Saturday, 27 April 2024
พรรคการเมือง

สลากดิจิทัล 80 บาท ‘สัญญาณดี’ ที่ชี้ว่ารัฐกำลังมาถูกทาง | NEWS GEN TIMES EP.55

✨ สลากดิจิทัล 80 บาท ‘สัญญาณดี’ ที่ชี้ว่ารัฐกำลังมาถูกทาง พร้อมคลายข้อสงสัยประเด็นต่าง ๆ

✨ ‘รับใช้พรรค’ หรือ ‘รับใช้ประชาชน’!! ‘โบว์ - ณัฏฐา’ ฝากให้คิด “จะมีรัฐสภาไว้ทำไม หากห้ามโหวตนอกมติพรรค”

✨Twitter จ่ายค่าปรับอ่วม! เหตุเอาข้อมูลผู้ใช้ 140 ล้านราย ไปให้บริษัทโฆษณาทำการตลาด

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

'อั้ม เนโกะ' ซัดพรรคอ้างว่า ‘ก้าวหน้า-ก้าวไกล’ แต่ทำตัวล้าหลัง เป็นของปลอมที่ชอบออกตัว

(30 พ.ย. 65) นายศรัณย์ ฉุยฉาย หรืออั้ม เนโกะ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส โพสต์เฟซบุ๊กพร้อมแคปรูปทวิตเตอร์ของนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลระบุว่า…

ความทุเรศของนักการเมืองไทยที่สังกัดอยู่กับพรรค กับกลุ่มที่ชอบอ้างว่าตัวเองก้าวหน้า ก้าวไกล แต่กลับทำตัวล้าหลังไปร่วมกิจกรรมกับพรรคการเมืองฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยมของเยอรมนี

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ ‘6 พรรคกับโอกาสได้เป็น รบ.’ ชี้!! ‘เพื่อไทย’ พุ่งอันดับ 1 ส่วน ‘ก้าวไกล’ ครองอันดับ 2

(11 ธ.ค. 65) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘6 พรรคกับโอกาส ได้เป็นรัฐบาล’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ 6 พรรคกับโอกาสได้เป็นรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อให้ประชาชนวิเคราะห์ถึงโอกาสที่พรรคการเมือง ทั้ง 6 พรรค ซึ่งกำลังมีกระแสข่าวการไหลเข้า-ออก ของนักการเมือง จะได้เป็นรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า

1. พรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว/น.ส.แพทองธาร ชินวัตร) 

ร้อยละ 40.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก 

ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 16.88 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

2. พรรคก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) 

ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย 

ร้อยละ 30.23 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

3. พรรคพลังประชารัฐ (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) 

ร้อยละ 33.51 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 32.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก 

ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

4. พรรครวมไทยสร้างชาติ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค/พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) 

ร้อยละ 43.12 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ 15.73 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 5.73 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 3.97 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

5. พรรคภูมิใจไทย (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) 

ร้อยละ 39.16 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย 

ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 21.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 4.96 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

6. พรรคประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) 

ร้อยละ 40.69 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย 

ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 13.20 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกระแสข่าวข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ เป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือ โอกาสเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน

รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ ทั้งสองพรรคต่างต้องการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้ การนำของตนเองจึงไม่น่าจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้

ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ การเมืองเป็นเรื่องของการหาผลประโยชน์ จึงมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองพรรคจะตกลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน

ร้อยละ 5.19 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต จึงอาจมีการหารือเพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์หากได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

‘ภูมิใจไทย’ มอบเสื้อพรรคต้อนรับ ‘กรณิศ-ภาดาท์’ หลังจรดลายเซ็นสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรค

‘กรณิศ’ กอด ‘วัน ภาดาท์’ เข้าพรรคภูมิใจไทย ประธานที่ปรึกษาพรรคพร้อมกรรมการบริหารพรรค สวมเสื้อ รับขวัญเข้าบ้านใหม่

วันนี้ (21 ธ.ค. 65) ที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ถ.พหลโยธิน นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา อดีต ส.ส.กทม. เขตวัฒนา เขตคลองเตย พรรคพลังประชารัฐ ควงคู่ นางสาววัน ภาดาท์ วรกานนท์ อดีต ส.ส.กทม.เขต พญาไท-ราชเทวี-จตุจักร พรรคพลังประชารัฐ เข้าเขียนใบสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ท่ามกลางการต้อนรับ จากผู้บริหารพรรคภูมิใจไทย อาทิ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคภูมิใจไทย, ดร.ทรงศักดิ์ ทองศรี รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย, นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ดร.นาที รัชกิจประการ เหรัญญิกพรรคภูมิใจไทย, ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย, นางสาวศุภมาส อิศรภักดี ส.ส.บัญชี รายชื่อพรรคภูมิใจไทย พร้อมอดีต ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ที่เข้าไปเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยก่อนหน้านั้นแล้ว ทำพิธีต้อนรับอย่างอบอุ่น โดยการสวมเสื้อพรรคภูมิใจไทยรับขวัญ บรรยากาศเต็มไปด้วยรอยยิ้ม

นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา กล่าวว่า สาเหตุที่มาร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย พรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคที่มีนโยบายชัดเจน พูดแล้วทำ บ้านหลังใหม่นี้ พรรคนี้นับเป็นพรรคการเมืองที่ตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชน เราอาสาที่จะมาปักธง ตอกเสาเข็มให้กับพรรคภูมิใจไทย ในกทม. เพื่อจะได้ดูแลพี่น้องชาวกทม.อย่างใกล้ชิด

หลายพรรคลุยติด ‘ป้ายหาเสียง’ ทั่ว กทม. สร้างสีสัน - หวังคะแนนเสียงจากชาวกรุง

ช่วงนี้ถือเป็นโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งใหญ่ของประเทศไทยแล้ว แต่แหม..ยังไม่ทันไร ป้ายจากพรรคต่าง ๆ ก็มาปักให้เห็นกันแล้ว 

วันนี้ (11 ม.ค. 66) ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้ลงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในหลายเขต หลายพื้นที่ ก็ได้พบเห็นว่าพรรคการเมืองหลายพรรคเริ่มติดป้ายแนะนำพรรค โปรโมตนโยบายพรรค ที่แฝงมาในรูปแบบสวัสดีปีใหม่ ตรุษจีน พร้อมทั้งติดภาพว่าที่ผู้สมัครของพรรคขนาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนคุ้นหน้าคุ้นตาก่อนใคร ถือเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างสีสันก่อนการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึงในเร็ววันนี้

เปิดนโยบาย 4 พรรคการเมืองใหญ่ ชูนโยบายแก้ปัญหาปากท้อง ปชช.

เชื่อว่าช่วงนี้ทุกท่านคงจะเห็นพรรคการเมืองเริ่มรุกกำหนดนโยบายหาเสียงกันแล้ว มีตั้งแต่นโยบายเล็ก ๆ ไปจนถึงนโยบายใหญ่ ๆ ซึ่งวันนี้ทีมข่าว THE STATES TIMES จะพาทุกท่านไปดูว่า พรรคการเมืองพรรคไหนบ้างที่มีนโยบายสนับสนุนปากท้องประชาชน

ขอเริ่มต้นที่ ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ได้กำหนดนโยบายออกมาคือ ‘เศรษฐกิจประชารัฐ’ คือการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ย้ายแรงงานภาคการเกษตรไปยังภาคอุตสาหกรรม-ภาคของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมมากขึ้น แล้วก็ส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมในเรื่องของการที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผ่านกองทุนต่าง ๆ หรือรูปแบบอื่นใดก็ตาม 

ต่อมา ‘พรรคเพื่อไทย’ พรรคนี้ได้ประกาศแคมเปญรณรงค์การเลือกตั้งครั้งนี้ว่า ‘คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน’ ซึ่งทางพรรคก็เคลมว่าเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลในปี 2570 ซึ่งมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจปากท้องประชาชน คือ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส ปี 2570 พรรคเพื่อไทยจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศเติบโตอย่างต่ำเฉลี่ยร้อยละ 5% ต่อปี ช่องว่างความเหลื่อมล้ำจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะพรรคเพื่อไทยจะใช้แนวคิด ‘รดน้ำที่ราก’ เพื่อให้ต้นไม้งอกงามได้ทั้งต้น ทั้งที่น้ำมีจำกัด

พรรคถัดมาคือ ‘พรรคประชาธิปัตย์’ พรรคนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ของพรรคไว้คือ ‘สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ’ ซึ่งมีนโยบายเสริมปากท้องประชาชนคือ 

1. การประกันรายได้ ซึ่งก็คือการประกันรายได้จ่ายเงินส่วนต่าง ข้าว มัน ยาง ปาล์ม และข้าวโพด โดยรายละเอียดของการต่อยอดโครงการประกันรายได้นั้นจะเน้นในส่วนของเงินส่วนต่างให้กับพี่น้องเกษตรกร

2. ให้เงินอุดหนุนกลุ่มประมง ซึ่งในไทยมีกลุ่มประมงกระจายอยู่ทั่วประเทศ 2,800 กว่าแห่ง กลุ่มประมงเหล่านี้คือกลุ่มประมงที่เป็นฐานรากของประเทศ ดังนั้นนโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการสร้างความเข้มแข็งในฐานราก ก็คือการให้เงินอุดหนุนกลุ่มเกษตรกรประมง กลุ่มละ 100,000 บาทต่อปีทุกกลุ่ม ทั้ง 2,800 กว่ากลุ่ม 

ต่อมา ‘พรรคภูมิใจไทย’ ซึ่งพรรคนี้ได้กำหนดนโยบายออกมา 2 นโยบายที่สนับสนุนปากท้องท้องประชาชน ได้แก่

ส่อง!! เฟซบุ๊กพรรคการเมืองไทยที่มีผู้ติดตามมากที่สุด

วันนี้ THE STATES TIMES พามาส่องเฟซบุ๊กเพจของพรรคการเมืองไทย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชนในยุคดิจิทัลว่าแต่ละพรรคมีผู้ติดตามกันมากน้อยขนาดไหน
 

ส่อง ‘13 พรรคการเมือง’ ที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. มากกว่า 40 จังหวัด

ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 22 ก.พ.66 ระบุว่า พรรคกการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. มากกว่า 40 จังหวัด มีด้วยกันทั้งหมด 13 พรรค ได้แก่ พรรครวมไทยสร้างชาติ 77 จังหวัด, พรรคก้าวไกล 76 จังหวัด, พรรคประชาธิปัตย์ 75 จังหวัด, พรรคภูมิใจไทย 75 จังหวัด, พรรคเพื่อไทย 75 จังหวัด, พรรคเสรีรวมไทย 68 จังหวัด, พรรคคลองไทย 59 จังหวัด, พรรคเศรษฐกิจไทย 56 จังหวัด, พรรคไทยสร้างไทย 47 จังหวัด, พรรคโอกาสไทย 45 จังหวัด, พรรคพลังประชารัฐ 44 จังหวัด, พรรคไทยภักดี 42 จังหวัด และพรรคยุทธศาสตร์ชาติ 42 จังหวัด

‘เพื่อไทย’ เรียกร้อง กกต. ใช้อำนาจอย่างชอบธรรม หลังออกระเบียบยุบพรรคการเมืองก่อนเลือกตั้ง

(27 ก.พ. 66) นายชุมสาย ศรียาภัย รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ตามที่ กกต.ได้ออกระเบียบ 3 ฉบับและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 ก.พ.โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการยุบพรรคติดเทอร์โบ โดยในระเบียบดังกล่าวระบุถึงระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการยุบพรรคการเมืองเพียง 67 วัน จากเดิมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลา ตนได้ตรวจข้อกฎหมายลำดับศักดิ์ของกฎหมายแล้ว พบว่าแม้ กกต.จะอ้าง อาศัยอำนาจตามมาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ 60 และ พ.ร.ป.กกต. และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท รวมถึง พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 แต่ตนเห็นว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและ พรป.กกต.ไม่ได้ให้อำนาจ กกต.ออกระเบียบในลักษณะนี้ได้ การกระทำดังกล่าวของ กกต.อาจเป็นการออกระเบียบโดยไม่มีอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจ ระเบียบดังกล่าวจึงอาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต.ประกอบกับการยุบพรรคเป็นโทษกับพรรคการเมือง กกต.จึงไม่มีอำนาจออกระเบียบได้ และระเบียบดังกล่าวไม่สามารถมีผลย้อนหลังในคดีความที่นักร้องต่าง ๆ ได้ยื่นยุบพรรคการเมืองในช่วงก่อนหน้านี้ด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top