Tuesday, 7 May 2024
รักษ์โลก

How to ทิ้ง "แยกขยะก่อนทิ้ง" กับ 8 ทางแยก(ขยะ)วัดใจ แยกให้ถูกถัง...เพิ่มพลังรักษ์โลก!!

หยุด!! การทิ้งขยะรวมกันในถังเดียวได้แล้ว เพราะ “การแยกขยะก่อนทิ้ง” เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยสิ่งแวดล้อม แล้วสามารถเริ่มได้จากตัวเราเอง ถ้าหากสิ่งแวดล้อมดี เราทุกคนก็จะดำเนินชีวิตได้อย่างสบายใจ และสูดลมหายใจได้อย่างเต็มปอด วันนี้ทาง THE STATES TIMES เลยขอชวนทุกคนมา “แยกขยะก่อนทิ้ง” แบบง่าย ๆ และถูกวิธีไปด้วยกันเลยยย...  

สามารถรับชมเพิ่มเติมได้ทาง >> https://youtu.be/gwJRhvCwy9k

 

'กระทง' แบบไหนย่อยสลายได้เร็วที่สุด?

วันลอยกระทงปีนี้ ไม่ว่าคุณวางแผนจะไปลอยกระทงที่ไหน คุณควรรู้ไว้ว่ากระทงแสนสวยทุกใบจะต้องกลายเป็น 'ขยะ' ในวันถัดไป ดังนั้น มาดูกันสักนิดว่า กระทงแต่ละชนิด 'ใช้เวลาย่อยสลาย' นานแค่ไหน?

>> กระทงน้ำแข็ง ใช้เวลาย่อยสลาย 30 นาที - 1 ชั่วโมง 

>> กระทงมันสำปะหลัง ใช้เวลาย่อยสลาย 30 นาที - 1 ชั่วโมง

>> กระทงขนมปัง - โคนไอศครีม ใช้เวลาย่อยสลาย 3 วัน

รู้จัก 'Plant-based' อาหารแห่งอนาคต เพื่อสุขภาพและรักษ์โลก

ใครที่กำลังสงสัยว่า ‘Plant-based’ คืออะไร? ทำไมถึงเป็นเทรนด์อาหารที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน อยากบอกเลยว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจมาฝากกัน สามารถติดตามได้จาก info นี้เลย

หลวงพ่อแดง ไอเดียล้ำ นำขยะลอยกระทงไปคัดแยก บดเป็น ‘ปุ๋ย-อาหารไก่’ แจกชาวบ้าน ช่วย ‘รักษ์โลก-ลดต้นทุน’

เจ้าอาวาสวัดอินทาราม อัมพวา นำพระลูกวัด คณะกรรมการวัด และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่นำเรือที่ใช้บิณฑบาตออกเก็บกระทง บริเวณหน้าวัดกว่า 3 กม. ช่วยช่วยกันอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง และนำไปเป็นอาหารไก่เพื่อลดต้นทุน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากคืนที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของจังหวัดสมุทรสงครามได้มีการจัดงานลอยกระทงโดยมีประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยว และร่วมลอยกระทงในแม่น้ำแม่กลอง และลำคลองต่าง ๆ กันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีกระทงซึ่งส่วนใหญ่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ต้นกล้วย และใบตอง แม้จะย่อยสลายง่าย แต่ทำให้ดูไม่สวยงามและอาจทำให้น้ำเน่าเสียหากปล่อยทิ้งไว้

วันนี้ (9 พ.ย. 65) พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ หรือ หลวงพ่อแดง นันทิโย รองเจ้าคณะอำเภออัมพวา เจ้าอาวาสวัดอินทาราม ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้นำพระลูกวัด คณะกรรมการวัด และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่นำเรือที่ใช้บิณฑบาตออกเก็บกระทง เริ่มจากหน้าวัดอินทาราม ไปในคลองแควอ้อม ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

'กะลามะพร้าว' วัสดุธรรมชาติใช้ผลิตกระทงสาย ช่วยลดปัญหาขยะ ควบคู่สืบสานประเพณีวัฒนธรรม

กระทงสายจาก ‘กะลามะพร้าว’ ทางเลือกใหม่ที่สามารถรักษาวัฒนธรรมอันดีและรักษ์โลกไปด้วยได้พ
ร้อมๆ กัน

รู้จัก 'ไบโอพลาสติก' พลาสติกรักษ์โลก หลัง 'บีโอไอ' อวด!! ไทยขึ้นแท่นฮับแห่งการผลิตอันดับ 2

เมื่อไม่นานมานี้ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของบีโอไอ ภายใต้แนวคิด BCG ที่จะผลักดันให้เกิดการลงทุนโดยดึงศักยภาพของไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งวัตถุดิบหลักที่มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอที่สามารถป้อนให้อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพได้ โดยเฉพาะอ้อยและมันสำปะหลัง ประกอบกับความพร้อมด้านบุคลากรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพอันดับ 2 ของโลก 

โดยในปัจจุบันพลาสติกชีวภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นที่ต้องการในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมการแพทย์ และยานยนต์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรของไทย อีกทั้งยังสนับสนุนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วย

ปัจจุบัน บีโอไอได้ให้การส่งเสริมการลงทุนผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพรายใหญ่ระดับโลกหลายรายแล้ว อาทิ บริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชียแปซิฟิก จำกัด และบริษัท โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ จำกัด ผู้ผลิตพอลิเมอร์ ชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ ชนิดโพลีแลคติด แอซิค (Polylactic Acid: PLA) บริษัท พีทีที

เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS (Polybutylene Succinate) บริษัท ดูปองท์ นิวทริชั่น จำกัด ผู้ผลิตไมโครคริสตัลไลน์เซลลูโลสสำหรับผลิตฟิล์มเคลือบอาหารที่สามารถย่อยสลายได้ และบริษัท เอ็นวิคโค จำกัด ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลชนิด rPET (Food Grade) ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท Alpla ประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกรายใหญ่ของยุโรป และล่าสุด บริษัท ไทยโพลิเอทิลีน จำกัด บริษัทย่อยของบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ร่วมทุนกับ Braskem ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพรายใหญ่ของโลก จัดตั้งโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีน สำหรับผลิตเม็ดพลาสติกไบโอ-พอลิเอทิลีน (Green-Polyethylene) ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

“ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2561 จนถึงเดือนมิถุนายน 2566 บีโอไอให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตพลาสติกชีวภาพ จำนวน 24 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 37,000 ล้านบาท และจากนี้ไปบีโอไอจะเน้นการสร้างความเข้มแข็งด้านซัพพลายเชนของพลาสติกชีวภาพตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้งเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย เพื่อสร้างมูลค่าต่อยอดวัตถุดิบทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 

รวมถึงจะเดินหน้าเชิญชวนบริษัทรายใหญ่ระดับโลกให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพมากขึ้น โดยจะใช้จุดแข็งที่ไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งวัตถุดิบและบุคลากรที่มีความพร้อมรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม รวมทั้งมีสิทธิประโยชน์และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศ และตอบโจทย์ทิศทางเมกะเทรนด์ของโลกด้วย” นายนฤตม์ กล่าว

‘รมว.อุตฯ’ ดัน 5 วาระด่วน ชวน ‘อุตฯ ไทย’ รักษ์โลก เชื่อมการค้านานาชาติ หลังทุก ปท.มุ่งสู่อุตฯ สีเขียว

‘รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม’ เดินหน้านโยบายเร่งด่วนยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกขนาด ผ่านแนวคิด ‘อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ’ ที่ ‘เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน’ ปรับโหมดยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อลดโลกร้อนและสอดรับกับ BCG Model (บีซีจี โมเดล) เพื่อก้าวสู่บริบทการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่ เข้มมาตรฐานการผลิต ใช้เทคโนโลยี อำนวยความสะดวกเพิ่มการติดตาม ด้านสิ่งแวดล้อม เปิดทางให้ชุมชนมีส่วนร่วม มุ่งขับเคลื่อนภาคการผลิต เติบโตแบบยั่งยืน

(2 ต.ค.66) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายเร่งด่วนให้หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมพัฒนาผู้ประกอบการทุกขนาดยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืนโดยนำแนวคิด ‘อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ’ ที่ ‘เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน’ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มและอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ที่ไทยวางเป้าหมายสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ปีค.ศ. 2065 และสอดคล้องกับนโยบาย BCG Model ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อเพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดการเกิดของเสียโดยจัดการใช้ทรัพยากรภายในสถานประกอบการให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

“กระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีบทบาทเป็นหน่วยงานส่งเสริมแทนการกำกับดูแลที่เน้นให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดให้มากขึ้นด้วย เพื่อให้โรงงานมีความคล่องตัวในการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีความทันสมัย มีต้นทุนแข่งขันได้ ควบคู่ไปกับการดูแลชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยยึดหลัก อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจไทยเป็นไปแบบยั่งยืนที่แท้จริง” รมว.อุตสาหกรรมกล่าว

ทั้งนี้ ทั่วโลกกำลังมุ่งไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทำให้ประเทศพัฒนาแล้วกำหนดมาตรการต่างๆ ในการลดภาวะโลกร้อนที่ทำให้มีระเบียบ ข้อบังคับสำหรับการนำเข้าสินค้าที่เป็นลักษณะกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ดังนั้นผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัวในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งยกระดับผู้ประกอบการผ่านกลไกต่างๆ ที่จะทำให้การดูแลสิ่งแวดล้อมไม่เป็นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด 

ดังนั้นวาระเร่งด่วนจึงให้ความสำคัญดังนี้…

1. มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมที่รองรับบริบทการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านการท่องเที่ยว การใช้พลังงานสะอาดและการลดการใช้ฟอสซิล อุตสาหกรรม Soft power ฯลฯ

2. การผลักดันให้หน่วยงานกระทรวงอุตสาหกรรมก้าวสู่การเป็นภาครัฐดิจิทัล (Digital Government) อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเป็นกลไกในการให้บริการ การขออนุมัติ/อนุญาต และบูรณาการการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ One Stop Service เพื่อเป็นกลไกในการกำกับดูแลโรงงาน เหมืองแร่ และมาตรฐานอย่างจริงจัง

3. เร่งแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และกากของเสีย โดยกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษในพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่นให้เข้มงวดขึ้น การรวมพลังของกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ประกอบการในการกำกับดูแลแม่น้ำลำคลอง การทิ้งกากอุตสาหกรรม และมาตรฐานความปลอดภัยในการประกอบการต่างๆ

4. กำหนดมาตรการแก้ไขฝุ่นมลพิษ PM 2.5 โดยการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า การยกระดับการบังคับใช้มาตรฐานการปล่อยมลพิษไปสู่มาตรฐาน EURO 6 ในรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป การกำกับการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศจากโรงงานอย่างเข้มงวด การส่งเสริมมาตรการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ดูแลพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่ไม่มีการลักลอบเผา ตลอดทั้งการช่วยเหลือโรงงานน้ำตาลที่ไม่รับอ้อยลักลอบเผา

5. ขยายการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมโดยใช้แนวทางของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ EEC ในภูมิภาคต่างๆ โดยเน้นการใช้พลังงานสะอาด และมาตรการลดราคาที่ดินและบริการเพื่อเป็นกลไกดึงดูดการลงทุนรายใหม่ 

'การบินไทย' รีแคป!! 2 ทศวรรษแห่งการโบยบิน รันธุรกิจเคียงคู่ 'รักษ์โลก' ในทุกกระบวนการ

เมื่อวานนี้ (25 ต.ค.66) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าว 'FROM PURPLE TO PURPOSE' การปรับเปลี่ยนเครื่องแบบพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงที่ผสมผสานอัตลักษณ์ความเป็นไทยเข้ากับแนวคิดเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) อย่างลงตัว โดยจะเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป โดยมี นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ พร้อมด้วย นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหารร่วมแถลงข่าว

ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การบินไทยดำเนินธุรกิจโดยตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากอุตสาหกรรมการบินมาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านกิจกรรมและโครงการริเริ่มต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการลดการใช้ทรัพยากร ลดปริมาณขยะด้วยการนำวัสดุที่ไม่ใช้งานแล้วกลับมาพัฒนาสร้างคุณค่าให้เกิดประโยชน์เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ภายใต้แนวคิด Zero Waste Living ซึ่งประกอบด้วยหลักการหลัก 3 ประการ ได้แก่ 

FROM PLANES TO PLANET-การบินเพื่อสิ่งแวดล้อม
FROM WASTE TO WEALTH-การพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 
FROM PURPLE TO PURPOSE-จากใจสู่เป้าหมายเพื่อความยั่งยืน

เครื่องแบบชุดไทยเรือนต้นของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงของการบินไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ และได้รับการยอมรับในเรื่องความสวยงาม ได้รับการจดจำและเป็นสิ่งแสดงออกถึงเอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงความเป็นสายการบินแห่งชาติที่เปรียบเสมือนประตูบานแรกที่เปิดต้อนรับผู้โดยสารจากประเทศต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ได้ถูกนำมาตัดเย็บด้วยเส้นไหมไทยถักทอผสมผสานกับเส้นใยแปรรูปจากวัสดุรีไซเคิล คงไว้ซึ่งความงดงามในความเป็นไทยที่เพิ่มคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัวด้วยประโยชน์ใช้สอยครบถ้วน โดดเด่นในเรื่องความง่ายในการดูแลรักษา การคงรูปแต่ให้ความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการใช้งาน และยังได้มีการทดสอบในด้านความปลอดภัยที่เป็นตามมาตรฐานสากล

เครื่องแบบชุดไทยเรือนต้นดังกล่าวจะปรากฏในทุกที่สาธารณะทั่วโลกและทุกชั้นบริการบนเครื่องบิน ในฐานะเครื่องแบบของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงของการบินไทย ซึ่งจะสวมใส่พร้อมกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป 

ที่ผ่านมา บริษัทได้เริ่มดำเนินการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานด้วยการนำเครื่องบินและเครื่องยนต์สมัยใหม่ที่มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำมาใช้ในการให้บริการ และปรับปรุงการปฏิบัติการบิน อาทิ การนำเทคนิค Single Engine Taxi และการลดน้ำหนักการบรรทุกมาปรับใช้ในการปฏิบัติการบิน เป็นต้น 

นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการปรับปรุงกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งรวมถึงการจัดทำแผนการนำเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF-Sustainable Aviation Fuel) มาใช้ทำการบิน และการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากกิจกรรมการบิน อาทิ กิจกรรมครัวการบิน กิจกรรมสายช่าง กิจกรรมการบริการภาคพื้น ตลอดจนกิจกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืนทางสังคม อาทิ การสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากภาคการเกษตรของเกษตรชาวไทยและผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่บริษัทฯ กำหนดไว้

‘เอสซีจี’ ขยายผลความร่วมมือเพื่อความยั่งยืนในอาเซียน จัด ESG Symposium 2023 ที่อินโดนีเซียเป็นครั้งแรก

(8 พ.ย. 66) เอสซีจีจัดงาน ESG Symposium 2023 ที่ประเทศอินโดนีเซียเป็นครั้งแรก เป็นการต่อยอดความร่วมมือด้านความยั่งยืนสู่ภูมิภาค จากเวที ESG Symposium ในประเทศไทย โดยงาน ESG Symposium 2023 Indonesia จัดภายใต้แนวคิด ‘ความร่วมมือเพื่ออินโดนีเซียที่ยั่งยืน’ (Collaboration for Sustainable Indonesia)

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เร่งการบรรลุเป้าหมายการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ลดความเหลื่อมล้ำ ตามกลยุทธ์ ESG 4 Plus และมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2060 ตามเป้าหมาย Nationally Determined Contributions (NDC) ของอินโดนีเซีย

ทั้งนี้งานดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม และคนรุ่นใหม่กว่า 500 คน รวมพลังนำอินโดนีเซียสู่ความยั่งยืน ผ่านการแสดงวิสัยทัศน์ นโยบาย และนวัตกรรมเทคโนโลยี อาทิ โครงการด้านพลังงานสะอาด เชื้อเพลิงทดแทนจากขยะมูลฝอย โซลูชันพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ นวัตกรรมระบบบำบัดน้ำเสีย และแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการจัดการป่าไม้และการวัดปริมาณคาร์บอนเครดิต เป็นต้น

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากวิกฤตการณ์โลก เนื่องจากมีประชากรจำนวนมากและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันอินโดนีเซียกำลังเผชิญกับปัญหาระดับชาติ เช่น มลพิษทางอากาศ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การจัดการขยะ และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

“ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนจึงเป็นภารกิจที่จำเป็นต้องทำไม่ใช่ทางเลือก อินโดนีเซียมีเป้าหมาย NDC การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2060 องค์กรธุรกิจจึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว”

‘วีระศักดิ์’ ยกธุรกิจทั่วโลกเริ่มตื่นตัว ‘สังคม-สิ่งแวดล้อม’ ชูหลัก ‘5 P’ ช่วยภาคธุรกิจปรับประยุกต์ในงาน AFECA

เมื่อไม่นานนี้ ณ ห้องบอลรูม ที่ Bangkok Marriott Hotel The Surawongse ทางสหพันธ์สมาคมการจัดการประชุมและนิทรรศการแห่งเอเชีย ‘Asian Federation of Exhibition & Convention Associations’ หรือ ‘AFECA’ ได้เดินทางเข้ามาจัดการประชุมนานาชาติ ‘ASIA 20 BUSINESS EVENTS FORUM’ ที่ประเทศไทย โดยมีสมาชิกจากประเทศต่างๆ เดินทางมาร่วมงานประมาณ 170 คน

โดยงานนี้ได้เชิญ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อดีตประธานบอร์ด TCEB เป็น Keynote Speaker ของการประชุมในหัวข้อ ‘Business Events & Future Implications’ ซึ่งนายวีระศักดิ์ได้กล่าวถึงความตื่นตัวของธุรกิจต่างๆ ในระดับโลกที่กำลังพยายามตอบสนองต่อประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการตั้งคำถามต่อการจัดการความยั่งยืนที่องค์กรและธุรกิจกำลังดำเนินการ ตลอดจนการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมอย่างตื่นตัว

นายวีระศักดิ์ เสนอให้วงการธุรกิจปรับมุมมองจากการเป็น Business Community ที่มักมีไว้เพิ่มโอกาสธุรกิจระหว่างกัน ให้ยกระดับสู่การเป็น Business for Humanity ด้วยหลักการ 5 P ของสหประชาชาติ คือ ‘People - Planet - Peace - Partnership’ และสุดท้าย คือ ‘Prosperity’ ซึ่งแปลว่า ‘รุ่งเรือง’ ไม่ใช่เรื่องความร่ำรวย

พร้อมทั้งยกตัวอย่าง พระราชบัญญัติคุณภาพชีวิตคนพิการ ที่ภาคธุรกิจสามารถรับพนักงานผู้พิการให้อยู่ตามภูมิลำเนาบ้าน เพื่อปลูกป่าในนามของบริษัท ทำให้ได้ทั้งเรื่องของ ‘ESG’ (Environment Social Responsibility และ Good Governance) ไปในตัวด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top