลี บองโก ผู้นำ 3 สมัยลงได้ ทวีปแอฟริกาคงสั่นสะเทือนแรงอีกครั้ง หลังจากเกิดรัฐประหารล่าสุดที่ไนเจอร์ ที่จะส่งผลต่อดุลอำนาจในภูมิภาคอย่างมาก

เนื่องจาก กาบองเป็นอีกหนึ่งชาติที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝรั่งเศส และในด้านทรัพยากร ก็ยังเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยก๊าซธรรมชาติ แร่แมงกานีส และป่าไม้  อีกทั้งยังสะท้อนปัญหาการเมืองในหลายประเทศของแอฟริกา ที่สถาบันรัฐยังเปราะบาง สุ่มเสี่ยงต่อการถูกโค่นล้มจากคลื่นกระแสรัฐประหารในแอฟริกา เชื่อว่าจะไม่จบลงที่กาบองอย่างแน่นอน

เรื่อง : ยีนส์ อรุณรัตน์

รัฐบาลทหาร 3 ชาติ ผุดไอเดียตั้ง ‘NATO แอฟริกา’ ผนึกกำลัง เสริมความมั่นคง ต้านทัพชาติตะวันตก

‘รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย’ น่าจะเป็นสุภาษิตที่ใช้ได้ทุกยุค ทุกสมัย ทุกสถานการณ์ และทุกประเทศจริงๆ เพราะมนุษย์เราไม่สามารถทำทุกอย่างคนเดียวได้ แม้แต่ชาติมหาอำนาจที่สุดของโลก ก็ยังต้องพึ่งพาประเทศอื่นๆ เพื่อเสริมพลังให้แก่ตน ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง

เช่นเดียวกับประเทศที่กำลังมีปัญหาทางการเมืองอย่าง ‘ไนเจอร์’ ที่ตอนนี้ทั่วโลกกำลังจับตาถึงความมั่นคงของรัฐบาลทหาร ที่เพิ่งผ่านการยึดอำนาจมาหมาดๆ และกำลังถูกกดดันจากกองกำลังของ Economic Community of West African States (ECOWAS) พันธมิตรประเทศแอฟริกาอื่นๆที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก ขู่ว่าจะยกกองกำลังเข้า (รุกราน) แทรกแซงการเมืองในไนเจอร์

ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวด้วยโมเดล ‘โลกล้อมไนเจอร์’ ผ่านการใช้กองกำลังจากพันธมิตรหลายชาติในกาฬทวีป คู่ขนานไปกับการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก ที่ดูยังไง ไนเจอร์หัวเดียวกระเทียมลีบ ไม่มีทางเอาชนะได้เลย

แต่ทว่าวันนี้ เราก็ได้เห็นการตอบโต้ที่น่าสนใจของกลุ่มประเทศในแถบซาเฮล ซึ่งตอนนี้กลายเป็น ‘แถบรัฐประหาร’ เนื่องจากมีการยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนหลายครั้ง จนเป็นโดมิโนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่เพิ่งจะฟอร์มพันธมิตร 3 ชาติ ‘ไนเจอร์-มาลี-บูร์กินา ฟาโซ’ ก่อตั้งเป็น ‘Alliance of Sahel States’ พันธมิตรแห่งสหรัฐซาเฮล เป็นการรวมตัวกันของรัฐบาลทหาร 3 ชาติ ที่ล้วนแต่ก่อตั้งผ่านกระบวนการรัฐประหารมาเหมือนกัน ในช่วงเวลาไล่เรี่ยกัน อันประกอบด้วย

- พลเอก อับดุลราห์มาน ทะเชียนิ ผู้นำคณะทหารรัฐบาลของประเทศไนเจอร์ 
- พันเอก อัสซิมี โกยตา หัวหน้าคณะรัฐประหารของประเทศมาลี
- ร้อยเอก อิบราฮิม ทราโอเร หัวหน้าคณะรัฐประหาร และผู้นำเฉพาะกาลของประเทศบูร์กีนา ฟาโซ

โดยผู้นำทหารของทั้ง 3 ประเทศ ก็เห็นชอบที่จะจับมือกัน เพราะไหนๆ พวกเราก็เป็นพวกที่ใครๆ มองว่า ‘ฝนตก ขี้หมูไหล’ แล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องเสีย ซึ่งความเก๋ของพันธมิตร 3 ประสานแห่งซาเฮลนี้ มีการร่างข้อตกลงทางทหารร่วมกัน โดยการยกเอาโมเดลสนธิสัญญาของ ‘NATO’ มาแทบทั้งดุ้น

โดยเฉพาะข้อความในมาตรา 5 ของสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ที่ระบุว่า “หากมีการโจมตีชาติสมาชิกชาติใดก็ตาม ถือเป็นการโจมตีประเทศสมาชิกทั้งหมด ก็ปรากฏในมาตรา 6 ของข้อตกลงพันธมิตรสหรัฐซาเฮลเช่นกัน และรูปแบบการป้องกันแบบองค์รวม การจัดตั้งกองกำลังทางทหารร่วมกัน ก็คล้ายกับกองกำลัง NATO ที่ชาติสมาชิก สามารถยกกองทัพมาช่วยกันรบ หากมีการโจมตีดินแดนของชาติสมาชิก จะแตกต่างกันก็แค่ตอนนี้ NATO แห่งแอฟริกา ยังมีแค่ 3 ประเทศ”

ในตอนนี้การเคลื่อนไหวของทีมรัฐบาลทหาร 3 ชาติของภูมิภาคซาเฮล เป็นเรื่องที่น่าจับตาห่างๆ อย่างห่วงๆ เพราะจากปรากฏการณ์การเมืองโลกในยุคสมัยใหม่ หากประเทศใดมีการล้มล้างรัฐบาลพลเรือนด้วยการรัฐประหาร ประเทศนั้นมักถูกโดดเดี่ยวจากเวทีโลก จนกว่าจะเปลี่ยนผ่านสู่กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยอีกครั้ง

แต่สำหรับการฟอร์มพันธมิตรทีมรัฐประหารซาเฮลครั้งนี้ จะเรียกได้ว่าเป็นการ ‘เปิดหน้ารัฐบาลทหาร’ แบบไม่ต้องกระมิด กระเมี้ยนกันอีกแล้ว ที่ทำให้สถานภาพของรัฐบาลรักษาการณ์มีความมั่นคงขึ้น โดยเฉพาะศักยภาพในการต่อกรกับกองกำลังต่างชาติ ที่ต้องการเข้าแทรกแซงการเมืองในประเทศ

และหากโมเดล ‘NATO แห่งแอฟริกา’ สามารถรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลทหารของ 3 พันธมิตรได้จริง และอาจลากเอาชาติอื่นๆใน ‘แถบรัฐประหาร’ ทั้งหมดมารวมกลุ่มได้อีก กลายเป็นกองกำลังที่เป็นปึกแผ่น แข็งแกร่งที่สุดกลุ่มหนึ่งในภูมิภาคนี้ก็เป็นไปได้ และเท่ากับดับฝันฝรั่งเศสที่อาจต้องสูญเสียอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ไปตลอดกาลด้วย

แต่จุดที่น่าเป็นห่วงคือ การตั้งอยู่ได้ของ NATO แอฟริกา อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการรัฐประหารในทวีปนี้ให้ขยายวงกว้างออกไปได้เรื่อยๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของประเทศในแอฟริกาทั้งหมด

อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย ในประเทศที่สูญเสียรัฐบาลพลเรือนจากการยึดอำนาจได้ สิ่งที่จะตามมาคือ กลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นชอบกับรัฐบาลทหาร จะถูกกวาดล้าง บีบให้พวกเขาต้องลงใต้ดิน และกลายเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลด้วยความรุนแรงเช่นกัน และมีแนวโน้มจะยกระดับเป็นกลุ่มก่อการร้าย ที่เป็นปัญหาใหญ่ในภูมิภาคแถบนี้ ให้เลวร้ายลงไปอีกนั่นเอง 
ถึงจะดูเป็นการมองโลกในแง่ร้ายไปหน่อย ก็ต้องยอมรับว่า สถานการณ์ในซาเฮลยังน่าเป็นห่วง และคาดเดาอนาคตได้ยาก กับดินแดนคืบก็ทะเลทราย ศอกก็ทะเลทราย พอลองได้หลงแล้ว หาทางออกลำบากจริงๆ

‘จีน’ ครองแชมป์คู่ค้ารายใหญ่ของ ‘แอฟริกา’ 15 ปีซ้อน มูลค่าการค้าทวิภาคี ปี 2023 แตะ 10 ล้านล้านบาท

เมื่อวานนี้ (1 ก.พ. 67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ของจีน เปิดเผยว่าจีนยังคงครองตำแหน่งคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของแอฟริกาติดต่อกันเป็นปีที่ 15 ด้วยมูลค่าการค้าทวิภาคีสูงแตะ 2.82 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 10 ล้านล้านบาท) ในปี 2023

เจียงเหว่ย เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ แถลงข่าวว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าเป็นตัวควบคุมและขับเคลื่อนความสัมพันธ์จีน-แอฟริกา โดยคณะรัฐมนตรีจีนได้อนุมัติแผนการทั่วไปเพื่อสร้างเขตนำร่องความร่วมมือเชิงลึกทางเศรษฐกิจและการค้าจีน-แอฟริกา

จีนจะจัดตั้งเขตนำร่องดังกล่าวเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการเปิดกว้างและความร่วมมือกับแอฟริกาอันมีอิทธิพลระดับนานาชาติภายในปี 2027 โดยเป้าหมายหลักคือการสร้างพื้นที่สำหรับความร่วมมือกับแอฟริกาอันมีความสามารถทางการแข่งขันระดับนานาชาติ

เจียงเหว่ย เสริมว่า ทั้งสองฝ่ายจะกระตุ้นบทบาทของเขตนำร่องแห่งนี้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านและยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าทวิภาคี และส่งมอบผลประโยชน์แก่ประชาชนในจีนและแอฟริกาเพิ่มขึ้นในหลายปีข้างหน้านี้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top