Friday, 10 May 2024
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

จิตอาสาพัฒนา “เราทำความดีด้วยหัวใจ” เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภายในลานอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ นางสาวทัสนันทร์ ภมรพล ปลัดอำเภอ รักษาราชการแทน นายอำเภอเมืองสมุทรปราการ ประธานจัดกิจกรรม จิตอาสาพัฒนา “เราทำความดีด้วยหัวใจ” นำหัวหน้าส่วนราชการ จิตอาสาพระราชทาน ข้าราชการตำรวจและประชาชน ร่วมถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้ง ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยมี นายอำนวย บุญริ้ว นายกเทศมนตรีเมืองแพรกษาใหม่ นำคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ ร่วมให้การต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่ จิตอาสาพระราชทาน ตลอดจนเข้าร่วมในกิจกรรม จิตอาสาพัฒนา “เราทำความดีด้วยหัวใจ” โดยมี นายบุญธรรม อินทรแย้ม รองนายกเทศมนตรี นางสาวศิริพร ทับคล้าย รองนายกเทศมนตรี นายธนสัน วสันต์ กำนันตำบลแพรกษาใหม่

 

เชียงใหม่ - งานครบรอบ 116 ปี แห่งการพระราชทานนามโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2564 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจัด "งานครบรอบ 116ปี แห่งการพระราชทานนามโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย" โดยมี นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานในพิธี นายบุญเสริญ สุริยา ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย กล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นายพูลศักดิ์ จิตสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมศิษย์เก่า เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนชมรมเพชรยุพราชฯ คณะผู้บริหาร คณะครู บุคลากร และนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ผู้มีเกียรติร่วมงาน ณ สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

นายพูลศักดิ์ จิตสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย กล่าวว่าโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นด้วยพระบรมราโชบายขยายการศึกษาออกสู่หัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือกำเนิดเป็นโรงเรียนเมืองนครเชียงใหม่หรือโรงเรียนรัฐบาลตัวอย่างประจำมณฑลพายัพ ตั้งอยู่บริเวณที่ดินคุ้มหลวงของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ต่อมาได้รับพระราชทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่  24ธันวาคมพุทธศักราช 2448และเป็นโรงเรียนในพระอุปภัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ตั้งแต่วันที่  1 มกราคม พุทธศักราช 2532 เป็นต้นมา

ปัจจุบันโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 3,660 คน ข้าราชการครูจำนวน 178คน และบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 120 คน จัดการศึกษาโดยมุ่งให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนา ให้มีศักยภาพเป็นพลโลก มีความเป็นไทย มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความรู้และมีทักษะการดำเนินชีวิต ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถศึกษาต่อและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ มีความสามัคคี เป็นคนดีของสังคม สนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ว่า "ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้ ที่ข้าอยากได้นั้นคือเยาวชนที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์ สุจริต และมีอุปนิสัยใจคอดี"

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จึงได้ร่วมกับองค์กรภาคีเครื่อข่าย จัดงานครบรอบ 116 ปี แห่งการพระราชทานนามโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

 

28 กันยายน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

ครบรอบ 105 ปี 'วันพระราชทานธงชาติไทย' เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

ประเทศไทยใช้ธงสีแดงเป็นธงชาติมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่จะมีกำเนิดและใช้มาอย่างไรไม่มีใครทราบแน่นอน สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ที่เชิงอรรถแห่งหนึ่งของหนังสือ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ว่า “ธงสำหรับชาติไทยที่ใช้ในเรือ แต่ก่อนจะใช้ธงอย่างไร ข้าพเจ้าได้ตรวจค้นในหนังสือที่ฝรั่งแต่งไม่พบ มาพบในหนังสือจดหมายเหตุทูตไทยที่ลังกาทวีป เมื่อคราวพระอุบาลีออกไปให้อุปสมบทแก่ชาวสิงหล ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ ว่าใช้ธงพื้นแดงสีเดียว จึงเห็นว่าจะใช้ธงสีแดงเป็นธงชาติมาแต่โบราณ”

พุทธศักราช 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 มีใจความตอนหนึ่งว่า “ธงสำหรับชาติสยามซึ่งได้ประดิษฐานขึ้นตามพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2459 นั้น ยังไม่เป็นสง่างามพอสำหรับประเทศ สมควรจะเพิ่มสีน้ำเงินแก่เข้าอีกสีหนึ่ง ให้เป็นสามสี ตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรกับกรุงสยามได้ใช้อยู่โดยมากนั้น เพื่อให้เป็นเครื่องหมายให้ปรากฏว่า ประเทศสยามได้เข้าร่วมสุขทุกข์ แลเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ ช่วยกันกระทำการปราบปรามความอาสัตย์อาธรรมในโลก ให้พินาศประลัยไป อีกประการหนึ่งสีน้ำเงินนี้เป็นสีอันเปนศิริแก่พระชนมวาร นับว่าเป็นสีเครื่องหมายเฉพาะพระองค์ด้วย จึงเป็นสีที่สมควรจะประกอบไว้ในธงสำหรับชาติด้วยประการทั้งปวง” โดยกำหนดดังนี้

25 พฤศจิกายน ‘วันวชิราวุธ’ น้อมรำลึกถึงวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันวชิราวุธ’ เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม 8 พระองค์ ซึ่งมีพระอนุชาองค์เล็กคือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7    

เมื่อพระชนมพรรษาเจริญครบเดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ในปี พ.ศ.2431 เมื่อมีพระชนมพรรษา 8 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้า "กรมขุนเทพทวาราวดี" ให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ 2 รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และได้มีพระราชพิธีโสกันต์ในเดือนธันวาคม พุทธศักราช 2435           

ขณะทรงพระเยาว์ พระองค์ได้ทรงศึกษาความรู้จาก พระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาอิศรพันธ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา) และหม่อมเจ้าประภากร ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทั้งในพระบรมมหาราชวัง และโรงเรียนสวนกุหลาบ จนเมื่อมีพระชนมพรรษา 12 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ

27 พฤศจิกายน ของทุกปี ถือเป็น ‘วันสาธารณสุขแห่งชาติ’ สืบเนื่อง ร.6 ทรงก่อตั้ง ‘กรมสาธารณสุข’

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นแทนกรมประชาภิบาล

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นในกระทรวงมหาดไทย แทนกรมประชาภิบาล โดยให้รวมกองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล เข้าด้วยกัน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กรมสาธารณสุข เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข องค์แรก นับเป็นวาระแรกที่มีการใช้คำว่า 'สาธารณสุข' จึงถือว่า วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น 'วันสถาปนาการสาธารณสุข'

3 มกราคม พ.ศ. 2458 ในหลวง ร.6 ทรงวางศิลาฤกษ์ ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน

วันนี้ครบรอบ 107 ปี พระราชพิธีก่อพระฤกษ์ ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ปัจจุบันคืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์) โดยต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น 'จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'

ในวันนั้นพระราชดำรัสตอบของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ ผู้ที่มาชุมนุมอยู่ในงานพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ ตึกบัญชาการ ในวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พระพุทธศักราช 2458 ความว่า

“วันนี้เรายินดีที่ได้รับอัญเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังการให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้ว ในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม แต่ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีเหตุติดขัด"

"ซึ่งการยังจะดำเนินไปไม่ได้ตลอดปลอดโปร่ง ตัวเราเป็นรัชทายาทจึงรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ โดยรู้ว่าเมื่อได้ทำสำเร็จแล้วจะเป็นเครื่องเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นราชานุสาวรีย์ เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของชาติไทยเราเป็นการสมควรยิ่งนักที่จะสร้างพระราชานุสาวรีย์ อันใหญ่และถาวรเช่นนี้”

“ทั้งจะได้เป็นเครื่องที่จะทำให้บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญด้วย เรามีความยินดีที่ได้เห็นการดำเนินล่วงมาได้มากแล้ว ในบัดนี้เราจะได้วางศิลาฤกษ์ด้วยความหวังที่แลเห็นความดีงามในอนาคตกาลแห่งมหาวิทยาลัยนี้ส่วนการที่ดำเนินไปได้จนเป็นรูปถึงเพียงนี้แล้ว ก็ต้องอาศัยความอุตสาหะของกรรมการผู้ได้รับมอบเป็นหน้าที่ผู้อำนวยการ ประกอบกับความอุตสาหะแห่งบรรดาผู้มีหน้าที่เป็นครู อาจารย์สั่งสอนในโรงเรียนนี้ ของกรรมการที่ได้รับมอบหน้าที่ไปจากเราให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจงได้รับความขอบใจของเราแล้ว"

25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ

วันนี้ เมื่อ 107 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ‘สถานีรถไฟหัวลำโพง’

25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สถานีรถไฟกรุงเทพ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ตามชื่อคลองและฝูงวัววิ่งกันอย่างคึกคะนองอยู่กลางทุ่งจึงเรียกว่า ‘ทุ่งวัวลำพอง’ และได้เพี้ยนเสียงมาเป็น ‘หัวลำโพง’ ในภายหลัง บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ‘ต้นลำโพง’ ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้ 

สถานีรถไฟหัวลำโพงเริ่มก่อสร้างในปี 2453 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 สถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะเรอเนซองซ์ มีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟฟรังค์ฟูร์ท ที่เมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนชื่อ มาริโอ ตามานโญ มีพื้นที่ประมาณ 120 ไร่ 

ด้านหน้ามี ‘อนุสาวรีย์ช้างสามเศียร’  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าสถานีหัวลำโพงมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูปช้างสามเศียร มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน

ภายในประดับด้วยหินอ่อน เพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ จุดเด่นอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตรซึ่งสั่งทำเป็นพิเศษ ติดตั้งอยู่อย่างกลมกลืน นับเป็นสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุด เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย รองรับรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน จากรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ ก่อนจะรถไฟทางไกล สายเหนือ อีสาน และใต้ จะเปลี่ยนไปให้บริการที่สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา
 

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา ‘กิจการลูกเสือไทย’ .

วันนี้ เมื่อ 112 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงสถาปนากิจการลูกเสือไทยขึ้น จึงยึดถือเอาวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น ‘วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ.
ลูกเสือได้กำเนิดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 โดยท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ กิจการลูกเสือในยุคแรกมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร หลายประเทศที่ไม่มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร จึงได้จัดให้มีลูกเสืออย่างประเทศอังกฤษบ้าง หลังจากนั้นไม่นานกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา

ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนได้เข้ารับการอบรม โดยมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งอบรมจิตใจให้คนไทยรู้จักรักชาติมีมนุษยธรรม มีความเสียสละ สามัคคี และมีความกตัญญู

เมื่อกิจการของเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงดีแล้วพระองค์ จึงทรงพระราชดำริว่า ควรจะได้มีการอบรมของลูกเสือด้วย ดังนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งลูกเสือขึ้นในประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา จากนั้นนานาชาติในยุโรปจึงจัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้น ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากลและมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก เป็นสื่อผูกมิตรไมตรีกันโดยใช้กฎของลูกเสือ 10 ประการ ผูกสัมพันธ์กันไม่เว้นเชื้อชาติใด ศาสนาใดทั้งสิ้น ถือว่าลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด

แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสวรรคตแล้วก็ตาม พระราชอนุสรณ์กิจการลูกเสือของพระองค์ท่านได้พัฒนารุ่งเรืองมาตามลำดับจน โดยปัจุบันกลายเป็นกิจการที่สร้างคุณประโยชน์สร้างชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักของนานาประเทศทั่วโลก และเพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ท่าน ทางราชการจึงได้กำหนดวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็น ‘วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ’ หรือ ‘วันลูกเสือ’
 

16 กันยายน พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่ดินหวงห้ามที่สัตหีบให้ใช้เป็นฐานทัพเรือ

วันนี้ เมื่อ 101 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่ดินหวงห้ามที่สัตหีบให้ใช้เป็นฐานทัพเรือ ตามที่นายพลเรือเอก กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ได้ขอพระราชทาน

ย้อนไป เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2465 หรือ 101 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานที่ดินหวงห้ามที่สัตหีบให้ใช้เป็นฐานทัพเรือ ตามที่นายพลเรือเอก กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ได้ขอพระราชทาน และกองทัพเรือสร้างฐานทัพเรือที่สัตหีบ ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ

ฐานทัพเรือสัตหีบ เริ่มก่อกำเนิดขึ้นมาด้วยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2457 ขณะที่เสด็จประพาสทางชลมารคเลียบฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี พระองค์ได้เสด็จฯ มาประทับในอ่าวสัตหีบ เพื่อทอดพระเนตรการซ้อมรบของกองทัพเรือด้วย

ในการเสด็จคราวนั้นพระองค์ได้ทอดพระเนตรหมู่บ้านสัตหีบ เห็นว่า เป็นชัยภูมิอันเหมาะที่จะตั้งเป็นฐานทัพเรือ จึงได้มีพระบรมราชโองการด้วยพระโอษฐ์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2457 แก่พระยาราชเสนาผู้แทนสมุหเทศาภิบาล มณฑลจันทบุรี และพระยาประชาไศรยสรเดช ผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี

ขณะทรงประทับอยู่ในเรือพระที่นั่งว่า มีพระราชประสงค์ที่ดินฝั่งตำบลสัตหีบ และที่ใกล้เคียงตลอดทั้งเกาะใหญ่น้อยบรรดาที่มีอยู่ริมฝั่งน้ำ อย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับใบเหยียบย่ำ หรือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินบนฝั่ง หรือเกาะที่สงวนไว้แล้วนั้นเป็นอันขาด

กันยายน พ.ศ. 2465 พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ขณะที่ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ ได้มีหนังสือไปกราบถวายบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานที่ดินตำบลสัตหีบที่ทรงสงวนไว้เพื่อจัดเป็นฐานทัพเรือ โดยทรงเน้นให้เห็นคุณและโทษ ของการจัดสัตหีบเป็นฐานทัพเรือไว้

ต่อมาทางกองทัพเรือจึงได้ก่อสร้างฐานทัพเรือ จนมาเป็นฐานทัพเรือสัตหีบ จวบจนถึงปัจจุบัน

25 พฤศจิกายน ของทุกปี วันวชิราวุธ (วันคล้ายวันสวรรคต) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

วันวชิราวุธ (วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า) ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พ.ศ. 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า ‘สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า’ พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน

สำหรับพระราชกรณียกิจที่สำคัญ พระองค์นั้นได้เป็นผู้ให้พระราชทานกำเนิดกิจการลูกเสือไทยขึ้น ซึ่งพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ได้ทรงริเริ่มและพัฒนาไว้ล้วนแต่เป็นรากฐานที่สำคัญซึ่งนำไปสู่ความเจริญของประเทศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top