Friday, 26 April 2024
ประชานิยม

ข้อคิดจากวิกฤติเงินเฟ้อ ‘อาร์เจนติน่า’ ผลพวงจากนโยบายประชานิยมสุดโต่ง

ก่อนอื่นคงต้องขอแสดงความยินดีกับทีมฟุตบอลอาร์เจนติน่าที่เพิ่งคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกมาสดๆ ร้อนๆ สร้างความดีอกดีใจให้ชาวอาร์เจนติน่าถึงกับออกมาฉลองกันทั่วประเทศอย่างมืดฟ้ามัวดิน และคาดว่าคงฉลองกันอีกนานยันหลานบวช  ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรสำหรับชาวอาร์เจนติน่าที่ผูกพันกับฟุตบอลมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย

อดไม่ได้ที่จะนึกถึงเรื่องราวประเทศนี้ จริง ๆ แล้วหากย้อนประวัติศาสตร์อาร์เจนติน่าจะเห็นว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจมากประเทศหนึ่ง เพราะเคยเป็นประเทศเกษตรที่รวยที่สุด พรีเมี่ยมที่สุด เนื่องจากปลูกหญ้าที่ดีที่สุดได้ เลยทำให้มีเนื้อวัวชั้นดี เป็นแผ่นดินเหมือนเทพประทาน รวยขนาดเมื่อ 100 ปีก่อน มี GDP ที่ 7 ของโลก แถมพร้อมด้วยสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ถือเป็นประเทศแถบละตินอเมริกา ที่มีคนยุโรปอยู่เยอะเป็นอันดับต้น ๆ แถมน่าจะมีทรัพยากรล้ำค่าเยอะมาก ดูจากชื่อประเทศ Argentina มาจากคำว่า 'Argentum' ในภาษาลาติน แปลว่า เงิน หรือแร่เงิน แต่คำถามที่ตามมาคือ ทำไมปัจจุบันถึงกลายเป็นประเทศที่เงินเฟ้อ 100% และมีวิกฤติเศรษฐกิจตลอดเวลา

สาเหตุของความตกต่ำล่มสลายคือนโยบายประชานิยมตั้งแต่ยุคเปรอง จนมีศัพท์ว่า peronismo outlast perong คือระบบเปรองนั้นมีชีวิตยาวนานกว่าเปรอง ท้าวความถึงเปรองแล้วคงต้องเขียนถึงภรรยาตัวจี๊ดของเปรองด้วย หลายคนจดจำละครบรอดเวย์เรื่องเอวิต้าได้จากบทเพลงแสนเศร้าคือ Don’t cry for me Argentina เพลงนี้ไม่ใช่แค่เพลง แต่คือโฆษณาชวนเชื่อยุคนั้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือเรื่องทางการเมืองในอาร์เจนติน่า

ภาพพจน์ของอวิต้ายังเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะก้ำกึ่งระหว่างนางฟ้าผู้อุทิศตนเพื่อคนยากกับหญิงทะเยอทะยานกระหายอำนาจ เอวิต้านั้นถูกมองว่าเป็นทั้งนักบุญและนางบาป แล้วแต่ฝ่ายไหนจะมองจากแว่นสีใด แม้ร่างจะดับสูญไป แต่ยังทิ้งคำถามคาใจชาวโลกว่า แท้จริงแล้วเธอและสามีนำพาอาร์เจนตินาไปสู่ความรุ่งโรจน์หรือหายนะกันแน่

เอวิต้าเกิดในครอบครัวยากจน แต่ทะเยอทะยาน จึงเดินทางมาสู่เมืองหลวงและใช้เต้าไต่เพื่อหาโอกาส 'เกิด' จนกลายเป็นนางแบบและนักแสดง ในปี ค.ศ. 1944 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่เมืองซานฮวน

ฮวน เปรอง รองประธานาธิบดีและหัวหน้ากรมแรงงานสวัสดิการสังคม จัดงานระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเชิญดารานักร้องคนดังมาร่วมงาน คืนนั้นทั้งคู่ได้พบกันเป็นครั้งแรก และกลายเป็นคนรักใหม่ของฮวน เปรอง

ฮวน เปรองตั้งระบบประกันสังคมแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในอาร์เจนตินา เอื้อประโยชน์ให้ชนชั้นล่าง เป็นที่ถูกอกถูกใจบรรดารากหญ้าจนได้ฐานคะแนนเสียงจากคนเหล่านี้ รัฐบาลทหารมองว่าเปรองมีอำนาจมากเกินไปจึงสั่งจับ แต่พวกกลุ่ม 'เดสกามิซาโดส' Descamisados หรือกรรมกรและคนยากจนในเมืองรวมตัวประท้วงให้ปล่อยตัว จากนั้นฮวน เปรองก็แต่งงานกับเอวิต้า เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจกับชนชั้นสูงและทหารในกองทัพอย่างหนัก

ต่อมาเปรองสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามพรรคแรงงาน และได้รับเลือกอย่างถล่มทลาย เอวิต้าจึงกลายเป็นสตรีหมายเลขหนึ่งตั้งแต่อายุยังไม่ถึงสามสิบ เอวิต้าสร้างภาพพจน์ให้ตนเป็นแม่พระคนยากทำให้ชนะใจชนชั้นแรงงาน ส่วนเปรองชูนโยบายเอื้อต่อกลุ่มชนชั้นล่างเพื่อสร้างความนิยมอย่างเต็มรูปแบบภายใต้ชื่อ 'อาร์เจนตินาใหม่' สรุปง่าย ๆ คือประชานิยมเราดี ๆ นี่แหละที่ใช้ผูกใจรากหญ้าให้รักใคร่ใหลหลง

เปรองส่งเอวิต้าไปเดินสายทั่วยุโรปในนาม 'เส้นทางสายรุ้ง'  เมื่อกลับมาก็ก่อตั้ง 'พรรคสตรีเปรองนิยม' ฟังดูเหมือนจะดีงามที่ให้สิทธิแก่สตรี แต่แท้จริงแล้วต้องการดึงผู้หญิงมาเป็นฐานเสียงให้เปรองนั่นเอง เมื่อเปรองได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง เอวิต้าใช้เงินโปรยหว่านเพื่อผูกใจชนชั้นแรงงานผ่านโฆษณาชวนเชื่อ แม้กระทั่งในตำราเรียน ที่เน้นสอนให้รักเอวิต้าและเปรองเหมือนพ่อแม่ตน พูดง่าย ๆ คือตั้งระบบเปรองนิยมนั่นเอง

แก้ปัญหาให้เก่งเหมือนใช้เงิน!! ‘ทักษิณ’ ซัดหนัก!! พรรคการเมืองคู่แข่งลอกนโยบาย เย้ย!! “จ่ายอย่างเดียว แต่ยังไม่เห็นนโยบายหาเงิน”

‘โทนี่’ แกว่งปากถล่มนโยบายพรรคคู่แข่ง แข่งประชานิยม จ่ายอย่างเดียว-หาเงินไม่เป็น

(8 มี.ค.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ ‘CARE คิด เคลื่อน ไทย’ เปิดเผยคำพูดของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่หนีคดีอยู่ต่างประเทศ ซึ่งกล่าวถึงนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ ว่า “...นโยบายหลายพรรคตอนนี้แข่งกันเป็นประชานิยม จ่ายอย่างเดียว แต่หาเงินไม่เป็น...”

“เวลาออกนโยบาย ต้องคิดด้วยว่า ต้องมีนโยบายหาเงินประกอบด้วย ถ้าไม่มีแล้วจะใช้เงินอย่าง สุดท้ายจะเหมือนเวเนซุเอลา ดังนั้น ผู้นำต้องคิดว่าจะหาเงินยังไง ใช้เงินเก่งแต่หาเงินไม่เป็น เละ”

‘ดร.เสรี’ เตือน ‘ฝ่ายอนุรักษ์นิยม’ อย่าคิดถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตน ชี้!! ตราบใดที่ยังแบ่งพรรคแบ่งพวกกันอยู่อย่างนี้ จะแพ้เลือกตั้งทุกครั้ง

เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 66 ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยระบุว่า…

“ตราบใดที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมยังแบ่งเป็นหลายพรรคอย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้ เลือกตั้งอีกกี่ครั้งกี่ทีก็จะพ่ายแพ้กับฝ่ายตรงกันข้าม ที่นำเสนอผลประโยชน์มากมาย

คนกลุ่มหนึ่งก็เสพติดประชานิยม คิดแต่จะเอาผลประโยชน์ส่วนตน ไม่สนใจว่าคนที่นำเสนอนโยบายประชานิยมทำร้ายประเทศชาติแค่ไหน

อีกกลุ่มหนึ่ง ก็อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง คิดแต่จะเปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่สนใจรายละเอียดว่าจะเปลี่ยนไปทางดีหรือทางร้าย

ประกอบกับคนนำเสนอการเปลี่ยนก็หน้าตาดี พูดเก่ง นำเสนอผลประโยชน์ (ที่ทำจริงไม่ได้) มาหลอกล่อให้คนเลือก คนที่อยากได้สิ่งที่เขานำเสนอก็เลือกคนที่เลือก 2 พรรคนี้ เขาไม่คิดมากหรอกค่ะ เขาตั้งใจจะเลือกของเขา ไม่สนใจว่าพรรคอื่นจะนำเสนออะไร เขาปักใจ ยังไงก็เลือกพรรคที่เสนอผลประโยชน์ที่โดนใจ

ส่วนคนที่ไม่เอา 2 พรรคนี้ มีพรรคให้เลือกหลายพรรค แต่ละพรรคก็มีข้อเสนอดีๆ มีคนดีๆ มานำเสนอเป็นผู้แทน สุดท้ายก็เลือกกันแบบเบี้ยหัวแตก แบ่งคะแนนกันเอง

หลายพื้นที่ เมื่อเอาคะแนนฝ่ายอนุรักษ์นิยมทุกพรรคมารวมกัน คะแนนมากกว่า 2 พรรคที่ได้ ส.ส. มากเป็นที่ 1 และที่ 2 รวมกัน
.
ถ้าหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป พรรคการเมืองเสนอจะให้ ประชาชนเชื่อข้อเสนอ พอใจ อยากได้ สื่อช่วยเชียร์ ในที่สุดพวกเขาก็ชนะ และจะชนะตลอดไป

พูดเรื่องแบ่งคะแนนกันมาตั้งแต่ปี 2548 ไม่มีใครฟัง เลือกตั้งทุกครั้ง พรรคประชานิยมชนะถล่มทลาย และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป

เมื่อไหร่จะคิดได้กันเสียทีนะ ถ้ายังคิดกันไม่ได้ ทั้งนักการเมืองและประชาชนผู้ลงคะแนนเลือก ก็อย่าหวังว่าจะชนะคนที่เขากล้าสัญญาว่าจะให้สวัสดิการเกินจริงเลยนะคะ”

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ‘ภาคเหนือ-ใต้’ ลดลง สะท้อน ‘นโยบายประชานิยม’ ใช้ไม่ได้ผลเสมอไป

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พฤศจิกายน 2566 ในภาพรวมนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เท่ากับ 55.0 ปรับลดจาก 55.8 ในเดือนตุลาคม 2566

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายภาค เปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2566 พบว่า

- กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.9 มาอยู่ที่ระดับ 57.4

- ภาคกลาง ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.3 มาอยู่ที่ระดับ 55.7

- ภาคเหนือ ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 57.3 มาอยู่ที่ระดับ 53.4

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 56.3 มาอยู่ที่ระดับ 57.0

- ภาคใต้ ดัชนีปรับตัวลดลงจากระดับ 53.1 มาอยู่ที่ระดับ 51.8

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่สำคัญที่สุด คือ ‘เศรษฐกิจไทย’ คิดเป็นร้อยละ 44.12 รองลงมา คือ ‘มาตรการภาครัฐ’ คิดเป็นร้อยละ 14.93 ลำดับ 3 เป็น ‘ราคาสินค้าเกษตร’ คิดเป็นร้อยละ 11.48 

ถึงแม้ว่า หากเทียบกับดัชนีความเชื่อมั่น ในปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 43.0 และ ปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 46.2 จะพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ส่วนหนึ่ง เกิดจากภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) และ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจไทย เป็นอย่างมาก ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ต่ำกว่าระดับ 50.0 หมายถึง ผู้บริโภคมีความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ (อยู่ในช่วงไม่เชื่อมั่น) 

ซึ่งในปี 2566 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม อยู่เกินระดับ 50.0 ในทุกเดือน สะท้อนให้เห็นถึง สถานการณ์ปัจจุบัน หลังผ่านเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ภาพรวมของเศรษฐกิจไทย ปรับตัวดีขึ้นมาก รวมทั้งการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น สิ่งหนึ่งที่ต้องชื่นชมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ มาตรการของรัฐ ที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงภาวะวิกฤต ของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา 

แต่หากพิจารณาเฉพาะข้อมูลส่วนนี้ จะพบประเด็นที่น่าสนใจ ว่า พื้นที่ ภาคเหนือ และ ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือ มีอัตราการลดลง มากที่สุด อยู่ที่ 3.9 และ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดัชนีความเชื่อมั่น ของพื้นที่ภาคเหนือ ลำดับที่ 2 อยู่ที่ ‘มาตรการภาครัฐ’ สัญญาณเล็กๆ นี้ ที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน อาจต้องให้ความสนใจพอสมควร เพราะสิ่งที่ต้องไม่ลืม ในทางการเมือง พื้นที่นี้ เดิม เป็นพื้นที่ฐานเสียงหลักของรัฐบาลปัจจุบัน และการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายพื้นที่ ได้เสียฐานคะแนนเสียงให้กับคู่แข่ง มากพอสมควร

ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ มีดัชนีความเชื่อมั่นลดต่ำลง และ ปัจจัยสำคัญ คือ มาตรการภาครัฐ ที่จะใช้เพื่อการประชานิยม เพิ่มคะแนนเสียง และมาตรการสำคัญที่กำลังถูกจับตา คือ นโยบายการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท หรือโครงการ Digital wallet ที่อาจจะยังมองไม่เห็นทางออกในการดำเนินการโครงการนี้ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไข ลดกลุ่มเป้าหมายที่จะแจกเงินดิจิทัล ลงอย่างต่อเนื่อง

สุดท้าย พื้นที่สำคัญนี้ ของรัฐบาล จะรักษาไว้ได้ หรือ เสียคะแนนเพิ่ม ดัชนี้ผู้บริโภค อาจเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top