Wednesday, 22 May 2024
แรงงานต่างด้าว

‘ผบช.ภ.1’ ปล่อยแถวระดมกวาดล้าง ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์!!

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 16:00 น. ที่ลานจอดรถ ห้างแม็คโครคลองหลวง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค1 เป็นประธานปล่อยแถวเพื่อระดมกวาดล้างป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ 

โดยมี พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รองผบช.ภ.1 พล.ต.ต.ชุมพล ชาญชนะโยธิน ผบก.ภ.จว.ปทุมธานีพ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ มิตรปราสาท ผกก.สภ.คลองหลวง ว่าที่ร้อยตรี พิชญะ เพียราช ปลัดอำเภอคลองหลวง นำเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครอง สาธารณสุขเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม แรงงานจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ตำรวจสันติบาลจังหวัดปทุมธานี และตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดปทุมธานี เข้าร่วมปล่อยแถว 



ในเวลาต่อมา พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค1 พร้อมส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าตรวจสอบตลาดผลไม้ตลาดไท ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมี พ.ต.ต.สิรภพ บัวหลวง สว.สส.สภ.คลองหลวง พร้อมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ตลาดไท ให้การต้อนรับและนำตรวจแผงค้าผลไม้และพื้นที่ตลาดไทเนื้อที่กว่า 500 ไร่  

ด้านพล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค1 เปิดเผยว่า ตามนโยบายของรัฐบาลและผบ.ตร.ให้ดูแลเรื่องแรงงานต่างด้าวให้เข้มข้นตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมามีการเข้มงวดตรวจสอบแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในพื้นที่ประเทศไทยเข้ามาอย่างถูกต้องหรือไม่ มีการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมายหรือไม่การตรวจวันนี้มีการทำพร้อมกันทั้งจังหวัดปทุมธานี ทุกโรงพัก ว่าเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เข้าเมืองอย่างถูกต้องโดยถูกกฎหมายหรือไม่ 

“ประวิตร” ลุย สระแก้ว ตรวจศูนย์กักกันแรงงานต่างด้าว ย้ำ ให้คุมเข้มชายแดน-ป้องกันโควิด-ค้ามนุษย์

ณ ห้องประชุม โรงแรมอินโดจีน แกรนด์ เรสซิเดนท์ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการ ศูนย์กักกันที่รัฐกำหนด ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยรับฟังสถานการณ์ด้านความมั่นคง การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งภาพรวมในสถานการณ์ โควิด-19 พื้นที่ จ.สระแก้ว ซึ่งมีคนไทยเดินทางกลับผ่านแดน บ้านคลองลึก ช่วงเดือนเม.ย.-ธ.ค.64 จำนวน 5,011 คน จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย วันที่1-31ม.ค.65 จำนวน 1,088 คน มีผู้นำพา 12 คน และมีการช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอกลวงไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 497 คน เป็นต้น 

สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จังหวัดสามารถควบคุมสถานการณ์ ให้สงบได้ภายใน 21-28วัน และประชากรร้อยละ 70 ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19แล้ว ขณะที่ความพร้อมในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามเอ็มโอยู โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้จัดตั้งศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้างทั่วประเทศ จำนวน 5ศูนย์ เพื่อการนำแรงงานต่างด้าว 3สัญชาติ ได้แก่ศูนย์ จ.สระแก้ว รับสัญชาติกัมพูชา) ,ศูนย์ จ.ระนอง รับสัญชาติเมียนมา ศูนย์ จ.ตาก รับสัญชาติเมียนมา ,ศูนย์ จ.มุกดาหาร รับสัญชาติลาว) และศูนย์ จ.หนองคาย รับสัญชาติลาว

สำหรับศูนย์ จ.สระแก้ว แห่งนี้มีการเปิดดำเนินการแล้ว ตั้งแต่1ก.พ.65 มี6 ขั้นตอน เริ่มจากช่องทางเข้าผ่านแดนการคัดกรองโรคเบื้องต้น และออกเอกสารกักตัว ต่อด้วยจุดตรวจลงตรา(วีซ่า) จุดตรวจสัมภาระ จุดตรวจสิ่งผิดกฎหมาย และรับแรงงานไปยังสถานที่กักตัว ซึ่งเป็นสถานที่กักกันในรูปแบบองค์กร จำนวน 6แห่ง มีทั้งหมด 1,008 เตียง

ผลการจับกุมเครือข่าย ‘ขนแรงงานต่างด้าว’ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์  รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักในประเทศไทย กระทำความผิดกฎหมายและก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อภาพลักษณ์ของประเทศหรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวกับคนไทยหรือต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด

ภายใต้การอำนวนการ ของ พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์  สัจจพันธุ์  ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน  ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ ผบก.สส.สตม., พล.ต.ต.เดชา กัลยาวุฒิพงศ์ ผบก.ตม.4, พล.ต.ต.ประสงค์ เรืองเดช ผบก.ภ.จว.อำนาจเจริญ, พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.ยศวัจน์ งามสง่า รอง ผบก.ภ.จว.อำนาจเจริญ, พ.ต.อ.นิยม สีหาวัฒน์ ผกก.สภ.ชานุมาน, พ.ต.อ.พิษณุ สิทธิทูรย์ ผกก.สส.บก.ตม.4, พ.ต.ต.สมพร บัวหอม สว.ตม.จว.อำนาจเจริญ

โดยมีพฤติการณ์ คือ กก.4 บก.สส.สตม.ได้สืบทราบว่ากลุ่มคนไทยมีการลักลอบ นำรถตู้ขนคนลาวที่ลักลอบเช้าไทย โดยนั่งเรือหายางผ่านแม่น้ำโขงขึ้นฝั่งช่องทางธรรมชาติข้ามมาฝั่งไทยเขต จ.อำนาจเจริญ และรับคนลาวเข้ามาในพื้นที่ชั้นใน เขต กทม. และปริมณฑล

กก.4 บก.สส.สตม.จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ทำการสืบสวนจนทราบว่า จะมีนายหน้าฝั่งลาวได้นำชาวลาวข้ามมาขึ้นช่องธรรมชาติฝั่ง จ.อำนาจเจริญ จึงได้วางแผนเข้าสกัดจับตามเส้นทางถนนสายรอง และสามารถจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ที่ หน้าวัดจินดามณี ถนนภายในหมู่บ้านเมืองเก่า ตำบล คำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จว.อำนาจเจริญ ผลการจับกุมปรากฏดังนี้

1.ผู้ต้องหาคนลาวหลบหนีเข้าเมือง จำนวน 17 คน หญิง 7 คน ชาย 10 คน ข้อหา "เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย"

2.จับกุม นาย วันชนะ สัญชาติไทย กับพวก รวม  3 คน ข้อหาร่วมกันนำพาบุคคลต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย

3.รถตู้ยี่ห้อ โตโยต้า จำนวน 2 คัน นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย   

จากการสืบสวนขยายผลพบว่า กลุ่มเครือข่ายขนแรงงานต่างด้าวมีการติดต่อกับนายหน้าฝั่งลาว โดยนั่งข้ามแม่น้ำโขง ขึ้นท่า อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งทางนายหน้าฝั่งลาวจะนัดแนะกลุ่มผู้ต้องหา จุดนัดหมายริมฝั่งโขงและขึ้นรถตู้โดยคิดค่าหัว หัวละ 12,000 บาท โดยกลุ่มเครือข่ายผู้ต้องหาจะใช้เส้นทางรองเพื่อเลี่ยงการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไปตามหมู่บ้าน แล้วใช้เส้นทางหลักในการเดินทาง

คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการสืบสวนขยายผล เส้นทางการเงิน สมาชิกผู้ร่วมขบวนการที่เหลืออยู่ นายหน้า รับขนส่งคนทั้งฝั่งไทยและฝั่ง สปป.ลาว

'รมว. แรงงาน' แนะนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าว ตามมติ 28 ก.ย. 64 ชำระค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 15 มี.ค. 65

วันที่ 10 มีนาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า มีความห่วงใยนายจ้าง/สถานประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว ตามมติ 28 ก.ย. 64 หลังตรวจสอบพบนายจ้างยังไม่มาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน จำนวน 19,489 ราย ครม.จึงมีมติเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 65 เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องให้นายจ้างสามารถดำเนินการได้ทันตามกำหนด ซึ่งหากยังไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มี.ค. 65 จะส่งผลให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มดังกล่าว ไม่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ และกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย โดยนายจ้าง/สถานประกอบการ ต้องชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 1,350 บาท ไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม 2565 ณ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 -10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของคนต่างด้าว

“การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวโดยคำนึงถึงการรักษากำลังแรงงาน ซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญของนายจ้าง สถานประกอบการ และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูประเทศ ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขับเคลื่อนได้ต่อไป ทั้งในสถานการณ์ที่เป็นอยู่และภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย เป็นสิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน เน้นย้ำมาโดยตลอด ซึ่งผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ขอฝากถึงนายจ้างให้ดำเนินการตามขั้นตอนภายในระยะเวลาที่กำหนด เห็นความสำคัญของการจ้างแรงงานถูกกฎหมาย คนต่างด้าวได้รับความคุ้มครองและมีสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ การคุ้มครองตามสิทธิที่พึงได้รับ”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

'ทิพานัน' แจ้งนายจ้างเร่งยื่น Name List เผยนายกให้ความสำคัญ ลดปัญหาขาดแรงงาน

'ทิพานัน' เตือนนายจ้าง-สถานประกอบการเร่งยื่น Name List จ้างแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ ภายใน (15 ส.ค.) เผยนายกฯ เห็นความสำคัญแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย ลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน คุ้มครองสิทธิ-สวัสดิการ ชี้เป็นกลไกฟื้นฟูเศรษฐกิจ-ประเทศชาติ

ทิพานัน ศิริชนะ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ (5 กรกฎาคม 2565) ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบ เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงขอให้นายจ้างและสถานประกอบการ ดำเนินการยื่นรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงาน 4 สัญชาติ ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2565 นี้ ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 7 วันเท่านั้น เพื่อให้แรงงานต่างด้าวสามารถอยู่และทำงานต่อในไทยได้อีกจนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยเมื่อนายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว หรือ Name list ต่อกรมการจัดหางานผ่านระบบอนุญาตทำงานคนต่างด้าวทางอิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์ e-workpermit.doe.go.th แล้ว ต้องยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวภายใน 60 วัน หลังยื่น Name List และชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 900 บาท ให้คนต่างด้าวใช้ใบรับคำขอดังกล่าวคู่กับใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าคนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้ทำงานได้จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งหลังดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นจะทำงานและอยู่ได้ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2566 หากต้องการทำงานต่อไปให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ โดยนายทะเบียนจะอนุญาตให้ทำงานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เช่นเดียวกัน
.

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ เปิดอบรมเสริมความรู้คดีค้ามนุษย์กับพนักงานสอบสวนและทีมสหวิชาชีพ

วันนี้ (15 ส.ค. 65) เมื่อเวลา 11.00 น. พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร.พร้อมด้วย พล.ต.ต.วันไชย เอกพรพิชญ์ รอง ผบช.ภ.8 , พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์ โชคชัย รอง ผบช.ทท. พนักงานสอบสวนและทีมสหวิชาชีพ ร่วมพิธีเปิดการโครงการอบรมสัมมนา พนักงานสอบสวนและทีมงานสหวิชาชีพจากกระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคุ้มครองแรงงานแก่คนต่างด้าวและป้องกันการละเมิดสิทธิตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์ รุ่นที่ 2 ระยะที่ 2  ณ โรงแรมเครปพันวา จ.ภูเก็ต

การอบรมสัมมนาในครั้งนี้เป็นนโยบายของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ที่ให้ความสำคัญในการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย อยู่ในระดับมาตรฐานสากล หลังจากประเทศไทยได้รับการปรับระดับในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์  (TIP) ประจำปี 2022  เมื่อวันที่ 19 ก.ค.65 จากระดับ “เทียร์ 2 ที่ต้องถูกจับตามอง (Tier 2 Watch List) ขึ้นมาเป็น เทียร์ 2 (Tier 2) ส่งผลให้เศรษฐกิจในภาคประมงและแรงงานของไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน

‘สุชาติ’ เตือน นายจ้าง มีโทษหนัก ใช้แรงงานต่างด้าวลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย

กระทรวงแรงงานเตือนนายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายจ้างคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หากทำผิดซ้ำมีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท ถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทาง

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับให้กระทรวงแรงงานบริหารจัดการการทำงานของแรงงานข้ามชาติ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 คลี่คลาย โดยคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจ และความสำคัญของกำลังแรงงานอันเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการฟื้นฟูประเทศ ซึ่งกระทรวงแรงงานมีการปรับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับให้ยืดหยุ่นสอดคล้องตามสถานการณ์จริง โดยมุ่งหวังให้นายจ้าง สถานประกอบการ และแรงงานข้ามชาติ ปฏิบัติตามมติครม.ในคราวต่าง ๆ ที่อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติอยู่และทำงานได้เป็นการชั่วคราว แต่ในปัจจุบันยังพบเห็นการลักลอบเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวอยู่เนือง ๆ กระทรวงแรงงานจึงดำเนินการบูรณาการร่วมกับฝ่ายความมั่นคง ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง จัดชุดเฉพาะกิจตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดี คนต่างด้าว นายจ้าง/สถานประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบทำงานของคนต่างด้าวผิดกฎหมาย เพื่อป้องปรามมิให้กระทำความผิดและลงโทษผู้กระทำความผิดให้เกิดความหลาบจำไม่กระทำผิดซ้ำอีก

'ตำรวจ' ปลอมตัวเป็น นทท. บุกข้าวสาร รวบแก๊งเมียนมา ลอบเข้าเมือง เปิดร้านขายโรตี-เคบับ แย่งอาชีพคนไทย

(8 ก.พ. 66) ว่าที่ พ.ต.อ.กาจภณ ปฐมัง ผกก.สืบสวน บก.ตม.1 ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าภายในถนนข้าวสารและซอยรามบุตรี แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ว่ามีคนต่างด้าวจำนวนมาก มาเปิดร้านในลักษณะรถเข็น ขายโรตีและเคบับ ซึ่งเป็นอาชีพต้องห้าม แย่งอาชีพคนไทย

ต่อมาวันที่ 7 ก.พ. 66 จึงสั่งการให้ พ.ต.ท.สุริยะ พ่วงสมบัติ รอง ผกก.สืบสวน บก.ตม.1 ตรวจสอบ และประชุมวางแผน เพื่อดำเนินการเข้าตรวจสอบจับกุม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สืบสวน บก.ตม.1 อำพรางตัวเป็นนักท่องเที่ยวเข้าไปตรวจสอบตามที่ประชาชนให้เบาะแส พบว่าภายในซอยรามบุตรีมีคนต่างด้าวมาเปิดร้านขายโรตีและเคบับจำนวนหลายร้าน จึงแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พร้อมแสดงบัตรประจำตัวให้คนต่างด้าวดู

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบนั้น คนต่างด้าวหลายรายไหวตัวทันและวิ่งหลบหนีไป ทิ้งไว้เพียงรถเข็นขายของ จึงควบคุมตัวคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาไว้ได้ 11 ราย ได้แก่

1.) นายทะอ่อง อายุ 21 ปี, 2.) นาย โมยัมเอ อายุ 20 ปี, 3.) นาย ฮงทาย อายุ 33 ปี, 4.) นายอู อายุ 25 ปี, 5.) นาย โทเร อายุ 19 ปี, 6.) นาย มีโส อายุ 30. ปี, 7.) นาย ออจุน อายุ 33 ปี, 8.) น.ส.เลเนวี อายุ 29 ปี, 9.) น.ส.สาเน ทุย อายุ 33 ปี, 10.) น.ส.แวว อายยุ 46 ปี และ 11.) น.ส.มูมู อายุ 28 ปี

ซึ่งระหว่างการตรวจสอบคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาทั้ง 11 ราย ไม่สามารถแสดงเอกสารหนังสือเดินทางและใบอนุญาตทำงานให้เจ้าหน้าที่ดูได้

ทั้งนี้ การเร่ขายสินค้านั้นเป็นงานต้องห้าม คนต่างด้าวไม่สามารถทำได้ อันเป็นความผิดตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ทั้งหมดยอมรับว่าได้ลักลอบเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางพรมแดนที่ติดกับประเทศไทย และเข้ามาเปิดร้านขายโรตีและเคบับ รวมถึงสินค้าอื่น ๆ โดยมีลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีรายได้เฉลี่ยต่อวันยังไม่หักต้นทุนถึง 1,000-1,500 บาท สร้างความเดือดร้อนให้คนไทยที่ค้าขายอย่างถูกต้องในบริเวณดังกล่าวเป็นอย่างมาก

‘เสี่ยเฮ้ง’ สั่งตรวจเข้ม ‘ต่างชาติแย่งอาชีพคนไทย’ ย้ำ!! ตรวจเจอ จับดำเนินคดี ไม่มีข้อยกเว้น

(14 ก.พ. 66) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงคนไทยถูกแรงงานต่างชาติแย่งงาน แย่งอาชีพ จึงสั่งการให้กระทรวงแรงงานบริหารจัดการแรงงานต่างชาติในประเทศไทยอย่างรอบคอบ เป็นระบบ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานต่างชาติที่แย่งอาชีพคนไทย ซึ่งตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไม่เคยนิ่งนอนใจ ได้กำชับให้กรมการจัดหางานติดตามตรวจสอบและดำเนินคดีแรงงานต่างชาติที่ทำงานผิดกฎหมายหรือแย่งอาชีพคนไทยอย่างใกล้ชิด ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 13 กุมภาพันธ์ 2566 มีการเข้าตรวจสอบสถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างชาติทั่วประเทศแล้ว จำนวน 14,104 แห่ง ดำเนินคดี 500 แห่ง และตรวจสอบคนต่างชาติ จำนวน 196,402 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 145,764 คน, กัมพูชา 32,916 คน, ลาว 10,181 คน, เวียดนาม 103 คน และสัญชาติอื่น ๆ 7,438 คน มีการดำเนินคดีทั้งสิ้น 1,143 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 629 คน, กัมพูชา 175 คน, ลาว 187 คน, เวียดนาม 49 คน, และสัญชาติอื่น ๆ 103 คน ซึ่งพบเป็นการแย่งอาชีพคนไทย ทั้งสิ้น 600 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 264 คน, กัมพูชา 121 คน, ลาว 97 คน, เวียดนาม 39 คน, อินเดีย 51 คน และสัญชาติอื่น ๆ 28 คน โดยอาชีพที่พบคนต่างชาติแย่งอาชีพมากที่สุด ได้แก่ งานเร่ขายสินค้า งานตัดผม งานขับขี่ยานพาหนะ และงานนวด ตามลำดับ

“พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระบุว่า คนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือสิทธิที่จะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท และนายจ้าง/สถานประกอบการ ที่รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน หรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 - 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งกระทรวงแรงงานจะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดโดยไม่มีข้อยกเว้น” รมว.แรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ มีทั้งสิ้น 40 งาน เป็นงานห้ามคนต่างด้าวทำเด็ดขาด 27 งาน ตามบัญชีที่ 1 ได้แก่ 
1.งานแกะสลักไม้ 
2.งานขับขี่ยานยนต์ ยกเว้นงานขับรถยก (Forklift) 
3.งานขายทอดตลาด 
4.งานเจียระไนเพชร/พลอย 
5.งานตัดผม/เสริมสวย 
6.งานทอผ้าด้วยมือ 
7.งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ฟาง ไม้ไผ่ ขนไก่ เส้นใย ฯลฯ 
8.งานทำกระดาษสาด้วยมือ 
9.งานทำเครื่องเขิน 
10.งานทำเครื่องดนตรีไทย 
11.งานทำเครื่องถม 
12.งานทำเครื่องทอง/เงิน/นาก 
13.งานทำเครื่องลงหิน 
14.งานทำตุ๊กตาไทย 
15.งานทำบาตร 
16.งานทำผ้าไหมด้วยมือ 
17.งานทำพระพุทธรูป 
18.ทำร่มกระดาษ/ผ้า 
19.งานนายหน้า/ตัวแทน 
20.งานนวดไทย
21.งานมวนบุหรี่ 
22.งานมัคคุเทศก์ 
23.งานเร่ขายสินค้า 
24.งานเรียงอักษร 
25.งานสาวบิดเกลียวไหม 
26.งานเลขานุการ 
และ 27.งานบริการทางกฎหมาย 

'แก๊งขนเขมร' ห้าว ยิงปืนสกัด 'ทหารพราน' ขณะบุกรวบแรงงานเถื่อน จนท.เร่งล่าตัวด่วน

(22 ก.พ. 66) พล.ต.สราวุธ ไชยสิทธิ์ ผู้บัญชาการกองกำลังบูรพา สั่งการให้ พ.อ.ปิยะเณศร์ ภัทรศาศวัตวงษ์ ผู้บังคับการชุดควบคุมกรมทหารพรานที่ 12 (ผบ.ชค.กรม.ทพ.12) นำกำลังกองร้อยทหารพรานที่ 1204 ร่วมกับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 112 (ฉก.ร.112) ออกลาดตะเวนป้องกันและสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา บริเวณท้ายหมู่บ้านกุดผือ ตำบลโนนหมากมุ่น อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว หลังสืบทราบว่า จะมีแรงงานกัมพูชาลักลอบเข้ามาในประเทศไทยตามช่องทางธรรมชาติ บริเวณชายแดนท้ายหมู่บ้านกุดผือ

ต่อมาชุดปฏิบัติการ ร่วมฯ ได้ตรวจพบกลุ่มบุคคลต้องสงสัยกลุ่มใหญ่ เดินเท้าฝ่าความมืดลักลอบข้ามตะเข็บชายแดนช่องทางธรรมชาติ จากฝั่งกัมพูชาเข้ามาในประเทศไทย ระหว่างจุดตรวจ จต.ส. 41 - จต.ส. 42 แล้วเดินลัดเลาะมาตามไร่อ้อยของชาวบ้าน เพื่อข้ามถนนศรีเพ็ญ ซึ่งเป็นถนนเลียบแนวชายแดนท้ายหมู่บ้านกุดผือ เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวขอตรวจสอบ แต่ถูกบุคคลคาดว่าเป็นคนไทยแก๊งลักลอบขนแรงงานเถื่อนที่นำพาแรงงานกัมพูชา ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ยิงขึ้นฟ้าประมาณ 3-4 นัด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top