Saturday, 4 May 2024
สร้างไทยไปด้วยกัน

ทุกเหล่าทัพกระจายกำลังช่วยเหลือประชาชน หวั่นฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง หากวิกฤตให้เปิดหน่วยทหารรับอพยพประชาชนเข้าดูแล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ทุกเหล่าทัพกระจายกำลังช่วยเหลือประชาชน หวั่นฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง หากวิกฤตให้เปิดหน่วยทหารรับอพยพประชาชนเข้าดูแล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการเมื่อ 6 กันยายน 2565

(6 ก.ย. 65) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการทุกเหล่าทัพ ที่มีหน่วยทหารในพื้นที่ทั่วประเทศ เตรียมยกระดับสนับสนุนรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม โดยให้ประสานทำงานร่วมกับฝ่ายปกครอง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและจิตอาสาในพื้นที่ และเตรียมปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของแต่ละเหล่าทัพและหน่วยทหารในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการติดตามเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้งให้กระจายกำลังเร่งด่วนเข้าช่วยเหลือและอพยพประชาชน ทรัพย์สินมีค่าออกจากพื้นที่ และหากจำเป็นวิกฤตให้เปิดพื้นที่หน่วยทหารรับการอพยพประชาชนเข้าดูแล

พร้อมกันนี้ ให้สนับสนุนเคลื่อนย้ายกำลังพล เครื่องมือช่างและเครื่องสูบน้ำ เข้าแก้ปัญหาพื้นที่วิกฤตทันที เพื่อลดความเสียหายและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

รัฐบาล จ่ายต่อเนื่องอุดหนุนเด็กแรกเกิด ลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยเด็กมีพัฒนาการตามวัย

เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) ได้โพสต์ข้อความถึงโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยระบุว่า โครงการดังกล่าว เป็นนโยบายสำคัญระดับชาติ มุ่งเน้นให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เพื่อเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต อันจะยังประโยชน์ดังนี้

1) ช่วยให้เด็กอายุ 0 – 6 ปี ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และเป็นกำลังของสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต

2) การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและให้ผลตอบแทนแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว โดยให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคต 7 - 10 เท่า ทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ มีทักษะที่สูงขึ้น ผลการเรียนที่ดีขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น การเจ็บป่วยที่ลดลง และลดจำนวนอาชญากรรมลง เป็นต้น

3) ทำให้เด็กแรกเกิดสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ได้รับการพัฒนาให้เติบโตอย่างเหมาะสมตามวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องสามารถระบุกลุ่มเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจัดสวัสดิการตามภารกิจของหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความยากจนลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

'รถไฟความเร็วสูง' และ 'รถไฟรางคู่' แตกต่างกันอย่างไร?

'รถไฟความเร็วสูง' เป็นรถไฟที่ถูกออกแบบมาเพื่อการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้น มีความเร็วมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ 'รถไฟรางคู่' นั้น เป็นรถไฟแบบดั้งเดิมที่ได้รับการขยายเพิ่มจำนวนรางมากขึ้นเป็น 2 เส้น ซึ่งรถไฟแบบดั้งเดิมนี้ สามารถขนย้ายได้ทั้งผู้โดยสาร และสินค้าในขบวนเดียวกัน ตามแต่การเชื่อมต่อขบวนรถไฟ

ในอดีตที่ผ่านมา การรถไฟของไทย ใช้รถไฟแบบดั้งเดิมทั้งเพื่อการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิศวกรรมรถไฟที่เปลี่ยนแปลงไป รถไฟความเร็วสูงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว และได้รับการยกย่องว่าเป็น 'ยานพาหนะแห่งศตวรรษที่ 21' มีความสามารถที่จะขนส่งผู้โดยสารในระยะทางที่ไกลขึ้นได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่สามารถเอื้อมถึง

สัมพันธ์ไมตรีระหว่างมิตรประเทศกับไทย สะท้อนความเป็นกลางสยามไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีจุดยืน ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับประเทศไทย เนื่องด้วยประเทศไทยดำเนินนโยบายเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดตลอดมา ด้วยความที่ประเทศไทย มีความเป็นมิตรประเทศกับทุกฝ่าย โดยไม่เลือกข้างเข้ากับฝ่ายใด ทำให้ประเทศไทยได้รับน้ำใจจากมิตรประเทศตลอดมา

ในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ก็เช่นกัน ที่ประเทศไทย ได้รับความช่วยเหลือด้านวัคซีนจากมิตรประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้...

>> จีน
จีนมอบวัคซีน 50.85 ล้านโดส และเวชภัณฑ์เพื่อสนับสนุนมาตรการการป้องกันและรับมือกับโควิด-19 แก่ประเทศไทย มูลค่ากว่า 10 ล้านหยวน

ล่าสุด วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา จีนยังบริจาค “ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่หัว-เหยี่ยน” ให้กับทางรัฐบาลไทย โดยห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นห้องปฏิบัติการที่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรค และเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ทั้งด้านเทคนิค และการบริการภายในอย่างครบครัน

>> ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า  2,043,100 โดส อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือไทยในการจัดเตรียมอุปกรณ์ในระบบลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain System) ซึ่งจำเป็นต่อการขนส่งและเก็บรักษาวัคซีน รวมถึงให้ความร่วมมือในการยกระดับความสามารถการตรวจหา และเฝ้าระวังเชื้อไวรัส การจัดหาอุปกรณ์และอาคารสถานที่ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนายารักษาโรค

>> อังกฤษ 
อังกฤษมอบแอสตร้าเซเนก้า 415,000 โดส อีกทั้งบริษัทแอสตร้าเซเนก้าของอังกฤษ ยังไว้วางใจให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของประเทศไทย เป็นฐานการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

>> สวิตเซอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์มอบชุดอุปกรณ์ตรวจ Rapid Antigent จำนวน 1,100,000 ล้านชุด และเครื่องช่วยหายใจ 102 เครื่อง

>> สหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกามอบวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส, วัคซีนโมเดอร์นา 1 ล้านโดส และตู้เย็นเก็บวัคซีนจำนวน 200 เครื่อง

สรุปจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ 'บิ๊กตู่' จัดให้!!

การให้บริการฉีดวัคซีนป้องการโรคโควิด19 ถือเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้ความสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง 'ภูมิคุ้มกันหมู่' (Herd Immunity) ให้แก่สังคมไทย

ภูมิคุ้มกันหมู่ เป็นนิยามที่เกิดขึ้นโดย สพ. แดเนียล เอลเมอร์ แซลมอน สัตวแพทย์ชาวอเมริกันใน ค.ศ. 1894 และได้รับการศึกษาวิจัยต่อมาจนเป็นที่ยอมรับในช่วง ค.ศ. 1930 จากงานวิจัยด้านระบาดวิทยาของโรคหัดในบัลติมอร์ โดยเอ ดับบลิว เฮดริช และมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาตลอดทั้งในแง่ของการคำนวนหาจำนวนที่เหมาะสม และรูปแบบการกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ เทคโนโลยีในการสร้างวัคซีนป้องกันโรคโควิด ปัจจุบันมี 3 เทคโนโลยี ได้แก่วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated Vaccine), ไวรัล เว็กเตอร์ (Viral Vector Vaccine) และ เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA Vaccine) ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาสามารถจัดหามาให้บริการแก่พี่น้องประชาชนได้ทั้ง 3 ชนิด มีจำนวนดังต่อไปนี้..

- Sinovac จำนวน 26,530,000 โดส 
- Sinopharm จำนวน 14,860,000 โดส
- AstraZeneca จำนวน 48,620,000 โดส
- Pfizer จำนวน 43,490,000 โดส
- Moderna จำนวน 6,590,000 โดส

เปิด 8 ผลกระทบ ส่งฝนกระหน่ำหนักไทยครึ่งปีหลัง 65 ภายใต้การกู้สถานการณ์เร็ว ลดสูญเสียหนัก จากรบ. 'บิ๊กตู่'

นับตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิอากาศ เกิดร่องมรสุม และพายุอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณฝนตกเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง 

ส่งผลให้ในปีนี้ประเทศไทยมีสถิติฝนตกสูงมากกว่าปกติ และในบางจังหวัดทุบสถิติฝนตกมากที่สุดในรอบ 30 ปี

ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีดังนี้...

1. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม 

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย หลายพื้นที่ในภาคเหนือ, ตะวันตก, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 125  มิลลิเมตร (125 ลิตรต่อตารางเมตร) ในหลายพื้นที่

2. พายุดีเพรสชัน มู่หลาน ระหว่างวันที่ 11 – 13 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมแทบจะทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดน่านตอนบนที่ รองลงมาคือเชียงรายและเชียงใหม่, กาญจนบุรี, สระแก้ว และปราจีนบุรี 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

3. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 20 – 22 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดยโสธร, ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, น่าน, พังงา และระนอง รองลงมาคือจังหวัด สกลนคร, อุดรธานี, พิษณุโลก, จันทบุรี และตราด 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

4. พายุดีเพรสชัน หมาอ๊อน ระหว่างวันที่ 24 – 26 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดปราจีนบุรี, ลำปาง, พังงา และภูเก็ต รองลงมาคือจังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, ชัยนาท, สิงห์บุรี และกระบี่ 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

5. ร่องมรสุมกำลังแรงพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 5 – 9 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, เลย, ตาก, นครสวรรค์, พิษณุโลก, ระนอง, พังงา และสุราษฎร์ธานี รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรี, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, เชียงใหม่, เชียงราย และ กำแพงเพชร

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 200 มิลลิเมตร (200 ลิตรต่อตารางเมตร)

6. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 6 – 11 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, นครราชสีมา, เลย, อุดรธานี, หนองบัวลำภู, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, ระนอง และพังงา

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 300 มิลลิเมตร (300 ลิตรต่อตารางเมตร)

7. พายุดีเพรสชัน โนรู ระหว่างวันที่ 28 – 30 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดอุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ยโสธร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, ระนอง, พังงา. สุราษฎร์ธานี และสตูล รองลงมาคือจังหวัดเลย, อุดรธานี, ตาก และชุมพร

บิ๊กตู่ มั่นใจ 'เป้าหมายกรุงเทพฯ' จะบรรลุผลและนำไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคที่เป็นรูปธรรม

ไม่นานมานี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานประชุม Global Compact Network Thailand Forum (GCNT 2022) หัวข้อ ‘เร่งหาทางออกของภาคธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนและวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ’ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (UNCC)   

การเข้าร่วมการประชุม GCNT ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญและเป็นช่วงของการเตรียมตัวก่อนที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) โดยไทยได้ผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคในยุคหลังวิกฤตโควิด – 19 เพื่อให้ทุกประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุมมากขึ้น ภายใต้หัวข้อหลัก ‘Open. Connect. Balance.’  

รัฐบาลไทยยืนยันถึงเจตนารมณ์ “ความมุ่งมั่นและการลงมือทำของไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปค เพื่อลดสภาวะโลกร้อนและความเสียหายต่อธรรมชาติ” โดยภาคเอกชนและสหประชาชาติเป็นภาคีสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของไทย

ไทยตระหนักดีว่าการลดภาวะโลกร้อนมิใช่เพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤติธรรมชาติเท่านั้น แต่เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วย และได้เสนอหลักการ ‘การพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG’ ที่คำนึงถึงการพัฒนาเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กับการเยียวยารักษาธรรมชาติอย่างมีสมดุล เป็นหัวใจของเอกสารผลลัพธ์ของเอเปค ที่เรียกว่า ‘เป้าหมายกรุงเทพว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว’ 

BCG โมเดล วิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจจาก 'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา' นำพาเศรษฐกิจไทยเดินหน้า พร้อมรักษาสิ่งแวดล้อมโลกอย่างยั่งยืน

(5 พ.ย. 65) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) คือหนึ่งในกรอบความคิดหลักของวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรี ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’

โมเดล BCG นี้ ถูกบรรจุเป็นกรอบความคิดหลักสำคัญในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะนำพาเศรษฐกิจไทย เติบโตไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกอย่างยั่งยืน

 

'บิ๊กตู่' เตรียมลงพื้นที่ 'จ.นครสวรรค์ - จ.พิจิตร' ตรวจความคืบหน้าหลายโครงการ - รับฟังปัญหา ปชช.

(29 ม.ค.66) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เตรียมลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดพิจิตร ในวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2566 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการ และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยมีกำหนดการ ดังนี้

โดยช่วงเช้านายกรัฐมนตรีมีกำหนดตรวจติดตามการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืนและเพื่อการเกษตรสมัยใหม่ ณ สันฝายเก่าบึงบอระเพ็ด ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองนครสวรรค์ 

ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะไปติดตามการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้าในระดับพื้นที่ ณ วัดดงแม่ศรีเมือง ตำบลตาสัง อำเภอบรรพตพิสัย และตรวจติดตามการพัฒนาความมั่นคงด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ณ โรงพยาบาลบรรพตพิสัย ตำบลเจริญผล อำเภอบรรพตพิสัย  

'กฎหมาย' เปิดทางบุคคล 2 คน จดทะเบียนตั้ง 'บริษัทจำกัด' เอื้อเปิดกิจการขนาดเล็ก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจระยะยาว

รัฐบาลได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดขั้นตอน อุปสรรคเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและทยอยมีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่23) พ.ศ. 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทได้เริ่มมีผลบังคับ โดยผลของกฎหมายจะเอื้อให้เกิดการก่อตั้งธุรกิจง่ายขึ้น มีความคล่องตัว ลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดำเนินงาน สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเป็นกลไกสำคัญสนับสนุนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว

พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23)ฯ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 8 พ.ย. 65 กำหนดให้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 66 เป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็น อาทิ การลดจำนวนขั้นต่ำของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทเป็น 2 คน จากเดิมที่กำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 3 คน ซึ่งเกณฑ์ในเรื่องนี้จะทำให้มีการจัดตั้งธุรกิจได้ง่ายเอื้อต่อการเกิดธุรกิจขนาดเล็กหรือวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) มากขึ้น

กฎหมายยังมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดวิธีประชุมกรรมการให้สามารถดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย ส่วนการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้นได้กำหนดวิธีบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็น 2 กรณี ตามชนิดใบหุ้น โดยกรณีผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อมีการลดขั้นตอนการพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ส่วนกรณีหุ้นชนิดผู้ถือ ได้กำหนดให้มีการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือโฆษณาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top