Sunday, 28 April 2024
รัฐบาลไทย

'อนุทิน' ปลื้ม!! 'สธ.-คมนาคม-ท่องเที่ยว' ประสานงานดีเยี่ยม มีแผนดูแล-ต้อนรับนักท่องเที่ยว หลังโควิด-19 ทุเลา

(7 ม.ค. 66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ได้ติดตามผลงานของกระทรวงในการกำกับดูแลตลอดปี 2565 และช่วงก่อนหน้า ทั้งสาธารณสุข คมนาคม การท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้ความเชื่อมั่นว่าหน่วยงานในกำกับได้มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนทั้งภาคเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชน ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีพอใจการดำเนินงานของหน่วยงานในกำกับ โดยเฉพาะในช่วงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ทุกหน่วยงานได้ประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้การเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น ขณะที่การแพร่ระบาดอยู่ในการควบคุม

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในช่วงที่โควิด-19 ยังแพร่ระบาดกระทรวงคมนาคมได้เร่งผลักดันการลงทุนโครงการที่อยู่ในแผนหลายโครงการ ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าสายต่าง ๆ รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ทางด่วน มอเตอร์เวย์ สนามบิน ท่าเรือ ระบบโลจิสติกส์และการขนถ่ายสินค้า เพื่อเป็นเครื่องยนต์ประคองเศรษฐกิจได้ในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงจากโรคระบาด และเตรียมประเทศให้พร้อมรับการกลับมาของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวทันทีที่โควิด-19 คลี่คลาย 

“รองนายกฯ อนุทิน มั่นใจว่าขณะนี้ประเทศไทยมีความพร้อมรับทั้งนักท่องเที่ยว และนักลงทุน เพราะในช่วงโควิด-19 ระบาด ทุกหน่วยงานไม่ได้หยุดรออะไร แต่เดินหน้าตามแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อพ้นโควิด-19 แล้ว นักท่องเที่ยว นักลงทุนจะต้องมาประเทศไทย” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

'รัฐบาล' ปลื้ม!! โมเดลเศรษฐกิจ BCG ไปไกล หลังวงประชุม UNCTAD หนุนนักธุรกิจ-นักวิจัยผู้หญิง

(5 เม.ย.66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ ว่า ผู้แทนรัฐบาลไทย โดย น.ส.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สกสว. ได้เข้าร่วมการประชุม Commission on Science and Technology for Development (CSTD) ครั้งที่ 26 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อระหว่างวันที่ 26-30 มี.ค.ที่ผ่านมา  

โดยร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจสีเขียวให้กับนักธุรกิจและนักวิจัยหญิง จากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 15 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2566 ที่กรุงเทพฯ ผ่านโครงการ STI Capacity Building Programs on Female Researchers and Entrepreneurs to promote Bio – Circular – Green Economic (BCG) MODEL 

ถอดรหัส 'สื่อปด-ข่าวบิดเบือน' เรื่อง 3 PDF กับ รัฐบาลไทย ความจริงที่ไม่เคยคิดแสวงหา แต่ถูกใจที่ได้มาร่วม 'ใส่สีตีไข่'

เรื่องราวการจับกุม PDF (กองกำลังพิทักษ์ประชาชน : People's Defence Force) ทั้ง 3 คนที่แม่สอด และทางไทยนำส่งกลับไปยังเมียนมา ได้ถูกหยิบมาตีเป็นข่าวใหญ่ เสมือนว่าไทยส่งทั้ง 3 คนไปสู่เงื้อมมือพญายม  
เอย่าว่าดูมันจะโหดร้ายไปหน่อยไหมกับการออกมากระพือข่าวโจมตีรัฐบาลไทย ตั้งแต่ รัฐบาล NUG รวมถึงพรรคก้าวไกลไป และบรรดาเพจที่ออกตัวสนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตยเสียสุดลิ่มทิ่มประตู โดยมิได้หาความจริงเลยว่า...เนื้อแท้ของเหตุการณ์ทั้งหมดนี้คืออะไร?

***ตามรายงานข่าวของสื่อไทยบางสื่อระบุว่า....

“สมาชิกแห่งหน่วยรบพิเศษคอมมานโดฯ ทั้ง 3 คน พยายามข้ามชายแดนเมียนมามายังจังหวัดตาก เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของติฮะ หลังจากพวกเขาถูกโจมตีฐานทัพในจนโด (Kyondo) เมืองกอกะเร็ก (Kawkareik) รัฐกะเหรี่ยง เมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา จนในวันที่ 1 เมษายน พวกเขาเดินทางไปยังคลินิก จนถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองในแม่สอด เพราะหลงทาง”

***คำบรรยายท่อนนี้มีจุดสังเกตที่เป็นนัยยะที่น่าสงสัยดังนี้...

จากประโยคข้างต้นแสดงให้เห็นว่าทั้ง 3 เดินทางมาถึงไทยและอาศัยหลบซ่อนในที่ใดไม่ปรากฎ เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ 1 สัปดาห์ก่อนถูกจับ...ถามว่าเป็นไปได้ไหมที่พวกเขาจะเดินหลงทางจากจุดซ่อนตัวไปยังคลินิกหรือโรงพยาบาลที่รักษาพวกเขา ทั้งๆ ที่พวกเขาเข้ามารักษาแล้วถึงเกือบ 7 วัน?

น่าสงสัยไหมว่าอยู่ดีๆ คนที่ข้ามแดนมาอย่างผิดกฎหมายจะเดินไปหาเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง?...คือ ต้องเข้าใจก่อนว่า ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองนี่เขาจะอยู่เฉพาะจุด เช่นบริเวณด่านชายแดน ซึ่งไม่เหมือนตำรวจกองปราบหรือตำรวจตระเวนชายแดนนะ

มาถึงจุดนี้ในข่าวที่สื่อบางสำนักรายงานออกมามีความคลุมเคลือสงสัยมาก แต่ขอละไว้ก่อน เอย่าจะพามาดูข้อกำหนดว่า หากตำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้พบคนที่เข้าเมืองผิดกฎหมายแล้ว เขาจะทำยังไง?

งานของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของเขาโดย ตาม พรบ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในมาตราที่ 12 วรรค 1 ซึ่งระบุไว้ชัดเจนว่า...
.
>> มาตรา 12 ห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาในราชอาณาจักร...
...วรรค 1 ไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องและยังสมบูรณ์อยู่ หรือมีแต่ไม่ได้รับการตรวจลงตราในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเช่นว่านั้นจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศหรือจากกระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องมีการตรวจลงตราสำหรับคนต่างด้าวบางประเภทเป็นกรณีพิเศษ

>> และในมาตรา 54 ระบุว่า...
...คนต่างด้าวผู้ใดเข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตนั้นสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งตัวคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรก็ได้...

สรุปให้สั้นๆ นะ!! จากจุดนี้จึงมั่นใจได้เลยว่าเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในวันนั้นไม่ได้รู้ด้วยว่า 3 คนนั้นเป็นใคร รู้เพียงแต่ว่า 3 คนนี้เข้ามาอย่างไม่ถูกต้องและต้องถูกส่งกลับตามมาตรา 54 (เคลียร์ตรงนี้ก่อนนะ)

ทีนี้ในข่าวระบุต่อว่า “เจ้าหน้าที่ไทยกลับส่งชายทั้ง 3 กลับไปยังประเทศต้นทาง ด้วยการลงเรือข้ามแม่น้ำเมยในเวลา 08.00 น. ซึ่งสถานที่นั้นคือฝั่งตรงข้ามฐานของกองกำลังพิทักษ์ดินแดนในหมู่บ้านอิงยินเมียอิง (Ingyin Myaing) นอกจากนี้ยังมีคนพบเห็นว่า กองกำลังดังกล่าวยิงใส่ผู้อพยพทั้ง 3 ก่อนลักพาตัวหนีไป”

จากจุดนี้...ว่ากันในเรื่องของการส่งตัวข้ามแดนของไทยตามมาตรา 55 ว่าด้วยการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรนั้น ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งตัวกลับโดยพาหนะใดหรือช่องทางใดก็ได้ ตามแต่พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาเห็นสมควร

ส่วนข้อความที่อ้างว่า “กองกำลังดังกล่าวยิงใส่ผู้อพยพทั้ง 3 ก่อนลักพาตัวหนีไป” อันนี้สับสนมากเพราะถูกกุมตัวแล้วถ้ายิงใส่คงไม่ได้ลักพาตัวหนีไปหรอก แต่น่าจะเป็นหอบร่างไร้วิญญาณเสียมากกว่า

การที่ใครจะออกมาตำหนิการทำงานของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หากคุณเป็นคนไทยควรศึกษาให้มากเกี่ยวกับกฎหมายของไทย ไม่ใช่มีไมค์จ่อปาก คีย์บอร์ดจ่อมือแล้วพูดหรือพิมพ์เป็นเดือดเป็นร้อนโดยหารู้ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายไทย  

...และเชื่อได้เลยถึงจะพาพวกเขาไปส่งฝั่งเมียนมาแล้วเจ้าหน้าที่ไทยยังคงไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทั้ง 3 คนเป็นใคร  เพราะประเด็นฝั่งไทยที่ทั้ง 3 โดนจับ คือ เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย...ส่วนฝั่ง NUG ที่ออกมาตำหนิไทยน่ะนะ...ถ้าหากว่าอยากจะรับผิดชอบต่อ 3 คนนี้ไม่ให้ถูกส่งกลับไปยังเมียนมา ก็ควรจะประกาศออกมาเลยถึงสถานที่ตั้งของ NUG ในประเทศไทยและใครเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะในกรณีนี้เจ้าหน้าที่ไม่รู้จะติดต่อใครจะให้ติดต่อเจ้าหน้าที่สถานทูตเมียนมาในกรุงเทพก็ไม่แคล้วได้รับคำสั่งให้ส่งกลับอยู่ดี 

ข้ามมาในฟากของเหล่าเพจสาวกประชาธิปไตย นี่ก็เช่นกัน ก่อนที่จะงับข่าวใดๆ ไปใส่สีตีไข่ ควรหาความรู้เปิดข้อกฎหมายอ่าน ซึ่งเดี๋ยวนี้สามารถหาได้อ่านฟรีในอินเทอร์เน็ตแล้ว อยากจะปลุกปั่นอะไร อ่านและหาความรู้เยอะๆ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของโฆษณาชวนเชื่อ

*""ประเด็นนี้ทีมงานของเอย่าได้สืบเสาะหาความจริงของเรื่องราวดังกล่าวมาบอกกล่าง ซึ่งน่าจะไม่ตรงกับข่าวในสำนักไหนเลย ลองมาดูไทม์ไลน์กัน...

ส่อง 17 ผลงานเด่นของรัฐบาลตลอด 8 ปีที่ฝากไว้ใน ‘ภาคเหนือ’

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ในส่วนการพัฒนาภาคเหนือ มีการกำหนดให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือเพื่อยกระดับให้เป็นพื้นที่ลงทุนด้านการพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 

การพัฒนาและผลงานที่เป็นรูปธรรมและเอื้อประโยชน์ให้แก่พี่น้องชาวภาคเหนือมีมากมายหลายโครงการ ขอยกตัวอย่างมาให้เห็นคร่าวๆ ดังนี้

1.) พัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ที่เชียงราย

2.) เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา การท่องเที่ยวธรรมชาติและสุขภาพ ตามเส้นทางเมืองเก่าลำพูน ลำปาง เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

3.) ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข 11 ตอนแยกภาคเหนือ-ขุนตาล จาก 4 ช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร

4.) พัฒนาทางหลวงหมายเลข 116 ตอนป่าสัก-สะปุ๋ง-บ้านเรือน-สันป่าตอง จาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 19 กม.

5.) พัฒนาทางหลวงหมายเลข 10.35 ตอนวังหม้อพัฒนา-แจ้ห่ม ระยะทาง 19 กม.

6.) ก่อสร้างส่วนขยายสะพานข้ามทางแยกต่างระดับ แยกภาคเหนือ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 ตอนเกาะคา-สามัคคี กับทางหลวงหมายเลข 11 ตอนแยกภาคเหนือ-ขุนตาน

7.) ก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ทางหลวงหมายเลข 1136 ตอนเหมืองง่า-ลำพูน เพื่อเชื่อมทางเลี่ยงเมืองลำพูน สายเหมืองง่า-ท่าจักร และเชื่อมโยงจังหวัดเชียงใหม่

8.) ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองแม่ริม เมืองสันกำแพง

9.) สร้างสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค

10.) ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม 'เมืองเก่าลำพูน'

11.) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริเวณถนนนิมมานเหมินทร์ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ

12.) ขยายท่าอากาศยานฯ และการศึกษาความเหมาะสมการขยายระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ (Logistic) เชื่อมต่อจากจังหวัดลำปาง-จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน และลดต้นทุนการขนส่งน้ำมัน

13.) โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา

14.) ก่อสร้างประตูระบายน้ำดอยแต ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน: สนามบินภาคเหนือ 

ตอนนี้ความเจริญกำลังแพร่ขยายไปสู่ภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย โดยในภาคเหนือก็มีการพัฒนาสนามบิน ได้แก่ สนามบินแพร่ สนามบินเชียงใหม่ สนามบินลำปาง และสนามบินน่านนคร

เปิดไทม์ไลน์ คณะรัฐมนตรี ‘เศรษฐา 1’ ทำงานเดือนแรก (ก.ย.)

คนไทยทั้งประเทศ เพิ่งได้ทราบชื่อและเห็นหน้าตา คณะรัฐมนตรี ‘เศรษฐา 1’ ทั้ง 34 คนไปแล้ว โดยในวันที่ 5 ก.ย. 66 จะเข้าพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และเตรียมประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกวันที่ 12 ก.ย.นี้
 

‘รัฐบาลไทย’ มอบเงินช่วยเหลือ 3 ล้านบาท แก่ ‘UNRWA’ บรรเทาทุกข์ฉนวนกาซา-ผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกกลาง

(3 พ.ย. 66) นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมอบเงินบริจาคเป็นกรณีพิเศษ แก่สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติ สำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกกลาง (United Nations Relief and Works Agency for Palestine Refugees in the Near East : UNRWA) จำนวน 3 ล้านบาท หรือ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีนาย Giuseppe De Vincentiis รักษาการ UN Resident Coordinator เป็นผู้แทนรับมอบ เพื่อตอบสนองต่อการร้องขอฉุกเฉิน (flash appeal) ต่อเหตุความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นในฉนวนกาซาของ UNRWA ในเดือนตุลาคม 2566

‘พิธา’ วิเคราะห์ผลงาน 100 วันแรก ‘รบ.เศรษฐา’ มีตั้งแต่ ‘คิดดีทำได้’ ไปจนถึง ‘คิดอย่างทำอย่าง’

(15 ธ.ค. 66) ที่อาคารอนาคตใหม่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงข่าววาระ 100 วัน วิเคราะห์ผลงานรัฐบาลเศรษฐา พร้อมชงข้อเสนอที่ต้องปรับปรุงสำหรับการทำงานของรัฐบาลสำหรับปี 2567 ข้างหน้า

พิธา ระบุว่า 100 วันแรกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก ในการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการรักษาสัญญาที่มีไว้ให้กับประชาชนก่อนที่จะมาเป็นรัฐบาล ในฐานะโรดแมปในการบริหาร ตามงาน และการสั่งงานของรัฐบาล และในฐานะการบริหารความคาดหวังและความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนจากต่างประเทศ ด้วยข้อจำกัดทั้งเรื่องเวลาและงบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลทั่วโลกจึงจำเป็นจะต้องมีโรดแมปว่า 100 วันแรกจะมีการขับเคลื่อนอย่างไรได้บ้าง

สำหรับภาพใหญ่ พรรคก้าวไกลวิเคราะห์ผลงานของรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน ในช่วง 100 วันแรกด้วยระบบ ‘5 คิด’ ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งข้อดีและข้อด้อยของการทำงานที่ผ่านมา ประกอบด้วย...

1) “คิดดีทำได้” คือการบริหารผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ซึ่งต้องชื่นชมรัฐบาลและขอบคุณไปยังกระทรวงการต่างประเทศในการตั้งทีมเจรจา รวมถึงทีมเจรจาของทางรัฐสภาที่นำโดยอาจารย์วันนอร์ ที่ทำให้คนที่ถูกลักพาตัวไปได้รับการปล่อยตัว 23 คน การเยียวยาอนุมัติงบประมาณ 50,000 บาทต่อราย และการออกสินเชื่อเพื่อให้แรงงานไทยสามารถคืนถิ่นได้

แต่สิ่งที่อยากฝากรัฐบาลให้ทำต่อ คือการช่วยเหลือตัวประกันที่ยังอยู่กับฮามาสอีก 9 คน รวมถึงการอนุมัติเงินเยียวยาและการส่งต่อให้กับพี่น้องแรงงาน และหวังว่าสิ่งที่ได้ทำไปแล้วนี่จะเป็นการถอดบทเรียน ในกรณีที่เกิดความรุนแรงในพื้นที่อื่นของโลกอีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นในการอพยพ การขนแรงงานกลับประเทศ การช่วยเหลือพี่น้องแรงงานในเรื่องเกี่ยวกับเงินทองค่าใช้จ่าย ก็หวังว่ารัฐบาลจะสามารถต่อยอดและทำเรื่องนี้ให้ดีขึ้นได้ในภายภาคหน้า

2) “คิดไปทำไป” โดยเฉพาะนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งตนเข้าใจว่าในการทำนโยบายบางครั้งจำเป็นที่จะต้องมีความยืดหยุ่นและไม่สามารถที่จะคิดจบในครั้งเดียว เราเห็นด้วยกับความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นและการพัฒนาเทคโนโลยี แต่งบประมาณที่ใช้จำนวนมากมายถึง 500,000 ล้านบาทไม่ควรที่จะกระทบพื้นที่ทางการคลังในการแก้ไขปัญหาที่แท้จริงของบ้านเมือง

ที่ผ่านมา นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตมีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างน้อย 4 ครั้ง แสดงให้เห็นอาการของการคิดไปทำไป ก่อนเลือกตั้งมีการอธิบายว่าจะใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินโดยไม่ต้องมีการกู้ แต่พอเป็นรัฐบาลก็บอกว่าจะใช้งบประมาณนอกจากธนาคารออมสิน แต่หลังจากนั้นกฤษฎีกาก็บอกว่าผิด พ.ร.บ.ออมสิน ไม่สามารถใช้เงินจากธนาคารออมสินได้ ก็เลยเกิดการเปลี่ยนครั้งที่สองในเรื่องที่มาของเงิน จำเป็นต้องใช้เงินจากงบผูกพัน ซึ่งต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยก็บอกว่าผิด พ.ร.บ.เงินตรา ทำให้ต้องคิดไปทำไปในครั้งที่สาม เป็นการใช้งบประมาณบวกกับ พ.ร.บ.เงินกู้ แต่ก็มีการเปลี่ยนอีกเป็นครั้งที่สี่มาสู่การใช้เงินจาก พ.ร.บ.เงินกู้ 100% 

ทั้งนี้ ถ้าดูการเปลี่ยนครั้งที่สี่เทียบกับสิ่งที่ได้สัญญาก่อนเลือกตั้งไว้ ก็จะเห็นได้ถึงความแตกต่างกันอย่างชัดเจน นี่คือการคิดไปทำไป ซึ่งไม่ได้มีแค่เรื่องที่มาของงบประมาณเท่านั้น เรื่องของการใช้เทคโนโลยีก็เช่นกัน ก่อนเลือกตั้งบอกจะใช้ซุปเปอร์แอปและเทคโนโลยีบล็อกเชน ผ่านไปก็บอกจะใช้แอปฯ เป๋าตังและจะใช้บล็อกเชนเป็น Backup เป้าหมายจาก 56 ล้านคนก็เปลี่ยนมาเหลือ 50 ล้านคน จากที่จะเริ่มช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ก็เปลี่ยนไปเป็นเริ่มที่เดือนพฤษภาคม 2567 เป็นต้น

พิธา กล่าวต่อไปว่า ดิจิทัลวอลเล็ตเป็นนโยบายที่ใช้งบประมาณสูง เป็นการไปเบียดบังงบประมาณส่วนที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาเรื่องอื่นๆ ในระยะยาวต่อได้ แต่รัฐบาลกลับไม่ได้คิดอย่างตกผลึกและมีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทำให้เกิดความสับสนในสังคมและในกลุ่มของตลาดทุนด้วยเช่นเดียวกัน

ดังนั้น สิ่งที่เราคาดหวังจากรัฐบาล คือการมี “แผนสอง” ในกรณีที่ดิจิทัลวอลเล็ตไม่สามารถทำได้หรือติดปัญหาในการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ในปีหน้ารัฐบาลควรที่จะมีความชัดเจนและไม่มีการปรับเปลี่ยนอีกแล้วถ้ายังยืนยันจะทำดิจิทัลวอลเล็ต แต่ถ้าไม่ได้เป็นดิจิทัลวอลเล็ตก็ควรจะเกาให้ถูกที่คันและเลือกที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนจากทางรัฐบาลเอง

“อย่าลืมว่าจีดีพีมาจากการบริโภค บวกการลงทุนภาคเอกชน บวกการลงทุนภาครัฐ บวกส่งออก ลบนำเข้า ไม่จำเป็นที่จะต้องกระตุ้นจากการบริโภคอย่างเดียว การลงทุนก็สำคัญ การบริหารการส่งออกในช่วงเศรษฐกิจโลกแบบนี้ก็สำคัญ เพราะฉะนั้น เรามีวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่าสิ่งที่ทำอยู่ ในกรณีที่ไม่สามารถทำได้ก็ควรที่จะมีแผนสองได้แล้ว” พิธากล่าว

3) “คิดสั้นไม่คิดยาว” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของประชาชนอย่างค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน หรือค่าเดินทางจากการขนส่งสาธารณะ สิ่งที่รัฐบาลได้ทำไปแล้วในระยะสั้นมีทั้งการลดค่าไฟลงมาอยู่ที่ 3.99 บาทต่อหน่วย ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงธันวาคม โดยใช้วิธีการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ แบกภาระหนี้ค่าเชื้อเพลิง ในขณะเดียวกันเมื่อไม่นานมานี้ก็มีมติของคณะกรรมการพลังงานออกมา เคาะค่าไฟอยู่ที่ 4.68 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อที่จะชำระหนี้ที่แบกไว้ในอดีต ซึ่งนายกรัฐมนตรีออกมาบอกว่าสูงเกินไปและต้องการลดลงมาอยู่ที่ 4.20 บาท นี่แสดงให้เห็นว่าหลายครั้งที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการในการประชุม ครม. แต่ไม่ได้มีการตามงานต่อ ว่าในการที่จะลดให้ได้ถึงราคาที่เป้าหมายนั้นต้องทำอย่างไรบ้างและข้าราชการต้องทำอย่างไรบ้าง อีกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว คือการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสายสำหรับรถไฟสายสีม่วงและสายสีแดง โดยมีประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์ประมาณ 80,000 คน หรือเพียง 5% ของผู้ใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด

แต่สิ่งที่ควรจะเป็นและเราคาดหวังจากรัฐบาล ในส่วนของค่าพลังงาน ก็คือการปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติระหว่างโรงงานไฟฟ้าและโรงงานปิโตรเคมี ถ้าสามารถหาค่าเฉลี่ยหรือเอาก๊าซที่ถูกกว่าให้โรงไฟฟ้าใช้ผลิตให้กับประชาชน ก็จะสามารถลดค่าไฟลงได้ถึง 70 สตางค์ต่อหน่วย รวมถึงการเจรจากับผู้ประกอบการรายใหญ่ ในกรณีค่าพร้อมจ่ายที่เกิดขึ้นแม้ไม่มีการผลิตไฟ ที่ประชาชนยังจะต้องจ่ายค่าพร้อมจ่ายอยู่ประมาณ 15 สตางค์ต่อหน่วย ขณะเดียวกันปีหน้ารัฐบาลควรประกาศทบทวนการอนุญาตโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ในการผลิตกำลังไฟสำรองที่ไม่มีความจำเป็น และควรกระจายโอกาสในการผลิตพลังงานสะอาดผ่านโซลาร์เซลล์ให้มากขึ้น

ในส่วนของค่าโดยสาร สิ่งที่สำคัญคือการคมนาคมสาธารณะไม่ได้มีแค่รถไฟ ถ้าเรามองภาพใหญ่คนส่วนใหญ่จำนวนมากยังใช้รถเมล์และเรือ การทำให้การขนส่งสาธารณะมีความสะดวก การพัฒนาระบบตั๋วร่วม ฯลฯ ก็เป็นสิ่งที่น่าจะคิดยาวเพื่อแก้ปัญหาให้คนกลับมาใช้ขนส่งสาธารณะมากขึ้น แต่ถ้าจะมองในแง่ของรถไฟเพียงอย่างเดียว สิ่งที่รัฐบาลจะเกาแล้วถูกที่คันก็คือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากที่สุด

4) “คิดใหญ่ทำเล็ก” โดยเฉพาะนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญในการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือการตั้งคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ การเคาะงบประมาณ 5,164 ล้านบาทสนับสนุน 11 อุตสาหกรรม การเสนอตั้ง THACCA (Thailand Creative Content Agency) การเสนอตั้งศูนย์บ่มเพาะอัพสกิล-รีสกิล สำหรับแรงงาน 20 ล้านคน โดยมีเป้าหมายปีแรกที่ 1 ล้านคน และการทำวินเทอร์เฟสติวัลและสงกรานต์ตลอดเดือนเมษายน

ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ในสิ่งที่ควรจะเป็นและเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้เคยสัญญาไว้กับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือการเพิ่มเสรีภาพในการสร้างคอนเทนต์สร้างสรรค์ เช่น การเสนอแก้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ การเพิ่มสิทธิเสรีภาพในกาสร้างสรรค์ผลงาน ที่รัฐบาลให้สัญญาไว้ว่าจะทำใน 100 วันแรกที่เป็นรัฐบาล การตั้ง THACCA ถ้าต้องการที่จะทำจริงๆ ต้องเรียนรู้จากสิ่งที่รัฐบาลเกาหลีทำกับ KOCCA นั่นคือการตั้งด้วย พ.ร.บ. ไม่ใช่แค่การพูดถึงว่าจะตั้งสถาบันส่งเสริมขึ้นมา รัฐบาลควรที่จะใช้เวลา 100 วันแรกที่ผ่านไปแล้วในการยื่น พ.ร.บ. ตั้ง THACCA เพื่อจะได้เห็นภาพได้ชัดว่าการบริหารจัดการสถาบันอันใหม่มีอำนาจรองรับ และสามารถทำให้คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มองเห็นได้ว่า THACCA กับสิ่งที่มีอยู่เดิมในการบริหารจัดการเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร

ทั้งนี้ การแก้กฎหมายอาจใช้เวลานาน แต่การเสนอเข้าไปก็จะทำให้เห็นถึงความตั้งใจของว่ารัฐบาล ว่าจะทำงานอย่างไรต่อไป อีกทั้งยังมีกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศในระดับกระทรวงที่สามารถเสนอลดขั้นตอนการขออนุญาตกองถ่ายหรือในการจัดเฟสติวัลได้ ซึ่งสามารถทำได้ทันทีโดยอำนาจของ ครม. และอำนาจของรัฐมนตรี นี่ก็เป็น Quick Win ที่เราอยากเห็นจากการดำเนินงานของรัฐบาล รวมถึงการสนับสนุนการรวมตัวของแรงงานฟรีแลนซ์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์หรือกระทั่งสื่อมวลชน ที่ พ.ร.บ.แรงงาน ของพรรคก้าวไกลได้เสนอเข้าไปสู่สภาฯ แล้ว ถ้ามีการพิจารณาตรงนี้จะทำให้คนทำงานฟรีแลนซ์สามารถรวมตัวกันและเรียกร้องสวัสดิการ เพื่อให้มีแรงผลักดันในการสร้างผลงานที่สร้างสรรค์ต่อไป

เรื่องของ 11 อุตสาหกรรมที่รัฐบาลได้พูดไว้ เรื่องของอาหารเป็นหนึ่งในนั้น สิ่งที่เป็นควิกวิน (Quick Win) ที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสามารถทำได้เลยก็คือการแก้กฎกระทรวงให้เกิดสุราก้าวหน้า แก้แค่ว่าการผลิตแอลกอฮอล์นั้นไม่สามารถที่จะใช้กฎหมายในการกีดกันด้วยเงินทุน จำนวนผู้ผลิต หรือจำนวนแรงม้า ก็สามารถที่จะทำให้ผู้ประกอบการที่มีเรื่องราว ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญา สามารถที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลย

สุดท้ายสิ่งที่เกาหลีได้ทำในการสร้าง K-Wave คือการทำคูปองเปิดโลก 2,000 บาท ในการกระตุ้นอุปสงค์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ดนตรี หนังสือ พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ได้ทันที รวมถึงการเพิ่มรอบฉายของภาพยนตร์ไทย สามารถเพิ่มรอบฉาย 30% ของรอบฉายที่อยู่ในโรงหนังทั้งหมด สามารถเพิ่มทั้งในแง่อุปทานและอุปสงค์ของอุตสาหกรรมนี้ได้โดยเร็ว ภายใน 100 วันแรกเช่นเดียวกัน

5) “คิดอย่างทำอย่าง” เป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายการเมือง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในการแก้รัฐธรรมนูญ คือการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะทำประชามติกี่รอบและคำถามจะเป็นอย่างไร และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจพอสมควร เพราะในการทำงานร่วมกันในฐานะฝ่ายค้านร่วมระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลในอดีตที่ผ่านมา ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าเราเห็นตรงกัน 90% ไม่ว่าจะเป็นที่มาของ สสร. หรือกระบวนการทำประชามติ แน่นอนว่าอาจจะมี 5-10% ที่อาจจะเห็นต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่พอพรรคเพื่อไทยเข้าสู่อำนาจกับขั้วตรงข้ามที่ไม่อยากเห็นการแก้รัฐธรรมนูญ การปฏิรูปกองทัพ ฯลฯ ก็เกิดความไม่ชัดเจน เกิดความคิดอย่างทำอย่างขึ้น

ในขณะที่สิ่งที่ควรจะเป็นนั้น ค่อนข้างชัดเจนว่าจากการศึกษาในรัฐสภาครั้งที่เเล้ว รวมถึงการพูดคุย ดีเบต ทำสัญญาประชาคมกับประชาชนในการหาเสียงที่ผ่านมา การทำประชามติควรที่จะมี 1+2 คำถาม คือจะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดย สสร. หรือไม่, สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ และ สสร. ควรมีอำนาจพิจารณาแก้ร่างรัฐธรรมนูญทุกหมวดหรือไม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ในการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความยุติธรรมการเข้าถึงอำนาจอย่างตรงไปตรงมา

พิธา กล่าวต่อไป ว่าสุดท้ายนี้ตนอยากเสนอความคาดหวังต่อรัฐบาลในปีหน้าที่สะท้อนมาจากประชาชน ในปีหน้าจะมีปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมเรื่องใหญ่ๆ ที่เป็นเรื่องร้อนที่รัฐบาลต้องแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุนในเมกะโปรเจกต์อย่างแลนด์บริดจ์ การปฏิรูปการศึกษา ปัญหาเรื่อง pm2.5 ปัญหาภัยแล้งที่ปีหน้าน่าจะหนักเป็นประวัติการณ์

1) เราต้องการเห็นโรดแมป 1 ปี ที่สะท้อนให้เห็นว่าวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และแผนในการปฏิบัติคืออะไร โรดแมปที่ดีก็คือการมีแผนที่ชัดเจนในการทำงาน ให้ประชาชนสามารถติดตามได้ มีเป้าหมาย KPI ที่ชัดเจน

2) มีกระบวนการทำงานที่เป็นมืออาชีพในการผลักดัน จะมีเป้าหมายอย่างไรและจะมีกระบวนการไปถึงเป้าหมายนั้นอย่างไร

3) การทำงานของรัฐบาลผสมที่ต้องทำงานให้เป็นเอกภาพมากกว่านี้

4) การศึกษาโครงการสำคัญๆ อย่างละเอียด เช่น เมกะโปรเจกต์อย่างแลนด์บริดจ์ ต้องมีความชัดเจนและมีระยะเวลาที่ชัดเจน

“หากทำได้ตามนี้ ก็มั่นใจว่าจะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในปีหน้าสามารถเรียกความเชื่อมั่น และแสดงความมุ่งมั่นให้ประชาชนได้เห็นถึงความตั้งใจของรัฐบาล ที่จะรักษาสัญญาที่มีไว้กับประชาชนในการหาเสียง รวมทั้งสามารถบริหารได้ดีขึ้น และสุดท้ายก็จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นจากทางประชาชนทั้งในประเทศและนอกประเทศได้ไม่มากก็น้อย” พิธากล่าว

ทั้งนี้ หลังการแถลงจบลง สื่อมวลชนได้ถามพิธาว่าให้คะแนนรัฐบาลใน 100 วันแรกผ่านหรือไม่ผ่าน ซึ่งพิธาระบุว่า ผ่านบ้างไม่ผ่านบ้าง มีบางเรื่องที่ทำได้ดีแล้วก็ขอให้ทำต่อ บางเรื่องที่ทำแล้วยังมีข้อที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงก็หวังว่ารัฐบาลจะรับฟังข้อเสนอของฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์ และฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน

นอกจากนี้ ยังมีการถามถึงการคาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2567 ซึ่งพิธาระบุว่าตามที่มีสื่อมวลชนวิเคราะห์ออกมา ปีหน้ารัฐบาลมีความท้าทายทั้งในเรื่องการเติบโตของจีดีพี เรื่องดิจิทัลวอลเล็ตที่อยู่ในกฤษฎีกา การกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ทำรายได้รวมไม่ถึง 4 แสนล้านบาทตามเป้าหมาย ถึงแม้จะมีนักท่องเที่ยวกลับมาแล้วถึง 27 ล้านคนแล้วก็ตาม การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน ที่คาดไว้ว่าในระดับประเทศอื่นจะอยู่ที่ 60% แต่ประเทศไทยกลับมาแค่ 40% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านโยบายฟรีวีซ่ายังไม่เพียงพอ

คำตอบจึงขึ้นอยู่กับการทำงานของรัฐบาล ถ้าฟังประชาชนและฟังเพื่อนนักการเมืองบ้าง ว่ารัฐบาลควรจะต้องทำงานอย่างมีโรดแมป มีแผน 1 ปี และมีแผนปฏิบัติการได้แล้ว แต่ละไตรมาสจะทำอะไรบ้าง กฎหมายสำคัญที่จะต้องยื่นเข้าสู่สภาเพื่อให้รัฐบาลสามารถทำงานได้คืออะไรบ้าง

“ผมเห็นหลายครั้งว่ารัฐบาลเน้นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ปัญหาปากท้อง แต่ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ที่จะสามารถยื่นเข้าไปก็ยังไม่เห็นภาพตรงนี้ ก็ไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำอะไรให้เป็นเรื่องของการแก้ทางโครงสร้างหรือการแก้ทางต้นตอได้ เพราะต้องยอมรับว่าปัญหาเศรษฐกิจหลายเรื่องไม่ได้มีแต่เพียงแค่เรื่องการขาดงบประมาณหรือขาดวิสัยทัศน์ แต่มีกฎหมายเก่าที่ไม่เอื้ออำนวย ตรงนี้ก็อยากเห็นความชัดเจนในหลายๆ ด้านในการทำงานปีหน้า” พิธากล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top