Saturday, 4 May 2024
สาธารณสุขไทย

'ระบบสาธารณสุขไทย' ยืน 1 ในอาเซียน พร้อมพ่วง 'อันดับ 13 ของโลก'

ระบบสาธารณสุขไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลกจริงๆ 

ล่าสุดจากการจัดอันดับประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีเยี่ยมที่สุดในโลกประจำปี 2021 สำรวจโดยนิตยสาร CEOWORLD ที่ได้รวบรวมข้อมูลจาก 89 ประเทศทั่วโลกนั้น ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก และเป็นที่ 1 ในภูมิภาคอาเซียน 

ซึ่งผลคะแนนที่นำมาใช้ในการจัดอันดับ มีเกณฑ์การประเมินคุณภาพของระบบสาธารณสุขในหลากหลายมิติ อาทิ โครงสร้างพื้นฐานโดยรวมของระบบสาธารณสุขในแต่ละประเทศ คุณภาพของทีมบุคลากรการแพทย์ ศักยภาพในการบริหารองค์กร คลังเวชภัณฑ์ที่มีอย่างเพียงพอ และความพร้อมของรัฐบาล 

นอกเหนือจากนี้ ยังมีปัจจัยปลีกย่อยอื่นๆ ที่นำมาใช้ประกอบการพิจารณาอีก เช่น สิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัยภายในโรงพยาบาล การเข้าถึงน้ำสะอาด การบังคับใช้กฎหมายสำหรับสถานพยาบาล ซึ่งผลคะแนนเฉลี่ยรวมของประเทศไทยอยู่ที่ 59.52 ซึ่งสูงกว่าหลายประเทศชั้นนำอย่าง เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์ หรือแม้แต่สหรัฐอเมริกาที่อยู่ในอันดับที่ 30 

5 โรงพยาบาล สังกัดสธ. ติดอันดับโลก! สะท้อนคุณภาพสาธารณสุขไทยที่ยอดเยี่ยม

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา “Newsweek” ได้จัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2565 หรือ The World’s Best Hospitals 2022 ใน 27 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อิตาลี เป็นต้น รวมถึงประเทศไทย การให้คะแนนในแต่ละ รพ. มาจาก 3 แหล่ง คือ 

1.) การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เช่น แพทย์ ผู้จัดการ รพ. ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ กว่า 80,000 คนทั่วโลก 
2.) ผลสำรวจประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้ป่วยในการรักษา 
และ 3.) ตัวชี้วัดประสิทธิภาพทางการแพทย์ของ รพ. เช่น คุณภาพการดูแลรักษาเฉพาะทาง มาตรการด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยของผู้ป่วย และจำนวนผู้ป่วยต่อแพทย์และพยาบาล เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย มี รพ. ที่ได้รับการจัดอันดับทั้งสิ้น 30 แห่ง ส่วนใหญ่เป็น รพ. ในภาคเอกชน และมี รพ.ในสังกัด สธ. ติดอันดับ 5 แห่ง ได้แก่ 

- รพ.ราชวิถี อันดับที่ 11 คะแนน 75.04%
- รพ.ขอนแก่น อันดับที่ 24 คะแนน 74.25%
- รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก อันดับที่ 25 คะแนน 74.19%
- รพ.สงขลา อันดับที่ 28 คะแนน 74.09% 
- และ รพ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อันดับที่ 29 คะแนน 74.03%

“การประเมินและจัดให้อยู่ในอันดับ รพ.ที่ดีที่สุดในประเทศไทยดังกล่าว เป็นตัวชี้วัดและสะท้อนว่า รพ.สังกัด สธ. มีศักยภาพในการให้บริการ ทั้งในสายตาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และประชาชน ซึ่ง สธ. จะยังเดินหน้าพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและคุณภาพต่อไป” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

สรุปจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ 'บิ๊กตู่' จัดให้!!

การให้บริการฉีดวัคซีนป้องการโรคโควิด19 ถือเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้ความสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง 'ภูมิคุ้มกันหมู่' (Herd Immunity) ให้แก่สังคมไทย

ภูมิคุ้มกันหมู่ เป็นนิยามที่เกิดขึ้นโดย สพ. แดเนียล เอลเมอร์ แซลมอน สัตวแพทย์ชาวอเมริกันใน ค.ศ. 1894 และได้รับการศึกษาวิจัยต่อมาจนเป็นที่ยอมรับในช่วง ค.ศ. 1930 จากงานวิจัยด้านระบาดวิทยาของโรคหัดในบัลติมอร์ โดยเอ ดับบลิว เฮดริช และมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาตลอดทั้งในแง่ของการคำนวนหาจำนวนที่เหมาะสม และรูปแบบการกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ เทคโนโลยีในการสร้างวัคซีนป้องกันโรคโควิด ปัจจุบันมี 3 เทคโนโลยี ได้แก่วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Vaccine), ไวรัล เว็กเตอร์ (Viral Vector Vaccine) และ เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA Vaccine) ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาสามารถจัดหามาให้บริการแก่พี่น้องประชาชนได้ทั้ง 3 ชนิด มีจำนวนดังต่อไปนี้..

- Sinovac จำนวน 26,530,000 โดส 
- Sinopharm จำนวน 14,860,000 โดส
- AstraZeneca จำนวน 48,620,000 โดส
- Pfizer จำนวน 43,490,000 โดส
- Moderna จำนวน 6,590,000 โดส

นายกฯ เชื่อมั่น ระบบสาธารณสุขไทย หลัง เป็นประเทศแรก ที่เข้ารับการประเมินศักยภาพระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ลี้ภัย ผู้ย้ายถิ่นฐาน แรงงานต่างด้าว จาก WHO ผลมีระบบการดูแลอย่างดี ช่วงโควิด-19 ระบาด

เมื่อวันที่ 30 ต.ค. นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบกรณี ไทยเข้ารับการประเมินศักยภาพระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ลี้ภัย ผู้ย้ายถิ่นฐาน และแรงงานต่างด้าว โดยผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก

นายอนุชา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานว่า ไทยเป็นประเทศแรกที่ได้เข้ารับการประเมินศักยภาพระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ลี้ภัย ผู้ย้ายถิ่นฐาน และแรงงานต่างด้าว เนื่องจากมีระบบการดูแลอย่างดี และมีประสิทธิภาพในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 โดยได้มีการลงพื้นที่ในจังหวัดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย คณะผู้เชี่ยวชาญของไทยและองค์กรระหว่างประเทศ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

'เพจดัง' รีวิว!! ประสบการณ์หาหมอที่ออสเตรเลีย 'หมอ-ยา' เข้าถึงยาก ไม่เจ็บปางตายปล่อยร่างกายฮีลตัวเอง

สำหรับใครหลายคนที่เคยมองว่าระบบสาธารณสุขไทยไม่ดีอย่างนั้น อย่างนี้ ลองดูข้อมูลนี้ อาจจะเปลี่ยนมุมคิดได้เยอะ!!

(3 พ.ย. 65) เฟซบุ๊กเพจ 'Slang A-hO-lic' ได้เผยประสบการณ์การหาหมอที่ประเทศออสเตรเลียไว้อย่างน่าสนใจว่า...

รีวิวประสบการณ์หาหมอ..ที่ออสเตรเลีย!🇦🇺

ซวยยยย มารอบนี้ป่วยยย
สงสัยเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูที่นี่
เป็นทั้งไข้ หวัด ไอแห้งๆ เป็นอยู่เกือบ 7 วันแล้ว

โอ้ยยย ทำไงดี?

หาหมอที่นี่ เค้าทำยังไง(ฟะ)?

พูดเสร็จก็ค้นหาข้อมูลในเน็ตทันที

สรุป...
- ไปคลินิกแพง
- ส่วนใหญ่ต้องนัดหมอล่วงหน้า
- หลัง 6 โมงเย็น ส่วนใหญ่มีค่าบริการเพิ่ม
- หมอส่วนใหญ่เป็นหมอทั่วไป (GP)

และก็ค้นพบว่า อ้อ!! ที่นี่ส่วนใหญ่เค้าก็นิยมพบหมอออนไลน์แฮะ

ราคาไม่แพงมาก คุยกับหมอ...
- 3 นาที เสีย 900 บาท 
- เกิน 3 นาที 1200!
- เกิน 10 นาที 1500!
(เนี่ยนะ ไม่แพง 5555+)

เอาวะ ลองดู!!

เปิดเว็บไซต์ ผูกบัตรเครดิต 
รอ 30 นาที หมอถึงจะโทรมา
พอโทรมา ก็ถามว่าเป็นอะไร เลยอธิบายอาการไป
หมอก็ อืมๆ โอเค จากนั้นก็อธิบายว่า...
ไอคิดว่าน่าจะเป็น ไวรัสหวัดแหละ 
ไวรัสเกิดจาก...บลาๆ

หมอดันอธิบายซะเยอะ สรุป เกิน 3 นาที เสียพันสอง! 5555

สรุป...
- หมอให้กิน honey lemon เยอะ ๆ
- บอกเป็นแค่นี้ ไม่ต้องกินยาไรมาก
- ไวรัสเกิดเอง เดี๋ยวก็หายเองได้
- ไม่จำเป็นต้องทานยาฆ่าเชื้อ แถมส่ง pdf มาให้อ่านด้วยว่า
- การทานยาฆ่าเชื้อสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ดี เดี๋ยวเกิดดื้อยาขึ้นมา อนาคตจะลำบาก

ถ้าอยากกิน ลองหา vitamin c + zinc มากินเอา เดี๋ยวก็หายเองตามธรรมชาติ 555

สรุปนะครับ...
- สาธารณสุขที่นี่แพงงงงง
- หมอเข้าถึงตัวยาก ยาเข้าถึงยากเช่นกัน
- ส่วนใหญ่ต้องมีใบสั่งยาจากหมอเท่านั้น
- จะเดินไปซื้อร้านยาเองแบบในไทยนี่ไม่ได้นะ ฮา

ดังนั้น สำหรับใครที่อยู่เมืองนอก ถ้าเจ็บไม่ปางตาย ปล่อยให้ร่างกายฮีลตัวเองเถอะครับ 555

'ระบบสาธารณสุข' ยุคลุงตู่ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้มุ่งเน้นด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังใส่ใจด้านคุณภาพชีวิตประชาชนอีกด้วย นับเป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาล ที่จะดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างดีที่สุด รวมทั้งยกระดับมาตรฐานด้านสาธารณสุขที่ได้รับการชื่นชมจากทั่วโลก รวมถึงองค์การอนามัยโลก นำไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และดูแลรักษาสุขภาพโลก และยังพัฒนาต่อไปตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีหลักยึดที่สำคัญ คือ เราจะเดินหน้าไปพร้อมกัน และ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ภายใต้คำขวัญ ‘ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ร่างกายแข็งแรง เศรษฐกิจประเทศแข็งแรง’ เพื่อให้เห็นภาพรวมในการพัฒนาด้านสาธารณสุข ขอสรุปให้เห็นเป็นรูปธรรมดังนี้

- ยกระดับและต่อยอดบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค ไปเป็น ‘บัตรทองพรีเมี่ยม’ เพิ่มสิทธิประโยชน์ เพิ่มคุณภาพบริการ

- บัตรทองพรีเมี่ยม รักษาโควิดฟรี

- ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองสามารถเข้ารักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศโดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีตที่เคยเป็นปัญหา

- บัตรทองทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้

- บัตรทองให้สิทธิ์การย้ายหน่วยบริการ ได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน

- ผู้ถือบัตรทองได้สิทธิฟอกไตฟรี 

- มาตรการลดการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 มีการรณรงค์เพื่อการเพิ่มระยะห่างทางสังคม (และส่งเสริมการทำงานที่บ้าน รวมถึงกลไกในการทำงานที่ขันแข็งของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศ

- ระบบประกันสุขภาพครอบคลุมประชาชนเท่าเทียม

- พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข แพทย์สมัยใหม่ และแพทย์แผนไทย

- พัฒนาและยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.)

- ลดภาระการเดินทางไปสถานพยาบาลของประชาชน

- ลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่

- รับยาที่ร้านขายยาแผนปัจจุบันใกล้บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หืด จิตเวช และโรคเรื้อรังอื่นๆ 

- ส่งยา/เวชภัณฑ์ถึงบ้านทางไปรษณีย์ การบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) และการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล

- เพิ่มบริการสำหรับแม่และเด็ก 

- การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การเพิ่มวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก 

- คัดกรองภาวะ Down Syndrome ในหญิงตั้งครรภ์ (อายุไม่เกิน 35 ปี)

- ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมสำหรับเด็กหูหนวก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top