Saturday, 18 May 2024
เศรษฐกิจใหม่

“หัวหน้าเศรษฐกิจใหม่” แจงหลัง “มิ่งขวัญ” ลาออกกลางสภาฯ เผย ร่วมรัฐบาล เหตุจุดยืนเรื่องปกป้องสถาบัน ยัน ไม่ได้รับกล้วย 

ที่รัฐสภา นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ แถลงกรณีนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ ประกาศลาออกกลางสภาฯ ว่า พรรคให้เกียรติสมาชิกพรรคและ ส.ส. ทุกคน การจะขับใครออกต้องมีความผิดชัดเจน ไม่ใช่อยู่ดีๆ มาขอร้องให้ขับก็จะขับได้ แต่จะต้องมีการกระทำความผิด ดังนั้นเราจึงไม่ได้ขับออก ส่วนเหตุผลที่ตัดสินใจเข้าร่วมพรรครัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมาก็ทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างเต็มที่ แต่พอดำเนินงานไปแล้วมีปัญหาเรื่องจุดยืนในการปกป้องสถาบัน จึงกลับมาพูดคุยกับสมาชิกพรรค ซึ่งจุดยืนของพรรคคือปกป้องสถาบัน ถ้าเราเพิกเฉยจะไม่ถูกต้อง กรรมการบริหารพรรคจึงมีมติมาร่วมรัฐบาลเพื่อปกป้องสถาบัน และอีกเหตุผลหนึ่ง คือ การเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่สามารถเอานโยบายมาปฏิบัติจริงได้ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจที่เป็นนโยบายของพรรค เราจึงคิดว่าถ้ามาร่วมรัฐบาลก็จะสามารถผลักดันนโยบายต่างๆ ของพรรคมาสู่การปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือประชาชนได้ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า เรื่องรถยนต์ดัดแปลง เขตเศรษฐกิจพิเศษ และผู้ลี้ภัยสงคราม

นายมนูญ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตอนนี้การทำงานของรัฐบาลจะมีปัญหามาก โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ การจัดเก็บภาษีลดลง รายได้ของประชาชนน้อยลง ผู้ประกอบการหลายรายปิดธุรกิจ ซึ่งตนได้ปรึกษากับนายกรัฐมนตรีว่า นโยบายเศรษฐกิจต้องได้รับการแก้ไข ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะถ้าเศรษฐกิจไม่กระเตื้อง เราก็เยียวยาไม่ไหว จุดยืนของพรรคคือต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ด้วยข้อจำกัดในการเก็บรายได้ของภาครัฐที่ไม่สามารถจัดเก็บได้ เราก็พยายามผลักดันให้รัฐนำเงินที่มีอยู่มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราพยายามประคับประคองเสถียรภาพของรัฐบาล ตอนนี้ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ต้องประสบปัญหาเรื่องการจัดเก็บภาษีเหมือนกันหมด เราจึงพยายามผลักดันให้รัฐบาลส่งเสริมธุรกิจใหม่ๆ และพืชเศรษฐกิจ

รัฐบาลพลิกโฉมประเทศไทยสู่ 'เศรษฐกิจใหม่' ปัก 7 หมุดเพื่ออนาคต เสริมแกร่งประเทศระยะยาว

รัฐบาลตั้งทรงไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนระดับภูมิภาค ด้วยยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) พร้อมปักธง 7 หมุดหมายแห่งอนาคต เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศในระยะยาว

(19 ต.ค. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ด BOI) ครั้งล่าสุด ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฯ ได้เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อปรับโครงสร้างไปสู่ 'เศรษฐกิจใหม่' เพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน เสริมสร้างสถานะของไทยในฐานะศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า และโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการเดินหน้าส่งเสริมการลงทุนอย่างรอบด้าน ทั้งการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อกับสถานการณ์และความท้าทายที่เกิดในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ดำเนินการได้ตามแผนและเป้าหมายที่กำหนดไว้

นายอนุชา กล่าวว่า ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่นี้ มุ่งเสริมสร้างการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศตามแนวคิดหลัก 3 ประการ คือ 

- Innovative เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์  
- Competitive เป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถปรับตัวเร็ว และสร้างการเติบโตสูง 
- Inclusive เป็นเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งการสร้างโอกาส และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ

โดยมี 7 หมุดหมายสำคัญ ได้แก่ การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยยกระดับอุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีความโดดเด่น ควบคู่กับการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ที่ไทยมีศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งของ Supply Chain เร่งเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่ Smart & Sustainability ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศและประตูการค้าการลงทุนของภูมิภาค ส่งเสริม SMEs และ Startup ให้เข้มแข็งและเชื่อมต่อกับโลก ส่งเสริมการลงทุนตามศักยภาพพื้นที่ เพื่อสร้างการเติบโต อย่างทั่วถึง ส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม และส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีศักยภาพให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ 

ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะใช้เครื่องมือสำคัญ 3 ด้าน เพื่อขับเคลื่อน 7 หมุดหมายให้บรรลุผลสำเร็จ คือ สิทธิประโยชน์ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี การบริการแบบครบวงจรทั้งก่อนและหลังการลงทุน การสร้างระบบนิเวศและปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการลงทุน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top