Saturday, 4 May 2024
ยึดอำนาจ

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 รสช.ยึดอำนาจ รัฐบาลพลเอกชาติชาย ด้วยเหตุผลหลัก ‘ฉ้อราษฎร์บังหลวง’

เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้เกิดรัฐประหารขึ้นโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council-NPKC) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ  ร่วมด้วย พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศ เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ 

โดยคณะ รสช. ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจาก พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี โดยในแถลงการณ์ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่องคำชี้แจงเหตุผลการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลหลักที่เป็นเสมือนข้ออ้างในรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ไว้ 5 ประการ ได้แก่

'ณัฐวุฒิ' เชื่อ!! ดร.ทักษิณไม่มีส่วนรู้เห็นกับการยึดอำนาจ ปี 57 ชี้!! แผนการยึดอำนาจ ก่อตัวมาตั้งแต่ช่วงต้น รบ.ยิ่งลักษณ์

(1 ส.ค. 66) นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ผมและพี่น้องแกนนำ นปช.ที่ยังคิด คุยร่วมกันอยู่ เห็นตรงกันและเชื่อว่า ดร.ทักษิณ ไม่มีส่วนรู้เห็นกับการยึดอำนาจ ปี 2557

มุมวิเคราะห์ที่แกนนำหลัก 'ทุกคน' เห็นตรงกันตลอด คือ แผนการยึดอำนาจนี้ ก่อตัวมาตั้งแต่ช่วงต้นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ประยุทธ์พูดเองว่าเตรียมการมา 3 ปี กปปส.ชุมนุมไปสักพัก พวกเราก็พูดตรงกันแล้วว่าจะเกิดรัฐประหาร ทฤษฎีสมคบคิดแบบเดิมจากการยึดอำนาจปี 49 ไล่ลำดับเหตุการณ์เป็นแบบเดียวกัน 

ชุมนุมต่อเนื่อง ยุบสภา บอยคอตเลือกตั้ง ขัดขวางการเลือกตั้ง เลือกตั้งโมฆะ เรียกร้องรัฐบาลนอกกติกา สร้างเงื่อนไขปิดทุกทางออก และยึดอำนาจ 

ความขัดแย้งระหว่างบุคคลเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ประวัติศาสตร์องค์กร นปช. กำลังถูกอธิบายด้านเดียว และถูกบันทึกไปเช่นนั้น ทั้งที่หลายอย่างคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน 

>> นปช.ไม่ได้ดำรงสภาพหลายปีแล้ว 
เหตุแยกทางคือ การไม่ได้ยึดถือแนวปฏิบัติที่เราทำกันมา มีการตกลงตั้งพรรคการเมืองกับบุคคลอื่น โดยไม่ได้หารือในที่ประชุม 

ไม่มีใครหลอกได้ ถ้าเราคุยในที่ประชุม ตามที่ผมและ อ.ธิดาเรียกร้องหลายรอบ เรื่องพรรคไทยรักษาชาติมาทีหลัง ไม่เกี่ยวกับช่วงเวลาตั้งพรรคเพื่อชาติ ที่ไปตกลงนอกวง ไม่บอกพี่น้องที่สู้มาด้วยกัน 

กองทัพทหาร บุกยึดอำนาจ ‘อาลี บองโก ออนดิมบา’ หลังคว้าชัยเลือกตั้งใหญ่ ล้มอำนาจผู้นำ 3 สมัยแห่งกาบอง

คลื่นกระแสการรัฐประหารในทวีปแอฟริกา ยังคงร้อนแรงต่อเนื่อง ล่าสุด กองทหารระดับสูงแห่งกาบอง ได้ประกาศผ่านช่อง Gabon 24 เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 66 แถลงข่าวยึดอำนาจประธานาธิบดี ‘อาลี บองโก ออนดิมบา’ ผู้นำกาบอง 3 สมัย หลังจากเพิ่งคว้าชัยจากการเลือกตั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเสียงขาดลอยถึง 63.4%

นับเป็นการเลือกตั้งที่มีเสียงวิพากษ์ วิจารณ์อย่างรุนแรงจากพรรคฝ่ายค้าน และชาวกาบอง ถึงความไม่โปร่งใส และทุจริต

แต่ทันทีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งของกาบองได้รับรองผลการนับคะแนน และประกาศให้ ประธานาธิบดี อาลี บองโก ผู้นำคนปัจจุบัน เป็นผู้ชนะได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็มีกลุ่มกองทหารบุกยึดสถานีโทรทัศน์พร้อมออกแถลงการณ์ว่า “ได้ยึดอำนาจ ประธานาธิบดี อาลี บองโก แล้ว” โดยอ้างว่า “การเลือกตั้งที่ผ่านมาขาดความน่าเชื่อถือ จึงเป็นเหตุให้คณะทหาร ซึ่งเป็นตัวแทนของกองทัพที่หน้าที่ดูแลความมั่นคง และป้องกันประเทศ จำเป็นต้องยึดอำนาจรัฐบาล ให้ผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ และยุบสถาบันฝ่ายบริหารทั้งหมดในกาบอง”

ล่าสุด มีรายงานว่ามีการปิดพรมแดนของประเทศกาบอง และมีเสียงปืนดังขึ้นที่กลางกรุงลีเบรอวิล เมืองหลวงของกาบอง ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้

นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 8 ในระยะเวลาเพียง 3 ปี ที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในโซนภูมิภาคซาเฮล และประเทศใกล้เคียงอย่างกาบอง ที่ส่วนมากเป็นประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน

และหากรัฐประหารครั้งนี้สำเร็จ จะเป็นการสิ้นสุดการปกครองของตระกูลบองโก ที่ครองอำนาจในกาบองมานานถึง 56 ปี โดยประธานาธิบดี อาลี บองโก ผู้นำคนปัจจุบันที่ถูกรัฐประหารในวันนี้ ดำรงตำแหน่งมาแล้วถึง 14 ปี และสืบทอดอำนาจต่อจาก ‘โอมาร์ บองโก ออนดิมบา’ อดีตประธานาธิบดีคนก่อนหน้า ซึ่งเป็นพ่อของเขาเอง

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดี อาลี บองโก เคยเกือบถูกรัฐประหารมาแล้ว เมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2562 โดยกองทหารกลุ่มหนึ่งบุกยึดสถานีวิทยุแห่งชาติ ณ ใจกลางกรุงลีเบรอวิล ประกาศยึดอำนาจรัฐบาล ในขณะที่ อาลี บองโก ยังพักรักษาตัวจากอาการโรคหลอดเลือดสมองในประเทศโมร็อกโก แต่ครั้งนั้นทำการไม่สำเร็จ

แต่หากรัฐประหารในวันนี้ของกาบอง สามารถโค่นล้ม อาลี บองโก ผู้นำ 3 สมัยลงได้ ทวีปแอฟริกาคงสั่นสะเทือนแรงอีกครั้ง หลังจากเกิดรัฐประหารล่าสุดที่ไนเจอร์ ที่จะส่งผลต่อดุลอำนาจในภูมิภาคอย่างมาก

เนื่องจาก กาบองเป็นอีกหนึ่งชาติที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝรั่งเศส และในด้านทรัพยากร ก็ยังเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยก๊าซธรรมชาติ แร่แมงกานีส และป่าไม้  อีกทั้งยังสะท้อนปัญหาการเมืองในหลายประเทศของแอฟริกา ที่สถาบันรัฐยังเปราะบาง สุ่มเสี่ยงต่อการถูกโค่นล้มจากคลื่นกระแสรัฐประหารในแอฟริกา เชื่อว่าจะไม่จบลงที่กาบองอย่างแน่นอน

เรื่อง : ยีนส์ อรุณรัตน์

20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ‘จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์’ ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจจาก ‘จอมพลถนอม กิตติขจร’

วันนี้ เมื่อ 65 ปีก่อน เกิดการรัฐประหารในประเทศไทยอีกครั้ง โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ จอมพลถนอม กิตติขจร อ้างเหตุแห่งความแตกแยกของพรรคร่วมรัฐบาลและภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี (ซึ่งพร้อมใจลาออก) รัฐประหารครั้งนี้ต่อเนื่องมาจากรัฐประหารครั้งก่อน ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยอาศัยเหตุจากการเดินขบวนประท้วง การประท้วงการเลือกตั้งสกปรก และการแย่งอำนาจกันเองในหมู่ทหาร

จากนั้นจอมพลสฤษดิ์ได้แต่งตั้งนายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรีและจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพลโทถนอม กิตติขจร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่สามารถบริหารราชการไปอย่างราบรื่น ในที่สุดจอมพลสฤษดิ์ ในนาม ‘คณะปฏิวัติ’ ก็ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 โดยอาศัยทั้งเหตุความแตกแยกของพรรคร่วมรัฐบาลและที่สำคัญคือ ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์

ภายหลังยึดอำนาจ จอมพลสฤษดิ์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อม ๆ กับการใช้อำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จหรือ ม.17 ให้อำนาจนายกฯ อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด สามารถสั่งจับกุมคุมขังหรือประหารชีวิตใครก็ได้ที่เห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ส่งผลให้เกิดการปราบปรามผู้มีแนวคิดสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top