Sunday, 5 May 2024
สื่อมวลชน

“บิ๊กตู่” อวยพรสื่อมวลชนเนื่องในโอกาสปีใหม่ ในฐานะสื่อกลางที่มีคุณภาพ และรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณของสื่อมวลชน เพื่อความรักสามัคคีของคนไทย” 

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อวยพรเนื่องในโอกาสเทศกาลวันขึ้นปีใหม่แทนการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2565 ที่จะมาถึงนี้ ผมขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้อำนวยพรให้สื่อมวลชนทุกท่าน ทุกแขนง มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่แข็งแรง ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งไว้ และเป็นส่วนสำคัญในการนำพาประเทศชาติ และประชาชน เดินไปข้างหน้า อย่างมั่นคง และยั่งยืน ในฐานะสื่อกลางที่มีคุณภาพ และรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณของสื่อมวลชน เพื่อความรักสามัคคีของคนไทย” 

จันทบุรี - สานสัมพันธ์สื่อมวลชน! ภาคเหนือ - ภาคตะวันออก เพื่อการท่องเที่ยว พร้อมจัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างทีมสื่อมวลชนจันทบุรี และสื่อมวลชนจังหวัดเชียงใหม่

สื่อมวลชนภาคตะวันออก นำโดย นางสุภาภรณ์ นิยมกิจ นายกสมาคมสื่อมวลจังหวัดจันทบุรี / นายสมนึก วิสุทธิ์ ที่ปรึกษานายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดจันทบุรี และประธานชมรมสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคตะวันออก ได้นำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่ภาคตะวันออก เดินทางมาที่ ศูนย์ข่าว นิวส์ 24 ภาคเหนือ เลขที่ 29/2 ม.3 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยมี นายส่งศักดิ์ พรมเอี่ยม หัวหน้าศูนย์ข่าว นิวส์ 24 ภาคเหนือ พร้อมนายสมัย นิกูลรัมย์ ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว นิวส์ 24 ทนายชัย ชัยชนะ ที่ปรึกษาทางกฏหมาย บริษัท นิวส์ 24 สื่อมวลชนอาวุโสเชียงใหม่ และคณะร่วมให้การต้อนรับ โดยได้รับเกียรติจาก นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเลอยศ พุทธชิโนรสสกุล นายอำเภอสารภี จ.เชียงใหม่ ให้เกียรติร่วมงานในวันนี้ด้วย

นางสุภาภรณ์ นิยมกิจ นายกสมาคมสื่อมวลจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า การจัดทำโครงการสื่อมวลชนมาทัศนศึกษาพื้นที่ภาคเหนือในครั้งนี้ เพื่อเป็นการมาพบปะกับพี่น้องสื่อมวลชนทางภาคเหนือ เพื่อให้สื่อมวลชนที่มาร่วมโครงการนี้ ได้นำความรู้ ประสบการณ์ งานศิลปวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือ ไปเผยแพร่ให้ชาวภาคตะวันออกได้รับรู้รับทราบ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมแข่งขันฟุตบอล เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างทีมสื่อมวลชนจันทบุรี กับสื่อมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย

นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีที่คณะของสื่อมวลชนภาคตะวันออก มาเยี่ยมเยือนจังหวัดเชียงใหม่ และขอให้ได้นำแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ไปประชาสัมพันธ์ให้กับพี่น้องประขาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกได้รับทราบ และหากมีโอกาสขอให้มาเยี่ยมเยือนจังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสต่อไปด้วย

จากนั้นได้เดินทางเข้าเยี่ยมชม และเปิดประสบการณ์ การท่องเที่ยวธรรมชาติรูปแบบใหม่ ในธรรมชาติอันงดงามและสัตว์ป่าน้อยใหญ่ ที่พร้อมมอบช่วงเวลาแห่งความสุขทุกเพศทุกวัย กับหลากหลายกิจกรรมผ่านการให้บริการแบบมืออาชีพ ณ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี สวนสัตว์เปิดที่ตั้งอยู่ในตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ และ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณด้านหลังทางทิศตะวันตกของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นสวนสัตว์ของรัฐบาล ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย

สื่อเสรี TPBS กุเล่าเรื่องปลากุเลาเค็มตากใบ ไร้การปกป้องแหล่งข่าว-กล่าวคำขอโทษร่ำไป

การกุเล่าเรื่องปลากุเลาเค็มตากใบ โดยการไปสัมภาษณ์พ่อค้าแม่ค้าปลากุเลาเค็มตากใบแล้วไม่มีใครได้ขายให้เชฟที่ประกอบอาหารสำหรับเอเปคนั้น เป็นการทำข่าวเพื่อยืนยันอคติของนักข่าว TPBS เอง อย่างที่เรียกว่า Self-confirmation bias คือ นักข่าวมีอคติกับการจัดประชุมเอเปคและอาจจะรัฐบาลด้วย 

เมื่อไปสัมภาษณ์ก็เป็นการยืนยันความเชื่อตัวเองว่าการที่โฆษณาว่าใช้ปลากุเลาเค็มตากใบประกอบอาหารรับรองการประชุมเอเปคนั้นไม่จริง แล้วทำข่าวออกไปทันที โดยไม่ทันได้ตรวจสอบว่าได้ซื้อปลากุเลาเค็มตากใบไปทำอาหารจริงหรือไม่ ทำให้เกิดการค้นหาจนพบว่าร้านป้าอ้วนที่ตากใบได้ขายปลากุเลาเค็มให้ เชฟชุมพล แจ้งไพร ไปประกอบอาหารจริง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าทำให้ออร์เดอร์สั่งปลากุเลาเค็มไปแออัดล้นหลามที่ร้านป้าอ้วนอยู่ร้านเดียวไม่ได้กระจายไปร้านอื่นๆ 

ต่อมาทางช่อง TPBS ได้ออกแถลงการณ์ https://www.thaipbs.or.th/news/content/321541 ว่าไม่ได้มีเจตนาที่จะสร้างความเข้าใจผิด แต่เป็นการสะท้อนความรู้สึกและความเห็นของชาวบ้านในพื้นที่ ขาดความรอบด้าน มิได้ตรวจสอบตามหลักการพื้นฐานของสื่อมวลชน ขออภัยในความบกพร่อง จะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง 

ผมได้อ่านแถลงการณ์แล้วมีความเห็นว่า TPBS ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบเพียงพอต่อเหตุการณ์ดังกล่าวที่นำเสนอข่าวผิดพลาด กลับพาดพิงว่าแหล่งข่าวให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและต้องการสะท้อนความคิดเห็นของแหล่งข่าวที่ขาดความแม่นยำ ไม่ตรงกันกับความเป็นจริง แม้ว่า TPBS จะกล่าวว่าตนไม่ได้ตรวจสอบเบื้องต้นตามหลักการพื้นฐานของสื่อมวลชน แต่ไม่ควรจะแถว่าให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิดของประชาชนทุกกลุ่มรวมถึงแหล่งข่าวคือพ่อค้าแม่ค้าปลากุเลาเค็มในพื้นที่ตากใบที่เข้าใจผิดและมีข้อมูลที่ผิด เพราะตนเองไม่ได้ขาย แต่ร้านอื่นได้ขาย 

การทำเช่นนี้ของ TPBS ไม่ได้ปกป้องแหล่งข่าว ซ้ำยังเป็นการทำให้แหล่งข่าวเป็นแพะรับบาปโดยบิดเบือนหลักการทำข่าวว่าต้องการเสนอความคิดเห็นของแหล่งข่าวที่เข้าใจผิดในสาระสำคัญและไม่ตรงกับความจริง หรืออีกนัยหนึ่งการกระทำเช่นนี้ของ TPBS เท่ากับโยนความผิดให้กับแหล่งข่าวด้วย อันเป็นสิ่งที่สื่อมวลชนที่ดีและมีจรรยาบรรณควรทำ

สื่อคุณธรรม!! ‘บิ๊กป้อม’ อวยพรสื่อมวลชน เนื่องใน ‘วันนักข่าว’ วอน นำเสนอข่าวถูกต้อง-มีคุณธรรม นำพาสังคมสงบสุข

‘บิ๊กป้อม’ อวยพรวันนักข่าว ขอให้สื่อทุกคนมีความสุข วอน ช่วยกันนำพาประเทศก้าวข้ามความขัดแย้ง สู่สังคมสงบสุข

(5 มี.ค. 66) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า เนื่องใน ‘วันนักข่าว’ 5 มีนาคม ขออวยพรให้ทุกคนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและเรื่องส่วนตัว ขอให้ทำหน้าที่อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าว

3 พฤษภาคม ของทุกปี วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ตระหนักถึงเสรีภาพการแสดงออกของสื่อมวลชน

ย้อนเวลากลับไปราว 30 ปีก่อน เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1991 (หรือ พ.ศ.2534) องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

สาเหตุของการมีวันสำคัญนี้ เกิดจากการที่มีนักข่าวภาคสนามมากมาย ต้องเสียชีวิต หรือถูกจับเป็นตัวประกัน และรวมไปถึงถูกคุกคาม จากการทำหน้าที่รายงานข้อเท็จจริง จึงเป็นที่มาของการสร้างสัญลักษณ์ของความมีเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชน โดยจัดตั้งให้ทุก ๆ วันที่ 3 พฤษภาคม เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

สื่อมวลชนภาคใต้สุดทนปัญหาสินค้าเถื่อน บุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้าเกลื่อน

เมือง สงขลา สตูล ยะลา นราธิวาสเป็นประตูทางเข้า แหล่งพักและขายปลีก แฉชาวบ้านรู้ขายตรงไหนแต่เจ้าหน้าที่แค่จับเอาหน้า แถมอมเงินรางวัลนำจับ เปิดช่องพ่อค้านำกลับมาขายใหม่ เสนอทางแก้ จับได้ให้ทำลายของกลางทันที ยกระดับเป็นปัญหาความมั่นคงแห่งรัฐ จังหวัดไหนแก้ปัญหาไม่ได้ให้ย้ายผู้ว่าฯออกนอกพื้นที่ ทำอย่างนี้จึงจะปกป้องเด็กและเยาวชนได้ 

มูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ (มสส.)  ร่วมกับสื่อมวลชนในจังหวัดสงขลา จัดประชุมโฟกัส กรุ๊ป ในหัวข้อ “ปัญหาบุหรี่เถื่อน-สินค้าผิดกฎหมาย ชายแดนใต้ ... แก้ไม่ได้จริงหรือ ?” เมื่อวันเสาร์ที่  22 กรกฎาคม 2566 ที่ โรงแรมดับเบิ้ลยู ทรี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีนายวิเชษฐ์  พิชัยรัตน์ สื่อมวลชนอาวุโสเป็นผู้ดำเนินรายการ นายแพทย์กู้ศักดิ์ บำรุงเสนา นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงาน สาธารณสุข จังหวัดสงขลา เปิดเผยถึงสถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทยพบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ร้อยละ 17.4 คิดเป็นประมาณ 9.9 ล้านคน เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกเมื่อ อายุเฉลี่ย 18.5 ปี อายุต่ำสุด 6 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายคิดเป็น 26.7 เท่าของผู้หญิง ส่วนจังหวัดสงขลาอัตราการบริโภคยาสูบในปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 27.7 เป็นอันดับ 6 ของประเทศ สูงกว่าอัตราการบริโภคยาสูบของ ประเทศและเขตสุขภาพ ซึ่งจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 12 มีอัตราการบริโภคยาสูบสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศคือจังหวัดสงขลา สตูล พัทลุงและจังหวัดตรังและยังพบว่าอายุน้อยที่สุดที่เริ่มสูบบุรี่ของจังหวัดสงขลาคือ 12 ปี ส่วนข้อมูลล่าสุดในปี 2565  อำเภอที่สูบบุหรี่มากที่สุดคือ อ.สะบ้าย้อย ร้อยละ 30.63 รองลงมาคือ อ.คลองหอยโข่ง ร้อยละ 17.4 และอำเภอนาทวี ร้อยละ 16.93 จากรายงานภาวะโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2562 พบการบริโภคบุหรี่เป็นอันดับ 2 ของปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เสียชีวิต โดยเป็นปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตประมาณ 85,000 กว่าคน ซึ่ง 5 โรคร้ายที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ได้แก่ มะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดบวม โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน

ส่วนสถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2564 มีการสำรวจคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปพบว่ามีคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าเกือบ 80,000 คน มากกว่าครึ่งเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี  ปัจจุบันมีการนิยมสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น โดยเฉพาะในวัยรุ่น เนื่องจากพกพาและสูบง่ายกว่าบุหรี่มวน มีการแต่งกลิ่น และที่สำคัญคือความเข้าใจผิดคิดว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตราย สูบแล้วไม่ติด ซึงในความเป็นจริงแล้ว ในควันของบุหรี่ไฟฟ้ามีทั้งสารนิโคตินและโลหะหนักหลายชนิด ที่ส่งผลให้เกิดการเสพติดและเป็นพิษต่อร่างกาย และยังพบอีกว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่มวน แถมยังมีโอกาสที่จะเสพติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน ส่วนการเลิกสูบบุหรี่พบว่า ร้อยละ 80 สามารถเลิกได้ด้วยตนเอง สามารถทำได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่น สร้างแรงจูงใจให้กับตัวเองอาจเกิดจากบุคคลที่เรารัก ขอคำปรึกษาจากคนใกล้ตัวที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

นายสถาพร เกียรติอนันต์ชัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ จังหวัดสงขลา กล่าวถึงสถานการณ์บุหรี่เถื่อนทั้งบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้าในจังหวัดสงขลาและจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่ายังมีความรุนแรงอยู่ไม่ได้ลดลงเพราะเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและตำรวจเพิกเฉยไม่บังคับใช้กฎหมาย เห็นกันอยู่ชัดๆว่าบุหรี่เถื่อนมีขายที่ไหนบ้างเช่น อ.หาดใหญ่ แถว 4 แยกน้ำพุจะไปซื้อเมื่อไรก็ได้ มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่องบุหรี่เถื่อนหรือสินค้าหนีภาษีมีเงินรางวัลนำจับด้วย แต่ในสภาพความเป็นจริงคนนำจับไม่ได้เงินตามที่กฎหมายกำหนดเช่นถ้ายอดเงิน 100,000 บาท คนนำจับได้แค่ 20,000 บาทส่วนที่เหลืออีก 80,000 บาทไปตกอยู่ในมือของคนไม่เกี่ยวข้องทำให้ประชาชนไม่อยากจะแจ้งเบาะแส นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าของกลางที่จับได้มักจะถูกวิ่งเต้นจากพ่อค้าหรือมาประมูลกลับไปแล้วนำกลับมาขายใหม่ จึงเป็นปัญหาทั้งเรื่องการบังคับใช้กฎหมายและเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่

ส่วนแนวทางแก้ไขควรทำอย่างไรนั้น  มีทั้งการปราบปรามบังคับใช้กฎหมาอย่างจริงจังรวมทั้งการแก้ไขกฎหมายอาญา กฎหมายศุลกากร เช่นกฎหมายศุลกากรเมื่อจับแล้วมาสารภาพแล้วยกของกลางให้รัฐพวกพ่อค้าก็จะไปซื้อกลับมา ดังนั้นสินค้าที่ยึดมาแล้วให้ทำลายเลยไม่ควรจะนำกลับมาขายทอดตลาด ตามกฎหมายสินค้าที่ยึดมาได้มีแนวปฏิบัติ 3 แนวทางคือ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ,ศาลสั่งให้ทำลายและศาลสั่งทำให้ใช้ไม่ได้ ดังนั้นควรจะใช้แนวทางศาลสั่งให้ทำลายสินค้าเหล่านี้ให้หมดจะดีที่สุด เช่นเดียวกันกับปัญหายาเสพติดที่จับได้ตามแนวชายแดนก็ควรจะเผาทำลายกันในพื้นที่ที่จับได้เพราะถ้าปล่อยให้นำเข้ามาที่ส่วนกลางมีโอกาสที่จะสูญหายหรือยักยอกไประหว่างทางได้ สำหรับคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบจังหวัดสงขลาควรจะมุ่งมั่นจริงจังทำงานให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ต้องมีข้อมูลให้เห็นผลการดำเนินงานด้วยเพราะถ้าจริงจังจะเห็นผลเป็นรูปธรรมแน่นอน จะส่งผลให้เด็กและเยาวชน ประชาชนเข้าถึงบุหรี่เถื่อน  บุหรี่ไฟฟ้าได้น้อยลงเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นทางควบคู่ไปกับการให้ความรู้และรณรงค์

นายภูวสิษฎ์  สุกใส บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ ภาคใต้โฟกัส ในฐานะสื่อมวลชนที่เข้าไปมีบทบาทเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดสงขลากล่าวว่าสถานการณ์ยังคงรุนแรงอยู่ทั้งจังหวัดสงขลา จังหวัดสตูลและจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะเป็นทั้งประตูทางเข้า เป็นทั้งแหล่งกระจายสินค้าและการขายสินค้าเถื่อน สินค้าหนีภาษีโดยเฉพาะบุหรี่ เมื่อไม่นานมานี้ได้พบปะกับผู้บริหารท้องถิ่นแห่งหนึ่งบอกว่าปัจจุบันรายได้จากภาษีท้องถิ่นลดลงเพราะสินค้าเถื่อนและสินค้าหนีภาษี ไปถามชาวบ้านใน อ.หาดใหญ่ก็รู้ว่าจะซื้อบุหรี่เถื่อนจากไหน ทั้งตลาดใหม่ ถ.นิพัทธ์สงเคราะห์ ถ.นวลแก้วอุทิศก็หาซื้อได้ ปัญหาอยู่ที่เจ้าหน้าที่ไม่บังคับใช้กฎหมาย ตามน้ำบ้างหลับตาข้างหนึ่งบ้าง เป็นความหย่อนยานของเจ้าหน้าที่ และเป็นเรื่องของผลประโยชน์ต่างตอบแทน ลองไปถามดูได้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ใครๆก็อยากจะมาอยู่สงขลา อ.หาดใหญ่  สะเดา ปาดังเบซาร์ อยู่จ.สตูลที่ด่าน วังประจัน อยู่ยะลา อ.เบตง  หรืออยู่นราธิวาส อ.สุไหงโกลก เพราะนี่คือประตูทางเข้าของสินค้าผิดกฎหมาย

ส่วนบทบาทของสื่อมวลชนในจังหวัดสงขลาและจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมาก็เคยเสนอทั้งข่าว รายงานและบทวิเคราะห์ในเรื่องเหล่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตื่นตัวเป็นครั้งคราวทำกันแบบไฟไหม้ฟางสุดท้ายก็เป็นเหมือนเดิม ดังนั้นแนวทางที่ควรจะทำคือการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องและจริงจังตั้งแต่ระดับบนจนถึงระดับล่าง ไม่รับผลประโยชน์ไม่ปากว่าตาขยิบปัญหาก็จบ และต้องยกระดับเป็นเรื่องความมั่นคงแห่งรัฐเป็นวาระชัดเจนตั้งแต่ระดับชาติลงมาจนถึงจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดก็ต้องเอาจริงถ้าพบว่ายังมีการค้าบุหรี่เถื่อนในพื้นที่หรือไปปกป้องพ่อค้าก็ต้องถูกย้ายอยู่ในจังหวัดไม่ได้ หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องให้อำนาจผู้ว่าฯเสนอย้ายตำรวจ ย้ายสรรพสามิต หรือเจ้าหน้าที่ขอ

‘สนธิ’ ชื่นชม ‘สำนักข่าวอิศรา’ ยกสื่อดีที่ควรปกป้อง มุ่งเน้นข้อมูลเท็จจริง และไม่เลือกเข้าข้างใคร

เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 66 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ได้ไลฟ์สด ‘SONDHI TALK’ ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘คุยทุกเรื่องกับสนธิ’ ช่องยูทูบ ‘Sondhitalk’ หรือ ‘Sondhitalk’ (ช่องสำรอง) และแอปพลิเคชัน Sondhi App โดยมีการกล่าวชื่นชมการทำงานของ ‘สำนักข่าวอิศรา’ และ ‘นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์’ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา ในประเด็นเกี่ยวกับข่าว ‘ปาล์มอินโด EARTH-STAR เปิดโปง ขบวนการ สวาปาม (ภาคต่อ)’ โดยระบุว่า…

“ผมต้องขอชมเชย ‘สำนักข่าวอิศรา’ และผู้บริหารงานของสำนักข่าวอิศรา คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ หรือ ‘คุณเก๊’ พวกเราและทุกๆ คนที่รักในความเป็นธรรม ต้องการความจริงที่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น จึงต้องขอขอบคุณสำนักข่าวอิศรา ที่แบ่งปันข้อมูลต่างๆ มาให้แก่ทางผม”

“ผมขอชื่นชมคุณประสงค์ สื่อดีๆ แบบนี้หายาก ยิ่งกว่ายาก ต้องดูแลปกป้องเพื่อให้อยู่รอดตลอดไป เพราะเขาเป็นคนที่ไม่เข้าข้างใครเลย เขายืนอยู่บนความจริงที่มีเพียงหนึ่งเดียว และไม่เกรงกลัวต่ออำนาจมืด หรืออิทธิพลใดๆ ทั้งสิ้น”

‘เจี๊ยบ อมรัตน์’ เดือด!! ถูกสังคมตีฟูไม่หยุด ยัน!! ไม่เคยพูดว่า ไม่รู้จักกลุ่ม #ทะลุวัง

(15 ก.ย. 66) ‘เจี๊ยบ-อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล’ อดีต สส.พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

สื่อมวลชนที่พาดหัวข่าวโดยปราศจากความรับผิดชอบ ให้กลุ่มนายแบกนางแบกเอาไปตีฟูไม่หยุดหย่อน อาจจำเป็นต้องอธิบายอย่างจริงใจเพื่อบันทึกไว้

การให้สัมภาษณ์ครั้งนั้นที่ตึกไทยซัมมิท (ราวต้นเดือนส.ค.66) ดิฉันพูดว่านักกิจกรรมในช่วงหลังๆ มีกลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายหลายกลุ่ม ดิฉันรู้จักไม่ครบทุกกลุ่มไม่ครบทุกคน แต่ที่คุ้นเคยคือกลุ่มแรกๆ เช่น เพนกวิน, อานนท์, โตโต้ ตอนนี้โตโต้และหลายคนก็มาเป็น สส.พรรคก้าวไกลแล้ว

ดิฉัน ‘ไม่เคยพูด’ ว่าไม่รู้จักกลุ่ม #ทะลุวัง ข้อเท็จจริงคือรู้จักแต่ผิวเผิน พบเห็นกันตามกิจกรรมการเมืองไม่เคยคุยกันจริงจัง เคยได้เบอร์ของบุ้งมาในช่วงที่ไปเยี่ยม #ตะวันแบม อดอาหารหน้าศาลฎีกาสนามหลวง จึงขอเบอร์บุ้งมาเพื่อจะโทรไถ่ถามอาการคืบหน้าของตะวันแบม เมื่อมีเรื่อง #หยก เกิดเป็นข่าวขึ้นมาจึงโทรไปถามบุ้งว่าทำไมแม่หยกถึงไม่พาลูกไปมอบตัว แล้วนัดคุยกันเรื่องนี้แบบเจอตัว 1 ครั้งเพราะสงสัยเรื่องแม่หยกมากๆ ว่าหายไปไหน จะให้ช่วยอะไรหรือไม่เพื่อให้หยกเข้าเรียนได้ การคุยครั้งนั้น ดิฉันแนะนำไปว่าถ้าประท้วงวิธีรุนแรงอาจจะทำให้เสียแนวร่วมการต่อสู้ 

หลังจากนั้น เห็นว่ามีหลายหน่วยออกมาเคลื่อนไหวช่วยเหลือ มีการนัดพูดคุยระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและสิทธิมนุษยชนกับทาง รร. จึงไม่ได้ติดต่ออะไรกันอีกนอกจากติดตามอ่านข่าวจากสื่อมวลชน และรู้สึกเสียใจกับเคสของหยก

#สื่อเสี้ยม
#บันทึกไว้ 14 ก.ย. 66

สื่อมวลชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวมาเลเซียและอินโดนีเซีย เยือน ศอ.บต. รับฟังการดำเนินการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาในพื้นที่ จชต. พร้อมเปิดมุมมองด้านการท่องเที่ยวชายแดนใต้ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

เมื่อวันที่ (29 พฤศจิกายน 2566) ที่ผ่านมา พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบหมายให้ นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. ให้การต้อนรับ นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย ซึ่งนำคณะสื่อมวลชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวมาเลเซียและอินโดนีเซียกว่า 42 คน พบปะผู้บริหารของ ศอ.บต. และรับฟังการดำเนินการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ณ ห้องประชุมน้อมเกล้า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา ในโอกาสเดินทางมาเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์สื่อมวลชนและผู้ประกอบการท่องเที่ยวคาบสมุทรมลายูครั้งที่  1 ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2566 ซึ่งจัดโดยสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทยและภาคีเครือข่าย เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยวมาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยเฉพาะเขตพัฒนาเศรษฐกิจ IMTGT และกระชับมิตรระหว่างสื่อมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสื่อไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อแลกเปลี่ยนแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นระหว่างผู้ประกอบท่องเที่ยวทั้ง 3 ประเทศและเปิดมุมมองหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต

นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม กล่าวว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย โดยประชากรมากกว่าร้อยละ 80 นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความพิเศษของวิถีชีวิต และความศรัทธาของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่ จึงได้จัดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่พิเศษ มีนโยบายการพัฒนาที่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตตามอัตลักษณ์และความเชื่อของตนเอง โดยเมื่อปี พ.ศ. 2524 รัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. มุ่งเน้นบทบาทในการบูรณาการความร่วมมือและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ “ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมกันได้ในวิถีพหุวัฒนธรรม อย่างยั่งยืน” ปัจจุบัน ศอ.บต. ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานกว่า 40 แห่ง เพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านการพัฒนา อีกทั้งเป็นหน่วยรับผิดชอบในการกำกับดูแล ติดตาม และประเมินการดำเนินงานในภาพรวม  โดยได้มีการแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ การยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างหลักประกันด้านสังคมจิตวิทยา เพื่อสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และ การสนับสนุนการแสวงหาทางออกโดยสันติวิธี นอกจากนี้ ศอ.บต. มีภารกิจในการเสริมสร้างความเข้าใจที่ดีและการรับรู้อันดีเกี่ยวกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ให้แก่กลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ด้าน ดาโต๊ะ ซัมซีร อาลัม เอส เอ็ม คัยรุดดีน ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ สำนักงานเลขานุการ องค์กร Kebangkitan Nusantara Sejahtera หรือ SKNS จากรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า ทางกลุ่มของตนต้องการที่จะพัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นในเรื่องของ Eco Tourism การท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ และประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกัน โดย SKNS เชื่อมั่นในความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างกลุ่มมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้และประชาชนในทาง 4 รัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย 

ทั้งนี้ โครงการสานสัมพันธ์สื่อมวลชน เริ่มต้นวันแรกเข้าจากด่านเบตง จ.ยะลา จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.สงขลา พบปะ ผู้บริหาร ศอ.บต. ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารองค์กรการท่องเที่ยว ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ชมแหล่งท่องเที่ยวอันซีนและแหล่งใหม่ของแต่ละจังหวัด และสัมมนาหัวข้อ ความร่วมมือการพัฒนาการท่องเที่ยวและเขตเศรษฐกิจ IMTGT ที่จังหวัดสงขลา ก่อนเดินทางกลับผ่านด่านสะเดา

'อาจารย์อุ๋ย' จี้!! กสทช. กำชับสื่อหยุดสร้างอาชญากรเป็นไอดอล แนะ!! ควรนำเสนอสิ่งที่ผู้รับสาร 'ต้องรู้' ไม่ใช่แค่สิ่งที่ผู้รับสาร 'อยากรู้'

'อาจารย์อุ๋ย-ปชป.' จี้ กสทช. ใช้อำนาจตามกฎหมายกำกับดูแลสื่อให้นำเสนอข่าวอย่างมีจรรยาบรรณ จำกัดการให้พื้นที่สื่อแก่ผู้กระทำผิด เน้นนำเสนอแง่มุมของผู้เสียหายและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำผิด 

จากกรณีที่ศาลมุกดาหารมีคำพิพากษาสั่งจำคุก 20 ปี นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล ใน 2 ข้อหา คือ กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร นั้น นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรืออาจารย์อุ๋ย นักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้ความเห็นว่า...

ในฐานะที่ตนเคยเป็นอนุกรรมการ กสทช. ในชุดที่แล้วที่ดูแลด้านกฎหมาย ขอเรียกร้องไปยัง กสทช. ชุดปัจจุบันให้ใช้อำนาจกำกับดูแลสื่อตามมาตรา 27 แห่ง พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และการกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และมาตรา 37 แห่ง พรบ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 กำหนดทิศทางการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนในเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปในแนวทางตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชนสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ข้อ 9 ซึ่งกำหนดว่า “สื่อมวลชนพึงเสนอข่าว เนื้อหาข่าว การแสดงความคิดเห็น และเนื้อหาทั่วไป โดยตระหนักถึงความสำคัญและอรรถประโยชน์ของข่าวต่อสาธารณะ และไม่เสนอข่าวในทำนองชวนเชื่อหรือเร้าอารมณ์ให้คนสนใจในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ” 

นอกจากนี้ สื่อควรลดพื้นที่การเสนอข่าวเกี่ยวกับตัวผู้กระทำผิด เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้กระทำความผิดกลายเป็นต้นแบบ (Idolization) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาชญากรรมเลียนแบบ (Copycat Crime) จากผู้ที่บริโภคสื่อ ซึ่งอยากมีชื่อเสียงโด่งดังหรืออยากเป็นจุดสนใจของสังคมเหมือนผู้กระทำผิด และยังเป็นการเบียดบังพื้นที่ในการนำเสนอข่าวที่สร้างสรรค์สังคมอื่นๆ หรือสื่ออาจเลือกที่จะนำเสนอข่าวในแง่มุมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น ผลกระทบที่ผู้เสียหายได้รับจากการกระทำผิด กลไกการเยียวยา หรือวิธีป้องกันตนเองหรือคนใกล้ชิดไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมในทุกรูปแบบ คือ สื่อควรนำเสนอสิ่งที่ผู้รับสาร ‘ต้องรู้’ ไม่ใช่นำเสนอแต่สิ่งที่ผู้รับสาร ‘อยากรู้’

ซึ่งตนหวังว่าคดีนี้จะเป็นบทเรียนให้กับสังคมและสื่อมวลชนว่า ควรนำเสนอข่าวโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในสังคมตามมา ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่กับการทำให้ผู้ต้องหาคนหนึ่งที่สมควรได้รับมาตรการเชิงลงโทษจากสังคมกลับกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ได้ออกงานออกสื่อ กอบโกยประโยชน์ได้มากมาย โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพจิตใจของครอบครัวผู้เสียหายหรือความรู้สึกของวิญญูชนในสังคมเลย และขอย้ำว่าการใช้อำนาจ กสทช. ในลักษณะนี้ ไม่ใช่การแทรกแซงเสรีภาพของสื่อ แต่เป็นการกำกับดูแลสื่อมวลชนให้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. โดยตรง 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top