Saturday, 27 April 2024
รถไฟ

5 เทศบาล! ลงขันร่วมมือทำ ‘รถไฟฟ้ารางเบา เส้นทางนำร่องสายสีแดง’ จังหวัดขอนแก่น ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง งานโครงการก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น

จังหวัดขอนแก่นลงนามบันทึกข้อตกลง งานโครงการก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น เส้นทางเส้นทางสายเหนือ - ใต้ นำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) อันเกิดจากความร่วมมือรถไฟฟ้า LRT (KKTS - กลุ่มกิจการร่วมค้าขอนแก่น CKKM , CRRC จากประเทศจีน)เพื่อเมืองของเราเอง โดยการหาทุนเอง สร้างกันเอง สาระสำคัญ นั่นคือต้องการหาทุนเอง ผลิตเอง เพื่อให้ลูกหลานคนขอนแก่นคนอีสานได้มีงานดี ๆ ทำ มีรายได้สูง ๆ

เมื่อวันที่ 17  พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า ที่ห้องออคิด บอลรูม 1 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ร่วมแถลงข่าวและกล่าวถึงความเป็นมา การลงนามบันทึกข้อตกลง งานโครงการก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น เส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) ซึ่งมีผู้ร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย นายสิทธิกุล ภูคำวงศ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ,นายพิสุทธิ์ อนุตรอังกูร นายกเทศมนตรีตำบลท่าพระ, เทศบาลเมืองศิลา ,นางสาวรัมภามาศ ฑีฆธนานนท์ ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลเมืองเก่า ,นายทวี แสนอาจ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสำราญ  , พล.ต.ชาติชาย ประดิษพงษ์ ประธานกรรมการบริษัทขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (Khon Kaen Transit System CO.,Ltd.) , JV CKKM, Mr.Liu Tong ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท CRRC , Mr. Wang Chi ผู้ช่วยฝ่ายการตลาด บริษัท CRRC, Mr.Kai Tai Francis Wu ที่ปรึกษาบริษัท CRRC , นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน), และที่ปรึกษาบริษัทขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากแขกผู้มีเกียรติมากมาย ดังนี้ นางศิริพร จังตระกุล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น  , Mr.Sven Gaber กรรมการบริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน), คณะผู้บริหารจาก 5 เทศบาล ,คณะผู้บริหาร KKTS คณะผู้บริหารกลุ่มกิจการร่วมค้า CKKM , CRRC Consortium Executive Representator ,ผู้นำ 8 องค์กรเศรษฐกิจ ,พล.ต.อ.ศักดา เตชะเกรียงไกร ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ,ดร.พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ คณบดีมหาวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  มหาวิทยาลัยขอนแก่น , รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ,ผู้บริหารจาก CEA ,หัวหน้าส่วนราชการจากภาคเอกชน , พี่น้องสื่อมวลชนขอนแก่น

ซึ่งในส่วนของเทศบาลนครขอนแก่นที่ร่วมงาน ประกอบด้วย รองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น (นายธวัชชัย รื่นรมย์สิริ,พ.ต.ท.สมชาย โตเจริญ) , เลขานุการนายก(นายกฤษฏ์ สว่างไสว , นายสมภพ วงษ์ก่อ), สมาชิกสภาเทศบาล (นายวรินทร์  เอกบุรินทร์ ,น.ส.ณัชชา แสงสุรศักดิ์, นายรัชตะ รัชตะวินิจ ) , นายวิทยา ภูโยสาร ปลัดเทศบาล, รองปลัดเทศบาล (นางกฤษณา แสนสอาด , นายสุปัทม์ ทองรัตน์)  นายธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผอ.ส่วนควบคุมการก่อสร้างอาคารและผังเมือง , นางอินทิรา ฆารเจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ , และผู้นำชุมชน 

นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ในนาม 5 เทศบาลจังหวัดขอนแก่นเป็นผู้บริหารจัดการ ได้กล่าวว่า ทุกภาคส่วนของชาวขอนแก่นไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม NGO ผู้นำชุมชน ร่วมมือกันเพื่อทำโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะระบบรางเบา (LRT) เส้นทางสายเหนือ-ใต้ (สำราญ – ท่าพระ) แต่เป้าหมาย “ไม่ใช่ทำรถไฟฟ้าเพื่อให้ได้รถไฟฟ้า” เมื่อ ณ เวลานึง ความชัดเจนมันเห็นเป็นภาพจิ๊กซอว์ต่อครบ การทำรถไฟฟ้ารางเบากลายเป็นเป้าหมายหลักกลายเป็น “รางเปลี่ยนเมือง” ซึ่งมีวิธีคิดที่แตกต่าง คือ เมืองขอนแก่นทำโครงการเพื่อเมืองเราเอง โดยการหาทุนเอง สร้างกันเอง สาระสำคัญ นั่นคือ เราต้องการหาทุนเอง ผลิตเอง เพื่อให้ลูกหลานคนขอนแก่นคนอีสานได้มีงานดี ๆ ทำ มีรายได้สูง ๆ วิธีการคือ การจัดทำหลักสูตรรองรับ ซึ่งเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบราง

สำหรับ โครงการก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น เส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) มีความยาว 26 กิโลเมตร มีสถานีจำนวน 20 สถานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเดินทางในชีวิตประจำวันมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ให้พี่น้องประชาชนมีทางเลือกในการเดินทาง และยังทำให้การพัฒนาเมืองโดยมีระบบขนส่งมวลชนเป็นตัวนำ สำหรับการลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว นับได้ว่าเป็นความคืบหน้าในการทำงานที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งนับตั้งแต่บริษัท KKTS ได้คัดเลือกให้กลุ่มกิจการร่วมค้า CKKM เป็นคู่เจรจางาน จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้ารางเบา

ถึงแม้ว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาที่ผ่านมาแต่ด้วยความตั้งใจอย่างจริงจังของทั้งสองฝ่าย สามารถบรรลุในหลักการของร่างสัญญาก่อสร้างแล้ว อย่างไรก็ตามก่อนที่จะลงนามในสัญญาก่อสร้าง ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลและเกิดขึ้นให้เรียบร้อยก่อนภายในเวลาที่กำหนดจึงเป็นที่มาของการลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยบริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) และบริษัท CRRC Nanjing Puzhen Co.,Ltd. เป็นบริษัทผู้ประสานงานหลักด้านการเงิน ซึ่งจะประสานงานร่วมมือกันในการเจรจาและทำความตกลงกับสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อจัดหาเงินกู้ระยะยาวให้กับบริษัท KKTS  ซึ่งบริษัท KKTS จะทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการมอบพื้นที่ พื้นที่ศูนย์วิจัยข้าว พื้นที่กลางและริมถนนมิตรภาพ หลังจากลงนามใน MOA รวมทั้งการออกใบอนุญาต และอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างต่อไป

ทั้งนี้ จังหวัดขอนแก่น เมืองแห่งศูนย์กลางการบริหารและบริการภาครัฐของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ศูนย์กลางการค้าการลงทุนและบริการ ศูนย์กลางคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ศูนย์กลางทางการแพทย์และสาธารณสุข ศูนย์กลางการประชุมและท่องเที่ยว ศูนย์กลางอุตสาหกรรมสีเขียว ศูนย์กลางการศึกษา อีกทั้งจังหวัดขอนแก่นอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจ ASEAN-NSEC-EWEC และมีที่ตั้งสถานกงสุลใหญ่ประเทศจีน-เวียดนาม-ลาวอีกด้วย 

 

'ช.การช่าง-ไอทีดี' พร้อม!! เริ่มก่อสร้าง 65 คาดพร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2570

เพจ ข่าวรถไฟ โพสต์ข้อความระบุว่า ปักหมุดเตรียมก่อสร้างสายสีม่วงใต้!

ตอนนี้ก็รู้ผลกันแล้วว่า สายสีม่วงใต้ใครจะได้บริษัทอะไรบ้างสร้างในช่วงไหนบ้าง โดยเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 65 ที่ผ่านมา ทาง รฟม. หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยผลการประกวดราคาจ้างการก่อสร้างดังนี้

สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน - หอสมุดแห่งชาติ ได้ผู้เสนอราคาต่ำสุดคือ CKST-PL JOINT VENTURE (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน))

สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ - ผ่านฟ้า ได้ผู้เสนอราคาต่ำสุดคือ CKST-PL JOINT VENTURE (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน))

'จีน' อวดโฉม 'รถไฟแมกเลฟ' สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 600 กม./ชม.

เมื่อ (24 ก.ย. 65) ที่ผ่านมา สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ว่า 'ซีอาร์อาร์ซี' ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถไฟชั้นนำของจีน เปิดตัวรถไฟพลังงานแม่เหล็กความเร็วสูง หรือแมกเลฟ ที่สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ณ งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมรถไฟ 'อินโนทรานส์' (InnoTrans) ที่กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี

ข้อมูลจากซีอาร์อาร์ซีระบุว่า รถไฟดังกล่าวถือเป็นความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล่าสุดในด้านการขนส่งทางราง ซึ่งพัฒนาทุกขั้นตอนโดยจีน ทั้งนี้ ต้นแบบของรถไฟรุ่นนี้ประสบความสำเร็จในการวิ่งทดสอบในจีน เมื่อเดือน มิ.ย. 2563 

ทั้งนี้ นายหลิว เทียนถง ตัวแทนวิศวกรจากบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ต้าเหลียน จำกัด กล่าวว่า ซีอาร์อาร์ซีเข้าร่วมงานอินโนทรานส์ เพื่อจัดแสดงผลิตภัณฑ์อัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังนำเสนอโซลูชันแบบครอบคลุมแก่ลูกค้า ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/1504622/ 

ได้เวลาต้นทางแห่งใหม่ 'สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์' พร้อม 52 ขบวนเชิงพาณิชย์ 'เหนือ-ใต้-อีสาน'

(21 ธ.ค. 65) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า

ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 65 เปิดให้จองตั๋วรถไฟ ต้นทางสถานีกลางฯ พร้อมรับ 52 ขบวนเชิงพาณิชย์ 19 มค. 66 มาสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

วันนี้ (20) เป็นวันแรก ที่เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน ของจุดศูนย์กลางระบบรางไทย จากสถานีกรุงเทพ (#หัวลำโพง) สู่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (#สถานีกลางบางซื่อ) 

โดยเป็นวันแรกที่ได้มีการเปิดให้จองต้นทางใหม่ ของรถไฟเชิงพาณิชย์ 52 ขบวน ที่เริ่มต้นจาก สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งจะกลายเป็น ต้นทาง-ปลายทาง ของทั้ง 52 ขบวนนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 66 เป็นต้นไป 

ขอให้ผู้โดยสารทุกคน เตรียมตัว ทั้งการจองตั๋วโดยสาร และการวางแผนการเดินทางให้ถูกต้องด้วยนะครับ!!!

รายละเอียดการเปิดให้บริการ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1572680416503765/?mibextid=cr9u03

การใช้บริการรถไฟทางไกล ในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 

ประตูเข้าพื้นที่รอคอยในสถานี อยู่บริเวณประตู 4 ทางด้านเหนือของสถานีกลางฯ โดยจะใกล้กับศูนย์อาหาร 

ซึ่งตรงนี้ จะมีทั้งพื้นที่โถงรอคอย พื้นที่จำหน่ายตั๋วรถทางไกล ศูนย์อาหาร เพื่อจะบริการผู้โดยสาร ก่อนขึ้นบันไดเลื่อนขึ้น ชั้น 2 เพื่อขึ้นชานชาลา 

รายละเอียดสถานีกลางบางซื่อ

สถานีกลางบางซื่อมีทั้งหมด 4 ชั้นคือ

ชั้นใต้ดิน B/B1 เป็นพื้นที่เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้า MRT บางซื่อ และอีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่จอดรถ สำหรับผู้ใช้บริการ

ชั้น 1 เป็นโถงพักคอย และจำหน่ายตั๋วโดยสาร รวมถึงทางขึ้นชานชาลาแต่ละชานชาลา 

ชั้น M1/M2 เป็นชั้นลอยด้านโถงทางเข้าหลัง ซึ่งต้องขึ้นจากชั้น 1 

ชั้น M1 เป็นพื้นที่พักคอยและศูนย์การค้า/ร้านค้า ภายในสถานี เพื่อให้ผู้โดยสารเข้าใจบริการระหว่างรอรถไฟ

ชั้น M2 เป็นพื้นที่สำนักงานและศูนย์ควบคุมสถานีของโครงการ ได้แก่รถไฟทางไกล, รถไฟฟ้าสายสีแดง, รถไฟฟ้าความเร็วสูง และรถไฟฟ้า 3 สนามบิน

ชั้น 2  เป็นพื้นที่ชานชาลารถไฟขนาดราง 1 เมตรทั้งหมด 12 ชานชาลา แบ่งเป็น...

- รถไฟทางไกล 8 ชานชาลา 
- รถไฟชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา 

ซึ่งขึ้นได้จากโถงพักคอยชั้น 1 

ชั้น 3 เป็นพื้นที่ชานชาลารถไฟขนาดราง 1.435 เมตร ทั้งหมด 12 ชานชาลา แบ่งเป็น...

-รถไฟความเร็วสูงสายใต้ 4 ชานชาลา
-รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ/อีสาน 6 ชานชาลา
-รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน/สายตะวันออก 2 ชานชาลา

รายละเอียดการจัดวางพื้นที่ภายในสถานีกลางฯ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1090660238039121/?mibextid=cr9u03

คลี่ประวัติศาสตร์ผ่านดนตรี แสง สี เสียง ในบรรยากาศสุดคลาสสิคที่ 'หัวลำโพง'

วันนี้ (18 มี.ค.66) ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ได้ร่วมกับ Lighting Designers Thailand ที่มาร่วมออกแบบแสงไฟ (Lighting Installation) เพื่อช่วยสร้างเรื่องราวและขับเน้นความงดงามของสถาปัตยกรรม พร้อมกับจัดการแสดงดนตรีที่ได้รับการคัดสรรมาให้สอดคล้องกับการที่สถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นชุมทางของคนเดินทาง

พื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือ หัวลำโพงสุดคลาสสิก เคยเป็นชุมทางของการเดินทางจากผู้คนทั่วประเทศมายังกรุงเทพมหานคร แม้ปัจจุบันจะลดความคับคั่งลงเหลือเพียงการเดินรถไฟไม่กี่สาย แต่สถานีรถไฟหัวลำโพงยังคงมีความสำคัญในฐานะอาคารทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านสถาปัตยกรรม และความทันสมัยด้านระบบคมนาคมของประเทศไทย

ในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 126 ปีการรถไฟแห่งประเทศไทยในวันที่ 26 มีนาคม 2566 ชวนคุณมาร่วมสีสันไปพร้อมกับการเปิดมุมมองใหม่ที่เปี่ยมเสน่ห์ของสถานีรถไฟกรุงเทพ ใน 'Unfolding Bangkok' สอดรับกับบทบาทที่เปลี่ยนไปของสถานีรถไฟหัวลำโพง จึงเป็นโอกาสในการทดลองปรับพื้นที่ของสถานีรถไฟให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการส่งเสริมสถาปัตยกรรม การเรียนรู้และสันทนาการของผู้คน

ทั้งนี้ Unfolding Bangkok ได้ประสบความสำเร็จกับกิจกรรมหลายครั้งก่อนหน้านี้ อาทิ โรงปั้นของมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือพื้นที่โดยรอบพระบรมมหาราชวัง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวในงานว่า "ทุกวันนี้จำนวนผู้เข้าใช้บริการในการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นมีเยาวชนมากกว่า 50% ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่จะได้สอดแทรกประวัติศาสตร์อันดีงามของการรถไฟ พร้อมทั้งประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากการเดินทางซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์ รถยนต์ หรือเครื่องบิน และงานนี้จะเป็นต้นแบบให้องค์กรต่าง ๆ ร่วมกันส่งเสริมให้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติต่อไป"

ผู้สนใจเข้าร่วมชมงานฯ สำหรับวันที่ 18-26 มีนาคม 2566 นี้ เป็นงานแสงสีเสียง  และดนตรี ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงร่วมฉลองครบ 126 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย ในวันที่ 26 มีนาคมนี้ โดยรายละเอียดกิจกรรมงาน Living Old Building แสงสีเสียงหัวลำโพงนี้ มี 3 ส่วนคือ...

‘จีน’ เตรียมเปิด ‘ทางรถไฟจีน-ลาว’ ขนส่งผู้โดยสารข้ามแดน เชื่อมการเดินทางจาก ‘นครคุนหมิง’ สู่ ‘เมืองหลวงเวียงจันทน์’

เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 66 สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานว่า บริษัท การรถไฟแห่งประเทศจีน จำกัด รายงานแผนการเปิดบริการรถไฟขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนบนทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งเชื่อมโยงนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว ตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย. เป็นต้นไป

รายงานระบุว่า การบริการรถไฟขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนดังกล่าว จะเดินรถจากคุนหมิงไปยังเวียงจันทน์หนึ่งเที่ยวต่อวัน และจากเวียงจันทน์ไปยังคุนหมิงอีกหนึ่งเที่ยวต่อวัน โดยรถไฟจะหยุดจอดตามสถานีรายทาง 8 แห่ง และการเดินทางจะใช้ระยะเวลา 10 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งนับรวมระยะเวลาที่ใช้ผ่านพิธีการศุลกากรด้วย

'ผู้ว่าฯ ชัชชาติ-จนท.' เคลียร์พื้นที่ชุมชนทิ้งเศษซากขยะ หลังภาพรถไฟญี่ปุ่นวิ่งกลางขยะ จนเป็นไวรัลสนั่นโซเชียล

(1 ส.ค.66) หลังจากที่โลกโซเชียลมีการแชร์คลิป รถไฟขบวน KIHA 183 ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้บริจาคให้การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมมีการระบุข้อความไว้ว่า "นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมาดูรถไฟ KIHA 183 ที่บริจาคให้ไทย พอมาเห็นนางก็เป็นช็อก แล้วยิงคำถามว่า จะให้รถไฟเขาวิ่งในสภาพเศษแก้ว เศษขยะแบบนี้อีกนานมั้ย? ขอร้องให้หน่วยงานไทยจัดการให้หน่อย ฟีลสงสารรถไฟตัวเอง แต่ดูสภาพเป็นใครก็ต้องสงสาร แถมเสียดาย"

ล่าสุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงพื้นที่ทันทีบริเวณชุมชนแดงบุหงา ชุมชนบุญร่มไทรและชุมชนโค้งรถไฟยมราช เขตราชเทวี แขวงทุ่งพญาไท กทม. บริเวณสถานีพญาไท โดยพบว่าจุดนี้ชาวบ้านเพิ่งมีการรื้อถอนบ้านเรือนออกไปโดยได้ทิ้งเศษซากขยะไว้ หลังจากที่ภาพกลายเป็นกระแสข่าว เจ้าหน้าที่กทม.จึงเข้ามาเร่งเก็บทำความสะอาดขยะบางส่วนออกไป

ต่างชาติสัมผัส 'รถไฟจีน-ลาว' พาเข้างานแสดงสินค้าในคุนหมิง เปรียบเหมือนสะพานเชื่อมจีน-ลาว และโลกไว้ด้วยกัน

(ซินหัว) (15 ส.ค. 66) ที่คุนหมิง นายมูฮัมหมัด ฟาซเซิล แรบบี ชาวบังกลาเทศที่เดินทางจากลาวเข้าสู่จีนเมื่อไม่นานนี้ และเตรียมเดินทางสู่นครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เพื่อร่วมงานแสดงสินค้าจีน-เอเชียใต้ ครั้งที่ 7 และงานแสดงสินค้านำเข้าและส่งออกคุนหมิงแห่งประเทศจีน ครั้งที่ 27 เปิดเผยว่าทางรถไฟจีน-ลาว เปรียบเหมือนสะพานเชื่อมการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและลาว รวมถึงจีนและโลก

ทางรถไฟจีน-ลาว ได้เปิดบริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย. เป็นต้นมา ซึ่งเกื้อหนุนการเดินทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ของลาวสู่นครคุนหมิงของอวิ๋นหนาน เมืองเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้าจีน-เอเชียใต้ ครั้งที่ 7 และงานแสดงสินค้านำเข้าและส่งออกคุนหมิงแห่งประเทศจีน ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 16-20 ส.ค. นี้

ข้อมูลจากสถานีผ่านแดนตำบลโม๋ฮันบนพรมแดนจีน-ลาว ระบุว่าสถานีฯ ได้ตรวจสอบรับรองรถไฟจีน-ลาว ที่ขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนทั้งหมด 246 เที่ยว รวมถึงผู้โดยสารขาเข้า-ขาออกจาก 53 ประเทศและภูมิภาค จำนวน 52,888 คน เมื่อนับถึงวันที่ 15 ส.ค.

สำหรับผู้โดยสารที่สื่อสารต่างภาษาสามารถใช้บริการเครื่องแปลภาษาอัจฉริยะที่สถานีฯ ซึ่งสามารถแปลภาษาต่างๆ แบบเรียลไทม์มากกว่า 70 ภาษา รวมถึงรองรับภาษาต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยในจีน แปลสลับระหว่างภาษาถิ่นกับภาษาจีนกลาง ภายใต้การผสานเทคโนโลยีวิเคราะห์ความหมายเชิงอัจฉริยะ โดยเครื่องแปลภาษานี้อำนวยความสะดวกแก่การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้โดยสารอย่างมาก

‘ชาวต่างชาติ’ ยก ‘รถไฟฟ้าไทย’ ดีที่สุดในอาเซียน เทียบชั้นสิงคโปร์ 'สะอาด-ใช้งานง่าย-เส้นทางครอบคลุม’ อนาคตแซงหน้าชาติชั้นนำ

เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 66 จากช่องยูทูบ ‘สะท้อนไทย’ ที่มักจะคอยมาเล่ามุมมองของชาวต่างชาติ ที่แสดงความคิดเห็นต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ โดยล่าสุด ชาวต่างชาติต่างยกให้รถไฟฟ้าของประเทศไทยดีที่สุดในอาเซียน เมื่อพวกเขาเคยมาท่องเที่ยวและได้ลองใช้บริการ โดยระบุว่า…

ชาวต่างชาติต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ารถไฟฟ้าของประเทศไทย มีระบบที่ดีเยี่ยม ทั้งเรื่องความสะดวกในการใช้งาน ความสะอาดของสถานี แม้นํามาเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าของชาติตะวันตกแล้ว ระบบรถไฟฟ้าของประเทศไทยถือว่าดีเยี่ยมเลยทีเดียว ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่นักท่องเที่ยวจากชาติตะวันตกเท่านั้นที่ชื่นชอบรถไฟของประเทศไทย แต่นักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนของไทยต่างก็ชื่นชมรถไฟฟ้าของประเทศไทยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นลาว, พม่า, เวียดนาม และสิงคโปร์ ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกัน “รถไฟฟ้าของประเทศไทยดีที่สุดในอาเซียน”

โดยจุดกําเนิดของรถไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นจากรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศที่เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 โดยเปิดสองเส้นทาง รวมทั้งสิ้น 23 สถานี ซึ่งคือ ‘สายสุขุมวิท’ มีระยะทางทั้งหมด 17 กิโลเมตร จากสถานีหมอชิต - สถานีอ่อนนุช และสายที่สองคือ ‘สายสีลม’ มีระยะทาง 6.5 กิโลเมตร จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - สถานีสะพานตากสิน และนี่คือสถานีทั้งหมดในช่วงแรก

แต่ในปัจจุบันมีการขยายสถานีออกไปเป็นจํานวนมาก ซึ่งสามารถช่วยเหลือเรื่องการคมนาคมของคนในชานเมืองได้เป็นอย่างมาก โดยระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ มีความจุสูงแบบมาตรฐานสากล ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเมืองใหญ่ทั่วโลก สามารถให้บริการแก่ผู้โดยสารได้มากกว่า 1 พันคนต่อขบวน

ในขณะที่การเดินทางด้วยรถยนต์ต้องใช้รถยนต์จํานวนมากถึง 250 คัน เพื่อขนส่งผู้โดยสาร นอกเหนือจากนี้การให้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์รวมของธุรกิจการค้า ย่านที่พักอาศัย และแหล่งช็อปปิ้งชั้นนํา อีกทั้งยังมีโครงการส่วนต่อขยายเพื่อขยายพื้นที่สําหรับให้บริการ และยังเข้าถึงผู้โดยสารได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งครอบคลุมการเดินทางหลายจังหวัด ทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล สำหรับประเด็นนี้ได้มีชาวต่างชาติจํานวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม 

โดยมุมมองแรกต่างกล่าวว่า รถไฟฟ้าใต้ดินของไทยดูดีที่สุดแล้วในแถบนี้ ทั้งที่เปิดมาเกือบ 20 ปี แต่สภาพยังดูดี ดูสวย และสะอาดอยู่เลย อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นเพราะอายุที่ไม่มาก ค่าโดยสารจึงแพง แต่ก็สามารถคัดกรองคนได้ในระดับหนึ่ง เคยไปหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป อเมริกา ทั้งเหม็น ทั้งสกปรก

จากนั้น ได้มีความคิดเห็นนึงได้เผยว่า “ผมอยู่ออสโล บัตรเดียวใช้ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน รถราง รถเมล์ และเรือ แต่เรื่องความสะอาดออสโลสู้ไม่ได้เลย เพื่อนของผมชาวนอร์เวย์ที่เดินทางไปที่กรุงเทพฯ ยังตกใจ ทําไมประเทศไทยสะอาดเช่นนี้ สุดยอดมาก… แต่ติดอยู่เรื่องเดียวคือเรื่องตั๋ว ถ้าใช้ได้หมดจะสุดยอดมาก”

โดยคนส่วนหนึ่งต่างรู้สึกว่า สิงคโปร์และไทย มีคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่ติดอยู่เรื่องเดียวคือของไทยไม่ค่อยมีห้องน้ำเหมือนของสิงคโปร์ และด้วยที่สิงคโปรอาจจะสร้างมานานกว่าประเทศไทย จึงทําให้สภาพดูเก่ากว่า แต่เรื่องความสะอาดในตอนนี้ ต้องยอมรับว่ารถไฟฟ้าของไทยดูใหม่จริงๆ

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและขาดไม่ได้ คือเรื่องของ ‘ห้องน้ำ’ ซึ่งพวกเขาหวังอยากให้ประเทศไทยมีห้องน้ำทุกสถานีเหมือนญี่ปุ่น เพราะอยากเข้าแบบอิสระ โดยไม่ต้องไปขอแม่บ้าน

“ตอนนี้ดิฉันอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทยพัฒนามาก อีกสิบปีดิฉันจะเกษียณ และอยากไปใช้ชีวิตในต่างจังหวัดของประเทศไทย เชื่อว่าอีกสิบปีข้างหน้า จะสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ เพราะรถไฟฟ้าของประเทศไทยครอบคลุมทั่วประเทศ อยากบอกลูกหลานทุกคนว่า ควรภูมิใจกับประเทศไทยตอนนี้ ยอดเยี่ยมมาก” ชาวต่างชาติท่านหนึ่งกล่าว

และนี่เป็นเพียงความคิดเห็นบางส่วนที่ได้หยิบยกขึ้นมา โดยความคิดเห็นนั้นมองออกเป็นสองมุม แต่โดยหลักๆ ต่างยกให้ไทยและสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีรถไฟฟ้าดีที่สุดในอาเซียน

‘บังกลาเทศ’ ทดลองวิ่งรถไฟสินค้าบนสะพานฝีมือ ‘จีน’ ตอกย้ำความสำเร็จโครงการ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’

เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 66 สำนักข่าวซินหัว, ธากา รายงานว่า บังกลาเทศประสบความสำเร็จในการทดลองเดินรถไฟสินค้าบนช่วงหนึ่งของทางรถไฟ ที่ก่อสร้างภายใต้แผนริเริ่ม ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ (BRI) และบนสะพานปัทมา ซึ่งเป็นสะพานขนาดใหญ่ที่สุดในบังกลาเทศที่ก่อสร้างโดยจีน

‘ซัยยิด อาเหม็ด’ ผู้อำนวยการโครงการทางรถไฟฟาริดปูร์ของการรถไฟบังกลาเทศ แถลงข่าวว่ารถไฟพร้อมตู้สินค้า 5 ตู้ บรรทุกก้อนหินหนัก 350 ตัน ทดลองวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากสถานีบังกาของเขตฟาริดปูร์ในช่วงเช้าวันเสาร์ (16 ก.ย.) ถึงสถานีมาวา และวิ่งกลับสถานีบังกา

เมื่อสัปดาห์ก่อน รัฐบาลบังกลาเทศเปิดตัวรถไฟโดยสารขบวนแรกสำหรับช่วงหนึ่งของทางรถไฟสายใหม่นี้ โดยทางรถไฟยาว 172 กิโลเมตรเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่สุดที่ก่อสร้างโดยบริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป ลิมิเต็ด (CREC) และรับทุนจากธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (China Exim Bank)


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top