Saturday, 18 May 2024
แรงงานต่างด้าว

ผู้ตรวจฯ ก.แรงงาน ติดตามผลการปฏิบัติงานการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวจังหวัดลำพูน

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30 น. นางดรุณี นิธิทวีกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดลำพูน เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดลำพูน โดยมี นายวิชิต อินทรเจริญ ผู้ตรวจราชการกรม กรมการจัดหางาน นายสมชาย เอื้อจารุพร ผู้ตรวจราชการกรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3B ศูนย์ราชการกระทรวงแรงงานจังหวัดลำพูน ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

ไม่ให้ตั้งตัว!! ‘เสี่ยเฮ้ง’ แถลงกวาดล้างต่างชาติแย่งอาชีพคนไทย สุ่มตรวจทั่วประเทศกว่า 2 แสนราย พบกระทำผิดอื้อ!!

(13 มี.ค.66) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากกรณีพบคนต่างชาติเร่ขายสินค้า ตามแหล่งท่องเที่ยวและย่านการค้าซึ่งเป็นที่นิยมทั้งในกลุ่มชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ จนกระทบต่อบรรดาผู้ประกอบการในพื้นที่ นั้น พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทราบเรื่องแล้วรู้สึกห่วงใยพ่อค้าแม่ค้าคนไทยจะถูกแรงงานต่างชาติแย่งอาชีพครไทย แย่งรายได้อย่างมาก จึงสั่งการให้กระทรวงแรงงานกวาดล้างแรงงานต่างชาติที่แย่งอาชีพคนไทย รวมถึงแรงงานต่างชาติที่ทำงานผิดกฎหมาย ไม่มีใบอนุญาตทำงาน โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น ซึ่งตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรับข้อสั่งการแล้วไม่เคยนิ่งนอนใจ ใช้มาตรการลงพื้นที่สุ่มตรวจโดยไม่แจ้งล่วงหน้าในทุกจังหวัด 

“จากผลการดำเนินการปีงบประมาณ 2566 (วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 12 มีนาคม 2566) มีการเข้าตรวจสอบสถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างชาติทั่วประเทศแล้ว จำนวน 18,966 แห่ง ดำเนินคดี 685 แห่ง และตรวจสอบคนต่างชาติ จำนวน 240,918 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 177,134 คน กัมพูชา 40,750 คน ลาว 12,311 คน เวียดนาม 140 คน และสัญชาติอื่น ๆ 10,583 คน มีการดำเนินคดีทั้งสิ้น 1,550 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 846 คน กัมพูชา 245 คน ลาว 269 คน เวียดนาม 65 คน และสัญชาติอื่น ๆ 125 คน ซึ่งพบเป็นการแย่งอาชีพคนไทย ทั้งสิ้น 883 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 392 คน กัมพูชา 195 คน ลาว 139 คน เวียดนาม 55 คน อินเดีย 68 คน และสัญชาติอื่น ๆ 34 คน โดยอาชีพที่พบคนต่างชาติแย่งอาชีพมากที่สุด ได้แก่ งานเร่ขายสินค้า งานตัดผม งานขับขี่ยานพาหนะ และงานนวด ตามลำดับ” รมว.แรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดี คนต่างด้าวทำงานผิดกฎหมายฯ ของกรมการจัดหางาน และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ รับข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปูพรมตรวจสอบทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวหลัก ทั้งกรุงเทพมหานคร ภูเก็ต สมุย พัทยา เชียงใหม่ ที่เป็นแหล่งประกอบอาชีพของคนไทย และย่านการค้าแหล่งเศรษฐกิจสำคัญที่พบเห็นแรงงานต่างชาติทำงานจำนวนมาก อย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อาทิ เยาวราช ห้วยขวาง ปากคลองตลาด และจังหวัดปริมณฑล อาทิ สมุทรสาคร นครปฐม สระบุรี ปทุมธานี ซึ่งหากตรวจสอบพบมีความผิดจะดำเนินคดีตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่มีข้อยกเว้น 

สตม.จับนายหน้ารถตู้ขนแรงงานต่างด้าวหลบหนีหมายจับนาน 5 ปี นำส่งชายแดนไทย-พม่า โดยฝ่าฝืนกฎหมาย พร้อมก่อเหตุลักทรัพย์นายจ้างกว่า 200,000 บาท 

กก.4 บก.สส.สตม. จับกุม นายอ่อง (นามสมมติ) อายุ 33 ปี สัญชาติเมียนมา ผู้ต้องหาตามหมายจับ     ศาลจังหวัดระนอง ที่ จ.136/2564 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ต้องหากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใดๆ ให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายพ้นจากการจับกุม ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558 นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.ปากจั่น จว.ระนอง ดำเนินคดีตามกฎหมาย สถานที่จับกุมบริเวณบ้านพักริมคลองบางบอน แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564  เวลาประมาณ 05.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร ได้ร่วมกันจับกุมตัวผู้ขับขี่รถพยาบาล 2 ราย โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันช่วยเหลือ ซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใดๆ ให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายพ้นจากการจับกุม, และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558” พร้อมจับกุมตัวแรงงานชาวเมียนมาจำนวน 10 คน โดยกล่าวหาว่า “เป็นคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558”

จากการสอบถามผู้ขับขี่ ให้การรับสารภาพว่าเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564  ได้รับจ้างขนแรงงานชาวเมียนมา ให้กับนายอ่อง โดยได้ขับรถไปรับนายอ่องในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อไปรับแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดระนอง บริเวณ ปากซอยก่อนถึงโรงแรมแห่งหนึ่ง ประมาณ 100 เมตร และได้ร่วมเดินทางกลับพร้อมแรงงานต่างด้าว เมื่อมาถึงสี่แยกไฟแดง อ.กระบุรี จว.ระนอง นายอ่องขอลงรถอ้างว่าจะกลับไปบ้านที่ย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา และได้หลบหนีไป ต่อมาศาลจังหวัดระนองได้อนุมัติหมายจับ ที่ จ.136/2564 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ให้จับนายอ่องในความผิดฐาน “ร่วมกันช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใดๆ ให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายพ้นจากการจับกุม ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558”

จากการสืบสวนของ กก.4 บก.สส.สตม. สืบทราบว่านายอ่อง ได้เข้ามาในประเทศไทยและได้มาพักอาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ จึงได้ทำการสืบสวนจนทราบว่านายอ่อง ได้พักอาศัยอยู่ที่ห้องเช่าแห่งหนึ่งย่านบางบอน จึงได้ทำการเฝ้าติดตามจนกระทั่งพบตัวนายอ่อง จึงได้ทำการจับกุมตามหมายจับดังกล่าว ในเบื้องต้นนายอ่องได้รับสารภาพว่าในช่วงที่ประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตนได้ทำหน้าที่เป็นนายหน้า ในการนำแรงงานชาวเมียนมาเข้ามายังประเทศไทย ผ่านชายแดนจังหวัดระนอง และจัดหารถตู้วิ่งรับและนำแรงงานชาวเมียนมาเข้ามาในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและกรุงเทพฯ ได้ค่าจ้าง ประมาณ 10,000 บาท/คน ซึ่งรายได้ค่อนข้างดี จึงได้เป็นนายหน้าในการหาคนเข้ามาทำงานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้นำตัวส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป  

บก.สส.สตม. ได้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่านายอ่องได้ก่อเหตุลักทรัพย์นายจ้าง เหตุเกิดในพื้นที่ สน.ทุ่งมหาเมฆ ไปจำนวนหลายครั้ง ความเสียหายกว่า 2 แสนบาท จึงได้ประสาน สน.ทุ่งมหาเมฆ เพื่อทำการอายัดตัวผู้ต้องหารายดังกล่าวต่อไป

'รัดเกล้า' เผย!! ครม.เห็นชอบร่างประกาศฯ คนต่างด้าวทำงานในไทย โฟกัส!! กลุ่มกิจการในเรือประมง ขยายเวลายื่นขออนุญาตได้ตลอดปี

(2 เม.ย.67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี / รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ ร่างประกาศ 2 ฉบับ คือ ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการออกหนังสือคนประจำเรือว่าด้วยการประมง โดย สาระสำคัญ มีการแก้ไขคุณสมบัติคนต่างด้าวที่จะยื่นหนังสือเป็นคนประจำเรือ รวมถึงแก้ไขระยะเวลาในการยื่นขออนุญาตได้ตลอดทั้งปี จากเดิมที่ 2 ช่วง คือ กำหนด 1 เม.ย.- 30 มิ.ย. และ 1 ก.ย.- 30 พ.ย. และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าว 4 สัญชาติ ได้แก่ กัมพูชา, ลาว, เมียนมา, เวียดนาม ที่ได้รับอนุญาตทำงานในราชอาณาจักรไทย เป็นกรณีพิเศษ ในกิจการประมง 

ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการแรงงานประมงได้รับการจ้างงานอย่างถูกกฎหมาย โดยให้ยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือเป็นกรณีพิเศษหรือ ได้ตลอดปี และในอนาคตนอกเหนือจาก 4 สัญชาติ สามารถจะมาทำงานดังกล่าวได้ ทั้งนี้กรมประมงได้เปิดรับฟังความคิดเห็นรวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากกฎหมายดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

"นายกฯ สั่งการให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจสอบให้เกิดความเรียบร้อย โดยเรื่องของการแก้ไขปัญหาประมงในระยะยาว มอบหมายให้คณะกรรมการประมงแห่งชาติ ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นประธานไปศึกษาการแก้ปัญหาต่อไป" รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top