Monday, 6 May 2024
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

อลเวง!! กฎหมายต่างชาติซื้อที่ดินยุค 'ประยุทธ์' ความรู้ตีบตันจากสายมั่นที่เมาท์ว่าเป็น 'การขายชาติ'

ด่ากันเสียงขรม โดยที่ไม่ตรวจสอบกันเลยว่าความจริงคืออะไร ทันทีที่ครม. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ให้สิทธิถือครองที่ดินแก่ชาวต่างชาติ 4 กลุ่ม ทั้งที่เป็นการอนุมัติหลักการตามที่ได้เห็นชอบไปแล้วนั่นเอง เท่านั้นแหละบรรดาพวกที่เกลียดชังความเป็นไทยก็ดิ้นเร่าเกิดอาการรักชาติแบบฉับพลัน ด่าทอต่าง ๆ นานาจนน่าปวดหัว

กฎหมายที่ดินที่ให้สิทธิคนต่างชาติซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่นั้น มีอยู่ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 ทวิ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 โน่นแล้ว และไม่ใช่ฝรั่งต่างชาติคนไหนจะมาซื้อได้ ต้องผ่านกฎเกณฑ์ ข้อบังกับ เช่น กลุ่มที่มีสิทธิ์คือให้สิทธิการถือครองที่ดินคือกลุ่มที่รวย, กลุ่มเกษียณอายุ, กลุ่มที่ต้องการทำงานในไทย และกลุ่มมีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ แถมจะต้องนำเงินมาลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท โดยลงทุนดำเนินกิจการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ถึงจะมีสิทธิซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่ ต้องเป็นที่ดินในเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายผังเมือง จะไปซื้อที่ดินแบบอื่นไม่ได้

ถ้านำที่ดินไปใช้ผิดเงื่อนไข เช่น เอาไปทำธุรกิจ, การค้า, เก็งกำไร อาจจะถูกบังคับขายคืน ให้ซื้อเป็นที่อยู่อาศัยอย่างเดียว ห้ามขาย หากขายหรือแบ่งขาย จะถูกระงับสิทธิทันที ตามที่ระบุในสัญญาซื้อขาย ที่ดินสามารถโอนให้ลูกหลานได้ แต่ลูกหลานห้ามขายต่อเช่นกัน

จะชักดิ้นชักงอไปทำไมนักหนา รัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาเปิดทางให้ชาวต่างชาติ สามารถซื้อคอนโด และซื้อที่ดินในประเทศไทยได้นานแล้ว เช่น กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว พ.ศ. 2545 คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 153/2546 ลงวันที่ 21 เมษายน 2546 มาตรา 96 ทวิและมาตรา 96 ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการได้มาซึ่งที่ดิน เพื่อใช้เป็นที่อยูอาศัยของคนต่างด้าว พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497 ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497

ประเทศอื่นก็ทำแบบนี้ทั้งนั้น หันไปดูเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียสิ เพิ่งประกาศหมาด ๆ เลยว่า จะออกวีซ่า 'บ้านที่สอง' สำหรับชาวต่างชาติซึ่งประสงค์พักอาศัยระยะยาวบนเกาะบาหลี เป็นเวลานานระหว่าง 5-10 ปี

โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องมีเงินฝากในบัญชีธนาคารอย่างน้อย 2,000 ล้านรูเปียห์ ( ราว 4.84 ล้านบาท ) และหนังสือเดินทางซึ่งมีอายุการใช้งานคงเหลือไม่น้อยกว่า 36 เดือน

สหภาพยุโรป (EU) มีการออกสถานะผู้อยู่อาศัยพิเศยที่เรียกว่า 'วีซ่าทองคำ' ให้แก่พลเมืองต่างชาติกว่าแสนคน และมอบสัญชาติกิตติมศักดิ์ ให้แก่ชาวต่างชาติที่มีฐานะร่ำรวย ที่เรียกว่า 'หนังสือเดินทางทองคำ' แก่พลเมืองมากกว่า 6 พันคนที่เข้ามาลงทุน โดยสร้างรายได้มากกว่า 2.5 หมื่นล้านยูโร (2.8 หมื่นล้านเหรียญ)

‘พงษ์ภาณุ’ ชี้ ไทยต้องมีมาตรการกระตุ้น ศก. หลังถดถอยหนักช่วงโควิด - เติบโตไม่ทันเพื่อนบ้าน

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้มุมมองต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 66 โดยระบุว่า ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกภาคส่วน โดยภาครัฐจะต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว เพราะอย่างที่ทราบการดีว่า การจะใช้เงินของภาครัฐนั้นมีขั้นมีตอนที่ต้องรอการอนุมัติ

ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยเคยดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการลงทุนภาครัฐประสบความสำเร็จมาแล้ว เมื่อราวปี 2551 ซึ่งขณะนั้น เศรษฐกิจของประเทศติดลบประมาณ 7% ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้ดำเนินโครงการ “ไทยเข้มแข็ง” โดยวางงบประมาณเอาไว้ประมาณ 1 ล้านล้านบาท เพื่อนำไปใช้ลงทุนก่อสร้างภาครัฐในระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ และทางรัฐบาล ได้ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว และได้ใช้งบประมาณไปเพียง 4 แสนล้านเท่านั้น เศรษฐกิจก็กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

และอย่างที่ทราบกันดีว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว เพราะฉะนั้น หากต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศไทยกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง เหมือนก่อนการเกิดโรคโควิด – 19 ที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยถดถอยมาถึง 3 ปี ทางรัฐบาลต้องอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และที่สำคัญต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วด้วย เพราะโครงการรัฐขนาดใหญ่บางโครงการต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน

แต่อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใส่เม็ดเงินจำนวนเข้าไปในระบบนั้น จะต้องดูช่วงเวลา จะทำแบบพร่ำเพรื่อไม่ได้ เพราะเงินที่นำมาใช้เป็นเงินภาษีทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เกิดโรคโควิดด้วยการช่วยเหลือประชาชนผ่านโครงการต่างๆ รวมถึงกระตุ้นผ่าน โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจของประเทศจะถดถอยมากกว่านี้

ทั้งนี้ หากมองถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน นายพงษ์ภาณุ มองว่า เศรษฐกิจของไทยที่เติบโตในระดับ 3% นับว่ายังเติบโตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพของประเทศ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเติบโตได้สูงกว่า เพราะฉะนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องมีกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ เพราะเศรษฐกิจของไทยหดตัวอย่างมากตั้งแต่เกิดโควิด-19 เมื่อ 3 ปีก่อน 

แน่นอนว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพและได้ผลนั้นคงต้องอาศัยมาตรการด้านการคลัง อย่างที่หลาย ๆ ประเทศได้ดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้ เช่น สหรัฐ อเมริการ ที่ใช้เงินถึง 25% ของจีดีพี กระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิดที่ผ่านมา ส่วนประเทศไทยหากจะกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ จะต้องอัดฉีดเม็ดเงินก้อนใหญ่แบบรวดเร็ว ไม่ใช่ทำแบบทีละนิด เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ตามเป้าหมาย ที่สำคัญต้องสามารถนำเงินออกมาจากคลัง แล้วใส่ไปในกระเป๋าประชาชนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เพื่อให้เงินหมุนเวียนเข้าระบบเศรษฐกิจด้วยความรวดเร็วจะรอเป็นปีไม่ได้

นายพงษ์ภาณุ ย้ำว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น จะต้องมีเป้าที่ชัดเจน ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนใด เพราะคำว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่กว้างมาก ยกตัวอย่าง หากเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ก็ต้องใส่เม็ดเงินลงทุนไปในด้านการก่อสร้าง แม้จะไม่กระต้นได้โดยเร็ว แต่จะนำมาซึ่งการจ้างงาน สร้างรายได้ของประชาชน แต่หากต้องการกระตุ้นที่การบริโภค รัฐต้องอัดฉีดเงินเข้ากระเป๋าประชาชน แล้วให้นำออกมาจับจ่ายใช้สอยเร็วที่สุด พร้อมกับกำหนดให้ชัดเจนว่าเงินที่ให้ไปนั้นใช้จ่ายอย่างไร ซื้ออะไรได้บ้าง โดยไม่ให้นำเงินไปเก็บไว้ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ

และหากจะมองลึกลงไปว่า ประเทศไทยควรจะกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนใดนั้น นายพงษ์ภาณุ มองว่า ในช่วงที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างมาก เห็นได้จากตัวเลขการส่งออกที่ติดลบติดต่อกันหลายเดือน เพราะฉะนั้น หากเงินที่จะอัดฉีดให้ประชาชนนำไปสู่การใช้จ่ายซื้อสินค้าที่ลงไปสู่ภาคการผลิตโดยตรงเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการโดยเร็ว ส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนั้น มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top