Saturday, 4 May 2024
แรงงานต่างด้าว

‘ตม.ประจวบคีรีขันธ์’ คุมเข้มช่องทางธรรมชาติ สกัดโควิดระบาด!! จับกุมหนุ่มเมียนมาลักลอบนำพาแรงงานถื่อน พร้อมยาบ้า พร้อมรวบ 33 ชาวเมียนมา หลบหนีเข้าเมืองเพื่อไปทำงาน จว.สมุทรสาคร

วันนี้(15 ก.ย. 2564 ) เวลา 13.30 น.พ.ต.อ.สุทธิพงษ์ พุทธิพงษ์ ผกก.ตม.จว.ประจวบคีรีขันธ์ แถลงผลการจับกุมบุคคลต่างด้าวชาวเมียนมาพร้อมด้วยของกลางยาบ้า และนำพาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยสั่งการให้เจ้าหน้าที่สืบสวน ตม.จว.ประจวบคีรีขันธ์ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานความมั่นคง ออกสืบสวนหาข่าว และตรวจสอบผู้กระทำความผิดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อป้องกันผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตราย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

โดยเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น.ของวันที่ 14  ต.ค.64 เจ้าหน้าที่สืบสวน ตม.จว.ประจวบคีรีขันธ์พร้อมด้วยหน่วยงานความมั่นคง ได้ตรวจพบบุคคลต่างด้าวกระทำผิดกฎหมาย และสามารถจับกุม นายมิวแตอู อายุ 37 ปี สัญชาติเมียนมา พร้อมด้วยของกลางยาบ้าจำนวน 10 เม็ด โดยกล่าวหาว่า”มียาเสพติดประเภท 1 (ยาบ้าไว้ในความครอบครองโดยผิดกฏหมายและนำหรือพาบุคคลต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรฯ”   และควบคุมตัวแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาจำนวน 33 คน ได้ที่บริเวณ ช่องทางธรรมชาติช่องชุมนุมมะละกอ ม.5 บ้านเนินแก้ว ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบฯ

จากการสอบสวนเบื้องต้น แรงงานต่างด้าว เดินทางมาจาก มะริด 10 คน พะลอ 10 คน เมาะลำไย 5 คน มะกุย 1คน มันดาเล 3 คน พะโคะ 1 คน ทวาย 3 คน ทั้งหมดต้องการเดินทางไปทำงานที่ จ.สมุทรสาคร ในเบื้องต้นได้ทำการกักตัวไว้ในสถานที่เกิดเหตุเพื่อทำการคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรน่า ( โควิด 19 ) หลังจากนี้จะได้ทำการสอบสวนขยายผลถึงขบวนการที่เกี่ยวข้องต่อไป

“โฆษกกห.” เผย  แรงงานเมียนมาทะลักเข้าไทยฝั่งชายแดนตะวันตก หลังการเมืองภายในเพื่อนบ้านส่อรุนแรง ขอมั่นใจฝ่ายมั่นคงคุมได้ ยังไม่เพิ่มกำลัง เตรียมขยายผลโยงค้ามนุษย์หรือไม่ หลังพบ จนท.รัฐเอี่ยวพรึบ

พล.อ.คงชีพ ตันตระวานิช โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการจับกุมแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตก จ.กาญจนบุรี เป็นจำนวนมาก ว่า เป็นไปตามคาดการณ์ของฝ่ายความมั่นคงประเมินแล้ว เพราะสถานการณ์ในเมียนมามีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะช่วงหลังฝนจากนี้เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐถูกกลุ่มต่อต้านทำร้ายและได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตหลายราย รวมทั้งกำลังทหารในพื้นที่ชายแดนที่ติดกับไทย ถูกถูกกองกำลังของชนกลุ่มน้อยเข้าโจมตี รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศเขา และการเปิดประเทศของไทยที่ผู้ประกอบการต้องการแรงงานมากขึ้น จึงประเมินแล้วว่าจะมีผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายมากขึ้น รวมถึงผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับฝ่ายความมั่นคง ร่วมกันระหว่างทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ดูแลพื้นที่ชายแดนที่ติดกับเมียนมา ซึ่งที่ผ่านมาก็จับผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายที่ จ.กาญจนบุรี ได้หลายร้อยคน แต่ขอให้มั่นใจว่า แม้ไทยจะเปิดประเทศ แต่ฝ่ายความมั่นคงก็จะทำงานหนัก และพร้อมแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับโรคระบาด

“ผบ.ทบ.” ลงพื้นที่ชายแดนตะวันตก หลังแรงงานเมียนมาทะลัก รับเปิดประเทศ 

พ.อ.ญ ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เดินทางตรวจเยี่ยมชายแดนทางด้านตะวันตกไทย-เมียนมา ด้าน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ในพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังสุรสีห์ เพื่อติดตามภารกิจป้องกันชายแดน สกัดกั้นสิ่งผิดกฎหมาย โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายและไม่ผ่านการคัดกรองโรค ซึ่งเป็นไปตามบัญชาของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่ให้เหล่าทัพบูรณาการร่วมกับส่วนราชการที่รับผิดชอบ เตรียมความพร้อมรับการเปิดประเทศใน พ.ย.นี้ 

โดยผู้บัญชาการทหารบก ได้ตรวจเยี่ยมรับทราบผลการปฏิบัติงาน พร้อมกับให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ณ ฐานปฏิบัติการตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา หลายแห่ง ของหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ ซึ่งภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน เส้นทางเข้า-ออก ยากลำบาก เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการสกัดกั้นสิ่งผิดกฎหมายและการลักลอบเข้าเมือง ได้แก่ จุดผ่อนปรนช่องทางตะโกบน, จุดตรวจแปดเหลี่ยม ในความรับผิดชอบของกองร้อยทหารพราน 1109 และจุดตรวจบูรณาการร่วมของส่วนราชการ อ.สวนผึ้ง ได้พบปะให้กำลังใจกับตำรวจตระเวนชายแดน อาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครหมู่บ้าน  

ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่าแนวโน้มการลักลอบเข้าเมืองในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ยากลำบากยิ่งขึ้น ขอให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง และนำยุทโธปกรณ์พิเศษมาใช้ในการเฝ้าตรวจ ติดตั้งไฟส่องสว่างเพื่อช่วยตรวจการณ์ในเวลากลางคืน วางเครื่องกีดขวางปิดกั้นช่องทางธรรมชาติ รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในจังหวัดอย่างใกล้ชิด รวบรวมข้อมูล พยานหลักฐาน และติดตามการปฏิบัติทุกขั้นตอน นำไปสู่ต้นตอของขบวนการนำพา และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกคนในการดูแลพื้นที่ชายแดน ให้ปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังเพื่อประเทศชาติ 

ทั้งที่ ในปี 64 ที่ผ่านมา กองกำลังสุรสีห์ ซึ่งดูแลพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน จ.กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและผู้นำพา ได้ 3,036 คน สถิติล่าสุดตั้งแต่ 1-25 ต.ค.64 ตรวจพบการลักลอบ 61 ครั้ง 
ผู้หลบหนีเข้าเมือง 928 คนและผู้นําพา 33 คน ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้นจึงต้องเฝ้าระวัง และเพิ่ม มาตรการต่างๆ อย่างเข้มงวด ส่วนการติดตามการดําเนินคดีกับผู้นําพา ตั้งแต่ 1 ต.ค.63 ถึง ปัจจุบัน มีจํานวน 83 คดี และศาลตัดสินแล้ว จํานวน 25 คดี ถือเป็นการปฏิบัติงานของกองกำลังป้องกันชายแดน ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองด้วยกระบวนการตามกฎหมายอย่างเป็นระบบ

รมว.เฮ้ง เตรียมหารือ 4 หน่วยงาน หลัง ศปก.ศบค. เห็นชอบหลักการนำเข้า MOU แก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติทะลักชายแดน

ที่ประชุมศปก.ศบค. เห็นชอบแนวทางการนำแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานตาม MOU ในสถานการณ์โควิดตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ  โดยให้เร่งหารือร่วมกับ สตม.  กต. สธ. และกอ.รมน. เพื่อดำเนินการนำเข้าโดยเร็ว

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล. อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยปัญหาแรงงานข้ามชาติลักลอบเข้าเมืองตามเส้นทางธรรมชาติและการเคลื่อนย้ายแรงงานผิดกฎหมาย หลังพบสถานประกอบการในประเทศจำนวนมากขาดแคลนแรงงาน จึงได้มอบหมายกระทรวงแรงงาน แก้ปัญหาดังกล่าวและวางแนวทางการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ซึ่งวิธีนี้จะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างตรงจุด ส่งผลให้ปัญหาลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายเพื่อทำงานลดน้อยลง 

“สำหรับแนวทางเบื้องต้นยังคงจัดกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อนุญาตให้เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสีเขียว ที่ฉีดวัคชีนครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป จะได้พิจารณาเป็นลำดับแรก โดยต้องแสดงวัคซีนพาสปอร์ต กลุ่มสีเหลือง ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม แต่ยังไม่ครบกำหนดระยะเวลา 1 เดือน และ กลุ่มสีแดงที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็มหรือยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย โดยให้นายจ้าง/สถานประกอบการ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วยค่าสถานที่กักกัน ค่าตรวจหาเชื้อ COVID-19 ค่ารักษา (กรณีคนต่างด้าวติดเชื้อ COVID-19) หากอยู่ในกิจการที่อยู่ในระบบประกันสังคม และเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หลังครบกำหนดระยะเวลากักตัวจะได้รับวัคซีนตามสิทธิผู้ประกันตน กรณีไม่ได้เป็นผู้ประกันตนม.33 นายจ้างจะเป็นผู้จัดหาวัคซีนทางเลือกให้แก่คนต่างด้าว ซึ่งการอนุญาตให้นำเข้า จะอนุญาตตามจำนวนสถานที่รองรับในการกักตัว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

นายสุชาติ กล่าวต่อไปถึงมาตรการที่กระทรวงแรงงานดูแลแรงงาน 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาว่า  กระทรวงแรงงานดำเนินการปรับเปลี่ยนระเบียบ นโยบาย หรือมาตรการต่างๆ เพื่อสอดรับกับสถานการณ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนนายจ้าง/สถานประกอบการ ที่ขาดแคลนแรงงาน พร้อมกับควบคุมป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยเสนอครม.เพื่อมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา อยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษภายใต้สถานการณ์ โควิดระลอกใหม่ โดยให้นายจ้างที่จ้างแรงงานข้ามชาติ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งทำให้แรงงาน 3 สัญชาติ กว่า 4 แสนรายได้รับอนุญาตทำงาน

ต่อมาเสนอครม.เพื่อมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่แล้วหรือเคยได้รับอนุญาตทำงาน แต่ไม่สามารถดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานตามขั้นตอนปกติเนื่องจากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงานได้ต่อไปถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หรือ 2 ปี นับแต่วันที่การอนุญาตเดิมสิ้นสุด รวมทั้งขยายเวลาการหานายจ้างจาก 30 วัน เป็น 60 วัน ซึ่งทำให้แรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานกว่า 1 แสนคน ช่วยแก้ปัญหาให้นายจ้างที่ขาดแคลนแรงงาน และลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก และล่าสุดมติครม.เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา เห็นชอบให้กระทรวงแรงงานดำเนินการตรวจสถานที่ก่อสร้าง สถานประกอบการ โรงงาน และสถานที่ทำงาน เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขแก่นายจ้างและแรงงานต่างด้าว เป็นระยะเวลา 30 วัน เก็บตกแรงงาน 3 สัญชาติ ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

นายกฯ-ศบค. ไฟเขียว ก. แรงงาน ออกมาตรการเข้ม นำเข้าแรงงานต่างด้าว รองรับความต้องการภาคการผลิต

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผอ.ศบค. รับทราบและเห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน ตามที่กระทรวงแรงงานนำเสนอ เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการสามารถดำเนินกิจการ ซึ่งจะสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินกิจการทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน 

โดยมีมาตรการ ดังนี้
 1) ยื่นแบบคำร้องขอนำเข้าคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ โดยสามารถยื่นได้ที่กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ 1-10  
2) ส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งกรมการจัดหางานจะมีหนังสือแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านสถานทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศต้นทาง 
3) ประเทศต้นทางดำเนินการรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา และทำ Name List ส่งให้กรมการจัดหางานผ่านสถานทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทย และกรมการจัดหางานจัดส่ง Name List ให้กับนายจ้าง 
4) เตรียมเอกสารยื่นขอใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ได้แก่ หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 (ถ้ามี) หลักฐานการซื้อประกันสุขภาพบริษัทประกันภัย 4 เดือน โดยนายจ้างต้องแจ้งขึ้นทะเบียนประกันสังคม 
5) การอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ กรมการจัดหางานจะมีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทาง เพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร 

6) การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จะต้องแสดงเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ 
1. หนังสือยืนยันการอนุญาตให้เข้ามาทำงานพร้อมบัญชีรายชื่อ
 2. ผลตรวจโควิด-19 (วิธี RT-PCR) ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทางเข้ามา หรือผลรับรองการตรวจ ATK 
3. หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 (ถ้ามี) 
4. ตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร 2 ปี 
5. เดินทางไปยังสถานที่กักตัวโดยยานพาหนะที่แจ้งไว้ 7) สถานที่กักตัว กรณีฉีดวัคซีนครบโดส เข้ารับการกักตัวอย่างน้อย 7 วัน ขณะอยู่ในสถานกักตัวตรวจโรคโควิด-19 จำนวน 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 ไม่เกินวันแรกของการกักตัว ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7 ของระยะเวลากักตัว) กรณีฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์หรือยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข้ารับการกักตัวอย่างน้อย 14 วัน ขณะอยู่ในสถานที่กักตัวต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 ไม่เกินวันแรกของการกักตัว ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-13 ของระยะเวลาที่ถูกกักตัว กรณีตรวจโรคโควิด-19 พบเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาโรค โดยค่าใช้จ่ายนายจ้างและกรมธรรม์เป็นผู้รับผิดชอบ และ 8) เมื่อคนต่างด้าวกักตัวครบกำหนด นายจ้างต้องไปรับคนต่างด้าวมายังสถานที่ทำงาน เพื่อทำการอบรมผ่าน Video Conference และแจ้งเข้าทำงานขอรับในอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด

แรงงาน 3 สัญชาติ เฮ! ศบค. เคาะ นำเข้า MoU ตามกระทรวงแรงงานเสนอ 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 18/2564 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยกล่าวว่า กระทรวงแรงงานจะเปิดให้มีการนำเข้าแรงงานตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คาดว่าหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นายจ้างสามารถยื่นความต้องการจ้างแรงงานที่กรมการจัดหางานได้เลย 

โดยแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยต้องเข้ารับการกักตัว และตรวจหาเชื้อโควิด - 19 ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ต้องกักตัว 7 วัน หากฉีด 1 เข็ม หรือยังไม่เคยรับวัคซีน จะต้องกักตัว 14 วัน ระหว่างกักตัวจะมีการตรวจหาเชื้อโควิด ด้วยวิธี RT – PCR 2 ครั้ง โดยให้นายจ้าง/สถานประกอบการ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วยค่าสถานที่กักกัน วันละ 500 – 1,000 บาท และค่าตรวจหาเชื้อโควิด 2 ครั้ง รวม 2,600 บาท กรณีคนต่างด้าวติดเชื้อฯ นายจ้างหรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษา ซึ่งวันสุดท้ายของการกักตัวแรงงานต่างด้าวที่ยังรับวัคซีนไม่ครบเกณฑ์ จะได้รับการฉีดวัคซีนโดยกระทรวงแรงงานเป็นผู้จัดหาให้ ในส่วนของเข็มที่ 2 กระทรวงแรงงานจะประสานสาธารณสุขจังหวัดปลายทางเพื่อนัดหมายฉีดวัคซีนให้แก่แรงงานต่างด้าวตามกำหนด โดยนายจ้างจ่ายแค่ค่าบริการทางการแพทย์

“กระทรวงแรงงานได้รับข้อสั่งการจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้เตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้นายจ้าง และสถานประกอบการมีแรงงานที่เพียงพอในการขับเคลื่อนกิจการตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ แก้ไขปัญหาการลักลอบเข้าเมือง สามารถควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างเป็นระบบ และเพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้เข้าสู่ระบบการจ้างงานที่ถูกกฎหมาย เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจ สาธารณสุข ความมั่นคง และระบบการจ้างงานของประเทศ ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 มีค่าใช้จ่ายรวมในการนำเข้าฯ ระหว่าง 11,490 – 22,040 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน ประกอบด้วยค่าตรวจโควิด 2 ครั้ง 2,600 บาท ตรวจลงตราวีซ่า (2 ปี) 2,000 บาท ใบอนุญาตทำงาน (2 ปี) 1,900 บาท ตรวจสุขภาพ 6 โรค 500 บาท ค่าประกันสุภาพรวมโรคโควิด-19 (บริษัทประกันภัยเอกชน (4 เดือน)) 990 บาท ค่าบริการทางการแพทย์ (ฉีดวัคซีน) 50 บาท  และค่าสถานที่กักตัว (วันละ 500 – 1,000 บาท) กักตัว 7 วัน 3,500/7,000 บาท และกักตัว 14 วัน 7,000 – 14,000 บาท  โดยมีแนวทางการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ สั่งการเตรียมความพร้อมภาคแรงงาน เดินเครื่องเศรษฐกิจ เดินหน้า Factory Sandbox เฟส2 เปิดทางแรงงาน 3 สัญชาติ ตาม MOU ที่กระทรวงแรงงานเสนอ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึง แนวนโยบายตามข้อสั่งการของ พลเอกเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ให้แนวทางหลังรัฐบาลได้ขับเคลื่อนการเปิดประเทศ ซึ่งภาพรวมเป็นไปได้อย่างดี ทั้งนี้ ภาคแรงงานซึ่งเป็น หนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญ ที่จะทำให้ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยขับเคลื่อนไปได้อย่างสำเร็จ โดย นายกรัฐมนตรี ให้แนวทาง เดินหน้า โครงการ Factory Sandbox ระยะที่ 2 พร้อมเปิดทางให้ แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานเสริมทัพภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ตาม MOU ที่กระทรวงแรงงานเสนอให้พิจารณา

นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงแรงงานเดินหน้าโครงการ Factory Sandbox ในระยะที่ 2 เน้นการดำเนินการ ตามมาตรการ ตรวจ ควบคุม รักษา ดูแล  โดยขยายกรอบขอบเขตจังหวัด จากเดิมดำเนินการใน 4 จังหวัด เพิ่มเป็น 11 จังหวัด รวมได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ อีกทั้ง ปรับลดหลักเกณฑ์ขนาดสถานประกอบการ จากเดิม กำหนด 500 คนขึ้นไป เป็น 100 คนขึ้นไป  
 
นายธนกร กล่าวว่า นอกจากนี้ หลังการประชุมหลังประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 18/2564 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 กระทรวงแรงงานจะเปิดให้มีการนำเข้าแรงงานตาม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งคาดว่าหลังวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นายจ้างสามารถยื่นความต้องการจ้างแรงงานที่กรมการจัดหางานได้เลย โดยแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยต้องเข้ารับการกักตัว และตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วต้องกักตัว 7 วัน หากฉีด 1 เข็ม หรือยังไม่เคยรับวัคซีน จะต้องกักตัว 14 วัน ระหว่างกักตัวจะมีการตรวจหาเชื้อโควิด ด้วยวิธี RT – PCR 2 ครั้ง

โดยให้นายจ้าง/สถานประกอบการ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งประกอบด้วยค่าสถานที่กักกัน วันละ 500 – 1,000 บาท และค่าตรวจหาเชื้อโควิด2 ครั้ง รวม 2,600 บาท กรณีคนต่างด้าวติดเชื้อฯ นายจ้างหรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษา ซึ่งวันสุดท้ายของการกักตัวแรงงานต่างด้าวที่ยังรับวัคซีนไม่ครบเกณฑ์ จะได้รับการฉีดวัคซีนโดยกระทรวงแรงงานเป็นผู้จัดหาให้ ในส่วนของเข็มที่ 2 กระทรวงแรงงานจะประสานสาธารณสุขจังหวัดปลายทางเพื่อนัดหมายฉีดวัคซีนให้แก่แรงงานต่างด้าวตามกำหนด โดยนายจ้างจ่ายแค่ค่าบริการทางการแพทย์

รมว.แรงงานรับข้อสั่งการนายก เร่งนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MoU แก้ปัญหาขาดแรงงาน เริ่ม 1 ธ.ค. 64

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยและติดตามสถานการณ์ปัญหาลักลอบเข้าเมืองอย่างใกล้ชิด โดยมีข้อสั่งการให้กระทรวงแรงงานเตรียมวิธีการนำเข้าแรงงานตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว พร้อมกับเตรียมความพร้อมให้นายจ้าง และสถานประกอบการในประเทศมีแรงงานในกิจการเพียงพอ สอดรับกับการเปิดประเทศ 

“กระทรวงแรงงานรับข้อสั่งการท่านนายกรัฐมนตรี ขอยืนยันว่าขณะนี้มีความพร้อมที่จะนำเข้าแรงงานตาม MoU แล้ว โดยจะเปิดให้นายจ้างยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ (Demand) วันที่ 1 ธ.ค. 64 นายจ้างที่มีความพร้อมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานที่กักตัวสามารถดำเนินการได้ทันที โดยมีค่าใช้จ่ายรวมในการนำเข้าฯ ระหว่าง 11,490 – 22,040 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน ในส่วนคนต่างด้าวหากยังฉีดวัคซีนไม่ครบ กระทรวงแรงงานจะเป็นผู้จัดหาวัคซีน และฉีดให้ในวันสุดท้ายของการกักตัว และจะประสานสาธารณสุขจังหวัดปลายทางเพื่อนัดหมายฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แก่คนต่างด้าวด้วย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย 8 ขั้นตอนนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.นายจ้างยื่นแบบคำร้องกับสำนักงานจัดหางานในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ แบบ นจ.2 หนังสือแต่งตั้ง สัญญาจ้างงาน และเอกสารนายจ้าง
 
2.การจัดส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยกรมการจัดหางาน/สจจ. สจก. 1-10 มีหนังสือแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศ
ต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศต้นทาง

3. ประเทศต้นทางดำเนินการรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา และจัดทำบัญชีรายชื่อคนงานต่างด้าว (Name List) ส่งให้กรมการจัดหางานผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทาง
ประจำประเทศไทย และกรมการจัดหางานส่งให้นายจ้าง

4. นายจ้างที่ได้รับบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว (Name List) แล้วยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
   4.1 บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ประเทศต้นทางรับรอง 
   4.2 แบบ บต.31 หรือ บต.33 พร้อมเอกสารและหลักฐาน 
   4.3 หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อมาก่อนในช่วงไม่เกิน 3 เดือน
   4.4 หนังสือยืนยันการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการกักตัว ได้แก่ ค่าสถานที่กักกัน ค่าตรวจโรคโควิด-19 ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ารักษากรณีติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงกรณีป่วยฉุกเฉินหรือโรคอื่นระหว่างกักตัว/กรมธรรม์ที่คุ้มครองการรักษาโรคโควิด -19
   4.5 หลักฐานยืนยันว่ามีสถานที่กักตัวตามที่ราชการกำหนด
   4.6 หลักฐานที่ยืนยันว่ามียานพาหนะเพื่อรับคนต่างด้าวไปยังสถานที่กักตัว
   4.7 กรณีเข้าประกันสังคมซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัย 4 เดือน
   4.8 กรณีเข้าประกันสังคม นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน
  - ชำระค่าคำขอและค่าใบอนุญาตทำงาน (2 ปี) 1,900 บาท
  - วางเงินประกัน (กรณีนายจ้างดำเนินการด้วยตนเอง) หลักประกัน 1,000 บาท/คนต่างด้าว 1 คน

5. กรมการจัดหางานมีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทางของคนต่างด้าวเพื่อพิจารณาออกวีซ่า (Non - Immigrant L-A) ให้แก่คนต่างด้าวตามบัญชีรายชื่อ และหนังสือแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่นายจ้างได้แจ้งไว้ โดยจะอนุญาตให้นำเข้าตามจำนวนสถานที่
รองรับในการกักตัว 

6. เมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรต้องแสดงหนังสือยืนยันการอนุญาตให้เข้ามาทำงาน ใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าไม่เป็นโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR และ ATK (ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง) หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อในช่วงไม่เกิน 3 เดือน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เป็นระยะเวลา 2 ปี จากนั้นจึงเดินทางไปยังสถานที่กักตัว โดยยานพาหนะที่นายจ้างแจ้งไว้ (ไม่เดินทางร่วมกับบุคคลอื่น และหยุดพัก ณ สถานที่ใดๆ ก่อนถึงสถานที่กักกัน) 

'โฆษกรัฐบาล' เผย นายกฯ กำชับ ฝ่ายความมั่นคง-มหาดไทย-แรงงาน คุมเข้มแรงงานต่างด้าวทะลักเข้าไทย  เร่ง MOU แก้ปัญหาขาดแรงงานและการลักลอบเข้าเมือง เปิดลงทะเบียน  1 ธ.ค. นี้

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความเป็นห่วงคือปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าว ผิดกฎหมาย ซึ่งยังคงได้รับรายงานการจับกุมแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองอย่างต่อเนื่อง  จึงกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง เพิ่มความเข้มงวด สกัดกั้นขบวนการขนย้าย ค้าแรงงานต่างด้าวที่แอบลักลอบเข้าประเทศไทยตามแนวชายแดนและจุดเสี่ยงช่องทางธรรมชาติรอบด้านทุกช่องทาง

ล่าสุด กองกำลังสุรสีห์หน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้าร่วมกับชุดปฏิบัติการข่าวกองกำลังสุรสีห์หมวดป้องกันชายแดนที่ 1 กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 134 อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี  จับกุมแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่ลักลอบข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย จำนวน 47 คน กองกำลังบูรพา กรมทหารพรานที่ 12 กรมทหารพรานที่ 13 หน่วยเฉพาะกิจอรัญประเทศ  หน่วยเฉพาะกิจตาพระยา จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายชาวกัมพูชาได้ 35 คน  ทั้งหมดต้องการไปทำงานในกรุงเทพฯ สมุทรสาคร นครปฐม ปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา   

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาล เร่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยหนึ่งในสาเหตุหลัก คือ การขาดแคลนแรงงานในโรงงาน ก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงานดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี  นำเข้าแรงงานตาม MOU แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่  เมียนมา ลาว กัมพูชา  อย่างถูกกฎหภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้นายจ้างและสถานประกอบการในประเทศมีแรงงานในกิจการเพียงพอ ซึ่งจะเริ่มเปิดลงทะเบียนในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ ทั้งนี้ 8 ขั้นตอนนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามเอ็มโอยู ดังนี้ 

1.นายจ้างยื่นแบบคำร้องกับสำนักงานจัดหางานในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน 

2.การจัดส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยกรมการจัดหางาน สจจ. สจก. 1-10 มีหนังสือแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศต้นทาง 

3.ประเทศต้นทางดำเนินการรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา และจัดทำบัญชีรายชื่อคนงานต่างด้าว (Name List) ส่งให้กรมการจัดหางานผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทย และกรมการจัดหางานส่งให้นายจ้าง

4. นายจ้างที่ได้รับบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว (Name List) แล้วยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว 

5.กกจ.มีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทางของคนต่างด้าวเพื่อพิจารณาออกวีซ่า (Non – Immigrant L-A) ให้แก่คนต่างด้าวตามบัญชีรายชื่อ และหนังสือแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่นายจ้างได้แจ้งไว้ 

6.เมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรต้องแสดงหนังสือยืนยันการอนุญาตให้เข้ามาทำงาน ใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าไม่เป็นโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR และ ATK (ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง) หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อในช่วงไม่เกิน 3 เดือน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จะตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เป็นระยะเวลา 2 ปี 

7.คนต่างด้าวต้องเข้ารับตรวจสุขภาพ 6 โรคเป็นขั้นตอนแรก หากพบเป็นโรคต้องห้ามจะส่งกลับประเทศต้นทาง เพราะไม่สามารถอนุญาตให้ทำงานได้ตามกฎหมาย หากไม่พบเป็นโรคต้องห้ามจะเข้าสู่กระบวนการกักตัว และตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยวิธี RT – PCR 

8.คนต่างด้าวรับการอบรมผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอร์เร้นซ์ ณ สถานประกอบการ เมื่อผ่านการอบรมแล้ว คนต่างด้าวรับใบอนุญาตทำงาน โดยการอนุญาตให้ทำงานจะเริ่มจากวันที่คนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ให้เดินทางเข้ามาในประเทศ 

‘ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ’ กำชับทุกหน่วย!! เตรียมพร้อมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ปราบปรามแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติกำชับหน่วยงานในสังกัดขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการปราบปรามแรงงานต่างด้าว ตามมติ ครม. เมื่อ 28 ก.ย. 64 ให้นายจ้างและแรงงาน 3 สัญชาติ(ลาว กัมพูชา เมียนมา) ดำเนินการเข้าสู่กระบวนการจ้างงานตามกฎหมาย ภายในวันที่ 1-30 พ.ย.64 รวมถึงประสานงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมกลุ่มแรงงาน MOU นั้น

เนื่องด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเป็นระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างและสถานประกอบการที่ขาดแคลนแรงงาน พร้อมกับควบคุมมิให้เกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ อีกทั้งได้มีมติให้มีการตรวจสถานที่ประกอบการต่าง ๆ เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขแก่นายจ้างและแรงงานต่างด้าว รวมถึงให้นำแรงงานต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายเข้าสู่ระแบบการจ้างงานตามกฎหมายประเทศไทย เพื่อให้ได้รับการดูแลตามสิทธิที่พึงมี ภายในวันที่ 30 พ.ย. 64 หลังจากนั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีกับแรงงานต่างด้าวทำงานผิดกฎหมายอย่างจริงจัง

พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สนองนโยบายรัฐบาลโดยได้กำชับและสั่งการไปยังหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ให้ทำการประสานการปฎิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการประชาสัมพันธ์พร้อมสร้างการรับรู้ให้กับนายจ้างและแรงงาน 3 สัญชาติ( ลาว กัมพูชา เมียนมา) เพื่อให้มาดำเนินการภายในกำหนดตาม มติ ครม.  โดยหลังจาก 30 พ.ย.64 ให้ประสานการปฎิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการตรวจสอบสถานประกอบการ โรงงาน ที่พักคนงาน และพื้นที่สุมเสี่ยง ทำการสืบสวนปราบปราม จับกุมแรงงานต่างด้าวที่ทำงานโดยผิดกฎหมายและนายจ้างที่เกี่ยวข้อง  เพิ่มการกวดขันการตรวจตราการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย การลักลอบหลบหนีเข้าเมือง โดยให้ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยร่วมปฏิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่อย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง ตลอดจนขยายผลไปยังเครือข่ายผู้ร่วมกระทำความผิดทุกราย  พร้อมให้เจ้าหน้าที่ทุกนายปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามหลักยุทธวิธีตำรวจและถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ได้กำหนด

หากตรวจพบว่าพื้นที่ใดหย่อนยาน ปล่อยปละละเลย หรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้น จะถือว่าเป็นความบกพร่อง ต่อหน้าที่ อีกทั้งเน้นย้ำให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด ห้ามเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือเรียกรับผลประโยชน์ทุกกรณี ไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อมก็ตาม หากพบจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายและดำเนินการทางวินัยอย่างเด็ดขาดทุกราย

ผู้ที่ให้การช่วยเหลือหรือนำพาบุคคลต่างด้าวลักลอบข้ามพรมแดน จะมีโทษฐานเป็นบุคคลที่นำพาบุคคลต่างด้าวลักลอบหลบหนีเข้าเมืองซึ่งจะมีโทษจำคุก 10 ปี ปรับ 100,000 บาท แต่ถ้าเกิดมีการช่วยเหลือซ่อนเร้นคือบุคคลต่างด้าวนั้นเข้ามาหลบอยู่ในบ้านท่านหรือมีการอำนวยความสะดวกให้ขึ้นรถหรือว่ามีการหลบหลีกด่านตรวจต่างๆ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 50,000 บาท

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top