Friday, 3 May 2024
ผู้นำ

‘พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่’ | THE STATES TIMES STORY EP.101

กระจ่างชัดในความดี ‘พลเอกเปรม ติณสูลานนท์’ รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำคนไทยให้รู้จัก... 'ทดแทนคุณแผ่นดิน'

.

ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

.

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

จาก ‘ผู้นำมะกัน’ สู่ ‘เลือกตั้ง’ ครั้งใหม่ของไทย ‘คนดี’ นั้นไซร้ ย่อมอยู่ในใจผู้คนตลอดกาล

สำหรับมวลมหาประชาชนคนอเมริกันแล้ว ไม่ได้มีแค่ ‘วันวาเลนไทน์’ วันเดียวเท่านั้นที่เป็นวันสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ หาแต่ยังมีอีกวันที่ทุกคนเฝ้ารอ นั่นคือ ‘วันประธานาธิบดี’ 

ที่ว่าเฝ้ารอนี่ไม่ใช่เพราะให้ความสำคัญกับ ‘ประธานาธิบดี’ หรอก แต่เพราะทุกห้างร้านจะ ‘ลดราคาครั้งใหญ่’ ถึงบางคนอดใจไม่ซื้อของขวัญวาเลนไทน์ แต่เลื่อนไปซื้อของขวัญในวันนี้แทน เพราะได้ส่วนลดมากมาย 

วัน Presidents Day หรือ วันประธานาธิบดี ตรงกับวันจันทร์ในสัปดาห์ที่ 3 ส่วนที่เลือกเป็นวันนี้นั้น เพราะเป็นวันเกิดของ ‘จอร์จ วอชิงตัน’ ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1732 โดยมีการร่างพระราชบัญญัติให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการและเริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1971 

ไม่เพียงแค่เป็นเดือนเกิดของ ‘จอร์จ วอชิงตัน’ เท่านั้น หากแต่ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ยังเป็นเดือนเกิดของประธานาธิบดีที่มีความสำคัญอีกท่าน นั่นก็คือ ‘อับราฮัม ลินคอล์น’ โดยในพระราชบัญญัติที่ว่านี้ระบุให้วันประธานาธิบดี เป็น ‘วันสดุดีอับราฮัม ลินคอล์น’ ประธานาธิบดีคนที่ 16 ซึ่งเกิดในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1809 อีกด้วย เรียกว่าเป็นแพ็กคู่แห่งความสำคัญแบบ 1 แถม 1 กันเลยทีเดียว

ไหน ๆ ก็พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว ก็ขอพาย้อนไปดูสาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้นำมะกันในอดีตสักเล็กน้อย โดยเริ่มจากจำนวนประธานาธิบดีนับตั้งแต่เริ่มอย่าง จอร์จ วอชิงตัน ในปี ค.ศ. 1789 มาจนถึงปัจจุบันนั้น อเมริกาจะมีประธานาธิบดีแล้วทั้งสิ้น 46 คน ซึ่งคนล่าสุด ก็คือ ‘ลุงโจ ไบเดน’ นั่นแหละ  

>> อยู่ยั่งยืนยง
ส่วนประธานาธิบดีที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด ก็ได้แก่ ประธานาธิบดี ‘แฟรงคลิน ดี รูสเวลท์’ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ถึง 4 สมัยหรือ 16 ปี หลังจากนั้นมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ในปี ค.ศ. 1951 กำหนดให้บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน

ที่สหรัฐฯ นั้น ทุกๆ 4 ปีจะมีการสำรวจโพล ‘ประธานาธิบดีและความยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีในการเมืองของฝ่ายบริหาร’ โดยสำรวจความคิดเห็นนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ของสมาคมรัฐศาสตร์ เกี่ยวกับประธานาธิบดีและการเมืองของฝ่ายการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นให้คะแนนความยิ่งใหญ่ของประธานาธิบดีแต่ละคนจาก 0 ถึง 100 ซึ่ง 100 คือ ยิ่งใหญ่, 50 คือ ปานกลาง และ 0 คือ ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

>> สุดยอดผู้นำ
สำหรับประธานาธิบดียอดเยี่ยมนั้น ผลสำรวจมักออกมาแบบนี้แทบทุกหน นั่นคือ 7 อันดับประธานาธิบดียอดเยี่ยมอันดับหนึ่งอภิมหาอมตะนิรันดร์กาลคือ อับราฮัม ลินคอล์น ตามด้วยจอร์จ วอชิงตัน, แฟรงคลิน  รูสเวลต์, ธีโอออร์ รูสเวลต์, โธมัส เจฟเฟอร์สัน, แฮร์รี ทรูแมน และดไวท์ ไอเซนฮาวร์ โดยอับราฮัม ลินคอล์นได้คะแนนนำสูงลิ่วมาทุกครั้ง เรียกว่าเป็นประธานาธิบดีในหัวใจประชาชนอย่างแท้จริง

>> ผู้นำห่วยแตก
ส่วนประธานาธิบดีห่วยแตกสุด 5 คน เรียงจากบ๊วยสุด คือ โดนัลด์ ทรัมป์ ตามมาด้วย แอนดรูว์ จอห์นสัน, แฟรงคลิน เพียร์ซ, วิลเลียม แฮร์ริสัน และ เจมส์ บูแคนัน โดยนักวิจัยขอให้นักรัฐศาสตร์ช่วยระบุชื่อประธานาธิบดีที่คิดว่าสร้างความแตกแยกมากที่สุด ผลปรากฏว่านักรัฐศาสตร์ 90 จากทั้งหมด 170 คนยกให้ ‘ทรัมป์’ เป็นผู้นำที่สร้างความแตกแยกที่สุด

กระบี่ผู้ครองรัฐ : ตำนานคนดีที่ไม่มีวันตาย

ผู้นำ...ใช้ "บัณฑิตห้าวหาญ" ทำปลายกระบี่
ผู้นำ...ใช้ "บัณฑิตซื่อตรง" ทำคมกระบี่
ผู้นำ...ใช้ "บัณฑิตเที่ยงธรรม" ทำสันกระบี่
ผู้นำ...ใช้ "บัณฑิตภักดี" ทำโกร่งกระบี่
ผู้นำ...ใช้ "บัณฑิตปราดเปรื่อง" ทำด้ามกระบี่

กระบี่วิเศษเล่มนี้ 
พุ่งแทงไร้สิ่งบดบัง
เงื้อชูไร้สิ่งกีดขวาง
ชี้ต่ำล้วนม้วยมลาย
ตวัดไร้ที่ต้านทาน
แทงบนกรีดแหวกหมู่เมฆ
แทงต่ำกรีดแยกแผ่นดิน

เบื้องบนเอาอย่างผืนฟ้า 
ทำตามวิถีสวรรค์
เบื้องล่างเอาอย่างผืนดิน 
ทำตามลำดับฤดูกาล

ใจเมตตาประชาราษฏร์ 
สงบร่มเย็นทั้งสี่ทิศ

เมื่อใช้กระบี่นี้ เฉกเช่นอสนีบาตผ่าฟาดทั่วทุกสารทิศ

ไม่มีผู้ใดไม่เคารพเชื่อฟังบัญชาผู้นำ

"กระบี่ผู้ครองรัฐ" 
สมควรเป็นเช่นนี้

ร้อยหมื่นคนในกองประชา
เคลื่อนไหวดุจคนๆเดียว

น่าเสียดาย บัดนี้
"กระบี่ผู้ครองรัฐ" เล่มนี้
ได้วางลงแล้ว

เหลือไว้แต่ตำนานเล่าขานสืบไป

โดย สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

‘ดร.สุวินัย’ เผย ถึงเวลาโละทุกระบบ รับมือความเปลี่ยนผันสู่ ‘ยุคดาต้านิยม’ ชี้!! ปัญญา-กลยุทธ์ของ ‘ผู้นำวิถีปราชญ์’ คือหัวใจหลัก พาสังคมฝ่ามหาวิกฤติ

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 66 ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Suvinai Pornavalai' ในหัวข้อ ‘ทบทวน The Great Reset : ใครรู้ทันและเตรียมพร้อม คนนั้นรอด’ โดยระบุว่า…

‘The Great Reset’ หมายถึง การ ‘โละ’ ระบบทุกอย่างในโลกใบนี้ ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เพื่อเข้าสู่ยุคดาต้านิยม (Dataism) เต็มตัว

ที่ผ่านมา โลกได้ผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้ว 4 ครั้ง

๐ ครั้งที่ 1 อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1760-1840 เป็น ‘การปฏิวัติใช้เครื่องจักรไอน้ำ’ ในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งนำไปสู่การผงาดขึ้นของยุคทุนนิยมช่วงต้น

๐ ครั้งที่ 2 อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1820-1925 เป็น ‘การปฏิวัติใช้ไฟฟ้า’ ในทุกอุตสาหกรรม เริ่มมีการใช้สายพานในการผลิต ทำให้เกิดการผลิตแบบแมส  (Mass Production) ในระบบทุนนิยม ตามมาด้วยการเกิดชนชั้นกลาง (Middle Class) ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคหลักของเศรษฐกิจทุนนิยม

๐ ครั้งที่ 3 อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1969-2010 เป็น ‘การปฏิวัติใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต’ มาใช้ในทุกอุตสาหกรรมในยุคทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ที่เป็นยุคทุนนิยมช่วงปลายๆ ที่งอมแล้ว (Mature Capitalism)

๐ ครั้งที่ 4 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา เป็น ‘การปฏิวัติใช้อัลกอริทึมและปัญญาประดิษฐ์’ ในทุกอุตสาหกรรม ทะยานจากยุคเก่า (หรือทุนนิยม) เข้าสู่ยุคใหม่ หรือ ‘ยุคดาต้านิยม’ (Dataism) แทน

เพราะเหตุนี้เอง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จึงเป็นการ ‘โละระบบ’ ครั้งใหญ่สุดในรอบ 100 ปีที่คนในโลกไม่เคยเจอมาก่อน

ชาวโลกส่วนใหญ่จึงมองไม่ออกว่า อนาคตจะเป็นยังไงต่อไป…

แต่ที่แน่ๆ อาชีพเก่าๆ จะหายไปมากกว่าครึ่ง โดยจะมีอาชีพใหม่เข้ามาแทน รายได้ของคนส่วนใหญ่ที่ไม่ปรับตัวจะลดลง คนส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำอาชีพใหม่ที่สร้างเงินดีๆ ได้ มีแต่คนส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถปรับตัว โดยการ Reskill ได้

ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยิ่งทวีความรุนแรง รวมทั้งปัญหาทางสังคม ระบบราชการ หากไม่ปรับตัวจะอยู่ไม่ได้ เพราะประชาชนจะกดดันผ่านเครือข่ายโซเชียล ขณะเดียวกัน ปัญหาต่างๆ จะถาโถมกดดันรัฐบาลไม่หยุดหย่อน

คนไทยควรตระหนักให้ดีว่า… ประเทศไทยเรากำลังเผชิญกับโลกที่ไม่ใช่ใบเดิมอีกต่อไป

ผู้ที่จะนำพาองค์กร นำพาสังคม นำพาบ้านเมืองให้ฝ่าผ่านวิกฤตโละระบบทั้งหมด (Great Reset) นี้ได้จะต้องเป็นผู้ที่สามารถ ‘คิดเชิงระบบ’ (Systems Thinking) อย่างเป็นนักยุทธศาสตร์ ได้เท่านั้น

ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีในยุคดาต้านิยม โดยเฉพาะอัลกอริทึมคือ มันทำให้คนเรา ‘มีความเป็นมนุษย์น้อยลง’ (Downgrading Humans)

ผลที่ตามมาคือมันกำลังทำลาย ‘สังคม’ แบบที่มนุษย์ควรจะมี กลายเป็น ‘สังคมเสมือน’ ที่แตกแยก แตกร้าวเกินเยียวยา และช่วงชิงความใส่ใจเพื่อนมนุษย์ (Human Attention) ที่เราควรมีให้กับมนุษย์ด้วยกันที่อยู่ตรงหน้าหรือรอบข้าง ให้ไปอยู่ที่หน้าจอมือถือของแต่ละคนแทน

ผู้นำประเทศหรือนักการเมืองที่คิดเชิงระบบไม่ได้ หรือไม่สามารถเห็นผลกระทบเชิงลบที่ระบบย่อยต่างๆ ส่งผลต่อระบบใหญ่องค์รวม หรือ ‘โลกกาย่า’ (Gaia) ใบนี้ได้… ย่อมนำพาประเทศของตัวเองไปสู่หายนะ

เพราะผู้นำแบบนี้ย่อมไม่สามารถทำให้ประชาชนของตนตื่นรู้ และตระหนักถึงผลรวมแห่งการกระทำของแต่ละคน และชี้ทางออก-ทางสว่างที่เป็นความหวังให้แก่คนทั้งประเทศได้

ผู้นำที่คิดเชิงระบบอย่างนักยุทธศาสตร์ได้ ย่อมสามารถจัดการวิกฤติระบบที่เป็นปัญหา Complexity ได้ เพราะ The Great Reset คือรูปแบบหนึ่งของปัญหา Complexity เชิงระบบนั่นเอง

นิยามของผู้นำ (Leader) ในยุควิกฤติ คือ ผู้ที่สามารถนำพาผู้คนก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งปวงได้

ภูมิปัญญากลยุทธ์ของผู้นำและวิถีปราชญ์ผู้นำ คือหนึ่งในหัวข้อหลักที่คนไทยต้องติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ตัวเอง ในช่วงวิกฤติใหญ่ ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะมันสามารถเปลี่ยนอนาคตของประเทศไทยไปอย่างไม่หวนกลับได้

เหตุการณ์วันนี้และและการตัดสินใจของปัจเจกซึ่งเป็นตัวละครหลักในประวัติศาสตร์หน้านี้ มันจะกลายเป็น ‘ประวัติศาสตร์’ ในวันข้างหน้า โดยที่มันจะมีส่วนกำหนดเส้นทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยต่อจากนี้อย่างไม่ต้องสงสัย

ประวัติศาสตร์เป็นเพียงเส้นทางผ่านวิกฤติทั้งหลาย โดยตัวมันเองจึงหามี ‘จุดจบอันงดงาม’ ทางประวัติศาสตร์เสมอไปไม่

สถานการณ์โลกที่กำลังจะบานปลายจากวิกฤติโควิด ไปเป็นมหาวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ และสงครามครั้งใหญ่ที่ใกล้จะเกิด

เครือข่ายมันสมองของประเทศนี้จากทุกฝ่ายทุกวงการ ต้องเข้ามาช่วยกันระดมความคิด ระดมสมอง เพื่อแก้ไขสถานการณ์วิกฤติระดับโลกจากทุกความเป็นไปได้ที่มี หรือมีทางที่เป็นไปได้มากกว่านั้น ขณะที่คนจำนวนมากรวมทั้งนักการเมืองส่วนใหญ่ ยังไม่ทันได้ตั้งตัวต่อทุกเหตุการณ์ที่โหมกระหน่ำเข้ามา

ภูมิปัญญากลยุทธ์เพื่อฝ่าวิกฤติของผู้นำจึงสำคัญมากถึงมากที่สุด

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับมหาวิกฤติที่เหนือความคาดหมายสำหรับคนทั่วไป โดยปกติมักเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

เพราะการตัดสินใจเป็นเรื่องของ ‘การตัดสินด้วยใจของผู้นำ’

ดังนั้น ผู้นำจึงต้องมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธานในที่ประชุม เมื่อวิกฤติรอบด้านพากันมาชุมนุม คนเป็นผู้นำจึงต้องกุมสภาพจิตให้มั่นและต้องใช้ความกล้าหาญในการตัดสินใจ

การตัดสินใจที่ถูกที่ถูกเวลา คือ ยอดแห่งกลยุทธ์ทั้งปวง

ผู้นำที่เป็นจอมปราชญ์ คือ ผู้ที่ผ่านการฝึกตนจนชำนาญ ถึงขั้นที่สามารถหยั่งเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ จึงย่อมนำพาตนเองและคนอื่นออกจากภยันตราย โดยไม่รอให้ภัยมาถึงตัวก่อน

จอมปราชญ์จึงเป็นผู้มีสายตายาวไกล ผู้ผสานคัมภีร์หลากหลาย ให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิต
ปราชญ์ที่แท้ต้องเสนอ ‘ทางเลือก’ เพื่อพาสังคมออกจากมหาวิกฤติ

จะเห็นได้ว่า ปัญญาฝ่าวิกฤติของปราชญ์ คือ ‘หฤทัยแห่งพิชัยสงคราม’ ในทุกสมัย ซึ่งมีค่ายิ่งกว่าแก้วแหวนเงินทองใดๆ ในช่วงเผชิญกับวิกฤติในสมรภูมิชีวิต

มหาวิกฤตินี้จะมาในรูปของ ‘The Great Reset’ ซึ่งเป็นบททดสอบใหญ่ ที่ผู้คนทั้งประเทศจะได้เรียนรู้ร่วมกันครั้งใหญ่อีกครั้ง จากของจริงด้วยประสบการณ์จริง หลังจากวิกฤติโควิดหมดไปแล้ว 
ตอนนี้โลกกำลังเข้าสู่โหมดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกกับสงครามใหญ่

สุวินัย ภรณวลัย

‘ผู้นำ’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา | THE STATES TIMES STORY ตอนพิเศษ

เรื่องราวจากหนังสือ ‘ผู้นำ’ บรรณธิการโดย อัศวินโต๊ะกลม เป็นหนังสือที่รวบรวมผลงานและการทำงานของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ของไทย ตลอดกว่า 8 ปีที่ผ่านมา เป็นผู้พลิกโฉมประเทศไทยไปตลอดกาล ให้สามารถโลดแล่นต่อไปได้อย่างไม่อายใคร นอกจากนี้ยังเป็นนายกรัฐมนตรี ‘สองแผ่นดิน’ ที่มีความโดดเด่นในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความยึดมั่นในผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ

💙ผู้นำ ตอนที่ 1 : ผู้นำช่วงวิกฤติ

💙ผู้นำ ตอนที่ 2 : สร้างคน สร้างพลเมืองดี

💙ผู้นำ ตอนที่ 3 : ประชาชน ประเทศชาติ คือหัวใจของ ‘ประชารัฐ’

💙ผู้นำ ตอนที่ 4 : รู้เท่าทัน ทำทันที เห็นผลเป็นรูปธรรม

💙ผู้นำ ตอนที่ 5 : ‘ลุงตู่’ คือหมอใหญ่ นำทีมผ่าตัดเศรษฐกิจไทย

💙ผู้นำ ตอนที่ 6 : ‘กลยุทธ์ 3 แกน’ สร้างอนาคตไทยให้ก้าวหน้า

💙ผู้นำ ตอนที่ 7 : ‘ลุงตู่’ สุดยอด ‘ผู้นำ’ พาประเทศฝ่าฟันทุกวิกฤต

💙ผู้นำ ตอนที่ 8 : ก้าวข้าม ‘วิกฤตซ้อนวิกฤต’ พาประเทศมุ่งสู่ ‘โอกาส’

💙ผู้นำ ตอนที่ 9 : ‘ผู้นำ’ ยุคดิจิทัล พาไทยเข้าสู่ยุค 4.0

💙ผู้นำ ตอนที่ 10 : 'ลุงตู่' ผู้นำที่ฉันอยาก 'เดินตาม'

 

 

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top